Mcu 62012007

  • Uploaded by: Sitchakorn
  • Size: 5 MB
  • Type: PDF
  • Words: 56,241
  • Pages: 296
Report this file Bookmark

* The preview only shows a few pages of manuals at random. You can get the complete content by filling out the form below.

The preview is currently being created... Please pause for a moment!

Description

การปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ BUDDHIST PSYCHOLOGICAL COUNSELING FOR SUFFERING REDUCTION IN ASTROLOGY

นางณฐณัช แก้วผลึก

ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๖๑

การปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์

นางณฐณัช แก้วผลึก

ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๖๑ (ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย)

Buddhist Psychological Counseling for Suffering Reduction in Astrology

Mrs. Nathanat Kaewpaluk

A dissertation Submitted in Partial Fulfillment of the Requirement for The Degree of Doctor of Philosophy (Buddhist Psychology) Graduate School Mahachulalongkornrajavidyalaya University C.E. 2018 (Copyright by Mahachulalongkornrajavidyalaya University)

lJfuc4Fr?vru'lau

U

A

UAO 9V

U

dA

4 4

ilv'r?vru1auilulQfi'ta{n:fu:'tlj?ytulau 0!t]ntuu1JE19fluv\uot:0{

"nt:ilSnuturrTu:rnraninurrurnuoiniuurrfioann?'unln"f" u{iuriruyfirrornr:finuln1}J I V

dU

A

:

u a n d Ft : v\ yt 6 fl 1 a Fr : fi lEfl u tu% 9t d't ? 1 ? lJ'l !tld!

1\ yt fi Q

Fl

?

il

u1

(vr:v:^rurarq:ni

1zofr

nI:, o:.)

rrrur:6rirufrnivrara''a

/)9..

n

ilv n ::il

n1

:n :'t

a60

u/=

u 9t19fl uy'tuD

r.J:vorun::lnr:

(u.0. pr:.urivr

j urirurrr) n::iln1:

(2n. o:.rJ:vu: quvlo)

n::iln1:

..\::Z ,

(?ifi .

aAU

d

d

4

fi:.d:?ruu fl:tFl:oFt{) n:::.Jn1:

(n:vn;a-rafndronfiu:

ofr au.Tvr, zurt.

o:.)

* n:::Jn1:

, -^ d ^ I (o:.lJuavr0 vr0{u:ailD) ntuv

4a

n::il nt:n?u n!oufl cqd

d

uv\u5

vr:vn;#rafndronfiyr: onaufy, d

o

zuFr.

o:

or

-^ o:.tuail5 vr0{u:auD

lJ0ri?au U

.

n::1.1fl1:

nt t z>tk ...1126 7X.n.... .....

-.'...............r1

e

d

/q re.qn rsn-lot LLn?t{An)' r\b6ubE"

\h

l:vorun::lnr:

ก ชื่อดุษฎีนิพนธ์ : การปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ผู้วิจัย : นางณฐณัช แก้วผลึก ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พุทธจิตวิทยา) คณะกรรมการควบคุมดุษฎีนิพนธ์ : พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท, ผศ. ดร., พธ.บ. (การสอนสังคมศึกษา), พธ.บ. (ภาษาอังกฤษ), M.A. (Clinical Psychology), Ph.D. (Psychology) : ดร.ชัยสิทธิ์ ทองบริสุทธิ์, ป.ธ. ๓, พธ.บ. (ปรัชญา), M.A. (Philosophy), M.A. (Applied Psychology), Ph.D. (Psychology) วันสาเร็จการศึกษา : ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๒

บทคัดย่อ ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง การปรึก ษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์มี วัต ถุป ระสงค์ เพื่ อ ๑) ศึ กษาหลั กการทางจิตวิท ยาและการปรึก ษาทางโหราศาสตร์ต ามแนวพุ ท ธ จิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ๒) เพื่อสังเคราะห์ห ลักการให้ คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธ จิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ๓) เพื่อนาเสนอรูปแบบการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยา เพื่อลดความทุกข์ ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงผสมวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิง คุ ณ ภาพ กลุ่ ม ตั ว อย่ า งประกอบด้ ว ย โหราจารย์ จ ากมู ล นิ ธิ ส มาคมโหรแห่ ง ประเทศไทยใน พระสั ง ฆราชู ป ถั ม ภ์ ,สมาคมโหราศาสตร์ น านาชาติ , สถาบั น โหราศาสตร์ ไทย-สากล, สถาบั น โหราศาสตร์วิทยา และสมาคมลิขิตบนฝ่ามือ จานวน ๑๗ รูป/คน และผู้รับคาปรึกษาทางโหราศาสตร์ ในมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชู ปถัมภ์,สมาคมโหราศาสตร์นานาชาติ , สถาบัน โหราศาสตร์ไทย-สากล, สถาบั น โหราศาสตร์วิท ยา และสมาคมลิ ขิตบนฝ่ ามือ จานวน ๒๖๙ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสารวจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ผลการศึกษาพบว่า ๑) หลั ก การปรึ ก ษาทางโหราศาสตร์ ต ามแนวพุ ท ธจิ ต วิ ท ยาเพื่ อ ลดความทุ ก ข์ ให้ความสาคัญที่ตัวบุคคล โดยสนับสนุนให้ผู้รับบริการ เปิดรับประสบการณ์(ทุกข์) ประเมินตนเองอย่า ถ่องแท้ ค้ น หาสาเหตุทุ ก ข์ตามความเป็ น จริง(สมุทั ย) เชื่ อมั่ นและเต็ มใจที่ จะพั ฒ นาตัว เอง(นิ โรธ) เพื่ อ ที่ จ ะสามารถเผชิ ญ ปั ญ หาปั จ จุ บั น และอนาคต(มรรค) โดยผู้ ให้ บ ริ ก ารจะต้ อ งเป็ น บุ ค คลที่ มี กัลยาณมิตร ใส่ใจ เข้าใจเรื่องราวและความรู้สึกนึกคิดของผู้รับบริการและยอมรับความแตกต่างของ ผู้รับคาปรึกษา สัมพันธภาพระหว่างผู้ให้บริการกับ ผู้รับบริการโดยสัมมาทิฐิของผู้ให้บริการปรึกษา มีความสาคัญมากกว่าเทคนิคใด ๆ ๒) การปรึกษาทางโหราศาสตร์ พบว่า โหราจารย์ให้การช่วยเหลือเป็นรายบุคคล ทั้งด้าน ปัญหาส่วนตัว การศึกษา อาชีพ และครอบครัว เป็นต้น โดยการหยิบยื่นสัมพันธภาพอันดี ระหว่าง โหราจารย์และผู้ขอคาปรึกษา เพื่อที่จะได้เปิดเผยตนเอง และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงตนเอง กระบวนการปรึกษาต้องใช้เวลา กาลั งความสามารถและประสบการณ์ อย่างต่อ เนื่องทั้ งสองฝ่ าย

ข ถ้าพบว่าผู้รับคาปรึกษามีเคราะห์ประสบทุกข์ ก็แนะนาให้ใช้สติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท ด้วยการเสริม กาลั งใจ เมื่อผู้ รั บ ค าปรึ กษามีโชค ก็เตือนสติไม่ให้ ป ระมาท และหลงระเริงในโชค หลั กธรรมของ โหราจารย์ ที่สาคัญคือ พรหมวิหาร ๔ การเสนอสัมมาปัญญา หลักสัจจะ โดยทั่วไปส่งเสริมให้ผู้รับ คาปรึกษา รักษาศีล ๕ ทาบุญให้ทานเพื่อเสริมกาลังใจ ตามลาดับ ผลจากการสารวจ ผู้รับคาปรึกษา คาดหวังคุณสมบัติของโหราจารย์ ด้านปัญญา เชื่อมั่น และพึ งพอใจผู้ มี ความรู้ จ ริ งใคร่ ค รวญ ตรวจสอบ พู ด คุย รายละเอี ยดก่อนท านาย และชี้ ช่องทาง แก้ปัญหา รองลงมาด้านศีล ด้านสังคม และด้านจิตใจ คือมีคุณธรรมจริยธรรม สร้างความรักความ สามัคคีหรือการรู้คิด ไม่เห็ นแก่ลาภสักการะ และใจเย็นมีอารมณ์ดี และพบว่าโหราจารย์ส่วนใหญ่ ให้คาปรึกษาด้านปัญญา ได้แก่ การแนะนาให้ใช้เหตุผลเพื่อแก้ที่สาเหตุแห่งปัญหา รองลงมาด้านศีล ด้านสังคม และด้านจิตใจ เช่นให้มีความอดทน ให้รักษาศีล การทาบุญให้ทาน และปฏิบัติสมาธิทา จิตใจให้สงบ หรือการแก้ดวงสะเดาะเคราะห์ในรูปแบบต่าง ๆ ๓) รูป แบบการปรึ กษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุท ธจิตวิทยา ควรเป็น แบบเน้นที่ ตัว บุคคล ตามกระบวนการอริยะสัจ ๔ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลให้มีความสามารถ ยอมรับ ตรวจสอบ วินิ จฉัย ปัญ หาตนเองได้ ยอมรับ ความเปลี่ยนแปลงของตนเองและ ผู้อื่น และสภาพแวดล้อมตาม ความเป็ น จริ ง โดยอยู่ บ นพื้ น ฐานของความเป็ น กั ล ยาณมิ ต รของโหราจารย์ และผู้ รับ ค าปรึก ษา ด้วยคุณสมบัติด้านปัญญา ศีล สังคม และด้านจิตใจที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาที่ปรึกษา

ค Dissertation Title

: Buddhist Psychological Syhological Counseling for Suffering Reduction in Astrology Researcher : Mrs. Nathanat Kaewpaluk Degree : Doctor of Philosophy (Buddhist Psychology) Dissertation Supervisory Committee : PhraKru Sangarak Ekapatra Abhichando, Asst. Prof. Dr. B.A.(Teaching Social Studies), B.A. (English), M.A. (Clinical Psychology), Ph.D. (Psychology) : Dr. Chayasit Thongborisut, Pali lll, B.A. (Philosophy) M.A. (Philosophy), M.A. (Applied Psychology), Ph.D. (Psychology) Date of Graduation : March 17, 2019

Abstract The dissertation titled as Buddhist Psychological Counseling for Suffering Reduction in Astrology armed as ; 1) to study the principles of Astrological counseling according to Buddhist Psychology for suffering reduction, 2) to synthesize of Astrological counseling according to Buddhist Psychology for suffering reduction and 3) to present the model of astrological counseling according to Buddhist Psychology for suffering reduction. This dissertation was a mixed method study of quantitative and qualitative research. Constructions consisted of rating scale questionnaire and indept interview form. Samples were 17 astrologers and psychologists, for in-dept interviews and 269 subjects those received astrological counseling .The statistics used were Frequency Distribution, Mean and Percentage. The result were as follows : 1) Buddhist Psychological counseling for suffering reduction emphasizes on the importance of individual differences as personality. Counselors’ good virtues of friendship support counselee to comprehend suffering, eradication the cause of suffering, realization the cessation of suffering and practice the path of development. Counselors have to be good friendship, attentive, mindful of and to axcepted individual differences. And right understanding of the counselors is the most importance of the interaction of counselor- counselee 2) In astrological counseling, it was found that astrologers work on individual concerning with personal problem, educational, occupation and family problems. Good inter – relationships help the positive advantage of the counseling. It help counselee to self understand, self – actualization, motivate the counselee to

ง modify their behaviors. The process of counseling for suffering reduction needs the long - term activities of both counselor Interrelation– counselees’ potential and experiences. For the misfortune of counselee must be cautioned to be mindful attentive and aware, whereas the fortune of counselee also to be advised with non– negligence ; heedfulness, zeal, diligence and earnestness. They important properties were sublime states of mind, faithful and counselors’ honest. Astrologers motivates counselee to practice rules of the five precepts, meritorious action consisting in girting, observing the moral behavior and mental development. The survey study showed that counselee satisfied counselor’s knowledge, discernment and confidences. All counselees were higher expect problem to be con prehended, examine, survey and communication before the predicting and problem solving. The subject satisfied counselors’ moral conduct such as the concord between the counselor, not acquisitiveness gain. For emotional expect they satisfied counselors’ cheerfulness and tranquility mind. Mostly counselor work on cognitive counseling such as reasoned thinking follows by moral, social and emotional expect respectively. All counselors insist on the values of tolerance, morality, alms – giving, practice meditation etc. 3) The model of Buddhist Psychological counseling for suffering reduction must establishs on the process of Four Noble Truths for solving individual problems to develop the self efficioncy, the ability to understand and accept of the differences between persons and environments. The counseling process must stand on good friendships between counselor and counselee, with cognitive, moral, social and emotional values based on the nature of each problems.



กิตติกรรมประกาศ ดุ ษ ฎี นิ พ นธ์ ฉ บั บ นี้ ส ำเร็ จ ลงได้ ด้ ว ยควำมช่ ว ยเหลื อ จำกหลำย ๆ ท่ ำ น ทั้ งผู้ ที่ ค อยให้ คำแนะนำด้ำนวิชำกำร และผู้ที่ให้กำรสนับสนุนทั่วไปในกำรดำเนินกำรศึกษำค้นคว้ำ ในส่วนที่เป็นวิชำกำรนั้นขอขอบคุณอำจำรย์ที่ปรึกษำ ที่คอยช่วยดูแลแก้ไขให้วิทยำนิพนธ์ ฉบับนี้ให้มีเนื้อหำที่ถูกต้องตำมหลักวิชำกำร จึงขอกล่ำวนำมไว้ ณ ที่นี้คือ พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท, ผศ. ดร., ผศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง และอำจำรย์ ดร.ชัยสิทธิ์ ทองบริสุทธิ์ และขอขอบคุณ คณำจำรย์ ที่ เอื้ อ เฟื้ อ ข้ อ มู ล ที่ เป็ น ต ำรำควำมรู้ แ ละอ ำนวยควำมสะดวกในกำรเก็ บ ข้ อ มู ล กำรท ำ วิทยำนิพนธ์ครั้งนี้ คือ อำจำรย์ภิญโญ พงษ์เจริญ นำยกสมำคมโหรำศำสตร์นำนำชำติ และอำจำรย์ ธนกร สินเกษม นำยกสมำคมโหรแห่งประเทศไทยในพระบรมรำชินูปถัมภ์ ประกอบกับกำรประสิทธิ์ประสำทควำมรู้ ของคณำจำรย์ทุกท่ำนในสำขำวิชำโหรำศำสตร์ และสำขำวิชำพุทธจิตวิทยำ ที่นำสู่กำรจุดประกำยในกำรตั้งคำถำม และแสวงหำคำตอบในกำรศึกษำ ครั้งนี้ตลอดจนกลุ่มกัลยำณมิตรร่วมวิชำโหรำศำสตร์ และร่วมสำขำวิชำพุทธจิตวิทยำทุกท่ำน ที่คอย สอบถำมสนับสนุนกำลังใจ จนเกิดควำมรู้สึกกล้ำหำญในกำรศึกษำในครั้งนี้ อนึ่ ง ด้ ว ยพลั งใจและก ำลั งทรั พ ย์ จ ำกบุ ค คลในครอบครั ว คื อ นำยธี ระพั น ธ์ แก้ ว ผลึ ก และนำงสำวมัญชุสำ แก้วผลึก อันเป็นที่รักยิ่งได้สร้ำงให้เกิดแรงพลังสำมำรถเผชิญกับสิ่งต่ำง ๆ อย่ำงมี สติ และกำรกระทำที่สร้ำงสรรค์เพื่อกำรพัฒนำตนให้บรรลุตำมที่ได้หวังไว้ และขอขอบคุณทุกท่ำนซึ่งไม่อำจเอ่ยนำมได้หมดมำ ณ ที่นี้ และคุณค่ำใด ๆ ที่ก่อเกิดจำก กำรศึกษำในครั้งนี้ ขอมอบบูชำคุณแด่บุพกำรีผู้ให้ชีวิต และคุณลุงคุณป้ำผู้เปรียบพ่อแม่คนที่สอง ที่ให้ โอกำสทำงกำรศึกษำและสังคม ตลอดจนครู อำจำรย์นับจำกปฐมวัย ตรำบจนปัจจุบันที่ให้คำสอนใน สิ่งที่ดี จนหลำยสิ่งได้ซึมซับหล่อหลอมเป็นตัวตนมำในวันนี้ นางณฐณัช แก้วผลึก ๑๗ มีนาคม 25๖๒



สารบัญ เรื่อง

หน้า

บทคัดย่อภาษาไทย บทคัดย่อภาษาอังกฤษ กิตติกรรมประกาศ สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญรูปภาพ สัญลักษณ์อักษรย่อ

ก ค ง จ ซ ฌ ญ

บทที่ ๑

บทนา ๑.๑ ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา ๑.๒ วัตถุประสงค์ของการวิจัย ๑.๓ ขอบเขตของการวิจัย ๑.๔ ปัญหาที่ต้องการทราบ ๑.๕ นิยามศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการวิจัย ๑.๖ วิธีดาเนินการวิจัย ๑.๗ ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย

๑ ๑ ๓ ๔ ๕ ๕ ๖ ๗

บทที่ ๒

แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๒.๑ แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับจิตวิทยาการปรึกษา ๒.๑.๑ ความหมายของการปรึกษา ๒.๑.๒ กระบวนการให้คาปรึกษา ๒.๑.๓ ประเภทของการให้คาปรึกษา ๒.๑.๔ จุดมุ่งหมายของการให้บริการปรึกษา ๒.๑.๕ คุณสมบัติของผู้ให้บริการปรึกษา ๒.๑.๖ ลักษณะปัญหาของผู้รับบริการปรึกษา ๒.๑.๗ มุมมองของปัญหา ๒.๒ แนวคิดเกี่ยวกับการให้คาปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยา ๒.๒.๑ ความหมายของพุทธจิตวิทยา ๒.๒.๒ หลักการและปรัชญาพื้นฐานการสอนของพระพุทธเจ้า ๒.๒.๓ หลักธรรมที่เกี่ยวกับการให้คาปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยา ๒.๒.๓.๑ หลักอริยสัจ ๔ ๒.๒.๓.๒ หลักไตรลักษณ์ ๒.๒.๓.๓ หลักไตรสิกขา

๘ ๘ ๘ ๑๑ ๒๔ ๒๕ ๒๖ ๒๗ ๒๘ ๓๐ ๓๑ ๓๓ ๓๔ ๓๔ ๔๑ ๔๓



สารบัญ (ต่อ) เรื่อง

หน้า ๒.๒.๓.๔ หลักกรรมและวัฏฏะ ๒.๒.๔ กระบวนการให้คาปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยา ๒.๒.๕ คุณสมบัติของผู้สอนตามหลักพุทธธรรม ๒.๒.๖ บทบาทหน้าที่ของผู้สอนตามแนวพุทธ ๒.๒.๗ การประยุกต์วัตถุประสงค์การสอนตามแนวพุทธ ๒.๒.๘ การประยุกต์หลักธรรมของผู้รับคาเพื่อการปรึกษา ๒.๒.๘.๑ หลักประโตโฆสะเพื่อคุณสมบัติของผู้ให้การปรึกษา ๒.๒.๘.๒ หลักโยนิโสมนสิการ เพื่อคุณสมบัติของผู้รับการปรึกษา ๒.๓ แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องความทุกข์ในพุทธศาสนา ๒.๓.๑ความหมายของความทุกข์ ๒.๓.๒ ลักษณะของความทุกข์ ๒.๓.๓ ประเภทของความทุกข์ ๒.๓.๓.๑ ทุกขเวทนา ๒.๓.๓.๒ ความทุกข์ในไตรลักษณ์ ๒.๓.๓.๓ ความทุกข์ในอริยสัจ ๔ ๒.๓.๔ วิธีแก้ปัญหา (ความทุกข์) แบบพุทธ ๒.๔ แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับโหราศาสตร์ ๒.๔.๑ ความหมายของโหราศาสตร์ ๒.๔.๒ ความเป็นมาของโหราศาสตร์ ๒.๔.๒.๑ โหราศาสตร์ในประเทศไทย ๒.๔.๒.๒ โหราศาสตร์ในยุคปัจจุบัน ๒.๔.๓ ประเภทของโหราศาสตร์ ๒.๔.๓.๑ แบ่งประเภทตามวิชาทานาย ๒.๔.๓.๒ แบ่งประเภทตามตามลักษณะการใช้งาน ๒.๔.๔ ทฤษฎีโหราศาสตร์โดยทั่วไป ๒.๔.๓.1. ทฤษฎีแรงส่งจากดวงดาว ๒.๔.๔.๒. ทฤษฎีองค์รวม ๒.๔.๕ หลักการพยากรณ์ทางโหราศาสตร์ ๒.๔.๕.๑.หลักโหราศาสตร์ไทยจักรราศี ๒.๔.๕.๒.หลักเลขศาสตร์ ๒.๔.๕.๓.หลักไพ่ยิปซี ๒.๓.๕.๔.หลักหัตถะศาสตร์ (ลายมือ) ๒.๔.๖ โหราศาสตร์กับสังคมและวัฒนธรรมไทย

๔๖ ๔๘ ๔๒ ๕๕ ๖๐ ๖๕ ๖๕ ๗๕ ๘๒ ๘๒ ๘๓ ๘๔ ๘๔ ๘๘ ๙๔ ๑๐๖ ๑๐๙ ๑๐๙ ๑๑๐ ๑๑๓ ๑๑๔ ๑๑๖ ๑๑๖ ๑๑๖ ๑๑๗ ๑๑๗ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๑ ๑๒๖ ๑๓๐ ๑๓๗ ๑๖๒



สารบัญ (ต่อ) เรื่อง

หน้า ๒.๔.๗ ความสัมพันธ์ของโหราศาสตร์กับปรัชญาและจิตวิทยา ๒.๕ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๒.๖ กรอบแนวคิดในการวิจัย

๑๖๕ ๑๖๗ ๑๘๑

บทที่ ๓

วิธีดำเนินกำรวิจัย ๓.๑ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ๓.๒ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ๓.๓ การเก็บรวบรวมข้อมูล ๓.๔ การวิเคราะห์ข้อมูล ๓.๕ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย

๑๘๓ ๑๘๓ ๑๘๖ ๑๘๗ ๑๘๗ ๑๘๘

บทที่ ๔

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ๔.๑ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ๔.๒ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับความคิดเห็นและความพึงพอใจคุณสมบัติ ของโหราจารย์ของกลุ่มตัวอย่าง ๔.๓ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับความคิดเห็นและความพึงพอใจแนวทาง ปฏิบัติของโหราจารย์ ของกลุ่มตัวอย่าง

๑๙๐ ๑๙๐

สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ๕.๑ สรุปผลการวิจัย ๕.๒ การอภิปรายผล ๕.๒ ข้อเสนอแนะ

๒๓๓ ๒๓๓ ๒๓๕ ๒๓๙

บทที่ ๕

๑๙๔ ๑๙๖

บรรณำนุกรม

๒๔๑

ภาคผนวก

๒๔๘ ๒๔๘ ๒๕๐ ๒๕๗

ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค ประวัติผู้วิจัย

๒๘๑



สารบัญตาราง ตารางที่ ๒.๑ แสดงวิธีปฏิบัติต่ออริยสัจ ๒.๒ แสดงขอบเขตอิทธิพลของธาตุแต่ละธาตุ ๒.๓ แสดงหน้าไฟกับการทาบุญ ๓.๑ ตารางสาเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ๔.๑ แสดงข้อมูลทั่วไปของผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลด ความทุกข์ ๔.๒ แสดงระดับความคิดเห็นและความพึงพอใจในคุณสมบัติของโหราจารย์ ในการ ปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ๔.๓ แสดงระดับของความคิดเห็นและความพึงพอใจแนวทางปฏิบัติของโหราจารย์ในการ ปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ๔.๔ แสดงจานวน ความถี่ ร้อยละ และระดับ โดยรวมที่มีต่อคุณสมบัติ และแนวทาง ปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษาของกลุ่มตัวอย่าง ๔.๕ แสดงจานวน ความถี่ ร้อยละ และระดับ โดยรวมที่มีต่อคุณสมบัติของโหราจารย์และ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษาของกลุ่มตัวอย่างฯ จาแนกตามอายุ ๔.๖ แสดงจานวน ความถี่ ร้อยละ และระดับ โดยรวมที่มีต่อคุณสมบัติของโหราจารย์ และแนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษาของกลุ่มตัวอย่างฯ จาแนกตามการศึกษา ๔.๗ แสดงจานวน ความถี่ ร้อยละ และระดับ โดยรวมที่มีต่อคุณสมบัติของโหราจารย์ และแนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษา ของกลุ่มตัวอย่างฯ จาแนกตามอาชีพ ๔.๘ แสดงจานวน ความถี่ ร้อยละ และระดับ โดยรวมที่มีต่อคุณสมบัติของโหราจารย์ และแนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษาฯ จาแนกตามสถานภาพสมรส ๔.๙ แสดงจานวน ความถี่ ร้อยละ และระดับ โดยรวมที่มีต่อคุณสมบัติของโหราจารย์ฯ จาแนกตามกิจกรรมทางศาสนาที่ปฏิบัติบ่อยที่สุด ๔.๑๐ แสดงจานวน ความถี่ ร้อยละ และระดับ โดยรวมที่มีต่อคุณสมบัติของโหราจารย์ฯ จาแนกตามปัญหาที่มาปรึกษาโหราจารย์มากที่สุด ๔.๑๑ แสดงจานวน ความถี่ ร้อยละฯ จาแนกตามการปรึกษาโหราจารย์ ด้วยศาสตร์ทาง โหรฯ จาแนกตามการปรึกษาโหราจารย์ ด้วยศาสตร์ทางโหรฯตามหลัก ๔.๑๒ แสดงจานวน ความถี่ ร้อยละฯ จาแนกตามการปรึกษาโหราจารย์ ด้วยศาสตร์ทาง โหรฯ จาแนกตามการปรึกษาโหราจารย์มากน้อยแค่ไหน (ต่อปี) ๔.๑๓ แสดงจานวน ความถี่ ร้อยละฯ จาแนกตามการปรึกษาโหราจารย์ ด้วยศาสตร์ทาง โหรฯ จาแนกตามการเลือกปรึกษาทางโหราศาสตร์จากโหราจารย์ที่ ๔.๑๔ แสดงหลักการ เป้าหมาย วิธีการ และตัวอย่างหลักธรรมที่โหราจารย์ที่ใช้ในการ ปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์

หน้า ๔๐ ๑๓๕ ๑๓๖ ๑๘๔ ๑๙๐ ๑๙๔ ๑๙๖ ๑๙๗ ๑๙๙ ๒๐๑ ๒๐๓ ๒๐๔ ๒๐๕ ๒๐๗ ๒๐๘ ๒๑๐ ๒๑๑ ๒๑๒



สารบัญรูปภาพ รูปภาพที่

หน้า

๒.๑ แสดงผลกระทบของดวงดาวต่อชีวิตมนุษย์ ๒.๒ แสดงวงโคจรของดวงอาทิตย์บนระนาบเส้นสุริยะวิถี ผ่านกลุ่มดาวจักรราศี ๒.๓ แสดงลัคนา ดาวเคราะห์ในเรือนชะตา ๒.๔ แสดงกุม – โยค - ตรีโกณ ๒.๕ แสดงการแบ่งมือออกเป็น ๗ ลักษณะ ๒.๖ แสดงเส้นฝ่ามือ ๒.๗ แสดงรูปแบบต่าง ๆ ของเล็บมือ ๒.๘ แสดงลายก้นหอย (ซ้าย) ลายโค้ง (กลาง) และลายมัดหวาย (ขวา) ๒.๙ แสดงกรอบแนวคิดในการวิจัย ๓.๑ แสดงเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ ๖’C ๔.๑ แสดงรูปแบบการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์

๑๑๙ ๑๒๒ ๑๒๔ ๑๒๕ ๑๔๔ ๑๔๙ ๑๕๖ ๑๕๗ ๑๘๒ ๑๘๖ ๒๒๘



อธิบายสัญลักษณ์และคาย่อ การระบุหมายเลขและคาย่อพระไตรปิฎก ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยได้ระบุ เล่ม/ข้อ/ หน้า หลังคาย่อชื่อคัมภีร์ เช่น ที.สี. (ไทย) 9/276/98 หมายถึง ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระไตรปิฎก ภาษาไทย เล่ม 9 ข้อ 276 หน้า 98 ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2539 ที.ปา. ม.มู. ม.ม. ส.ส. ส.นิ. อง.ฉกก. ขุ.ชา อภิ.วิ. ม.ป.ป.

(ไทย) (ไทย) (ไทย) (ไทย) (ไทย) (ไทย) (ไทย) (ไทย)

= = = = = = =

พระสุตตันตปิฎก สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สุตฺตนฺตปิฏก องฺคุตฺตรนิกาย สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย

=

พระอภิธรรมปิฎก อภิธรรมปิฎก วิภังค์

=

คาอธิบายอักษรย่อภาษาไทย ไม่ปรากฎปีที่พิมพ์

ปาฏิกวรรค มูลปัณณาสก์ มัชมิมปัณณาสก์ สคาถวรรค นิทานวรรค ปัญจกฉักกนิบาต ชาดก

(ภาษาไทย) (ภาษาไทย) (ภาษาไทย) (ภาษาไทย) (ภาษาไทย) (ภาษาไทย) (ภาษาไทย) (ภาษาไทย)



บทที่ ๑ บทนำ ๑.๑ ควำมเป็นมำและควำมสำคัญของปัญหำ สังคมไทย รับเอาพระพุทธศาสนามาเป็นศาสนาประจาชาติมาพันกว่าปีแล้ว ความคิด พิธีกรรม ประเพณีต่าง ๆ ส่วนใหญ่ก็ล้วนแต่พัฒนามาจาก หลักคาสอนทางพระพุทธศาสนา สังคม และวัฒ นธรรมไทยก็ส ะท้อ นสาระธรรมในพระพุท ธศาสนา พระพุท ธศาสนาเป็นศาสนาแห่ งการ กระทา (กรรมวาท และ กิริยวาท)๑ เป็นศาสนาแห่งความเพียร (วิริยวาท) ซึ่งสอนให้เชื่อผลของการ กระทา (กรรม) ของมนุษย์เอง พุทธธรรมเป็นเรื่องราวของชีวิตที่ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดลออถึง ความทุกข์ของมนุษย์ และแนวทางในการพ้นทุกข์ได้อย่างหลักแหลมสามารถนาไปปฏิบัติได้ทุกกาล สมัยซึ่งเหมาะในการประยุกต์ใช้ในการให้บริการปรึกษา ๒ ธรรมชาติของคนเราโดยทั่วไปเป็นผู้ที่มี อารมณ์มีความรู้สึกนึกคิดมีความเข้าใจมีเหตุผล มีความสามารถ และมีคุณค่าอยู่ในตัวทุกคน พร้อมที่ จะเปลี่ยนแปลงตนเองให้เจริญเติบโตทางด้านร่างกาย และจิตใจได้อย่างสมบูรณ์เพื่อให้อยู่ร่วมกับคน ในครอบครัวและคนในสังคมได้อย่างปกติสุข แต่การที่คนเรา เกิดมีความทุกข์มีปัญ หาและไม่ส ามารถแก้ไขปัญ หาของตนเองได้นั้น นักจิตวิทยาผู้ให้การปรึกษาที่มี ชื่อเสียงได้ให้ความเห็นว่า ๓ ปัญหารบกวนจิตใจของผู้รับการปรึกษา นั้น เกิดจากบุคคลนั้นมองตนเองไม่ตรงกับความเป็นจริง ไม่เข้าใจความรู้สึก ความต้องการของตนเอง อย่างแท้จริง มีความสับสน เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดความวิตกกังวล คับข้องใจ หรือเก็บ กดอารมณ์ ความรู้สึกเหล่านี้จะไปปิดกั้นความสามารถในการใช้เหตุผลที่มีอยู่ในตนเอง ซึ่งจะช่วยลด ปัญหาทางด้านอารมณ์และความรู้สึกที่เป็นทุกข์วิตกกังวลไปได้ ช่วยให้ผู้รับคาปรึกษา ได้สารวจปัญหา ส ารวจตนเอง ส ารวจความเป็ น จริ งต่ า ง ๆ ช่ ว ยให้ เกิ ด สติ แ ละปั ญ ญา มองเห็ น ทางสว่ า งในการ แก้ไข ปัญหาและได้ใช้ ความสามารถที่มีอยู่ในตนเองตัดสินใจแก้ไขปัญหาด้วยตนเองต่ อไปได้ ดังนั้น การปรึกษาหมายถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีความสับสนหรือผู้ที่มีความทุกข์ทางด้านอารมณ์ -จิตใจ ด้วยการพูด คุยกันอย่างมีขั้นตอนโดยผู้ให้คาปรึกษาจะเป็นผู้ช่วยสร้างบรรยากาศของความสัมพันธ์ที่ดี ทาให้ผู้มีปัญหามี ความรู้สึกสบายใจว่าได้รับการยอมรับ และเข้าใจจึงพร้อมที่ จะเปิดเผยความรู้สึก หรือปัญหาของตนและเกิดการ เรียนรู้สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นจนสามารถตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตาม การสงสัยใคร่รู้ของมนุษย์ซึ่งมีมากกว่าสัตว์โลกประเภท อื่น โดยเฉพาะความใคร่รู้สิ่ งที่ เกี่ ย วข้องกับความเป็น ไปของชีวิต การคาดการ หรือการทานายจึง เกิดขึ้น เพื่อจะใช้เป็นข้อมูลเพื่อลดความทุกข์ในการดาเนินชีวิต ในทางพุทธศาสนาได้มีการพยากรณ์ ๑

องฺ ติก. (ไทย) ๒o/๕๕๗/๓๖๙. วัชรี ทรัพย์มี, ทฤษฎีให้บริกำรปรึกษำ, พิมพ์ครั้งที่ ๖, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๔), หน้า ๓. ๓ จี น แบรี่, กำรให้ ก ำรปรึก ษำ, พิ ม พ์ ครั้งที่ ๕, (กรุงเทพมหานคร: เจริญ วิทย์ การพิ มพ์ , ๒๕๔๙), หน้า ๙. ๒

๒ ปรากฏให้เห็น๔ ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาไว้หลายตอน เช่นการที่พระพุทธองค์ได้รับการพยากรณ์ จากเหล่ าพราหมณ์ ๘คน ภายหลั งพระประสู ติ ก าลเพี ยง ๕ วัน นอกจากนั้ น การที่ พ ระองค์ ท รง พยากรณ์พระสุบินของพระองค์เองก่อนที่จะทรงตรัสรู้ ๕ คาพยากรณ์ของพระองค์จะตรัสแบบซักถาม เข้าหากรรมคือทรงพยากรณ์โดยอิงกรรมหือการกระทาของคนโดยไม่ตรัสถึงปาฏิหาริย์ใด ๆ๖ คนใน สั งคมไทยก็มี ความเชื่อเรื่อ งการพยากรณ์ ห รือการท านายซึ่ งมีอ ยู่ทั่ ว ไป ทางโหราศาสตร์ แม้บ าง พิธีกรรม ซึ่งเป็นพิธีกรรมทางพุทธศาสนาโดยตรง ก็ยังเกี่ยวข้องกับโหราศาสตร์อยู่ ในส่วนความคิด ความเชื่อ และการตัดสินใจของคนไทยได้รับอิทธิพลจากโหราศาสตร์อยู่มาก และมีแนวโน้มได้รับ ความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะคนที่พึ่งพิงโหราศาสตร์ส่วนใหญ่จะมีทัศนคติที่ดีมีความสนใจและ เชื่ออยู่แล้ว๗ คนในสังคมเมืองโดยเฉพาะกรุงเทพมหาคร เมืองหลวงของประเทศและเป็น “มหานคร” ที่เป็นศูนย์กลางความเจริญทุกด้าน มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ ง การเงินการธนาคาร การพาณิ ช ย์ การสื่ อสาร และความเจริญ ของ ประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้าเจ้าพระยา มีแม่น้าเจ้าพระยา ไหลผ่ านและแบ่ งเมืองออกเป็ น ๒ ฝั่ ง คือ ฝั่ งพระนครและฝั่ งธนบุ รี โดยกรุงเทพมหานครมีพื้ น ที่ ทั้ งหมด ๑,๕๖๘.๗๓๗ ตารางกิ โ ลเมตรมี ป ระชากรตามทะเบี ย นราษฎรกว่ า ห้ า ล้ า นคน ท าให้ กรุงเทพมหานครเป็นเอกนคร (primate city) จัด และศูนย์ชุมชนอื่นของประเทศไทยด้อยวามสาคัญ ลง มีผู้ กล่ าวว่า กรุงเทพมหานครเป็น “เอกนครที่ สุ ดในโลก” เพราะมีป ระชากรมากกว่านครที่ มี ประชากรมากเป็นอันดับสองถึงสี่สิบเท่า๘ เนื่องจากเป็นเมืองใหญ่มีประชาการมาก ปัญหาที่ก่อให้เกิด ทุ ก ข์ ก็ ม ากตามไปด้ ว ย คนส่ ว นใหญ่ จึ ง นิ ย มไปขอค าปรึ ก ษาทางโหราศาสตร์ จ ากนั ก พยากรณ์ หรือหมอดู เพื่อทานายความเป็ นไปในชีวิตจะได้เป็นแรงจูงใจในการปฏิบัติตนอย่างมีความหวังได้ ความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์ส่งผลต่อชีวิตหลายด้าน เช่น ช่วยสร้างความมั่นใจ ช่วยในการตัดสินใจ ช่วยวางแผนอนาคต พร้อมทั้งสอดแทรกคติ ธรรมคาสอนให้ กับบุคคล ๙ ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะ พัฒ นาการให้ การปรึกษาผนวกหลักพุทธศาสนา ไปสู่การเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาของมนุษย์ ทั้งปัญหาส่วนตัว ครอบครัว ตลอดจนอาชีพการงานของคนทุกระดับชั้น นอกจากจะแสวงหาวิธีการ แก้ปัญหาดังกล่าวด้วยศาสตร์แขนงอื่นแล้ว อย่างไรก็ตามก็มีกลุ่มคนจานวนมากได้ใช้หลักโหราศาสตร์ ๔

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยฺตโต), พจนำนุกรมพุทธศำสน์ฉบับประมวลศั พท์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์, ๒๕๕๓), หน้า ๒๕๔. ๕ องฺ ปญจก (ไทย) ๒๒ / ๑๙๖ / ๒๑๔-๒๑๕. ๖ พ.รัตนลักข์ (ปรียญ๙), มหำศำสดำชี้ม หัน ตภั ยล้ำงโลก, พิ มพ์ ครั้งที่ ๒, (นนทบุ รี: ซีแอนด์เอ็น , ๒๕๕๕), หน้า๖. ๗ ณั ชชา ชินธิป , “โหราศาสตร์กับ การตัดสิน ใจทางธุรกิจ”, วิทยำนิพนธ์ศิลปศำสตรมหำบั ณฑิ ต , (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย ๒๕๔๘), หน้า ๑. ๘ วิ กิ พี เดี ย ราชภั ฏ อุ บ ลราชธานี , สารานุ ก รมเสรี , กรุ ง เทพมหำนคร, [ออนไลน์ ], แหล่ งที่ ม า: th.wikipedia.org/wiki [๑๐ มกราคม ๒๕๖๒]. ๙ พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยฺตโต), พจนำนุกรมพุ ทธศำสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖), หน้า ๒๐๔.

๓ มาผนวกเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการให้การปรึกษาเพื่อเสริมสร้าง กาลั งใจ และแรงจู งใจในการแก้ปั ญหาโดยองค์รวมในชีวิตและสั งคม กล่าวคือ คุณสมบัติของผู้ให้ คาปรึกษาทั้งทางจิตวิทยา ทางพุทธศาสนา พุทธจิตวิทยา แม้ทางแก้ปัญหาทางกฎหมาย คุณสมบัติ พื้ น ฐานและความสามารถในการเข้ า ใจปั ญ หา โดยเฉพาะคุ ณ สมบั ติ ในการจู ง ใจและทั ก ษะใน กระบวนการให้การปรึกษา รวมทั้งวิธีหลักความคิด วิธีจูงใจล้วนมีกระบวนการใกล้เคียงกัน เนื่องจากในพระพุทธศาสนามีหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการให้การปรึกษา ทั้งใน กระบวนการแก้ ปั ญ หา เช่ น อริ ย สั จ จ์ ๔ ๑๐ ซึ่ งจั ด เป็ น กระบวนการพื้ น ฐานในการให้ ก ารปรึ ก ษา หลั กกรรมและวัฏ ฏะ ๑๑ หลั กพรหมวิห าร๔ ๑๒ หลั กกัลยาณมิตร๗ ๑๓ หลักไตรลั กษณ์ ๑๔ เป็นหลักที่ สาคัญ ของผู้ที่ให้คาปรึกษาแก่ผู้ อื่น นอกจากนี้พระพุทธศาสนายังมีหลั กที่เกี่ยวเนื่องกับการเข้าใจ ปัญหา การสร้างประสิทธิภาพ เพื่อความก้าวหน้าในกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเกี่ยวเนื่องกับ ทักษะ ของผู้ให้การปรึกษา ในส่วนของผู้ให้การปรึกษาทางโหราศาสตร์ แม้จะมีหลักการอันเป็นสากล แต่ทักษะและการประยุกต์ใช้ศาสตร์อื่นมาบูรณาการก็ขึ้นอยู่กับภูมิหลังและความสนใจของแต่ละท่าน ซึ่งยังไม่ได้กาหนดรูปแบบการบูรณาการที่ชัดเจน ในสังคมไทยแม้โหราจารย์ จะใช้หลักธรรมทางพุทธ ศาสนาเพื่ อให้ การปรึกษาในการลดความทุกข์ดั งกล่ าว แต่ก็ยังขาดการวิเคราะห์ เพื่ อการกาหนด รูปแบบที่ตายตัว ดังนั้นผู้วิจัยจึงใคร่จะศึกษา การปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลด ความทุ กข์ โดยเฉพาะอย่ างยิ่ งการบู รณาการ การปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุท ธจิตวิท ยา และคุณสมบัติอันพึงประสงค์ของผู้ให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ เพื่อให้การปรึกษาดังกล่าวเป็นส่วน หนึ่งในการแก้ปัญหาเพื่อลดความทุกข์ แก่ชาวพุทธไทยและเพื่อให้การปรึกษาทางโหราศาสตร์ตาม แนวพุทธจิตวิทยา เป็นที่น่าเชื่อถือและเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง

๑.๒ วัตถุประสงค์ของกำรวิจัย ๑.๒.๑ เพื่อศึกษาหลักการทางจิตวิทยาและการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธ จิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ๑.๒.๒ เพื่อสังเคราะห์หลักการให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อ ลดความทุกข์ ๑.๒.๓ เพื่อนาเสนอรูปแบบการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลด ความทุกข์

๑๐

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยฺตโต), พจนำนุกรมพุทธศำสตร์ ฉบับประมวลธรรม, หน้า ๓๓๘. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๖๑. ๑๒ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๖๙. ๑๓ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๘๗. ๑๔ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๑๓. ๑๑



๑.๓ ขอบเขตกำรวิจัย งานวิจัยเรื่อง “การปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์” ขอบเขตในการศึกษา คือ ๑.๓.๑ ขอบเขตด้ำนเนื้อหำ การศึ กษาวิจั ย ครั้ งนี้ เป็ นการศึก ษาทางเอกสาร (Documentary Research) เกี่ยวกั บ การศึกษาหลักการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ โดยมีขอบเขตของ การวิจัยดังนี้ ๑) ศึกษาหลักการทางจิตวิทยาและและหลักการปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อ ลดความทุกข์จากหนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๒) ศึกษาวิเคราะห์หลักการให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อ ลดความทุกข์จากหนังสือและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๓) ศึกษาการนาเสนอรูปแบบการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อ ลดความทุกข์ จากหนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๑.๓.๒ ขอบเขตด้ำนประชำกร ๑) กำรวิจัยเชิงปริมำณ ประชากร ผู้ตอบแบบสารวจ ผู้วิจัยสุ่มจากประชากรที่มารับคาปรึกษาจากสมาคม จากเดือน พฤษภาคม ถึง เดือน สิงหาคม ๒๕๕๙ โดยเลือกประชากรจานวน ๙๐๐ คนโดยประมาณ ซึ่งผู้วิจัยได้คานวณกลุ่มตัวอย่าง โดยการเปิดตารางของเครซี่ และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจานวน ๒๖๙ คน จากนั้ นสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย Simple Ramdam ได้กลุ่มตัวอย่างตามที่ต้องการแล้ว ส่งแบบสารวจความต้องการเป็นจานวน๒๘๐ชุด ให้แก่กลุ่มตัวอย่าง โดยแจกแบบสอบถามด้วยตนเอง แก่กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา และนาแบบสอบถามที่กลุ่มตัวอย่างตอบแล้ว ไปตรวจความถูกต้องและความ สมบูรณ์ ๒) กำรวิจัยเชิงคุณภำพ ประชากรผู้ ให้ ข้ อ มู ล ส าคั ญ คื อ ผู้ ให้ ก ารสั ม ภาษณ์ เชิ งลึ ก การให้ ค าปรึ ก ษาทาง โหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ผู้ให้สัมภาษณ์เชิงลึกประกอบด้วย โหราจารย์ที่ เป็นระดับครูอาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิระดับดุษฎีบัณฑิตจากสถาบันต่าง ๆ นักพยากรณ์อาชีพอิสระทั่วไป นักจิตวิทยาการปรึกษา และผู้ เชี่ย วชาญทางด้านพุทธจิตวิทยาคานวณ ๑๗ รูปท่าน โดยผู้วิจัยได้ พัฒนาแบบสัมภาษณ์เชิงลึก เชิงโครงสร้างตามทฤษฎี การให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธ จิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ โดยมีการบันทึก การสัมภาษณ์โดยเทปเสียง แล้วนามาวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อรวบรวมข้อมูล ตอบคาถามตามวัตถุประสงค์ ของดุษฎีนิพนธ์ต่อไป ๑.๓.๓ ขอบเขตด้ำนพื้นที่ ผู้ ให้ ค าปรึ กษาทางโหราศาสตร์ เฉพาะโหราจารย์ที่ ให้ การปรึก ษาทางพุ ท ธจิต วิท ยา โหราจารย์ ที่ มี ชื่ อเสี ย งะดั บ ประเทศทั้ งพระสงฆ์ แ ละฆราวาส และนั กพยากรณ์ อ าชีพ อิส ระทั่ ว ไป จากสมาคมสมาคมโหราศาสตร์แห่งประเทศไทยในสังฆราชุนู ปถัมภ์ ,สมาคมโหราศาสตร์นานาชาติ, สถาบั น โหราศาสตร์ ไ ทย -สากล, สถาบั น โหราศาสตร์ วิ ท ยา และสมาคมลิ ขิ ต บนฝ่ า มื อ ในกรุงเทพมหานคร

๕ ๑.๓.๔ ขอบเขตด้ำนระยะเวลำ ผู้วิจัยจะรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสารในช่วงแรกจัดเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูล การ สัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ในช่วงต่อไป ดาเนินงานวิจัยตั้งแต่เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ถึงเดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ รวมเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น ๔ เดือน

๑.๔ ปัญหำที่ต้องกำรทรำบ ๑.๔.๑ แนวคิ ด และหลั ก ปฏิ บั ติ เกี่ ย วกั บ การปรึก ษาทางโหราศาสตร์ ต ามแนวพุ ท ธ จิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ มีลักษณะอย่างไร ๑.๔.๒ แนวคิดและการสังเคราะห์หลักการให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธ จิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์เป็นอย่างไร ๑.๔.๓ นาเสนอรูปแบบการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความ ทุกข์เป็นอย่างไร

๑.๕. นิยำมศัพท์เฉพำะที่ใช้ในกำรวิจัย ๑.๕.๑ กำรปรึกษำ หมายถึง กระบวนการให้ความช่วยเหลือบุคคลด้านปัญหาส่วนตัว ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ โดยเน้นสัมพันธภาพระหว่างผู้ให้คาปรึกษาและผู้รับคาปรึกษา โดยการให้ คุณค่าของผู้มารับคาปรึกษา การฟังอย่างเข้าใจ เพื่อช่วยให้ผู้มารับคาปรึกษาได้มีความสามารถในการ ช่วยตนเอง รับผิดชอบในชีวิตของตน ๑.๕.๒ พุ ท ธจิ ต วิท ยำ หมายถึ ง หลั ก การและวิธีการในการวิเคราะห์ พ ฤติกรรมและ กระบวนการทางจิต และเจตสิก ทั้งส่วนที่นาไปสู่ความทุกข์ (ทุกข์-สมุทัย) และส่วนที่เป็นกระบวนการ พ้น ทุกข์ (นิ โรธ-มรรค)โดยเน้น การแก้ปัญ หาตามความเป็นจริง ตามเหตุตามปัจจัยที่เหมาะสมกับ อุปนิสัยตามธรรมชาติของผู้รับคาปรึกษา ๑.๕.๓ กำรปรึกษำตำมแนวพุทธจิตวิทยำ หมายถึง กระบวนการรูป ทางพุทธธรรม ที่ให้ความสาคัญต่อคุณสมบัติผู้ให้คาปรึกษา มีความเป็นกัลยาณมิตร มีพรหมวิหารธรรม๔ สัตบุรุษ ๗ เป็นต้น เพื่อพัฒนาคุณธรรมของผู้รับคาปรึกษาเช่น มีอิทธิบาท๔ โยนิโมนสิการ๑๐ เป็นต้น เพื่อช่วย ให้บุคคลที่ประสบปัญหาความทุกข์ ทางอารมณ์และจิตใจได้เข้าใจถึงสาเหตุ สภาพความเป็นจริง รู้วิธี เผชิญกับความทุกข์อย่างมั่นคงตามหลักพุทธธรรม และเห็นแนวทางในการเลือกแก้ปัญหาด้วยตนเอง ได้ ๑.๕.๔ โหรำศำสตร์ หมายถึง ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสถิติ และพลังดวงดาวที่มีต่อ สรรพสิ่งทั้งหลายในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนามาใช้ในการพยากรณ์ และทานายจิตใจและพฤติกรรม ของบุคคล ประกอบด้วย หลักการโหราศาสตร์ไทยจักรราศี เลขศาสตร์ ยิปซี และลายมือ ๑.๕.๕ กำรปรึ ก ษำทำงโหรำศำสตร์ หมายถึ ง กระบวนการรู ป แบบและวิ ธี ก ารที่ โหราจารย์นามาใช้ เพื่อการพยากรณ์ และทานายพฤติกรรม ของบุคคลเพื่อการ ทาความเข้าใจปัญหา ของตนเองเพื่อเกิดการยอมรับ และสร้างแรงจูงใจ ในการแก้ปัญ หา ของตนเองตามพื้นฐานของวัน เดื อ นปี เกิ ด อิ ท ธิพ ลของตั ว เลข การเสี่ ยงทายสั ญ ลั ก ษณ์ ที่ ป รากฏในไพ่ ลั ก ษณะของเส้ น นิ้ ว มื อ และรูปทรงของมือแบบต่าง ๆ

๖ ๑.๕.๖ กำรลดควำมทุกข์ หมายถึง การทาความเข้าใจประเภท ลักษณะ ของความทุกข์ หรือปัญ หาต่างๆ เพื่อนาไปสู่การค้นหาสาเหตุของความทุกข์และปัญหา เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ เกิด ความต้องการ เกิดความกระตือรือร้นที่จะพ้นจากปัญหา และนาสู่การพัฒนาคุณภาพของชีวิตด้าน ต่ าง ๆ ไม่ ว่า จะเป็ น ด้ านจิ ต ใจภายในของบุ ค คล ปั ญ หาเกี่ ย วกั บ อาชี พ การงาน ปั ญ หาเกี่ ย วกั บ สัมพันธภาพกับบุคคลต่างๆในระดันครอบครัวและระดับสังคม จากนั้นก็กระตุ้นให้บุคคลมีความเพียร ลงมือปฏิบัติเพื่อ ลดความทุกข์และพัฒนาคุณภาพของชีวิตตามลาดับ

๑.๖ วิธีดำเนินกำรวิจัย ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการดาเนินการศึกษา โดยมีขั้นตอนในการดาเนินการ ดังนี้ ๑.๖.๑ กำรดำเนินกำรด้ำนวิจัยเชิงปริมำณ ประชากรที่ ใ ช้ ใ นการวิ จั ย ครั้ ง นี้ ได้ แ ก่ กลุ่ ม ผู้ รั บ การปรึ ก ษาทางโหราศาสตร์ จากโหราจารย์ที่ให้การปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยา โหราจารย์ที่เป็นระดับครูอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ระดับดุษฎีบัณฑิตจากสถาบันต่าง ๆ และนักพยากรณ์อาชีพอิสระทั่วไป โดยเลือกประชากรจานวน ๙๐๐ คน ซึ่งผู้วิจัยได้คานวณกลุ่มตัวอย่าง โดยการเปิดตารางของเครซี่ และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จานวน ๒๖๕ คน จากนั้นสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างตามที่ ต้องการแล้ วส่ งแบบส ารวจความต้องการเป็นจานวน ๒๖๕ ฉบับ ให้ แก่กลุ่ มตัว อย่าง โดยใช้แจก แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่ ศึกษาจะเป็นผู้บันทึกคาตอบเอง และนาแบบสอบถามไปส่งให้ผู้ตอบเอง กรอกแบบสอบถามเองและ รอรับแบบสอบถามกลับคืน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ นาแบบสอบถามที่เก็บรวบรวมได้จากกลุ่มประชากรมา ทาการวิเคราะห์ทางสถิติประมวลผลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูปตามลาดับ ดังนี้ ๑) การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ( Descriptive Analysis ) ๒) สถิ ติ ที่ ใช้ ในการวิ จั ย คื อ ค่ า ความถี่ (Frequency) ค่ า ร้ อ ยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ย (Mean) ๑.๖.๒ กำรด ำเนิ น กำรวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภำพเชิ ง เอกสำร (Documentary Research) ซึ่งมีวิธีการดาเนินการสืบค้นข้อมูล ดังต่อไปนี้ ๑) เก็บรวบรวมแหล่งข้อมูลชั้นปฐมภูมิ (Primary Sources) คือ พระไตรปิฎกฉบับ ภาษาไทย ๒) เก็ บ รวบรวมแหล่ ง ข้ อ มู ล ชั้ น ทุ ติ ย ภู มิ (Secondary Sources)ได้ แ ก่ หนั ง สื อ วิทยานิพนธ์ วารสาร เอกสาร และสิ่งตีพิมพ์ที่เกี่ยวกับรูปแบบการให้คาปรึกษาทางพุทธจิตวิทยาตาม แนวโหราศาสตร์เพื่อการลดทุกข์ ๑.๖.๓ กำรดำเนินกำรวิจัยเชิงคุณภำพภำคสนำม ซึ่งมีวิธีการดาเนินการสืบค้นข้อมูล ดังต่อไปนี้ ผู้ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) โดยผู้วิจัยได้คัดเลือก ได้แก่ ผู้ให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ โหราจารย์ที่ให้คาปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยา โหราจารย์ที่เป็นระดับ ครูอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิระดับดุษฎีบัณฑิต จากสถาบันต่าง ๆ และนักพยากรณ์อาชีพอิสระที่มีชื่อเสียง

๗ และเป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือของสังคม จานวน ๑๗ คนใน กรุงเทพมหานคร โดยหลักเกณฑ์การ เลื อ กผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ เพื่ อ เป็ น ผู้ ให้ ข้ อ มู ล ส าคั ญ ใช้ การเลื อ กแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยพิจารณาถึง การได้ข้อมูลที่ครอบคลุมประเด็นสาคัญเกี่ยวกับรูปแบบการให้คาปรึกษาทางพุทธ จิตวิทยาตามแนวโหราศาสตร์เพื่อการลดทุกข์ โดยผู้วิจัยจะส่งหนังสืออย่างเป็นทางการโดยคารับรอง จากผู้อานวยการหลักสูตรฯ เพื่อใช้ในการสัมภาษณ์ล่วงหน้า และจะกาหนดวัน เวลา และสถานที่ ส่ ว นในขณะการสั ม ภาษณ์ ผู้ วิ จั ย จะขออนุ ญ าตใช้ เครื่ อ งบั น ทึ ก เสี ย ง และกล้ อ งบั น ทึ ก ภาพนิ่ ง และเคลื่อนไหว การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ทั้งหมดโดยใช้เทคนิค ๖’C๑๕ ได้แก่ ๑) Concept (ประเด็ น ) ๒) Content (สาระส าคั ญ ) ๓) Classify (การจ าแนกกลุ่ ม ) ๔) Category (จั ด หมวดหมู่ ) ๕) Conceptualize (การจั ด กรอบแนวคิ ด ) ๖) Communication (การอธิบาย) เมื่อรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ทั้งหมดแล้วจะนาข้อมูลทั้งหมดมาตรวจสอบความ ถูกต้องอย่างครบถ้วนโดยอิงจากเอกสารประกอบการตรวจสอบด้วย ผู้ วิจั ย จะน าข้ อ มู ล ทั้ งที่ ได้ จ ากการบั น ทึ ก ข้ อ มู ล การถอดเทปสั ม ภาษณ์ ร วมไปถึ งการ วิเคราะห์สรุปผลว่าสมบูรณ์หรือไม่ เรียบเรียง สรุป และนาเสนอผลการวิจัย

๑.๗ ประโยชน์ที่ได้รับจำกกำรวิจัย ๑.๗.๑ ทาให้ทราบหลักการทางจิตวิทยาและการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธ จิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ๑.๗.๒ ทาให้ทราบการสังเคราะห์หลักการให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธ จิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ๑.๗.๓ ทาให้ทราบการนาเสนอรูปแบบการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยา เพื่อลดความทุกข์

๑๕

นภั ท ร์ แก้ ว นาค, เอกสำรประกอบกำรสอน, เรื่ อ งเทคนิ ค การวิ เคราะห์ ข้ อ มู ล เชิ งคุ ณ ภาพ, (กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์อักษรวัฒนา, ๒๕๔๘), หน้า ๑๕๖.



บทที่ ๒ แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยเกี่ยวข้อง ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเรื่องการปรึกษา ทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ โดยข้อมูลที่รวบรวมได้จากพระไตรปิฎ ก อรรถกถา ตารา วารสาร เอกสารทางวิชาการของทรงคุณวุฒิทั้งทางศาสนาและทางวิชาโหราศาสตร์ ซึ่งผู้วิจัยได้รวบรวมจากห้องสมุดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยผู้วิจัยได้ศึกษารายละเอียดโดยแบ่ง เนื้อหาที่สาคัญออกเป็นดังนี้ ๒.๑ แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการให้การปรึกษา ๒.๒ แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการให้คาปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยา ๒.๓ แนวคิดเกี่ยวกับความทุกข์ในพุทธศาสนา ๒.๔ แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับโหราศาสตร์ ๒.๕ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๒.๖ กรอบแนวคิดของงานวิจัย

๒.๑ แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับจิตวิทยาการปรึกษา ๒.๑.๑ ความหมายของการปรึกษา คานิยามของคาว่า “การให้การปรึกษา” ที่ทุกคนยอมรับเป็นหนึ่งเดียวนั้นยั้งไม่มีเพราะ แต่ละท่านให้คาจากัดความตามมุมมองที่ตนได้สัมผัส ซึ่งสามารถรับรู้ได้ในความคิดและประสบการณ์ ที่แตกต่างกันไป ผู้ที่มีชื่อเสี ยงได้ให้นิ ย ามของการให้ บริการปรึกษา (counseling) ในหลายความคิด ซึ่ง ความแตกต่างเหล่านั้น มิใช่เนื่องมาจากทัศ นะและปรัชญาของผู้เชี่ยวชาญทางการให้บริการปรึกษา เท่านั้น แต่ยังเนื่องมาจากกาลเวลาที่สะสมประการณ์อีกด้วย Good, C.V.๑ ผู้ ส ร้ างพจนานุ กรมการศึ กษา ได้ให้ ความหมายของคาว่าการให้ บ ริการ ปรึ ก ษา เป็ น การให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ในรายบุ ค คล ด้ า นปั ญ หาส่ ว นตั ว การศึ ก ษา และอาชี พ ซึ่ ง ข้ อ เท็ จ จริ งทั้ งหมดที่ จ าเป็ น ได้ ถูก น ามาศึ ก ษาและวิเคราะห์ พ ร้อ มทั้ งหาวิธีที่ จะแก้ ปั ญ หานั้ น โดย ผู้เชี่ยวชาญที่ได้จากการสัมภาษณ์เป็นส่วนตัว เกี่ยวกับแหล่งทรัพยากรของโรงเรียนและสังคม จะทา ให้ผู้รับริการปรึกษาได้รับการชี้แนะให้รู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง Carl Rl Rogers๒ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการปรึกษาที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา ได้ให้คานิยาม ของการให้บริการปรึกษา โดยเน้นถึงสัมพันธภาพระหว่างผู้ให้บริการปรึกษาและผู้รับบริการปรึกษาว่า การให้บริการปรึกษาจะมีประสิทธิภาพได้นั้น จาเป็นต้องมีการกาหนดอัตตา (self) เป็นศูนย์กลางของ ๑

Good, C.V. Dictionary of Education, 3th ed., (New York: McGraw-Hill, 1945), P. 195. ๒ วิไลลักษณ์ -พงษ์พั นธ์ พงษ์ โสภา, ทฤษฎีและเทคนิคการให้บ ริการปรึกษา, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๖), หน้า ๘.

๙ โครงสร้างบุ คลิกภาพอย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับบริการปรึกษาสามารถเข้าใจตนเองถึงระดับที่ บุคคลจะสามารถนาตนเองก้าวไปในทิศทางที่เหมาะสมกว่าเดิมตามประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับมา พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)๓ ได้ให้ทัศนะไว้ว่า การให้การปรึกษาเป็นการแนะแนวที่ จะให้บุคคลสามารถช่วยเหลือตนเองได้ โดยทั่วไปคนทั้งหลายยังพึ่งตนเองได้ไม่เต็มที่ หรือมีระดับการ พึ่งตนเองที่ยังไม่สมบู รณ์ จึงต้องการผู้มาชี้แนะให้การปรึกษา เมื่อช่วยตัวเองไม่ได้ก็ต้องมีผู้ช่วยให้ พึ่งตนเองได้โดยใช้ภาษาและกิจกรรมเข้ามาช่วย เป็นต้น Burke & Steffre๔ ได้ให้ความหมายว่า การให้บริการปรึกษาเป็นสัมพันธภาพทางวิชาชีพ ระหว่างผู้ให้บริการปรึกษาที่ผ่านการฝึกอบรม กับผู้รับคาปรึกษา สัมพันธภาพนี้ปกติเป็นสัมพันธภาพ สองต่อสองระหว่างผู้ให้ บ ริการปรึกษากับผู้ รับ คาปรึกษา แต่อาจมีคนมากในกรณี ของการให้ การ ปรึกษากลุ่ม มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ผู้รับคาปรึกษาเข้าใจตนเอง และสิ่งแวดล้อม สามารถแก้ปัญหา ต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง ไอวี ย์ (Ivey)๕ ได้ นิ ย ามการให้ บ ริ ก ารปรึ ก ษาไว้ ดั ง นี้ คื อ การให้ บ ริ ก ารปรึ ก ษาเป็ น กระบวนการให้ความช่วยเหลือบุคคลปกติให้สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาหรือสามารถพัฒนาตนเองได้ วิไลลักษณ์และพงษ์พันธ์ พงษ์โสภา๖ กล่าวว่า การให้บริการปรึกษาในระยะหลังที่ใช้กันนี้ มักจะมีจุดมุ่งหมายในการช่วยบุคคลให้รู้จักเลือกและสามารถตอบคาถามตนเองได้ว่า เขาควรจะทา อย่างไรกับ การดาเนินชีวิตต่อไป อย่างไรก็ตาม การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการปรึกษากับ ผู้รับบริการปรึกษาที่ส่ งผลให้ ความหมายของการให้ บริการปรึกษาแตกต่างกันไปนั้น เป็นเพราะผู้ ให้ บ ริ ก ารปรึ ก ษาบางท่ า นได้ เน้ น ถึ งความสั ม พั น ธ์ อ ย่ างแนบแน่ น ระหว่ างผู้ ให้ บ ริ ก ารปรึก ษากั บ ผู้รับบริการปรึกษา ในขณะที่ผู้ให้บริการปรึกษาท่านอื่นอาจเน้นถึงกระบวนการที่ผู้รักบริการปรึก ษา เริ่มจะมีความเปลี่ยนแปลง อาภา จันทรสกุล ๗ กล่าวว่า การให้บริการปรึกษาเป็นกระบวนการ ให้ความช่วยเหลือผู้ ที่มารั บ คาปรึกษา ได้พ บปะกัน ภายใต้สั มพัน ธภาพที่ช่วยให้ ผู้ รับ คาปรึกษาเข้าใจ เกี่ยวกับตนเอง สภาพแวดล้ อม และปั ญ หาที่ กาลั งเผชิญ หน้าอยู่ได้ดีขึ้น ผู้ ให้ คาปรึก ษาใช้เทคนิ คและวิธีการทาง จิตวิทยาช่วยให้ผู้รับคาปรึกษามีโอกาสสารวจความรู้สึก ค่านิยม ตลอดจนข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับตนเอง เพื่อนาไปสู่ทักษะในการแก้ปัญหา และตัดสินใจเลือกวิธีการในการแก้ปัญหา และเป้าหมายในการ ดาเนินชีวิตของตนเองได้อย่างเหมาะสม



พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พุทธศาสตร์กับการแนะแนว, (กรุงเทพมหานคร: กองทุนวุฒิธรรม เพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรม, ๒๕๓๔), หน้า ๘. ๔ Burke,H. M.Jr., & Steffre,Theories of Counseling, 3rded., (Chicago: Kand Mcnally College publishing Coun,1975), p. 193. ๕ Ivey, Allen E, and Dawning, Lynn Synek,Counselling and Psychotherapy: Skill, (Theorises and practices,1980), p. 89. ๖ วิไลลักษณ์-พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา, ทฤษฎีและเทคนิคการให้บริการปรึกษา, ๒๕๕๖), หน้า ๔. ๗ อาภา จันทรสกุล, ทฤษฎีและวิธีการให้คาปรึกษา, พิมพ์ครั้งที่ ๔, (กรุงเทพมหานคร: ภาควิชา จิตวิทยาการศึกษาและแนะแนว, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๓๕), หน้า ๒.

๑๐ พีโทรฟีสา (Pietrofiesa)๘ ได้ให้คานิยามเกี่ยวกับการให้บริการไว้ว่า การให้บริการปรึกษา เป็นกระบวนการของสัมพันธภาพในการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งเต็มไปด้วยความอบอุ่น การยอมรับและ ความเข้ า ใจ ระหว่ า งผู้ ให้ บ ริ ก ารปรึก ษาซึ่ งเป็ น นั ก วิ ช าชี พ ที่ ได้ รั บ การฝึ ก อบรมในการให้ ค วาม ช่ว ยเหลื อ กั บ ผู้ รั บ บริ การซึ่ งต้ องการความช่ว ยเหลื อ เพื่ อ ช่ว ยให้ ผู้ รับบริการได้ เข้าใจตนเองและ สิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ได้เรียนรู้พฤติกรรมใหม่ ๆ มีทัศนคติใหม่เกิดขึ้นสาหรับนาไปประกอบการตัดสินใจ แก้ปัญหา หรือวางโครงการศึกษาและประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ จากคา จากัดความต่าง ๆ ดังกล่าวสรุปได้ว่า การให้บริการปรึกษาทางจิตวิทยามีลักษณะดังต่อไปนี้คือ๙ ๑. การให้บริการปรึกษาเป็นบริการทางวิชาชีพซึ่งกระทาโดยผู้ให้บริการปรึกษา ที่ได้รับ การฝึกอบรมจนมีความสามารถ และมีทักษะในการให้บริการดังกล่าว เช่น มีความสามารถในการฟัง การตอบสนอง การช่วยให้บุคคลเปลี่ยนพฤติกรรม ๒. การให้ บ ริ การปรึกษาเป็นกระบวนการของสั มพั นธภาพซึ่งเต็มไปด้วยความอบอุ่น การยอมรับ ความเข้าใจ ๓. การให้บริการปรึกษาเป็นกระบวนการช่วยเหลือ ให้ผู้รับบริการมีทักษะในการตัดสินใจ และแก้ปัญหา ๔. การให้บริการปรึกษาจะช่วยให้ผู้รับบริการได้เรียนรู้พฤติกรรมและทัศนคติใหม่ ๆ ๕. กาให้บริการปรึกษาเป็นความร่วมมือกัน ระหว่างผู้ให้บริการปรึกษากับผู้รับบริการ ๖. การให้บริการปรึกษาเป็นกระบวนการช่วยให้บุคคลพัฒนาขึ้น การให้บริการปรึกษาจะกระทากับบุคคลปกติที่มีความทุกข์ในลักษณะปกติความพยายาม ให้ ความช่ว ยเหลื อพนั กงานที่มีปั ญ หา ทฤษฎีห รือแนวคิดการให้ คาปรึกษามีด้วยกันหลายวิธีที่ถูก นามาใช้ แนวคิดเหล่านั้นทาอย่างไรขึ้นอยู่กับกิจกรรมในการฟังอย่างเข้าใจ ความพยายามที่เตรียมให้ ข้อมูล หรือการแนะนาว่าข้อสรุปควรเป็นอย่างไรเป็นสิ่งที่ผู้ให้คาปรึกษาจะต้อ งทา แต่สิ่งแรกที่ผู้ให้ คาปรึกษามักจะพบเห็นก็คือความยุ่งยากของปัญหา บ่อยครั้งที่ปัญหาไม่สารมารถแก้ไขได้โดยง่าย เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความคับข้องใจ หรือความขัดยั้งที่มากับความรู้สึกที่รุนแรง เช่น ความกลัว ความวิตกกังวล หรือความเครียดแค้น เกลียดชัง ดังนั้นผู้ ให้คาปรึกษาจึงต้องเรียนรู้และใช้ทฤษฎีหรือ แนวคิดอะไรในสถานการณ์ที่ปรากฏขณะนั้น เพราะการให้คาปรึกษาเป็นกระบวนการที่ไม่หยุดนิ่ง ประสิทธิภาพอย่างหนึ่งของผู้ให้คาปรึกษาก็คือ ความยืดหยุ่นในการใช้ทฤษฎี หรือแนวคิดกับผู้ขอ คาปรึกษา๑๐ สรุป ได้ว่า การให้ บริการปรึกษา เป็ นกระบวนการของสั มพันธภาพของการร่วมมือกัน ระหว่างผู้ให้การปรึกษากับผู้รับการปรึกษา เพื่อหาช่องทางเพื่อลดความทุกข์ให้ลดน้อยเบาบางลงหรือ ขจัดความทุกข์ให้ห มดสิ้ นไป และเพื่อให้ ผู้รับบริการเข้าใจตนเองเข้าใจผู้อื่นและเข้าใจสิ่ งแวดล้อม ๘

Pietrofesa, John L., Counseling: theory, research and practice. ( Chicago: Rand McNally College. Publishing Coun, 1979), p.193. ๙ วัชรีย์ ทรัพย์มี, ทฤษฎีให้บริการปรึกษา, พิมพ์ครั้งที่ ๖ (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๔), หน้า ๕. ๑๐ จาเนียร ช่วงโชติ, การบริการปรึกษาและแนะแนวเบื้องต้น , สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคาแหง, ๒๕๓๔, หน้า ๒๒๐.

๑๑ เพิ่ ม ขึ้ น พร้ อ มปรั บ ปรุ ง ทั ก ษะในการตั ด สิ น ใจและทั ก ษะในการแก้ ปั ญ หา ตลอดจนปรั บ ปรุ ง ความสามารถในการที่จะทาให้ตนเองพัฒนาได้เพิ่มขึ้น ๒.๑.๒ กระบวนการให้คาปรึกษา การให้คาปรึกษามีแนวคิดหรือทฤษฎี ซึ่งเป็นการจัดรวบรวมกรอบของความรู้ ความคิด เพื่อให้เกิดความเข้าใจแล้วนาไปปฏิบัติ โดยผ่านกระบวนการให้คาปรึกษาแนวคิดการให้คาปรึกษา ตามข้อเสนอของ Sherman and Bohlander แบ่งได้ดังนี้๑๑ ๒.๑.๒.๑ แนวคิ ด การให้ ค าปรึ ก ษาแบบน าทาง (Directive Counseling Approach) การให้ ค าปรึ ก ษาแบบน าทาง หรื อ บางครั้ งเรี ย กว่ า การให้ ค าปรึ ก ษาแบบผู้ ให้ ค าปรึ ก ษาเป็ น ศู น ย์ ก ลาง (Counselor Centered Counseling) แนวคิ ด นี้ เชื่ อ ว่ า “คนสามารถ แก้ปัญหาปละตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าเขาได้รู้จักและเข้าใจตนเอง” ดังนั้นการให้คาปรึกษา แบบนี้ผู้ให้คาปรึกษาจะต้องมีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ โดยผ่านการเรียนการฝึกอบรม มาแล้ว เพราะการให้คาปรึกษาแบบนาทางจะต้องมีสถานที่ที่เหมาะสมในการเผชิญหน้ากันระหว่าง ผู้ให้คาปรึกษาและผู้ขอรับคาปรึกษา ผู้ให้คาปรึกษาต้องสามารถควบคุมการเล่าต่าง ๆ ของผู้ขอรับ คาปรึกษาไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อนามาวินิจฉัยปัญหา พร้อมให้คาแนะนา และเสนอ ทางเลือกต่าง ๆ โดยบอกถึงข้อดีและข้อเสียในแต่ละทางเลือก ส่วนการตัดสินใจนั้นผู้ขอรับคาปรึกษา จะตัดสินใจเอง ทาให้ผู้ให้คาปรึกษาจะต้องทราบแหล่งของข้อมูลที่จะช่วยแนะนาให้กับผู้ขอคาปรึกษา ในการค้นหาเพื่อนาไปใช้ประโยชน์ต่อไป ดังนั้น ผู้ให้คาปรึกษาจะต้องพยายามทาให้ผู้ขอรับคาปรึกษาได้เรียนรู้ถึงตนเองในด้ าน ต่ า ง ๆ เช่ น สติ ปั ญ ญา ความสามารถ ความสนใจ ความถนั ด บุ ค ลิ ก ภาพและความรู้ เกี่ ย วกั บ สิ่ งแวดล้ อม เมื่ อผู้ ขอคาปรึก ษาได้ รู้จักตนเองย่อ มท าให้ เขาสามารถปรับ ตัว เอง และปรับ เปลี่ ย น พฤติ ก รรมให้ เหมาะสม และสามารถด าเนิ น ชี วิ ต ภายใต้ ส ภาวะแวดล้ อ มที่ เปลี่ ย นไปได้ การให้ คาปรึกษาแบบนาทางช่วยทาลายปัญหาความคับข้องใจ และหรือความขั ดแย้งของผู้ขอคาปรึกษาลง ไปได้ สาหรับการให้คาปรึกษาแบบนาทางมักใช้กับปัญหาการขาดข้อมูล การเลือกอาชีพ ระเบียบและ วิธีการปฏิบัติงาน ความขัดแย้ง เป็นต้น ๒.๑.๒.๒ แนวคิ ด การให้ ค าปรึ ก ษาแบบไม่ น าทาง (Nondirect Coundeling Approach) การให้ คาปรึกษาแบบไม่นาทาง หรือบางทีเรียกว่า การให้ คาปรึกษาแบบผู้ ขอรับ คาปรึกษาเป็นศูนย์กลาง (Client Centered Counseling) แนวคิดนี้เชื่อว่า “คนสามารถแก้ปัญหา และตัดสินใจได้ด้วยตนเอง” แต่ขณะเมื่อเผชิญปัญหา ทาให้ คนมีความวิตกกังวลไม่สามารถเข้าใจ ตนเอง ไม่เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น จึงทาให้ไม่สามารถหาวิธีแก้ปัญหาได้ เหมือนคาเปรียบเทียบว่า ผงเข้า ตาทาให้มองอะไรไม่เห็น ทาให้อาจตัดสินใจผิดพลาดและไม่สมเหตุสมผลได้ การให้คาปรึกษาแบบไม่ น าทาง ผู้ ให้ คาปรึ กษาจะให้ ผู้ ขอคาปรึกษาได้พู ดอย่างอิส ระในสิ่ งที่เข้าต้องการจะพู ดและระบาย ความรู้ สึ ก พู ด ถึ งปั ญ หาของเขา ผู้ ให้ ค าปรึ ก ษาเพี ย งรั บ ฟั ง อย่ างเห็ น ใจและเข้ า ใจ โดยไม่ มี ก าร ๑๑

Sherman and Bohlander. Managing Human Resource, 1996, PP. 561 -563.

๑๒ วิพากษ์วิจารณ์ การประเมินผลเกี่ยวกับปัญหา ไม่เน้นการให้ข้อมูลแก่ผู้ขอคาปรึกษา แต่จะใช้เทคนิค การสะท้อนกลับในสิ่งที่ผู้ขอคาปรึกษาพูดและรู้สึก เช่น อะไรที่เขาพูด และอะไรที่เขาไม่ได้พูด หรือ พยายามสร้างบรรยากาศให้ผู้ขอคาปรึกษาไม่มีความวิตกกังวล ความกลัว ขจัดความตึงเครียด การให้คาปรึกษาแบบไม่นาทางมี คาร์ล อาร์ รอเจอร์ส (Carl R. Rogers) (ค.ศ. ๑๘๐๒๑๘๘๗) เป็ น ผู้ น าของทฤษฎีนี้ เขาส าเร็จการศึก ษาสาขาจิตวิท ยาคลิ นิก เคยทางานเป็ น อาจารย์ มหาวิทยาลัย เคยทางานในศูน ย์แนะแนวเด็ก สถาบันพฤติกรรมศาสตร์ สถาบันศึกษาบุคคลและ สถาบันทางจิตต่าง ๆ ๑๒ ทฤษฎีการให้บริการปรึกษาแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง (Person centered terapy) ของ Carl R. Rogers เป็ น ทฤษฎี ที่ มี ค วามน่ าสนใจ และน าไปพิ จ ารณาส าหรับ ใช้ ในการ ให้บริการปรึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้รับบริการปรึกษาความทุกข์ ความไม่สบายใจในระดับของ ความรู้สึก ๑).ประวัติความเป็นมาของการให้บริการปรึกษาโดยยึดบุคคลผู้รับคาปรึกษา เป็นศูนย์กลาง Carl R. Rogers๑๓ เจ้าของทฤษฎีการให้บริการปรึกษาแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง เกิดเมื่อ ค.ศ. ๑๙๐๒ ที่ Oak Park ใน Chicago เขาเป็นเด็กที่มีสติปัญญาดีมาก ได้รับปริญญาตรีทาง เกษตรศาสตร์ และปริญ ญาโททางประวัติศาสตร์ จาก University of Wisconsin ขณะที่ Rogers กาลังศึกษาอยู่ชั้นปี ที่ ๓ ในมหาวิทยาลัย เขาได้รับคัดเลือกให้เป็นบุคคลหนึ่งในคณะนักศึกษาชาว อเมริกันเข้าร่วมประชุมกับสภานักศึกษาคริสเตียนแห่งโลกที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ซึ่ง Rogers ได้ใช้ เวลาอยู่ที่นั่นนากว่า ๖ เดือน ต่อมาหลังจากที่ Rogers ได้ศึกษาจบปริญญาทางศาประวัติศาสตร์แล้ว เขาได้ทางานอยู่ที่ Union Theological Seminary ระยะหนึ่งจึงได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ที่ Teacher College แห่ง Columbia University ทางด้านจิตวิทยาคลินิกและจิตวิทยาการศึกษา Rogers มีความสนใจในเรื่องของค่านิยม การใช้ปฏิภาณไหวพริบ และการแสดงความอบอุ่นแก่เพื่อน มนุษย์เป็นพิเศษ เมื่อจบการศึกษาทางด้านจิตวิทยาคลินิก เขาได้อุทิศ ตนเข้าทางานในคลินิกแนะแนว เด็กแห่งเมือง Rothester ในนคร NewYork Rogers เขียนหนังสือเล่มแรกขึ้นเมื่อ ค.ศ. ๑๙๓๗ หนังสือชื่อ The Clinical Treatment of the Problem Child หนั งสื อดังกล่ าวเริ่มเป็ น ที่แ พร่ห ลายใน ค.ศ. ๑๙๓๙ และต่อ มาใน ค.ศ. ๑๙๔๐ เขาได้รับตาแหน่งศาสตราจารย์ทางจิตวิทยาคลินิกจาก Ohio University ทาให้วิธีการรักษา คนไข้โดยยึดเอาผู้รับบริการปรึกษาเป็นศูนย์กลางเริ่มเป็นที่รู้จักกว้างขวางยิ่งขึ้น นอกจากนี้ หนังสืออีก เล่มหนึ่งซึ่ง Rogers เขียนขึ้นใน ค.ศ. ๑๙๔๒ คือ การให้บริการปรึกษาและจิตบาบัด (Counseling and Psychotherapy) ยิ่งมีส่วนช่วยให้ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับงานทางด้านนี้ได้เข้าใจถึงเทคนิคในกิจกรรม ต่าง ๆ ที่นักบาบัดจิตพึงสังวรและควรหลีกเลี่ยง นอกจากนั้นเนื้อหาใจความของหนังสือเล่มนี้ยังได้ ชี้แนะให้เห็นถึงความแตกต่างในตัวของผู้ให้บริการปรึกษาแบบการให้แนวทาง (directive) กันแบบ ๑๒

วัชรี ทรัพ ย์ มี, ทฤษฎี บ ริก ารปรึก ษา, พิ ม พ์ ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิ ม พ์ จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๗), หน้า ๖๑. ๑๓ วิ ไลลั ก ษณ์ -พงษ์ พั น ธ์ พงษ์ โสภา, ทฤษฎี แ ละเทคนิ ค การให้ บ ริ ก ารปรึ ก ษา, พิ ม พ์ ค รั้ งที่ ๑, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๖), หน้า ๙๗.

๑๓ ไม่ให้แนวทาง (non directive) ได้ชัดเจนขึ้น ใน ค.ศ. ๑๙๔๕ เขาได้ย้ายไปสอนที่มหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago) และมหาวิ ท ยาลั ย วิ ส คอนซิ น (University of Wisconsin) เมื่ อ ค.ศ. ๑๙๕๗ เป็นโอกาสให้ Rogers ได้พัฒ นาการบาบัดแบบผู้รับบริการปรึกษาเป็นศู นย์กลางของเขาให้ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เขายังได้สร้างผลงานวิจัยไว้มากกว่า ๑๐๐ เรื่อง และเขียนหนังสือออกมา เผยแพร่อีกหลายเล่ม หนังสือที่สาคัญอีกเล่มหนึ่ง ได้แก่ “A Theory of Therapy, Personality and Interpersonal Relationships and Developed in the Client Centered Framework” และที่ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน (University of Wisconsin) นี้เอง ทาให้กระบวนการให้บริการปรึกษาแบบ บุคคลเป็นศูนย์กลางได้รับความนิยมและมีผู้นาไปใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการให้บริการปรึกษาแก่ บุคคลที่มีความทุกข์ทางใจ ทั้งในโรงพยาบาล โรงเรียน ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ในวงการธุรกิจและ อุตสาหกรรมทั่วไป ใน ค.ศ. ๑๙๖๔ Rogers๑๔ ได้ ย้ ายจากมหาวิ ท ยาลั ย วิ ค อนซิ น ไปช่ ว ยงานที่ ส ถาบั น พฤติกรรมศาสตร์ตะวันตก (The Western Behavioral Science Institute) รัฐแคลิฟอร์เนีย และที่ ศูนย์การศึกษาบุคคล (The Center for the Studies of the Person) Rogers เป็ น บุ คคลหนึ่ งที่ มีส่ ว นช่ว ยให้ งานทางด้านจิตวิทยาคลิ นิ กและการให้ บ ริการ ปรึกษาได้พัฒนาและก้าวหน้าไปมากจนเป็นที่แพร่หลายทั้งในวงการแพทย์ การศึกษา ศาสนา ธุรกิจ และอุตสาหกรรม โดยเกียรติคุณสาคัญที่เขาได้รับมีดังนี้ ค.ศ. ๑๙๔๔ ได้ รั บ เลื อ กเป็ น ประธานของ The American Association of Applied Psychology ค.ศ. ๑๙๔๗ ได้รับเลือกเป็นประธานของ The American Psychological Association ค .ศ . ๑ ๙ ๕ ๖ ได้ รั บ ร า งวั ล จ า ก The American Psychological Association Distinguished Scientific Contribution Award ค .ศ . ๑ ๙ ๖ ๘ ไ ด้ รั บ ร า ง วั ล จ า ก The American Board of Professional Psychological Award for Outstanding Contribution to Professional Psychology ค .ศ .๑ ๙ ๗ ๒ ได้ รั บ ร า ง วั ล จ า ก The American Psychological Association Distinguished Professional Contribution Award ๒) แนวคิ ด ส าคั ญ การให้ บ ริ ก ารปรึ ก ษาโดยยึ ด บุ ค คลผู้ รั บ ค าปรึ ก ษาเป็ น ศูนย์กลาง การให้ บ ริ ก ารปรึ ก ษาโดยยึ ด ศู น ย์ ก ลางอยู่ ที่ ตั ว ผู้ รั บ บริ ก ารปรึ ก ษาเป็ น แนวความคิดของ Carl R. Rogers ทฤษฎีดังกล่าวนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน เช่น Client Centered Theory, Non directive Technique, Self Theory และ Rogerian ภายหลั ง เรี ย กว่ า Person Centered Theory ซึ่งทั้งหมดนี้คือทฤษฎีเดียวกัน สาหรับทฤษฎีการให้บริการปรึกษาแบบ Rogers นี้เกิดขึ้นในระหว่าง ค.ศ. ๑๙๔๐ ทฤษฎี ดังกล่าวมีลักษณะที่ค่อนข้างจะเป็นการตอบโต้กับทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ซึ่ง Rogers ได้พัฒนาขึ้นจาก ความคิดหลายด้านด้วยกัน เช่น ด้านพัฒ นาการทางบุคลิกภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การ ๑๔

วิไลลักษณ์-พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา, ทฤษฎีและเทคนิคการให้บริการปรึกษา, หน้า ๙๘.

๑๔ เรียนรู้ และความคิดริเริ่ม จากนั้น Rogers จึงได้เสนอโฉมหน้าทฤษฎีการให้บริการปรึกษาโดยวิธีที่ผู้ ให้บริการปรึกษาให้ความเชื่อถือและมอบความรับผิดชอบให้แก่ผู้รับบริการปรึกษามากขึ้น โดยเฉพาะ ในด้านการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวผู้รับบริการปรึกษาเอง เพราะแนวปรัชญาเกี่ยวกับมนุษย์ ของ Rogers นั้นถือว่า มนุษย์เราจะใช้ความสามารถของตนเองที่มีอยู่ในขณะนั้นเปลี่ยนจากเดิมที่มี การปรับตัวไม่ดีไปสู่การเป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตดี ซึ่งผู้ให้บริการปรึ กษาควรมีความรับผิดขอบเป็นพื้นฐาน ในการช่วยเหลือ สาหรับ Rogers เองได้ปฏิเสธแนวคิดที่ว่าผู้ให้บริการปรึกษามีลักษณ์ของการเป็นผู้มี อานาจ มีความรู้ดีที่สุด และผู้รับบริการปรึกษาจะต้องคอยปฏิบัติตามคาสั่งของผู้ให้บริการปรึกษา กระบวนการในการให้บริการปรึกษาของ Rogers จะเป็นไปในรูปแบบที่ผู้ให้บริการปรึกษาพยายามจะ ช่วยผู้รับบริการปรึกษาให้พยายามใช้ความสามารถของตนเอง เพื่อที่จะได้รู้จักตนเองและเข้าใจตนเอง ได้ดีขึ้น ตลอดจนสามารถตัดสินใจด้วยตนเองได้ โดยส่วนตัวของ Rogers นั้นเขาเป็นผู้ที่ยึดมั่นในอุดมคติของความเป็นประชาธิปไตยเป็น อย่ างมาก เขาเชื่อว่าบุ คคลควรได้รับการยอมรับในเรื่องศักดิ์ศรี เกียรติยศ และคุณ ค่าของตนเอง ดังนั้น ทุกคนควรมีสิทธิ์ที่จะคิดโดยอิสระ สามารถดาเนินชีวิตตามความคิดของตนเอง และนาตนเอง โดยปราศจากอิทธิพลหรือการครอบงาจากบุคคลอื่น ในด้านความเป็นตัวเองนั้น Rogers ถือว่า ทั้งผู้ ให้บริการปรึกษาและผู้รับบริการปรึกษามีสิทธิที่จะแสดงออกในแนวทางของตนเองตามความรู้สึก พร้อมทั้งดาเนินไปในทางที่ตนเลือก ทั้งนี้เพราะแต่ละคนมีความคิด ความรู้สึก และประสบการณ์ของ ตนเอง เพราะมนุษย์มิใช่วัตถุที่จะปล่อยให้ใครมาชักจูงได้ง่าย ๆ ดังนั้น มนุษย์จึงควรมีความรับผิดขอบ ชีวิตและตนเองและต่อสิ่งที่ตนเลือก Rogers ได้สรุปข้อสมมติฐานสาหรับการให้บริการปรึกษาแบบบุคคลเป็นศูนย์กลางไว้ ตอนหนึ่ งว่ า “ถ้ า เราหยิ บ ยื่ น ความสั ม พั น ธ์ ที่ ดี ให้ ผู้ อื่ น ก่ อ นแล้ ว ผู้ อื่ น จะมี ค วามสั ม พั น ธ์ ที่ ดี ต อบ เมื่อสัมพันธภาพอันดีระหว่างกันเกิดขึ้น บุคคลก็พร้อมที่จะเปิดเผยตนเองและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงตนเองอันหมายถึง การพัฒนาตนเองก็จะเกิดขึ้นตามมา” นอกจากนี้ Rogers ยังได้สมมติฐาน ต่อไปอีกว่า “การเปลี่ยนแปลงบุคลภาพของบุคคลไปในทางที่ดีนั้นจะไม่เกิดขึ้น เว้นแต่ว่าจะต้องมี สัมพันธภาพอันดีระหว่างบุคคลเกิดขึ้นก่อน”๑๕ ๓)พัฒนาการของวิธีให้บริการปรึกษาแบบผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง ได้ มี ก ารพั ฒ นาทฤษฎี ก ารให้ บ ริก ารปรึ ก ษาแบบผู้ รับ บริ ก ารเป็ น ศู น ย์ ก ลาง ตามลาดับ โดยมีการปรับปรุงบทบาทของผู้ให้บริการปรึกษา เพื่อให้การปรึกษามีประสิทธิภาพขึ้น ดังจะได้กล่าวถึงพัฒนาการของทฤษฎีนี้ในแต่ละยุค (๑) ยุคแรก ยุคการให้ บ ริการปรึกษาแบบไม่นาทาง (The Nondirective ๑๖ period) ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๔๐ ถึง ค.ศ. ๑๙๕๐ เน้นยอมรับแบะให้ความอบอุ่นแก่ผู้ รับบริการ ไม่ ประเมินและศรัทธาในความสามารถของผู้รับบริการ พยายามช่วยให้เ ขาเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม ในยุคนี้รอเจอรส์เน้นการทวนสิ่งที่ผู้รับบริการพูดโดยมีความเชื่อว่า ถ้าผู้รับบริการได้ยินสิ่งที่เขาได้พูด อย่างถูกต้องชัดเจน ผู้รับบริการจะสามารถสารวจตนเองและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นได้เน้นว่า ๑๕ วิไลลักษณ์-พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา, ทฤษฎีและเทคนิคการให้บริการปรึกษา, หน้า ๙๙. ๑๖

วัชรี ทรัพย์มี, ทฤษฎีให้บริการปรึกษา, หน้า ๖๓.

๑๕ ความรู้สึกเป็นสิ่งสาคัญซึ่งควรให้ผู้รับบริการได้ตระหนักว่าเขารู้สึกอย่างไร โดยใช้วิธีสะท้อนความรู้สึก นยุคนี้ผู้ให้บริการปรึกษาแบบผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางไม่เห็นด้วยกับการใช้คาถาม การตีความหมาย หรือแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ผู้รับบริการพูด หรือ แสดงออก (๒) ยุ คที่ สอง การให้ บริการปรึกษาแบบผู้ รับบริการเป็นศูนย์กลาง (The Client-Centered Period) ๑๗ ในยุ ค นี้ ร อเจอร์ ส (ตั้ ง แต่ ค.ศ. ๑๙๕๐ ถึ ง ค.ศ. ๑๙๖๑) เน้ น ความส าคั ญ ของการรั บ รู้ ก รอบแห่ งความคิ ด และความรู้สึ ก ของผู้ รั บ บริก าร (internal frame of reference) โดยผู้ให้บริการปรึกษาต้องเข้าใจทั้งเรื่องราว และความรู้สึกนึกคิดของผู้รับบริการ (๓) ยุคที่สาม การให้บริการปรึกษาที่ผู้ให้บริการปรึกษา เข้าไปเกี่ยวข้องกับ ผู้ รั บ บริ ก ารมากขึ้ น (The Third Period of Active Counselor Envolvement)๑๘ ตั้ ง แต่ ค.ศ. ๑๖๙๒ ถึง ค.ศ. ๑๖๙๓ ยุคนี้เป็นยุคที่ผู้ให้บริการปรึกษาเข้าไปเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการมากขึ้น โดยใช้ กลวิ ธี ต่ า ง ๆ เพิ่ ม เติ ม จากการสะท้ อ น (reflecting) และการท าให้ ข้ อ ความกระทั ด รั บ ขึ้ น (paraphrase) โดยเพิ่มกลวิธีต่อไปนี้ คือ การเปิดเผยตนเอง (self-disclosure) การให้ผลป้อนกลับ (feedback) การสอบซัก (questioning) (๔) ยุคที่สี่ ยุคบุคคลเป็นศูนย์กลาง (Person- Centered Approach)๑๙เริ่ม ตั้ งแต่ ค.ศ. ๑๙๗๐ จนถึ งปั จ จุ บั น ผู้ ให้ บ ริ ก ารปรึ ก ษาให้ ค วามส าคั ญ ที่ ตั ว บุ ค คลไม่ ใช่ ตั ว ปั ญ หา สนับสนุนให้ผู้รับบริการเปิดรับประสบการณ์ เชื่อถือตนเองประเมินตนเองอย่างถ่องแท้ และเต็มใจที่ จะพัฒนาตนเองต่อไป ซึ่งการสนับสนุนให้เขามีคุณสมบัติดังกล่าวจะช่วยให้เขาสามารถเผชิญปัญหา ปัจจุบันและอนาคตได้ ซึ่งผู้ให้บ ริการปรึกษาจะต้องเป็นบุคคลที่มีความจริงใจ ยอมรับผู้รับบริการ ใส่ใจ และเข้าใจเรื่องราว และความรู้สึกนึกคิดของผู้รับบริการ สัมพันธภาพระหว่างผู้ให้บริการปรึ กษา กับผู้รับบริการ และทัศนคติของผู้ให้บริการปรึกษา มีความสาคัญมากกว่าเทคนิคใด ๆ รอเจอร์ ส ได้ ขยายขอบเขตการประยุ ก ต์ ท ฤษฎี ข องเขาเข้ าไปในวงการศึ ก ษา วงการ อุ ต สาหกรรม ชี วิ ต ครอบครั ว ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศ จนกระทั่ ง ถึ ง สั น ติ สุ ข ของโลก การพิจารณามนุษย์แ ละหลักการตามแนวคิดของทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง ธรรมชาติของมนุษย์๒๐ แนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์นั้น Rogers ปฏิเสธแนวคิดที่ว่ามนุษย์แต่ ละคนที่เกิดมามีแนวโน้มไปในทางลบ Rogers เชื่อว่า โดยพื้นฐานทั่วไปของมนุษย์แล้ว มนุษย์เป็นผู้ที่ มีเหตุผล มีความสามารถในการแก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจด้วยตนเองได้ มีคุณค่าพร้อมศักดิ์ศรี เป็นที่เชื่อถือและให้ความไว้วางใจได้ว่า พูดจริงทาจริง มีความปรารถนาที่จะก้าวไปข้างหน้าเพื่อให้ เป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ โดยเป็นบุคคลที่ทาหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ (full functioning) และ พร้อมที่จะดาเนินชีวิตร่วมกันในอันที่จะสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ แต่การที่มนุษย์ปฏิบัติตนเองไม่ เหมาะสมนั้น เป็นเพราะเขามีปัญหาและจาเป็นต้องป้องกันตนเองให้อยู่รอด ซึ่งแท้จริงแล้วมนุษย์ พยายามที่จะปรับตนเองให้เข้ากับสังคมมากกว่า ๑๗

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๖๕. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๖๖. ๑๙ อ้างแล้ว ๒๐ วิไลลักษณ์-พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา, ทฤษฎีและเทคนิคการให้บริการปรึกษา, หน้า ๑๐๒-๑๐๓. ๑๘

๑๖ บุคลิกภาพของมนุ ษย์ มนุษย์ประกอบด้วยอัตมโนทัศน์ (self-concept) หรือความคิด เกี่ ย วกั บ ตนเองที่ คิ ด ว่ า ตนเองเป็ น อย่ า งไร ซึ่ ง คล้ า ยคลึ ง กั บ ภาพลั ก ษณ์ ต นเอง (self-image) สาหรับอัตมโนทัศน์ (self-concept) นี้ประกอบด้วยตนที่แท้จริง (real self) การปรับรู้เกี่ยวกับตน (perceived self) และตนในอุดมคติ (ideal self) สภาพของผู้มีทุกข์ สาเหตุของความทุกข์เกิดจากความไม่ผสมผสานกันระหว่างอัตมโน ทัศน์กับประสบการณ์ หรือ กล่าวโดยง่าย คือ ความทุกข์เกิดจากความไม่สอดคล้องกันระหว่างสิ่งที่ บุคคลนั้นต้องการจะเป็นกับสิ่งที่บุคคลเป็นอยู่ รอเจอร์ส ได้สรุปแนวคิดที่สาคัญเกี่ยวกับมนุษย์ไว้ ดังนี้คือ๒๑ (๑) มนุษย์เป็นผู้มีความสามารถและมีคุณค่ามนุษย์มีสติปัญญาและมีความสามารถที่จะ ตัดสินใจได้ด้วยตนเอง ฉะนั้นทุกคนควรมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการกระทา โดยที่การ กระทานั้นไม่ก้าวก่ายสิทธิของบุคคลอื่น ดังนั้นผู้ให้บริการปรึกษาพึงสนับสนุนให้ผู้รับบริการเป็นตัว ของตัวเอง ตัดสินใจได้ด้วยตนเอง พึ่งตนเองได้ (๒) มนุษย์มีแนวโน้มที่จะพัฒนาตนเอง ธรรมชาติของชีวิตคือ การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเพื่อความคงอยู่และการพัฒ นา ตนเอง เช่น ทางด้านร่างกายจะเห็นว่าเด็กที่เริ่มหัดเดิน แม้ว่าจะหกล้ มก็พยายามฝึกเดินให้แข็งเพื่อจะ ได้ทากิจกรรมต่าง ๆ หรือได้ในสิ่งที่ตนปรารถนาสะดวกขึ้น มนุษย์พยายามพัฒนาทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็น ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ ภาษา มนุษย์พยายามพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง พยายามช่วย ตนเอง ไม่ต้องให้ใครมาควบคุม มนุษย์มีความสามารถที่จะพัฒ นาตนเองได้ เมื่ออยู่ในสภาพการณ์ที่เหมาะสม เหมือน เมล็ดพืชที่ได้รับความชุ่มชื้น ดินดี อุณหภูมิพอเหมาะ ก็จะงอกงามได้ดี ดังนั้นกระบวนการให้บริการ ปรึกษา จึงมีจุดมุ่งหลายในการจัดสภาพการณ์ที่เหมาะสม ให้ผู้รับบริการได้พัฒนาความสามารถของ ตนเองอย่างเต็มที่ ฉะนั้นทฤษฎีนี้จึงเน้นเรื่องการจัดสภาพการณ์ต่าง ๆ (๓) โดยพื้นฐานแล้วมนุษย์เป็นคนดีและน่าเชื่อถือ รอเจอร์ส มีความเห็นว่า โดยพื้นฐานแล้วมนุษย์เป็นคนดีและน่าเชื่อถือ แต่การที่คนทาสิ่ง ที่ไม่เหมาะสม เช่น คดโกง เห็นแก่ตัว โหดร้ายนั้นเนื่องมาจากความไม่สอดคล้ องกันระหว่างความรู้สึก นึกคิดที่มีต่อตนเองกับสภาพความเป็นจริง ซึ่งทาให้บุคคลนั้นใช้กลวิธีป้องกันจิตใจตนเองต่าง ๆ รอ เจอร์สเชื่อว่าผู้ให้บริการปรึกษาสามารถช่วยให้ผู้รับบริการลดการใช้กลวิธีป้องกันจิตใจตนเองลง จะ ทาให้เขาเปิดรับประสบการณ์เพิ่มขึ้น พิจารณาตนเองใหม่ และก็จะสามารถพัฒนาตนเองให้เป็นคนดี และน่าเชื่อถือได้ต่อไป (๔) มนุษย์จะมีการรับรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม ตามประสบการณ์ของแต่ละ บุคคล รอเจอร์สเน้นว่าการกระทาและการปรับตัวของบุคคลต่อสภาพการณ์ต่าง ๆ สอดคล้อง กั บ การพิ จ ารณาสิ่ ง แวดล้ อ มตามประสบการณ์ ข องเขา ประสบการณ์ ข องบุ ค คลเปลี่ ย นแปลง ตลอดเวลา การรั บ รู้ สิ่ ง ต่ า ง ๆ จะแตกต่ า งจากคนอื่ น เป็ น โลกของเขา (phenomenal field ๒๑

วัชรี ทรัพย์มี, ทฤษฎีบริการปรึกษา, หน้า ๗๑-๗๕.

๑๗ หรือ experienced field) การที่บุคคลรับรู้สิ่งต่าง ๆ จะมีอิทธิพลต่อการกระทา เช่น คนที่เคยได้รับ การเอารัดเอาเปรียบ อยู่ท่ามกลางการชิงดีชิงเด่น จะมองโลกในแง่ร้าย หรือถ้าเขารู้สึกว่าเขาไม่ได้รับ ความเป็นธรรม เขาจะต่อต้านสังคม คิดว่าสังคมตั้งเกณฑ์อย่างยุติธรรม ทาให้เกิดการเอารับเอาเปรียบ กัน การที่จะเข้าใจบุคคลต้องพยายามเข้าใจว่าเขารับรู้สิ่งต่าง ๆ อย่างไร กรอบแก่งการรับรู้ ของเขาเป็นอย่างไร ต้องเข้าใจความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ และค่านิยมของผู้รับบริการ ไม่ใช่ใช้ความ คิดเห็นของผู้ให้บริการปรึกษาเองตัดสินตัวอย่างเช่น นักเรียนที่มีความคิดเห็นว่าครูไม่ยุติธรรม แม้ว่า ข้อเท็จจริงจะไม่เป็น ไปตามที่เขาคิดก็ตาม แต่ในความรู้สึกนึกคิดของเขาเป็นเช่นนั้น ซึ่งจะทาให้ มี พฤติกรรมตามความรู้สึกนึกคิดที่มีอยู่ การจะให้นักเรียนคนนั้นเปลี่ยนพฤติกรรมก็คือ จะต้องเปลี่ยน การรับรู้ของเขาเกี่ยวกับครูคนนั้นเสียก่อน เพราะพฤติกรรมเป็นผลมาจากการรับรู้ของบุคคล (๕) มนุษย์ต้องการความรัก ความเอาใจใส่ และการยอมรับจากผู้อื่น ความต้องการนี้เริ่มจากการที่เด็กต้องการความรักและความเอาใจใส่จากแม่ หรือผู้ที่เลี้ยง ดูเป็นต้น มา จนกระทั่งถึงความรักและการยอมรับจากเพื่อน ครูและผู้คนที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ฉะนั้ น ผู้ ใ ห้ บ ริ ก ารปรึ ก ษาพึ ง มี ทั ศ นคติ ที่ ดี และยอมรั บ ผู้ รั บ บริ ก ารโดยปราศจากเงื่ อ นไข (unconditioned positive regard) (๖) การพัฒนาความรู้สึกนึกคิดต่อตนเอง ทฤษฎี นี้ เชื่ อ ว่าแกนส าคั ญ ของบุ ค ลิ ก ภาพคื อ ความรู้สึ ก นึ ก คิ ด ที่ บุ ค คลที่ มี ต่ อ ตนเอง (Self Concept) ซึ่งเกิดจากการที่บุคคลสังเกตปฏิกิริยาที่ผู้อื่นมีต่อตนและเกิดจากประสบการณ์ ที่ ได้รับ อันจะก่อให้เกิดการรับรู้ว่าตนเป็นคนดีหรือไม่ มีความสามารถมากน้อยเพียงใด บุคคลที่ประสบความสาเร็จในสิ่งที่กระทา ได้รับคาชมเชยจากผู้ใหญ่หรือเพื่อน จะเกิด ความภาคภูมิใจในตนเอง มีความรู้สึกนึกคิดที่ดีต่อตนเอง (Positive Self Concept) หรือถ้าพ่อแม่ ผู้ปกครองปฏิบัติต่อเด็กด้วยความรัก ความเอาใจใส่ เด็กจะเกิดความรู้สึกว่าตนมีคุณค่า ในทางตรงข้าม ถ้าบุคคลทาสิ่งใดผิดหรือประสบความล้มเหลวแล้วได้รับการดุว่าหรือดู แคลนจากผู้อื่น เขาจะเกิดความรู้สึกด้อยพิจารณาตนเองว่าเป็นคนที่สังคมไม่ยอมรับ หรือเป็นคนไม่มี ความสามารถ มีความรู้สึกนึก คิดในแง่ล บเกี่ยวกับตนเอง (Negative Self Concept) นอกจากนั้น ระดับความคาดหวังที่ผู้ปกครองตั้งให้เด็กมีส่วนสาคัญมากต่อการสร้างความคิดเห็นที่เด็กมีต่อตนเอง เป็นต้นว่าถ้าผู้ปกครองตั้งระดับความคาดหวังไว้สูงมากเกินไป เด็กไม่มีความสามารถพอที่จะทาได้ จึงมีแนวโน้มจะประสบความล้มเหลวในสิ่งที่ทา ผลก็คือเด็กเกิดความรู้สึกด้อยกว่าตนไร้ความสามารถ ผู้ที่มีความรู้สึกนึกคิดในแง่ลบกับตนเองมาก ๆ หรือบ่อย ๆ เป็นบ่อเกิดของปมด้อยและความไม่เชื่อมั่น ในตนเอง (๗) สาเหตุแห่งปัญหาหรือความทุกข์ เนื่องจากบุคคลต้องการมีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง อยากมีคุณค่า ต้องการความยอมรับและ การชื่นชมจากผู้อื่น จึงทาให้บุคคลเลือกรับรู้เฉพาะประสบการณ์ในด้านดีของตน แต่จะบิดเบือนการ รับรู้ต่อประสบการณ์ที่ไม่ดีของตน หรือปฏิเสธไม่ยอมรับรู้ หรือไม่ยอมตระหนักถึงประสบการณ์ที่ไม่ สอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิดของเขา จึงก่อให้เกิดปัญหาการปรับตัว

๑๘ ทฤษฎี การให้ บ ริ การปรึกษาแบบผู้ รับ บริการเป็ น ศูน ย์ก ลาง มีห ลั กว่าปั ญ หาเกิด จาก อารมณ์ แ ละความรู้ สึ ก ของบุ ค คล อั น เนื่ อ งมาจากความไม่ ส อดคล้ อ ง (incongruence) ระหว่ า ง ความรู้สึกที่มีต่อตนเองกับสิ่งที่ประสบ จึงทาให้บุคคลนั้นเกิดความรู้สึกว่าตนได้ รับการคุกคามด้าน จิตใจ (threat) ก่อให้เกิดความกังวลใจ (anxiety) ว่าตนไม่ได้มีคุณค่าเท่าที่ได้คาดคิดไว้ เช่น นึกว่าเก่ง แต่สอบได้คะแนไม่ดี นึกว่าพ่อแม่รักตัวมากกว่าพี่น้อง นึกว่าตนเรียนเก่งแต่สอบเข้าเรียนมหาวิทยาลัย หรื อ สาขาที่ ต้ อ งการไม่ ได้ เมื่ อ ความรู้สึ ก นึ ก คิ ด ที่ บุ ค คลมี ต่ อ ตนเองไม่ ส อดคล้ อ งกั บ สิ่ งที่ ป ระสบ ผู้ที่ปรับตัวไม่ได้จะใช้กลวิธีป้องกันจิตใจตนเอง ซึ่งเป็นการหลอกตนเอง เพื่อรักษาสภาพจิตใจว่าตนยัง มีค่า ยั งมีค วามสามารถ เช่น โทษว่าอาจารย์ออกข้อสอบก ากวมจึงสอบได้คะแนนไม่ดี พ่อ แม่ไม่ ยุติธรรมรักน้องมากกว่า รัฐบาลไร้ประสิทธิภาพที่ไม่สามารถจัดสถานที่เรียนได้อย่างเพียงพอ รอเจอร์สได้กล่าวถึงประสบการณ์ในการให้บริการปรึกษาของเขาว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่ มีปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้ คือ หนีความจริง หวาดกลัวที่จะต้องเผชิญกับสภาพความเป็นจริง เกี่ยวกับตนเอง ซึ่งเขายอมรับไม่ได้ หนีจากความคาดหวังของสังคม หลายคนถูกสังคมหรือคนรอบข้าง เช่น ผู้ใหญ่คาดหวังว่าเขาควรทาเช่นนั้นหรือควรเป็นเช่นนั้น ซึ่งทาให้เกิดความเบื่อหน่าย และรู้สึกว่า เขาไม่เป็นตัวของตัวเอง จึงพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ควรจะทาหรือควรเป็นตามข้อเรียกร้องของสังคม ไม่มั่นใจและหวาดวิตกต่อผลแห่งการตัดสินใจของตน ทั้ง ๆ ที่อยากเป็นตัวของตัวเอง อยากตัดสินใจในการนาชีวิตของตน (๘) บุคคลที่ปรับตัวได้ดี คือบุคคลทีไม่บิดเบือนประสบการณ์ ยอมรับความจริง ความรู้สึก นึกคิดของบุคคลเปลี่ยนแปลงได้ ไม่จาเป็นต้องหยุดชะงักอยู่กับที่ หรือแตะต้องไม่ได้ สิ่งที่ผู้ให้บริการ ปรึกษาจะต้องตระหนักคือ ช่องว่างระหว่างประสบการณ์กับความรู้สึกนึกคิดที่บุคคลมีต่อตนเอง (๙) การที่จะช่วยให้ผู้รับบริการไม่รู้สึกว่าถูกคุกคาม และเลี่ยงกลวิธีป้องกันจิตใจตนเองก็ คือ ผู้ ให้ บ ริ ก ารปรึ ก ษาจะต้ อ งสร้ างสั ม พั น ธภาพ (rapport) กั บ ผู้ รับ บริก าร เพื่ อ ให้ ผู้ รั บ บริก ารไม่ เคร่งเครีย ด คลายจากความรู้ สึ กถูกคุกคามด้านจิตใจจะได้กล้ าพิ จารณาตนเอง และสภาพการณ์ ต่าง ๆ อย่างถูกต้องต่อความเป็นจริง เช่น ยอมรับอารมณ์อันสับสน ความขัดแย้งทางจิตใจต่าง ๆ ได้ เปิดรับประสบการณ์ต่าง ๆ ยอมรับตนเองและผู้อื่นเพิ่มขึ้น เป็นตัวของตัวเองเพิ่มขึ้น โดยผู้ให้บริการ ปรึ กษาจะต้ องมี ความจริงใจ ยอมรับ บริก าร โดยปราศจากเงื่อนไข ไม่รังเกียจผู้ รับ บริก าร แม้ ว่า ค่านิยมผู้รับบริการจะไม่ตรงกับผู้ให้บริการปรึกษา หรืออุดมการณ์ไม่สอดคล้องกันก็ตาม ผู้รับบริการ ปรึกษาจะต้องไม่รังเกียจเขา มีเมตตาพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือผู้รับบริการ และผู้ให้บริการปรึกษา จะต้องพยายามเข้าใจผู้รับบริการ ทั้งเนื้อหาและสีหน้าท่าทางที่ผู้รับบริการแสดงออก ในกระบวนการ ให้บริการปรึกษา จะช่วยให้เขาเปลื้องเครื่องพันธนาการออกจากตัวเขา และพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง (๑๐) ผู้ที่เหมาะจะรับบริการปรึกษาแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง ควรมีลักษณะดังนี้คือ ก. มีความเครียดทางอารมณ์ ข. มีโอกาสพบผู้ให้บริการปรึกษาอย่างสม่าเสมอ ค. สามารถระบายความรู้สึกขัดแย้งด้านจิตใจ หรือความคับข้องใจด้วยคาพูด และสี หน้าท่าทาง ง. มีระดับสติปั ญญาไม่ต่ากว่าปานกลาง สามารถที่จะใช้ความคิดในการแก้ปัญหา หรือการปรับตัว

๑๙ ๔) จุดประสงค์ของการให้บริการปรึกษาแบบยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง๒๒ จุดประสงค์ของการให้บริการปรึกษาแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง เน้นการขจัดหรือ ลดความทุกข์ทางอารมณ์ และความรู้สึกของผู้ รับบริการ เพื่อจะได้ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาหรือ ตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป โดยผู้ให้บริการปรึกษาจัดสภาพการณ์ของการให้บริการปรึกษาที่ อบอุ่น เป็นมิตร เต็มไปด้วยการยอมรับและความเข้าใจ ให้ ผู้รับบริการได้ระบายอารมณ์ คับข้องใจ หรือความขัดแย้งในใจของตนอันเป็นปัญหาหลักในการปรับตัว ซึ่งจะทาให้ผู้รับบริการได้ผ่อนคลาย จากการเก็บความรู้สึก เพิ่มความตระหนักในสถานการณ์ที่เป็นปัญหาของตน ได้สารวจความรู้สึกอย่าง ลึ ก ซึ้ งขึ้ น ซึ่ งเป็ น ขั้ น ต้ น ที่ จ ะก่ อ ให้ เกิ ด ความเข้ า ใจอย่ างถ่ อ งแท้ คื อ ได้ เห็ น ความสั ม พั น ธ์ระหว่า ง สภาพการณ์ต่าง ๆ ด้วยสายตาใหม่ พิจารณาตนเองและสิ่งแวดล้อมอย่างตรงต่อข้อเท็จจริง เขาจะ ค่อย ๆ พัฒ นาความเข้าใจตนเอง และสภาพการณ์ต่าง ๆ อย่างเด่นชัดขึ้น แสวงหาวิธีแก้ปัญหาที่มี ประสิทธิภาพ หรือตัดสินใจได้เหมาะสมขึ้น ซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นการส่งเสริมให้ผู้รับบริการเป็นตัว ของตัวเอง สามารถจัดดาเนินการกับชีวิตของตนได้เหมาะสมขึ้น เป็นบุคคลที่มีประสิทธิภาพ สรุปได้ว่า การให้บริการปรึกษาแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง มีจุดประสงค์ดังต่อไปนี้คือ (๑) เพื่อให้ผู้รับบริการยอมรับความจริง พิจารณาตนเองและสภาพแวดล้อมได้สอดคล้อง กับข้อเท็จจริง ไม่บิดเบือน หรือเก็บกดประสบการณ์ของตนปราศจากความรู้สึกว่าได้รับการคุกคาด้าน จิตใจ ไม่ใช้กลวิธีป้องกันจิตใจตนเป็นการแก้ปัญหา (๒) เพื่อให้ ผู้รับ บริการเปิดรับประสบการณ์ โดยพิจารณาสิ่ งต่าง ๆ อย่างกว้างขวางใน หลายแง่มุม ในชีวิตมนุษย์จะมีประสบการณ์ใหม่ ๆ ผ่านเข้ามาเสมอ ดังนั้นบุคคลควรยื ดหยุ่นเปิดรับ ประสบการณ์ เมื่อเปิ ดรับ ประสบการณ์ เพิ่มขึ้น เขาจะได้รับข้อมูล ต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับตนเองและ สิ่งแวดล้อมโดยไม่บิดเบือน เป็นการตระหนักต่อสิ่งต่าง ๆ โดยใช้จิตสานึกและเหตุผล เมื่อบุคคลได้ ข้อมูลที่ตรงต่อข้อเท็จจริง ประกอบกับการใช้เหตุผล ก็จะทาให้การกระทาต่าง ๆ มีประสิทธิภาพ และ นอกจากนั้นจากการที่เปิดรับประสบการณ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ จึงมีโอกาสรับรู้หรือพิจารณาสิ่งที่บุคคลอื่น ไม่ได้สังเกต เกิดเป็นความคิดริเริ่มขึ้นได้ (๓) เพื่ อ ให้ ผู้ รั บ บริ ก าร มี ค วามเชื่ อ มั่ น ในตนเองเพิ่ ม ขึ้ น ลดความรู้สึ ก หดหู่ ท้ อ ถอย มีกาลังใจต่อสู้ชีวิตใหม่ และพร้อมที่จะเลือกดาเนินการกับชีวิตของตนเอง เป็นตัวของตัวเอง สามารถ ตัดสิน ใจแก้ปัญ หา หรือเลือกกระทาสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง ในสิ่งที่ได้ใคร่ครวญแล้วว่าเหมาะสม มีความเชื่อมั่นที่จะเลือกทางดาเนินชีวิตของตนเอง (๔) เพื่อให้ผู้รับบริการรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าเพิ่มขึ้น และพยายามพัฒนาตนเอง (๕) เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถปฏิบัติภารกิจในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านส่วนตัว การเรียน และการทางาน (๖) จุ ดประสงค์ร ะยะยาวของบริการปรึกษาแบบบุค คลเป็ นศู นย์กลางคือเพื่อพั ฒ นา ผู้ รั บ บริ ก ารให้ เป็ น บุ ค คลที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ (fully functioning person) คื อ เป็ น คนที่ รู้จั ก ตนเอง ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มีสุขภาพจิตดี ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่

๒๒

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๗๕-๗๖.

๒๐ ๕)กระบวนการและขั้ น ตอนของการให้ บ ริ ก ารปรึ ก ษาแบบบุ ค คลเป็ น ศูนย์กลาง๒๓ ขั้นตอนต่าง ๆ ของการให้บริการปรึกษาแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง มีดังต่อไปนี้ คือ (๑) ผู้รับบริการมาขอให้ผู้ให้บริการปรึกษาช่วยเหลือ ในการแก้ปัญหาการ ตัดสินใจ หรือบุคคลอื่นอาจส่งตัวผู้รับบริการมา (๒) ผู้ให้บริการปรึกษาชี้แจงกระบวนการให้ความช่วยเหลือ (๓) ผู้ให้ บริการปรึกษาสร้างสัมพันธภาพกับผู้รั บบริการด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น แสดงความสนใจ การยอมรับ ความจริงใจ รักษาความลับของข้อมูล เพื่อสนับสนุนให้ผู้รับบริการ แสดงความรู้สึกและความคิดเห็ น การสร้างสัมพันธภาพจะต้องสร้างตลอดกระบวนการให้ บริการ ปรึกษา (๔) ผู้รับบริการเล่าถึงความคับข้องใจและความขัดแย้งในจิตใจ ดังตัวอย่าง ผู้รับบริการ : “ผมไม่สบายใจ กลุ้มใจเกี่ยวกับเรื่องทางบ้าน” หรือ ผู้รับบริการ : “หนูไม่รู้จาทาอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องคนรัก” ในความไว้วางใจที่ผู้รับบริการมีต่อผู้ให้บริการปรึกษายังไม่เต็มที่ ฉะนั้นผู้รับบริการจะยัง ไม่ยอมเปิดเผยเรื่องราวและความรู้สึกของตนอย่างหมดเปลือก (๕) ผู้รับบริการจะเริ่มเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ของตน แต่ยังไม่พูดหรือแสดงออก เกี่ ย วกั บ ความคิ ด เห็ น หรื อ ความรู้ สึ ก ที่ มี ต่ อ ตนเอง ผู้ ให้ บ ริ การปรึก ษาจะต้ อ งรับ ฟั งเรื่อ งราวของ ผู้รับบริการ และช่วยให้ผู้รับบริการเกิดความกระจ่างในเรื่องของตน โดยการสะท้อนเนื้อหา (Reflect Content) (๖) ผู้รับบริการจะพูดถึงความรู้สึกของตนเอง และพูดถึงเรื่องส่วนตัวมากขึ้น แต่ยังไม่ค่อยกล้าเผชิญความจริง โดยถือว่าเป็นเรื่องน่าอาย เป็นสิ่งเลวร้าย ผิดปกติยอมรับไม่ได้ หรือ เป็นเรื่องสะเทือนใจ ผู้ให้บริการปรึกษาจะสนับสนุนให้ผู้รับบริการได้ระบายคามรู้สึกให้มากขึ้น (๗) ผู้ รั บ บริ ก ารจะเพิ่ ม การระบายความรู้สึ ก ความต้ อ งการที่ จ ะส ารวจ ตนเอง ผู้ให้บริการปรึกษาจะสะท้อนความรู้สึก (Reflect feeling) เพื่อให้ผู้รับบริการเข้าใจ ความรู้สึก ของตนเอง ยอมรับความจริง และพร้อมที่จะแก้ปัญหาของตน (๘) ผู้รับบริการเพิ่มความเชื่อมั่นว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือตัดสินใจได้ ด้วยตนเอง (๙) ผู้รับบริการลดความต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่นลง รอเจอร์สได้ส รุป การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ รับบริการในระหว่างการให้บริการ ปรึกษา ดังต่อไปนี้คือ (๑) ผู้ รับ บริการค่อย ๆ รู้สึกอิส ระที่จะแสดงความรู้สึ ก โดยทางคาพูดและอากับกิริยา และความรู้สึกที่แสดงออกมานี้จะค่อย ๆ เป็นความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของตนเองมากขึ้นทุกที

๒๓

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๗๗.

๒๑ (๒) ผู้รับบริการจะเริ่มใคร่ครวญถึงประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมและเรื่องเกี่ยวกับตั วเอง ซึ่งเขาเคยปฏิเสธหรือบิดเบือนมาก่อน (๓) ในการพิจารณาตนเองและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น ผู้ให้บริการปรึกษาแสดงถึงความ ขัดแย้ง ระหว่างความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อตนเองกับประสบการณ์ที่ปรากฏ คือ จะมีความไม่สอดคล้องกัน (incongruence) ระหว่างความรู้สึกนึกคิดกับสิ่งที่ปรากฏผลก็คือ ผู้รับบริการจะใช้กลวิธีป้องกันจิตใจ ตนเอง มีลักษณะไม่ยอมรับความจริง (๔) ผู้รับบริการจะค่อย ๆ ยอมรับความจริงเพิ่มขึ้น ความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อตนเองจะเริ่ม สอดคล้ อง (congruence) กับ ประสบการณ์ ที่เขาเคยปฏิ เสธ หรือบิ ดเบื อนมาก่อน และลดกลวิธี ป้องกันจิตใจตนเองลง (๕) ผู้ รั บ บริ ก ารจะเพิ่ ม ความรู้ สึ ก เห็ น คุ ณ ค่ า ของตนเอง (positive self regard) และอยากพัฒนาตนเองเพิ่มขึ้น (actualizing tendency)๒๔ ๖)สัมพันธภาพระหว่างผู้ให้บริการปรึกษากับผู้รับบริการปรึกษา๒๕ ลักษณะของความสัมพันธ์ในการให้บริการปรึกษาและท่าทีของผู้ให้บริการปรึกษาแบบ บุคคลเป็ นศูนย์กลางที่เหมาะสม อันเป็นการนาไปสู่การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นทางใจซึ่งจะทาให้ ผู้ รั บ บริ ก ารปรึ ก ษารู้ สึ ก มี อิ ส รภาพต้ อ งการที่ จ ะเปลี่ ย นแปลงปรับ ปรุงบุ ค ลิ ก ภาพของตนเองนั้ น ตามหลั ก การของ Rogers สิ่ ง จ าเป็ น และส าคั ญ ยิ่ ง ที่ จ ะช่ ว ยให้ ก ารปรั บ ปรุ ง บุ ค ลิ ก ภาพเกิ ด ขึ้ น ประกอบด้วยสภาพเงื่อนไข ๖ ประการ ดังนี้ (๑) บุคคลสองคน ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีและมีความผูกพันต่อกันทางจิตใจ (๒) บุคคลแรก ได้แก่ผู้รับบริการปรึกษา (counselee/client) ซึ่งเป็นผู้ที่ท้อแท้สิ้น หวัง หมดอาลัยในชีวิต มีความวิตกกังวล และเต็มไปด้วยความทุกข์ (๓) บุ คคลอี กคนหนึ่ งที่ พ ร้อมจะสร้างสั ม พั น ธภาพเบื้ อ งต้ น (rapport) ให้ เกิ ดขึ้ น ได้แก่ ผู้ให้บริการปรึกษา (counselor) (๔) ผู้ให้บริการปรึกษาจะต้องแสดงออกในทางบวกต่อผู้รับบริการปรึกษาอย่างไม่มี เงื่อนไข เช่น ผู้ให้บริการปรึกษาจะต้องเปิดเผยและพยายามกระตุ้นให้ผู้รับบริการปรึกษาได้ระบาย ความรู้สึกที่อัดอั้นตันใจออกมา และในขณะเดียวกันผู้ให้ บริการปรึกษาจะต้องรับฟังถึงเรื่องราวที่ ผู้รับบริการปรึกษาระบายออกมา พร้อมทั้งร่วมรับรู้อารมณ์ไปกับผู้รับบริการปรึกษาด้วย (๕) ผู้ให้บริการปรึกษาจะต้องเข้าใจ (understanding) และยอมรับ (acceptance) ทั้งในเรื่องราวและความเป็นบุคคลของผู้รับบริการปรึกษา พร้อมทั้งเชื่อมโยงประสบการณ์เกล่านี้เพื่อ สะท้อนให้ผู้รับบริการปรึกษาเกิดความเข้าใจตนเองได้ดีขึ้น (๖) การสื่อความหมาย ทั้งภาษาพูด (verbal communication) และภาษาท่าทาง (non verbal communication) ในบรรยากาศที่อบอุ่น มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน มีสายสัมพันธ์ที่ดี ต่อกัน คลอดจนการมองโลกในแง่ดีโดยไม่มีเงื่อนไขของผู้ให้บริการปรึกษา จะเป็นหนทางที่ดีอันจะ นาไปสู่การให้บริการปรึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ๒๔ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๗๙. ๒๕

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๐๐-๑๐๑.

๒๒ ๗) คุณสมบัติของผู้ให้บริการปรึกษาแบบบุคคลเป็นจุดศูนย์กลาง๒๖ การให้บริการปรึกษาแบบบุคคลเป็นศูนย์กลางเน้นที่ความสัมพันธ์ของบุคคลระหว่างผู้ ให้บริการปรึกษากับผู้รับบริการปรึกษา ทัศนคติของผู้ให้บริการปรึกษาเป็นที่วิจารณ์มากกว่าความรู้ หรือทฤษฎีการให้ บ ริการปรึกษาจะดาเนิน ไปอย่ างมีประสิท ธิภ าพ ถ้าผู้ ให้ บริการปรึกษาสามารถ แสดงออกและสื่อความหมายให้ผู้รับบริการปรึกษาได้รับรู้และเข้าใจ ดังนี้ (๑) ผู้ ให้ บ ริก ารปรึก ษาต้ อ งเป็ น บุ ค คลที่ มี ค วามจริงใจ (congruence or genuineness) ผู้ให้ บ ริการปรึกษาต้องเป็นบุคคลที่มีความจริงใจ เป็นผู้ประสานเรื่องราวความคิด และเป็ น บุ ค คลที่ น่ าเชื่ อ ถือ ผู้ ให้ บ ริก ารปรึกษาที่ ใช้ท ฤษฎี นี้ จ ะไม่ ใช้วิ ธีการเผชิ ญ หน้ าหรือ โต้แ ย้ ง เพราะผู้ให้บริการปรึกษาแบบบุคคลเป็นศูนย์กลางนี้จะเน้นถึงคุณค่าของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีความจริงใจ และไม่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน ผู้ให้บริการปรึกษาจะเป็นตัวของตัวเอง มีความ มั่นคงในการเป็นตัวของตัวเอง และสามารถแสดงหรือสะท้อนความรู้สึกตลอดจนคุณสมบัติด้านนี้มา ให้ผู้รับบริการปรึกษาได้ทราบ ทั้งในด้านอุดมคติ ค่านิยม ความคิดเห็น และความประพฤติ (๒) ผู้ ให้ บ ริ ก ารปรึ ก ษาเป็ น ผู้ ที่ ย อมรั บ ทั้ ง ในปั ญ หาและตั ว บุ ค คลของ ผู้รั บ บริการปรึกษาโดยปราศจากเงื่อนไขและด้ว ยความอบอุ่น ทั้งทางด้านอารมณ์ และความรู้สึ ก (unconditioned positive regard) ได้ แ ก่ การที่ ผู้ ให้ บ ริ ก ารปรึ ก ษาจะต้ อ งติ ด ต่ อ กั บ ผู้ รับ บริก าร ปรึกษาด้วยการเอาใจใส่อย่างแท้จริงและลึกซึ้งในฐานะบุคคลโดยไม่มีเงื่อนไข ไม่ว่าจะเป็นในด้าน ความรู้สึกนึกคิดตลอดถึงพฤติกรรมที่ดีหรือไม่ดีของผู้รับบริการปรึกษา ซึ่งคุณค่าและความอบอุ่นของ ผู้ ให้ บ ริการปรึกษาที่มี ต่อผู้ รับ บริการปรึกษาจะเป็น การยอมรับผู้ รับบริการปรึกษาโดยปราศจาก เงื่อ นไข ซึ่ งผู้ ให้ บ ริ ก ารปรึ กษาไม่ค วรแสดงออกในทั ศ นคติ ที่ ว่ า “ฉัน จะยอมรับ ท่ าน เมื่ อท่ าน...” แต่ควรจะแสดงออกในทัศนคติที่ว่า “ฉันจะยอมรับท่านในฐานะที่ท่านเป็นอยู่” (๓) ผู้ให้บริการปรึกษาเป็นผู้ที่ไวต่อความรู้สึกและสามารถรับรู้อย่างถูกต้อง ตามเรื่ อ งราวที่ ผู้ รั บ บริ ก ารปรึ ก ษาต้ อ งการให้ เ ข้ า ใจ (accurate emphatic understanding) ผู้ให้บริการปรึกษาจาเป็นต้องเข้าใจความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้รับบริการปรึกษาอย่างถูกต้อง ขณะที่เขาแสดงออกในระหว่างที่กาลั งให้ บริการปรึกษา ผู้ให้ บริการปรึกษาจะต้องพยายามรับฟัง ประสบการณ์เรื่องราวที่เป็นรายละเอียดพร้อมทั้งร่วมรับอารมณ์ไปด้วย ประเด็นของความเข้าใจอย่าง ถูกต้อ งจะเร้ าให้ ผู้ รั บ บริ การปรึ กษายิน ดีที่ จะเปิ ดเผยตัว เองออกมาให้ ม ากขึ้น ประสบการณ์ และ ความรู้ สึ ก ที่ ลึ ก ซื้อ อย่ างผสานกั น ของอั ตมโนทั ศ น์ (self concept) กับ ประสบการณ์ ที่ มี อ ยู่ในตั ว ผู้รั บ บริ การปรึ กษา หลั งจากนั้ น ผู้ รับ บริการปรึกษาจะใช้สัมพั นธภาพอันอบอุ่นนี้ ทาให้ ตัวเขาเกิด ศักยภาพแห่งการพัฒนาตนเอง เพื่อที่จะกลายเป็นบุคคลที่เขาเลือกจะเป็น ดังแนวคิดของทฤษฎีการ ให้บริการปรึกษาแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง

๒๖

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๐๑-๑๐๒.

๒๓ ๘) เทคนิคและกลวิธีในการให้บริการปรึกษา๒๗ เทคนิ คเบื้ องต้นที่ ใช้ในทฤษฎีการให้ บริการปรึกษาแบบบุคลเป็น ศูนย์กลางนี้ ได้แก่ การรับฟังอย่างมีประสิทธิภาพ การยอมรับทั้งในเรื่องราวและความเป็นบุคคลของผู้รับบริการ ปรึก ษาโดยไม่ มีเงื่อ นไข ซึ่ งเกี่ย วโยงถึ งทั ศ นคติ และบุ คลิ กภาพของผู้ ให้ บ ริก ารปรึก ษาเป็ น ส าคั ญ คุณสมบัติของผู้ให้บริการปรึกษาในทฤษฎีนี้ควรเป็น ผู้ที่มีความจริงใจ บุคลิกท่าทางที่อบอุ่น เทคนิค สาคัญที่ใช้ ได้แก่ การสะท้อนความรู้สึก (reflection of feeling) การทาให้เกิดความเข้าใจที่กระจ่าง ชัด (clarification) และเน้ น หนั กถึงความเข้าใจโดยอยู่กับสภาพเหตุการณ์ ปั จจุบัน (being here) ผู้ให้บริการปรึกษาใช้การสนับสนุน (supportive) เพื่อให้ผู้รับบริการปรึกษาเกิดความเข้าใจในตนเอง สาหรับเทคนิคและอุปกรณ์ที่ผู้ให้บริการปรึกษาแบบบุคคลเป็นศูนย์กลางไม่นิยมนามาปฏิบัติ ได้แก่ การวินิจฉัย การทดสอบซึ่งต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประกอบการแปลความหมาย การสืบประวัติ และการสอบ ซักข้อมูล เป็นต้น (๑) การสอบซัก ประวัติ ในทฤษฎี ก ารให้ บ ริก ารปรึก ษาแบบบุ ค คลเป็ น ศูนย์กลางค่อนข้างให้ความสาคัญน้อยในการรุกเร้ารายละเอียดของข้อมูลผู้รับบริการปรึกษา (๒) การวิเคราะห์ปัญหาและการคาดคะเน สาหรับทฤษฎีการนี้อาจไม่จาเป็น เช่น กัน ในการต้องเจาะลึ กประเด็นของปัญ หา แต่มุ่ งความส าคัญ ด้านอารมณ์ และความรู้สึ กของ ผู้รับบริการปรึกษาที่ส่งผลกระทบต่อการแสดงพฤติกรรม (๓) ผู้ รับ บริการปรึกษา เป็น ผู้ ที่มี ความอัด อั้นตัน ใจซึ่ งเป็น คนปกติ และมี ความทุกข์ในระดับปกติ หรืออาจเริ่มมีอาการป่วยเป็นโรคจิต (๔) บทบาทของผู้ ให้ บ ริ ก ารปรึ ก ษา ผู้ ให้ บ ริ ก ารปรึ ก ษาที่ ใช้ ท ฤษฎี ก าร ให้ บ ริการปรึกษาแบบบุ คลเป็ น ศูนย์กลางจะเปิ ดโอกาสและให้ ความไว้ว างใจตลอดจนมอบความ รับผิดชอบให้แก่ผู้รับบริการปรึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องการตัดสินใจที่จะจัดการกับปัญหา ด้วยตัวเองของผู้รับบริการปรึกษาเอง กล่าวโดยสรุป ทฤษฎีการให้การปรึกษาแบบบุคคลเป็นจุดศูนย์กลาง เชื่อว่าปัญหาของผู้ มารับการปรึกษาเกิดจากความไม่สอดคล้องกันระหว่างความคิดของตนเองซึ่งประกอบด้วยตัวตนที่ แท้ จริ ง (real self) การรั บ รู้ เ กี่ ย วกั บ ตน (perceived) และตนเองในอุ ด มคติ (ideal self) กระบวนการของทฤษฎีการให้การปรึกษาแบบบุคคลเป็นศูนย์กลางจึงเน้นการให้บริการปรึกษาอยู่ที่ ตัวของผู้รับการปรึกษาโดยเน้นถึงจุดที่จะช่วยให้ผู้รับการปรึกษาได้ค้นพบวิถีทางที่ดีกว่า ในการที่จะ เผชิญกับ ปัญหาชีวิตเมื่อพฤติกรรมของเขาจะได้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น สามารถมองเห็ น ตนเองได้ ก ว้ า งและชั ด เจนขึ้ น ผู้ ให้ บ ริ ก ารปรึ ก ษาจะไม่ ก าหนดวิ ธี ก ารแก้ ปั ญ หาหรื อ หวั ง ที่ จ ะ เปลี่ ย นแปลงพฤติ กรรมที่ เฉพาะเจาะจงให้ เพราะปั ญ หาแต่ ล ะอย่ างย่ อมมี ท างแก้ ไขที่ ไม่ ตายตั ว เป้าหมายและวิธีการแก้ไขนั้นควรเป็นหน้าที่ผู้รับการปรึกษาเป็นผู้เลือกและกาหนดจุดมุ่งหมายแห่ง ชีวิตของตนเอง

๒๗

พงษ์ พั น ธ์ -วิ ไ ลลั ก ษณ์ พงษ์ โสภา, ทฤษฎี แ ละเทคนิ ค การให้ บ ริ ก ารปรึ ก ษา, พิ ม พ์ ค รั้ งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๖), หน้า ๑๐๔.

๒๔ ๒.๑.๒.๓ แนวคิดการให้คาปรึกษาแบบมีส่วนร่วม (Participative Counseling Approach) การให้คาปรึกษาแบบมีส่ วนร่วม หรือบางครั้งเรียกว่า การให้ คาปรึกษาแบบผสม (Elective Counseling Approach) แนวคิดนี้เน้นการมีส่วนร่วม หรือร่วมมือกันระหว่างแนวคิดการ ให้ คาปรึกษาแบบน าทางและแนวคิดการให้คาปรึกษาแบบไม่นาทาง เพราะคิดว่าการใช้วิธีการให้ คาปรึกษาแบบเดียวอาจจะจากัดเกินไป ไม่ได้ประโยชน์เท่ าที่ควร การใช้ห ลาย ๆ วิธีน่ าจะดีกว่า ดังนั้นการให้คาปรึกษาแบบมีส่วนร่วม ผู้ให้คาปรึกษาจะเลือกใช้แนวคิดการให้คาปรึกษาแบบใดก่อน และแบบใดทีหลัง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของปัญหาซึ่งแต่ละคนมี เป็นต้นว่า ผู้ให้คาปรึกษาอาจเริ่ม ให้คาปรึกษาแบบไม่นาทางก่อน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ขอคาปรึกษาได้บอกเล่าถึงปัญหา และหรือระบาย อารมณ์ ความรู้สึก ความต้องการ ผู้ให้คาปรึกษาจะรับฟังอย่างสนใจและติดตามว่าอะไรคื อปัญหา ถ้าผู้ให้คาปรึกษาเป็นผู้บังคบบัญชา และผู้ขอคาปรึกษาเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้ให้คาปรึกษาต้องอดทน ที่ฟังข้อโจมตีองค์กร พนักงานคนอื่น หรือแม้แต่ตัวผู้บังคับบัญชาเอง ซึ่งจาเป็นต้องรับฟังอย่างสงบ เมื่อผู้ขอคาปรึกษาอารมณ์เย็นลง การโจมตีที่รุนแรงลดลง และกลับสู่การปรึกษากันที่มี ประโยชน์ต่อไป เมื่อรับรู้ความจริง ผู้ขอคาปรึกษาจะมีความรู้สึกที่เปลี่ยนไป ผู้ให้คาปรึกษาก็จะนา แนวคิดการให้คาปรึกษาแบบนาทางมาใช้ โดยพิจารณาว่าปัญหาคืออะไร หาข้อสรุป คิดหาทางเลือก ในการแก้ปั ญ หาหลาย ๆ ทางเท่าที่จะเป็นไปได้พร้อมระบุข้อดี ข้อเสีย เพราะผู้ขอคาปรึกษาอาจ ต้องการข้อเสนอแนะและข้อมูล ต่าง ๆ จากผู้ ให้ คาปรึกษา หรือต้องการให้ ผู้ ให้ คาปรึกษาร่วมคิด วางโครงการ แต่การตัดสินใจนั้นผู้ขอคาปรึกษาจะต้องแก้ไขปัญหาและวางโครงการด้วยตนเองให้ มากที่สุด ๒.๑.๓ ประเภทของการให้คาปรึกษา การให้คาปรึกษาแบ่งประเภทได้ดังนี้๒๘ ๒.๑.๓.๑ การให้ ค าปรึ ก ษาเป็ น รายบุ ค คล (Individual Counseling) การให้ คาปรึกษาประเภทนี้ เป็นแบบที่ได้รับความนิยมและถูกนามาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิกใน องค์กรเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้สูงขึ้น ทาให้คนในองค์กรได้ตระหนักถึงความรู้ สึกเกี่ยวกับ ปฏิกิริยาและการแสดงออกของอารมณ์ของตนและผู้อื่น เข้าใจความสาคัญของทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม แรงจูงใจ พฤติกรรมต่าง ๆ ของบุคคล เข้าใจความสาคัญของการเสริมแรงและการต่อต้านการ เปลี่ยนแปลง คนสามารถกาหนดเป้าหมายและการประพฤติปฏิบัติของตนเองได้ ๒.๑.๓.๒ การให้ค าปรึ กษาแบบกลุ่ม (Group Counseling) การให้ คาปรึก ษา ประเภทนี้เป็นการให้คาปรึกษาเชิงกระบวนการ คือ บุคคลมีความต้องการแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่ง ร่วมกัน เป็นกลุ่มเพื่อปรึกษาหารือซึ่งกันและกัน โดยมีผู้ให้คาปรึกษาเป็นผู้ช่วยเหลือสมาชิกในกลุ่ม เพื่อที่จะได้พิจารณากาหนดปัญหา แสดงออกเกี่ยวกับความรู้สึก และความคิดเห็นของแต่ละคน กล้าที่ จะเผชิ ญ ปั ญ หา หรื อ ปรั บ ปรุ งตนเอง และได้ ต ระหนั ก ว่ าผู้ อื่ น ก็ มี ค วามขัด แย้งหรือ ความคิ ด เห็ น เช่นเดียวกับตน ไม่ใช่เขาคนเดียวที่มีปัญหาและอย่างน้อยยังมีอีกคนหนึ่ง คือผู้ให้คาปรึกษาที่ยอมรับ

๒๘

สมพร สุ ทั ศ นี ย์ . การทดสอบทางจิ ต วิ ท ยา, (กรุ งเทพมหานคร: โรงพิ ม พ์ แ ห่ งจุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๔), หน้า ๒๔๙.

๒๕ และเข้าใจเขา เช่น การให้คาปรึกษาเป็นกลุ่มแก่คนงาน ที่มีปัญหาเกี่ยวกับนโยบายใหม่หรือมีความ ต้องการี่จะปรับปรุงวิธีการทางาน เป็นต้น จากประเภทของการให้คาปรึกษา ๒ กรณี ดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงสรุปลงในลักษณะที่ เป็นเป้าหมายสาคัญของประเภทการให้คาปรึกษา หรือการแนะแนวไว้ ๓ ลักษณะ ดังนี้ (๑) การแนะแนวการศึกษา เป็นการชี้แนะให้นักเรียน หรือผู้รับบริการรูจักเลือกเรียน ได้เหมาะสมกับความสามารถ และความถนัด รู้จักตัดสินใจเลือกเรียนต่อได้ (๒) การแนะแนวอาชีพ เป็นการชี้แนะให้นักเรียนหรือผู้รับบริการปรึกษารู้จักเลือก อาชีพที่เหมาะสมกับความสามารถ และความถนัดของตนเอง และรู้จักปรับตัวในการประกอบอาชีพ นั้น ๆ (๓) การแนะแนวส่วนตัวและสังคม เป็นการชี้แนะให้ผู้รับบริการปรึกษาแก้ปัญหา ด้วยตนเองในเรื่องปัญหาการเรียน สังคม และส่วนตัว ๒.๑.๔ จุดมุ่งหมายของการให้บริการปรึกษา จุดมุ่งหมายของการให้บริการปรึกษามีทั้งจุดหมายในระยะสั้น และจุดมุ่งหมายระยะยาว ในอนาคต๒๙ ๒.๑.๔.๑ จุดมุ่งหมายระยะสั้น ยอร์ ช และคริ ส เตี ย นี่ (George and Cristiani) ได้ ก ล่ า วถึ ง จุ ด มุ่ ง หมายของการ ให้บริการปรึกษาระยะสั้นว่า ครอบคลุมสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้คือ (๑) สิ่งเสริมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจุดมุ่งหมายของการให้บริการปรึกษา คือการ ส่งเสริมให้ผู้รับบริการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปสู่แนวทางที่พึงปรารถนา เป็นต้นว่า ให้เรียนได้ดีขึ้น มี พฤติกรรมกล้าแสดงออก เพิ่มความรับผิดชอบในการทางาน ยอมรับฟังคาวิจารณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับตัว เรา ลดความขัดแย้งด้านจิตใจ ได้เข้าทางาน ประสบความสาเร็จในการทางาน มีชีวิตสมรสที่ราบรื่น ผู้ ให้ บ ริ ก ารปรึ ก ษาต่ างก็ มุ่ งให้ ผู้ รั บ บริ ก ารเปลี่ ย นพฤติ ก รรมไปสู่ ท างที่ พึ ง ปรารถนาทั้ ง นั้ น โดยมี กระบวนการช่วยให้ ผู้รับ บริการเปลี่ ยนพฤติกรรมที่แตกต่างกันไป ตามความศรัทธาในทฤษฎีการ ให้บริการปรึกษาแบบต่าง ๆ ที่ผู้ให้บริการปรึกษายึดถือ (๒) ส่งเสริมความสามารถของผู้รับบริการในการตัดสินใจ และวางโครงการอนาคต จุดประสงค์ของการให้บริการปรึกษาไม่ใช่เป็นการตัดสินใจให้ผู้รับบริการ แต่ส่งเสริมให้ผู้รับบริการ ตัดสินใจได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ โดยประหยั ดเวลา พลังงาน กาลังทรัพย์ และมีการเสี่ยง น้อยที่สุด ตลอดจนช่วยให้ผู้รับบริการพัฒนาความสามารถที่จะวางโครงการอนาคตของตนทั้งระยะสั้น และระยะยาว โดยใช้เหตุผลพิจารณาสภาพการณ์ต่าง ๆ อย่างรอบคอบ (๓) ส่งเสริมทักษะของผู้รับบริการในการแก้ปัญหา และวางโครงการอนาคตในการ พัฒ นาการของชีวิต มีน้อยคนที่จะแก้ปัญ หาและวางโครงการอนาคตได้โยบริบูรณ์ การส่งเสริมให้ บุคคลเรียนรู้วิธีการและมีทักษะในการแก้ปัญหา จะช่วยให้ผู้รับบริการนาไปใช้กับสภาพการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตของเขาได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในโรงเรียน ในครอบครัว หรือในชีวิตการทางาน ๒๙

วั ช รี ย์ ทรั พ ย์ มี , ทฤษฎี ให้ บ ริ ก ารปรึ ก ษา, พิ ม พ์ ค รั้ งที่ ๒, (กรุ งเทพมหานคร: โรงพิ ม พ์ แ ห่ ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๗, หน้า ๖-๘.

๒๖ ๒.๑.๔.๒ จุดมุ่งหมายระยะยาว สาหรับจุดประสงค์ระยะยาวในอนาคตคือ ให้ผู้รับบริการสามารถพัฒนาตนเองอย่าง เต็มที่ ช่วยให้ผู้รับริการเป็นบุคคลที่มีประสิทธิภาพ (the fully functioning person) รอเจอร์ส (Rogers) ประมวลลักษณะของบุคคลที่มีประสิทธิภาพไว้ ดังนี้คือ ๑) มีการตระหนักรู้ คือ ตระหนักในส่วนดีและส่วนบกพร่อง แรงจูงใจ ความเชื่อ ค่านิยม และความรู้สึกของตนเอง ๒) มีพฤติกรรมที่สม่าเสมอ ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ๓) ควบคุมตนเองได้ ไม่วู่วาม หรือวิตกกังวลเกินกว่าเหตุ ไม่ท้อแท้ สิ้นหวัง สงสารตนเอง และปล่อยชีวิตตามยถากรรม ๔) มีความสามารถที่จะดาเนินการกับสภาพการณ์ที่เป็นปัญหาได้อย่างมีเหตุผล ไม่ใช้ อารมณ์ ไม่หนีปัญหา ๕) มี ค วามมุ่ งมั่ น ในการกระท า ไม่ จั บ จด เมื่ อ ตั ด สิ น ใจที่ จ ะท าสิ่ งใดแล้ ว ก็ มี ใจจดจ่ อ และมุ่งมั่นในการกระทาจนสาเร็จลุล่วง ปัจจัยพื้นฐานของการให้บริการปรึกษา ประกอบด้วยความสาคัญ ๓ ประการ คือ๓๐ ๑) Counselee คือ ผู้รับบริการปรึกษา บุคคลที่มีความคิด ความรู้สึกสับสน ตึงเครียด และแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม ๒) Counselor คือ ผู้ ให้ บ ริก ารปรึก ษา บุค คลที่ค อยให้ ความช่ วยเหลื อแก่ผู้ ที่ มี ความ ยุ่งยากใจ ๓) Interpersonal relationship หมายถึง การสร้างสั ม พั นธภาพระหว่างผู้ ให้ บ ริการ ปรึกษากับผู้รับบริการปรึกษา ซึ่งมีผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างในตัวผู้รับบริการ ปรึกษา ๒.๑.๕ คุณสมบัติของผู้ให้บริการปรึกษา๓๑ การให้บ ริการปรึกษาจะดาเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภ าพเพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับ สิ่ง สาคัญ ประการหนึ่ ง นั่น คือ บุคลิ กภาพของผู้ให้บริการปรึกษา ประกอบด้วยมุมมอง แนวความคิด และทัศนคติ ในอันที่จะมีผลเอื้ออานวยต่อการทางานทางด้านการแนะแนวและการให้บริการปรึกษา ให้สัมฤทธิ์ผลมากยิ่งขึ้น ผู้ให้บริการปรึกษาควรจะเสริมสร้างคุณสมบัติที่ดีดังนี้ ๑) การร่วมกับรู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่นได้ และสามารถร่วมทุกข์กับผู้รับบริการปรึกษาได้ ตลอดช่วงเวลาของการให้บริการปรึกษา ๒) มี ค วามอิ่ม ในตัว เองพอสมควร ซึ่ งหมายถึ ง การยอมรับ ว่าตนเองมี ค วามเพี ย งพอ มากกว่าความหิ วโหย โดยไม่พยายามมองหาช่องทางที่จะตักตวงเอาผลประโยชน์จากผู้รับบริการ ปรึกษา หรือ มองเห็นผู้รับบริการปรึกษาเป็นเหยื่ออันโอชะ ๓) มีความยุติธรรมและกล้าเปิดเผยตัวเอง ๓๐ ๓๑

พงษ์พันธ์–วิไลลักษณ์ พงษ์โสภา, ทฤษฎีและเทคนิคการให้บริการปรึกษา, หน้า ๑๑. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๔-๑๖.

๒๗ ๔) พยายามสนับสนุน เพื่อให้ผู้รับบริการปรึกษามีกาลังใจที่ยืนหยัดได้ด้วยลาแข้งของ ตนเอง และเป็นตัวของตัวเองมากกว่าที่จะคอยบังคับควบคุมเขา ๕) ขณะที่ให้บริการปรึกษา ควรมุ่งถึงผลประโยชน์ของตัวผู้รับบริการปรึกษาเป็นสาคัญ ๖) มีจิตใจกว้างไกล มองโลกอย่างกว้างขวาง และมองเห็นในประเด็นสาคัญของปัญหา หลักในการให้บริการปรึกษา ๗) มีปฏิภาณไหวพริบดีและเนผู้ที่มีอารมณ์ขัน ๘) มีสุขภาพกายแข็งแรงและมีสุขภาพจิตดี ๙) มีบุคลาภาพที่มีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์ ๑๐) เป็นผู้รักษาจรรยาบรรณ คือ มุ่งในเกียรติยศชื่อเสียงของตน และสามารถเก็บรักษา ความลับของผู้รับบริการปรึกษาได้ ๒.๑.๖ ลักษณะปัญหาของผู้รับบริการปรึกษา๓๒ ผู้ให้บ ริการปรึกษาจาเป็นต้องพิจารณาปัญหาของผู้รับบริการปรึกษา โดยพยายามจัด ประเภทของปัญหาแบ่งเป็น ๓ ระดับ ดังนี้ ๒.๑.๖.๑ ปัญ หาที่ เกิด ขึ้น ในระดั บความคิ ด เป็ นปั ญ หาที่ เกิดขึ้น กับผู้ รับบริการ ปรึกษาอันเนื่องมาจากสาเหตุสาคัญ ๒ ประการ คือ ความไม่รู้และความรู้ผิด สาหรับปัญหาที่เกิดจาก ความไม่รู้นั้ น จะทาให้ ผู้ รับ บริการปรึกษาขาดข้อมูล ที่จะนาไปใช้ในการตัดสิ นใจหรือวางแผนชีวิต โดยข้อมูลที่ขาดนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ ๑) ข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเอง ได้แก่ การที่คนเรายังไม่รู้จักตนเองในด้านต่าง ๆ ดีพอ ว่าตนเองมีความถนัดอะไร มีความสนใจทางด้านใด จะเลื อกศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพอะไรดีจึงจะ เหมาะสมกับความสามารถของตนเอง ลักษณะของปัญหาดังกล่าวจึงเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการปรึกษา กับผู้รับบริการปรึกษาที่จะต้องร่วมมือกันค้นหาความถนัดความสนใจ หรือความสามารถพิเศษของ ผู้ รั บ บริ ก ารปรึ ก ษา ซึ่ ง ผู้ ให้ บ ริ ก ารปรึ ก ษาอาจน าแบบ ทดสอบวั ด ความถนั ด หรื อ ความสนใจ และเครื่องมือทางจิตวิทยามาใช้ตามความเหมาะสม ๒) ข้อมูลที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การที่ผู้รับบริการปรึกษายังไม่ทราบข้อมูล ที่อยู่ภายนอกตนเองหรืออยู่ห่างจากตนเองออกไป เช่น ข้อมูลที่เกี่ยวกับการเข้าศึกษาต่อ ข้อมูลที่ เกี่ยวกับอาชีพ ตลอดจนรายละเอียดหรือคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพตามที่ สถาบันเหล่านั้นได้กาหนดไว้ ข้อมูลเหล่านี้หากผู้ให้บริการปรึกษาทาการเก็บรวบรวมจะสามารถให้กับ ผู้ รับ บริก ารปรึ กษาได้โดยทั น ที เมื่อผู้ นั้น ต้องการ ตั วอย่างของปั ญ หาที่เกิดขึ้น ส าหรับ นัก เรีย นคื อ ต้องการศึกษาต่อที่ไหนดี จะเลือกสายสามัญหรือสายอาชีพ มีสถาบันใดเปิดรับบ้าง รับจานวนเท่าไร และเมื่อเรียนจบมาแล้วจะเป็นอย่างไร เป็นต้น นอกจากนนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับความคิดอีกสาเหตุหนึ่งอาจมาจากการเรียนรู้ที่ผิด จึงทาให้บุคคลนั้นมีความคิ ดที่ไม่สมเหตุสมผลหรือกลายเป็นคนที่ไร้เหตุผล ตัวอย่างเช่น ความคิดที่ ต้องการให้ คนรอบข้างเราทุกคนรักเราและจริงใจต่อเรา ซึ่งในความเป็นจริงของชีวิตแล้วความคิด ดังกล่าวคงจะเป็นไปได้ยาก ดังนี้เป็นต้น ๓๒

พงษ์พันธ์–วิไลลักษณ์ พงษ์โสภา, ทฤษฎีและเทคนิคการให้บริการปรึกษา, หน้า ๔๓-๔๕.

๒๘ ๒.๑.๖.๒ ปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับความรู้สึก เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นและทับถมอยู่ใน จิตใจของบุคคลนั้นมาเป็นเวลาช้านาน จนกลายเป็นความรู้สึกที่ฝังติดแน่นในบุคคลนั้น และมักจะทา ให้บุคคลนั้นกลายเป็นผู้ที่มีความกดดันทางอารมณ์สูง ปัญหาในระดับความรู้สึกสามารถเกิดขึ้นได้กับ ทุกคน และอาจมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น การไม่ประสานสอดคล้องกั นระหว่างตนที่แท้จริง (real self) กับการรับรู้เกี่ยวกับตน (perceived self) และตนในอุดมคติ (ideal self) อันมีผลทาให้ บุคคลนั้นมองตนเองและเข้าใจตนเองผิดไปจากความเป็นจริง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับคนที่มีความเชื่อมั่น ในตนเองสูงมากเกินไป หรือผู้ที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง อันส่งผลสะท้อนถึงชีวิตส่วนตัวและหน้าที่ การงานของบุคคลนั้น ตลอดถึงทางด้านมนุษยสัมพันธ์ให้ด้อยลงไป ทาให้ไม่ประสบความสาเร็จในชีวิต เท่าที่ควร ปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับของความรู้สึกนอกเหนือจากนี้ ได้แก่ ปัญหาในความรู้สึกว่าตนเองมี ปมด้อยชีวิตที่เกิดมามีความสุ ขและความสาเร็จสู้คนอื่นไม่ได้ หรือมีความรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่รักตนเอง หรือถึงแม้ว่าจะรักก็รักพี่กับ รักน้ องมากกว่ารักเรา บางคนอาจเกิดความรู้สึกเหนื่อยหน่าย ท้อแม้ หมดอาลัยในชีวิต ไม่รู้จะอยู่ไปเพื่ออะไร ชีวิตมีแต่ความน่าเบื่อ ซ้าซากจาเจ บุคคลที่มีความคิดเหล่า นี้ มักจะปล่อยให้ประสบการณ์ในอดีตทั้งหลายมาเป็นเครื่องบั่นทอนกาลังใจในการทางาน สุขภาพกาย และสุ ขภาพจิตมีแต่เสื่ อมโทรม ปัญ หาเหล่านี้จัดว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับความรู้สึก สาหรับ แนวทางแก้ไขปัญหาลักษณะนี้ ผู้ให้บริการปรึกษาจะต้องพยายามเปิดโอกาสให้ผู้รับบริ การปรึกษาได้ ระบายอารมณ์และความรู้สึกที่อัดอั้นตันใจออกมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และสิ่งสาคัญสาหรับ ผู้ให้บริการปรึกษาคือ จะต้องร่วมรับอารมณ์และความรู้สึกไปกับผู้รับบริการปรึกษาด้วย ๒.๑.๖.๓ ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น ในระดั บ พฤติ ก รรม ลั ก ษณะของปั ญ หามั ก เกิ ด ขึ้ น เนื่องมาจากการที่บุคคลไม่พอใจในการกระทาของตนเองและต้องการแก้ไขพฤติกรรมนั้น สาเหตุที่ เกิดขึ้นอาจมาจากการที่ผู้รับบริการปรึกษามีความต้องการภายในใจอย่างหนึ่ง แต่การาแสดงออกทาง พฤติกรรมกลับเป็นไปอีกแบบหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่มีการเรียนรู้มาก่อน จึงทาให้มีพฤติกรรมที่ตน ไม่ ถึ งปรารถนา หรื อ อาจเกิ ด จากการที่ ได้ เรีย นรู้ม าแล้ ว แต่ ไม่ ส ามารถน ามาประยุ ก ต์ ให้ เข้ ากั บ สภาพแวดล้อมในชีวิตประจาวันได้ เช่น ปัญหาเรื่องการมาทางานสาย ปัญหาการขาดเรียนเป็นประจา นิสัยการติดเหล้า สูบบุหรี่ หรือเสพยา ชอบเที่ยวเตร่ และนิสัยก้าวร้าว อาละวาด ตั วอย่างปัญหาที่ เกิดขึ้นในระดับพฤติกรรม ได้แก่ นักเรียนคนหนึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับการอ่านหนังสือ ทั้งที่รู้ว่าการจะ เรียนหนังสือให้ได้ผลดีนั้นจาเป็นต้องแบ่งเวลาอ่านหนังสือให้เป็น ครั้นเมื่อถึงเวลาที่นักเรียนผู้นั้นลงมือ อ่า นหนั งสื อ ก็ ไม่ ส ามารถนั่ งอ่ านหนั งสื อ ตามที่ ได้ ตั้ งใจไว้ ปั ญ หาคื อ ว่าจะมี วิ ธีท าอย่ างไรจึงจะมี พฤติกรรมดังที่ต้องการ กล่าวคือ สามารถนั่งอ่านหนังสือได้ตามเวลาที่กาหนดไว้ ปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับพฤติกรรมนี้ ผู้ให้บริการปรึกษากับผู้รับบริการปรึกษาจะต้อง ร่วมกันกาหนดพฤติกรรมที่ต้องการให้ชัดเจน ตลอดจนกาหนดขั้นตอนซึ่งเป็นแนวทางและวิธีปฏิบัติลง ไปให้แน่นอน และผู้รับบริการปรึกษาจะต้องพยายามปฏิบัติตนให้ได้ตามข้อตกลงที่ได้ร่วมกันกาหนด ขึ้น ๒.๑.๗ มุมมองของปัญหา สาหรับขอบข่ายของปัญหาในการให้บริการปรึกษา อันเป็น บ่อเกิดของการตัดสินใจยากลาบากในบุคคลปกติและผู้รับบริการปรึกษา ครอบคลุมในด้านต่อไปนี้ ๒.๑.๗.๑ปัญหาทางด้านการศึกษา ผู้ให้บริการปรึกษาจะช่วยให้ผู้รับบริการปรึกษามี ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการศึกษา การวางอนาคตของชีวิตทางการศึกษา ซึ่งจะส่งผล

๒๙ สะท้อนถึงการประกอบอาชีพต่อไปในภายหน้า การเลือกวิชาเรียนให้ เหมาะสมกับความสามารถ ความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล ๒.๑.๗.๒ปั ญ หาทางด้านอาชีพ ผู้ ให้ บริการปรึกษาจะช่วยให้ ผู้ ที่ มีปั ญ หาเกี่ยวกั บ อาชีพสามารถเข้าใจถึงโลกของงานได้ดียิ่งขึ้น เข้าใจถึงโอกาสในการเลือกประกอบอาชีพ การเลือก อาชีพที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของตนเองตลอดถึงความสุขในการประกอบอาชีพ ๒.๑.๗.๓ปั ญ หาทางด้ านสั งคมส่ ว นตั ว ผู้ ให้ บ ริก ารปรึก ษาจะช่ว ยให้ ผู้ รับ บริก าร ปรึกษาสามารถปรับตัวได้ดีขึ้น ในขณะที่ดาเนินชีวิตอยู่ในครอบครัว ในสถานที่ทางาน หรือโรงเรียน การให้บริการปรึกษาทางด้านสังคมและส่วนตัวจะสามารถช่วยให้ บุคคลนั้นมี สุขภาพจิตที่ดี เข้าใจ ตนเอง ยอมรับตนเอง และยอมรับผู้อื่นได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การทางานร่วมกับผู้อื่นมีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น อันเป็นการสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ตนเองและสังคม Williamson๓๓ ได้จาแนกปัญหาของผู้รับบริการปรึกษาเพื่อสะดวกต่อการวินิจฉัย มี ๕ ประการ ได้แก่ ๑) ปัญหาเกี่ยวกับบุคลิกภาพ ได้แก่ ปัญหาที่เกี่ยวกับการปรับตัวในสังคม ความขัดแย้งที่ เกิดขึ้นในครอบครัว และปัญหาเกี่ยวกับระเบียบวินัย ๒) ปัญหาด้านการศึกษา ได้แก่ การเลือกวิชาเรียนที่ไม่ตรงกับความถนัดและความสนใจ ของตนเอง มีอุปนิสัยในการเรียนที่ไม่เหมาะสม ขาดแรงจูงใจในการทางาน ๓) ปัญหาทางด้านอาชีพ ได้ การขาดข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพโดยไม่ทราบว่ามีอาชีพอะไรบ้าง หรือไม่สามารถตัดสินใจเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับตนเองได้ ๔) ปั ญ หาด้ านเศรษฐกิจ ได้ แก่ การขาดแคลนทางด้ านทุ น ทรัพ ย์ เพื่ อน ามาใช้ในการ ดาเนินชีวิต ๕) ปัญหาทางด้านสุขภาพ ได้แก่ การมีร่างกายที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรง หรือการไม่ยอมรับใน ข้อบกพร่องทางสุขภาพของตนเอง กล่าวโดยสรุป กระบวนการให้คาปรึกษา (The Counseling Process) หมายถึงขั้นตอน ของการให้คาปรึกษาที่เริ่มจาก การกาหนดวัตถุประสงค์/เป้าหมาย การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ ปัญหา สาเหตุ การให้คาปรึกษาและการประเมินผล สาหรับการประเมินผลการให้คาปรึกษานับว่า เป็นขั้นตอนที่สาคัญที่ทาให้ทราบว่าการให้คาปรึกษาประสบผลสาเร็จตามเป้าหมายที่กาหนดไว้หรือไม่ ซึ่งสามารถประเมินผลการให้คาปรึกษาหรือผู้ให้คาปรึกษาก็ได้ ความสาเร็จและความล้มเหลวของการ ให้คาปรึกษา มาจากปัจจัยหลายประการ แต่ถ้าการให้คาปรึกษาประสบความล้มเหลว ผู้บริหารหรือ ผู้บั งคับ บัญชาก็จะนาเครื่องมือทางด้านวินัยหรือการโยกย้ายพนักงานมาใช้ จากกระบวนการและ ขั้นตอนการให้คาปรึกษาที่กล่าวมานั้น บุคคลที่มีความสาคัญอย่างยิ่งในการให้คาปรึกษาก็คือ ผู้ ให้ คาปรึกษาที่จะต้องมีคุณสมบั ติและบทบาทที่เหมาะสม มีความรู้ความสามารถ มีมนุษย์สัมพันธ์ มี จรรยาบรรณทางวิชาชีพ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานที่ต้องทาบทบาททั้งผู้ให้คาปรึกษา ผู้ไกล่เกลี่ย และ ผู้ประสานงาน โดยมีจุดมุ่งหมายในการให้คาปรึกษาประสบความสาเร็จอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

๓๓

Williamson, E.G. (๑๙๕๐). Counseling and adolescents. New York: McGraw-Hill.

๓๐

๒.๒ แนวคิดเกี่ยวกับการให้คาปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยา พุทธจิตวิทยา เริ่มตั้งแต่ส มัยพุทธกาล เมื่อพระมหาบุรุษ (เจ้าชายสิ ทธัตถะ) สละราช สมบัติ ออกบรรพชามุ่งบาเพ็ญเพียรทางจิตสละโลกิยสุข มุ่งสู่โลกุตรสุข จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (กลางเดือน ๖) ทรงประทั บ อยู่ภ ายใต้ต้นอัสสัตถพฤกษ์ (ต้นโพธิ์) ครั้งเวลาอาทิตย์อัสดง ก็ทรงจา กาจัดกิเลสมารได้ ตรัสรู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ในยามต้น หมายถึง ในยามต้นทรงตรัสรู้ถึงความรู้ เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน คือ การระลึกชาติได้ ตรัสรู้จะตูปปาตญาณในยามกลาง หมายถึง ในยามกลางทรงปรีชา ตรัสรู้ถึงการจุติและ อุบัติของสรรพสัตว์ทั้งปวง มีจักษุทิพย์มองเห็นสัตว์กาลังจุติบ้าง กาลังเกิดบ้าง มีอาการดีบ้าง เลวบ้าง เป็นต้น ตามกรรมของตนและตรัสรู้อาสวักชยญาณ ในยามสุดท้ายแห่งวันเพ็ญวิสาขะนั้น นับย้อนหลัง ไปก่อนเริ่มพุทธศักราชได้ ๔๕ ปี หมายถึง ในยามสุ ดท้ายของวันเพ็ญ เดือนหก มีพระชนม์ได้ ๔๕ พรรษา ทรงตรัสรู้เป็นเหตุสิ้นอาสวะ ทรงมีญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย๓๔ จิ ต วิ ท ยาเชิ ง พุ ท ธในดิ น แดนแคว้ น ถิ่ น ประเทศไทย เมื่ อ พิ จ ารณาหลั ก ฐานทาง ประวัติศาสตร์และหลักฐานทางโบราณ พบว่า พุทธศาสนาได้แพร่เข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรก เมื่อคราว สังคายนาครั้งที่ ๓ ราว พ.ศ. ๓๐๐ โดยพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์แห่งอินเดีย ได้ส่งสมณะทูตไป ประกาศพระพุ ท ธศาสนายั งประเทศต่ าง ๆ โดยเฉพาะที่ เข้ า ประกาศพุ ท ธธรรมในประเทศไทย คือ พระโสณเถระกับพระอุตระเถระ มีหลักฐานโบราณวัตถุที่ค้นพบ เช่น เสมาธรรมจักร แท่นและ สถู ป โดยเฉพาะอั ก ษรที่ จ ารึ ก พระธรรมเป็ น ภาษามคธ เป็ น ภาษาที่ ใช้ ในท้ อ งถิ่ น ของพระเจ้ า อโศกมหาราช๓๕ ในสมัยที่พุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกนั้น ประเทศไทยอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า สุวรรณภูมิ ในจดหมายเหตุแห่งจีน เรียกว่ า ทวารวดี แสดงให้ เห็ นว่า การศึกษาจิตวิทยาทางพุทธ ศาสนาในประเทศไทย มีมาตั้งแต่สมัย พ.ศ. ๓๐๐ ปรัชญาแห่งการศึกษากลายเป็นแนวทางการศึกษา มีหลักพุทธธรรมเป็นพื้นฐาน พฤติกรรมในการดาเนินวิถีชีวิตความรู้โลกทัศน์ และชีวะทัศน์ เป้าหมาย ของชีวิตและการศึกษาพฤติกรรมทางจิต ใช้จิตวิทยาทางพระพุทธสาสตร์เป็นแบบแผนของพฤติกรรม ในการดารงชีวิต เป็นที่พึ่งทางใจของพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่าโดยอัตโนมัติ มาทุกยุคทุกสมัย พุทธธรรมถือเป็นบรมสัจจะ หรือความจริงอันประเสริฐเกี่ยวกับโลกและชีวิตที่ชี้ให้เห็นถึง รากเหง้าของความทุกข์ที่บีบคั้นจิตใจมนุษย์ซึ่งปรากฏอยู่อย่างซ่อนเร้น เห็นได้ยาก แต่ส่งผลกระจาย อยู่ในทุก ๆ มิติของชีวิตและจิตใจให้พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ซึ่งความพิเศษและความลึกซึ้งของการ เห็ น ความจริ งแห่ งทุ ก ข์และการช าระความทุ กข์ คื อ ปั ญ ญาอัน บริสุ ท ธิ์ที่ พ ระพุ ท ธเจ้าทรงค้ นพบ และนามาสั่งสอนเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษยชาติมาเป็นเวลากว่า ๒๕๐๐ ปี ที่ผ่านมา และจาก ระยะเวลาอั น ยาวนานจนถึ ง ในปั จ จุ บั น นี้ พุ ท ธธรรมได้ รั บ การยอมรั บ แล้ ว ว่ า เป็ น อกาลิ โ ก

๓๑.

๓๔

ภาณุวังโส, เกินกว่าฟรอยด์จะจิตนาการ, (กรุงเทพมหานคร: มายแบ็งค็อก, ๒๕๔๙), หน้า ๓๐-

๓๕

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๘-๓๙.

๓๑ คือ เป็นธรรมที่ให้ผลได้ไม่จากัดกาลยังประโยชน์ต่อบุคคลทุกเพศทุกวัยและทุกระดับชั้น พุทธธรรมจึง มีคุณค่าสาหรับมนุษยชาติโดยถ้วนหน้าตามระดับสติปัญญาของบุคคล๓๖ สาระแก่น แท้ของการศึกษาพุทธจิตวิทยา คือการศึกษาวิเคราะห์ธรรมชาติของ “จิต ” ที่ปรากฏเป็นประสบการณ์ของผู้ศึกษาว่าจิตซึ่งเป็นลักษณะของนามธรรมนั้น คืออะไร มีอะไรบ้าง ภาวะจิต มีลักษณะธรรมชาติที่แท้จริงเป็นเช่นไร ในการศึกษาพุทธจิตวิทยา เห็นได้ชัดเจนว่าเป้าหมาย หรือวัตถุป ระสงค์ของคาสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นมุ่งเพื่อขจัดความทุกข์ทางใจให้สภาวะจิตเป็น อิสระจากสิ่งพันธนาการทั้งปวงบรรลุถึงความสงบสุขที่สมบูรณ์๓๗ การศึกษาพุทธจิตวิทยาที่ถูกต้องนั้น ต้องเป็นการศึกษาที่สามารถเปลี่ยนแปลงจิตใจของผู้ศึกษาให้เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ สามารถรู้ ชัด เผชิญ โลกได้อย่ างไร้ความทุกข์ไร้ปัญ หา มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีงามเป็นประโยชน์ทั้ งแก่ ตนเองและสังคมโดยส่วนร่วม ดังนั้น การศึกษาจิตวิทยาเชิงพุทธตามหลักการ เพื่อเข้าถึงพุทธธรรม อย่างแท้จริง มี ๓ ขั้นตอน คือ๓๘ ปริยัติศึกษา เป็นการศึกษาด้วยการเล่าเรียน เพื่อรับรู้ด้วยการรับฟังคาอธิบายจากผู้มีภูมิ รู้ หรืออ่านจากคัมภีร์หรือตารา เมื่อรับรู้ เรียนรู้แล้วนามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ค้นหาเหตุผล ตามแบบ โยนิโสมนสิการ ปฏิบัติศึกษา เป็นการนาความรู้มาจากกการศึก ษาแบบปริยัติด้วยวิธีการโยนิโสมนสิการ มาปฏิบัติ มาทดลองในชีวิต เพื่อการพิสูจน์ความเป็นจริงโดยตรงอย่างแท้จริง ปฏิเวธศึกษา เป็ น ผลที่เกิดจากการประพฤติ ปฏิบัติ ด้ว ยตนเอง ได้ทดลอง ด้วยการ ปฏิบัติจริง สร้างประสบการณ์ชีวิตของตนขึ้นมา ได้รับผลเกิดปัญหา เข้าใจสภาพความเป็นจริงของ ชีวิต มีผลทาให้เกิดความสมดุลในการดาเนินการชีวิต ทั้งความคิดอ่าน ความรู้สึก และการแสดงออก ทางพฤติกรรมแบบวิมุสติ เรียกว่า ปฏิเวธ คือการรู้แจ้งเห็นจริงตามสภาวะที่เป็นความจริง สรุปได้ว่าพุทธจิตวิทยา มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลพุทธศาสนาได้แพร่เข้าสู่ประเทศไทยครั้ง แรกในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช สาระแก่นแท้ของการศึกษาพุทธจิตวิทยา คือการศึกษาวิเคราะห์ ธรรมชาติของ “จิต” ใช้หลักพุทธธรรมเป็นพื้นฐาน พฤติกรรมในการดาเนินชีวิต การเข้าถึงพุทธธรรม อย่างแท้จริง มี ๓ ขั้นตอนคือปริยัติศึกษา ปฏิบัติศึกษา และปฏิเวธศึกษา ๒.๒.๑ ความหมายของพุทธจิตวิทยา พุทธจิตวิทยา มาจากคาว่า พุทธ+จิต+วิทยา พุทธ (Buddha) แปลว่า รู้ คือ รู้ตามหลัก แห่งพุทธธรรม ได้แก่ รู้ในแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจสี่ ซึ่งเน้นการใช้สติปัญญาในการแก้ ทุกข์/ปัญหา ตั้งแต่ขั้นต่า กลาง และขั้นสูงสุด จิตวิทยา เป็นคาศัพท์ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Phychology ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษา กรีก คือ Phyche แปลว่า “จิ ต” หรือวิญ ญาณกับคาว่า Logos แปลว่า “ศาสตร์” หรือ “วิทยา”

๑๙๓.

๓๖

ชมพูนุช ศรีจันทร์นิล, จิตวิทยาแนวพุทธ: แนวทางเพื่อการเยียวยาและพัฒนาจิตใจมนุษย์, หน้า

๓๗

ภาณุวังโส, เกินกว่าฟรอยด์จะจิตนาการ, (กรุงเทพมหานคร: มายแบ็งค็อก, ๒๕๔๙) หน้า ๓๑. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๘.

๓๘

๓๒ หรือ “การศึกษา” ตามรูปศัพท์ จิตวิทยา หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องจิตและหรือวิญญาณแต่ จิตวิทยาในยุคปัจจุบัน หมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมอันเป็นกระบวนการของจิต๓๙ พุทธธรรมคาสอนของพระพุทธองค์นั้น ถือว่าเป็นจิตวิทยา (Phychology) หรือ ศาสตร์ ที่ว่าด้วยเรื่อง “จิต” ที่แท้จริง เพราการศึกษา (Logos) ก็เป็นการศึกษาเรื่อง “จิต” ต้องการศึกษา พิ จ ารณาและวิ เคราะห์ จ นรู้ เท่ า ทั น สภาวะของจิ ต ด้ ว ยพระองค์ เอง ได้ มี นั ก วิ ช าการศึ ก ษาได้ ให้ ความหมายและแนวคิดไว้หลายท่าน ดังนี้๔๐ พระเทพวิสุทธิกวี๔๑ จิตวิทยาในพระพุทธศาสนา (พุทธจิตวิทยา) กล่าวถึงตัวจิตโดยตรง ว่าเป็นตัวการที่มีความสาคัญมากที่ทาให้คนเรา และสัตว์โลกทั้งหลายสุขหรือทุกข์ เสื่อมหรือเจริญและ กล่ าวไว้ทุกแง่ทุกมุมอย่างไม่มีที่สิ้ นสุ ด แต่จิตวิทยาตะวันตกนั้น ยังไม่ยุติ คือยังคงค้นคว้าและพบ ทฤษฎีใหม่ ๆ เพิ่มเติมกันอยู่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่จิตวิทยาทางพระพุทธศาสนานั้นเป็นการค้นพบที่ สิ้ น สุ ด ยุ ติ ล งแล้ ว จากการตรั ส รู้ ข องพระพุ ท ธองค์ ไม่ ท ฤษฎี ใหม่ อั น ใดที่ ใครจะค้ น พบขึ้ น มาให้ นอกเหนือไปจากที่กล่าวไว้ใน พระอภิธรรมนี้แล้ว ถ้าใครจะค้น พบทฤษฎีใหม่นอกเหนือขึ้นไปกว่านี้ ก็แสดงว่านั่น ไม่ใช่จิตวิทยา ในพระพุทธศาสนา ชมพูนุช ศรีจันทร์นิล ๔๒ กล่าวว่า จิตวิทยาแนวพุทธ เป็นการศึกษาธรรมชาติของจิตใจ มนุ ษ ย์ จ ากหลั ก พุ ท ธธรรม อั น เป็ น แหล่ ง รวบรวมความรู้ การวิ เคราะห์ จิ ต ใจของมนุ ษ ย์ โ ดยมี จุดมุ่งหมายเพื่อให้บุคคล สามารถจัดการกับชีวิตที่ดาเนินการอยู่ในแต่ละวัน สาระสาคัญจึงอยู่ที่วิธีการ ปฏิบัติ หรือ วิธีการดาเนินชีวิตให้บรรลุถึงการดับทุกข์ หรือปัญหาในจิตใจที่เกิดขึ้นให้หมดสิ้นไป ภานุ วั ง โส ๔๓ พุ ท ธจิ ต วิ ท ยา คื อ การศึ ก ษาวิ เคราะห์ จิ ต ซึ่ ง มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ ปั ญ หา คือ ทุกข์ เพื่อให้เข้าใจสภาพที่แท้จริงของชีวิต เข้าถึงสาเหตุของปัญหา เข้าถึงเป้าหมายที่แท้จริงของ ชีวิต รู้วิธีการและรู้วิธีปฏิบัติเพื่อเผชิญปัญหา ไม่ถูกบีบคั้นโดยปัญหา ไม่ทาให้เกิ ดความหดหู่ ท้อแท้ แต่กระตุ้นให้สู้และเผชิญกับปัญหาคือทุกข์ อย่างองอาจและทระนง ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศาสนติ์๔๔ กล่าวว่า พุทธจิตวิทยาเป็นการนาศาสตร์ที่ศึกษาถึงจิตและ กระบวนการทางจิตใจคือจิตวิทยามาอธิบายกระบวนการเกิดทุกข์และการพ้นทุกข์ นิยามการปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยา หมายถึง การแสดง (เทศนา) การสอน การชี้ทาง “ อักขาตโร ตถา คตา ” พระตถาคตเป็นเพียงผู้บอกให้ผู้มีปัญหา หรือผู้มีความทุกข์ แก้ปัญหาด้วยตน พึ่งตน อัตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ โดยการที่ผู้ให้คาปรึกษาและผู้รับคาปรึกษารู้สิ่งที่ควรรู้อะไร ควรละอะไร ควรได้อะไร และควรทาอะไร ๓๙

ภาณุวังโส, เกินกว่าฟรอยด์จะจิตนาการ, หน้า ๗. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๙. ๔๑ พระเทพวิสุทธิกวี, จิตวิทยาในพระอภิธรรม, พิมพ์ครั้งที่ ๔, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓), หน้า ๙. ๔๒ ชมพู นุ ช ศรี จัน ทร์นิ ล , จิ ต วิท ยาแนวพุ ท ธ : แนวทางเพื่ อ การเยีย วยาและพั ฒ นาจิ ต ใจมนุ ษ ย์ , วารสารวิชาการ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, ปีที่ ๒๙ ฉบับที่ ๔ เดือนตุลาคม – ธันวาคม ๒๕๕๒, หน้า ๑๙๒. ๔๓ ภาณุวังโส, เกินกว่าฟรอยด์จะจิตนาการ, หน้า ๔๓–๔๔. ๔๔ ย งยุ ท ธ วงศ์ ภิ รม ย์ ศ าส น ติ์ , จิ ต วิ ท ย าแ น วพุ ท ธ (ต อ น ๑ ),[อ อ น ไล น์ ], แ ห ล่ งที่ ม า ; https//www.dmh.go.th/news/view.asp [๑๖ กันยายน ๒๕๕๙ ]. ๔๐

๓๓ โดยสรุป พุทธจิตวิทยา หมายถึง การศึกษาถึงจิตที่สัมพันธ์กับความทุกข์ หรือ ปัญหาที่ เป็นสภาพความเป็นจริงตามธรรมชาติของชีวิต คือ ความดับทุกข์ ดับปัญหา รู้วิธีปฏิบัติเพื่อเผชิญ ปัญหา โดยไม่เกิดความท้อแท้ สิ้นหวัง เมื่อเผชิญกับความทุกข์หรือปัญหาอย่างมั่นคงตามหลักพุทธ ธรรม ๒.๒.๒ หลักการและปรัชญาพื้นฐานการสอนของพระพุทธเจ้า พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)๔๕ ได้กล่าวถึง หลักการสอนย่อมดาเนินไปจากจุดเริ่ม ตาม แนวทาง และสู่จุดหมายตามที่ปรัชญากาหนดให้ อย่างไรก็ดีเมื่อมองในแงปรัชญาการศึกษา พุทธธรรม ก็เป็ น เรื่ อง กว้างขวางมากอีก เพราะพุ ทธธรรมทั้ งหมด เป็ นเรื่องของระบบการ ศึกษาระบบหนึ่ ง นั่นเอง ในที่นี้ จึงขอนามากล่าวเฉพาะที่เกี่ยวกับการสอนแต่สั้น ๆ ตามหลักพระพุทธศาสนาถือว่า ในการดารงชีวิตของมนุษย์นั้น ความขัดข้องปรวนแปร ความเดือดร้อนลาบาก ความเจ็บปวด ความสูญเสีย ความพลัดพราก และปัญหาชีวิตต่าง ๆ ซึ่งทาง พุทธ ศาสนาเรียกรวมว่าความทุกข์นั้น เป็นสิ่ งที่มีอยู่ มนุษย์จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องและไดประสบ แน่นอน ไมว่ามนุษย์จะต้องการหรือไมต้องการ จะยอมรับว่ามันมีอยู่หรือไมยอมรับ หรือแม้จะเบือน หน้า หนีอย่างไรก็ตาม เมื่อเป็นเช่นนี้ หากมนุษย์ ต้องการมีชีวิตอยู่อย่างดีที่สุด มนุษย์จะต้องยอมรับ ความจริงอันนี้ จะรับรูสูหน้า และพรอมที่จะจัดการแกไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ดีที่สุด ชีวิตที่เป็นอยู่อย่างดีและมีความสุขที่สุด คือชีวิตที่กล้ารับรู ต่อปัญหาทุกอย่าง ตั้งทัศนคติ ที่ถูกต้องต่อปัญหาเหล่านั้น และจัดการแกไขด้วยวิธีที่ถูกต้อง การหลีกเลี่ยงที่จะรับรู ก็ดี การนึกวาด ภาพให้เป็นอย่างที่ตนชอบก็ดี เป็นการปิดตาหรือหลอกตนเอง ไม่ช่วยให้พ้นจากความทุกข์ ไมเป็นการ แกปั ญ หา และให้ ไดพบความสุ ข อย่ างแท้ จ ริง อย่ า งน้ อ ยก็ เป็ น การฝั งเอาความกลั ว ซึ่ งเป็ น เชื้ อ แห่งความทุกข์เข้าไวในจิตใจอย่างลึกซึ้ง ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่พระพุทธศาสนาสอนเป็นข้อแรก ก็คือความทุกข์ อันเป็นปัญหาที่มนุษย์พึง รับรูและจัดการแกไขโดยถูกต้อง และถือว่าภารกิจของพระพุทธศาสนาและระบบการศึกษาของพระ พุทธศาสนา ก็คือ การช่วยมนุษย์ให้แกปัญหาของตนได ความทุกข์ ความเดือดร้อน และปัญหาชีวิตนานาประการ ของมนุษย์นั้น เกิดจากตัณหา คือ ความอยาก ความต้องการ ความเห็นแกตัว ซึ่งทาให้มนุษย์มีทัศนคติต่อสิ่งต่าง ๆ เคลื่อนคลาดจาก ที่มันเป็นจริง และเป็นในรูปต่าง ๆ กันตามระดับความอยาก และความยึดของตนต่อสิ่งนั้น ๆ เมื่อมี ทัศนคติที่เคลื่อนคลาดไป ก็ทาให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในตนเอง และความขัดแย้งระหว่างตน กับผู้อื่น แล้วปฏิบัติหรือจัดการกับสิ่งนั้น ๆ ด้วยอานาจความอยาก และความยึดของตน คือ ไมจัดการตามที่ มันควรจะเป็นโดยเหตุผลแท้ ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ย่อมเป็นการสร้างปัญหาให้เกิดขึ้ น เกิดความขัดข้อง ขัดแย้ง และความทุกข์ ทั้งแกตนและผู้อื่น ตามระดับของ ตัณหา และขอบเขตของเรื่องที่ปฏิบัติ ตัณหานั้น เกิดจากความไมรู ไมเข้าใจ ไมมองเห็นสิ่งทั้ง หลายตามที่มันเป็น มีทัศนคติต่อ สิ่งทั้งหลายอย่างไมถูกต้อง ซึ่ง เรียกว่า อวิชชา จึงเป็นเหตุใ ห้ไมจัดการกับสิ่งนั้น ๆ ตามที่มันควรจะ เป็นโดยเหตุผลบริสุทธิ์ การที่จะแกปัญหาหรือแกความทุกข์ จึงต้องกาจัดอวิชชา สร้างวิชชาให้เกิดขึ้น ๔๕

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธวิธีในการสอน, พิมพ์ครั้งที่ ๗, (กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา และสถาบันบันลือธรรม, ๒๕๔๗), หน้า ๑๒-๑๓.

๓๔ พระพุทธศาสนามีลักษณะสาคัญ อย่างหนึ่งที่ต่างจากศาสนาทั่วไป โดยถือปัญญาเป็น สาคัญ ไม่บังคับศรัทธา ให้เสรีภาพทางความคิด ไม่เรียกร้อง และไม่บังคับความเชื่อ ไม่กาหนดข้อ ปฏิบัติที่บังคับแก่ศาสนิกชน แต่ให้พิจารณาเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง เรียกว่า เป็นศาสนาแห่งปัญญา ดังนั้น ปรัชญาพื้นฐานการสอนของพระพุทธเจ้าจึงเริ่มจากคาถามว่า ทาไมพระพุทธเจ้าจึงทรงสอน พระองค์ทรงสอนอะไร และทรงสอนอย่างไร สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงสอน๔๖ ๑) เพราะพระกรุณาคุณ ดังปรากฏในสุเมธกถา ๒) เพราะต้องการช่วยผู้มีโอกาสบรรลุประโยชน์ แต่ไม่อาจบรรลุประโยชน์นั้น เมื่อขาด ศาสดาหรือผู้สอน ๒.๒.๓ หลักธรรมที่เกี่ยวกับการให้คาปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยา ๒.๒.๓.๑ หลักอริยสัจ ๔ เป็นหลักธรรมสาคัญที่ครอบคลุมคาสอนทั้งหมดในพุทธศาสนา๔๗ อริยสัจ เป็นความ จริ งอัน ประเสริฐ ที่องค์พ ระสั มมาสั มมาพุ ทธเจ้าได้ทรงรู้ ทรงปฏิบั ติ และทรงเสวยผลมาแล้ ว ด้ว ย พระองค์เอง ประกอบด้วยความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ(ทุกข์) เหตุของทุกข์ (สมุทัย) ความดับทุกข์ (นิโรธ) และทางดับทุกข์ (มรรค)๔๘ และอริยสัจเป็นเรื่องของหลักการในการควบคุมทุกข์ และพัฒนา จิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส เป็นเรื่องที่คนปกติทั่วไปสามารถศึกษาและทาความเข้าใจได้ ๔๙ ผู้แจ้งในอริยสัจ ย่อมสามารถกาจัดศัตรูภายในห่างไกลจากศัตรูภายในคือกิเลสได้ ส่วนศัตรูภายนอกนั้นอย่างน้อยที่สุ ด ก็เบาบางลง เพราะบุคคลนั้นย่อมไม่ก่อศัตรูกับใคร ไม่มีเวรมีภัยกับใคร ความรู้สึกไม่มีศัตรูเป็นความ ปลอดโปร่งแจ่มใส เป็นความสุขที่เห็นได้ในปัจจุบัน๕๐ อริยสัจ๔ได้แก่ ๑) ทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้) แปลว่าความทุกข์ หรือสภาพที่ทนได้ยาก ได้แก่ปัญหา ต่าง ๆ ของมนุษย์ กล่าวลงไปลึกอีกหมายถึงสภาวะของสิ่งทั้งหลาย ที่ตกอยู่ในกฎธรรมดา แห่งความ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ซึ่งประกอบด้วยภาวะบีบคั้น กดดัน ขัดแย้ง ขัดข้อง มีความบกพร่อง ไม่สมบูรณ์ในตัวเอง ขาดแก่นสาร และความเที่ยงแท้ ไม่อาจให้ความพึงพอใจเต็มอิ่มแท้จริง พร้อมที่ จะก่อปัญ หาและสร้างทุกข์ขึ้นมาได้เสมอ แก่ผู้ที่ยึดติดถือมั่นไว้ด้วยอุปาทาน ๕๑ ในองค์อริยสัจ ๔ พระพุทธองค์ทรงแสดงเรื่องทุกข์ก่อนเป็นข้อแรก เพราะความทุกข์เป็นสิ่งปรากฏชัดในชีวิตมนุษย์ทุก คนเห็นอยู่ประสบอยู่ทุกวัน และเป็นปัญหาอันยิ่งใหญ่ของสัตว์โลกทุกชนิด เป็นภั ยใหญ่ของมนุษย์ ๕๒ ๔๖

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พุทธวิธีในการสอน Buddha’s Teaching Methods, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (พระนครศรีอยุธยา: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๙), หน้า ๔. ๔๗ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, หน้า ๘๔๖. ๔๘ แสง จันทร์งาม, อริยสั จจ์ ๔ หั วใจของพระพุ ทธศาสนา, (กรุงเทพมหานคร: สร้างสรรค์บุ๊ คส์, ๒๕๔๔), หน้า ๑๒. ๔๙ เอกชั ย จุ ล ะจาริ ต ต์ , คู่ มื อ พั ฒ นาตนแนวพุ ท ธส าหรั บ ผู้ ใ ห้ ก ารปรึ ก ษา, พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ ๑ (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, ๒๕๔๓), หน้า ๓. ๕๐ วศิน อินทสระ, หลักธรรมอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา, หน้า ๑๔. ๕๑ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, หน้า ๘๔๙. ๕๒ วศิน อินทสระ, หลักธรรมอันเป็นหัวใจพุทธศาสนา, หน้า ๑๗.

๓๕ และที่ ว่ า ทุ ก ข์ เป็ น ความจริ งอั น ประเสริ ฐ นั้ น เพราะทุ ก ข์ เป็ น ของจริ งแท้ เป็ น สิ่ งสากล เป็ น สิ่ ง ที่ จาเป็ น ต้อ งเป็ น อย่ างนั้ น และเป็ น สิ่ งที่ ห ลี ก เลี่ ยงไม่ได้ ๕๓ ในหนั งสื อพระธัมมจักกั ปวัตนสู ตร ๕๔ ได้ กล่าวถึงทุกข์อริสัจ ได้แก่ (๑) ความเกิดเป็นทุกข์ (ชาติ ปิทุกขา) เนื่องจากการเกิดเป็นที่ตั้งของรูปนาม ที่จะเป็นฐานรองรับความทุกข์กายทุกข์ใจทั้งหลาย เมื่อเกิดเป็นมนุษย์หากเกิดเป็นคนยากจนก็จะเป็น ทุกข์เพราะขาดแคลนสิ่งจาเป็นต่าง ๆ แต่ถึงจะเกิดเป็นคนร่ารวยก็ยังได้รับทุกข์กายทุกข์ใจจากโรคภัย ความชรา ความไม่สมหวังและความกลัว เป็นต้น ดั้งนั้นการเกิดอันเป็นที่ตั้งของความทุกข์ต่าง ๆ ใน ชีวิตจึงเป็นทุกข์ (๒) ความแก่ เป็ น ทุ ก ข์ (ชราปิ ทุ ก ขา) เป็ น ความเสื่ อ มโทรมของรู ป นาม เช่น ผมหงอก ฟันหัก ผิวหนังหนังเหี่ยวย่น หูตึง ตาฝ้าฟาง ความจาเสื่อมเป็นต้น เหล่านี้เป็นความ เสื่อมของรูป ซึ่งเป็นความจริงของชีวิตที่มีความเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา แต่คนเราส่วนมากกลัวความ ชรา และพยายามทุกวิถีทางที่จะชะลอความชราไม่ให้มาถึง แต่เป็นความพยายามที่ไร้ผล จึงก่อให้เกิด ทุกข์ทั้งทางกายและทางใจ (๓) ความตายเป็นทุกข์ (มรณัมปิ ทุกขัง) แม้ความตายจะเป็นเพี ยงความดับ ไปของชีวิต เป็ น สิ่ งที่ คุ กคามชาวโลกให้ ห วั่น กลั ว เสมอ เมื่ อ ความตายมาถึ งเราต้ องละทิ้ งร่างกาย ตลอดจนครอบครัวอันเป็นที่รักญาติมิตรและทรัพย์สมบัติไว้ข้างหลัง การพลัดพรากจากทุกสิ่งทุกอย่าง ในภพปัจจุบันจึงเป็นสิ่งที่น่ากลัวสาหรับทุกคน จึงก่อให้เกิดทุกข์ทางกายและทางใจ (๔) ความเศร้าโศกใจ และความแห้งใจ (โสกะ) เป็นความทุกข์ภายในจิตใจที่ รุนแรง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการผิดหวัง การสูญเสียทรัพย์สมบัติ การพลัดพรากจากบุคคลที่ตนรักมาก ๆ การเสื่อมของร่างกาย การเจ็บป่วยที่รุนแรง การพิการ จึงทาให้มีอาการของความทุกข์ภายในจิตใจ เช่น มีอาการเศร้าสร้อย ซึมเศร้า ห่อเหี่ยว ท้อแท้ เบื่อหน่าย เป็นต้น (๕) ความคร่าครวญ ความร่าไรราพัน (ปริเทวะ) เป็นความทุกข์ทางจิตใจที่มี การแสดงออกมาทางร่างกายและคาพูด เพราะมีความทุกข์ภายในจิตใจที่รุนแรงมาก จนมีการแสดง ความทุกข์ออกมาภายนอก (๖) ความทุกข์กาย เป็นความไม่ส บายกายเช่น ความเจ็บป่วย ความปวด เมื่อย ร้อน เหนื่อย จัดเป็นความเจ็บป่วยทางกายที่เป็นสาเหตุให้เกิดทุกข์ทางใจตามมา พระพุทธองค์ ทรงตาหนิการปล่อยให้เกิดทุกข์ทางใจเพราะมิได้กาหนดรู้ทุกข์ทางกายว่า เปรียบเหมือนการถูกลูกศร ๒ ดอกยิงทะลุ ทาให้เกิดการเจ็บปวดทั้ง ๒ อย่าง คือ ทุกข์ทางกาย และทุกข์ทางใจ (๗) ความทุกข์ใจ (โทมนัส) เป็นความเดือนร้อนใจ ความเสียใจ และความ กลัว เช่น ความผิดคาด ผิดหวัง เสียหาย สูญเสีย การผิดนัด สอบตก โดนดุ โดนนินทา โดนกล่าวร้าย

๕๓

วศิน อินทสระ , ความทุกข์และการดับทุกข์, พิมพ์ครั้งที่ ๓, (กรุงเทพมหานคร: สร้างสรรค์บุคส์, ๒๕๔๘), หน้า ๑๔. ๕๔ พระโสภณมหาเถระ (มหาสี ส ยาดอ)-อธิ บ าย ,พระพรหมโมลี (สมศั ก ดิ์ อุ ป สโม)-ตรวจชาระ, พระคันธสาราภิวงศ์ -แปลและเรียบเรียง, ธัมมจักกัปปวัตนสูตร, (กรุงเทพมหานคร: ประยูรสาสน์ไทยการพิมพ์, ๒๕๕๕), หน้า ๑๕๘–๑๙๒.

๓๖ ขาดทุน ของช ารุด ของหาย ทวงหนี้ไม่ได้ เป็นต้ น ผู้ที่ถูกความทุกข์ใจอย่างใหญ่หลวงเข้าครอบงา ก็จะซึมเศร้า กินไม่ได้ นอนไม่หลับจนสุขภาพเสื่อมโทรมอาจถึงสิ้นชีวิตได้ (๘) ความคับแค้นใจ (อุปายาส) เป็นความทุกข์ภายในจิตใจ ซึ่งเป็นความ ทุกข์ที่เกี่ยวข้องกับความโกรธ (โทสะ) เช่น ถูกเอาเปรียบ ถูกเหยียดหยาม ถูกรังแก ถูกบีบคั้นแล้ว หาทางออกไม่ได้ รวมทั้งการที่ต้องเผชิญกับเรื่องต่าง ๆ ที่ไม่ปรารถนา เป็นต้น เป็นเหตุให้เร่าร้อนกาย และใจ จึงนับเป็นทุกข์ที่น่ากลัวอย่างหนึ่ง (๙ ) ความประสบกับสิ่งที่ไม่รัก คือการประสบกับบุคคลหรือสิ่งของที่ไม่พึง ปรารถนา แม้จะไม่ใช่ความทุกข์โดยตัวของมันเอง เมื่อบุคคลประสบกับสิ่งที่ไม่น่าพอใจก็เกิดอาการไม่ สบายกาย ไม่สบายใจเสมอ ๆ (๑๐) ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก คือการแยกออกจากบุคคลหรือสิ่งของที่ น่าปรารถนา แม้ว่าการพลัดพรากไม่ใช่ความทุกข์ทางกาย แต่ความทุกข์ทางใจย่อมเกิดขึ้น เมื่อสามี ภรรยา บุตร ธิดาต้องตายหรือจากไป หรือสูญเสียทรัพย์ที่หวงแหนไป ทาให้เกิดความโศกเศร้า ความ คร่าครวญ และความคับแค้นใจติดตามมา (๑๑) การไม่ได้รับสิ่งที่ปรารถนา เป็นความทุกข์ที่เกิดจากความไม่สมหวัง แต่ป รารถนาจะพ้ น จาก ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ก็จะไม่ ส มปรารถนา ไม่ได้สิ่ งที่ มุ่งหวังไว้ จึงเกิดความเศร้าเสียใจเป็นทุกข์ ทุกข์ทั้ง ๑๑ ประการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เริ่มตั้งแต่ความเกิดไปจนถึงการไม่ได้รับสิ่งที่ ปรารถนา เกิดได้เพราะมีขันธ์ ๕ เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นในขณะที่เห็น ในขณะที่ได้ยิน ในขณะที่ลิ้ม รส ในขณะที่กระทบสัมผัส ในขณะที่คิด ทุกข์จึงเกิดขึ้น บุคคลจะไม่สามารถละหรือคลายจากความยึด มั่นได้ ทุกข์จึงเป็นสภาวะ ที่จะต้อง กาหนดรู้เพียงอย่างเดียวว่า นี้ คือความทุกข์ หรือ ปัญหา และต้อง ยอมรับความเป็นจริงว่า เป็นธรรมดาของสัตว์โลกต้องปล่อยวางจึงจะทาให้ทุกข์บางเบาลงได้ จะเห็น ว่า “ทุกข์" เป็นปัญหาสาคัญที่สุด ที่ทาให้มนุษย์ไม่สามารถดารงอยู่ให้เป็นปกติสุขได้ ให้มีอันถูกบีบคั้น ให้ต้องดิ้นรนกระเสือกกระสนตราบเท่าที่ความทุกข์ยังปรากฏอยู่ จนกว่าทุกข์นั้นจะบรรเทาหรือดับลง หากในธรรมชาติของชีวิต ไม่มีทุกข์เกิดขึ้นเลย “ธรรม” ก็เป็นสิ่งที่ไม่จาเป็น และบุคคลก็ไม่ต้องมา สนใจ แต่ในความเป็นจริง ทั้งความรู้สึกนึกคิด คาพูดและการกระทาทุกอย่างของบุคคล ย่อมมีผลที่ทา ให้เกิดทุกข์ได้ทั้งสิ้น "ธรรม" จึงเป็นสิ่งที่สาคัญและจาเป็นอย่างยิ่งก็เพื่อไม่ให้เกิดผล คือ "ทุกข์" นั่นเอง หรือมองอีกแง่หนึ่ งก็เพราะ ภาวะความดับทุกข์ หรือไม่มีทุกข์เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่บุคคลควรเข้าถึงหรือ ได้รับจากการที่เกิดมาเป็นมนุษย์ ๕๕ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ทุกข์ที่เกิดขึ้นกับผู้มาปรึกษาก็คือทุกข์ใน อริยสัจ ๔ เพราะเป็นทุกข์ที่เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์โดยตรง ๒) สมุ ทัย (ธรรมที่ ควรละ) แปลว่า เหตุเกิด ขึ้นแห่ งทุ กข์ หรือสาเหตุให้ ทุก ข์ เกิดขึ้น ได้แก่ความอยากที่ยึดถือเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง โดยอาการที่มีเรา ซึ่งจะเสพ ที่จะได้ จะเป็น จะไม่ เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทาให้ชีวิตถูกบีบคั้นด้วยความเร่าร้อน ร่านรน กระวนกระวาย ความหวงแหน

๕๕

สุรพล ไกรสราวุฒิ, หลักธรรมพื้นฐานที่ชาวพุทธพึงรู้ , (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๑), หน้า ๑๔.

๓๗ เกลียดชัง หวั่นกลัว หวาดระแวง เบื่อหน่ายหรือความคับข้องติดขัด ในรูปใดรูปหนึ่งอยู่ตลอดเวลา ไม่ อาจปลอดโปร่งโล่งเบา เป็นอิสระ สดชื่นเบิกบานได้ อย่างบริสุทธ์สิ้นเชิง๕๖ สิ่งที่เป็นเหตุที่ทาให้มนุษย์ทั้งมีปัญหานั้นเกิดจาก ตัณหา ๓ อย่างคือ กามตัณหา อยาก กาม ได้แก่ อยากได้อยากเอาอยากเสพ อีกอย่างหนึ่งคือ ภวตัณ หา อยากภพ ได้แก่อยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่ อยากคงสถานะอยู่ตลอดไป อยากมีชีวิตนิรันดร และอีกอย่างหนึ่ง วิภวตัณหา อยากสิ้น ภพ ได้แก่ ปรารถนาให้ภาวะมลายสิ้นสูญ๕๗ ซึ่งประพันธ์ ศุภศร๕๘ กล่าวว่ามนุษย์มีแรงจูงใจที่เป็นพลังรากฐานของชีวิต ๓ ประการ คือ พลังความปรารถนาหรือความอยาก พลังของจิต และพลังของเหตุผล ซึ่งพลังของความอยากเป็น พลังที่มีมากกว่าพลังอื่น และพลังของเหตุผลมีน้อยกว่าแต่เป็นพลังที่สาคัญ อีกทั้งตัณหาของมนุษย์นี้ เองที่ทาลายแม้กระทั่งระบบความเป็นอยู่ร่วมกัน และความสัมพันธ์ที่ดีในสั งคม ทาให้เกิดการแข่งขัน แย่งชิงกันตลอดเวลา สังคมเต็มไปด้วยความเครียดและความขัดแย้งในทุกระดับเกิดความเสื่อมโทรมในด้าน คุณธรรม-จริยธรรม อย่างน่าเป็นห่วงจนเกิดความวิตกกังวลไปทั่วว่า อนาคตของโลกและมนุษยชาติ จะเป็นอย่างไรต่อไป จะสามารถดารงอยู่อย่างเป็นปกติสุขได้ต่อไปอีกนานเท่าใด๕๙ จะเห็ นว่าเหตุแห่งทุกข์ในลักษณะต่าง ๆ นั้น เกิดจากการสวนทางของกระแสของเหตุ ปัจจัยตามธรรมชาติ และกระแสของความอยาก ความปรารถนา(ตัณหา) ซึ่งเป็นพลังที่มีมากในใจของ ผู้คน ซึ่งก่อเกิดการขัดแย้งระหว่างกฎความเป็นจริงของธรรมชาติที่ว่าขันธ์ ๕ ที่มีการแปรเปลี่ยนตาม กฎของไตรลักษณ์กับการยึดถือว่ามีตัวตน ซึ่งในทางพุทธศาสนาเรียกว่าความหลงผิด ทาให้อยู่อย่าง เป็ น ทาส อยู่ อย่ างขัดแย้ ง จึ งกลายเป็นความทุกข์ ๖๐ ดังนั้นบุคคลจะมีทุกข์มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ช่องว่างของความขัดแย้ง ยิ่งช่องว่างมีมากเท่าใดทุกข์ก็เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้ น ผู้ ให้ การปรึกษาแนวพุ ท ธพึ งท าความเข้าใจช่องว่างของความขัดแย้งดังกล่ าวที่ เกิดขึ้น ภายในใจของผู้ มาปรึ กษา เป็น เหตุท าให้ เกิดทุ กข์ท างด้ านจิตใจ การแก้ไขปั ญ หาหรือการ คลี่คลายทุกข์ คือการลดช่องว่างดังกล่าว โดยให้กระแสของความปรารถนาลดลงมาอยู่ใกล้กับ กระแส ของความเป็นจริงให้มากที่สุด โดยการลดละตัณหาหรือความอยากในใจ แล้วธรรมชาติของความจริงก็ ปรากฏ ก่อเกิดความสงบภายในใจ อย่างแท้จริง ๓) นิโรธ (ธรรมที่ควรบรรลุ ) แปลว่า ความดับทุกข์ ได้แก่ภ าวะที่เข้าถึง เมื่อ กาจั ดอวิชชา สารอกตัณ หาสิ้ นแล้ ว ไม่ถูกตัณ หาย้อมใจหรือฉุดลากไป ไม่ถูกบีบคั้นด้วยความรู้สึ ก กระวนกระวาย ความเบื่อหน่ายหรือความคับข้องติดขัดอย่างใด ๆ หลุดพ้นเป็นอิสระ ประสบความสุข ที่บริสุทธิ์ สงบ ปลอดโปร่งโล่งเบา ผ่องใส เบิกบาน การตรัสอริยสัจในข้อ ๓ บอกให้รู้ว่าทุกข์ที่บีบคั้น ๕๖

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, หน้า ๘๕๐. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๘๖๑. ๕๘ ประพั น ธ์ ศุ ภ ษร, “พุ ท ธิ ปั ญ ญา: การใช้ เหตุ ผ ลเพื่ อ ค้ น หาความจริ ง ”, วารสารบั ณ ฑิ ต ศึ ก ษา ปริทรรศน์, (ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒ เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๐), หน้า ๔๕๑. ๕๙ สุรพล ไกรสราวุฒิ, ความพอเพียงคือทางรอดของมนุษย์และสังคม, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๐), หน้า ๔๒. ๖๐ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, หน้า ๑๖๕. ๕๗

๓๘ ดับได้ ปัญหาที่กดดันนั้นแก้ไขได้ ทางออกที่น่าพึงใจนั้นมีอยู่ ทั้งนี้ เพราะสาเหตุแห่งปัญหาหรือบรรดา ทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่แก้ไข กาจัด หรือทาให้หมดสิ้นไปได้ ๖๑ และเมื่อ ไฟราคะดับ ไฟโทสะดับ ไฟโมหะดับ กล่าวได้ว่าความเร่าร้อนคือกิเลสทั้งปวงมีมานะ และทิฏฐิ เป็นต้น ดับแล้ว ขึ้นชื่อว่าทุกข์มีแล้วดับได้ ๖๒ การที่พระพุทธองค์ตรัสนิโรธไว้ก่อนมรรคเพราะต้องการให้ผู้ฟังมีความหวัง และเห็นคุณค่าของนิโรธ จนเกิดความสนใจกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้วิธีปฏิบัติ และพร้อมที่จะลงมือปฏิบัติต่อไป๖๓ ๔) มรรค (ธรรมที่ ค วรเจริญ ) แปลว่า ปฏิ ป ทาน าไปสู่ ค วามดั บ ทุ ก ข์ หรือข้ อ ปฏิ บั ติ ใ ห้ ถึ ง ความดั บ ทุ ก ข์ ได้ แ ก่ อริ ย ะอั ฏ ฐั ง คิ ก มรรค หรื อ ทางอั น ประเสริ ฐ ๖๔ ในคั ม ภี ร์ พระพุทธศาสนาเถรวาทโดยสรุปแบ่งออกเป็น ๘ ประเด็น คือ (๑) สัมมาทิฐิ หมายถึง ปัญญาอันเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจ ๔ เห็นชอบตาม คลองธรรมว่า ทาดีมีผลดี ทาชั่วมีผลชั่ว มารดา บิดามี (คือมีคุณความดี ควรแกฐานะหนึ่งที่เรียกว่า มารดา บิดา) ฯลฯ เห็นถูกต้องตามที่ เป็นจริงว่าขันธ์ ๕ ไมเที่ยง เป็นต้น๖๕ สัมมาทิฐิมีความสาคัญ คือ เป็น ประดุจแกนนา เป็นหัวหนา เป็นนายสารถีดัง เป็นบุพนิมิตแห่งการรูแจงอริยสัจ เป็นเหตุปัจจัยให้ กุศลธรรมอื่น ๆ ไดเกิดขึ้น เพราะความเห็นเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่อาจนาวิถีชีวิตและสังคมมนุษย์ไปสู ความดี ความเจริญ หรือไปสูความเสื่อมก็ได๖๖ (๒) สั ม มาสั งกั ป ปะ คือ ด าริ นึ ก คิด และตั้ งทั ศ นคติต่ อสิ่ งเหล่ านั้ น อย่ าง ถูกต้อง ไม่เอนเอียง ยึดติดหรือผลักแย้งเป็นปรปักษ์ เมื่อมีความดารินึกคิ ดที่เป็นอิสระจากความชอบ ใจ ไม่ชอบใจและเป็นกลาง จึงทาให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามความจริง คือเสริมสัมมาทิฐิให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น จากนั้นองค์ประกอบทั้งสองอย่างก็สนับสนุนกันและกันหมุนเวียนต่อไป สัมมาสังกัปปะ มี ๓ อย่าง๖๗ ก. เนกขัมมสังกัปป์ หรือ เนกขัมมวิตก คือ ความดาริที่ปลอดจากโลภะ ความนึกคิดที่ ปลอดโปร่ งจากกาม ไม่ ห มกมุ่น พั วพั นติดข้องในสิ่ งสนองความอยากต่าง ๆ ความคิดที่ ปราศจาก ความเห็ น แก่ตัว ความคิดเสีย สละ และความคิดที่เป็นคุณ เป็นกุศลทุกอย่าง จัดเป็นความนึกคิดที่ ปราศจากราคะหรือโลภะ ข. อพยาบาทสังกัปป์ (หรือ อพยาบาทวิตก) คือ ดาริใ นอันไม่พยาบาท ความดาริที่ไม่มี ความเคี ย ดแค้ น ชิ งชั ง ขั ด เคื อ ง หรือ เพ่ งมองในแง่ ร้า ยต่ า ง ๆ โดยเฉพาะมุ่ งเอาธรรมที่ ต รงข้ า ม คือเมตตา ซึ่งหมายถึงความปรารถนาดี ความมีไมตรี ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข จัดเป็นความนึกคิดที่ ปราศจากโทสะ

๖๑

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, หน้า ๘๖๑. ประพันธ์ ศุภษร, “พุทธิปัญญา: การใช้เหตุผลเพื่อค้นหาความจริง”, หน้า ๔๕๗. ๖๓ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, หน้า ๘๖๓. ๖๔ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๘๕๐. ๖๕ พระพรหมคุณาภรณ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๖, (กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จากัด, ๒๕๕๑), หนา ๒๙๓. ๖๖ ปถมพร ตะละภัฏ, “การศึกษาวิเคราะหสัมมาทิฏฐิในการสรางสันติสุขในสังคมไทย”, วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวทยาลัย, ๒๕๕๔), หน้า ๒๕. ๖๗ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, หน้า ๗๐๔. ๖๒

๓๙ ค. อวิหิงสาสังกัปป์ หรือ อวิหิงสาวิตก คือ ดาริในอันไม่เบียดเบียน ไม่มีการคิดทาร้าย หรือทาลาย โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม คือกรุณาซึ่งหมายถึงความคิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจาก ความทุกข์ จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากโทสะ (๓) สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ วจีสุจริต ๔ (เว้นจาก วจีทุจริต ๔) -การงดเว้นจากการพูดเท็จ : พูดคาจริง -การงดเว้นจากการพูดส่อเสียด : พูดคาสมานสามัคคี -การงดเว้นจากการพูดคาหยาบ : พูดคาอ่อนหวานสุภาพ -การงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ : พูดคาที่มีประโยชน์ (๔) สัมมากัมมันตะ กระทาชอบ ทาการชอบ คือ การกระทาที่เว้นจากความ ประพฤติชั่วทางกาย ๓ อย่าง อันได้แก่ -การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ -การงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ -การงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม (๕) สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ละมิจฉาชีพ เลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาชีพ รวมถึงความขยันหมั่นเพียรในการประกอบอาชีพที่สุจริต (๖) สั ม มาวายามะ คื อ เพี ย รชอบหรื อ พยายามชอบเช่ น เพี ยรพยายาม ป้องกันไม่ให้บาปเกิดขึ้นภายในจิต เพียรเพื่อจะละหรือกาจัดอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป เพียร เพื่อจะเจริญกุศลธรรมให้เกิดขึ้น และ เพียรรักษากุศลที่สร้างให้บังเกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม (๗) สัมมาสติ คือ ให้ใช้สติเป็นเครื่องพิจารณา ๔ ฐาน คือ กาย เวทนา จิต และธรรม เพือ่ กาจัดอภิชฌาและโทมนัสออกจากจิต (๘) สัมมาสมาธิ คือ ให้ปฏิบัติตามหลักกัมมัฏฐาน ๔๐ กอง ให้เลือกกองใด กองหนึ่งก็ได้ ให้กาหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งสิ่งเดียวที่เรียกว่า จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านซัดส่ายไปหาสิ่ง อื่นหรืออารมณ์อื่นวิธีการที่จะทาให้มีอารมณ์เดียวก็โดยการหาวัตถุ อะไรสักอย่างหนึ่งหรือหาอารมณ์ อะไรสักอย่างหนึ่งมาให้จิตฝึกในการที่จะกาหนดแน่วแน่เรียกว่า วิธีการฝึกสมาธิ หน้าที่พึงปฏิบัติต่ออริยสัจ ๔ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)๖๘ กล่าวถึงวิธีคิดแบบอริยสัจหรือคิดแบบแก้ปัญหา เป็นวิธีที่สืบสาวจากผลไปหาเหตุแล้วแก้ไขกระทาการ ที่ต้นเหตุ จัดเป็น ๒ คู่คือ คู่ที่ ๑: ทุกข์เป็นผล เป็นตัวปัญหา เป็นสถานการณ์ที่ประสบ ซึ่งไม่ต้องการ สมุทัย เป็ น เหตุ เป็นที่มาของปัญ หา เป็นตัวการที่ ต้องกาจัดหรือแก้ไข จึงจะพ้ น ปัญหา คู่ที่ ๒: นิโรธเป็นผล เป็นภาวะสิ้นปัญหา เป็นจุดหมายซึ่งต้องการจะเข้าถึง มรรคเป็ น เหตุ เป็ น วิธี ก าร เป็ น ข้ อ ปฏิ บั ติ ที่ ต้ อ งกระท าในหารแก้ ไขสาเหตุ เพื่อบรรลุจุดหมาย คือภาวะสิ้นปัญหา อันได้แก่การดับทุกข์

๖๘

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, หน้า ๖๓๔.

๔๐ ในการคิดตามวิธีนี้ ต้องตระหนักถึงกิจ หรือหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่ออริยสัจแต่ละข้ออย่าง ถูก ต้อ งด้ ว ย มี วิธีป ฏิ บั ติเป็ น ข้ อ ๆ ตามแนวคิ ด ของพระพรหมคุณ าภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺ โต) ๖๙ ผู้ วิจั ย นาเสนอเป็นตารางดังนี้ ตารางที่ ๒.๑ แสดงวิธีปฏิบัติต่ออริยสัจ หลักอริยสัจ ๔ วิธีปฏิบัติ ขั้ น ที่ ๑ ทุ ก ข์ คื อ สภาพปั ญ หา เรียกว่า ปริญญา คือการกาหนดรู้ และทาความเข้าใจ เหมือน และความคั บ ข้ อ ง ติ ด ขั ด กดดั น แพทย์ที่ตรวจให้รู้ว่าเป็นอาการของโรคอะไร เป็นที่ไหน ซึ่งต้อง บีบคั้น บกพร่อง สืบสาวทาความเข้าใจให้ชัดเจน ไม่ใช่การปฏิบัติโดยเอาทุกข์มา ครุ่นคิด มาแบกไว้ หรือเป็นห่วงเป็นกังวล อยากหายจากทุกข์ ขั้ น ที่ ๒ สมุ ทั ย คื อ เหตุ เกิ ด ทุ ก ข์ เรียกว่า ปหาน คือการกาจัดและละเสีย ต้องพิจารณาสืบสาว หรื อ สาเหตุ ข องปั ญ หา ได้ แ ก่เหตุ เหตุ ปั จ จั ย ที่ เป็ น เหตุ ข องความบี บ คั้ น ด้ ว ยการการสื บ ค้ น ปั จ จั ย ต่ า ง ๆ ที่ เข้ ามาสั ม พั น ธ์กั น วิเคราะห์ และวินิจฉัย จับมูลเหตุของปัญหา จนเกิดการบีบคั้น ในที่นี้คือ ตัณหา และอวิชชา ขั้ น ที่ ๓ นิ โ รธ คื อ ภาวะไร้ ทุ ก ข์ เรียกว่า สั จฉิ กิ ริย า ท าให้ ป ระจัก ษ์ แจ้ ง ท าให้ เป็ น จริง ท าให้ ภาวะที่พ้นจากปัญหา สาเร็จ ตามจุดหมายที่ต้องการ ในที่นี้คือภาวะที่พ้นจากปัญหา ขั้ น ที่ ๔ มรรค คื อ ข้ อ ปฏิ บั ติ ห รื อ เรียกว่า ภาวนา การลงมือปฏิบัติ แต่ในขั้นวิธีการคิด คือการ วิธีแก้ไขปัญหา ด้วยการลงมือทา วางวิธีการ แผนการ และรายการสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องท า ซึ่งจะ ช่ ว ยให้ แ ก้ ไขสาเหตุ ข องปั ญ หาได้ ส าเร็ จ โดยสอดคล้ อ งกั บ จุดหมายที่ต้องการ สรุปว่าในอริยสัจ ๔ ทุกข์เกิดจากความยึดมั่นถือมั่น (ว่าเป็นเรา ว่าเป็นของเรา ว่าเป็น ตัวตนของเรา) จัดเป็นทุกข์ทางใจ และทุกข์ที่บุคคลสามารถดับได้อย่างเด็ดขาด คือ ทุกข์ทางใจเท่านั้น ไม่สามารถดับทุกข์ทางกายลงให้เด็ดขาด ได้ดังพุทธพจน์ที่แสดงความแตกต่างระหว่างพระอรหันต์กับ ปุถุชน โดยเปรียบเทียบว่าพระอรหันต์ถูกยิงด้วยธนูเพียงดอกเดียว คือ มีแต่ทุกข์ทางกายเพียงอย่าง เดียว ไม่เหมือนปุถุชนซึ่งถูกยิงด้วยธนู ๒ ดอก คือ มีทั้งทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ โดยมีหลักการ สาคัญคือ การพิจารณา ขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ หลักกรรม หลักไตรลักษณ์ อีกทั้งมีหลักอริยสั จ ๔ เป็นแผนที่ในการเดินทางออกจากทุกข์ เพื่อถอนความยึดมั่นถือมั่น เมื่อสิ้นความยึดมั่นถือมั่น ก็สิ้น ทุกข์ และมีมรรคเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ ซึ่งในการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาในการศึกษาครั้งนี้ มุ่งเน้นให้เกิดโลกิยะมรรค ในขั้นวิธีการคิด คือการวางวิธีการ แผนการ และรายการสิ่งต่าง ๆ ที่ต้อง ๖๙

อ้างแล้ว.

๔๑ ทา ซึ่งจะช่วยให้แก้ไขสาเหตุของปัญหาได้สาเร็จ หรือ ผู้มาปรึกษาจะเดินทางต่อถึงโลกุตระมรรคซึ่ง เป็นความเข้าใจส่วนที่ลึกซึ้งขึ้น ก็ขึ้นอยู่กับการศึกษาฝึกฝนของแต่ละบุคคลต่อไป ๒.๒.๓.๒ หลักไตรลักษณ์ พระพุทธองค์ทรงตรัสในอุปปาทาสูตรว่ า “พระตถาคตทั้งหลายจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ความจริงคือความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดาที่ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้ง ปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ยังคงอยู่อย่างนั้น พระตถาคตตรัสรู้ความจริงเช่นนี้แล้ว จึงตรัส ชี้แจง แสดงให้ เข้าใจตามความเป็ นจริงนั้น ๆ ”๗๐ จากพุทธพจน์ดังกล่ าวแสดงให้ เห็ นว่ากฏทั้ง ๓ ประการ คือความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความเป็นอนัตตา เป็นกฎธรรมชาติที่ครอบคลุมทุกชีวิต โดยไม่มีใครบันดาล ซึ่งกฎธรรมชาติทั้ง ๓ ประการมีรายละเอียดดังนี้ ๑) อนิ จ จตา (Impermanence) ความไม่ เที่ ย ง ความไม่ ค งที่ ความไม่ ยั่ งยื น ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป๗๑ ความเข้าใจความไม่เที่ยงของชีวิตนี้ สามารถเข้าใจและเห็นได้ ใน ๒ ระดับคือ ระดับทิฐิ และระดับญาณ ดังนี้๗๒ ๑.๑) ระดับทิฐิ เป็นความเข้าใจและความเห็นที่เกิดจากประสบการณ์จริงที่ ประสบอยู่ในชีวิตที่เป็นปกติแห่งชีวิตประจาวัน ด้วยการพินิจพิจารณาความเป็นไปต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับ ตนเองและสิ่งรอบ ๆ ตัวที่สัมพันธ์กับตนเอง เช่น การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของมนุษย์เริ่มตั้งแต่เกิด จนตายมี การเปลี่ ย นแปลงมากมายปรากฏเชิงประจัก ษ์ อยู่ ตลอดเวลา แม้จ ะรู้แ ละเข้าใจดีว่า สิ่ ง ทั้งหลายนั้ น ไม่เที่ย ง มีความแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดาก็ตาม แต่เมื่อมีสิ่ งที่อยู่ในครอบครองแปร เปลี่ยนไปจริง มนุษย์ไม่สามารถยอมรับสภาพนั้นได้จริง ยังมีความเสียใจเสียดายและมีความทุกข์โศก ๑.๒) ระดับญาณ เป็นความรู้ความเข้าใจที่พ้นไปจากความรู้ความเข้าใจที่ เป็ น เพี ย งทฤษฎี แต่ เป็ น ความรู้ ค วามเข้ า ใจที่ ม าจากการเจริ ญ วิ ปั ส สนาหรื อ การปฏิ บั ติ ต ามที่ พระพุทธเจ้าทรงสอน เป็นการมองเห็นด้วยดวงตาภายใน คือ ปัญญา เป็นความรู้เชิงประจักษ์ที่เกิด จากการปฏิบัติด้วยตนเอง และประจักษ์แก่ตนเอง ภายในตนเองอย่างชัดเจน ทาให้เกิดการเบื่อหน่าย ในความทุกข์ สามารถยอมรับปัญหาหรือความทุกข์ และกล้าเผชิญกับความทุกข์ได้อย่างหนักแน่น ๒) ทุกขตา (Stress and Conflict) ความเป็ นทุกข์ ภาวะที่ถูกบี บคั้นด้วยการ เกิดขึ้นและสลายตัว ภาวะที่กดดัน ฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่าง นั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทาให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว ไม่ให้ ความสมอยากแท้จริง หรือความพึงพอใจเต็มที่แก่ผู้ที่อยากด้วยตัณหา และก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้เข้าไป อยากเข้าไปยึด ด้วยตัณหาอุปาทาน๗๓ ๓) อนัตตา (Soullessness หรือ Non-Self ) ความเป็นอนัตตาคือไม่เป็นตัวตน หรือไม่มีตัวตนที่แท้จริง ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสภาวะที่ที่มีอยู่ เป็นอยู่หรือเป็นไปของมัน เป็นธรรมดา ๗๐

องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๑๓๗/๓๘๕. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, หน้า ๖๓. ๗๒ พระมหากวี มหาปั ญ โญ (ละลง), ดุ ล ยภาพชี วิตเชิ งพุ ท ธเพื่ อ ความมี อ ายุ ยื น , พิ ม พ์ ค รั้ งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจากัดภาพพิมพ์, ๒๕๕๗), หน้า ๕๖-๕๘. ๗๓ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, หน้า ๖๓. ๗๑

๔๒ อย่างนั้นเอง ไม่เป็น ไม่มีตัวตนที่จะครอบครองสั่งบังคับอะไรให้เป็น หรือให้ไม่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ตามที่ปรารถนา๗๔ การเข้าใจไตรลักษณ์ทาให้มนุ ษย์สามารถที่จะใช้ชีวิตอยู่ได้ในโลกของปัจจุบัน ทั้งที่เป็น ระดับโลกิยะและโลกุตตระโดยลาดับขั้นตอนดังนี้ คือ๗๕ ๑) รู้ความจริงของธรรมชาติ กฎธรรมชาติเป็นความจริงที่เราทั้งหลายจะต้องรู้ไว้เพราะมี ประโยชน์ แม้จะเป็นกฎธรรมชาติในส่วนที่ไม่ถูกใจเรา ไม่น่าปรารถนา เราก็ ต้องรู้เพื่อจะปฏิบัติให้ ถูกต้อง ความรู้กฎธรรมชาติหรือความจริงของสิ่งทั้งหลายตามธรรมดานี้ เพื่อประโยชน์ในทางความ รู้เท่าทันที่จะดาเนินชีวิตด้านใน ทาให้รู้จักวางท่าทีของจิตใจได้ถูกต้อง ทาให้มี ความสุขและไร้ทุกข์ อย่างแท้จริง ๒) ไม่หลงชีวิต บุคคลที่ไม่ประมาทมัวเมาจนตกเป็นทาสของโลกและชีวิต อย่างที่เรียกได้ ว่า หลงโลก เมา ชีวิต ก็เพราะมีสติ รู้จักมอง รู้จักพิจารณา รู้จักวางตัววางใจต่อความจริงต่าง ๆ อันมี ประจาอยู่กับโลกและชีวิตเป็นคติธรรมดา นั่นคือโลกธรรม ๘ ประการ ได้ลาภ-เสื่อมลาภ ได้ยศ- เสื่อม ยศ สุข-ทุกข์ สรรเสริญ-นินทา ๓) พิ จ ารณาสั งขาร โดยคานึ งชี วิต แม้ ไม่ใช้ เวลาที่ ม องเห็ น เทวทู ตก็ ควรพิ จารณาอยู่ เสมอ ๆ ว่า ก. ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ข. ควรพิ จ ารณาเนื อ ง ๆ ว่า เรามี ค วามเจ็ บ ป่ ว ยไข้เป็ น ธรรมดาไม่ ล่ ว งพ้ น ความ เจ็บป่วยไปได้ ค. ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่าเรามีความตายเป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ง. ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่าเราจักต้องประสบความพลัดพรากทั้งจากคนและของที่รัก ที่ชอบใจไปทั้งสิ้น จ. ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทากรรมใด ดีก็ตามชั่วก็ตาม จักต้องเป็นทายาทของกรรมนั้น เมื่ อ พิ จ ารณาอยู่ เสมออย่ า งนี้ ก็ จ ะช่ ว ยป้ อ งกั น ความมั ว เมา ในความเป็ น หนุ่ ม สาว ในทรัพย์สมบัติ และในชีวิต เป็นต้น บรรเทาความลุ่มหลงความถือมั่นยึดติด และป้องกันการทาความ ทุจริต ทาให้เร่งขวนขวายทาแต่สิ่งที่ดีงามเป็นประโยชน์๗๖ ดังนั้นความเข้าใจและการเห็นความไม่เที่ยง ของชีวิตที่อยู่ในรูปไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นกฎของ ธรรมชาติ (ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา) ดังกล่าวข้างต้น เอื้อให้ผู้ มาปรึกษาที่กาลังทุกข์ ไม่สบายใจ คลายความยึดมั่นถือมั่น ไม่หลงคิดปรุงแต่ง เพราะทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นเพียงปรากฏการณ์ชั่วคราวมี เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไปในที่สุด ทาให้สามารถยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตนเอง

๗๔

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๙๐. พระมหาสุนันท์ จนฺทโสภโณ (ดิษฐ์สุนนท์), “การศึกษาคาสอนเรื่องไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนา เถรวาท”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต , (บัณ ฑิตวิทยาลั ย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒๕๔๙), หน้า ๑๑๖-๑๑๗. ๗๖ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), ธรรมนูญชีวิต, หน้า ๔๖-๔๘. ๗๕

๔๓ ในชีวิตประจาวันได้มากขึ้น สามารถดารงชีวิตได้อย่างสงบสุขมากขึ้น และสามารถขยายปัญญาตนเอง ให้สูงขึ้นไปได้ ๒.๒.๓.๓ หลักไตรสิกขา การศึกษาเป็นสาระของการปฏิบัติทั้งหมดในพระพุทธศาสนาและการปฏิบัตินั้นท่าน เรียกว่าสิกขา อันได้แก่ ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา เป็นระบบการปฏิบัติธรรมที่ครบถ้วน สมบูรณ์ มีขอบเขตครอบคลุมมรรคทั้งหมด และเป็นการนาเอาเนื้อหาของมรรคไปใช้อย่างหมดสิ้นจบ บริบูรณ์ จึงเป็นหมวดธรรมมาตรฐานสาหรับแสดงหลัก การปฏิบัติธรรมและมักใช้เป็นแม่บทในการ บรรยายวิธีปฏิบัติธรรม๗๗ คาว่าไตรสิ กขา หรือ สิกขา ๓ แปลว่าข้อที่จะต้องศึกษา ข้อปฏิบัติที่เป็ นหลั กส าหรับ ศึ ก ษา คื อ ฝึ ก หั ด อบรมกาย วาจา จิ ต ใจและปั ญ ญ าให้ ยิ่ ง ขึ้ น ไปจนบรรลุ จุ ด หมายสู ง สุ ด คือ พระนิพพาน และมีความหมายคล้าย คาว่า “ภาวนา” ซึ่งแปลว่า การทาให้เกิด การทาให้มีให้เป็น การทาให้เจริญ การเพิ่มพูนการอบรม หรือฝึกอบรม ๗๘ โดยทั่วไปการเรียกสิกขา ๓ นิยมเรียกกันง่าย ๆ อย่างไม่เป็นทางการว่า ศีล สมาธิ ปัญญา และเมื่อใช้คาว่า “อธิ” นาหน้าจะเปลี่ยนเป็นอธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา ไตรสิกขาเป็นกระบวนการศึกษา (สิกขา) หรือพัฒนาชีวิต (ภาวนา) ในทางปฏิบัติหรือการใช้งานจริง ๑) ศีลภาวนา หมายถึง การเจริญศีล พัฒนาความประพฤติ การฝึกอบรมศีลให้ ตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย โดยอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดีเกื้อกูล กัน ๗๙ ดังนั้ น การให้คาปรึกษาตามหลักศีลภาวนา ถือเป็นเรื่องสาคัญของการพัฒ นาจริยธรรมทาง สังคม ที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องดีงาม เพื่อสร้างสังคมให้มีความเกื้อกูลต่อกัน โดยเฉพาะการ เป็ น ประโยชน์ สุ ข ของสั ง คม ด้ ว ยเหตุ นี้ พลเมื อ งที่ อ ยู่ ใ นสั ง คมก็ ต้ องเคารพต่ อ ระเบี ย บวิ นั ย และประกอบอาชีพสุจริต ถือการฝึกหัดตนให้อยู่ในสังคมด้วยดีและประโยชน์๘๐ ฉะนั้น การให้คาปรึกษาในการประกอบอาชีพที่สุจริตนี้ทางพระพุทธศาสนาได้สอนให้ พุทธศาสนิ กชนปฏิบั ติถูกต้องตามหลักเบญจศีล หรือที่ เรียกว่า ศีล ๕ อันเป็นวิจัยของชาวพุทธที่ จะต้องตระหนักรู้ และให้ความสาคัญ โดยเฉพาะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องดีงาม ไม่เบียดเบียนทั้งตัวและ ผู้อื่นด้วย โดยหลักปฏิบัติตามองค์ ๕ ประการของศีล ดังนี้ (๑) งดเว้นจาการฆ่าสัตว์ แต่ควรมีเมตตา กรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง (๒) งดเว้นจากการลักทรัพย์ หรือแสวงหาทรัพย์ในทางมิชอบแต่ควรประกอบสัมมาอาชีพ สุจริตถูกต้องตามทานองครองธรรม (๓) งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม แต่ควรมีความสันโดษในคู่ครองของตน ๗๗

หน้า ๒๓๑.

๗๘

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโฺ ต), พุทธวิธีการสอน, (กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม, ๒๕๒๙),

ที. ปา. (ไทย) ๑๑/๒๒๘/๒๓๑. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕), หน้า ๗๒. ๘๐ พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต), พุทธธรรมกับการพัฒนาชีวิต , (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ธรรมสภา, ๒๕๔๐), หน้า ๑๓๒. ๗๙

๔๔ (๔) งดเว้นจากการพูดเท็จ แต่ควรพูดแต่ความจริง (๕) งดเว้นจากการเสพของมึนเมาอันเป็นเหตุให้ขาดสติสัมปะชัญญะ ดาเนินชีวิตด้ว ย ความประมาท แต่ควรเจริญด้วยสติสัมปะชัญญะให้บริบูรณ์๘๑ ๒) สมาธิ หมายถึง ความตั้งมั่นแห่งจิตภาวะที่จิตสงบนิ่งอยู่ที่อารมณ์อันเดียว ๘๒ แบ่งได้๓ระดับ ได้แก่ (๑)ขณิกสมาธิ (สมาธิชั่วขณะ) สมาธิในระดับนี้เป็นพื้นฐานในการดาเนินชีวิต เกิดขึ้น ในช่วงเวลาที่จิตกาลั งจดจ่ออยู่กับสิ่ งที่ทา เป็นสมาธิที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ง่ายที่สุด เพราะไม่ เกี่ยวข้องกับการกาจัดนิวรณ์ (สิ่งปิดกั้นไม่ให้เข้าถึงสมาธิ) เช่น การพิจารณากิเลส หรือการพิจารณา กามคุณ ๕ อันประกอบไปด้วยรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส แต่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกขณะจิต แม้แต่เวลาที่ เรากาลังเคลื่อนไหวก็ตาม ขณิกสมาธิจะช่วยให้ท่านทาสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ดียิ่งขึ้นเพราะจิตจะจับจ้องอยู่ กับสิ่งที่เรากาลังคิด หรือกาลังปฏิบัติ และการที่เราทาอะไรโดยมีสมาธิชั่วขณะกับสิ่งที่ทา ก็จะทาให้ เราทาสิ่งนั้นได้ดีกว่าการที่ไม่มีสมาธิคอยกากับ สมาธิระดับนี้ มักเกิดขึ้นเมื่อเรากาลังทาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เวลาขับรถ เวลาที่อ่านหนังสือ หรือเวลาที่ทางาน เป็นต้น (๒)อุปจารสมาธิ เป็นสมาธิในระดับที่สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นระดับที่ไม่ สามารถเข้าถึงได้ด้วยวิธีการผิวเผินเหมือนกับขณิกสมาธิ แต่ต้องการใช้การนั่งสมาธิเพื่อขัดเกลาจิตให้ ปราศจากนิวรณ์ (สิ่งปิดกั้นไม่ให้เข้าถึงสมาธิ) เพื่อพัฒนาจิตไปสู่สมาธิในระดับที่สูงขึ้นไปอีกขั้นและ ไปสู่การฝึกวิปัสสนากรรมฐานต่อไป (๓)อัปปนาสมาธิ เป็นขั้นที่จิตมีสติกากับอยู่ตลอดเวลา ถ้าจะเปรียบเทียบ ระหว่างอุปจารสมาธิกับอัปปนาสมาธิ อุ ปจารสมาธินั้นถึงแม้จะปราศจากนิวรณ์แล้วก็ตาม แต่จิตยัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาได้อยู่ เพราะยังไม่มีความนิ่งมากพอ ทาให้บางช่วงบางเวลาจิตก็ปราศจากสติ คอยกากับหรือที่เรียกว่าตกอยู่ในภวังค์ คล้ายกับคนที่กาลังคุยอยู่ดี ๆ แต่พอคิดอะไรเพลิน ๆ จิตก็ไป ผูกอยู่กับเรื่องที่ คิด ทาให้ไม่ได้ยินว่าอีกฝ่ายหนึ่งกาลังพูดอะไร จนใครเรียกก็ไม่ได้ยิน ครั้งพอได้ยิน ครั้นพอได้ยินเสียงดังเข้าหน่อยก็รู้สึกตัวหันกลับมาให้ความสนใจกับคู่สนทนาเช่นเดิม ก็เหมือนกับการ ทาสมาธิที่อยู่ดี ๆ จิตก็ตกอยู่ในภวังค์ ซึ่งก็คือสติหลุดออกไปจากจิตนั่นเอง ผิ ด กั บ จิ ต ในระดั บ ของอั ป ปนาสมาธิ ที่ ส งบนิ่ ง อย่ า งแท้ จ ริ ง ค าว่ า สงบนิ่ ง นั้ น ไม่ ไ ด้ หมายความว่าจิตปราศจากการรับรู้ จิตยังคงสามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ แต่จะเป็นจิตที่มีสติคอยกากับ อยู่ตลอด ไม่ไป ๆ มา ๆ ระหว่างภวังค์กับสมาธิเหมือนในระดับของอุปจารสมาธิ การเข้าถึงอัปปนา สมาธิได้นั้นต้องทาการ “เจริญสมาธิ” คือ การกาหนดจิตให้เป็นรูปร่าง รวมไปถึงการกาหนดตาแหน่ง ที่อยู่ของจิตให้ชัดเจนซึ่งการทาสมาธิในแต่ละรูปแบบก็จะมีวิธีการกาหนดรูปร่างของจิตและกาหนด ตาแหน่งของจิตแตกต่างกันออกไป บางรูปแบบก็ให้วางตาแหน่งของจิตเอาไว้บริเวณหน้าท้องเหนือ

๘๑

สมใจ ตั น ติ วัฒ น์ , “การศึก ษาวิเคราะห์ เทคนิ ค การให้ คาปรึก ษาด้ วยพุ ท ธวิ ธีสาหรับ นั ก เรียน”, วิท ยานิ พนธ์พุทธศาสตรมหาบั ณฑิ ต , (บัณ ฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬ าลงกรณ์ ราชวิทยาลัย . ๒๕๕๓), หน้า ๘๘. ๘๒ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, หน้า ๗๔.

๔๕ สะดือเล็กน้อย บางวิธีการก็ให้เอาไว้ที่ลมหายใจ บางวิธีก็กาหนดตามการยุบและพองของหน้าท้อง เป็นต้น๘๓ ๓) ปัญญา หมายถึง การเจริญปัญญา การพัฒนาปัญญา การฝึกอบรมปัญญาให้ รู้ เข้ า ใจสิ่ ง ทั้ ง หลายตามความเป็ น จริ ง รู้ เท่ า ทั น ให้ เห็ น แจ้ ง โลกและชี วิ ต ตามสภาวะที่ เกิ ด ขึ้ น และสามารถทาจิตให้เป็นอิสระ บริสุทธิ์จากกิเลส และพ้นจากความทุกข์ แก้ไขปัญหาด้วยปัญญา๘๔ ดังนั้ น หลั ก ปฏิ บั ติ เรื่ องของปั ญ ญาภาวนา อัน ดั บ แรกจะต้ องมีค วามรู้ค วามเข้ าใจใน ศิลปวิทยาการวิชาชีพ ต่อมาต้องพัฒนาปัญญาให้มีการรับรู้ เรียนรู้อย่างถูกต้องของสิ่งทั้งหลายตาม ความเป็นจริง หรือตามเหตุปัจจัย และรู้จักทางแก้ปัญหา สร้างสรรค์ความสาเร็จให้ตนเองและพัฒนา ยิ่ง ๆ ขึ้นไป การรู้เท่าทันโลกและชีวิตทาให้จิตเป็นอิสระหลุดพ้นจากความทุกข์สมบูรณ์๘๕ การฝึกปรือปัญญาให้เกิดความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงจนถึงความหลุด พ้น มีจิตใจเป็นอิสระ ผ่องใส เบิกบานโดยสมบูรณ์ ได้แก่ รวมเอาองค์มรรค ข้อสัมมาทิฏฐิ และสัมมา สังกัปปะ สองอย่างแรกเข้ามาว่าโดยสาระก็คือ การฝึกอบรมให้เกิดปัญญาบริสุทธิ์ที่รู้แจ้งชัดตรงตาม สภาพความเป็นจริง ไม่เป็นความรู้ความคิดความเข้าใจที่ถูกบิดเบือนเคลือบคลุม ย้ อมสีอาพราง หรือ พร่ามัว เป็น ต้น เป็ นอิทธิพลของกิเลสมีอวิชชาและตัณ หาเป็นผู้นาที่ครอบงาจิตอยู่ การฝึกปัญญา เช่นนี้ต้องอาศัยการฝึกจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใสเป็นพื้นฐาน แต่ในเวลาเดียว เมื่อปัญญาที่บริสุทธิ์รู้เห็นตาม เป็นจริงที่เกิดขึ้นแล้ว ก็กลับช่วยให้จิตนั้นสงบ มั่ นคง บริสุทธิ์ ผ่องใสอย่างแน่นอนยิ่งขึ้น และส่งผล ออกไปในการดาเนินชีวิตก็คือ ทาให้วางใจ วางท่าที มีความสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง และ ใช้ปัญญาที่บริสุทธิ์ ไม่เอนเอียง ไม่มีกิเลสแอบแฝงนั้น คิดพิจารณาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทากิจทั้งหลาย ในทางที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขอย่างแท้จริง๘๖ โดยสรุป การให้คาปรึกษาตามหลักปัญญาสิกขา ใน การใช้ชีวิตย่อมมีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย การใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาโดยการหาเหตุของปัญหา ตามความเป็นจริง แล้วลงมือแก้ปัญญานั้น จะสามารถลดความทุกข์ในชีวิตลงได้ สาระสาคัญหลักไตรสิกขา๘๗อย่างแท้จริง ระบบไตรสิกขามี ๓ ประการ อันได้แก่ ๑. ศีล (training in higher morality) เป็นการฝึกฝนพัฒนาด้านพฤติกรรม หมายถึงการ พัฒนาพฤติกรรมทางกาย และวาจา ให้มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง มีผลดีในลักษณะ ต่าง ๆ คือ การดารงตนด้วยดีในสังคม การรักษาระเบียบวินัย การปฏิบัติหน้าที่ และความรับผิดชอบ ทางสังคมได้ถูกต้อง การมีทางสังคมที่ดีงามเกื้อกูลประโยชน์ การรักษาและส่งเสริมสภาพแวดล้อมทาง ๘๓

ศ. ศาสตรา, สมาธิวันละ ๕ นาที ชนะทุกข์พิชิตกรรม, (กรุงเทพมหานคร: เก็ทไอเดีย, ๒๕๕๙), หน้า ๑๔๘-๑๔๙. ๘๔ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕), หน้า ๗๐. ๘๕ สมใจ ตั น ติ วัฒ น์ , การศึ ก ษาวิเคราะห์ เทคนิ ค การให้ ค าปรึ กษาด้ วยพุ ท ธวิธีส าหรับ นั ก เรีย น, หน้า ๙๕. ๘๖ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต), พุทธธรรมฉบับขยายความ, พิมพ์ครั้งที่ ๑๓, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหธรรมมิก จากัด, ๒๕๕๑), หน้า ๙๑๕. ๘๗ คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พุทธวิธีในการสอน Buddha’s Teaching Methods, หน้า ๗๐ ๗๑.

๔๖ สังคม ให้อยู่ในภาวะเอื้ออานวยแก่การที่ทุก ๆ คนจะสามารถดารงชีวิตที่ดีงาม หรือปฏิบัติตามกันได้ ด้วยดี ๒. สมาธิ (training in higher mentality) เป็ น การฝึ ก ปรื อ ในด้ า นคุ ณ ธรรมและมี สมรรถภาพของจิ ต หมายถึง การฝึ กจิต ให้ มีคุณ สมบัติดังต่อไปนี้ มีจิตใจเข้มแข็ง มั่นคง แน่ว แน่ ควบคุมตนได้ด้วยดี มีกาลังใจสูง มีสภาพสมองผ่องใส เป็นสุข ปราศจากสิ่งรบกวนหรือให้เศร้าหมอง อยู่ในสภาพเหมาะแก่การใช้งานทางปัญญาที่ลึกซึ้งและตรงตามความเป็นจริง ๓. ปัญ ญา (training in wisdom) เป็นการฝึกปรือปัญ ญาให้ เกิดความรู้ความเข้าใจสิ่ ง ทั้ งหลายตามความเป็ น จริ ง ในลั ก ษณะคื อ รู้ แจ้ งขั ด ตรงตามสภาพความเป็ น จริง ไม่ เป็ น ความรู้ ความคิดความเข้าใจที่ถูกบิดเบือนหรือพร่ามัว โดยสรุป ไตรสิกขา จึงเป็นกระบวนการที่จะนามาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนั้น การเขียน จุดประสงค์การเรียนรู้ จะต้องให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของไตรสิกขา ส่วนขั้นตอนของกระบวนการ จะต้ อ งสอดคล้ อ งกั บ จุ ด ประสงค์ ก ารเรี ย นรู้ การจั ด กิ จ กรรมการสอน ก็ เพื่ อ ให้ ผู้ เรี ย นไปให้ ถึ ง จุดประสงค์จนกระทั่งบรรลุจุดมุ่ งหมายของไตรสิกขา คือ ๘๘ ๑ ศีล ได้แก่ การพัฒ นาพฤติกรรมทาง กาย วาจาให้สัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ คือ สิ่งแวดล้อมทางสังคม ได้แก่ เพื่อนมนุษย์ สิ่งแวดล้อมทางวัตถุ ได้แก่ ปัจจัย ๔ เครื่องใช้วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้ง เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมที่มีในธรรมชาติ ๒ สมาธิ ได้แก่ การฝึกฝนพัฒนาจิตใจให้มีคุณสมบัติ คือ มีคุณธรรม มีประสิทธิภาพ มีความสุข และ ๓ ปัญญา ได้แก่ การพัฒ นาความรู้ความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ คือ การเข้าถึงความหมาย เนื้อหา เหตุปัจจัยของ เรื่องราวต่าง ๆ เข้าใจระบบความสั มพันธ์ของสิ่งทั้งหลายที่อิงอาศัยสื บเนื่องส่ งผลต่อกั น ตามเหตุ ปัจจัย ๒.๒.๓.๔ หลักกรรมและวัฏฏะ “กรรม” แปลว่า การกระทา มีความหมายกลาง ๆ ใช้ได้ทั้งในทางดีและทางไม่ดี พระพรหมมังคลจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) อธิบายว่า กรรม แปลว่า การกระทา ถ้าทาดี เรียกว่า กุศล กรรมทาชั่ว เรียกว่า อกุศลกรรม เป็นไปทางกายก็เรียกว่า กายกรรม ถ้าเป็นไปทางคาพูดก็เรียกว่า วจีกรรม ถ้าเป็นไปทางใจก็เรียกว่า มโนกรรม กรรมที่เป็นไปทางวาจาใจนี้ ต้องมีความตั้งใจด้วย ถ้าไม่ มีความตั้งใจ ก็สักแต่ว่ากิริยา ไม่ถือเป็นกรรม ผลที่จักเกิดขึ้นก็ไม่มี จาไว้ว่า “ความตั้งใจจะทาเป็นตัว กรรมถ้าไม่ตั้งใจทาไม่เป็ นกรรม”๘๙ หลั กกรรมเป็นหลักธรรมที่สาคัญกับความเป็นมนุษย์ที่บอกถึง ความเป็น มาเป็ นไปของมนุ ษย์ เพราะทุกชีวิตที่เกิดมานั้นล้วนมาจากเหตุปัจจัยทั้งสิ้ น และมีความ เป็นมาเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ กฎแห่งกรรม หรือ กรรมนิยาม ๙๐ ดั่งพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ที่ กล่าวถึงกรรมว่า

๘๘

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง, ๒๕๔๐), หน้า ๒๘. ๘๙ พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ), เรื่องกฎแห่งกรรมในทัศนะเจ้าคุณปัญญานันทภิกขุ , (กรุงเทพมหานค: โรงพิมพ์ บริษัท ก.พล จากัด, (๑๙๙๖), หน้า ๒๗. ๙๐ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, หน้า ๔๐.

๔๗ “ภิกษุทั้งหลาย เจตนานั่นเองเราเรียกว่ากรรม บุคคลจงใจแล้ว จึงกระทากรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ”๙๑ อีกทั้งกรรมนั้นไม่ได้หมายถึงเฉพาะกรรมชั่ว ที่บุคคลทาไว้ในอดีตตามที่คนทั่วไปเข้าใจ เท่านั้น แต่หมายถึงกรรมทั้งดีและชั่ว ที่บุคคลได้ทาไว้ในอดีต ปัจจุบันและที่จะเกิด ขึ้นในอนาคตด้วย ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงการกระทาเมื่อใดก็เมื่อนั้นแหละ จะเป็นอดีต ปัจจุบันหรืออนาคตก็ตาม การกระทา นั้น ๆ เป็นกรรมทั้งสิ้น๙๒ เมื่อมีเจตนาเกิดขึ้นก็คือมีกิจกรรมเกิดขึ้นในจิตแล้ว จิตมีการเคลื่อนไหวหรือ ไหวตัว แม้เป็นเพียงความคิดอะไรเล็กน้อย ซึ่งถึงไม่ มีอะไรสาคัญแต่ก็ไม่ไร้ผลเสียเลย อย่างน้อยก็เป็น ละอองกรรมอันละเอียดที่สั่งสมหรือพอกเข้าไว้เป็นเครื่องปรุงแต่งคุณสมบัติของจิตภายใน เมื่อมากขึ้น จิตเสพความคิดนั้นบ่อย ๆ หรือความคิดนั้นรุนแรงขึ้นจนออกมาภายนอก ผลก็แรงขึ้นขยายออกมา เป็นลักษณะนิสัยบุคลิกภาพเป็นต้น๙๓ วั ฏ ฏะ ๓ ก็ คื อ กฎแห่ งเหตุ ผ ล กฎแห่ งกรรมในฐานะกฎแห่ งเหตุ ผ ล ก็ คื อ กฎ ธรรมชาติ พุทธศาสตร์ สามารถแยกตามหน้าที่ได้ ๓ พวกคือ กิเลส กรรม และวิบาก เปรียบเหมือน ส่วนทั้งสามของกงล้อที่เมื่อประกอบกันแล้ว ทาให้โลกหมุนไป เรียกว่า วัฏฏะ ๓ มีรายละเอียด คือ ๑) อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็น กิเลส คือตัวสาเหตุผลักดันให้คิดปรุงแต่งกระทา การต่าง ๆ เรียกว่า กิเลสวัฏฏ์ ๒) สังขาร ภพ เป็น กรรม คือกระบวนการกระทาหรือกรรมทั้งหลาย ที่ปรุงแต่งชีวิต ให้เป็นไปต่าง ๆ เรียกว่า กรรมวัฏฏ์ ๓) วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา เป็น วิบาก คือสภาพชีวิตที่เป็นผล แห่งการปรุงแต่งของกรรม และกลับเป็นปัจจัยเสริมสร้างกิเลสต่อไปได้อีก เรียกว่า วิปากวัฏฏ์ วัฏฏะทั้ง ๓ นี้หมุนเวียนต่อเนื่องเป็นปัจจัยอุดหนุนแก่กัน ทาให้วงจรแห่งชีวิตดาเนินไปไม่ ขาดสาย ด้วยหลักปฏิจจสมุปบาทนี้ แสดงให้เห็นอาการของสิ่งทั้งหลายสัม พันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุ ปัจจัย สิ่งทั้งหลายมีอยู่โดยความสัมพันธ์ มีอยู่ด้วยอาศัยปัจจัย ไม่ได้มีอยู่ด้วยตัวของมันเอง๙๔ ในการทานายจะคานวณอิทธิพลของดาวต่าง ๆ ที่มาทามุมกัน ว่ามีอิทธิพลส่งเสริมชะตา ชีวิตในทางดี คือ ลาภ, ยศ, สรรเสริญ สุข หรือจะทับถมชะตาชีวิตในทางร้าย คือ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ คนในสมัยโบราณใช้ดวงเป็นตัวอ่าน กฎแห่งกรรม ของคนใช้อ่านนิสัยคน เพราะนิสัยมา จากกรรม กรรมทาให้เราเกิดรู้นิสัยคนได้ เช่น เลข ๓ ดาวอังคาร ทานายได้ว่าใจร้อน จากการศึกษา เรื่องดวงกับกฎแห่งกรรม จะทาให้ทราบว่า ในชีวิตนี้ไม่มีใคร่ที่ดีพร้อมสมบูรณ์แบบไปเสียทั้งหมด และ ที่จะไม่ดีไปเสีย ทั้งหมด ดวงท าให้ เราทราบเรื่องราวเกี่ยวกับ อดีต ดวงคือตัวสะท้ อนกฎแห่ งกรรม ดังนั้นเมื่อดวงสะท้อนกฎแห่งกรรม เราก็ต้องสัมพันธ์กับอดีต ถ้าเราวิเคราะห์ตามหลักพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าสอนอดีต แต่เน้นปัจจุบันมาก พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ปฏิบัติอดีต เพียงแต่ให้รู้ว่าอดีต ๙๑

องฺฉกกฺ. (ไทย) ๒๒/๓๓๔/๔๖๓. พระธรรมปิ ฎ ก (ป.อ. ปยุ ต โต), กรรมนรกสวรรค์ ส าหรั บ คนรุ่ น ใหม่ , พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ ๓, (กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์อมรินทร์, ๒๕๔๘), หน้า ๔๖. ๙๓ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, หน้า ๒๕๘. ๙๔ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, (กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖), หน้า ๑๐๔. ๙๒

๔๘ เป็นเช่นนี้ แต่ทาปัจจุบันให้ดี เพื่ออนาคตจะได้ดี ทาดีนั้นทาอย่างไร เริ่มต้นจริง ๆ ถ้าจะแก้กรรม คือ การกระทาให้ดีขึ้น๙๕ สรุ ป ได้ ว่ า ชาวพุ ท ธไทยในปั จ จุ บั น เชื่ อ โหราศาสตร์ แ ละกฎแห่ ง กรรมไปพร้ อ ม ๆ กัน ในขณะที่ยังเชื่อว่าทาดีได้ดีทาชั่วได้ชั่วตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนไว้ แต่ก็ยังมีความเชื่อเรื่อง โหราศาสตร์และใช้โหราศาสตร์เป็นส่วนประกอบในการพิจารณาก่อนตัดสินใจดาเนินการอย่างใด อย่างหนึ่ง การได้รับคาปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยา เพื่อนาไปใช้ในการกาหนดชีวิตประจาวันให้มี ความสุข ลดความทุกข์ในเรื่องทีเป็นปัญหาต่าง ๆ นั้น หลักธรรมที่ได้จากการให้คาปรึกษาตามแนว พุทธจิตวิทยานี้สามารถช่วยลดความทุกข์จากปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างครอบคลุมแน่นอน ดังนั้น สาหรับผู้ มีปัญหาความเครียด ถ้างดได้จากต้นเหตุของความเครียดดังกล่าวข้างต้นแล้ว ความเครียดต่าง ๆ ก็จะ ไม่เกิดตั้งแต่แรก ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งของการบาบัดความเครียด โดยให้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ใช้ในการบาบัดความเครียด ๒.๒.๔ กระบวนการให้คาปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยา พระพุทธองค์ได้ทรงช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาหรือมีความทุกข์ ให้สามารถคลี่คลายปัญหาหรือ มีแนวทางในการพ้นทุกข์ได้ด้วยความเข้าใจทุกข์ของตนเอง อีกทั้งสามารถตัดสินใจเลือกแนวทาง ทางการดาเนินชีวิตด้วยตนเอง ดังนี้ ๑).นางวิสาขา๙๖ (๑) เรื่องราว ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพาราม ใกล้พระนคร สาวัตถี ครั้งนั้ นนางวิส าขามหาอุบ าสิ กา ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยอาการที่เศร้าโศกเสียใจ เพราะการสูญเสียหลานรักที่ถึงแก่ความตายลง (๒) การพบพระพุทธองค์ ทรงตรัสถามนางวิสาขาว่า “วิสาขา เธอปรารถนา บุ ต ร และหลานเท่ ากั บ จ านวนมนุ ษ ย์ ในเมื อ งสาวั ต ถี นี้ ห รือ “ นางวิส าขากราบทู ล ว่า “หม่ อ มฉั น ปรารถนาบุตร และหลานเท่ากับจานวนมนุษย์ในเมืองสาวัตถีนี้เจ้าค่ะ“ พระผู้ มี พ ระภาคได้ ต รั ส ถามอี ก ว่า “มนุ ษ ย์ ในพระนครสาวัต ถี นี้ ต ายวัน ละเท่ าไหร่ ” นางวิสาขากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มนุษย์ในพระนครสาวัตถีนี้ตายวันละ ๑๐ คนบ้าง ๙ คนบ้าง ๘ คนบ้าง ๗ คนบ้าง ๒ คนบ้าง และ ๑ คนบ้าง ที่จะว่างจากคนตายไม่มีเลย” พระผู้ มี พ ระภาคจึ งตรั ส ว่ า “ถ้ าเช่ น นั้ น เธอมิ ต้ อ งร้ อ งไห้ ผ้ า เปี ย กตลอดทุ ก วั น หรื อ ” นางวิสาขากราบทูลว่า “ ไม่ใช่อย่างนั้นเจ้าคะ หม่อมฉันพอเพียงแล้วกับบุตรหลาน ” (๓) พิจารณาการปรึกษา พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “วิสาขา ผู้ใดมีความรักถึง ร้อย ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ถึงร้อย ผู้ใดมีความรัก ๙๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๙๐ ผู้ใดมีความรักถึง ๓ ก็ต้องมี ความทุกข์ถึง ๓ ผู้ใดมีความรักถึง ๒ ก็ต้องทุกข์ถึง ๒ ผู้ใดมีความรัก ๑ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑ ผู้ใดไม่มีสิ่งอัน เป็นที่รัก ผู้นั้นก็ไม่มีความทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่มีความเศร้าโศก ปราศจากกิเลสดังธุลี ไม่มีอุปยาส ๙๕

บรรจบ บรรณรุจิ, พุทธศาสตร์สมัยใหม่: พระพุทธศาสนากับโหราศาสตร์, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: kengkkoo.blogspot.com/2013/03/blog-post_709.html [๒๔ ตุลาคม๒๕๕๙]. ๙๖ พระมหากิจการ โชติปญฺโญ (ยุติพันธ์), “การศึกษาพุทธวิธีการให้การปรึกษาที่ปรากฏในพระสุต ตันตปิฏก”, หน้าบทคัดย่อ.

๔๙ ความโศกก็ดี ความพิไรราพันก็ดี ความทุกข์ก็ดี อันมีอยู่ในโลกนี้ก็เพราะอาศัยสัตว์ หรือสังขารอันเป็น ที่รักความเศร้าโศก ความพิไรราพัน และความทุกข์เหล่านี้ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้นแล ผู้ใดไม่มีสั ตว์ หรือสังขารอันเป็นที่รักในโลก ผู้นั้นเป็นผู้มีความสุข ปราศจากความโศก เพราะเหตุนั้น ผู้ใดปรารถนา ความไม่เศร้าโศกอันปราศจากกิเลสดุจธุลีแล้ว ไม่พึงทาสัตว์ หรือสังขารให้เป็นที่รัก (๔) สรุปขั้นตอนการปรึกษา แก่นางวิสาขาที่มีความโศกเศร้าเพราะหลานผู้เป็น ที่รกั เสียชีวิต ๑) ทรงสนทนากับนางวิสาขาด้วยจิตเมตตา ๒) ทรงตรัสถามเพื่อให้ได้คิดไตร่ตรองถึงการตายที่เกิดขึ้นในทุก ๆ วัน ๓) ทรงอธิบายถึงความเป็นจริงของชีวิต ว่าผู้ใดปรารถนาความไม่เศร้าโศก อันปราศจากกิเลสดุจธุลีแล้ว ไม่พึงทาสัตว์ หรือสังขารให้เป็นที่รัก ๒) พระนางกีสาโคตรมี (๑) เรื่ อ งราว ในครั้ ง พุ ท ธกาล กี ส าโคตมี ถื อ ก าเนิ ด ในสกุ ล คนยากจนใน กรุงสาวัตถี บิ ดามารดตั้งชื่อว่า “ โคตรมี ”เพราะนางมีรูปร่าผอมบาง ต่อมานางได้เป็นสะใภ้ของ เศรษฐีคนหนึ่ง นางมีบุตรอยู่คนเดียวกาลังอยู่ในวัยที่เดินได้และน่ารัก ต่อ มาบุตรของนางเสียชีวิตลง นางจึงมีความเสียใจจนถึงสติวิปลาส เพราะความรักอาลัยในบุตร นางห้ามมิให้ใครบุตรของนางไปเผา หรือฝังในป่าช้า นางอุ้มเอาศพของบุตรเที่ยวเดินแสวงหายาไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ เพื่อไปหาหมอมา รักษาบุตรของนางให้ฟื้น สร้างความสมเพชเวทนาแก่ผู้ที่ได้พบเห็นเป็นอย่างมาก และเป็นที่ขบขัน สาหรับบางคน เมื่อเดินไปถึงบ้านใดก็จะได้รับคาตอบว่า “ไม่มี” เช่นเดียวกันหมด เวลาผ่านไปหลาย วันจนกระทั่งศพบุตรของนางเริ่มเน่า มีกลิ่นเหม็น แต่นางก็ยังคงอุ้มต่อไป คนทั้งหลายพากันคิดว่า “นางคงเป็นบ้า จึงเที่ยวหายารักษาคนตายให้ฟื้น” (๒) การพบพระพุทธองค์ วันหนึ่งนางได้พบกับอุบาสกผู้มีปัญญาคนหนึ่ง ที่เห็น กิริยาอาการของนาง และมิได้รังเกียจ จึงแนะนาให้นางไปทูลขอยากับพระพุทธองค์ นางรู้สึกดีใจที่ ทราบว่ามีคนสามารถรักษาลูกน้อยของนางให้หายได้ นางจึงรีบไปที่พระเชตวันเพื่อเข้าเฝ้าพระผู้มี พระพุทธเจ้าทันที เมื่อได้พบกับพระองค์แล้ว นางค่อย ๆ วางศพลูกแล้วกราบบังคมและทูลถามยา สาหรับรักษาลูกของนาง พระผู้มีพระภาคก็ตรัสว่า “ได้สิน้องหญิง” นางบังเกิดความดีใจอย่างล้นพ้นที่ นางได้ ยิ น ค าว่ า “ได้ สิ ”เป็ น ครั้ ง แรก นางจึ งทู ล ถามพระผู้ มี พ ระพุ ท ธองค์ ว่ ายานั้ น ประกอบด้ ว ย อะไรบ้าง พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า ประกอบด้วยเมล็ดผักกาด ทาให้นางดีใจยิ่งขึ้นเพราะโดยปกติ เมล็ดพันธุ์ผักกาดหาได้ง่าย พระผู้มีพระภาคตรัสอีกว่า ต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ผักกาดจากบ้านของผู้ที่ยัง ไม่เคยมีคนตายจึงจะใช้ประกอบยาได้ นางกีสาโคตมีเที่ยวออกขอเมล็ดพัน ธุ์ผักกาด ตามบ้านต่าง ๆ นางออกเดินจนเหนื่อยอ่อนก็หาไม่ได้ เพราะทุกบ้านล้วนแต่เคยมีคนตายมาก่อนแล้วทั้งสิ้น ในที่สุด นางเกิดฉุกคิดขึ้น ในใจว่า “ความตายนั้นเป็นอย่างไร และคนที่ตายไม่ใช่เฉพาะลู กของนางเท่านั้น ทุกคนเกิดมาก็ต้องตายเหมือนกัน หมด”๙๗ เหตุการณ์ เฉพาะหน้าอย่างนี้ท าให้ นางได้ส ติ และเกิด ปัญญาขึ้นมา นางจึงวางลูกน้อยไว้ในป่า แล้วจึงกลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงได้แสดงธรรมโปรดเป็น ๙๗

พระครูกัลป์ยาณสิทธิวัฒน์, เอตทัคคะในพุทธศาสนา, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ ราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗), หน้า ๓๑๕.

๕๐ ธรรมกถาว่า๙๘ “เธอจงทาความเศร้าโศกในการก่อนให้เหือดแห้ง เธออย่ามีความกังวลใจในภายหลัง ถ้าเธอจักไม่ยืดถือในท่ามกลาง ก็จักเป็นผู้สงบเที่ยวไปดังนี้” นางกีสาโคตมี ได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์จึงได้สติ มองเห็นกฎธรรมดาของชีวิตว่ามีการ เกิด การตายไม่มีใครหยุดยั้งได้ นางได้บรรลุโสดาบัน เกิดความเลื่อมใสในพุทธศาสนา จึงขอบวชเป็น ภิกษุณี และต่อมาท่านได้สาเร็จเป็นพระอรหันต์ นามว่า กีสาโคตรมีเถรี (๓) พิ จ ารณาการปรึ ก ษาของพระพุ ท ธองค์ หากพิ จ ารณาโดยละเอี ย ด จะพบว่าพระองค์ไม่ได้ทรงใช้อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ใด ๆ วิธีการที่พระพุทธองค์ทรงบอกให้ไปหาเมล็ด พันธุ์ผักกาดจากบ้านที่ไม่มีคนตาย หรือการชี้แจงถึงความจริงของชีวิตว่าทุกคนต้องตายนั้นเป็นกฎของ ธรรมชาติ มิใช่ยาที่ทาให้นางกีสาโคตมีหายโศกเศร้าได้ แต่เป็นความเข้าใจธรรมชาติของความทุกข์โดย มี อ ริ สั จ ๔ อยู่ เบื้ อ งหลั ง และมี ก ารสื่ อ สารสนทนาด้ ว ยวิธีก ารที่ โดยอาศั ย ความเป็ น กั ล ยาณมิ ต ร สปุริสธรรม ๗ และมีพรหมวิหารธรรมอยู่ในใจ ซึ่งพอที่จะลาดับได้ดังนี้ (๓.๑) เมื่อนางกีสาโคตรมีพบพระพุทธองค์ นางพบคุณ ลักษณะที่สงบเย็น คาว่า “ได้สิน้องหญิง” เปี่ยมด้วยความเมตตา กรุณา ต้อนรับด้วยความยินดี ทาให้จิตที่โศกเศร้าไร้ หนทางเป็นเวลานานเกิดความอบอุ่นในใจ เริ่มมีความเชื่อและความมั่นใจ ทาให้นางเกิดความพร้อมที่ จะรับฟังสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่นาง (๓.๒) พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงตรัสสั่งสอน หรือเตือนสติด้วยด้วยหัวข้อธรรม ใด ๆ เพราะสภาพจิตใจของนางในขณะนั้นมุ่งแต่จะหาวิธีช่วยชุบชีวิตลูกของนาง ๆ ยังไม่พร้อมที่จะ รับฟังเรื่องใดทั้งสิ้น คาปลอบโยน คาตักเตือนในขณะนั้นยังไม่เกิดประโยชน์ พระพุทธองค์ทรงให้ในสิ่ ง ที่ตรงกับความต้องการคือทรงบอกหนทางที่จะชุบชีวิตลูก คือให้ไปหาเมล็ดพันธ์ผักกาดจากบ้านที่ไม่มี คนตาย นางรับฟังด้วยความยินดีและมุ่งมั่นปฏิบัติด้วยความเต็มใจ ภาวะความทุกข์โศก พิไรราพันที่ ผ่านมาโดยตลอดเริ่มคลี่คลาย จิตใจของนางเริ่มมีพลังด้วยความหวัง ทาให้ นางมีความกระตือรือร้น ไม่ท้อถอยไม่ยอมแพ้ มีเป้าหมายในชีวิตมากขึ้น (๓.๓) การหาเมล็ดพันธ์ผักกาด เป็นการลงมือทางานอย่างหนึ่ง ช่วยให้นาง หยุดคิดในเรื่องลูกตาย จิตของนางจดจ่ออยู่กับงานที่ต้องทา เป็นการย้ายฐานใจที่นางโศกเศร้าเรื่องลูก จะต้องหายามาชุบชีวิตลูก ไปอยู่กับความเพียร ความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะหาเมล็ดพันธ์ผักกาดจากบ้านที่ ไม่มีคนตาย การเดินเข้าบ้านโน้น ออกมาบ้านนี้หลาย ๆ บ้าน เป็นเวลานานขึ้น และได้รับคาตอบแบบ เดียวกันในทุก ๆ บ้าน คือ “ที่บ้านนี้ คนที่ยังเหลืออยู่น้อยกว่าคนที่ตายไปแล้ว”๙๙ (๓.๔) นางรู้ สึ ก ผิ ด หวั ง แต่ ค วามผิ ด หวังครั้งนี้ ค่ อ ยเป็ น ค่ อ ยไป และนาง สามารถคาดเดาได้ ว่ า นางต้ อ งผิ ด หวั ง จากบ้ านต่ อ ไปอี ก ประกอบด้ ว ยความอ่ อ นเพลี ย หิ ว โหย และกลิ่นเหม็นจากซากศพของลูกน้อยในอ้อมกอด ทาให้ความอยากได้ยาชุบชีวิตลดลง นางเริ่มมีสติ รู้ตัวมากขึ้น จิตใจสงบมากขึ้นเพราะคาตอบของทุกบ้านทาให้นางเข้าใจว่า “ ความตายเป็นอย่างไร

๙๘ ๙๙

ขุ.อป. (ไทย) ๓๓/๗๘-๘๕/๔๖๖. พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา, หน้า ๓๑๕.

๕๑ และคนที่ตายมิใช่ว่าจะตายเฉพาะลู กของเธอเท่านั้น ทุกคนเกิดมาก็ต้องตายเหมือนกันหมด”๑๐๐ นางจึงวางลูกน้อยลง หยุดการค้นหายาชุบชีวิต และกลับไปเฝ้าพระพุทธองค์ (๓.๕) เหตุที่นางกลับไปเฝ้าพระพุทธองค์เพราะในการพบกั บพระพุทธองค์ ครั้ งแรกนางรั บ รู้ ถึงพระเมตตา พระกรุณ า อี ก ทั้ งนางต้ อ งการจะบอกเล่ าถึ งงานที่ พ ระพุ ท ธองค์ มอบหมายให้นางทาซึ่งการพบพระพุทธองค์ในครั้งนี้นางได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่า “ ไม่สามารถหา เมล็ดพันธ์ผักกาดจากบ้านเรือนที่มีมีใครตายได้ ” จากประโยคที่กราบทูลนางมีการเปลี่ยนแปลงในใจ คือ ความโศกเศร้าลดลงมีสติมากขึ้น นางมีความเข้าใจและตระหนักว่าความตายเกิดขึ้นได้กับทุกคน นางไม่มีทางจะหาบ้านที่ไม่มีคนตายได้ นางกลับมามี สัมปชัญญะมากขึ้น (๓.๖) การมีสติสัมปชัญญะของนาง จิตใจสงบเปิดกว้าง ทาให้มีความพร้อมที่ รับฟังความเป็นจริงของชีวิต พระพุทธองค์จึงได้ตรัสว่า “โคตรมี เธอเข้าใจว่าลูกเธอเท่านั้นหรือที่ตาย อันความตายนั้นเป็นของธรรมดาที่มีคู่กับสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลก เพราะมัจจุราชย่อมฉุดคร่าสัตว์ ทั้งหมด ผู้มีอัธยาศัยเต็มเปี่ยมไปด้วยกิเลสตัณหา ให้ลงในมหาสมุทรคืออบายภูมิ อันเป็น เสมือนว่า ห้ ว งน้ าใหญ่ ฉั น นั้ น ” ๑๐๑ นางได้ ฟั ง พระด ารั ส ก็ บ รรลุ โ สดาปฏิ ผ ลกราบทู ล บรรพชา ได้ น ามว่ า พระกีสาโคตมีเถรี (๔)สรุปขั้น ตอนการปรึ กษา พระกีส าโคตมีเถรี เป็นเรื่องราวที่พระพุทธองค์ ช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์ให้หลุดพ้นออกมาได้ได้อย่างมีกระบวนการเริ่มจาก ก) พระพุทธองค์ทรงให้การต้อนรับด้วยจิตที่เมตตาทรงมีพรหมวิหารธรรม จนก่อให้เกิดความศรัทธา เชื่อมั่น ข) ทรงมีความเข้าใจในภาวะจิตใจของผู้มีความทุกข์ได้อย่างถ่องแท้ ค) ทรงมีวิธีการให้คนเข้าถึงความจริงของชีวิตด้วยตนเอง โดยให้นางกีสาเดิน ไปหาเมล็ดพันธุ์ผักกาดจากทุกบ้าน จนนางเข้าใจความจริงที่แท้ว่าความตายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุก คน ง) ทรงเชื่อว่ายามนางมีสติสัมปชัญญะ ปัญญาของนางก็จะเกิดขึ้นได้ จ) เมื่อจิตใจสงบเปิดกว้าง ทาให้นางกีสาโคตมีความพร้อมที่รับฟังพระธรรม คาสอนซึ่งเป็นความจริงของชีวิต ฉ) นางกีสาโคตมีตัดสินใจบรรพชาด้วยตนเอง และดารงตนในพุทธศาสนา จากกรณีตัวอย่าง ๒ กรณีข้างต้นเป็นการที่พระพุทธองค์ได้ช่วยเหลือพุทธสาวกที่มีความ ทุกข์ ให้สามารถพ้นจากปัญหาได้ โดยมีอริยสัจ ๔ เป็นแผนที่ ซึ่งผู้วิจัยสรุปเป็นขั้นตอนการปรึกษาของ พระพุทธองค์ได้ดังนี้ ขั้นตอนที่ ๑ พระพุทธองค์ทรงให้การต้อนรับด้วยจิตที่เมตตา สนทนาด้วยวาจาที่เป็น ประโยชน์ ทรงมีพรหมวิหารธรรมจนก่อให้เกิดความศรัทธา ขั้นตอนที่ ๒ ทรงมีความเข้าใจในภาวะจิตใจของผู้มีความทุกข์ได้อย่างถ่องแท้ ด้วยการรับ ฟังอย่างสงบ สนทนาด้วยการถามให้เกิดการคิดแบบโยนิโสมนสิการ ให้เห็นทุกข์ของตน ๑๐๐ ๑๐๑

พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา, หน้า ๓๑๕. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๑๖.

๕๒ ขั้นตอนที่ ๓ ทรงมีวิธีการให้คนเข้าถึงความจริงของชีวิตด้วยตนเอง ให้เห็นความอยาก ความปรารถนาให้เป็นไปดังใจตน เช่นให้นางกีสาเดินไปหาเมล็ดพันธ์ผักกาดจากทุกบ้าน จนนางเข้า ใจความจริงที่แท้ว่าความตายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้ นได้กับทุกคน ความทุกข์ของนางเกิดจากความคิดที่ว่าลูก ของนางต้องไม่ตาย การตั้งคาถามให้ได้มีโอกาสคิดไตร่ตรองตามความเป็นจริง เช่นพระองคุลิมาล พระอานนท์ และนางวิสาขา ขั้นตอนที่ ๔ ทรงเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเมื่อมีสติสัมปชัญญะ ปัญญาจะเกิดขึ้นได้ ขั้นตอนที่ ๕ ทรงให้รับฟังพระธรรมคาสอนซึ่งเป็นความจริงของชีวิต เมื่อมีจิตใจที่สงบ และเปิดกว้าง ขั้นตอนที่ ๖ ทรงเปิดโอกาสให้ตัดสินใจเลือกการดาเนินชีวิตที่เป็นประโยชน์ด้วยตนเอง ๒.๒.๕ คุณสมบัติของผู้สอนตามหลักพุทธธรรม ตามที่ พ ระธรรมปิ ฎ ก (ป.อ. ปยุ ต โต) ๑๐๒ ได้ อ ธิ บ ายว่ า มี ส าระส าคั ญ ๒ ประการ คือบุคลิกภาพ และคุณธรรม มีดังนี้ ๑) ด้ า นบุ ค ลิ ก ภาพ เป็ น คุ ณ สมบั ติ ภ ายนอก ได้ แ ก่ ความสง่ า งาม วาจาสุ ภ าพ มารยาทน่าเลื่อมใส ความเป็นผู้มีสมบัติผู้ดี มีธรรม ๔ ประการคือ รูปัปมาณิก โฆสัปปมาณิก ธัมมัปป มาณิก และสุวชชาจรณะสัมปันนะ อธิบายได้ดังนี้ ก) ความสง่างามของรูป เรี ย กว่ า รู ปั ป มาณิ ก รู ป ร่ างหน้ าตา ผิ ว พรรณ คื อ ถึงพร้อมด้วยความงดงามด้วยรูปร่างหน้าตา กิริยามารยาท ผิวพรรณสะอาดผ่องใส มีระเบียบวินัยทาง ร่างกายที่ดีอารมณ์เบิกบานแจ่มใสใครได้พบเห็นก็จะ เป็นมงคลทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ข) ความงามของเสียงหรืองามเสียง เรียกว่า “โฆสัปปมาณิก” มีความงดงามใน การพูด ในคาพูด การบอกกล่าวด้วยน้าเสียงที่ดีประเสริฐดุจ “เสียงพรหม” ๘ ลักษณะ คือ วิธสัฏโฐ (ไพเราะ) วิญเญยโย (ชัดเจน) มัญชุ (นุ่มนวล) สวนีโย (ชวนฟัง) พินทุ (กลมกล่อม) อวีสารี (ไม่แตกพร่า) คัมภีโร (ลึกซึ้ง) นึนนาที (ก้องกังวาน) ผู้สอนต้องบริหารวาจา ให้มีความงามทั้ง ๘ อย่าง ต้องรู้จักแต่งเสียง ให้สวยงามเหมาะกับ ความเป็นครู ไม่ประกอบ “วจีทุจริต” นั่นเอง ค) ความสง่างามในความรู้และสติปัญญา เรียกว่า “ธัมมัปปมาณิก” บุคลิกภาพ ทางสติปัญญาเป็นเรื่อง ของเชาว์ปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาดบรรพบุรุษ โดยกระบวนการทาง พันธุกรรม ครูจึงต้องพัฒนาตัวเองให้มีความสามารถ เฉลียวฉลาดเป็นนักปราชญ์ เปี่ยมด้วยสติปัญญา มีบุ คลิ กภาพทางสติปั ญ ญาที่ดี ประกอบด้วย “สัปปุริสธรรม ๗”๑๐๓ คือธรรมของคนดี ธรรมของ สัตบุรุษ ธรรมที่ทาให้เป็น สัตบุรุษ คุณสมบัติของคนดี คือ ธัมมัญญุตา (รู้เหตุ), อัตถัญ ญุตา (รู้ผล),

๑๐๒

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโฺ ต), พุทธวิธีในการสอน, หน้า ๑๐-๑๓. พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโฺ ต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖), หน้า ๒๘๗. ๑๐๓

๕๓ อั ต ตั ญ ญุ ต า (รู้ ต น), มั ต ตั ญ ญุ ต า (รู้ ป ระมาณ), กาลั ญ ญุ ต า (รู้ กาล), ปุ ค คลั ญ ญุ ต า (รู้ ค น) และ ปริสัญญุตา (รู้ชุมชน) ง) ความประพฤติดี หรือ ตามหลักธรรมของการเป็นครูดี ของวัฒนธรรมไทยที่ ถือว่าครูที่ดีจะต้องมี หลักธรรม ๓ สุ สุวิชาโน คือ เป็นผู้มีความรู้ดี สุสาสโน คือ เป็นผู้สอนดี รู้จักชี้แจง ชักจูง ปลุกใจ ให้เกิดความเพลิดเพลินในการเรียนและ สุปฏิปันโน คือ เป็นผู้มีความประพฤติปฏิบัติ ตนดี เป็ น แบบอย่ างที่ ดี แ ก่ ศิ ษ ย์ แ ละบุ ค คลอื่ น อั น ได้ แ ก่ การเป็ น ผู้ มี ค วามประพฤติ ป ฏิ บั ติ ดี เป็ น แบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์และบุคคลทั่วไป เพราะการ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ก็เป็นการสอน อี ก วิ ธี ห นึ่ ง ซึ่ ง จะเกิ ด สั ม ฤทธิ ผ ลแก่ ผู้ เรี ย นและดี ก ว่ า การ สอนด้ ว ยการแนะน า ซึ่ ง ตรงกั บ หลั ก กัลยาณมิตรธรรม ๗ ประการ ดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นการปฏิบัติให้เป็น แบบอย่างที่ดีสามารถที่จะนาไป ปฏิบัติเป็นแบบอย่างได้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ๒) ด้ า นคุ ณ ธรรม คุ ณ สมบั ติ ภ ายในมี ๓ ประการ ๑๐๔ คื อ ปั ญ ญาคุ ณ วิ สุ ท ธิ คุ ณ และกรุณาคุณ (๑) ปั ญ ญาคุ ณ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การสอนมี ๒ ประการ คื อ ทศพลญาณ ๑๐ และปฏิสัมภิทา ๔ ได้แก่ ก ทศพลญาณ - ฐานาฐานญาณ รู้ ก ฎธรรมชาติ ที่ เกี่ ย วกั บ ขอบเขตว่ า อะไรเป็ น ไปได้ อะไรเป็นไปไม่ได้ แค่ไหน เพียงไร ครูต้องเข้าใจทั้งเนื้อหาและข้อจากัดของกฎเกณฑ์และหลักการที่จะ นามาใช้ในการสอนอย่างชัดเจน และต้องรู้ข้อจากัดของนักเรียนด้านความสามารถในการพัฒนาซึ่ ง แตกต่างกันไป - กรรมวิปากญาณ สามารถแยกแยะผลที่เกิดจากการกระทาที่สลับซับซ้อน รายละเอียดของความสัมพันธ์ภายในกระบวนการ ครูต้องรู้จักวิเคราะห์พฤติกรรมของนักเรียนได้ - สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ รู้ข้อปฏิบัติที่จะนาไปสู่จุดมุ่งหมาย ว่าต้องทา อะไรบ้าง รายละเอียดของการปฏิบัติเป็นอย่างไร ครูต้องหากลยุทธ์ในการดาเนินการสอนเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ที่ต้องการ - นานาธาตุญ าณ ต้องรู้ว่าองค์ป ระกอบที่ก่อให้ เกิดเป็ นมนุษย์นั้นมีความ แตกต่างกันเป็นธรรมดา และอะไรคือ สาเหตุที่ทาให้เกิดความแตกต่าง ในความหมายคือ ต้องรู้และ เข้าใจหลักทางสรีรวิทยาและจิตวิทยาในการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคน ซึ่งแตกต่างกันไป ทัศนคติที่ ถูกต้องและการยอมรับความแตกต่าง จะช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการสอนให้ได้ผลดียิ่งขึ้น - นานาธิ มุ ต ติ ก ญาณ รู้ ว่ า นั ก เรี ย นแต่ ล ะคนมี ค วามชอบ ความสนใจ และความถนัดที่ไม่เหมือนกัน เป็นธรรมชาติ - อิน ทริยปโรปริยัตตญาณ รู้จุดแข็งและจุดอ่อนแห่ งอินทรีย์ของสั ตว์โลก รู้ว่าสั ตว์นั้ น มีแนวความคิด ความรู้ ความเข้าใจ แค่ไหน เพี ยงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย สอนง่าย หรือสอนยาก และมีความพร้อมที่จะเรียนรู้หรือไม่ โดยความหมายคือต้อ งรู้ว่านักเรียนแต่ละคนมี ๑๐๔

คณาจารย์ ม หาวิ ท ยาลั ย มหาจุ ฬ าลงกรณราชวิ ท ยาลั ย , พุ ท ธวิ ธี ใ นการสอน Buddha’s Teaching Methods, หน้า ๔๔–๔๕.

๕๔ ความแตกต่างกันในด้านระดับสติปัญญา ความสามารถ พัฒนาการด้านต่าง ๆ และความพร้อมที่จะ เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ - ฌานาทิสั งกิเลสาทิญ าณ สามารถวิเคราะห์ ได้ว่า อะไรคืออุปสรรคที่จะ ขั ด ขวางการเรี ย นรู้ แ ละปั จ จั ย อะไรที่ จ ะช่ ว ยส่ ง เสริ ม การเรี ย นรู้ ข องนั ก เรี ย นให้ ก้ า วหน้ า ยิ่ ง ๆ ขึ้นและรู้จักใช้เทคนิกต่าง ๆ เข้าแก้ไขหรือช่วยส่งเสริมการฝึกอบรมให้ดาเนินก้าวหน้าไปด้วยดี - ปุพเพนิวาสานุสสติ หรือการระลึกชาติ ในที่นี้ คือ ครูต้องรู้ประวัติพื้นเพ เดิมและประสบการณ์ในอดีตของผู้เรียน - จุตูปปาตญาณ รู้ว่าการเกิดของสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม ข้อนี้ หมายความถึง ครูต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน ในขณะที่ใช้ชีวิตจริงภายในกลุ่มเพื่อนและ สังคม ต้องรู้เท่าทันและเข้าใจพฤติกรรมต่าง ๆ ที่นักเรียนแสดงออกในขณะนั้น ๆ ว่าเป็นเด็กที่มีปัญหา หรือไม่ อย่างไร ครูต้องหาเหตุแห่งปัญหานั้นและพร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือแก้ไขให้ทันท่วงที - อาสวักขยญาณ หยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หมายถึง ต้องรู้ให้ ชัดและเข้าใจแจ่มแจ้งและแน่ใจว่า ผลสัมฤทธิ์ที่เป็นจุดหมายนั้นคืออะไร เป็นอย่างไร และเป็นสิ่งที่ สามารถทาให้เกิดขึ้นได้จริง ข ปฏิ สั ม ภิ ท า ๑๐๕ คื อ ปั ญ ญาแตกฉานในด้ านต่ า ง ๆ ซึ่ งมี ทั่ ว ไปแก่ พ ระ มหาสาวกทั้งหลายด้วย ดังนี้ - อรรถปฏิสัมภิทา ความเข้าใจแจ่มแจ้งในความหมายของถ้อยคาหรือข้อ ธรรม ต่ าง ๆ สามารถขยายความแยกแยะออกไปโดยพิ ส ดาร แม้ ได้ เห็ น เหตุ ใด ๆ ก็ ส ามารถคิ ด เชื่อมโยง แยกแยะ กระจายความคิดออกไปล่วงรู้ถึงผลต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ แปลสั้น ๆ ว่าปัญญา แตกฉานในอรรถ - ธรรมปฏิสัมภิทา ความเข้าใจแจ่มแจ้งในหลักหรือข้อธรรมต่าง ๆ สามารถ จับ ใจความของคาอธิบายที่กว้างขวางพิสดาร มาตั้งเป็นกระทู้หรือหั วข้อได้ เมื่อมองเห็นผลต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นก็สามารถสืบสาวกลับไปหาเหตุได้ แปลสั้น ๆ ว่าปัญญาแตกฉานในธรรม - นิ รุ ตติ ป ฏิ สั ม ภิ ท า ความรู้แ ตกฉานในภาษา รู้ภ าษาต่ าง ๆ และรู้จั กใช้ ถ้อยคาชี้แจงแสดง อรรถและธรรม ให้คนอื่นเข้าใจและเห็นตามได้ แปลสั้น ๆ ว่าปัญญาแตกฉานใน นิรุกติ - ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความมีไหวพริบ สามารถเข้าใจ คิดเหตุผลได้เหมาะสม ทันการ และ มีความรู้ความเข้าใจชัดในความรู้ต่าง ๆ ว่ามีแหล่งที่มา มีประโยชน์อย่างไร สามารถ เชื่อมโยงความรู้ ทั้งหลายเข้า ด้วยกัน สร้างความคิดและเหตุผ ลขึ้น ใหม่ ได้ แปลสั้ น ๆ ว่า ปั ญ ญา แตกฉานในปฏิภาณ (๒) พระวิ สุ ท ธิ คุ ณ ความบริ สุ ท ธิ์ เป็ น พระคุ ณ ส าคั ญ ยิ่ ง เช่ น กั น ที่ จ ะท าให้ ประชาชนเชื่อถือและเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ความบริสุทธิ์นี้อาจมองได้จากลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ - พระองค์เองเป็นผู้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากอาสวกิเลสทั้งปวง ไมกระทาความชั่วทั้ง ทางกาย ทางวาจา และทางใจ ไมมีเหตุที่ใครจะยกขึ้นตาหนิได้ ๑๐๕ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโฺ ต), พุทธวิธีในการสอน, หน้า ๒๕–๒๖.

๕๕ - ทรงทาไดอย่างที่สอน คือ สอนเขาอย่างไร พระองค์เอ ก็ทรงประพฤติปฏิบัติ อย่ า งนั้ น ด้ ว ย อย่ า งพุ ท ธพจน์ ที่ ว่ า ตถาคตพู ด อย่ า งใดท าอย่ า งนั้ น จึ งเป็ น ตั ว อย่ า งที่ ดี และให้ ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในคุณค่าของคาสอนได - ทรงมีความบริสุทธิ์พระทัยในการสอน ทรงสอนผู้อื่น ด้วยมุ่งหวังประโยชนแก เขาอย่างเดียว ไมมีพระทัยเคลือบแฝงด้วยความหวังผลประโยชนส่วนตน หรืออามิสตอบแทนใด ๆ (๓) พระวิ สุท ธิ คุ ณ อาศัย พระมหากรุณ าธิคุณ พระพุ ท ธเจ้าจึงได้เสด็ จออก ประกาศพระศาสนาโปรดสรรพสัตว์ ทาให้พระคุณ ๒ อย่างแรก คือพระปัญญาคุณและพระวิสุทธิคุณ เป็นที่ปรากฏและเป็นประโยชน์แก่ชาวโลกอย่างแท้จริง เสด็จไปช่วยเหลือแนะนาสั่งสอนมนุษย์ทั้งที่ เป็ น กลุ่ ม และที่ เป็ น รายบุ ค คล โดยไม่ เห็ น แก่ค วามเหนื่ อยยากล าบากของพระองค์ เอง พระมหา กรุณาธิคุณเหล่านี้พึงเห็นตามคาสรรเสริญและคุณธรรมอื่น ๆ ที่แสดงออก ความกรุ ณ าที่ แ สดงออกในการอบรมสั่ ง สอน ย่ อ มเป็ น ส่ ว นประกอบส าคั ญ ให้ เกิ ด คุณลักษณะของผู้สอนอย่างที่เรียกว่า องค์คุณของกัลยาณมิตร ดังต่อไปนี้ กัลยาณมิต รธรรม ๗ ๑๐๖ (องค์คุณ ของกัลยาณมิตร, คุณ สมบัติของมิตรดีห รือมิตรแท้ คือท่านที่คบหรือเข้าหาแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดความดี งามและความเจริญ ในที่นี้มุ่งเอามิตรประเภทครู หรือพี่เลี้ยงเป็นสาคัญ ๑) ปโย (น่ารัก ในฐานเป็นที่สบายใจและสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษาไต่ถาม) ๒) ครุ (น่าเคารพ ในฐานประพฤติสมควรแก่ฐานะ ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งได้ และปลอดภัย) ๓) ภาวนีโย (น่าเจริญใจ หรือน่ายกย่อง ในฐานทรงคุณคือความรู และภูมิปัญญาแท้จริง ทั้งเป็นผู้ฝึกอบรมและปรับปรุงตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง ทาให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ) ๔) วตฺตา จ (รูจักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไรอย่างไร คอยให้ คาแนะนาว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี) ๕) วจนกฺ ข โม (อดทนต่ อ ถ้ อ ยค า คื อ พรอมที่ จ ะรั บ ฟั ง ค าปรึ ก ษา ซั ก ถาม ค าเสนอ และวิพากษ์วิจารณ์ อดทนฟังได้ไมเบื่อไม่ฉุนเฉียว) ๖) คมฺภีร ฺจ กถ กตฺตา (แถลงเรื่องล้าลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจ และให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิงขึ้นไป) ๗) โน จฏ าเน นิโยชเย (ไม่ชักนาในอฐาน คือ ไม่แนะนาในเรื่องเหลวไหล หรื อชักจูงไป ในทางเสื่อมเสีย โดยสรุปคุณสมบัติของผู้สอนตามหลักพุทธธรรม ได้แก่ ๑.ด้านบุคลิกภาพ เป็นคุณสมบัติ ภายนอกความสง่า เช่นงาม วาจาสุภาพ มารยาทน่าเลื่อมใส ความเป็นผู้มีสมบัติผู้ดี ๒.ด้านคุณธรรม คือปัญญาคุณ วิสุทธิคุณ และกรุณาคุณ ๒.๒.๖ บทบาทหน้าที่ของผู้สอนตามแนวพุทธ ในการให้ คาปรึกษามักมีการสอนร่วมด้วย การสอนช่วยให้บุคคลเกิดทัศนคติที่ถูกต้อง รู้ จั ก มองสิ่ งทั้ งหลายตามที่ มั น เป็ น และสามารถจั ด การกั บ สิ่ งเหล่ า นั้ น ตามที่ ค วรจะเป็ น ให้ เกิ ด ๑๐๖

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโฺ ต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, หน้า ๕๗.

๕๖ ประโยชน์ทั้งแก่ตนและสังคม ไม่ให้มองเห็นและจัดการสิ่งทั้งหลายตาม อานาจกิเลสตัณหา ดังนั้น บทบาทหน้าที่ของผู้สอนตามแนวพุทะ จึงเลือกได้ตามหมวดธรรมต่าง ๆ ตัวอย่าง ดังนี้ ๑).บทบาททั่วไปหรือในแง่หลักการสอน พระโอวาทปาติ โมกข์ ๑๐๗ คื อ หลั ก คาสอนเป็ น หั ว ใจ ส าคัญ ของพระพุ ท ธศาสนา ทีทรงแสดงในวัน ขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๓ (วันมาฆบูชา) แก่ภิกษุสาวก ๑,๒๕๐ รูปที่มา โดยที่มิได้นัด หมาย ณ เวฬุวนาราม หลังจากที่พระพุทธองค์ตรัสรู้มาได้ ๙ เดือน (๑) อนูปวาโท คือ การไม่กล่าวร้าย โจมตี ดูถูกความเชื่อผู้อื่น พูด แค่สิ่งที่เป็น ประโยชน์แก่ผู้ฟัง แม้เขาจะมีทีท่าว่าจะไม่เลื่อมใสศรัทธาในคาสอนของตนก็ตาม แต่ผู้สอนจะต้องไม่ กล่าวร้ายไม่รุกราน ไม่ให้ร้าย รวมทั้งการไม่กล่าวร้ายหลักการหรือคาสอนและบุคคลอื่นด้วย การสอน หรื อ การเผยแผ่ พ ระพุ ท ธศาสนา ในสมั ย พุ ท ธกาลได้ รั บ การใสร้ า ยจากลทธิ ต่ า ง ๆ มากมาย แต่พระพุทธเจ้าทรงหามพระสาวกว่าไม่ให้ไปใส่ร้ายศาสนาอื่น ให้แสดงธรรมไปตามความเป็นจริง ซึ่งพระสงฆ์ผู้เป็นศาสนทายาทได้ถือปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน (๒) อนู ป ฆาโต ไม่ เบี ยดเบี ยน ด้ว ยการใช้กาลั งข่ม ขู่ด้ว ยวิธีก ารต่าง ๆ และชี้ แนวทางที่ดีงาม สาหรับการดาเนินชีวิต ตามหลักธรรมการสอนในพระพุทธศาสนา (๓) ปาติโมกฺเข จ สว โร ความสารวมในปาฏิโมกข์ คือมีระเบียบวินัย ประพฤติ ปฏิบัติตามพระ ธรรมวินัย ความมีระเบียบเป็นหัวใจสาคัญของผู้สอน อันได้แก่ การรักษาวินัย รักษา กิริยามารยาท ความประพฤติของตนเอง ไม่ละเมิดกฎระเบียบและกติกาของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วินัยภายในอันจะส่งผลต่อวินัยภายนอก รวมความว่า ผู้สอนต้องมีจรรยาบรรณในวิชาชีพและการสอน เพราะหากมีวินัยในตนเองหรือมีจิตสานึกในภาวะและหน้าที่แล้ว ย่อมอยู่เหนือกฎระเบียบใด ๆ วินัย ภายนอกจึ งเป็ น เพีย งรูป แบบที่ กาหนดเพื่ อควบคุมพฤติกรรม ภายนอก หรือควบคุมบุ คคลที่ไม่ มี ระเบี ยบวินั ยภายใน ดังนั้น ผู้สอนจึงต้องสารวมระวังพฤติกรรมตนเองด้วย การควบคุมพฤติกรรม ภายใน (๔) มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมี ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร คือไม่อาศัยความ เป็ นครู แสวงหาประโยชน์ ในทางมิชอบ การรู้จักประมาณ หมายถึงการสารวมระวัง และการรู้จัก ความพอดี(กินง่าย กินเป็น) หรือ การรู้จักประมาณในการบริโภค คือ การมีความพอดีและการมีความ สารวม ระวังในการบริโภคอาหาร ความพอประมาณในการบริโภคอาหารทาให้มี “ทุกข์น้อย แก่ช้า อายุยืน” ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า มนุษย์ที่มีสติทุกเมื่อ รู้จักประมารในโภชนะที่ได้แล้ว เวทนาของผู้นั้นมี น้อยจะค่อย ๆ หล่อเลี้ยงชีวิตไป แต่ผู้สอนจะต้องมีความระมัดระวังในการบริโภคอาหาร มีสุภาษิต ไทยว่า “หนังท้องตึงหนังตาก็หย่อน” สะท้อนให้เห็นว่า การกินมากจนเกินพอดี ส่งผลต่อสุขภาพกาย อย่างน้อยที่สุดก็ทาให้เกิดอาการง่วงนอน และ อาจจะส่งผลกระทบต่อการทางาน (๕) ปนฺตญฺจ สยนาสน ที่นั่งสอนอันสงัด คือไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ดารงตนอยู่ ในฐานะที่ เหมาะสมการไม่ฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อในด้านที่อยู่อาศัย งดเว้นการคลุกคลีที่ก่อเกิดความบันเทิง เริงใจ วิชาชีพครูหรือ ผู้สอนเป็นวิชาชีพที่ ต้องรู้จักประมาณตน สังคมให้ความเคารพยกย่องนับถือใน ฐานะผู้สอน ๑๐๗

ที.ม. (บาลี) ๑๐/๙๐/๔๓–๔๔.

๕๗ (๖) อธิจิตฺเต จ อาโยโค ความเพียรในอธิจิต คือ เอาใจใส่ต่อการศึกษา การเรียน การสอน และฝึกสมาธิที่ถูกต้อง (สัมมาสมาธิ) มีความเพียรพยายามชอบ สติชอบ และสมาธิชอบ ผู้สอนจะต้องมีความ เอื้อเฟื้อต่อการปฏิ บัติทางจิต เพื่อฝึกหัดพัฒ นาจิตของตนให้ เป็นสมาธิที่ชอบ เพื่อเป็ น แบบอย่างของการการปะ พฤติตามหลักคาสอนในพระพุทธศาสนาที่ประกอบด้วยปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ๒) บทบาทในฐานะกัลยาณมิตร มิตรดีหรือมิตรแท้ คือ ท่านที่คบหรือเข้าหาแล้ วจะเป็นเหตุให้เกิดความดีงามและ ความเจริญในที่นี้ มุ่ง เอามิตรประเภทครูหรือพี่เลี้ยงเป็นสาคัญ เป็นบุคคลที่มีกัลยาณมิตรธรรม ๗ ประการ๑๐๘ คือ (๑) ปิโย น่ารัก ในฐานะเป็นที่สบายใจและสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษา ไต่ถาม (๒) ครุ น่าเคารพ ในฐานะประพฤติสมควรแก่ฐานะ ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งใจและปลอดภัย (๓) ภาวนี โย น่าเจริญ ใจ หรือน่ายกย่อง ในฐานะทรงคุณ คือ ความรู้และภูมิ ปัญญาแท้จริง ทั้งเป็นผู้ฝึกอบรมและปรับปรุงตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง ทาให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วย ซาบซึ้งภูมิใจ (๔) วตฺตา จ รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไหร่ควรพูดอะไรอย่างไร คอยให้ คาแนะนาว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี (๕) วจนกฺ ข โม อดทนต่ อ ถ้ อ ยค า คื อ พร้ อ มที่ จ ะรั บ ฟั ง ค าปรึ ก ษาซั ก ถาม คาเสนอแนะ วิพากษ์วิจารณ์ อดทน ฟังได้ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว (๖) คมฺภีรญฺจ กถ กตฺตา แถลงเรื่องล้าลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อน ให้เข้าใจ และให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป (๗) โน จฏฺ ฐ าเน นิ โยชเย ไม่ ชั ก น าในอฐาน คื อ ไม่ แ นะน าในเรื่อ งเหลวไหล หรือชักจูงไปในทาง เสื่อมเสีย ๓) บทบาทในฐานะอาจารย์๑๐๙ อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา อันศิษย์บารุงด้วยสถาน ๕ ประกอบด้วย การแนะนาดี ให้ เรียน บอก ศิลปวิทยา ยกย่องและป้องกันศิษย์จากสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ทั้งปวงและย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ ด้วยสถาน ๕ คือ (๑) สุวินีตฺ วิเนนฺติ แนะนาดี (๒) สุคหิต คาหาเปนฺติ ให้เรียนดี (๓) สพฺพสิปฺเปสุ ต สมกฺขายิโน ภวนฺติ บอกศิษย์ด้วยดีในศิลปวิทยาทั้งหมด (๔) มิตฺตามจฺเจสุ ปฏิเวเทนฺติ ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง ๑๐๘

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโฺ ต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, หน้า ๒๐๔. คณาจารย์ ม หาวิ ท ยาลั ย มหาจุ ฬ าลงกรณราชวิ ท ยาลั ย , พุ ท ธวิ ธี ใ นการสอน Buddha’s Teaching Methods, หน้า ๔๙–๕๐. ๑๐๙

๕๘ (๕) ทิสาสุ ปริตฺตาณ กโรนฺติ ทาความป้องกันในทิศทั้งหลาย ๔) บทบาทในฐานะธรรมกถึก๑๑๐ (๑) อนุปุพฺพิกถ กเถสฺสามิ เราจักกล่าวชี้แจงไปตามลาดับ (๒) ปริยายทสฺสาวี กถ กเถสฺสามิ เราจักกล่าวชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ (๓) อนุทยต ปฏิจฺจ กถ กเถสฺสามิ เราจักแสดงด้วยอาศัยเมตตา (๔) อามิสนฺตโร กถ กเถสฺสามิ เราจักไม่แสดงด้วยเห็นแก่อามิส (๕) อตฺตนญฺจ ปรญฺจ อนุปหจฺจ กเถสฺสามิ เราจักแสดงไปโดยไม่กระทบตนและ ผู้อื่น ๕) บทบาทในฐานะทูต ในฐานะทูติจะต้องประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ๑๑๑ คือ (๑) โสตา เป็นผู้รับฟัง (๒) สาเวตา ให้ผู้อื่นรับฟัง (๓) อุคฺคเหตา เรียนดี (๔) ขาเรตา ทรงจาไว้ดี (๕) วิญญาดา รู้เอง (๖) วิญญาเปตา ให้ผู้อื่นรู้ (๗) กุ ส โล จ สหิ ต าสหิ ต สฺ ส โน จ เป็ น ผู้ ฉ ลาดต่ อ สิ่ ง ที่ มี ป ระโยชน์ แ ละไม่ มี ประโยชน์ (๘) กลหการโก ไม่ก่อการทะเลาะ สรุปได้ว่า บทบาทหน้าที่ของผู้สอนตามแนวพุทธ ช่วยให้บุคคลเกิดทัศนคติที่ถูกต้อง รู้จัก มองสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นได้แก่ ๑.บทบาททั่วไปหรือในแง่หลักการสอน คือ พระโอวาทปาติโมกข์ หลักคาสอนเป็นหัวใจ สาคัญของพระพุทธศาสนา ๒.บทบาทในฐานะกัลยาณมิตรมิตรดีหรือมิตรแท้ คือ ท่านที่คบหรือเข้าหาแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดความดีงามและความเจริญ ๓.บทบาทในฐานะอาจารย์ ๔.บทบาทในฐานะธรรมถึกและบทบาทในฐานะทูต ๖) คุณลักษณะของผู้สอนที่พึงประสงค์อื่น ๆ ๑๑๒ จากที่กล่าวมาเป็ นที่น่าสังเกตว่า คาว่า ผู้สอนมิได้จากัดอยู่เพียงแค่คาว่า ครู ผู้ทา หน้าที่สอนใน สถานศึกษาเท่านั้น แต่กินความไปถึงบุคคลต่าง ๆ ที่ทาหน้าที่บอกชี้แจงแสดงข้อมูล ข้อเท็จจริงประเภทต่าง ๆ ในกาละ เทศะ และท่วงทานองที่ต่างกัน ลักษณะครูที่ดี ๓ ด้าน คือ

๑๑๐

องฺ. ปญฺจก. (ไทย) ๒๒/๑๕๙/๒๖๓. องฺ. อฎฺฐก. (ไทย) ๒๓/๑๖/๒๔๒. ๑๑๒ คณาจารย์ ม หาวิ ท ยาลั ย มหาจุ ฬ าลงกรณราชวิ ท ยาลั ย , พุ ท ธวิ ธี ใ นการสอน Buddha’s Teaching Methods, หน้า ๕๐–๕๒. ๑๑๑

๕๙ (๑) ด้านคุณลักษณะ - มีความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และพร้อมที่จะพัฒ นาวิชาชีพของตนอยู่ เสมอ ประพฤติ ต นเป็ น แบบอย่ า งแก่ นั ก เรี ย น ทั้ ง ด้ า นศี ล ธรรม วั ฒ นธรรม กิ จ นิ สั ย สุ ข นิ สั ย และอุปนิสัย ตลอดจะมีความเป็น ประชาธิปไตย ใฝ่รู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ - มีความเมตตาแก่ศิษย์ และเห็นคุณค่าของศิษย์ มีสุขภาพสมบูรณ์ มีความคิด ริเริ่ม สร้างสรรค์ทางวิชาการ และสามารถใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ เพื่อแก่ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ - มี บ ทบาทในการพั ฒ นาชุ ม ชน และสามารถเป็ น ผู้ น าชุ ม ชนได้ สามารถใช้ เทคโนโลยีที่ทันสมัย ภาษา และการวิจัย เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตนเอง - สามารถพัฒ นาตนเองให้ เป็นครูแบบใหม่ในระบบสากลได้ คือ เป็นครูที่เน้น ความหลากหลายเพื่อตอบสนองต่อผู้เรียนเป็นหลัก แนะนาผู้เรียน สามารถพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่าง เต็ ม ศั ก ยภาพและสร้ างสรรค์ และให้ ข้ อ มู ล สะท้ อ นกลั บ ผู้ เรียนได้ อย่ างต่ อ เนื่ อ ง รู้วิท ยาการด้ าน คอมพิ ว เตอร์ แ ละเทคโนโลยี ส ารสนเทศมากขึ้ น เพราะการศึ ก ษายุ ค ใหม่ เป็ น การศึ ก ษาผ่ านสื่ อ อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น และเป็นครูที่ต้องไปหานักเรียนมากขึ้น เข้าเยี่ยมชุมชนได้มากขึ้น (๒) ด้านความรู้ - มีความรู้ในวิชาที่สอนอย่างแท้จริง สามารถเชื่อมโยงทฤษฎีในศาสตร์ความรู้มา สู่การปฏิบัติได้ ทั้งการปฏิบัติในระดับสากลและระดับท้องถิ่น - มีความรู้ด้านการวิจัย วิทยาการคอมพิวเตอร์ และภาษาเพื่อเป็นเครื่องมือใน การแสวงหาความรู้ - มีความรู้ด้านเทคนิคการสอน จิตวิทยา การวัดผลประเมินผล และสามารถ ประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน - รู้ข้อมูลข่าวสารรอบตัว และเรื่องราวในท้องถิ่น เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และฝึก ให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์วิจารณ์ได้ (๓) ด้านการถ่ายทอด - สามารถประยุ กต์ใช้ เทคนิคการสอนต่าง ๆ เพื่ อจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่ น่าสนใจและผู้เรียนเกิ ดความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่เรียน ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงความรู้นั้นสู่การ นาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้ หรือใช้ในการเรียนรู้ต่อไป -สามารถอบรมบ่มนิสั ยให้ผู้ เรียนมีศีลธรรม วัฒ นธรรม กิจนิสั ย สุขนิสัย และ อุปนิสัย รวมทั้งรักในความเป็นระบบประชาธิปไตย เพื่อเป็ นบรรทัดฐานในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นใน สังคมอย่างปกติสุข - สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนใฝ่รู้ และกาวทันเทคโนโลยี ตลอดจนสามารถใช้ภาษา สื่อสารกันได้ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ และสามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการแสวงหา ความรู้และการเรียนรู้ด้วยตนเอง - สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมองกว้าง คิดไกลและมีวิจารณญาณที่จะวิเคราะห์และ เลือกใช้ ข่าวสารข้อมูลให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองได้ - พัฒนาให้ผู้เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ของชุมชน สามารถนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนา ชุมชน และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในชุมชนได้

๖๐ ลักษณะของครูดีพอที่จะสรุปเป็นลักษณะสาคัญ ๆ ๓ ด้าน คือ ภูมิรู้ ภูมิธรรม และภูมิ ฐาน ดังนี้ ๑. ภูมิรู้ ได้แก่ ความรู้ความสามารถด้านวิชาการ มีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาด เชื่อมั่นใน ตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์รู้จักแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เป็นต้น ภูมิรู้ ที่สาคัญอีกประการหนึ่งของครู ได้แก่ การสอนดีและการปกครองดี สามารถอธิบายได้รวบรัดชัดเจนทาเรื่องยากให้ง่ายได้ ควบคุมชั้น เรียนให้อยู่ในระเบียบวินัย ๒. ภูมิธรรม ได้แก่ มีความประพฤติดี กระทาแต่สิ่งที่สุจริต มีจรรยาบรรณ มีความซื่อสัตย์ สุจริต เมตตา ยุติธรรมและมานะอดทน ๓. ภูมิฐาน ได้แก่ บุคลิกภาพดี แต่งกายสะอาดเรียบร้อย พูดจาไพเราะ น้าเสียงชัดเจน มี ลักษณะของการเป็นผู้นา นอกจากนี้ ครูยังต้องเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีอัธยาศัยไมตรีกับบุคคล ทุกเพศทุกวัย และทุกชนชั้น สรุปได้ว่า คุณลักษณะของผู้สอนที่พึงประสงค์ มิได้จากัดอยู่เพียงแค่คาว่า ครู ผู้ทาหน้าที่ สอนใน สถานศึ ก ษาเท่ า นั้ น แต่ กิ น ความไปถึ ง บุ ค คลต่ า ง ๆ ที่ ท าหน้ า ที่ บ อกชี้ แ จงแสดงข้ อ มู ล ข้อเท็จจริงประเภทต่าง ๆ ในกาละ เทศะ และท่วงทานองที่ต่างกัน ลักษณะครูที่ดี ๓ ด้าน คือ ๑) ด้านคุณลักษณะ เช่นความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู เมตตาแก่ศิษย์ ๒) ด้านความรู้ มีความรู้ด้านการสอน การวิจัยและมีเทคนิคต่าง ๆ ๓) ด้านการถ่ายทอด สามารถประยุกต์การสอนให้น่าสนใจ สามารถอบรมบ่มนิสัยให้ ผู้เรียนให้มีศีลธรรม ลักษณะของครูดีพอที่จะสรุปเป็นลักษณะสาคัญ ๆ สามด้าน คือ ภูมิรู้ ภูมิธรรม และภูมิฐาน ๒.๒.๗ การประยุกต์วัตถุประสงค์การสอนตามแนวพุทธ๑๑๓ ๒.๒.๗.๑ จุดประสงค์การสอนทั่วไป ธรรมชาติของมนุษย์ที่ทาให้ต้องมีการศึกษากล่าวคือ มนุษย์มีอายตนะเป็นทางรับรู้ ประสบการณ์ห รือเป็น ทางรับรู้ข้อมูล และรับรู้ความรู้สึก ผู้ที่มีปัญญาและฉันทะ หรือมีการศึกษา พัฒนาอย่างถูกต้อง ใช้อายตนะ(อินทรี ย์)เรียนรู้เป็นเครื่องมือหาความรู้ จะเป็นพฤติกรรมสลายทุกข์ แก้ปัญหาการดาเนินชีวิต แต่สาหรับผู้มีอวิชชาและตัณหา ไม่มีการศึกษาหรือขาดการพัฒนาที่ถูกต้อง ใช้อายตนะหรือินทรีย์เพื่อการเสพรสหรือแส่เสพหาสิ่งบาเรอ จะเป็นพฤติกรรมสร้างทุกข์ ก่อปัญหา การดาเนินชีวิต มนุษย์ไม่รู้ว่าตัวเองเกิดมาเพื่ออะไร มีชีวิตมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นโดยมีจุดหมายหรือวัตถุประสงค์ และจุดหมายก็มิใช่สิ่งที่มีติดมากับชีวิต แต่เป็นสิ่งที่ควรกานิดให้แก่ชีวิต การศึกษา คือความพยายาม แสวงหาจุดหมายให้แก่ชีวิต การศึกษาเป็นเนื้อตัวของพระพุทธศาสนาและพระพุทธศาสนาได้ประกาศ จุดหมายชีวิต เป็นอุดมการณ์เบื้องต้นแล้วว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงจาริกไป ๑) เพื่อประโยชน์แก่ชนจานวนมาก ๒) เพื่อความสุขแก่ชนจานวนมาก ๑๑๓

คณาจารย์ ม หาวิ ท ยาลั ย มหาจุ ฬ าลงกรณราชวิ ท ยาลั ย , พุ ท ธวิ ธี ใ นการสอน Buddha’s Teaching Methods, หน้า ๖๐–๖๑.

๖๑ ๓) เพื่ออนุเคราะห์(เกื้อกูล) แก่ชาวโลก ๔) เพื่อประโยชน์ เกื้อกูล และความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ สิ่งเหล่านี้ เป็นจุดสาคัญที่ตั้งเป็นเป้าหมายอันดับแรกในการเผยแผ่หลักธรรมคาสอน เป็น จุดเริ่มต้นที่ฐาน คือ การพัฒนาความเป็นมนุษย์เป็นแกนกลาง โดยกาหนดตัว “คุณภาพ-สัมฤทธิผล” (ประโยชน์ เกื้อกูล และความสุข) เป็นเป้าหมายหรือสาระส่วนแก่นแท้ ๒.๒.๗.๒ จุดประสงค์การสอนเฉพาะ มนุษย์มีศักยภาพสูง มีธรรมชาติที่เอื้อต่อการพัฒนา พระพุทธศาสนามองว่า มนุษย์ เป็น สัตว์ที่ฝึกได้ หรือต้องฝึก มนุษย์ถ้าไม่ฝึกก็จะไม่ประเสริฐ แต่ถ้าฝึกดีแล้วจะมีขีดความสามารถ สูงสุด มีพระพุทธพจน์มากมายที่เน้นเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ในจุดที่ว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ จุดประสงค์ในการสอน เน้นย้าหลั กการฝึ กฝนพัฒ นาตนเองของมนุษย์ และเร้าเตือน พร้อมทั้งส่งเสริมกาลังใจให้ทุกคนมุ่งมั่นในการฝึกอบรมตนเองจนถึงที่สุด แบ่งย่อยเป็น ๓ ด้านคือ ด้านหลักธรรม ด้านธรรมชาติมนุษย์และด้านการพัฒนา ๒.๒.๗.๓ จุดประสงค์การสอนด้านหลักธรรม พระพุ ท ธเจ้ าทรงแสดงหลั กธรรม และหั ว ข้อ ธรรมแยกย่อ ยออกไปมากมายเป็ น หมวด ๆ หรือเป็น ชุด ๆ มี ๓ ข้อบ้ าง ๔ ข้อบ้าง ๕ ข้อบ้าง ฯลฯ หลักธรรมแต่ล ะหมวด แต่ล ะชุด เหล่านั้น ก็คือข้อปฏิบัติ เพื่อพัฒนาชีวิตในขั้นตอนหรือในส่วนปลีกย่อยต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ๑) ฆราวาสธรรม ๔ ๑๑๔ ธรรมสาหรับฆราวาส, ธรรมสาหรับการครองเรือน, หลักการครองชีวิตของคฤหัสถ์ (๑) สัจจะ ความจริง, ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทาจริง (๒). ทมะ การฝึกฝน, การข่มใจ ฝึกนิสัย ปรับตัว , รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัด ดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา (๓) ขัน ติ ความอดทน, ตั้งหน้าทาหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง ทนทาน ไม่หวั่นไหว มั่นในจุดหมาย ไม่ท้อถอย (๔) จาคะ ความเสียสละ, สละกิเลส สละความสุขสบายและผลประโยชน์ ส่วนตนได้ ใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังความทุกข์ ความคิดเห็น และความต้องการของผู้อื่น พร้อมที่จะ ร่วมมือ ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่คับแคบเห็นแก่ตนหรือเอาแต่ใจตัว ในธรรมหมวดนี้ ทมะท่านมุ่งเอาด้านปัญญา ขันติท่านเน้นแง่วิริยะ ๒) จักร ๔ ธรรมนาชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อนารถไปสู่ที่หมาย (๑)ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในถิ่นที่ดี มีสิ่งแวดล้อมเหมาะสม (๒)สัปปุริสูปัสสยะ สมาคมกับสัตบุรุษ (๓)อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ, ตั้งจิตคิดมุ่งหมาย นาตนไปถูกทาง (๔)ปุ พ เพกตปุ ญ ญตา ความเป็ น ผู้ ได้ ท าความดี ไว้ก่ อ นแล้ ว , มี พื้ น เดิ ม ดี , ได้สร้างสมคุณความดีเตรียมพร้อมไว้แต่ต้น ๑๑๔

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโฺ ต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, หน้า ๑๑๓-๑๑๔.

๖๒ ธรรม ๔ ข้อนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พหุการธรรม คือธรรมมีอุปการะมาก เป็นเครื่องช่วย ให้สามารถสร้างความดีอื่น ๆ ทุกอย่าง และช่วยให้ประสบความเจริญก้าวหน้าในชีวิต บรรลุความงอก งามไพบูลย์ หลักธรรมแต่ละหมวด ๆ เหล่านี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงอิงบุคคล สถานที่ และเหตุการณ์ ต่าง ๆ (ปุคคลาธิฏฐาน) จะแสดงจุดประสงค์การสอนของหมวดธรรมชุดนั้น ๆ และจุดประสงค์เฉพาะ บุคคล ๒.๒.๗.๔ จุดประสงค์การสอนด้านธรรมชาติมนุษย์๑๑๕ พระพุทธศาสนาเรียกมนุษย์ทั้งหลายว่า “เวไนยสัตว์” คือ สัตว์ผู้สามารถฝึกฝนและ พัฒนาปัญญา พฤติกรรมและจิตใจที่ถูกต้องได้ในทุกด้าน และมีส่วนอื่น ๆ ที่เรียกว่า “ปปัญจธรรม” อยู่ในตัวด้วย ปปัญจธรรม คือตัณหา ทิฏฐิ และมานะ เป็นกิเลสเครื่องเนิ่นช้า เป็นตัวการทาให้คิดปรุง แต่ง ยีดเยื้อพิสดาร ทาให้เขวห่างออกไปจากความเป็นจริง ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ และขัดขวางไม่ให้ เข้าถึงความจริง หรือทาให้ไม่อาจแก้ปัญหาอย่างถูกทางตรงไปตรงมา มนุษย์มีธรรมชาติแตกต่างกัน หลักคาสอนทางพระพุทธศาสนาจึงแบ่งประเภทบุคคลตามธรรมชาติ เช่น ๑) ธรรมชาติด้านสติปัญญา แบ่งย่อย ๔ จาพวก๑๑๖ คือ - อุคติตัญญู ผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลัน - วิปจิตัญญู ผู้รู้เข้าใจได้ - เนยยะ ผู้พอแนะนาได้ - ปทปรมะ ผู้อับปัญญา ๒) ธรรมชาติด้านอุปนิสัย เป็นพื้นแพของจิต หรือพฤติกรรม ซึ่งหนักไปทางใด ทางหนึ่ง เป็นปกติประจา เรียกว่า จริตหรือจริยามี ๖ อย่าง๑๑๗ คือ จริต หรือ จริยา ๖ ความประพฤติ ปกติ , ความประพฤติ ซึ่งหนั ก ไปทางใดทางหนึ่ง อัน เป็ นปกติ ประจาอยู่ในสั น ดาน, พื้ นเพของจิต , อุปนิสัย, พื้นนิสัย, แบบหรือประเภทใหญ่ ๆ แห่งพฤติกรรมของคน ตัวความประพฤติเรียกว่า จริยา บุคคลผู้มีความประพฤติอย่างนั้น ๆ เรียกว่า จริต - ราคจริต ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ , ประพฤติหนักไปทางรักสวยรักงาม กรรมฐานคู่ปรับสาหรับแก้ คือ อสุภะและกายคตาสติ - โทสจริ ต ผู้ มี โ ทสะเป็ น ความประพฤติ ป กติ , ประพฤติ ห นั ก ไปทางใจร้ อ น กรรมฐานที่เหมาะ คือ พรหมวิหารและกสิณ โดยเฉพาะวัณณกสิณ -. โมหจริต ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางเขลา เหงาซึม เงื่องงง งมงาย กรรมฐานที่เกื้อกูล คือ อานาปานสติ และพึงแก้ด้วยมีการเรียน ถาม ฟังธรรม สนทนา ธรรมตามกาลหรืออยู่กับครู ๑๑๕

คณาจารย์ ม หาวิ ท ยาลั ย มหาจุ ฬ าลงกรณราชวิ ท ยาลั ย , พุ ท ธวิ ธี ใ นการสอน Buddha’s Teaching Methods, หน้า ๖๒. ๑๑๖ อง.จตุกฺก. (ไทย) ๒๑/๑๓๓/๑๐๒., อภิ.ปุ. (ไทย) ๓๖/๑๔๘-๑๕๑/๑๘๖-๑๘๗. ๑๑๗ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, หน้า ๑๘๙.

๖๓ - สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางมีจิตซาบซึ้ง ชื่นบาน น้ อมใจเลื่อมใสโดยง่าย พึงชักนาไปในสิ่งที่ควรแก่ความเลื่ อมใส และความเชื่อที่มีเหตุผ ล เช่น พิจารณาอนุสติ หก ข้อต้น - พุทธิจริต หรือ ญาณจริต ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ , ประพฤติหนักไป ในทางใช้ความคิดพิจารณา - วิตกจริต ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ , ประพฤติหนักไปทางนึกคิดจับจด ฟุ้งซ่าน พึงแก้ด้วยสิ่งที่สะกดอารมณ์ เช่น เจริญอานาปานสติ หรือเพ่งกสิณ เป็นต้น ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์ เป็นเครื่องมือกาหนดวิธีการสอนหรือกระบวนการ ฝึกมนุษย์ให้มีชีวิตที่ดีให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ได้ง่าย เช่น ผู้มีราคจริตพึงแก้ด้วยอสุภกรรมฐาน โมหจริตพึงแก้ด้วยอานาปานสติ พุทธิจริตพึงแก้ด้วยเจริญไตรลักษณ์เป็นต้น ๒.๒.๗.๕ จุดประสงค์การสอนด้านพัฒนา การฝึกฝนและพัฒนานั้น ทางพระพุทธศาสนาจัดวางไว้เป็นหลักเรียกว่า ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งถือว่าเป็นระบบการศึกษาที่ทาให้บุคคลพัฒนาการอย่างมีบูรณาการ และให้ มนุ ษ ย์ เป็ น องค์ ร วมที่ พั ฒ นาอย่ างมี ดุ ล ยภาพ ได้ แก่ ศีล สมาธิ ปั ญ ญา หลั ก ที่ ๓ ประการนี้ เป็ น ส่ ว นประกอบของชี วิ ต ที่ ดี ง าม จึ งควรฝึ ก บุ ค คลให้ เจริ ญ งอกงามในองค์ ป ระกอบเหล่ า นี้ แ ละให้ องค์ประกอบเหล่านี้นาบุคคลสู่การเข้าถึงอิสรภาพและสันตุสุขอย่างแท้จริง หลักศึกษาทั้ง ๓ ประการ นั้น ทาให้มนุษย์ได้รับการพัฒนา ๔ ด้าน๑๑๘ ได้แก่ ๑) ภาวิตกาย (พัฒนากาย) หมายถึง ฝึกอบรมกาย ให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่ง ทั้งหลายภายนอกทางอินทรีย์ทั้ง ๕ ด้วยดี และปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้เกิดโทษ ให้ความดีงอกงาม ให้ความชั่วเสื่อม โดยพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ๒) ภาวิ ต ศี ล (พั ฒ นาศี ล พฤติ ก รรม) หมายถึ ง พั ฒ นาความประพฤติ การฝึกอบรมจิต ให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับ ผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูลแก่กัน ๓) ภาวิ ต จิ ต (พั ฒ นาจิ ต ) หมายถึ ง การฝึ ก อบรมจิ ต ใจ ให้ เข้ ม แข็ ง มั่ น คง เจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีเมตตากรุณา มีฉันทะขยันหมั่นเพียร อดทน มีสมาธิ และ สดชื่น เบิกบาน เป็นสุข ผ่องใสเป็นต้น ๔).ภาวิตปั ญญา (พัฒ นาปัญ ญา) หมายถึง การฝึกอบรมปัญญา ให้ รู้เข้าใจสิ่ ง ทั้งหลายตามความเป็นจริง รู้เท่าทัน เห็นแจ้งโลกและชีวิตตามสภาวะ สามารถทาจิตใจให้เป็นอิสระ ทาตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสและปลอดพ้นจากความทุกข์ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยปัญญา

๑๑๘

คณาจารย์ ม หาวิ ท ยาลั ย มหาจุ ฬ าลงกรณราชวิ ท ยาลั ย , พุ ท ธวิ ธี ใ นการสอน Buddha’s Teaching Methods, หน้า ๖๓.

๖๔ ๒.๒.๗.๖วิธีการสอนตามแนวพุทธ หลั ก การสอนของพระพุ ท ธเจ้ าที่ เกี่ย วกับ วิธีก ารสอน ที่ ผู้ ส อนสามารถน ามาเป็ น แนวทางในการสอนได้นั้น มีดังต่อไปนี้๑๑๙ ๑) การเริ่ ม ต้ น ที่ ดี ในการสอนนั้ น การเริ่ ม ต้ น เป็ น จุ ด ส าคั ญ มากอย่ า งหนึ่ ง การเริ่มต้นที่ดีมีส่วนช่วยให้การสอนสาเร็จผลดีเป็นอย่างมาก อย่างน้อยก็เป็นเครื่องดึงความสนใจ และนาเข้าสู่เนื้อหาของบทเรียนได ๒) สร้างบรรยากาศในการสอนให้ปลอดโปร่ง เพลิดเพลิน ไมให้ตึงเครียด ไมให้ เกิดความอึดอัดใจ และให้เกียรติแกผู้เรียน ๓) สอนมุ่ ง เนื้ อ หา มุ่ ง ให้ เ กิ ด ความรู ค วามเข้ า ใจในสิ่ ง ที่ ส อน เป็ น ส าคั ญ ไมกระทบตนและผู้อื่น ไมมุ่งยกตน ไมมุ่งเสียดสีใคร ๆ ๔) สอนโดยเคารพ คือ ตั้งใจสอน ด้วยความรูสึกว่า เป็นเรื่อง จริงจัง มีคุณค่า มองเห็นความสาคัญของผู้เรียนและของงานสั่ง สอนนั้น ไมใช่สักว่าทา หรือเห็นผู้เรียนโงเขลา ๕) ใช้ภาษาสุภาพ นุ่มนวล ไมหยาบคาย ชวนให้สบายใจ สละสลวย เข้าใจง่าย ลักษณะการสอนของพระพุทธเจ้าแบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะ ดังนี้๑๒๐ ๑) ทรงสั่งสอนโดยการปฏิบัติ เป็นการ “เปลี่ ยน” หลักคาสอนดั้งเดิมของศาสนา พื้นเมืองอย่างกลับหน้ามือเป็นหลังมือ เช่น ศาสนาพราหมณ์สอนให้ฆ่าสัตว์บูชายัญ แต่พระพุทธเจ้า กลับให้มีความเมตตากรุณาต่อสัตว์แทน หรือการสอนให้ทรมานตนในการปฏิบัติ เพื่อบรรลุคุณธรรม ชั้นสูง พระพุทธเจ้าทรงทดลองมาแล้วเห็นว่า ไม่ใช่ทางตรัสรู้ ทรงสอนให้ใช้วิธีอื่นที่เรียกว่าทางสาย กลาง เป็นการอบรมกาย วาจา ใจในทางประพฤติปฏิบัติที่ชอบแทน เป็นต้น ๒) ทรงสั่งสอนโดยการปฏิรูป เป็นการสอนโดยวิธีดัด “แปลง” ของเก่าที่ยังไม่ดีให้ดี ขึ้นหรือของเก่ามีความหมายอย่าง แต่นามาแปลความหมายเสียใหม่เพื่อให้ตรงกับหลักเหตุผลยิ่งขึ้น เช่ น ศาสนาพราหมณ์ ส อนให้ ล งอาบน้ าในแม่ น้ าศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แ ล้ ว จะบริ สุ ท ธิ์ จ ากบาปได้ แต่ พระพุทธศาสนาสอนให้ตั้งอยู่ในศีล อันเป็นการอาบที่ตัวไม่เปียก แต่ทาให้บริสุทธิ์สะอาดได้ดีกว่าน้า ศักดิ์สิทธิ์ หรือคาสอนเรื่องพราหมณ์ว่า เป็นผู้ประเสริฐโดยชาติกาเนิด คือ เกิดจาดมารดาบิดาอยู่ใน วรรณะพราหมณ์ แต่พระพุทธเจ้าทรงอธิบายใหม่ว่า คนเราไม่เป็นพราหมณ์ หรือผู้ประเสริฐเพราะ ชาติสกุล แต่เป็นผู้ประเสริฐ เพราะการกระทาหรือความพฤติ เป็นต้น (๓) ทรงสั่งสอนโดย “ตั้งหลักขึ้นใหม่” ที่ยังไม่มีสอนในทีอื่น แต่ทรงสอนไปตามหลัก สัจธรรมที่ทรงค้นพบ ดังจะเห็นในเรื่องหลักธรรม เรื่องความพ้นทุกข์ที่เรียกว่า อริยสัจ ๔ ประการ เป็ นหลักธรรมที่ตั้งขึ้น ใหม่อัน แสดงไว้ชัดทั้งเหตุและผล คือ การจะพ้นทุกข์ก็ต้องรู้ว่า อะไรเป็นตัว ความทุกข์ อะไรเป็นเหตุของความดับทุกข์ และการดับความทุกข์ คือ ดับอะไร ทาอย่างไร หรือปฏิบัติ อย่างไร จึงจะดับทุกข์ได้ เป็นต้น ๑๑๙

คณาจารย์ ม หาวิ ท ยาลั ย มหาจุ ฬ าลงกรณราชวิ ท ยาลั ย , พุ ท ธวิ ธี ใ นการสอน Buddha’s Teaching Methods, หน้า ๑๑. ๑๒๐ สุ ชีพ บุ ญ ญานุ ภ าพ, คุ ณ ลั ก ษณะพิ เศษแห่ ง พระพุ ท ธศาสนา, (กรุ งเทพมหานคร: โรงพิ ม พ์ มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๓๓), หน้า ๑๓ – ๑๕.

๖๕ หลักการสอนของพระพุทธเจ้าดังกล่าวมานี้ แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในการสอน ของพระองค์ได้อย่างชัดเจน สามารถสรุปการสอนของพระพุทธเจ้าได้ว่า “พระพุทธเจ้าทรงมีวิธีการ สอนอันชาญฉลาด เมื่อพระองค์แสดงพระธรรมเทศนาจบลง ผู้ฟังจะสรรเสริญเสมอว่า แจ่มแจ้งจริง พระองค์ผู้เจริญ แจ่มแจ้งจริง พระธรรมเทศนาของพระองค์เสมือนหงายของที่คว่า บอกหนทางแก่คน หลงทาง ส่องประทีปในที่มืดให้คนมีจักษุได้เห็นรูป...” จึงสมควรอย่างยิ่งที่ผู้ทาหน้าที่ในการสอนจะได้ ศึกษาและท าความเข้าใจเกี่ย วกับ หลั ก การสอนของพระพุ ท ธเจ้า พร้อมกับยึด ถือเป็นหลั กปฏิบั ติ ต่อไป๑๒๑ สรุปได้ว่า การประยุกต์วัตถุประสงค์การสอนตามแนวพุทธ ซึ่งได้แก่ ๑)จุดประสงค์การ สอนทั่วไปเพื่อเรียนรู้เป็นเครื่องมือหาความรู้ จะเป็นพฤติกรรมสลายทุกข์ แก้ปัญหาการดาเนินชีวิต ๒)จุ ด ประสงค์ ก ารสอนเฉพาะส่ งเสริม ก าลั งใจให้ ทุ ก คนมุ่ งมั่ น ในการฝึ ก อบรมตนเองจนถึ งที่ สุ ด ๓)จุ ดประสงค์การสอนด้ านหลั กธรรมเพื่ อพั ฒ นาชีวิต ในขั้นตอนหรือในส่ ว นปลี กย่อ ยต่าง ๆ เช่ น ฆราวาสธรรมคือ ธรรมสาหรับการครองเรือน, หลักการครองชีวิตของคฤหัสถ์ จักร ๔ ธรรมนาชีวิต ไปสู่ ค วามเจริ ญ รุ่ ง เรื อ ง ดุ จ ล้ อ น ารถไปสู่ ที่ ห มาย ๔)จุ ด ประสงค์ ก ารสอนด้ า นธรรมชาติ ม นุ ษ ย์ พระพุทธศาสนาเรียกมนุษย์ทั้งหลายว่า “เวไนยสัตว์” คือ สัตว์ผู้สามารถฝึกฝนและพัฒ นาปัญญา พฤติกรรมและจิตใจที่ถูกต้องได้ในทุกด้าน จริต หรือ จริยา ๖ ความประพฤติปกติ, ความประพฤติซึ่ง หนักไปทางใดทางหนึ่ง อันเป็นปกติประจาอยู่ในสันดาน, พื้นเพของจิต, อุปนิสัย, พื้นนิสัย, แบบหรือ ประเภทใหญ่ ๆ แห่งพฤติกรรมของคน ๕)จุดประสงค์การสอนด้านพัฒนาทางพระพุทธศาสนาจัดวาง ไว้เป็นหลักเรียกว่า ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ตลอดจนถึงวิธีการสอนตามแนวพุทธนั้น ทรงสอน ให้ใช้วิธีที่เรียกว่าทางสายกลาง เป็นการอบรมกาย วาจา ใจในทางประพฤติปฏิบัติที่ชอบอันแสดงไว้ ชัดทั้งเหตุและผล เพื่อการจะพ้นทุกข์ ๒.๒.๘ การประยุต์หลักธรรมของผู้รับคาเพื่อการปรึกษา ๒.๒.๘.๑ หลักปรโตโฆสะเพื่อคุณสมบัติของผู้ให้การปรึกษา ในการให้คาปรึกษา ผู้ให้คาปรึกษา ควรมีหลักธรรมเพื่อที่จะเป็นหลักในการสั่งสอน แนะน า ชี้ แ จง ชั ก จู ง ช่ ว ยบอกช่ อ งทางที่ ถู ก ต้ อ งให้ กั บ ผู้ ที่ ม าขอค าปรึ ก ษา หลั ก ธรรมนั้ น คื อ กัลยาณมิตร หรือ ปรโตโฆสะ๑๒๒ หรือเสียงจากผู้อื่น ที่จะให้เกิดสัมมาทิฏฐิได ก็คือ เสียงที่ดีงาม เสียง ที่ถูกต้อง เสียงที่บอกกล่าวชี้แจงความจริง มีเหตุผล เป็นประโยชน เฉพาะอย่างยิ่ง ที่เกิดจากความรัก ความปรารถนาดี เสีย งดีงามถูกต้องเช่นนี้ เกิดจากแหลงที่ดี คือคนดี คนมีปัญ ญา คนมีคุณ ธรรม คนเช่นนี้ทางธรรม เรียกว่า สัตบุรุษบ้าง บัณฑิตบ้าง ถ้ าคนดี คือสัตบุรุษ หรือบัณฑิตนี้ ไปทาหน้าที่ ช่วยเหลือแนะนา สั่งสอนชัก นาสัมมาทิฏฐิให้แกผู้อื่น ก็เรียกว่าเขาทาหน้าที่เป็น กัลยาณมิตร

๑๒๑

วศิ น อิ น ทสระ, พุ ท ธวิธี ในการสอน, พิ ม พ์ ค รั้งที่ ๔, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิ ม พ์ เม็ ด ทราย, ๒๕๔๕), หน้า ๑๕. ๑๒๒ พระพรห มคุ ณ าภรณ์ (ป.อ.ป ยุ ตฺ โ ต), พุ ทธธรรม ฉบั บ ป รั บ ขยาย , พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ ๓ ๒ , (กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ผลิธัมม์, ๒๕๕๕), หน้า ๕๖๕.

๖๖ ๑)หลักกัลยาณมิตรธรรม๑๒๓ หมายถึง องค์คุณของกัลยาณมิตร คุณสมบัติของ มิตรดี หรือมิตรแท้ คือ ท่านที่คบหรือเข้าหาแล้วจะเป็นเหตุ ให้เกิดความดีงาน และความเจริญ ในที่นี้ มุ่งเอามิตรประเภทครู หรือพี่เลี้ยงเป็นสาคัญ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)๑๒๔ ได้กล่าวไว้ว่า เดินทางคนทั่วไปจะต้องอาศัยกัลยาณมิตร เป็นจุดเริ่มต้นในการชักนาเข้าสู่ทางชีวิตที่ดีงาม การไปสู่ จุดหมายของพระพุทธศาสนาไดนั้น ก็ต้อง อาศัย ความมีกัลยาณมิตรเป็ น สาคัญ เพราะว่าเมื่อมี กัล ยาณมิตร มีผู้ ที่ชี้แนะนาทางที่ถูกต้องแล้ ว ก็จะทาให้บุคคลเริ่มรูจัก เริ่มมีความเขาใจหรือ ความเห็นทางที่ถูกต้องนั้น ก็คือสัมมาทิฏฐิ ซึ่งจะทาให้ เดินทางไปได ถ้าไมมีกัลยาณมิตร ก็มองไม เห็น ไมรูแม้กระทั่งว่าทางเดินอยู่ที่ไหน ทาให้ดาเนินชีวิต ผิ ด พลาดได เหมื อ นวนเวี ย นอยู่ ในป่ า หลงไปหลงมา บางที ต ลอดชี วิ ต ก็ ไมไดเข้ า สู่ ท างที่ ถู ก ต้ อ ง กัล ยาณมิตรนั้ น เหมือนกับ เป็ น ผู้ที่รู ทางเพราะเคยเดินทางนั้นมาแล้ ว หรืออย่างน้อยก็ไดเคยผ่ าน ทาให้ไดรู้ว่าทางอยู่ตรงไหน สามารถไปชี้แนะและชักนาเข้าสู่ทางได ดังนั้น กัลยาณมิตร นี้จึงสาคัญ มาก พระพุทธเจ้าทรงให้ความสาคัญของความมีกัลยาณมิตร ยังมีการตรัสสอนถึงความสาคัญ ของความมีกัลยาณมิตรสาหรับคนทั่วไปด้วย โดยเฉพาะชาวบ้าน ยิ่งมีหลักธรรมและพุทธภาษิตที่ย้าถึง ความสาคัญ ของการคบหา และการเสวนาคนดีเพิ่มอีกจานวนมาก เช่น การคบคนชั่วเป็นหนึ่งใน อบายมุข ๖ ๑๒๕ การคบมิตรและปฏิบั ติถูกต้องต่อมิตรเป็นหลักอย่างหนึ่งในคาสอนเรื่องทิศ ๖๑๒๖ การรู้จักเลือกคบคนตามหลักมิตรแท้มิตรเทียม๑๒๗ในชาดกซึ่งเป็นคาสอนสาหรับคนทุกชั้นทุกประเภท โดยเฉพาะชาวบาน ก็มีเรื่องราว และสุภาษิ ตแนะนาเกี่ยวกับ การคบหาหรือการเสวนาเป็นจานวน มากเรื่องที่เด่นคือนกแขกเตาสองพี่น้อง จะเห็นว่าการคบมิตรนั้นสาคัญมากเหมือนเข็มทิศของชีวิตเลยก็ว่าได หากคบคนดีก็จะดี เหมือนคนที่เราคบ หากคบคนที่ชั่วเราก็ชั่ว หรืออย่างน้อยก็ถูกมองว่ามีเพื่อนไมดี ความ หวาดระแวง ของคนรอบข้างก็จะเกิดขึ้น คนเรานั้นไมอาจอยู่โดด ๆ อยู่แบบไมต้องสัมพันธ์กับใคร ธรรมดาต้องมี การคบหากับบุคคลอื่น ขาดไมได โดยเฉพาะชีวิตแบบทางโลก แต่การคบหานั้นจะ ไดกัลยาณมิตรหรือ บาปมิตรก็ว่ากันอีกทีหนึ่ง บรรดาท่านผู้รูต่างไดให้การรับรอง และยอมรับว่าการไดมิตรดี สาคัญต่อชีวิต มนุษย์อย่าง มาก ผู้ต้องการความเจริญในการดาเนินชีวิตไปในทางที่ดี ไมมีการเบียดเบียนตนและ ผู้อื่น ความมี กัลยาณมิตรเป็นองค์ประกอบที่สาคัญอันหนึ่ง ในมงคลสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่ว่าด้วย สิ่งที่เป็นมงคล พระพุทธเจ้าทรงวางหลักการดาเนินชีวิตที่เป็นไปเพื่อความเจริญเป็นมงคลแกชีวิต กล่าวคือ การไมคบ คนพาล การคบหาสมาคมกับบัณฑิต หรือกัลยาณมิตรท่านไดยกไวเป็นอันดับ แรก นี่เป็นหลักการ ๑๒๓

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖), หน้า ๒๐๔. ๑๒๔ พระเทพเวที (ป.อ. ปยุตฺโต), ชวนคิด พินิจธรรม, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ ราชวิทยาลัย, ๒๕๓๔), หน้า ๔๖–๔๗. ๑๒๕ ที. ปา. (ไทย) ๑๑/๒๔๗/๒๐๒. ๑๒๖ ที. ป. (ไทย) ๑๑/๒๔๕/๑๙๙. ๑๒๗ ที. ปา. (ไทย) ๑๑/๒๕๕/๒๐๗.

๖๗ ดาเนินชีวิตทางโลกเพื่อให้อยู่สุข เป็นชีวิตที่ปลอดภัย อันดับแรกจะต้องเว้น การคบคนพาล คบหา กัลยาณมิตร สวนในทางธรรมผู้ที่จะเจริญในทางธรรมถึงกับให้บรรลุ เป้าหมายสูงสุด ก่อนอื่นจะหนี จากความเป็นผู้มีกัลยาณมิตรไปไมไดเช่นกัน ความมีกัลยาณมิตร คือบุพนิมิตแห่งการเจริญอริยมรรคมี องค์ ๘ กัลยาณมิตรเป็นตัวนา ตัวดูดสิ่งดี ๆ เข้ามาหาผู้เสพ ผู้คบหา สิ่งดี ๆ ที่ยังไมเกิดก็จะเกิด ที่เกิด แล้วจักเจริญ สิ่งไมดีที่เกิดขึ้นแล้วจะเสื่อมไป การไดกัลยาณมิตร การไดอยู่ใกล้ การไดคบ หากัลยาณมิตรถือไดว่าเป็นโชคสองชั้นของ บุคคลนั้น คือ ชั้นแรกไมว่าจะไดมิตรดีหรือมิตรชั่วก็ถือ ว่ายังดี อย่างน้อยที่สุดคงจะคลายความกลัว จากภัยต่าง ๆ ไดเมื่ออยู่ใกล้กัน และทาให้การงานลุล่วง ไปด้วยดี อย่างเช่น คบกันเพื่อประกอบธุรกิจ การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ตราบใดที่ยังช่วยกัน จะทา ให้การงานนั้นประสบผลสาเร็จได คือสาเร็จประ โยชนในปัจจุบั น ทาให้ ฐานะทางสังคมดีขึ้นได อย่างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน นี่คือทางโลก บางครั้ง หลี ก เลี่ ย งที่ จ ะคบหาไมได ทั้ งที่ รู ว่าผู้ ที่ ค บด้ ว ยนั้ น เป็ น ปาปมิ ต ร แต่ ก็ ต้ อ งคบหา เพื่ อ ประโยชน บางอย่ างที่ต่างฝ่ายต่างจะไดรับ ๑๒๘กัล ยาณมิตร มิได้ห มายถึงเพื่อนที่ดีอย่างในความหมายสามัญ เท่านั้ น แต่หมายถึงบุ คคลผู้เพีย บพร้อมด้วยคุณสมบัติที่จะสั่งสอน แนะนา ชี้แจง ชักจูง ช่ว ยบอก ช่องทาง หรือเป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นดาเนินไปในมรรคาแห่งการฝึกฝนอบรมอย่างถูกต้อง ในคัมภีร์วิสุทธิ มัคค์ ท่านยกตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้า พระอรหัตสาวก ครูอาจารย์ และท่านผู้เป็นพหูสูตทรงปัญญา สามารถสั่ งสอนแนะน าเป็ น ที่ ป รึก ษาได้ แม้ จะอ่อ นวัย กว่าในกระบวนการพั ฒ นาปั ญญา ความมี กัลยาณมิตรนี้ จัดว่าเป็นระดับความเจริญปัญญาในขั้นศรัทธา (๑) คุณ ค่า ของกัลยาณมิตร มีความส าคัญ ได ก็เพราะกัล ยาณมิตรนั้น มี คุณค่าในฐานะที่เป็นตัวดึงดูด เป็นตัวชักนาให้เกิดประโยชนแกผู้หวังประโยชน ไมว่าจะเป็นประโยชน ทางโลกหรือทางธรรม หากไดกัลยาณมิตรคอยชี้แนะ เป็นผู้กากับให้ ชีวิตเบื้องต้นดาเนินไปด้วยดี แม้ในเบื้องต้นอาจมี อุปสรรคมาขวางบาง กัลยาณมิตรก็เปรียบเหมือนมีกาแพงสองข้างทางที่คอยกัน กั้นอุปสรรคและสิ่ง ไมดีที่จะมาถึงตัว อีกทั้งช่วยห้ามตนเองไมให้เดินออกไปหาสิ่งเหล่านั้น ช่วยให้การ ดาเนิ น การไปสู เป้ าหมายไดสะดวก ในทางธรรม กั ล ยาณมิต รมี คุณ ค่ าทั้ งในฐานะที่ เครื่องหมาย เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ความเป็ น ผู้มีมิ ตรดี หรือบุคคลที่ไดมิตรดีนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปรียบไวว่าเหมือน การขึ้นของดวงอาทิตย์จ ากขอบฟ้าในยามเช้าก่อนจะเห็ นดวงอาทิตย์เต็มดวง สิ่ งแรกที่ปรากฏขึ้น ก่อนนั้นคือแสงเงินแสงทอง เป็นเหตุบอกให้รูไดแน่นอนว่าดวงอาทิตย์กาลังจะขึ้นมาแล้วฉันใด ในทาง ธรรมผู้มีกัลยาณมิตรก็เป็นบุพพนิมิตเบื้องต้นแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ดังความปรากฏใน กัลยาณมิตร สูตรว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กาลั งจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรดี) ก็เป็นตัวนา เป็นบุพนิมิตเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ฉันนั้น”๑๒๙

๑๒๘

พระจะจู ญาณวิชโย (รักษาป่า), “การศึกษาวิเคราะห์ความเป็นกัลยาณมิตรของพระสารีบุตร เถระ”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔), หน้า ๒๖. ๑๒๙ ส. ม. (ไทย) ๑๙/๔๙/๔๓.

๖๘ มิตรแท้หรือเพื่อนแท้ เป็นสิ่งที่ปรารถนาของมนุษย์ทุกคน เป็นคาที่ฟังดูง่าย ๆ แต่หาได้ ยาก บางคนมีเพื่อนพ้องมิตรสหายจานวนมาก มีทั้งเพื่อนเรียน เพื่อนกิน เพื่อนดื่ม เพื่อนเที่ยว แต่จะ หาเพื่อนที่มีคุณสมบัติเป็นบัณฑิตดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นหายากเหลือเกิน บางคนทั้งชีวิตไม่เคยได้ เจอ เพราะมิตรแท้จริง ๆ นั้น คือผู้ที่เมื่อคบหาสมาคมด้วยแล้ว นาแต่ประโยชน์สุข มาให้ ฝ่ายเดียว เป็นผู้ที่เชื่อถือได้ ไว้วางใจได้ คบคนดีมีคุณธรรมเปรียบได้กับแสงสว่างนาทางชีวิต มีใครสักคนเป็น เพื่อนนั้น ต้องรู้จักสังเกต ใช้สติปัญญาไตร่ตรองให้รอบคอบ ควรคบกับผู้ที่เสมอกันด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา หรือสูงกว่าตน แต่ก็ยังไม่ห้ามเสียทีเดียว หากมีความจาเป็นต้องคบกับคนพาล หรือผู้ที่ต่ากว่า ตนด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ท่านแนะนาให้คบหาในฐานะที่เป็นกัลยาณมิตรให้ผู้นั้น ช่วยแนะนาช่วยนา เขา เพื่อให้เขาพ้นจากความเป็นคนพาล ช่วยให้เห็นถูก เกิดปัญญาสามารถพึ่งพาตนเองได้ คบเพื่อ อนุเคราะห์ แต่ต้องมั่นใจในความหนักแน่น ในความดีของตนเองว่าจะไม่เอียงไปเป็นเหมือนคนพาล เสียเอง๑๓๐ (๒) คุณสมบัติของกัลยาณมิตร กัลยาณมิตรผู้สมบูรณด้วยคุณสมบัติทุก ๆ ประการนั้น คือ พระสัมมาสัมพุทธเจา โดยมีพระพุทธพจน์รับรองว่า ดู“ก่อน อานนทสัตว์ทั้งหลายผู้มี ความเกิดเป็นธรรมดาย่อมพ้นจาก ชาติความเกิดได ด้วยอาศัยกัลยาณมิตรคือเราตถาคตนั่นเทียว”๔๓ การที่ใครสักคนหนึ่งมีจิตหวังเพื่อ ประโยชนสุขของคนอื่น เพื่อเป็นบุพนิมิตในทางสร้างสรรค์ สร้าง ความเจริญด้านจิตใจ การชี้ แนะ ให้คนอื่นดารงตนอยู่ในทางที่ถูก ที่ดีงาม ชักนาให้กุศลที่ยังไมเกิดให้ เกิ ด ขึ้ น อกุ ศ ลที่ ก าลั งจะเกิ ด ขึ้ น และที่ เกิ ด ขึ้ น แล้ ว ให้ เสื่ อ มไปบุ ค คลผู้ มี ค วามปรารถนาอย่ า งนี้ จาเป็นต้องมีคุณธรรมสาหรับ ฝึก ตนเองให้เหมาะกับภาระหน้าที่ที่รับผิดชอบ ฉะนั้น บุคคลผู้ทาหน้าที่ เป็นกัลยาณมิตรจึงต้อง ประกอบด้วยองค์คุณ หรือคุณสมบัติของกัลยาณมิตรถึง ๗ ประการ๑๓๑ คือ ปโย ครุ ภาวนีโย วตฺตา จ วจนกฺขโม คมฺภีร ฺจ กถ กตฺตา โน จฏฐาเน นิโยชเย.๑๓๒ ประการที่ ๑. ปโย แปลว่า กัลยาณมิตรนั้น เป็นผู้ น่ารัก หรือเป็นที่รัก หมายความว่า ท่านประกอบด้วยเมตตา ทาให้ผู้ที่เขาไปหานั่งใกล้รู สึกว่ามีเพื่อน ทาให้เกิดความชุ่มฉ่าใจ ไมอ้าง วาง วาเหว กัลยาณมิตรที่ดีจะทาให้เกิดรูสึกอย่างนี้ พระพุทธเจ้าก็ทาให้พระสาวกมีความสดชื่น มี ความ อบอุ่นใจ มีความสบายใจ ท่านมีเมตตา ท่านมีลักษณะเป็น ปโย ก็จะรูสึกสบายใจ ชุ่มฉ่าใจ เหมือนมี เพื่อนดูแลอยู่ตลอดเวลา ประการที่ ๒ ครุ เป็นที่เคารพ มีความหนักแน่น เป็นบุคคลที่อุดมด้วยปัญญาทั้งทางโลก และทางธรรมอย่างพรอมมูล จนกระทั่งตระหนักและซาบซึ้งไดดีว่า อะไรถูกอะไรผิด อะไรดี อะไรชั่ว อะไรควรอะไรไมควร อะไรเป็นบุญอะไรเป็นบาป แล้วดาเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้อง ที่ เป็นบุญเป็น กุศลอย่างมั่นคงแน่วแน่ ไมหวั่นไหวต่อความยั่วยวนของสิ่งแวดล้อมที่ทาให้จิตใจตกต่าเป็นคนรักความ

๑๓๐

พระจะจู ญาณวิชโย(รักษาป่า), “การศึกษาวิเคราะห์ความเป็นกัลยาณมิตรของพระสารีบุตร

เถระ”, หน้า ๒๗. ๑๓๑ ๑๓๒

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๖. องฺ. ปญจ. (ไทย) ๒๒/๘๑/๑๔๙.

๖๙ ยุติธรรมเป็นที่สุด ไมว่าต่อหน้าอย่างไร ลับหลังต้องอย่างนั้น มีความเมตตากรุณาอยู่ เป็นนิจกับทุกคน ที่เกี่ยวข้อง คุณสมบัตินี้จะหลอมให้กัลยาณมิตรเป็นที่น่าเคารพของชนทั้งปวง ประการที่ ๓ ภาวนีโย แปลว่า เป็นที่เจริญใจ เป็นแบบอย่างให้เราได เราไดครูอาจารย์ เราไดผู้ที่ท่านมีคุณธรรม มีความประพฤติดีงาม เราก็เกิดความรู สึกที่เรียกว่า จรรโลงใจ มีกาลังใจ เห็นแบบอย่าง อยากจะทาตาม ก็ทาให้มีความก้าวหน้าในชีวิต มีพุทธพจน์ที่ตรัสถึงพระภิกษุเถระ เป็น ที่เจริญใจไวว่า เพราะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการคือ “ไมกาหนัดในสิ่งที่เป็นเหตุให้กาหนัด ไมขัด เคืองในสิ่งที่เป็นเหตุให้ขัดเคือง ไมหลงในสิ่งเป็นเหตุให้หลง ไมโกรธในสิ่งที่เป็นเหตุให้โกรธ ไมมัวเมา ในสิ่งที่เป็นเหตุให้มัวเมา” หรือ “เป็นผู้ปราศจากราคะ เป็นผู้ปราศจากโทสะ เป็น ผู้ปราศจากโมหะ เป็นผู้ไมลบหลูคุณท่าน เป็นผู้ไมตีตนเสมอ” ประการที่ ๔ นอกจากจะให้ เกิ ด ความรู สึ ก อยู่ ในใจแล้ ว ยั งออกมาเป็ น รูป ธรรมด้ ว ย คือ วตฺตา จ เป็นผู้สามารถว่ากล่าวตักเตือน เป็นนักพูด คือเป็นผู้ฉลาดในการใช้ถ้อยคา น่ารับฟัง มี เหตุมีผล มีห ลักการ พูดถู กจังหวะ การพูดนี้เป็นสิ่ งส าคัญ อันหนึ่งที่ช่วยให้ ผู้ทาหน้าที่กัล ยาณมิตร ประสบ ความสาเร็จในการชักนาบุคคลผู้หลงผิด ท้อแท้ หมดกาลังใจ หมดความยินดีในการทาหน้าที่ ให้ กลับมีความเห็นถูก มีกาลังใจ เกิดความยินดีที่จะทาหน้าที่นั้นต่อ ประการที่ ๕ วจนกฺขโม บอกกล่าวแล้วบางทียังไมชัดเจน ยังสงสัยอยู่เข้าไปซักถามเป็นผู้ อดต่อถ้อยคาสู ง ๆ ต่า ๆ ได คือ บุ คคลผู้ ท าหน้ าที่กัล ยาณมิตรนั้นถึงเวลาจะว่ากล่ าวสอนจาตอง ว่ากล่าวสอน แนะนา การว่ากล่าวสอน แนะนานั้น แม้จะเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชนต่อผู้ฟัง เช่น การพูด เรื่องศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา สาหรับผู้เป็นมิจฉาทิฐิ ผู้ไมมีศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา ย่อมไม เป็นที่ชอบใจ จึงแสดงออกมาในรูปแบบของการใช้ถ้อยคาที่หยาบคาย ต่อต้านติเตียน สาหรับผู้เป็น สัมมาทิฐิย่อมชอบใจแสดงออกมาในรูปแบบของการสรรเสริญยกย่องแสดงความพอใจเมื่อธรรมดา เป็นเช่นนี้ ผู้ทาหน้าที่กัลยาณมิตรจะต้องรู เท่าทัน อดทนได ทั้งถ้อยคาที่ไมน่าปรารถนา และถ้อยคา ที่น่าพอใจ คือไมยินดียินร้ายจนเกินไป การอดทนต่อถ้อยคาที่ไมน่ายินดีก็นับว่ายากยิ่งแล้ว สิ่งที่ยาก ยิ่ ง กว่ า คื อ การอดทนต่ อ สิ่ งที่ น่ า ยิ น ดี นี่ เป็ น อี ก ด้ า นหนึ่ ง ที่ ส าคั ญ ส าหรั บ บุ ค คลผู้ ท าหน้ า ที่ เป็ น กัลยาณมิตร ผู้อดทนต่อถ้อยคาหรือเสียงนี้ ฉะนั้น บัณฑิตหรือผู้ทาหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรจึงต้องฝึก จิตของตนไมให้เอนเอียง คือไมหวั่นไหว ไมสะเทือนต่อโลกธรรม ๘ ด้วยอานาจความยินดีหรือยิน ร้าย ให้ สมตามพระพุทธพจน์ที่ว่า “ภูเขาศิลาล้วน เป็นแท่งเดียว ย่อมไมสะเทือนด้วยลมฉันใด บัณ ฑิต ทั้งหลาย ย่อมไมเอนเอียงในเพราะนินทาและสรรเสริญฉันนั้น”๑๓๓ ประการที่ ๖ คมฺ ภีร ฺจ กถ กตฺตา เป็ นผู้ ที่กล่ าวถ้อยคาหรือเรื่องที่ ลึ กซึ้ งได คากล่ าว สอนธรรมดาสามัญก็เป็นความดีของกัลยาณมิตรอยู่ทั่วไปแล้ว แต่กัลยาณมิตรที่มีคุณสมบัติพิเศษที่ จะ ช่วยลูกศิษย์ไดอย่างแท้จริงก็คือ ผู้ที่สามารถนาให้เขาถึงสิ่งที่ลึกซึ้งให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป อันนี้จะเป็น ปัจจัยที่ ทาให้ เราสามารถก้าวหน้ าในการปฏิบัติ ถาเรื่องลึกซึ้งขึ้นไป ท่านไมสามารถแนะนาไดเราก็ อยู่ใน ระดับธรรมดา ความก้าวหน้าในการปฏิบัติ ก็ ไมเป็นไปเท่าที่ควรไปไมไกล หรือไมถึงที่สุด จึงจะต้องมี คุณลักษณะข้อที่ ๖ คือสามารถที่จะแถลงชี้แจงเรื่องลึกซึ้งไดด้วย ในที่นี้คง หมายถึงเรื่อง ที่เกี่ยวกับ

๑๓๓

ส. สคาถ. (ไทย) ๑๕/๓๑/๓๕.

๗๐ ฌาน วิปสสนา มรรค ผล และนิพพาน หรืออีกนัยหนึ่ง ถ้อยคาที่ควรพูดในการทา หน้าที่กัลยาณมิตร คือ กถาวตถุ ๑๐๑๓๔ ประการที่ ๗ ข้อสุดท้าย นอกจากจะช่วยแนะนาในทางที่ดีให้ความรูเข้าใจ เกิดความรูสึก ในทางที่ดีงามและปฏิบัติถูกต้องแล้ว อีกด้านหนึ่งก็มีกรอบในทางที่ไมให้เกิดความเสื่อมเสียขึ้น คือ โน จฏฐาเน นิโยชเย แปลว่าไมชักจูงในสิ่งที่เหลวไหลไรสาระ หรือในทางที่เสียหาย คือป้องกัน ไมให้ ทาในสิ่งที่ไมเป็นประโยชนเกื้อกูล มีคติเป็นทุกข์ ทาให้เกิดความรู สึกสบายใจ ปลอดโปร่ง ปลอดภัย ขึ้นมาว่า จะไมทาให้เกิดความเสียหา และเฉออกไปผิดทาง ชักชวนให้ทาแต่สิ่งที่เป็น ประโยชนเกื้อกูล มีคติเป็นสุข ผู้ต้องการประโยชนจากการไดคบหามิตร พระพุทธองค์ตรัสว่าควรคบ ผู้มีคุณสมบัติตามที่ กล่าวมา แม้จะถูกขับไล่ก็ควรเข้าไปหา ดังความในพุทธภาษิตที่ตรัสสรุปไววา มิตรเป็นที่รัก เป็นที่ เคารพ เป็นที่ยกย่อง เป็นนักพูด เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคา พูดถ้อยคาลึกซึ้งได ไมชักนาในอฐานะในโลกนี้ ฐานะเหล่านี้มีอยู่ในบุคคลใดบุคคลนั้น จัดว่าเป็นมิตรผู้มุ่งประโยชน และ อนุเคราะห์ ผู้ต้องการจะคบ มิตร ควรคบมิตรเช่นนั้นแม้จะถูกขบไล่ก็ตาม”๑๓๕ ในพุ ท ธธรรมของพระธรรมปิ ฎ ก (ป.อ. ปยุ ตฺ โ ต) ๑๓๖ ไดสรุ ป คุ ณ สมบั ติ ที่ ส าคั ญ ของ กัลยาณมิตรอย่างเลิศไวมีสองประการ คือ ทาไดอย่างที่พูดและมีความเป็นอิสระ สาหรับผู้มีความ ปรารถนาที่จะช่วยเหลื อผู้อื่น ในฐานะที่เป็นกัลยาณมิตรมีความสาคัญอย่างยิ่ง คือ ต้องมีคุณธรรม คุณธรรมที่สาคัญที่สุดต่อบุคคลผู้ทาหน้าที่กัลยาณมิตรคือ ความเป็นผู้กระทาไดจริง พูดอย่างไร ทาได อย่างนั้น หรือทาอย่างไรพูดอย่างนั้น นี่คือ ตัว ดึงดูด อันแรกที่ปรากฏต่อสายตา ผู้ไดดู ไดฟัง พระผู้มี พระภาคไดตรัสเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่า “เหมือนเมฆที่คารามและให้ฝนตก” เป็นเมฆคารามที่ให้ ความหวังแกสัตว์และพืชได สวนความเป็นอิสระท่านกล่าวว่า มองได ๒ ด้าน คือ ด้านความเป็นอยู่หรือระบบการ ดาเนินชีวิต และความเป็นอิสระภายในใจ ความเป็นอิสระนี้เป็นสิ่งสาคัญ ผู้ที่ติดอยู่ในเครื่องผูกมัด จองจาอย่างเดียวกับเขา หรือว่าว่ายวนดิ้นรนอยู่ในกระแสน้าเชี่ยวในเกลียวคลื่นเดียวกับคนอื่น แม้แต่ ตนก็ยังช่วยไมได จะช่วยปลดเปลื้องหรือรื้อถอนผู้อื่นขึ้นมาไดอย่างไร คนที่ติดอยู่ในระบบที่ ผูกรัดของ สังคม ดิ้นรนแสวงหาสิ่งต่าง ๆ ตามแนวทางเดียวกับคนอื่น ๆ ด้วยค่านิยมอย่างเดียวกัน มี ปัญหาบีบ รัดกดดันทางด้านความเป็นอยู่ การอาชีพของตนและครอบครัวดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด เฉพาะตนและ จาเพาะครอบครัวของตนเหมือนกันกับคนอื่น ๆ เมื่อสังคมเกิดปัญหาย่อมยากที่จะมี เวลามีความคิด มาอุทิศให้แกการไถถอนคนอื่น ๆ หรือที่จะนาผู้คนออกไปสูแนว ทางใหม่ ๆ ได เมื่อ พยายามทาก็มัก เข้าแนวที่ว่ากันว่า พายเรือเวียนวนอยู่อ่าง ยิ่งเมื่อทั้งระบบความเป็นอยู่ทั้งจิตใจ ล้วน ไมเป็นอิสระทั้ง สองอย่าง ก็ยิ่งประสบความสาเร็จไดยาก

๑๓๔

องฺ. จตุก. (ไทย) ๒๑/๒๔๒/๓๕๘. องฺ. สตฺตก. (ไทย) ๒๒/๓๗/๕๘. ๑๓๖ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, หน้า ๕๗๓. ๑๓๕

๗๑ กล่ าวโดยสรุป กัล ยาณมิตร ในแงทาหน้าที่ ต่อผู้ อื่น สมควรมีคุณ สมบัติพิ เศษจาเพาะ ส าหรั บ การท าหน้ าที่ นั้ น อี ก สวนหนึ่ ง โดยเฉพาะคุ ณ สมบั ติ พื้ น ฐาน ที่ เรีย กว่า กัล ยาณมิ ต รธรรม ๗ ประการ ดังนี้๑๓๗ ๑. ปิโย น่ ารัก คือ เข้าถึงจิตใจ สร้างความรู สึกสนิทสนม เป็นกันเอง ชวนใจผู้เรียนให้ อยากเข้าไปปรึกษาไตถาม ๒. ครุ น่ าเคารพ คื อ มีค วามประพฤติส มควรแกฐานะ ท าให้ เกิ ดความรู สึ กอบอุ่ น ใจ เป็นที่พึ่งได และปลอดภัย ๓. ภาวนีโย น่าเจริญใจ คือ มีความรูจริง ทรงภูมิปัญญาแท้จริง และเป็นผู้ฝึกฝนปรับปรุง ตนอยู่ เสมอ เป็นที่น่ายกย่อง ควรเอาอย่าง ทาให้ศิษย์เอ่ยอ้าง และราลึกถึง ด้วยความซาบซึ้ง มั่นใจ และภาคภูมิใจ ๔. วัตตา รูจักพูดให้ไดผล คือ พูดเป็น รูจักชี้แจงให้เข้าใจ รูว่าเมื่อไรควรพูดอะไร อย่างไร คอยให้ คาแนะนาว่ากล่าว ตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี ๕. วจนักขโม ทนต่อถ้อยคา คือ พรอมที่จะรับฟังคาปรึกษาซักถามแม้จุกจิก ตลอดจนคา ล่วงเกิน และคาตักเตือนวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ อดทนฟังได ไมเบื่อหน่าย ไมเสียอารมณ์ ๖. คั ม ภี รั ญ จะ กะถั ง กั ต ตา แถลงเรื่อ งล้ าลึ ก ได คื อ กล่ าวชี้ แจงเรื่อ งต่ าง ๆ ที่ ลึ ก ซึ้ ง ซับซ้อนให้เข้าใจได และสอนศิษย์ให้ไดเรียนรูเรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป ๗. โน จัฏ ฐาเน นิ โยชะเย ไมชักนาในอฐาน คือ ไมชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย หรือเรื่อง เหลวไหลไม สมควร (๓) อานิ สงส์ ผู้ เป็ น กั ล ยาณมิ ตร ผู้ ท าหน้ าที่ เป็ น กั ล ยาณมิต รเองก็ไดรับ อานิสงส์เช่นกันคือ จะเป็นผู้มีความเจริญรุ่งเรือง ในชีวิตไปทุกภพทุกชาติ มีความไมตกต่าเป็นธรรมดา มีโอกาสที่จะไดเวียนวนอยู่ในสุคติภูมิ คือ ย่อมไดเกิดในสถานที่ที่ผู้คนมีศีลธรรม ไมเดือดร้อนด้วยที่อยู่ ย่อมมีบุตรภรรยา ตลอดจนบริวารชน ที่ตั้งอยู่ในโอวาท ย่อมเป็นผู้มีเสนหเป็นที่รักและเคารพนับถือ ของผู้ ค น ย่ อ มเป็ น ผู้ มี ค วามทรงจ าดี ปฏิ ภ าณว่อ งไว และปั ญ ญาดี ย่ อ มมี อ าชี พ และกิ จ การเป็ น หลักฐานมั่นคงตลอดไป ย่อมปลอดภัยจากอัคคีภัย โจรภัย อุทกภัย ราชภัย และศัตรูหมูพาลทั้งหลาย ยอมเป็ น ผู้ มี ร่ างกายแข็ งแรง สมส่ ว น สง่างาม มี อ านาจมาก ย่ อ มมี จิ ต ใจมั่ น คง เข้ ม แข็ ง อดทน มีเหตุผล ไมหวั่นไหวในโลกธรรม ๘ ไมสะดุง กลัวต่อการเกิดในภพต่อไป สามารถแสดงธรรมให้ชัดเจน ท่ามกลาง ประชุมชน ย่อมไปบังเกิดใน สวรรค์ ไดดวงตาเห็นธรรมบรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย เป็นสัจจะธรรมอีกข้อหนึ่งที่ว่า ไมมีใครไดอะไรมาเปลา หรือง่าย ขณะที่ไดอะไรสักอย่าง หนึ่งอีกอย่างหนึ่งกาลังจากไป หรือกว่าจะไดบรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการก็ต้องเจออุปสรรคเข้ามาเป็น ตัวทดสอบอยู่เป็นระยะ ๆ หากมองในแงบวกก็เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน เสริมความแข็งแกร่งให้แก จิต ผู้ทา หน้าที่เป็นกัลยาณมิตรก็เช่นกัน ต้องพบกับอุปสรรคในระหว่างทาหน้าที่๑๓๘

๑๓๗ ๑๓๘

เถระ”, หน้า ๔๓.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, หน้า ๕๗๓. พระจะจู ญาณวิชโย(รักษาป่า), “การศึกษาวิเคราะห์ความเป็นกัลยาณมิตรของพระสารีบุตร

๗๒ ๒) หลักสัปปุริสธรรม ๗ สั ตบุรุษ คือคนดี หรือคนที่แท้ มีธรรมของสั ตบุรุษ เรียกว่า สัปปุริสธรรม ๗ ประการ ดังนี้๑๓๙ (๑) ธั ม มั ญ ญุ ต า รู ห ลั ก และรู จั ก เหตุ คื อ รู ห ลั ก ความจริ งของธรรมชาติ รูหลักการ กฎเกณฑ์แบบแผน หน้าที่ ซึ่งจะเป็นเหตุให้กระทาการไดสาเร็จผลตามความมุ่งหมาย เช่น ภิกษุรูว่าหลักธรรมที่ตนจะต้องศึกษาและ ปฏิบัติคืออะไร มีอะไรบ้าง ผู้ปกครองรูธรรมของผู้ปกครอง คือรูหลักการปกครอง (๒) อัตถัญญุตา รูความมุ่งหมายและรูจักผล คือ รูความหมายและความมุ่ง หมายของหลักธรรม หรือ หลักการ กฎเกณฑ์ หน้าที่ รู ผลที่ประสงค์ของกิจที่จะกระทา เช่น ภิกษุรูว่า ธรรมที่ตนศึกษาและปฏิบัตินั้น ๆ มี ความหมายและความมุ่งหมายอย่างไร ตลอดจนรู จักประโยชนที่ เป็นจุดหมายหรือสาระของชีวิต (๓) อัตตัญญุ ตา รูจักตน คือ รู ฐานะ ภาวะ เพศ กาลัง ความรู ความถนัด ความสามารถ และคุณธรรม เป็ นต้น ของตน ตามเป็นจริง เพื่อประพฤติปฏิบัติไดเหมาะสม และให้ เกิดผลดี เช่น ภิกษุรูว่าตนมีศรัทธา ศีล สุ ตะ จาคะ ปัญญา และปฏิภาณแคไหน (๔) มัตตัญญุตา รูจักประมาณ คือ รูความพอเหมาะพอดี เช่น รูจักประมาณ ในการบริโภคอาหาร ใน การใช้จ่ายทรัพย์ ภิกษุรูจักประมาณในการรับปัจจัย ๔ เป็นต้น (๕) กาลั ญ ญุ ตา รูจักกาล เช่น รูว่าเวลาไหน ควรทาอะไร รู จักเวลาเรียน เวลาทางาน เวลาพักผ่อน เป็นต้น (๖) ปริ สั ญ ญุ ต า รู จั ก ชุ ม ชน คื อ รู จั ก ถิ่ น รู จั ก ที่ ชุ ม นุ ม และชุ ม ชน รู จั ก มารยาท ระเบียบวินัย ขนบธรรมเนียมประเพณี และข้อควรรูควรปฏิบัติ ต่อชุมชนนั้น ๆ (๗) ปุ ค คลั ญ ญุ ตา รู จั ก บุ ค คล คื อ รู ค วามแตกต่ า งระหว่ า งบุ ค คล โดยอัธยาศัย ความสามารถ และ คุณธรรม เป็นต้น เพื่อปฏิบัติต่อผู้นั้นโดยถูกต้อง เช่นว่า ควรจะคบ หรือ ไม จะเกี่ยวข้อง จะใช้ จะยกย่อง จะตาหนิ หรือจะแนะนาสั่งสอนอย่างไร จึงจะไดผลดี เป็นต้น พระพุทธเจ้าตรัสถึงประโยชนจากการไดอาศัยสัตบุรุษหรือกัลยาณมิตรว่า “เหมือนก้อน เมฆใหญ่ เมื่อตกลงมาให้ข้าวกล้าทั้งปวงเจริญงอกงาม ย่อมตกเพื่อประโยชน เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แกคนหมูมากฉันใด สัตบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล ก็ฉันนั้นเหมือนกัน กล่าวคือ ย่อมเกิดมาเพื่อประโยชน เพื่อเกื้อกูล และเพื่อสุขแกคนจานวนมาก ไดแก มารดาบิดา บุตรภรรยา ทาส กรรมกร คนใช้ มิตร และอามาตย์ ญาติผู้ล่วงลบไปแล้ว รวมถึงพระราชา เหล่าเทวดา สมณพราหมณ์๑๔๐ สัตบุรุษย่อมเกิดมาเพื่อประโยชน เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแกมารดาบิดา คือ สัตบุรุษ หรือกัลยาณมิตร มีความกตัญ ูกตเวทิตาเป็นเลิศ ย่อมนึกถึงบุญคุณของท่านทั้งสองเสมอ เลี้ยงดูท่าน ด้วยความสุขทั้งสองทาง คือ ทางกาย มีการจัดหาอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยอันสมควรแกฐานะ ของตน ในยามท่านเจ็บไขไดป่วยดูแลรักษาท่านให้อยู่เป็นสุขทางกาย และทางใจ รักษาน้าใจ ท่านไม กระทาสิ่งอันเป็นเหตุกระทบกระเทือนจิตใจท่าน แมกระทั่งหากท่านทั้งสองเป็นผู้มีความเห็นผิด ไมมี ๑๓๙

พระพรหมคุ ณ าภรณ์ (ป.อ. ปยุ ตฺ โ ต), พุ ท ธธรรม ฉบั บ ปรั บ ขยาย, พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ ๓๒, (กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ผลิธัมม์, ๒๕๕๕), หน้า ๕๖๙. ๑๔๐ องฺ. อฎฐก. (ไทย) ๒๓/๑๓๘/๒๙๗.

๗๓ ความเชื่อหรือเลื่อมใสในการให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น จะต้องพยายามหาอุบายวิธี ให้ท่านดาเนิน ในทางนี้เพราะการชักนาท่านดาเนินทางนี้ถือไดว่า เป็นการช่วยท่านอย่างแท้จริง คือ ท่านมีธรรมะ เป็ นตัวกากับ ดาเนิน ชีวิต อัน เป็ นการสร้างเหตุแห่งความมั่นใจไดแน่นอนว่า มีที่พึ่งที่ แท้จริง นี่คือ มารดาบิดาที่ไดประโยชนจากการไดอาศัยบุตรผู้เป็นกัลยาณมิตร สัตบุรุษย่อมเกิดเพื่อประโยชน เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแกบุตรภรรยา คือ สัตบุรุษจะ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม มีธรรมเป็นเข็มทิศในการดาเนินชีวิต รูจักทางที่เป็นประโยชนและไมเป็นประ โยชนพรอมทั้งประโยชนโลกนี้และโลกหน้า ไมแสวงหาทรัพย์ที่ไดมาโดยทุจริต ประกอบแต่ กรรมที่ สุจ ริตเลี้ ย งดูบุ ตรและภรรยา ส่ งเสริมอบรมบุตรให้ มีศิล ปะ เพื่ อใช้สาหรับการดารงชีพ ห้ ามไมให้ กระทาความชั่ว โดยมีตนเป็นแบบอย่างทาให้ดูมากกว่าการสั่งสอนด้วยคาพูด และยกย่อง ภรรยาของ ตน มีธรรมข่มใจ ไมนอกใจทั้งในที่ลับหลัง ให้เกียรติยกความเป็นใหญ่ภายในบ้าน ให้ของขวัญตามแต่ โอกาส สั ต บุ รุ ษ ย่ อ มเกิ ด เพื่ อ ประโยชน เพื่ อ เกื้ อ กู ล เพื่ อ ความสุ ข แกทาส กรรมกรคนรั บ ใช้ คือ สัตบุรุษนั้นมีพรหมวิหารธรรม ๔ มีความผ่อนหนักผ่อนเบา ในยามมีงานใช้ก็ใช้ ในคราวเจ็บไขได ป่วยก็ช่วยดูแลรักษา ปล่อยให้ไดรับความบันเทิงในโอกาสที่ควรไดรับการบันเทิง ไมถือตัวจนเกินเหตุ ว่าตนเองเป็ น นายจ้ าง นึ ก ถื อ ความเป็ น คน จึ งเป็ น เหตุ ให้ ท าส กรรมกร คนรับ ใช้ ทั้ งหลายได รั บ ความสุข สัตบุรุษย่อมเกิดเพื่อประโยชน เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแกมิตรและอามาตย์ คือ สัตบุรุษ ไมนิ ยมเอารัดเอาเปรียบใครเวลาคบกับใคร ไมไดคบด้วยความหวังประโยชนจากฝ่าย ตรงกันข้าม ตามที่ควรจะเป็น เป็นผู้แนะนาประโยชนแกมิตรสหาย เป็นที่พึ่งในยามทุกข์ยาก สั ต บุ รุ ษ ย่ อ มเกิ ด เพื่ อ ประโยชน เพื่ อ เกื้ อ กู ล เพื่ อ ความสุ ข แกญาติ ผู้ ล่ ว งลั บ ไปแล้ ว คือ สัตบุรุษนั้นย่อมเป็นผู้มีความกตัญ ูกตเวที ย่อมนึกถึงอุปการะที่ญาติผู้ล่ว งลับเคยไดสร้างไวหรือ ไมอาจนึกถึงได แต่เป็นธรรมของสัตบุรุษเป็นผู้ชอบขวนขวายประโยชนมีจิตใจกว้างขวางไมเพียงแต่กับ ผู้มีชีวิตอยู่เท่านั้น ยังแผ่ถึงญาติผู้ล่วงลับไดรับความสุขจากการที่ท่านสร้างความดี สัตบุรุษย่อมเกิดเพื่อประโยชน เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุ ขแกพระราชา คือสัตบุรุษ จะไป เกิดในแว่นแคว้นหนหรือประเทศใด พระราชาผู้ปกครองประเทศนั้นจะไดรับความสงบสุข ทาความ เจริญให้เกิด เป็นที่ปรึกษาของพระราชา แบ่งเบาภาระหนักให้เบาบางลงได เมื่อพระราชามี สัตบุรุษ อยู่ด้วยพระองค์ย่อมดาเนินกิจกรรมบริหารประเทศไดดี ซึ่งก็จะมีผลพวงถึงความสงบสุข ประชาชน นั้นเอง จึงไดชื่อว่าสัตบุรุษเกิดมาเพื่อประโยชน เกื้อกูล ความสุขแกพระราชา๑๔๑ สั ต บุ รุ ษ ย่ อ มเกิ ด เพื่ อ ประโยชน เพื่ อ เกื้ อ กู ล เพื่ อ ความสุ ข แกเหล่ าเทวดา คื อ สั ต บุ รุ ษ นอกจากเป็นผู้ไมนิยมในทางชั่วแล้ว ยังยินดีในทางที่ดีเป็นกุศล เมื่อสัตบุรุษยินดีในการสร้างบุญสร้าง กุศล เหล่าเทพเทวาย่อมยินดีอนุโมทนาการสร้างความดีงามของสัตบุรุษเป็นเหตุให้เหล่า เทวดายินดี ย่อมทาให้เหล่าเทวดามีความสุข ถือไดว่าอาศยสัตบุรุษเป็นเหตุ ทาให้เทวาไดที่พึ่งที่ดี

๑๔๑

เถระ”, หน้า ๔๑.

พระจะจู ญาณวิชโย(รักษาป่า), “การศึกษาวิเคราะห์ความเป็นกัลยาณมิตรของพระสารีบุตร

๗๔ สัตบุ รุษย่ อมเกิดเพื่อประโยชนเพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุ ขแกสมณพราหมณ์ คือสัตบุรุษ ย่อมรูวิธีปฏิบัติต่อสมณพราหมณ์ ย่อมบารุงด้วยปัจจัยเครื่องดารงชีพที่เหมาะสมแกท่าน ย่อมเข้าหา เพื่อสอบถามข้อติดขัด ขัดข้องในการดาเนินชีวิต เมื่อสมณะพราหมณ์ไดรับการปฏิบัติและไดรับการ บารุงด้วยปัจจัยสี่ย่อมอบรมสั่งสอนกุลบุตรให้ตั้งอยู่ในทางเจริญไมเสื่อม ทาให้เกิดวงจรปฏิสัมพันธ์ ทางบวกที่ก่อให้เกิดประโยชนทั้งสองฝ่าย ๓) พรหมวิหารธรรม ๔ พรหมวิห ารธรรม หมายถึง ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ ธรรมประจาใจอัน ประเสริฐ หลักความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์ หลักธรรมข้อนี้นับว่า เป็นสิ่ งสาคัญสาหรับผู้ใหญ่หรือ ผู้ปกครองที่จาเป็นจะต้องประพฤติปฏิบัติ ๑๔๒ อีกทั้งพรหมวิหารธรรม “.เป็นธรรมเครื่องอยู่อาศัยที่ ประเสริฐ และไม่มีโทษ”๑๔๓ พรหมวิหารธรรม มี ๔ ประการ ดังนี้๑๔๔ (๑) เมตตา คือความรัก ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรี และคิดทาประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า (๒) กรุณา คือความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจอันจะปลดเปลื้องบาบัด ความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวง สัตว์ (๓) มุ ทิ ต า คื อ ความยิ น ดี ในเมื่ อ ผู้ อื่ น อยู่ ดี มี สุ ข มี จิ ต ผ่ อ งใสบั น เทิ ง ด้ ว ย อาการแช่มชื่น เบิกบานอยู่เสมอต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดารงในปกติสุข พลอยยิ นดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้น (๔) อุ เบกขา คื อ ความวางใจเป็ น กลาง อั น จะให้ ด ารงอยู่ ในธรรมตามที่ พิ จ ารณาเห็ น ด้ ว ยปั ญ ญา คื อ มี จิ ต เรี ย บตรง เที่ ย งธรรมดุ จ ดั งตราชั่ ง ไม่ เอนเอี ย งด้ ว ยรัก และชั ง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลาย ประทีป พืชทองหลาง๑๔๕ กล่าวถึง พรหมวิหารธรรมว่า เป็นการแสดงออกจากส่วนลึก ของจิตใจ คือ ความรัก ความปรารถนาดี อยากให้สัตว์และบุคคลดารงอยู่ในความดีงาม ประสบสุข เป็ น ประโยชน์ เป็ นความบริสุทธิ์ที่มีต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้ง หลายในฐานะที่เป็นเพื่อนร่วมโลก เป็นความรักกลาง ๆ อย่างเผื่อแผ่ เป็นคุณธรรมภายในซึ่งยังไม่ได้นาไปสู่ภาคปฏิบัติ เป็นคุณธรรม พื้นฐานขั้นแรกของจิตใจที่จะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทาให้มองเห็นความหวังดีต่อกัน พร้อม ที่จะรับฟังและเจรจาด้วยเหตุผลซึ่งกันและกัน ไม่ยึดติดความคิดเห็นแก่ตัว แต่ปรารถนาดีต่อทุกคน อย่างเสมอภาคและเที่ยงธรรม กล่ าวโดยสรุ ป ผู้ ให้ ก ารปรึก ษาแนวพุ ท ธจิต วิท ยา พึ งมี ห ลั กพรหมวิห าร ๔ ประการ คื อ เมตตา การมี ค วามรั ก ความปรารถนาดี มุ่ ง หวั ง ให้ ผู้ รั บ การปรึ ก ษามี ค วามสุ ข โดยไม่ ห วั ง ผลประโยชน์ตอบแทน มีความกรุณา มีความสงสาร ต้องการช่วยเหลือให้พ้นจากความทุกข์ ความ ยากลาบากที่เกิดขึ้น ยินดีช่วยเหลือดูแลให้สามารถคลี่คลายปัญหาได้ ให้ความช่วยเหลืออย่างจริงใจ ๑๔๒

ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๐๕/๒๗๕. วิ.มหา. (ไทย) ๒/๗๘๘/๖๔๗. ๑๔๔ พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ ๑๑, (กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จากัด, ๒๕๔๕), หน้า ๑๒๔. ๑๔๕ ประทีป พืชทองหลาง, “รูปแบบการปรึกษาเชิงพุทธตามหลักกัลยาณมิตร”, หน้า ๗๕. ๑๔๓

๗๕ โดยไม่เห็ น แก่ ความเหน็ ดเหนื่ อยและเบื่อหน่าย มีมุทิตา การมีความยินดีกับผู้ อื่น เมื่อเห็ นผู้ อื่น มี ความสุ ขสมหวัง หรือประสบ ความส าเร็จในด้านต่าง ๆ มีความยินดี ให้ อย่างจริงใจ รู้สึ กเบิกบาน พลอยมีความสุขกับเขาไปด้วย เพราะมีความปรารถนาอยากเห็นทุกคนมีความสุขอยู่แล้ว จึงพลอย ยินดีเป็นอย่างยิ่ง เสมือนเป็นความสุขของตนเอง ไม่ไปอิจฉาริษยา ในความสุขความสาเร็จของผู้อื่น แม้ แต่ น้ อย ยิ่ งถ้ าเห็ น ผู้ อื่น มี ค วามสุ ขมากเท่ าใด เราก็ จ ะมี ความสุ ขมากขึ้ น เท่ านั้ น และ อุ เบกขา การวางตัวเป็นกลาง มีความหนักแน่น มั่นคง ไม่หวั่นไหวในการทาหน้าที่ผู้ให้การปรึกษา ๔)สังคหวัตถุ ๔ พระพุทธองค์ตรัสในสังคหวัตถุสูตร “ภิกษุทั้งหลาย สังคหวัตถุ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ทาน การให้ ๑ เปยยวัชชะ ความเป็นผู้มีวาจาน่ารัก ๑ อัตถจริยา ความประพฤติ ประโยชน์ ๑ สมานัตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายสังคหวัตถุ ๔ ประการนี้แลฯ”๑๔๖ พระพรหมคุณาภรณ (ป.อ.ปยุตฺโต) ๑๔๗ ไดให้ความหมายของสังคหวัตถุ ๔ ธรรมเครื่องยึด เหนี่ยวใจคน และประสานหมูชนไวในสามัคคี ดังต่อไปนี้ (๑) ทาน ให้ปัน คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือสงเคราะห์ด้วยปัจจัยสี่ทุน หรือทรัพยสินสิ่งของ ตลอดจนให้ความรูความเข้าใจ และศิลปวิทยา (๒) ปยวาจา พูดอย่างรักกัน คือ กล่าวคาสุภ าพ ไพเราะ น่าฟัง ชี้แจงแนะนาสิ่งที่เป็น ประโยชน มีเหตุผลเป็นหลักฐาน ชักจูงในทางที่ดีงาม หรือคาแสดงความเห็นอกเห็นใจ ให้กาลังใจ รูจักพูดให้เกิดความเข้าใจดี สมานสามัคคี เกิดไมตรี ทาให้รักใครนับถือและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน (๓) อัตถจริยา ทาประโยชนแกเขา คือ ช่วยเหลือด้วยแรงกาย และขวนขวาย ช่วยเหลือ กิจการต่าง ๆ บาเพ็ญสาธารณประโยชน รวมทั้งช่วยแกไขปัญหาและช่วยปรับปรุง ส่งเสริมในด้าน จริยธรรม (๔) สมานัตตตา เอาตัวเข้าสมาน คือ ทาตัวให้เข้ากับเขาได วางตนเสมอต้นเสมอปลายให้ ความเสมอภาค ปฏิบัติสม่าเสมอต่อคนทั้งหลาย ไมเอาเปรียบและเสมอในสุขทุกข์ คือ ร่วมสุขร่วม ทุกข์ ร่วมรับรู ร่วมแกไขปัญหาเพื่อให้เกิดประโยชนสุขร่วมกัน โดยสรุป คนดี มีปัญญา ที่เรียกว่าบัณฑิต หรือสัตบุรุษนี้ เมื่อใครไปเสวนาคบหา หรือเมื่อ เขาทาหน้าที่เผยแพร่ความรู้ หรือความดีงามแก่ผู้อื่น ชักจูงให้ผู้อื่นมีความรู้ความเห็นถูกต้อง หรือให้มี ศรัทธาที่จะถือตามอย่างตน อย่างใดอย่างหนึ่ง จะโดยการสั่งสอน การแนะนา หรือกระจายความรู้ ความเข้าใจนั้นออกไปทางหนึ่งทางใดก็ตาม ด้วยความปรารถนาดี ด้วยความเมตตากรุณา ก่อให้เกิด สัมมาทิฐิ และการประพฤติดีปฏิบัติชอบขึ้นก็เรียนกว่า เป็นกัลยาณมิตร ๒.๒.๘.๒ หลักโยนิโสมนสิการ เพื่อคุณสมบัติของผู้รับการปรึกษา ความหมายของโยนิโสมนสิการ ว่าโดยรูปศัพท์ โยนิโสมนสิการ ประกอบด้วย โยนิโส กับ มนสิ การ โยนิ โส มาจาก โยนิ ซึ่งแปลว่า เหตุ ต้น เค้ า แหล่ งเกิด ปั ญ ญา อุบ าย วิธี ทาง ส่ ว น

๑๔๖

องฺ.จตุกฺก. (ไทย) ๒๑/๓๒/๓๒. พระพรหมคุณาภรณ (ป.อ. ปยุตฺโต), ธรรมนูญชีวิต, พิมพ์ครั้งที่ ๔, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, ๒๕๕๐), หนา ๑๓-๑๔. ๑๔๗

๗๖ มนสิการ แปลว่า การทาในใจ การคิด คานึง นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา เมื่อรวมเข้ าเป็นโยนิโสมนสิการ ท่านแปลสืบ ๆ กันมาว่า การทาในใจโดยแยบคาย๑๔๘ ๑) ลักษณะของโยนิโสมนสิการ คัมภีร์อรรถกถา และฎีกาได้ไขความไว้ โดยวิธี แสดงไวพจน์ให้ลักษณะการคิดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) อุบ ายมนสิ การ แปลว่า คิดหรือพิจารณาโดยอุบ าย คือ คิดอย่างมีวิธี หรือคิดถูกวิธี หมายถึงคิดถูกวิธีที่จะให้เข้าถึงความจริง สอดคลองเข้าแนวสัจจะ ทาให้หยั่งรู้สภาวะ ลักษณะและสามัญลักษณะของสิ่งทั้งหลายได้ (๒) ปถมนสิการ แปลว่า คิดเป็นทาง หรือคิดถูกทาง คือ คิดได้ต่อเนื่องเป็น ลาดับจัดลาดับได้ หรือมีลาดับมีขั้นตอน แล่นไปเป็นแถวเป็น แนว หมายถึง ความคิดเป็นระเบียบตาม แนวเหตุผล เป็นต้น ไม่ยุ่งเหยิงสับสน ไม่วกไปวนมาทาให้งง คือ คิดกระโดดไปกระโดดมา ต่อเป็นชิ้น เป็นอันไม่ได้ ทั้งนี้รวมทั้งความสามารถที่จะชักความนึกคิดเข้าสู่แนวทางที่ถูกต้อง (๓) การณมนสิการ แปลว่า คิดตามเหตุคิดค้นเหตุคิดตามเหตุผล หรือคิด อย่างมีเหตุผล หมายถึง การคิดสืบค้นตามแนวความสัมพันธ์สืบทอดกันแห่งเหตุปัจจัย พิจารณาสืบ สาวหาสาเหตุให้เข้าใจถึงต้นเค้า หรือแหล่งที่ซึ่งส่งผลต่อเนื่องมาตามลาดับ (๔) อุปปาทกมนสิการ แปลว่า คิดให้เกิดผล คือ ใช้ความคิดให้เกิดผล ที่พึง ประสงค์ เล็งถึงการคิดอย่างมีเป้าหมาย หมายถึง การคิดพิจารณาที่ทาให้เกิดกุศลธรรม เช่น ปลุกเร้า ให้ เกิดความเพียร การรู้ จักคิดในทางที่ทาให้หายหวาดกลัว ให้หายโกรธ การพิจารณาที่ทาให้ มีสติ หรือทาให้จิตใจเข้มแข็งมั่นคง เป็นต้น๑๔๙ สรุปได้ว่าความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด การคิดเป็น การคิดตรงตามสภาวะและเหตุปัจจัย การคิดสื บ ค้น ถึงต้น เค้า เป็น ต้น หรือถ้าเข้าใจความหมายดีแล้ว จะถือตามคาแปลสืบ ๆ กันมาว่า “การทาในใจ โดยแยบคาย” ความสัมพันธ์ระหว่างโยนิโสมนสิการที่เป็นองค์ประกอบภายในนี้กับ ปรโตโฆสะดีงาม หรือกัลยาณมิตร ที่เป็นองค์ประกอบภายนอก ในตอนนี้พึงสังเกตให้ละเอียดลงไปอีก ว่า ถ้าบุคคลคิดเองไม่เป็น คือไม่รู้จักใช้โยนิโสมนสิการ กัลยาณมิตรจึงอาศัยศรัทธาเข้ามาช่วยเหลือ ๒) ความสาคัญของโยนิโสมนสิการ คัมภีร์ปปัญจสูทนี กล่าวถึง อโยนิโสมนสิการว่า เป็นมูลแห่งวัฏฏะ ทาให้ ว่ายวน อยู่ในทุกข์ หรือสะสมหมักหมมปัญหา และชี้แจงว่า เมื่ออโยนิโสมนสิการเจริญงอกงามขึ้น ก็พอกพูน อวิชชา และภวตัณหา - เมื่อ อวิชชา เกิดขึ้น ก็เข้าสู่กระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาท เริ่มแต่ อวิชชาเป็นปัจจัยให้ เกิดสังขาร เป็นต้นไป จนเกิดกองทุกข์ครบถ้วนบริบูรณ์ - แม้เมื่อ ตัณหา เกิดขึ้น ก็เข้าสู่กระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาทเช่นเดียวกัน เริ่มแต่ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานส่งต่อตามลาดับนาไปสู่ความเกิดพร้อมแห่งกองทุกข์

๑๔๘

พระพรหมคุ ณ าภรณ์ (ป.อ. ปยุ ตฺ โ ต), พุ ท ธธรรม ฉบั บ ปรั บ ขยาย, พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ ๓๒, (กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ผลิธัมม์, ๒๕๕๕), หน้า ๖๒๑. ๑๔๙ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๖๒๒.

๗๗ ส่วนโยนิโสมนสิการ เป็นมูลแห่งวิวัฏฏ์ ทาให้พ้นจากวังวนแห่งทุกข์ ถึงภาวะไรปัญหาหรือ แก้ปัญหาได้ เพราะเมื่อโยนิโสมนสิการเกิดขึ้ น ก็นาไปสู่การปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งมีสัมมาทิฏฐิ เป็นหัวหน้า สัมมาทิฏฐิก็คือวิชชานั่นเอง เมื่อวิชชาเกิดขึ้น อวิชชาก็ดับไป เมื่ออวิชชาดับกระบวนธรรม นิโรธวาร แห่งปฏิจจสมุปบาท ก็ดาเนินไปนาสู่ความดับทุกข์สาหรับปุถุชนทั่วไป ตามปกติ พอได้รับรู้ อารมณ์แล้ว ความคิดก็มักเดินไปตามกระบวนธรรมแห่งอวิชชา ตัณหา คือเอาความชอบใจ ไม่ชอบใจ ต่ออารมณ์ ที่รับ รู้นั้ น หรือเอาภาพความคิดที่ยึดถือไวแล้วมาเทียบทาบ เป็นจุดก่อตัวที่จะปรุงแต่ง ความคิดเกี่ยวกับอารมณ์ หรือประสบการณ์นั้นต่อไป เรียกว่าเป็นกระบวนธรรมแห่งอวิชชา ตัณหา ทั้งนี้เพราะได้สั่งสมความเคยชินไวอย่างนั้น การมองและการคิดตามแนวของอวิชชาตัณหานี้เป็นการ มองสิ่งทั้งหลายตามที่อยากให้ มันเป็น หรือไม่อยากให้มันเป็น เป็นการคิดตามอานาจความติดใจหรือ ขัดใจ รวมความว่า โยนิโสมนสิการ คือความคิดที่สกัดอวิชชาตัณหา อวิชชาและตัณหานั้นมา ด้วยกันเสมอ แต่บางครั้งอวิชชาแสดงบทบาทเดน ตัณหาเป็นตัวแฝง บางครั้งตัณหาเดน อวิชชาเป็น ตัวแฝง เมื่อเข้าใจความจริงอย่างนี้แล้ ว เราอาจแบ่งความหมายของโยนิโสมนสิการออกไปเป็น ๒ อย่ า ง เพื่ อ ความสะดวกในการศึ ก ษา ตามบทบาทของอวิ ช ชาและตั ณ หานั้ น ว่ า โยนิ โ สมนสิ ก าร คือ ความคิดที่สกัดอวิชชา และ ความคิดที่สกัดตัณหา และพึงทราบลักษณะความคิดตามอวิชชาตัณหา ดังนี้ ๑) เมื่ออวิชชา เป็นตัวเดน ความคิดมีลักษณะติดตันวกวนอยู่ที่แง่หนึ่งตอนหนึ่งอย่างพร่า มัวขาด ความสัมพันธ์ไม่รู้ทางไป หรือไม่ก็ฟุ้งซ่านสับสน ไม่เป็นระเบียบ ปรุงแต่ งอย่างไรเหตุผล เช่น ภาพในความคิด ของคนหวาดกลัว ๒) เมื่ อ ตั ณ หา เป็ น ตั ว เดน ความคิ ด มี ลั ก ษณะโน้ ม เอี ย งไปตามความยิ น ดี ยิ น ร้ า ย ความชอบใจไม่ช อบ ใจ หรือความติดใจขัดใจ ติดพันครุ่นอยู่กับสิ่งที่ช อบหรือชังนั้น และปรุงแต่ง ความคิดไปตามความชอบความชัง อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดลึกลงไปอีกในด้านสภาวะ อวิชชาเป็นฐานก่อ ตัวของตัณหา และตัณหาเป็นตัวเสริม กาลังให้แก่อวิชชา ดังนั้น ถ้าจะกาจัดความชั่วร้ายให้สิ้นเชิง ก็ จะต้องกาจัดให้ถึงอวิชชา๑๕๐ ๓)วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ๑๕๑ ก็คือการนาเอาโยนิโสมนสิการมาใช้ในทางปฏิบัติ หรือโยนิโสมนสิการที่เป็นภาคปฏิบัติการ วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า วิธีโยนิโสมนสิการนี้แม้จะมีหลายอย่างหลายวิธี แต่เมื่อว่าโดยหลักการ ก็มี ๒ แบบ คือ - โยนิโสมนสิการทีม่ ุ่งสกัด หรือกาจัดอวิชชาโดยตรง - โยนิโสมนสิการที่มุ่งเพื่อสกัด หรือบรรเทาตัณหา โยนิโสมนสิการที่มุ่งกาจัดอวิชชาโดยตรงนั้น ตามปกติเป็นแบบที่ต้องใช้ในการปฏิบัติ ธรรมจนถึงที่สุด เพราะทาให้ เกิดความรู้ความเข้าใจตามเป็นจริง ซึ่งเป็นสิ่งจาเป็นสาหรับการตรัสรู้ ส่วนโยนิโสมนสิการแบบสกัดหรือบรรเทาตัณหา มักใช้เป็นข้อปฏิบัติขั้นต้น ๆ ซึ่งมุ่งเตรียมพื้นฐานหรือ ๑๕๐ ๑๕๑

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, หน้า ๖๒๕–๖๒๖. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๖๒๗.

๗๘ พัฒ นาตนเองในด้านคุณธรรม ให้ เป็นผูพร้อมสาหรับการปฏิบัติขั้นสูงขึ้นไป เพราะเป็นเพียงขั้นขัด เกลากิเลส แต่ โยนโสมนสิการหลายวิธีใช้ประโยชน์ได้ทั้งสองอย่าง คือ ทั้งกาจัดอวิชชา และบรรเทา ตัณหาไปพร้อมกัน วิธีโยนิโสมนสิการเท่าที่พบในบาลี พอประมวลเป็นแบบใหญ่ ๆ ได้ ๑๐ แบบ ดังนี้ (๑) วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย คือ พิจารณาปรากฏการณ ที่เป็นผล ให้รู้จักสภาวะที่เป็นจริง หรือพิจารณาปัญหา หาหนทางแกไข ด้วยการค้นหาสาเหตุและ ปั จ จั ย ต่ าง ๆ ที่ สั ม พั น ธ์ ส่ งผลสื บ ทอดกั น มา อาจเรี ย กว่ า วิ ธีคิ ด แบบอิ ทั ป ปั จ จยตา หรื อ คิ ด ตาม หลักปฏิจจสมุปบาท จัดเป็นวิธีโยนิโสมนสิการแบบพื้นฐาน (๒) วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ หรือกระจายเนื้อหา เป็นการคิดที่มุ่งให้มอง และให้ รู จั ก สิ่ งทั้ ง หลายตามสภาวะของมั น เองอี ก แบบหนึ่ ง เมื่ อ แยกแยะออกไปแลว ก็ มี แ ต่ น ามกั บ รู ป หรือนามธรรมกับรูปธรรม เมื่อหัดมอง หรือฝึกความคิดอย่างนี้จนชานาญ ในเวลาที่พบเห็นสัตว์และสิ่ง ต่าง ๆ ก็จะมองเห็นเป็นเพียงกองแห่งนามธรรมและรูปธรรม เป็นเพียงสภาวะ ว่างเปล่าจากความเป็น สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา นับว่ามีกระแสความคิดความเข้าใจ ที่คอยช่วยต้านทานไมให้คิดอย่างหลงใหล หมายมั่นติดสมมติบัญญัติมากเกินไป (๓) วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์หรือวิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดาคือมองอย่างรู เท่าทันความ เป็นอยู่ไปของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งจะต้องเป็นอย่างนั้น ๆ ตามธรรมดาของมันเอง โดยเฉพาะก็มุ่งที่ประดา สัตว์และสิ่งที่คนทั่วไปจะรูเข้าใจถึงไดในฐานะที่มันเป็นสิ่งซึ่งเกิดจากเหตุปัจจัยต่าง ๆ ปรุงแต่งขึ้น จะต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยธรรมดาที่ว่านั้น ไดแก อาการที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ที่เกิดจากปัจจัยปรุง แต่ ง เมื่ อ เกิ ด ขึ้ น แลว ก็ จ ะต้ อ งดับ ไป ไมเที่ ย งแท้ ไมคงที่ ไมยั่งยื น ไม่ ค งอยู่ ต ลอดไป เรีย กว่าเป็ น อนิจจัง มีความแปรปรวนเปลี่ยนสลาย เรียกว่า ทุกข์ สิ่งทั้งหลายเป็นสภาวะ ที่ต้องเป็นไปตามเหตุ ปัจจัย มันก็ไมอาจเป็นของของใคร ไมอาจเป็นไปตามความปรารถนาของใคร ไมมีใครเอาความคิด อยากบังคับมันไดไมมีใครเป็นเจาของครอบครองมันไดจริง เช่นเดียวกับที่ไมอาจมีตัวตน ไมใช่เป็นไป ตามใจอยากของใคร เรียกว่า เป็น อนัตตา (๔) วิธีคิดแบบอริยสัจ หรือ คิดแบบแก้ปัญหา เรียกตามโวหารทางธรรมไดวา วิธีแห่ ง ความดับ ทุกข์จัดเป็ นวิธีคิดแบบหลักอย่างหนึ่ง เพราะสามารถขยายให้ ครอบคลุมวิธีคิดแบบอื่น ๆ ไดทั้งหมด หลักการ หรือ สาระสาคัญของวิธีคิดแบบอริยสัจ ก็คือ การเริ่มต้นจากปัญหา หรือความ ทุกข์ที่ประสบ โดยกาหนดรูทาความเข้าใจปัญหา คือความทุกข์นั้น ให้ชัดเจน แล้วสืบค้นหาสาเหตุเพื่อ เตรี ย มแกไข ในเวลาเดีย วกั น กาหนดเป้ าหมายของตนให้ แน่ ชั ด ว่าคื ออะไร จะเป็ น ไปไดหรือ ไม และเป็นไปไดอย่างไร แล้วคิดวางวิธีปฏิบัติที่จะกาจัดสาเหตุของปัญหา โดยสอดคลองกับการที่จะ บรรลุจุดหมายที่กาหนดไวนั้ น ในการคิดตามวิธีนี้จะต้องตระหนักถึงกิจ หรือหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อ อริยสัจแต่ละข้ออย่างถูกต้องด้วย ซึ่งในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้นาเสนอเป็นหัวข้อหลักธรรมที่ปรากฏ ข้างต้น (๕) วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์หรือคิดตามหลักการและความมุ่งหมาย คือพิจารณาให้ เข้ าใจ ความสั ม พั น ธ์ร ะหว่าง ธรรมกับ อรรถ หรื อ หลั ก การกั บ ความมุ่ งหมาย เป็ น ความคิ ด ที่ มี ความสาคัญมาก ใน เมื่อจะลงมือปฏิบัติธรรม หรือทาการตามหลักการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้ได้ผล ตามความมุ่งหมายไม กลายเป็นการกระทาที่เคลื่อนคลาด เลื่อนลอย หรืองมงาย

๗๙ (๖) วิ ธี คิ ด แบบรู้ ทั น คุ ณ โทษและทางออก หรือ พิ จ ารณาให้ เห็ น ครบทั้ ง อั ส สาทะ๑๕๒ อาทีนวะ๑๕๓ และ นิสสรณะ๑๕๔ เป็นการมองสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเน้นการ ยอมรับความจริงตามที่สิ่งนั้น ๆ เป็นอยู่ทุกแงทุกด้าน ทั้งด้านดีด้านเสีย และเป็นวิธีคิดที่ต่อเนื่องกับ การปฏิบัติมาก เช่นบอกว่า ก่อนจะแกปัญหา ตองเข้าใจปัญหาให้ชัด และรูที่ไปให้ดีก่อน หรือก่อนจะ ละสิ่งหนึ่งไปหาอีกสิ่งหนึ่ง ตองรูจักทั้งสองฝ่ายดีพอ ที่จะให้เห็นไดวา การละและไปหานั้น หรือการทิ้ง อย่างหนึ่งไปเอาอีกอย่างหนึ่งนั้น เป็นการกระทาที่รอบคอบ สมควรและดีจริง (๗) วิธีคิดแบบคุณค่าแท้ -คุณค่าเทียม หรือ การพิจารณาเกี่ยวกับปฏิเสวนา คือ การใช้ สอย หรือบริโภคเป็นวิธีคิดแบบสกัด หรือบรรเทาตัณหา เป็นขั้นฝึกหัดขัดเกลากิเลส หรือตั ดทางไมให้ กิเลสเข้ามาครอบงาจิตใจแล้วชักจูงพฤติกรรมต่อ ๆ ไปวิธีคิดแบบนี้ใช้มากในชีวิตประจาวัน เพราะ เกี่ยวข้องกับการบริโภคใช้สอยปัจจัย๔ และวัสดุอุปกรณ์อานวยความสะดวกต่าง ๆ - คุณค่าแท้หมายถึง ความหมาย คุณค่า หรือประโยชนของสิ่งทั้งหลาย ในแงที่สนอง ความต้องการของชีวิตโดยตรง หรือที่มนุษย์นามาใช้แกปัญหาของตน เพื่อความดีงาม ความดารงอยู่ ด้วยดีของชีวิต หรือเพื่อประโยชนสุขทั้งของตนเองและผู้อื่น - คุณค่าเทียม หมายถึง ความหมาย คุณค่า หรือประโยชนของสิ่งทั้งหลายที่ มนุษย์ พอกเพิ่มให้แกสิ่งนั้น เพื่อปรนเปรอการเสพเสวยเวทนา หรือเพื่อเสริมราคา เสริมขยายความมั่นคง ยิ่งใหญ่ ของตัวตนที่ยึดถือไว้ โดยอาศัยตัณ หาเป็นเครื่องตีค่า หรือวัดราคา จะเรียกว่าคุณ ค่าสนอง ตัณหา (๘) วิธีคิดแบบเร้ากุศล หรือคิดแบบกุศลภาวนา เป็นวิธีคิดในแนวสกัดกั้นหรือบรรเทา และขัดเกลาตัณหา จึงจัดไดว่าเป็นข้อปฏิบัติระดับต้น ๆ สาหรับส่งเสริมความเจริญงอกงามแห่งกุศล ธรรม และสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกิยะ (๙) วิธีคิดแบบเป็ นอยู่ในขณะปัจจุบัน หรือวิธีคิดแบบมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์เรียก สั้น ๆ วาวิธีคิดแบบอยูกับปัจจุบัน มีเนื้อหารวมอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจะกล่าวถึงในองค์มรรคข้อที่ ๗ คือ สัมมาสติด้วย - ความคิดที่ไมอยู่กับปัจจุบัน คือความคิดที่เกาะติดอดีตและเลื่อนลอยไปในอนาคต นั้น เป็นความคิดในแนวทางของตัณหา หรือคิดด้วยอานาจตัณหา คิดไปตามความรู สึกหรือ ตกอยู่ใต้ อานาจอารมณ์ โดยมีอาการหวนละห้อยโหยหาอาลัยอาวรณถึงสิ่งที่ล่วงแลว เพราะความเกาะติดหรือ ค้างคาในรูปใดรูปหนึ่ง หรือเคว้งคว้างเลื่อนลอยฟุ้งซ่านไปในภาพที่ฝันเพอ ปรุงแต่ง ซึ่งไมมีฐานแห่ง ความเป็นจริงในปัจจุบัน เพราะอึดอัดไมพอใจสภาพที่ประสบอยู่ปรารถนาจะหนีจากปัจจุบัน - ความคิดชนิดที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มีลักษณะที่พูดสั้น ๆ ไดว่าเป็นการคิดในแนวทาง ของความรูห รือคิดด้วยอานาจปั ญญา ถ้าคิดในแนวทางของความรู ห รือคิดด้วยอานาจปัญญาแลว

๑๕๒

อัสสาทะ แปลว่า สวนดีส่วนอร่อย สวนหวานชื่น คุณ คุณค่า ข้อที่น่าพึงพอใจ อาทีนวะ แปลว่า สวนเสีย ข้อเสีย ชองเสีย โทษ ข้อบกพรอง ๑๕๔ นิสสรณะ แปลว่า ทางออก ทางรอด ภาวะหลุดรอดปลอดพ้น หรือสลัดออกไดภาวะที่ปลอดหรือ ปราศจากปัญหา มีความสมบูรณในตัว ดีงามจริง ๑๕๓

๘๐ ไมว่าจะเป็นเรื่องที่เป็นไปอยู่ในขณะนี้หรือเป็นเรื่องล่วงไปแลว หรือเป็นเรื่องของกาลภายหนาก็จัดเข้า ในการอยูกับปัจจุบันทั้งนั้น (๑๐) วิธีคิดแบบวิภัช ชวาท ลักษณะสาคัญของความคิดและการพูดแบบ คือ การมอง และแสดงความจริง โดยแยกแยะออกให้เห็นแต่ละแงละด้าน ครบทุกแงทุกด้าน ไมใช่จับเอาแงหนึ่งแง เดีย ว หรือบางแง ขึ้น มาวินิ จ ฉัย ตีคลุ มลงไปอย่างนั้น ทั้งหมด หรือประเมินคุณ ค่าความดีค วามชั่ว เป็นต้น โดยถือเอาส่วนเดียวหรือบางส่วนเท่านั้นแล้วตัดสินลงไป ส าหรั บ คนทั่ ว ไป ผู มี ปั ญ ญายั ง ไม่ แ ก่ ก ลา ยั ง ต้ อ งอาศั ย การแนะน าชั ก จู ง จากผู อื่ น การเจริ ญปั ญ ญา นั บ ว่าเริ่มตนจากองค์ประกอบภายนอก คือ ความมีกัล ยาณมิตร ส าหรับใหเกิด ศรัทธา (ความมั่นใจ ด้วยเหตุผลที่ได้พิจารณาเห็นจริงแล้ว) ก่อน จากนั้น จึงก้าวมาถึงขั้นองค์ประกอบ ภายใน เริ่มแตนาความเข้าใจตามแนวศรัทธาไปเป็นพื้นฐาน ในการ ใช้ความคิดอย่างอิสระ ด้วยโยนิโส มนสิการ เป็นตนไป ทาใหเกิดสัมมาทิฏฐิ และทาใหปัญญาเจริญยิ่งขึ้น จนกลายเป็นญาณทัสสนะ คือ การรู้การเห็นประจักษในที่สุด เนื่องด้วยศรัทธา เป็นองค์ธรรมสาคัญมาก ซึ่งเมื่อเป็นศรัทธาที่ถูกต้อง และใช้ถูกต้อง ก็จะเชื่อมต่อเข้า กับโยนิโสมนสิการ นาใหเกิดปัญญาที่เป็นสัมมาทิฏฐิ จึงขอสรุปเรื่อง ศรัทธา ในแง่ที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ไวอีกครั้งหนึ่ง ๑. ในขั้นศีล ศรัทธาเป็ นหลั กยึด ชวยคุ มศีลไว โดยเหนี่ยวรั้งจากความชั่ว และทาให มั่นคงในสุจริต ศรัทธาเพื่อการนี้ แม้ไม่มีความคิดเหตุผล คือไม่ประกอบด้วยปัญญาก็ใช้ได้ และปรากฏ บ่อย ๆ ว่า ศรัทธาแบบเชื่อดิ่งโดยไม่คิดเหตุผลนั้น ใช้ประโยชน์ในขั้นศีล แน่กว่าศรัทธาที่มีการใช้ ปัญญาด้วยซ้า ๒. ในขั้นสมาธิ ศรัทธาชวยใหเกิดสมาธิได้ ทั้งในแง่ที่ทาใหเกิดปติสุขแล้ว ทาใหจิตสงบนิ่ง แนบสนิท หายฟุ งซาน ไม่กระสับกระสายกระวนกระวาย และในแง่ที่ทาใหเกิดความเพียรพยายาม แกลวกลา ไม่หวั่นกลัว จิตใจพุงแลนไปในทางเดียว เกิดความเขมแข็งมั่นคง แน่วแน่ ศรัทธาเพื่อการนี้ แม้เป็น แบบเชื่อดิ่งโดยไม่ใช้ความคิดเหตุผล ก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน ในกรณีที่เป็นศรัทธาแบบเชื่อดิ่งโดย ไม่ ย อมคิ ด เหตุ ผ ล แม้ จ ะใช้ งานได้ ผ ลทั้ งสองระดั บ แตมีผ ลเสี ย ที่ ท าใหใจแคบ ไม่ ยอมรับ ฟงผู อื่ น และบางทีถึงกับเป็นเหตุใหเกิดการบีบบังคับเบียดเบียน คนอื่นพวกอื่น เพราะความเชื่อนั้น และที่ สาคัญในเรื่องนี้คือ ไม่เกื้อหนุนแก่การเจริญปัญญา ๓. ในขั้ น ปั ญ ญา ศรั ท ธาชวยใหเกิ ด ปั ญ ญา เริ่ ม แตโลกิ ย สั ม มาทิ ฏ ฐิ เป็ น เบื้ อ งแรก เหนือกว่านั้นไป ศรัทธาเชื่อมต่อกับโยนิโสมนสิการใน ๒ ลักษณะ คือ - อย่างแรก เป็นชองทางใหกัลยาณมิตรสามารถชี้แนะความรู้จักคิด คือกระตุ้นให คนผูนั้นเริ่มใช้ โยนิโสมนสิการ (มิฉะนั้นอาจไม่ยอมเปดรับการชี้แนะหรือการกระตุ้นเลย) - อย่ างที่ ส อง ศรั ท ธาชวยเตรีย มพื้ น หรือ แนวของเรื่องที่ จะพิ จ ารณาบางอย่ างไว สาหรับใหโยนิโส มนสิการนาไปคิดอย่างอิสระต่อไป ศรัทธาเพื่อการนี้ เห็นชัดอยูในตัวแล้วว่า ต้องเป็น ศรัทธาที่มี การใช้ปัญญา และเป็นศรัทธาที่ต้องการในที่นี้๑๕๕ เพื่อความมั่นใจที่จะใหศรัทธา เกื้อหนุนแก่ปัญญา โดยทางโยนิโสมนสิการ เห็นควรสรุป วิธีปฏิบัติต่อศรัทธาไว ดังนี้ ๑๕๕

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, หน้า ๖๘๐.

๘๑ - มีศรัทธาที่มีเหตุผล หรือมีความเชื่อที่ประกอบด้วยการคิดเหตุผล คือ ไม่ใช่ศรัทธา ประเภทบั งคับให เชื่อ หรือเป็น ขอที่ต้องยอมรับตามที่กาหนดไวตายตัว หรือต้องถือตามไปโดยไม่ เปดโอกาสใหคิดหาเหตุผล ไม่ใช่ ความเชื่อชนิดที่กีดกันหามความคิด บีบกดความคิด หรือที่ทาใหไม่ ยอมรับฟงใคร แตเป็นความเชื่อที่ สนับสนุนการคิดเหตุผล เกื้อหนุนแก่การเจริญปัญญาต่อ ๆ ไป - มีท่าทีแบบสัจจานุรักษ คือ อนุรักษสัจจะ หรือรักสัจจะ คือ ซื่อตรงต่อสัจจะ และ แสดงศรัทธาตรง ตามสภาพที่เป็นจริง กล่าวคือ เมื่อตนเชื่ออย่างไร ก็มีสิทธิกล่าวว่า ขาพเจ้ามีความ เชื่อว่าอย่างนั้น ๆ หรือเชื่อว่า เป็นอย่างนั้น ๆ แตไม่เอาศรัทธาของตนเป็นเครื่องตัดสินสัจจะ คือไม่ ก้าวขามเขตไปว่า ความจริงต้องเป็นอย่างที่ ขาพเจ้าเชื่อ หรือเอาสิ่งที่เป็นเพียงความเชื่อไปกล่าวว่า เป็นความจริง เช่น แทนที่จะพูดว่า ขาพเจ้าเชื่อว่าสิ่งนั้น เรื่องนั้นเป็นอย่ างนั้น ๆ กลับพูดว่า สิ่งนั้น เรื่องนั้นเป็นอย่างนั้น ๆ - ใช้ศ รั ท ธา หรือ สิ่ งที่ เชื่ อนั้ น เป็ นพื้ น ส าหรับ โยนิโสมนสิ การคิด พิ จารณา ใหเกิ ด ปัญญาต่อไป พูดอีก นัยหนึ่งว่า ศรัทธาไม่ใช่สิ่งจบสิ้นในตัว มิใช่ศรัทธาเพื่อศรัทธา แตศรัทธาเป็น เครื่องมือ หรือเป็นบันไดก้าวสู่ จุดหมายที่สูงขึ้นไปกว่า กล่าวคือ ศรัทธาเพื่อปัญญา เท่าที่กล่าวมานี้ ก็เป็นอันเข้ากับลาดับขั้นของการเจริญปญญา ที่เคยแสดงไวแล้ว คือ เสวนาสัตบุรุษ→สดับสัทธรรม→ศรัทธา→โยนิโสมนสิการ ฯลฯ ต่อจากโยนิโสมนสิการ ก็คือการเกิดขึ้นแหงสัมมาทิฏฐิ เมื่อถึงสัมมาทิฏฐิ ก็เป็นอันก้าวเข้า สู่องค์ประกอบของมัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งหมายถึงว่า วิถีชีวิตที่ถูกต้องดีงามได้เริ่มตนแล้ว๑๕๖ สรุ ป ได้ ว่า โยนิ โสมนสิ ก าร เป็ น วิธี การแห่ งปั ญ ญาหรือ การใช้ค วามคิด อย่ างถู ก วิธี ใน กระบวนการพัฒนาปัญญาอยู่ในระดับเหนือศรัทธา เป็นขั้นตอนที่เริ่มใช้ความคิ ดของตนเองเป็นอย่าง ใคร่ครวญ ให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างมีระเบียบ รู้จักคิดวิเคราะห์ ไม่มองเห็นสิ่งต่าง ๆ อย่างตื้น ๆ ผิวเผิน เป็นขั้นสาคัญในการสร้างปัญญาที่บริสุทธิ์ ทาให้ทุกคนช่วยตนเองได้และนาไปสู่จุดมุ่ งหมาย ของพุทธธรรมอย่างแท้จริง คนที่มีโยนิโสมนสิการ รู้จักคิด รู้จักมอง ยอมมองเห็น และหาแง่ที่เป็น ประโยชน์ มาใช้ในการพัฒนาสงเสริมความเจริญงอกงามของชีวิตได้ตลอดเวลา ในทุกสถานการณ์ คนทั่วไป ซึ่งได้สั่งสมความเคยชิน ใหจิตมีนิสัยแหงการคิดในแนวทางของการสนองตัณหา หรือคิดโดย มีความชอบใจไม่ชอบใจยินดียินร้ายชอบชังเป็นพื้นฐาน มาเป็นเวลายาวนาน วิธีโยนิโสมนสิการแบบ ตาง ๆ นี้ จะเริ่ ม เป็ น เครื่ อ งฝกในการสร้ า งนิ สั ย ใหมใหแก่ จิ ต การสร้ า งนิ สั ย ใหมนี้ อาจต้ อ งใช้ เวลานานบาง เพราะนิสัยเดิมเป็นสิ่งที่สั่งสมมานานคนละเป็นสิบ ๆ ปี แตเมื่อได้ฝกขึ้นบางแล้ว ก็ได้ผล คุมคา เพราะเป็น การคิดที่ทาใหเกิดปัญญา ทาใหแกปัญ หา ดับความมืดและความทุกข์สร้างเสริม ความสว่างและความสุขได้ แม้จะยังทาไม่ได้สมบูรณ ก็ยังพอเป็นเครื่องชวยใหเกิดสมดุล และได้มี ทางออก ในยามที่ถูกความคิด ตามแนวนิสัยเดิมชักนาไปส ูความอับจน สู่ความทุกขและปัญหาบีบคั้น ตาง ๆ ก็พลิกผันหันไปสู่ความรอดพน ปลอดภัยและลดความทุกข์ได้

๑๕๖

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๖๘๑.

๘๒

๒.๓ แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องความทุกข์ในพุทธศาสนา มนุษย์เราทุกคนที่เกิดมาต้องประสบกับความทุกข์นานาประการทุกข์นั้นเกิดจากหลาย สาเหตุ ทั้งที่ตนเองสร้างขึ้นและสิ่งอื่นสร้างขึ้น ชีวิตมนุษย์จึงตกอยู่ในภาวะยากลาบากตลอดเวลา และการที่มนุษย์จะสามารถลดความทุกข์จนถึงการดับทุกข์ได้นั้นต้องเข้าใจถึงความหมาย ประเภท ลักษณะ สาเหตุของความทุกข์ แล้วจึงศึกษาวิธีลดความทุกข์ จนถึงวิธีดับทุกข์ในที่สุด ๒.๓.๑ ความหมายของความทุกข์ คาว่าทุกข์ มาจาก ทุ บทหน้า แปลว่า ชั่ว, ยาก ขม ธาตุ ในความอดทน ลง กวิ ปัจจัย ลบ ที่สุดธาตุ ซ้อน ก เข้าไป สาเร็จรูปเป็นทุกข์ มีรูปวิเคราะห์ตามหลักบาลีว่า ทุกฺเขนขมิตพฺพนฺติ = ทุกฺข ทุกข์ แปลว่า ธรรมชาติใดอันบุคคล พึงทนได้โดยยาก ธรรมชาตินั้นชื่อว่าทุกข์ (สิ่งอันบุคคลพึงทนได้ โดยยาก)๑๕๗ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ระบุความหมายของคาว่าทุกข์ ว่า ทุกข-,ทุกข์ (ทุกขะ-) น. ความยากลาบาก, ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ , ความทนได้ยาก, ความทนอยู่ในสถานะ เดิมไม่ได้๑๕๘ ท่านพุทธทาสภิกขุได้ให้ความหมายไว้ว่า คาว่าทุกข์ในภาษาไทยหรือ ทุกฺข์ในภาษาบาลี นั้ น ตัว หนั งสื อแท้ ๆ ที่เป็ น ความหมายกลาง ๆ กว้างที่สุ ดแล้ ว มัน แปลว่า ดูน่ าเกลี ยด ทุ แปลว่า น่าเกลียด หรือชั่ว อิกฺข อกฺขิ นี้ก็แปลว่าดู หรือเห็น ทุกข์ ก็แปลว่าดูเห็นแล้วน่าเกลียด๑๕๙ ค าว่ า ทุ ก ข์ มี ค วามหมายใกล้ เคี ย งกั บ ค าภาษาอั ง กฤษว่ า Suffer, Suffering, Pain, Unhappy, Unsatisfactory เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วมักใช้คาว่า Suffering แทนความหมายของคาว่า ทุกข์ ถึงอย่างนั้นท่าน Venerable Dr. W. Rahula ก็ยังมีความเห็นว่า คาว่าทุกข์มีความหมายกว้าง กว่าคาว่า Suffering หรือคาภาษาอังกฤษอื่นใด ๑๖๐ ในพจนานุกรมพุทศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ของ พระธรรมปิฎก (ปอปยุตฺโต) ยังได้ระบุความหมายของคาว่า ทุกข์ ดังนี้ ทุกข์ ๑. สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้น และความดับ สลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง (ข้อ ๒ ในไตรลั กษณ์ ) ๒. อาการแห่งทุกข์ที่ปรากฏขึ้น ได้แก่ คน (ได้ในคาว่า ทุกขสัจจะ หรือ ทุกขอริยสัจจ์ ซึ่งเป็นข้อที่ ๑ ในอริ ย สั จ จ์ ๔) ๓. สภาพที่ ท นได้ ยาก, ความรู้สึ ก ไม่ส บาย ได้ แ ก่ ทุ กขเวทนา, ถ้ ามาคู่กั บ โทมนั ส (ในเวทนา ๕) ทุกข์ห มายถึงความไม่สบายกายคือทุกข์กาย (โทมนัสคือไม่สบายใจ) แต่ถ้ามาลาพัง (ในเวทนา ๓) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายไม่สบายใจ คือทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ๑๖๑ ๑๕๗

พระธรรมปิ ฎ ก (ป.อ.ปยุ ตฺ โ ต), สั ท ทนี ติ ป กรณ์ ธาตุ ม าลา, (กรุ ง เทพมหานคร: โรงพิ ม พ์ มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ, ๒๕๒๓), หน้า ๒๖. ๑๕๘ ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน. พจนานุ ก รมฉบั บ ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔, พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ ๑ (กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖, หน้า ๕๗๕. ๑๕๙ พุทธทาสภิกขุ, ศิลปะแห่งชีวิต (มงคลกาล ๑๐๐ ปี ท่านพุทธทาส พระพุทธศักราช ๒๕๔๙), (กรุงเทพมหานคร: ธรรมทานมูลนิธิและธรรมสภา, ๒๕๔๙), หน้า ๑๑. ๑๖๐ Dr. W. Rahula, What the Buddha Taught, (Bangkok: Kurusapha Press, 1988), p. 67. ๑๖๑ พระธรรมปิ ฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานุ กรมพุ ท ธศาสน์ ฉบั บ ประมวลศัพท์ , พิ ม พ์ ครั้งที่ ๑๑, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖), หน้า ๓๐๒.

๘๓ อี ก ทั้ งยั งมี นั ก วิช าการทางพระพุ ท ธธรรมกั บ วงการอื่ น ๆ มี ค วามเห็ น ว่า ความทุ ก ข์ กับปัญหาชีวิต คือ สิ่งเดียวกัน สรุปสั้นว่า ทุกข์คือ ปัญหา๑๖๒ สรุปได้ว่า ความทุกข์ คือสิ่งที่บุคคลพึงทนได้ยาก ความยากลาบากทั้งกาย และใจจากการ ที่ถูกบีบ คั้น ด้วยความคิดและดับ สลายของสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ ปัญ หาต่าง ๆ ที่เกิดกับชีวิตก็คือ ความทุกข์ ๒.๓.๒ ลักษณะของความทุกข์ ลักษณะอาการของทุกข์เป็นสิ่งที่สาคัญที่ต้องรู้เพื่อจะได้เข้าใจและปฏิบั ติให้ถูกต้องเพ่อ หลีกเลี่ยง ผ่อนคลายทุกข์ลงได้ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคอธิบายไว้ว่าทุกขตามีลักษณะ หรือทุกขลักษณะ ๒๕ ประการ คือ ๑) เป็นทุกข์ เพราะภาระคือมีความเกิดขึ้นความเสื่อมไปบีบคั้น และเพราะเป็นพื้นที่ ความทุกข์ ๒) เป็น อุบ าทว์ เพราะเป็นพื้นที่ของอุบาทว์ ทั้งปวง และนามาซึ่งผลใหญ่ ๆ ที่ไม่รู้ ไม่ได้คาดคิดไว้ ๓) เป็นภัย เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งภัยทั้งปวง และเพราะตรงข้ามกับความโล่งใจอย่าง ยอดเยี่ยม (บรมอัสสาระ) หรือความสงบทุกข์ ๔) อุปสรรค เพราะมีหลายสิ่งหลายอย่างพัวพัน ถูกสิ่งที่เป็นโทษขัดขวาง ๕) ไม่มีที่ต้านทาน เพราะไม่มีคุ้มครอง และเพราะหาความปลอดภัยไม่ได้ ๖) ไม่มีที่กาบัง เพราะไม่มีที่ลับจะหลบซ่อนได้ และเพราะไม่มีที่กาบังให้แม้แต่สัตว์ที่ ซ่อนตัวอยู่ ๗) ไม่มีที่พึ่ง เพราะไม่เป็นที่กาจัดภัยให้แก่ผู้อาศัย ๘) เป็นจัญไร เพราะนาความโชคร้ายมาให้ ๙) มีชาติเป็นธรรมดา เพราะมีความตาย ความคิด และความแก่เป็นปกติ ๑๐) มีความชราเป็นธรรมดา เพราะมีความเกิดและความเจ็บเป็นปกติ ๑๑) มีพยาธิเป็นธรรมดา เพราะมีความตาย ความเกิด และความแก่เป็นปกติ ๑๒) มีความเศร้าหมองใจเป็นธรรมดา เพราะมีความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และมี ความตายเป็นปกติ ๑๓) เป็นผลร้าย (อาทีนว) เพราะทุกข์ด้วยความเป็นไป (ปวัติทุกข์) และเพราะความ ทุกข์ที่เป็นโทษ ๑๔) เป็นมูลแห่งความลาบาก เพราะเป็นเหตุแห่งความทุกข์ยากลาบาก ๑๕) เป็นผู้ฆ่า เพราะทาลายความไว้วางใจ เปรียบศัตรูทาหน้าที่เป็นมิตร ๑๖) เป็นโรค เพราะอยู่ได้ด้วยปัจจัย และเพราะเป็นมูลของโรค ๑๗) เป็นฝี เพราะเป็นสิ่งที่ประกอบด้วยความเจ็บปวด (ความทุกข์) เพราะเป็นที่ไหล ออกแห่งหนอง (กิเลส) และเพราะบวมขึ้น แก่และแตก ด้วยความเกิดขึ้น ความแก่และความสลายไป ๑๖๒

มั่นเกียรติ โกศลนิรัติวงษ์, พุทธธรรม: ทฤษฎีและเทคนิคการให้คาปรึกษา, (กรุงเทพมหานคร: ชุวีริยาสาสน์, ๒๕๔๑), หน้า ๑๑๔.

๘๔ ๑๘) เป็นลูกศร เพราะเป็นสิ่งที่ยังความเจ็บให้เกิด ทิ่มแทงอยู่ภายในและชักออกได้ ๑๙) เป็นของชั่ว เพราะเป็นทีตั้งแห่งการติเตียนของอริยชน เพราะนาความไม่งอก งามมาให้ และเพราะเป็นพื้นที่สาหรับของชั่ว ๒๐) อาพาธ เพราะเป็นแบบแผนสาหรับยึดถือแห่งความเจ็บป่วย ๒๑) มีความคร่าครวญเป็นธรรมดา เพราะมีความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความคร่าครวญเป็นปกติ ๒๒) มีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา เพราะมีความคิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความคร่าครวญเป็นปกติ ๒๓) เป็นไปกับอาสวะ เพราะเป็นแผนสาหรับยึดถือแห่งอาสวะ ๒๔) เป็นเหยื่อมาร เพราะเป็นเหยื่อของมัจจุราชและกิเลสมาร ๒๕) เป็ น สิ่ งที่ มีความเศร้าหมองเป็ นธรรมดา เพราะมีความเป็นวิสั ยแห่ งสั งกิเลส อันได้แก่ ตัณหา ทิฎฐิ และทุจริตเป็นธรรมดา๑๖๓ พระเมธี ธ รรมาภรณ์ สรุ ป ว่ า ทุ ก ข์ มี ลั ก ษณะบี บ คั้ น ถู ก เบี ย ดเบี ย น ท าให้ เร่ า ร้ อ น แปรปรวน๑๖๔ ในพระสุ ต ตั น ตปิ ฎ ก พระพุ ท ธเจ้ าได้ ต รั ส ลั ก ษณะของทุ ก ข์ กั บ ราธะ ในอี ก แง่ห นึ่ งว่ า “ราธะ รู ป เป็ น ทุ ก ข์ เวทนาเป็ น ทุ ก ข์ สั ญ ญาเป็ น ทุ ก ข์ สั ง ขารเป็ น ทุ ก ข์ วิ ญ ญาณเป็ น ทุ ก ข์ ราธะอริยสาวกผู้ได้สดับเป็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป๑๖๕ ๒.๓.๓ ประเภทของความทุกข์ ความทุกข์แบ่งเป็น ๓ ประเภท ตามลักษณะที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ดังนี้ ๒.๓.๓.๑ ทุกขเวทนา ทุกขเวทนาประการแรก เป็นได้ทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ และเป็นส่วนย่อยของเวทนา อีกชั้นหนึ่ง คือ เวทนานั้นเป็นขันธ์หนึ่งในขันธ์ห้าในขันธ์แต่ละขันธ์นั้นยังมีส่วนย่อยแบ่งย่อยแบ่งแยก ออกไปได้อีกมากบ้างน้ อยบ้าง ในการอธิบายขันธ์ห้าแต่ละอย่างจึงขึ้นอยู่กับว่าใครต้องการอธิบายใน แง่ใด และมีจุดประสงค์ในการอธิบายนั้นอย่างไร๑๖๖ พุ ท ธธรรมแยกแยะชี วิ ต พร้ อ มทั้ ง องคาพยพทั้ ง หมด ที่ บั ญ ญั ติ เ รี ย กว่ า “สั ต ว์ ” “บุคคล” ฯลฯ ออกเป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ๕ ประเภท หรือ ๕ หมวด เรียกทางธรรมว่า เบญจขันธ์ คือ

๑๖๓

วิโรจน์ นาคชาตรี, พุทธปรัชญาเถรวาท, (กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคาแหง, ๒๕๔๔), หน้า ๑๔๖-๑๔๗. ๑๖๔ พระธรรมเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), พุทธศานากับปรัชญา, (กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป, ๒๕๓๓), หน้า ๑๐๘-๑๐๙. ๑๖๕ ส. ข. (ไทย) ๑๗/๑๗๔/๒๖๔. ๑๖๖ ธีรวัส บาเพ็ญบุญบารมี , “ทุกข์ในพระพุทธศาสนา: ศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎกอรรถกถาฎีกา ตลอดจนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา”, โดยการธรรมศึกษาค้นคว้าทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา ตามหลักสูตร วิจัยคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา, มูลนิธิเบญจนิกาย, พุทธศักราช ๒๕๕๐, หน้า ๑๙.

๘๕ ๑. รูป (Corporeally) ได้แก่ ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่างกายและพฤติกรรม ทั้ งหมดของร่ างกาย หรื อ สสารและพลั งงานฝ่ ายวั ต ถุ พร้อมทั้ งคุณ สมบั ติ และพฤติ ก รรมต่ าง ๆ ของสสารพลังงานเหล่านั้น ๒. เวทนา (Feelling หรือ Sensation) ได้แก่ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉย ๆ ซึ่งเกิดจาก สัมผัสทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ ๓. สั ญ ญา (Perception) ได้ แ ก่ ความก าหนดได้ หรื อ หมายรู้ คื อ ก าหนดรู้ อ าการ เครื่องหมายลักษณะต่าง ๆ อันเป็นเหตุให้จาอารมณ์ (Object) นั้น ๆ ได้ ๔. สังขาร (Mental Formation หรือ Volitional Activities) ได้แก่ องค์ประกอบหรือ คุณสมบัติต่าง ๆ ของจิตมีเจตนาเป็นตัวนา ซึ่งแต่งจิตให้ดีหรือชั่วเป็นกลาง ๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึก คิดในใจ และเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ มานะ ทิฐิ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น เรียกรวมอย่างง่าย ๆ ว่า เครื่องปรุงของจิต เครื่องปรุงของความคิด หรือเครื่องปรุงของกรรม ๕. วิญญาณ (Consciousness) ได้แก่ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ คือ การเห็น การได้ยิน การรู้รส การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้ทางอารมณ์ทางใจ๑๖๗ ขันธ์ทั้ง ๕ ถูกครอบงาด้วยทุกข์ ธรรมทั้ งหลายที่ ถูก ทุ ก ข์ ต่ าง ๆ ครอบงาอยู่ เป็ น ไปได้ ด้ว ยความทุ ก ข์ ธรรมนั้ น ชื่ อว่ า ขันธ์ ซึ่งดี หมายถึง ขันธ์ทั้ง ๕ นั่นเอง ขันธ์ ๕ ถูกครอบงาจาก ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความเกิด นั้นเป็นการ นามาซึ่งขบวนการเกิดทุกข์ทั้งหลายไม่จบไม่สิ้น เมื่อเกิดแล้วก็ได้รับทุกข์ภัยต่าง ๆ ในชาติกาเนิดของ ตน ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็ทุกข์แบบมนุษย์มีการดิ้นรนแสวงหาปัจจัยทั้งหลายเพื่อการบริโภค เพื่อการ สะสม เพื่อการกอบโกย แสวงหาด้วยสุจริตก็ทุกข์ แสวงหาด้วยทุจริตก็ทุกข์ ฉะนั้น ความเกิดจึงทุกข์ คือทุกข์ในการเกิด ทุกข์ในการแก่ ทุกข์ในการเจ็บ ทุกข์ในการตาย ขันธ์ทั้ง ๕ แต่ละอย่างต่างทาหน้าที่ของตน และมีความทุกข์เฉพาะตนสาหรับความทุกข์ ในขันธ์ ๕ ที่จะศึกษาตอนนี้ คือ เวทนาขันธ์ เวทนา แปลว่า ความเสวยอารมณ์ , ความรู้สึก, ความรู้สึก สุขทุกข์๑๖๘ เวทนา ๓ (การเสวยอารมณ์ , ความรู้ สึ ก รสของอารมณ์ – Vedana- : feeling: sensation) ๑. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม – Sukha๓Vedana- : pleasant felling: pleasure) ๒. ทุ ก ขเวทนา (ความรู้ สึ ก ทุ ก ข์ ไม่ ส บาย ทางกายก็ ต าม ทางใจก็ ต าม – Dukkhavedana : painful felling; pain)

๑๖๗

พระพรหมคุณ าภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุ ทธธรรม, ฉบับปรับ ปรุงและขยายความ, ครั้งที่ ๑๓, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิกจากัด, ๒๕๕๑), หน้า ๑๕-๑๖. ๑๖๘ ฝ่ายการศึกษาทางไกลมูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม, เอกสารประกอบการศึกษาพระอภิธรรมทาง ไปรษณีย์, ชุดที่ ๘ ตอนที่ ๔ พิมพ์ครั้งที่ ๒, มูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม, ๒๕๔๘, หน้า ๔.

๘๖ ๓. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกเฉย ๆ จะสุขก้ ไม่ใช่ จะทุกข์ก็ไม่ใช่ เรียกอีกอย่างว่า อุ เ บกขา-เวทนา- Adukkhamasukha-vedana- , Upekkha- -vedana-: neither-pleasant-norpainful felling; indifferent felling)๑๖๙ ทุกขเวทนา คือ ความรู้สึกลาบาก, ความรู้สึกเจ็บปวด, ความรู้สึกเป็นทุกข์ , การแสวง อารมณ์ที่ไม่สบาย ทั้งทางกายและทางใจเกิดจากที่อาตนะภายนอกกับภายในกระทบกัน๑๗๐ อายตนะ มีความหมาย ๕ ประการ คือ ๑. เป็นที่เกิด หมายความว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เป็นอาตนะภายในนี้ เพราะเป็นที่ เกิดของจิตอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าบุญหรือบาป จะเกิดได้ก็ต้องอาศัยอาตนะเหล่านี้ ๒. เป็นที่อยู่ หมายความว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เป็นอาตนะภายในนี้ เป็นที่อาศัย ให้จิตและเจตสิกเกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้ คล้ายกับเป็นที่อยู่อาศัยของวิถีจิต จึงเรียกว่า อาตนะ ซึ่งเป็นการ กล่าวโดยอ้อมวิถีจิตไม่ได้อยู่ในอาตนะ แต่เมื่อมีเหตุปัจจัยพร้อมแล้ว วิถีจิตเหล่า นั้นก็เกิดขึ้นตั้งอยู่ได้ เหมือนระฆังกับเสียงระฆัง ย่อมกล่าวไม่ได้ว่า มีเสียงระฆังอยู่ในตัวระฆัง แต่เมื่อมีคนดีระฆังแล้วเสียงก็ ปรากฏขึ้ น และกั ง วานอยู่ ได้ ค ล้ า ยกั บ ว่ า เสี ย งนั้ น อยู่ ในระฆั ง ฉั น ใด วิ ถี จิ ต กั บ อาตนะภายในก็ เช่นเดียวกัน ถ้ามีเหตุปัจจัยบริบูรณ์แล้ว ก็เสมือนกับว่าวิถีจิตเหล่านั้น ตั้งอยู่ในอาตนะนั้น ๓. การเกิด หมายความว่า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับสัตว์ทั้งหลาย คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะเกิดขึ้นมีอยู่ในสัตว์บุคคล เกิดขึ้นกับทุกเพศ ทุกภูมิไม่ว่าจะเป็น อบายภูมิ มนุษย์ภูมิ มีอาตนะ ครบ รูปภูมิ (เว้นอสัญญาสัตตพรหมภูมิ) มีจักขายตนะ โสตายนะและมนายตนะ อย่างเดียว ๔. เป็น ที่ประชุม หมายความว่า อาตนะภายในกับอาตนะภายนอกมาประชุมกัน คือ รูปายตนะ (รูป) ซึ่งเป็นอาตนะภายนอก ย่อมต้องมาประชุมกันที่ตา สัททายตนะ(เสียง) ซึ่งเป็นอาตนะ ภายนอก ย่อมต้องมาประชุมกันที่หู เป็นต้น เสมือนเป็นที่ประชุมแห่งวิถีจิตทั้งหลายด้วย ถ้าอาตนะไม่ มาประชุมกัน วิถีจิตทางจักขุทวารวิถี เป็นต้น ก็ไม่เกิดขึ้น ๕. เป็ น เหตุ ให้ เกิ ด หมายความว่า ถ้ า ไม่ มี อ ายตนะภายในและภายนอกแล้ ว วิถี จิ ต ทั้งหลายก็เกิดไม่ได้ เพราะธรรมดาวิถีจิตจะเกิดขึ้นได้ต้องอายตนะภายในและภายนอกเป็นต้นเหตุให้ เกิดขึ้น จากความหมายทั้ง ๕ ประการข้างต้น นักศึกษาคงจะทาความเข้าใจคาว่าอายตนะได้บ้าง ยังมีความหมายของคาว่าอายตนะในที่อื่น ๆ ได้กล่าวไว้ว่า ที่ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นที่ขวนขวาย ตาก็ขวนขวายที่จะแสวงหาดูสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่ดีและ ไม่ดี ที่ ชื่ อ ว่ าอายตนะ เพราะเป็ น ตั ว น าไปสู่ สั งขารทุ ก ข์ อั น ยื ด เยื้ อ มาแล้ ว หมายความว่ า อายตนะเหล่านี้นาไป คือ พาไปสู่สังสารทุกข์อันยืดเยื้อมาแต่อดีต และก็ยังจะพาไปสุ่สังสารทุกข์อัน

๑๖๙

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, หน้า ๒๔๐. พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖), หน้า ๑๐๒. ๑๗๐

๘๗ ยืดเยื้อต่อไปในอนาคตอันหาเงื่อนปลายมิได้อยู่ตลอดเวลา การเวียนเกิดเวียนตายของสัตว์ทั้งหลาย แท้จริงแล้วก็คือการพาไปของ อายตนะ ในสังสารทุกข์อันยืดเยื้อนั่นเอง๑๗๑ อายตนะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ ๑๒ อย่าง เพราะทรงกาหนดถึงทวารอันเป็นที่เกิด และอารมณ์อันเป็นที่รู้แห่งวิญญาณ ๖ เมื่อจาแนกออกเป็นอายตนะภายในและอายตนะภายนอกแล้ว ได้อย่างละ ๖ ดังนี้ อายตนะภายใน ๖ (ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ , แดนต่อความรู้ฝ่ายภายใน – Ajjhattikayatana : internal sense-fields) บาลีเรียก อัชณัตติกายตนะ ๑) จักขุ (จักษุ, ตา – Cakkhu: the eye) ๒) โสตะ (หู – Sota: the ear) ๓) ฆานะ (จมูก – Ghana: the nose) ๔) ชิวหา (ลิ้น – Jivha: the tongue) ๕) กาย (กาย – Kaya: the body) ๖) มโน (ใจ – Mana: the maid) ทั้ง ๖ นี้ เรียกอีกอย่ างว่า อินทรีย์ ๖ เพราะเป็นใหญ่ ในหน้าที่ของตนแต่ละอย่าง เช่น จักษุเป็นเจ้าการในการเห็น เป็นต้น อายตนะภายนอก ๖ (ที่ เชื่ อ มต่ อ ให้ เกิ ด ความรู้ , แดนต่ อ ความรู้ ฝ่ า ยภายนอก – Bahirayatana: external sense-fields) บาลีเรียกว่า พาหิรายตนะ ๑. รูปะ (รูป,สิ่งที่เห็น หรือ วัณณะ คือสี – Rupa: form; visible objects) ๒) สัททะ (เสียง – Sadda: sound) ๓) คันธะ (กลิ่น – Gandha: smell; odour) ๔) รสะ (รส – Rasa: taste) ๕) โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย, สิ่งที่ถูกต้องกาย – Photthabba: touch; tangible objects) ๖) ธรรม หรือ ธรรมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดกับใจ, สิ่งที่ใจนึกคิด – Dhamma: mindobjects) ทั้ง ๖ นี้ เรียกทั่วไปว่า อารมณ์ ๖ คือ เป็นสิ่งสาหรับให้จิตยึดหน่วง๑๗๒ ในกรณีของความทุกข์นี้ อายตนะภายนอกเป็นฝ่ายอนิฏฐารมณ์ ซึ่งเป็นฝ่ายที่ไม่น่าพึง พอใจ คือ ตา-เห็นรูปที่ไม่น่าพอใจ-เกิดความรู้สึกไม่พอใจ-เป็นทุกข์ หู-ได้ยินเสียงที่ไม่น่าพอใจ-เกิดความรู้สึกไม่พอใจ-เป็นทุกข์ จมูก-ได้กลิ่นที่ไม่น่าพอใจ-เกิดความรู้สึกไม่พอใจ-เป็นทุกข์ ลิ้น-ได้ดมกลิ่นที่ไม่น่าพอใจ-เกิดความรู้สึกไม่พอใจ-เป็นทุกข์ ๑๗๑

ฝ่ายการศึกษาทางไกลมูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม, เอกสารประกอบการศึกษาพระอภิธรรมทาง ไปรษณีย์, ชุดที่ ๘ ตอนที่ ๔, หน้า ๑๑-๑๒. ๑๗๒ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, หน้า ๒๐๒-๒๐๓.

๘๘ กาย-ได้สัมผัสสิ่งที่ไม่น่าพอใจ-เกิดความรู้สึกไม่พอใจ-เป็นทุกข์ ทุกขเวทนาเหล่านี้ แม้จะมีเหตุเกิดและทางเกิดต่างกัน แต่ผู้รับทุกข์หรือที่ปรากฏแห่ ง ทุกข์เป็นทีเดียวกันคือ ใจ ส่วนจะเป็นทุกข์มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณภาพของในของผู้ประสบเอง๑๗๓ ที่มาของเวทนา เวทนาทั้ง ๓ อย่ าง มาจากสัมผัสสะ หรือเวทนาเกิดจากผัสสะหรือเวทนามีได้เพราะมี ผัสสะมาก่อน อันได้แก่ การที่อายตนะภายในกระทบกับอายตนะภายนอก เช่นตาเห็นรูป เป็นต้น จึงเกิดความรู้สึกพอใจ (สุข) บ้างไม่พอใจ (ทุกข์) บ้า งเฉย ๆ (อทุกขมสุข) บ้างตามแต่อารมณ์และการ ปรุงแต่งของจิต จิตที่รู้เท่าทันสภาวะปรุงแต่งให้เกิดสุขหรืออย่างไรแต่จิตที่ไม่รู้เท่าทันสภาวะจะปรุง แต่งให้เกิดทุกข์ พุทธศาสนาจึงสอนให้รู้เท่าทัน เพราะตราบใดที่ยังมีผัสสะ เวทนาก็ยังมีแน่นอน ผล ของการรู้เท่าทันสภาวะนี้แม้จะไม่เป็นความสุขร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ต้องเป็นทุกข์น้อยลงแน่นอน๑๗๔ ๒.๓.๓.๒ ความทุกข์ในไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์นี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญลักษณะ แปลว่าลักษณะที่ทั่วไป หรือเสมอ เหมือนกันแก่สิ่งทั้งปวง ซึ่งได้ความหมายเท่ากัน เพื่อความเข้าใจง่าย ๆ จะแสดงความหมายของไตร ลักษณ์ (The Three Characteristics of Existence) โดยย่อดังนี้ ๑) อนิ จ จตา (Impermanence) ความไม่ เที่ ย ง ความไม่ ค งที่ ความไม่ ยั่ งยื น ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป ๒) ทุกขตา (Stress and Conflict) ความเป็ นทุกข์ ภาวะที่ถูกบี บคั้นด้วยการ เกิดขึ้นและสลายตัว ภาวะที่กดดัน ฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่าง นั้นเปลี่ยนแปลงไปจะทาให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว ไม่ให้ ความสมอยากแท้จริง หรือความพึงพอใจเต็มที่แก่ผู้อยากด้วยตัณหา และก่อให้เกิดทุกข์แก่ ผู้เข้าไป อยากเข้าไปยึดด้วยตัณหาอุปทาน ๓) อนัตตา (Soullessness หรือ Non-self) ความเป็นอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง๑๗๕ ความทุ ก ข์ ในไตรลั ก ษณ์ คื อ ทุ ก ขตา ๓ หรื อ ทุ ก ข์ ๓ มี พุ ท ธพจน์ แ สดงไว้ เป็ น หลั ก ครอบคลุมความหมายทั้งหมด คือ ๑) ทุกขทุกขตา หรือ ทุกขทุกข์ ทุกข์ที่เป็นความรู้สึกทุกข์ ได้แก่ ความทุกข์ทางกายและ ความทุกข์ทางใจ อย่างที่เข้าใจโดยสามัญ ตรงตามชื่อและตามสภาพ เช่น ความเจ็บปวด ไม่สบาย เมื่อซบ เป็นต้น หมายถึง ทุกขเวทนานั่นเอง ๒) วิปริณามทุกขตา หรือ วิปริณามทุกข์ ทุกข์เนื่องด้ว ยความผันแปร หรือทุกข์ที่แฝงอยู่ ในความแปรปรวน ได้แก่ ความรู้สึกสุขหรือสุขเวทนา ซึ่งเมื่อว่าโดยสภาวะที่แท้จริง ก็เป็นเพียงทุกข์ใน ระดั บ หนึ่ ง หรื อ ในอั ต ราส่ ว นหนึ่ ง สุ ข เวทนานั้ น จึ งเท่ ากั บ เป็ น ทุ ก ข์ แ ฝง หรื อ มี ทุ ก ข์ ต ามแฝงอยู่ ๑๗๓

ธีรวัส บาเพ็ญบุญบารมี, “ทุกข์ในพระพุทธศาสนา: ศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎกอรรถกถาฎีกา ตลอดจนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา, หน้า ๒๐. ๑๗๔ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๒. ๑๗๕ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ, หน้า ๖๘.

๘๙ ตลอดเวลาซึ่งจะกลายเป็นความรู้สึกทุกข์ หรื อก่อให้เกิดทุกข์ขึ้นได้ทันทีที่เมื่อใดก็ตามสุขเวทนานั้น แปรปรวนไป พูดอีกอย่างหนึ่งว่า สุขเวทนานั้น ก่อให้เกิดทุกข์เพราะควาไม่จริงจังไม่คงเส้นคงวาของ มันเอง (อธิบายอีกนัยหนึ่งว่า สุขเวทนา ก็คือ ทุกข์ที่ผันแปรไปในระดับหนึ่ง หรืออัตราส่วนหนึ่ง) ๓) สังขารทุกขตา หรือ สังขารทุกข์ ทุกข์ตามสภาพสังขาร คือสภาวะของสังขารทุกสิ่งทุก อย่าง หรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดจากเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๕ ทั้งหมด เป็นทุกข์ คือ เป็ น สภาพที่ ถู ก บี บ คั้ น กดดั น ด้ ว ยการเกิ ด ขึ้ น และการเสื่ อ มสลายของปั จ จั ย ต่ า ง ๆ ที่ขัดแย้งทาให้คงอยู่ในสภาพเดิมมิได้ไม่คงตัว ทุกข์ข้อที่สามนี้คลุมความของทุกข์ในไตรลักษณ์๑๗๖ คาว่า “สิ่งทั้งปวง” ในที่นี้หมายถึง สังขารทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม จึงเห็นได้ว่า ความเป็น ทุกข์ในไตรลักษณะนี้ มีผลสืบเนื่องมาจากอนิจจตา คือ ความไม่เที่ยงนั่นเอง และเพราะ ความไม่เที่ยงและเป็นทุกข์จึงหาตัวตน (อัตตา) ในสังขารทั้งปวงไม่ได้๑๗๗ สังขารในไตรลักษณ์ คือ สิ่งทั้งปวงที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง หรือ ที่เกิดจากส่วนประกอบ ต่าง ๆ มาประชุมกันเข้า จะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม คือ เท่ากับขันธ์ ๕ ทั้งหมด๑๗๘ ในวิสุ ท ธิ ม รรค พระพุ ท ธโฆสาจารย์ ผู้ รจนาคั ม ภี ร์ ได้ แ สดงลั ก ษณะของสั งขารที่ ค วร พิจารณายกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ด้วยปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ให้เห็นว่า มันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยเหตุต่าง ๆ คือ เห็นว่าไม่เที่ยงด้วยเหตุ ๑๓ คือ๑๗๙ ๑. อนจฺจนฺติกโต พิจารณาโดยอาการว่า ไม่เป็นสิ่งมีอยู่ตลอดไป ๒. ตาวกาลิกโต พิจารณาโดยอาการว่า เป็นสิ่งมีอยู่ชั่งคราว ๓. อุปฺปาทวยปริจฺฉินฺนโต พิจารณาโดยอาการว่า เป้นสิ่งที่กาหนดลงไว้ด้วยความเกิด และความเสื่อม ๔. ปโลกโต พิจารณาโดยอาการว่า เป็นสิ่งที่ต้องพังทลายเพราะต้องพังทลายไปด้วย พยาธิ และมรณะ ๕. ขณิกโต พิจารณาโดยอาการว่า เป็นสิ่งมีอยู่ชั่วขณะ เพราะต้องเปลี่ยนไปเป็นอื่น ๖. จลโต พิจารณาโดยอาการว่า เป็นสิ่งเคลื่อนไหวหมุนเวียนเพราะต้องเคลื่อนไหว ด้วยพยาธิ มรณะ และเคลื่อนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ คือมีลาภ และเสื่อมลาภ เป็นอาทิ ๗. ปภงฺคโต พิจารณาโดยอาการว่า เป็นสิ่งต้องแตกสลายเพราะมีปรกติเข้าถึงความ เป็นของแตกสลายโดยการกระทาของตนเองบ้างโดยการกระทาของผู้อื่นหรือสิ่งอื่นบ้าง ๘. อทฺธุวโต พิจารณาโดยอาการว่า เป็นสิ่งไม่คงทน เพราะมีปรกติตกไปหาสภาพ ความความไม่คงทน ๙. วิปริณามธมมฺโต พิจารณาโดยอาการว่า มีอาการแปรปรวนไปเป็นธรรมเพราะมี การหมุนเวียนเปลี่ยนไปทุกขณะโดยอาการชราและมรณะ ๑๗๖

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ, หน้า ๗๐. ธีรวัส บาเพ็ญบุญบารมี, “ทุกข์ในพระพุทธศาสนา: ศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎกอรรถกถาฎีกา ตลอดจนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา, หน้า ๕๑. ๑๗๘ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ, หน้า ๖๘. ๑๗๙ ธีรวัส บาเพ็ญบุญบารมี, “ทุกข์ในพระพุทธศาสนา: ศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎกอรรถกถาฎีกา ตลอดจนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา, หน้า ๕๒. ๑๗๗

๙๐ ๑๐. อาสาวรกโต พิจารณาโดยอาการว่า เป็นสิ่งที่ไม่เป็นแก่นสารเพราะเป็นสิ่ งที่ อ่อนแอหาแก่นสารไม่ได้ ทั้งเป็นสิ่งแตกหักง่ายเหมือนกระพี้ไม้ ๑๑. วิภวโต พิจารณาโดยอาการว่า เป็นสิ่งที่ต้องเสื่อมสลาย เพราะปราศจากความ เจริญ และเพราะเป็นตัวเสื่อมเอง ๑๒. สงฺ ข ตโต พิ จ ารณาโดยอาการว่ า เป็ น สิ่ งที่ ถู ก ปรุ ง แต่ ง ขึ้ น เพราะถู ก ปั จ จั ย ทั้งหลายปรุงแต่งขึ้นมิได้เป็นมาเอง ๑๓. มรณธมฺมโต พิจารณาโดยอาการว่า เป็นสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดา เพราะมีความ แก่ ความเจ็บอยุ่เป็นปกติ เห็นโดยความเป็นของงาม อันเป็นบริวารแห่งทุกขลักษณะ โดยเหตุ ๗ คือ๑๘๐ ๑) อชญฺญโต เห็นว่าไม่งามโดย เป็นสิ่งไม่มีความงดงาม ๒) ทุคฺครฺธโต เห็นว่าไม่งามโดย เป็นสิ่งมีกลิ่นเหม็น ๓) เชคฺจฺฉโต เห็นว่าไม่งามโดย เป็นสิ่งน่ารังเกียจ ๔) ปฏิกูลโต เห็นว่าไม่งามโดย เป็นสิ่งปฏิกูล คือสกปรก ๕) อมณฺฑนหตโต เห็นว่าไม่งามโดย เป็นสิ่งมิใช่กาจัดความปฏิกูลได้ด้วยการตบแต่ง ๖) วิรูปโต เห็นว่าไม่งามโดย เป็นสิ่งน่าเกลียด ๗) วิภจฺฉโต เห็นว่าไม่งามโดย เป็นสิ่งน่าขยะแขยง เห็นโดยความเป็นอนัตตา โดยเหตุ ๗ คือ ๑. ปรโต เห็นว่าเป็นอนัตตาโดย เป็นฝ่ายอื่น ๒. ริตตฺโต เห็นว่าเป็นอนัตตาโดย เป็นของว่าง ๓. ตุจฺฉโต เห็นว่าเป็นอนัตตาโดย เป็นเปล่า ๔. สุญฺญโต เห็นว่าเป็นอนัตตาโดย เป็นของสูญ ๕. อสฺสามิกโต เห็นว่าเป็นอนัตตาโดย เป็นของไม่มีใครเป็นเจ้าของ ๖. อนิสฺสรโต เห็นว่าเป็นอนัตตาโดย เป็นของไม่มีใครใหญ่ ๗. อวสวตฺติโต เห็นว่าเป็นอนัตตาโดย เป็นของไม่อยู่ในอานาจใคร ลักษณะทั้งหมดนี้ คือ อนิจจลักษณะ ๑๓ ทุกขลักษณะ ๒๘ อาการที่เป็น บริวารของทุก ขลักษณะ ๗ และอนัตตลักษณะ ๗ เป็นอาการของสังขารนี้ ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงอย่างแนบสนิท ดังนั้น สังขารทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมจึงมีความเสมอภาคกันใน ๓ กรณี คือ อนิจจฺจตา ความ ไม่เที่ยง ทุกขฺตา ความเป็นทุกข์ และอนตฺตตา ความเป็นสิ่งไม่มีตัวตน ความทุกข์ในไตรลักษณ์ ซึ่งกาลังกล่าวถึงอยู่นี้หมายเอาความต้องแตกดับ ต้องทาลายของ สิ่ งทั้ งปวงไม่ ว่ า สั ง ขารที่ มี ชี วิ ต หรื อ ไม่ มี ชี วิต วิ ญ ญาณ เช่ น การทรุ ด โทรมคร่าคร่ า ของโต๊ ะ เก้ า อี้ บ้านเรือน รถ เรือ เป็นอาทิ

๑๘๐

ธีรวัส บาเพ็ญบุญบารมี, “ทุกข์ในพระพุทธศาสนา: ศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎกอรรถกถาฎีกา ตลอดจนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา, หน้า ๕๕.

๙๑ ความทุกข์๑๐ ประเภท เพราะเหตุที่ความทุกข์ในไตรลักษณ์ครอบคลุมเอาความทุกข์ทุก อย่างไว้ คือมีขอบเขตกว้างที่สุด ในที่นี้จึงขอกล่าวถึงความทุกข์อย่างรวม ๆ กันไป คือทั้งทุกข์ในขันธ์ ๕ ทุกข์ในอริยสัจ และทุกข์ในไตรลักษณ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ท่านได้จาแนกทุกข์ไว้ ๑๐ ประเภท คือ ๑.สภาวทุ ก ข์ – ทุ ก ข์ ต ามสภาพของสั ง ขาร ได้ แ ก่ ความเกิ ด ความแก่ ความเจ็ บ และความตาย ทุกข์ทั้ง ๓ อย่างนี้ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ละเอียดพอสมควรแล้วในเรื่องอริยสัจ ๔ ตอน ที่ว่าด้วยทุกข์ ในที่นี้จะขอกล่าวแต่โดยย่อพอได้ความเพื่อให้สมบูรณ์ ความเกิดเป็นทุกข์นั้น เพราะต้อง เสี่ ย งอัน ตรายในการเกิด ทั้งเด็กและมารดาของเด็ ก ขณะอยู่ในท้องมารดาแม้จะอยู่ส บายสมควร ไม่กระทบกระเทือนอะไรมากนัก แต่ครั้นถึงวาระที่จะคลอดก็เริ่ม มีความเดือดร้อนต่าง ๆ เมื่อคลอด ออกมาแล้ว มาสู่ภพใหม่ ก็เริ่มเข้าสู่ยุคแห่งทุกข์ต่าง ๆ ตรงกันข้ามกับความไม่เกิด ซึ่งเป็นทางหมด ทุกข์ ความแก่และความตายเป็นทุกข์อย่างไร ก็ปรากฏแจ่มแจ้งแก่คนทั่วไปอยู่แล้ว๑๘๑ ๒. ปกิณ ณกทุกข์ หรือ ปกิรณทุกข์ แปลว่า ทุกข์จร หรือทุกข์ เบ็ดเตล็ด ท่านบ่งถึง ความโศก ความร่าไรราพัน ความทุกข์กายทุกข์ใจ ความคับแค้นใจอันเกิดขึ้นเพราะต้องพลัดพรากจาก สิ่ งอั น เป็ น ที่ รั ก บ้ า ง เพราะประสบกั บ สิ่ งอั น ไม่ เป็ น ที่ รั ก บ้ า ง เพราะเสื่ อ มญาติ เสื่ อ มทรั พ ย์ บ้ า ง ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นตามต้องการบ้าง ความทุกข์ประเภทนี้มีอยู่แทบทุกวัน บางคนก็มีทุกวัน วันละมาก ๆ เสียด้วย จนเกือบทนไม่ไหว หรือทนไม่ไหว ถึงกับเป็นบ้าเอาทีเดียว ความทุกข์ประเภทนี้ แม้จะได้ชื่อว่า ปกิณณกทุกข์ก็จริง แต่ก็มีอานุภาพ หรืออิทธิพลครอบงาย่ายีดวงจิตของมนุษย์อยู่ทุก วัน ไม่เคยมีใครรอดพ้น จากความทุ กข์ประเภทนี้ได้เลยไม่ว่าจะเป็นราชาหรือยาจก เศรษฐีหรือคน เข็ญใจหญิงหรือชาย และต้องพบมันแทบทุกวันเสียอีกด้วย โดยเฉพาะความทุกข์ใจ และความคบแค้น ใจ โดยเฉพาะคนที่ฝึกจิตมาน้อย มีการอบรมจิตน้อย เมื่อกระทบกับภาวการณ์อันทาให้โศกเศร้าเสียใจ หรือคับแค้นใจ ย่อมจะกระเทือนมากเพราะไม่รู้เท่าทันธรรมดา๑๘๒ ๓. นิพัทธทุกข์ – ทุกข์เนืองนิตย์ ได้แก่ ความทุกข์อันเกิดจากหนาว ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ ความหิ ว กระหายเป็ น ทุ ก ข์ ที่ ต้ อ งบ าบั ด อยู่ เสมอ ๆ วัน ละหลายครั้ง ท่ า นจึ งเรีย กว่ า นิพัทธทุกข์ (ทุกข์เนืองนิตย์) การทางานหนัก การเสี่ยงชีวิตทางาน ส่วนใหญ่ก็เพื่อแสวงหาอาหารและ น้ามาบาบั ดความหิวกระหายนี้ เอง ความหิ วกระหายจึงเป็นนิพัทธทุกข์ที่เห็ นได้ชัด ถ้าไม่สามารถ บาบัดได้เพราะเหตุใดเหตุหนึ่งก็เป็นทุกข์หนักอาจถึงตายได้ มีตัวอย่างคนอดตายอยู่เสมอทั่วโลก การปวดอุจจาระและถ่ายอุจจาระ ก็มีกลไกทานองเดียวกันนี้ในคนธรรมดา ความรู้สึก ปวดอุจจาระเกิดขึ้นเมื่อมีกากอาหาร (อาหารเก่า) เคลื่อนเข้าสู่ลาไส้ใหญ่ส่วนคดเคี้ยวซึ่งอยู่เหนือขึ้นไป จากห้วงทวารหนัก ทาให้มีการบีบตัวของส่วนนั้น การบีบตัวนี้อยู่ในความควบคุมของระบบประสาท เสรี ถ้าเรายังไม่อยากถ่ายเราก็อาจกลั้นเอาไว้ก่อนได้โดยบีบกล้ามเนื้อหัวรูด (ซึ่งมีสองชั้น) ทานอง ๑๘๑

วศิ น อิท สร, ไตรลัก ษณ์ แ ละปฏิ จิจ สมุป บาท, พิ มพ์ ค รั้งที่ ๖, (กรุงเทพมหานคร: ส านั ก พิ ม พ์ ธรรมดา, ๒๕๔๙), หน้า ๓๑-๓๒. ๑๘๒ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๔.

๙๒ เดียวกับกลั้นปัสสาวะ แต่การกลั้นนี้มีอยู่บังคับของจิตใจเพียงบางส่วนหรือบางระยะ เมื่อการกระตุ้น จากห้วงทวารหนักมีมากขึ้น ๆ ในที่สุดระบบประสาทเสรีก็จะเอาชนะการห้ามของจิตใจ และสั่งหูรูด เปิดให้อุจจาระออกไปได้การปวด และการถ่ายอุจจาระปัสสาวะจึงเป็นเรื่องที่เราต้องทน แต่ก็ทนอยู่ ไม่ได้ คือเป็นทุกข์๑๘๓ ๔. พยาธิทุกข์ – ทุกข์อันสืบเนื่องมาจากโรคต่าง ๆ คือมีสาเหตุมาจากโรคต่าง ๆ เพราะ ร่างกายได้รับเชื้อโรคบ้าง เพราะอวัยวะเองพิการไป เช่น ต่อมพิการเป็นต้นบ้าง โรคเป็นสภาพเสียด แทงให้เจ็บปวดลาบาก ให้ทุกข์ร้อนหมดเปลืองทรัพย์สิน ทาลายความสามารถบั่นทอนพลังกาย พลัง ใจ และบั่นทอนอายุให้สิ้น โรคเป็ น สาเหตุแห่ งทุกข์อย่างหนึ่งแน่นอนไม่มีใครเถียง แต่บางทีโรคก็มีส่ วนดีอยู่บ้าง ตรงที่ทาให้คนไม่มัวเมาประมาทเกินไปความเจ็บเป็นทูตอย่ างหนึ่งของความตาย พอเจ็บคนก็นึกถึง ตาย การนึกถึงความตายบ่อย ๆ เป็นทางบรรเทาความประมาท ความหลงใหลในรูปรส กลิ่น เสียง สิ่งสัมผัส และทรัพย์ ยศ ความมีหน้ามีตาในสังคม มองในแง่ดี ความมีโรคบ้างก็ไม่ใช่ความเสียโดยส่วน เดียว ๕. สันตาปทุกข์ – ทุกข์เพราะถูกกิเลสเผาให้ เร่าร้อน โดยปกติมนุษย์และสัตว์ถูกเพลิง ทุกข์ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นต้น เผาให้เร่าร้อนอยู่แล้วกองหนึ่ง ยังมีเพลิงกิเลส คือราคะบ้าง โทสะ บ้าง โมหะบ้ างเผาอีก บางทีก็รุมเผาพร้อม ๆ กันทั้งสองกอง ทาให้ มีความทุกข์เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ตรีคูณ ทุกข์ข้อนี้ หมายเอาทุกข์ทางใจอันสืบเนื่องมาจากกิเลสโดยตรงเช่น ราคะ ความกาหนัด ความกระหายในอารมณ์มีรูปเป็นต้น อันน่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ เมื่อได้สิ่งนั้นมาตามที่ใคร่อยาก ได้ก็หมกมุ่นพัวพันติดอยู่ ใจหาสงบตามปกติภาพของมันไม่ คงกระวนกระวายเพราะความใคร่ ความ อยากอยู่นั่นเอง เมื่อไม่ได้อารมณ์นั้นตามใจปรารถนาก็เศร้าโศกเสียใจ ตรอมใจ ถึงกับกินไม่ไก่นอนไม่ หลับและฆ่าตัวตายก็มี โทสะหรือโกรธ เมื่อเกิดขึ้นก็เผาใจให้เร่าร้อน อาจทาการประทุษร้ายผู้อื่นให้ เพราะแรงโทสะนั้ น ผลก็คือต้องถูกจาจองจาโทษหรือถูกปรับ ถูกติเตียน ต้องทุกข์อีกเป็นซ้าสอง นอกจากนี้วิบากกรรมอันสืบเนื่องมาจากโทสะนั้น ยังส่งผลไปยังภพหน้าอีก เป็นความทุกข์อันยืดเยื้อ โมหะก็ทานองเดียวกันครอบงาใจแล้วทาให้มืดมน อาจเห็นผิดเป็นชอบ เห็นชั่วเป็นดี บดบังแสงแห่ง ปัญญาเสีย ไม่ให้เห็นตามเป็นจริงได้ จึงเห็นความหลอกลวงว่าเป็นความจริง ยึดเอาเรื่ องหลอกลวงว่า เป็นเรื่องจริง ถือเอาสิ่งไร้สาระว่าเป็นสาระ ทิ้งสาระเสีย เพราะความเข้าใจผิด เห็นผิดคิดผิดเมื่อเป็น ดังนี้ ความสงบแห่งใจจึงถูกทาลายลง ความหลงจึงเป็นข้าศึกของความสงบแห่งใจ๑๘๔ ๖. วิ บ ากทุ ก ข์ – ทุ ก ข์ อั น เกิ ด จากวิ บ ากหรื อ ผลกรรม สมเด็ จ พระมหาสมณเจ้ า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงอธิบายว่า “ได้แก่ วิปฏิสาร คือความร้อนใจ การเสวยกรรมกรณ์ คือ ถูกลงอาชญาความฉิบหาย ความตกยาก และความตกอบาย มาในบาลีมากแห่ง” ทุกข์อันเกิดจากผลกรรมนี้ เป็นทุกข์อันน่ากลัวอย่างหนึ่ง ผู้ประกอบกรรมชั่วไว้ เมื่อถึง คราวกรรมชั่วนั้นจะให้ผลก่อทุกข์ไปจนกว่าการให้ผลของกรรมจะเพลาลงหรือหมดสิ้นไป ๑๘๓ วศิน อิทสร, ไตรลักษณ์และปฏิจิจสมุปบาท, หน้า ๔๔-๔๕. ๑๘๔

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๙-๔๐.

๙๓ ที่ว่ายากที่จะหลีกเลี่ยงได้นั้น เพราะเมื่อกรรมจะให้ผลแก่ผู้ใดมันย่อมวางแผนเป็นขั้นตอน ที่จะจับ ผู้ นั้ น ให้ อยู่ ไม่ว่าเขาจะหลีกเลี่ ยงไปทางใด เพราะธรรมดาเมื่อบุคคลต้องประสบทุกข์ไม่ว่า เพราะเหตุใดก็ตาม เขาย่อมหาทางหลีกเลี่ยง แต่กรรมมีแผนการไว้เรียบร้อยแล้วว่าถ้าเขาเลี่ยงไปทาง นั้ น ทางนี้ กรรมจะจั ดการอย่ างนั้ น อย่างนี้ คนที่ ถึงคราวจะได้รับ ทุกข์เพราะกรรมเก่ามาให้ ผ ลนั้ น จึงหลีกเลี่ยงให้พ้นจากเงื้อมแห่งกรรมไปได้ยาก เขาจะต้องทุกข์ด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือเรื่องนี้ ไปเจอ เรื่องโน้น หลีกเรื่องโน้นมาเจอเรื่องนี้เข้าอีก เพราะกาลังแห่งกรรมเป็นกาลังใหญ่ยากที่จะต้านทานได้ สมดังที่ตรัสว่า “นตฺถิ กมฺมสม พล = ไม่มีแรงใดเสมอด้วยแรงกรรม” วิบากกรรมที่สุกงอมต้องหล่นตก แก่ผู้ทา การส้รางกรรมชั่วจึงมีผลเป็นทุกข์เสมอ ควรกลัว ๗. สหคตทุกข์ - ทุกข์ไปด้วยกัน สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงอธิบายว่า “ได้แก่ทุกข์อันเนื่องมาจากวิบุลผลดังแสดงในโลกธรรมสูตร อัฏฐกังคุตร ว่า ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นทุกข์แต่ละอย่าง ๆ บางอาจารย์อธิบายว่า เป็นวิปริณามทุกข์ คือทุกข์เมื่อแปลเป็น อื่น น่าเข้าใจว่ามีลาภคือทรัพย์ ต้องเฝ้า ต้องระวัง จนไม่เป็นอันหลับอันนอนได้โดยปกติ เสียชีวิตใน การป้องกันทรัพย์ก็มี มียศ คือได้รับตั้งเป็นใหญ่กว่าคนสามัญเป็นชั้น ๆ ต้องเป็นอยู่เติบกว่าคนสามัญ จาต้องมีทรัพย์มากเกินกาลังมักหาได้ไม่พอใช้ ต้องมีภาระมาก เวลาไม่เป็นของตน เป็นที่เกาะของคน อื่นจนนุงนัง ต้องพลอยทุกข์สุขด้วยเขา ได้รับสรรเสริญเหมือนดื่มเหล้าหวาน ชวนจะเพลินไปว่าตนดี ต้องมีสติระวังมิให้เมากล่าวคือเผลอตัว ดื่มเหล้าเสียอีกผู้อื่นยังอาจยั้งได้ ส่วนสรรเสริญมากจากผู้อื่น ยั่วยวนอยู่เสมอ มีสุขเป็นทางปรารถนาเป็นยิ่งขึ้น จึงยังไม่อิ่ม เป็นอันไม่ได้สุขจริง วิบุลผลอย่างนี้มี ทุกข์กากับอยู่ด้วย แสดงในโลกธรรมสูตรว่าเป็นทุกข์ก็สม”๑๘๕ ๘. อาหารปริเยฏฐิทุกข์ – ทุกข์ในการหากิน มนุษย์และสั ตว์ที่มีชีวิต ย่อมต้องอาศัย อาหารเป็นอยู่ ขาดอาหารอยู่ไม่ได้ ต้องตายสัตว์ชีพจึงต้องแสวงหาอาหารอยู่ เนืองนิตย์ ในการแสวง อาหารนั้นดิรัจฉานที่มีเนื้อเป็นภักษาย่อมต้องล้างผลาญชีวิตสัตว์ชนิดเล็กกว่าต้นบ้าง ต้องต่อสู้กับสัตว์ ชนิดเดียวกันเพื่อแย่งอาหารกัน ในหมู่มนุษย์ก็เช่นเดียวกัน ต้องทางานอาบเหงื่อต่างน้า ชาวนาต้องเอาหลังสู้ฟ้าหน้าสูดิน อยู่ตลอดวัน ทนกราแดดกราฝน ทนน้าทนโคลนและสัตว์บางชนิด เช่น ปลิงที่สูบเกินเลือด ๙. วิวาทมูลกทุกข์ – ทุกข์ซึ่งมีวิวาทเป็นมูล คือ ทุกข์อันมีสาเหตุมาจากการวิวาทกัน เพราะเหตุใดเหตุหนึ่ง เช่น ผลประโยชน์ขัดกัน ส่วนใหญ่ก็เนื่องมาจากผลประโยชน์ขัดกัน เมื่อทะเลาะ วิวาทกันแล้ว ก็มีความไม่โปร่งใจ หวั่นหวาด กลัวแพ้ บางคราวชวนพรรคพวกมาวิวาทด้วยกลายเป็น การยกพวกประหารกั น ถ้ า วิ ว าทนั้ น เป็ น ระดั บ ประเทศและระดั บ โลก ก็ ก ลายเป็ น สงคราม ความเดือดร้อนก็แผ่ไปทั่วประเทศหรือทั่วโลก ๑๐. ทุกขขันธ์ – ทุกข์รวบยอด ได้แก่ ความทุกข์อันเนื่องมาจากการมีขันธ์ ๕ หรือมี ตัวตน เพราะเหตุที่ มีความเกิด มีตัว ตนความทุ กข์อย่างอื่น จึงตามมา อนึ่ ง ความยึด มั่นในขัน ธ์ ๕ เป็นการทาลายต้นเหตุแห่งความเกิด เมื่อไม่เกิด ความทุกข์ก็ไม่มี

๑๘๕

วศิน อิทสร, ไตรลักษณ์และปฏิจิจสมุปบาท, หน้า ๔๖.

๙๔ ความทุกข์ดังพรรณนามานี้ ย่อมปรากฏในบุคคลและสัตว์ทั่วไป ส่วนความทนอยู่ไม่ได้ นานของอนุปาทินนกสังขาร (สังขารที่ไม่มีวิญญาณครอง) ต้องแตกทาลายไป ท่านรวมเรียกว่าทุกข์ใน ไตรลักษณ์นี้ด้วย โดยหมายว่าทนได้ยาก หรือทนอยู่ไม่ได้ มองในแง่นี้ สังขารทั้งปวง ไม่ว่าคน สัตว์ หรือสิ่งของ ย่อมตกอยูในห้วงทุกข์ ท่านจึงกล่าว ไว้โดยสรุปว่า “ทุกฺขเมว หิ สมฺโภติ ทุกฺข ติฏฺฐติ เวติ จ นาญฺญตร ทุกฺขา สมฺโภติ นาญฺญตร ทุกฺขา นิรุชฺฌติ” แปลว่า “ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นดับไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไร เกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ”๑๘๖ ๒.๓.๓.๓ ความทุกข์ในอริยสัจ ๔ หัวใจคาสอนของพระพุทธพระเจ้าอยู่ที่อริสัจจ์ ๔ ประการ (จตฺตาริ อริยสจฺจานิ) ซึ่งพระ พุทธองค์ทรงแสดงไว้ในปฐมเทศนาแก่สหายเก่าของพระองค์ คือ เบญจวัคคี ที่ป่าอิสิปตนะ (ปัจจุบัน เรียกว่า สารนาถ) ใกล้เมืองพาราณสี๑๘๗ อริยสัจจะ คือ ธรรมที่เป็นความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น ย่อมู้แจ้งแทงตลอดในสัจจะธรรม พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกสัจจะธรรมว่า “อริยสัจจะ” คือ ธรรมที่เป็นความจริงของพระอริยะ เป็นสัจจะอันแท้จริง ไม่ผิดพลาด ไม่คาดเคลื่อน สั จ ธรรมเหล่ านั้ น ปุ ถุช นทั้งหลายรู้ไม่ ได้ คือ เข้ าไม่ถึ งความลึ กซึ้ งของสั จ จะธรรมนั้ น ฉะนั้น จึงแสดงว่าใครก็ตามที่เข้าถึงสัจจะธรรมนั้น ย่อมสาเร็จความเป็นพระอริยะ พระพุทธองค์ทรง ตรั ส ว่ า “ดู ก ร ภิ ก ษุ ทั้ ง หลายตถาคตผู้ เ ป็ น พระอรหั น ตสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า ที่ ช าวโลก เรี ย กว่ า “พระอริยะ” เพราะเป็นผู้ตรัสรู้อริยสัจนี้แลตามความเป็นจริง”๑๘๘ กล่าวคือ ความจริงที่นามาใช้ให้เป็นประโยชน์ ส่วนสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แม้เป็นความจริง ก็ไม่สอน และอริยสัจนี้ถือว่าเป็นความจริงที่เป็นประโยชน์ในที่นี้ โดยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงไม่ทรงสน พระทัยและไม่ยอมทรงเสียเวลาในการถกเถียงปัญหาอภิปรัชญาต่าง ๆ มีพุทธพจน์ ที่รู้จักกันมาแห่ง หนึ่งว่าดังนี้ “ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าที่เราบอก เราบอกว่านี้ทุกข์ เราบอกว่านี้ทุกขสมุทัย เราบอกว่า นี้ทุกขนิโรธ เราบอกว่านี้ทุกข์โธคามินีปฏิปทา, เพราะเหตุไรเราจึงบอก ก็เพราะข้อนี้ประกอบด้วย ประโยชน์ ข้อนี้ เป็ น หลั กเบื้ องต้น แห่ งพรหมจรรย์ ข้อ นี้เป็ นไปเพื่อนิ พ พิท า เพื่อวิราคะ เพื่ อนิ โรธ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อนิพพาน ฉะนั้นเราจึงบอก, เพราะฉะนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย เธอพึง

๑๘๖ ๑๘๗

หน้า ๕๓.

๑๘๘

วศิน อิทสร, ไตรลักษณ์และปฏิจิจสมุปบาท, หน้า ๔๙-๕๐. ชูศักดิ์ ทิพย์เกสร, พระพุทธเจ้าสอนอะไร, (กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาบรรณาคาร, ๒๕๓๒),

ฝ่ายการศึกษาทางไกลมูลนิธิเผยแพร่พระสัทธรรม, เอกสารประกอบการศึกษาพระอภิธรรมทาง ไปรษณีย,์ ชุดที่ ๘ ตอนที่ ๔, หน้า ๑๖.

๙๕ กระท าความเพี ย รเพื่ อ – รู้ ต ามเป็ น จริ ง นี้ ทุ ก ข์ นี้ ทุ ก ขสมุ ทั ย นี้ ทุ ก ขนิ โ รธ นี้ ทุ ก ขนิ โ รธคามิ นี ปฏิปทา”๑๘๙ ในทางพระพุทธศาสนา การกาหนดทุกข์ถือเป็นกิจในอริย สัจ ๔ ที่ชาวพุทธต้องทาเพื่อละ และปล่อยวางในลาดับต่อไปในกิจทั้งสี่ในอริยสัจ อันได้แก่ รู้ทุกข์ เพื่อค้นหาสาเหตุในการดับทุกข์ (สมุ ทั ย ) แล้ ว จึ งต้อ งจุ ดมุ่ งหมายในการดั บ ทุ กข์ (นิ โรธ) แล้ ว ดาเนิ น การสู่ เส้ น ทางสู่ ค วามดั บ ทุ ก ข์ (มรรค) คือ สละ ละ ปล่อยวาง ไม่ยึดติดในใจด้วยกิเลส ทุกข์จัดเป็นหนึ่งในชื่อเรียกที่เป็นไวพจน์ของขันธ์ซึ่งถูกใช้เป็นอย่างมากในพระไตรปิฎก อริยสัจทุกข์ ๑) ทุกข์ แปลว่า ความทุกข์ หรือสภาพที่ทนได้ยาก ได้แก่ ปัญหาต่าง ๆ ของมนุษย์ กล่าว ให้ลึกลงไปอีก หมายถึง สภาวะของสิ่งทั้งหลายที่ตกอยู่ในกฎธรรมดาแห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็น อนัตตา ซึ่งประกอบด้วยภาวะบีบคั้น กดดัน ขัดแย้ง มีความบกพร่อง ไม่สมบูรณ์ในตัวเองขาดแก่น สารและความเที่ยงแท้ ไม่อาจให้ความพึงพอใจเต็มอิ่มแท้จริง พร้อมที่จะก่อปัญหา สร้างความทุกข์ ขึ้นมาได้เสมอ ทั้งที่เกิดเป็นปัญหาขึ้นแล้ว และที่อาจเกิดปั ญหาขึ้นมา เมื่อใดเมื่อหนึ่งในรูปใดรูปหนึ่ง แก่ผู้ที่ยึดติดถือมั่นไว้ด้วยอุปทาน ๒. ทุกขสมุทัย เรียกสั้น ๆ ว่า สมุทัย แปลว่าเหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุให้เกิดทุกข์ เกิดขึ้น ได้แก่ความอยากที่ยึดถือเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง โดยอาการที่มีเราซึ่งจะเสพเสวย ที่จะได้จะเป็ นจะ ไม่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทาให้ชีวิตถูกบีบคั้นด้วยความเร่าร้อน ร่านรน กระวนกระวาย ความหวงแหน เกลี ย ดชั ง หวั่ น กลั ว หวาดระแวง ความเบื่ อ หน่ า ยหรื อ ความคั บ ข้ อ งติ ด ขั ด ในรู ป ใดรู ป หนึ่ ง อยู่ ตลอดเวลา ๆ ม่ อ าจปลอดโป่ งโล่ งเบา เป็ น อิส ระ สดชื่ น เบิ ก บานได้ อย่ างบริสุ ท ธิ์สิ้ น เชิ ง ไม่รู้จั ก ความสุขชนิดที่เรียกว่าไร้ไฝฝ้าและไม่อืดเฟ้อ ๓. ทุกขนิโรธ เรียกสั้น ๆ ว่า นิโรธ แปลว่า ความดับทุกข์ได้แก่ ภาวะที่เข้าถึง เมื่อกาจัด อวิชชาสา-รอก ตัณหาสิ้นแล้ว ไม่ถูกตัณหาย้อมใจหรือฉุดลากไป ไม่ถูกบีบคั้นด้วยความรู้สึกกระวน กระวาย ความเบื่อหน่า ย หรือความคับข้องติดขัดอย่างใด ๆ หลุดพ้นเป็นอิสระ ประสบความสุขที่ บริสุทธิ์ สงบปลอดโป่งโล่งเบา ผ่องใส เบิกบาน เรียกสั้น ๆ ว่า นิพพาน ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เรียกสั้น ๆ ว่า มรรค แปลว่า ปฏิปทาที่นาไปสู่ความดับทุกข์ หรือข้อ ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ อริยอัฏฐังดิกมรรค หรือทางประเสริฐมีองค์ประกอบ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ที่เรียกว่า มัชชิมาปฏิปทา เพราะเป็นทางสายกลาง ซึ่งดาเนินไปพอดีที่ จะให้ถึงนิโรธ โดยไม่ติดข้องหรือเอียงไปหาที่สุดยอดอย่าง คือ กามสุขัลลิกานุโยค (ความหมกมุ่นใน กามสุ ข ) และอั ต ตกิ ล มถานุ โ ยค (การประกอบความล าบากแก่ ต น คื อ บี บ คั้ น ทรมานตนเองให้ เดือดร้อน)๑๙๐

๑๘๙

สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย, จิตวิทยาในพระไตรปิฎก, เอกสารประกอบการสอน ภาควิชาบริหารการศึกษา และกิจการคณะสงฆ์ คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาลีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม ๒๕๕๒, หน้า ๑๐๙-๑๑๐. ๑๙๐ สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย, จิตวิทยาในพระไตรปิฎก, หน้า ๑๑๑-๑๑๒.

๙๖ คัมภีร์วิสุทธิมัคค์ สัมโมหวิโนทนี และสัทธัมมปปาสินี ได้ชี้แจงเหตุผลไว้อย่างหน้าฟังว่า เหตุใดพระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงอริยสัจ ๔ ไว้โดย เรียงลาดับข้ออย่างที่เรียนรู้กันอยู่นี่ ข้อความที่ท่าน กล่าวไว้แม้จะสั้น แต่มีสาระหนักแน่น จึงขอนามาเป็นเค้าความสาหรับกล่าวถึงอริยสัจ ๔ โดยสังเขป ดังนี้ ๑.ทุกข์ คือปัญหาต่าง ๆ ของมนุษย์ เป็นเรื่องบีบคั้นชีวิตจิตใจ มีอยู่ทั่วไปแก่สัตว์มนุษย์ ทุกคนเกิดขึ้นแก่ใครเมื่อใด ก็เป็นจุกสนใจ เป็นของเด่นชัดแก่ผู้นั้นเมื่อนั้น แต่ว่าที่จริงมองกว้าง ๆ ชีวิต มีปัญหาและเป็นปัญหากันอยู่เรื่อย ๆ เป็นธรรมดา ดังนั้น ทุกจึงเป็นจุดสนใจปรากฏเด่นชัดอยู่ในชีวิต ของทุก ๆ คน เรีย กได้ว่าเป็ น ของชัดรู้ง่ายเห็ นง่าย จี้ความสนใจ เหมาะที่จะยกขึ้นเป็ นข้อปรารภ คือเป็นจุดเริ่มต้นในการแสดงธรรม ยิ่งกว่านั้น ทุกข์เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว และน่าตกใจสาหรับคน จานวนมากคอยหลีกเลี่ยงไม่อยากได้ยิน แม้แต่คนที่กาลังเพลิดเพลินลุ่มหลงมัวเมา ไม่ตระหนักรู้ว่า ตนเองกาลังมีปัญหาและกาลังก่อปัญหา เมื่อมีผู้มาชี้ปัญหาให้ก็จะกระทบใจทาให้สะดุ้งสะเทือนและมี ความหวั่นไหวสาหรับคนที่ อยู่ในภาวะเช่นนั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตน ไม่ใช่เรื่อง เลื่อนลอยไม่ใช่เรื่องคิกเพ้อฝัน หรือสักว่าพูดดีฝีปากกันไปเมื่อพูดกับใครก็เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับคนนั้น เมื่อพูดเป็นกลาง ๆ ก็เกี่ยวข้องกับทุกคน ๑๙๑ทุกข์ ๑๒ เป็นชุดไขความสาหรับแสดงความหมายของ ทุกข์ในอริยสัจ ๔ มีดังนี้ ชาติ ความเกิดเป็ นทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่ งความทุกข์ต่าง ๆ อเนกประการ ท่านแบ่ง ซอยออกเป็น ก. คัพโภกกันติมูลกทุกข์ ทุกข์เกิดจากการอยู่ในครรภ์ อยู่ที่อันจะคับแคบอึดอัด มืดตื้อ แออัดด้วยสิ่งที่น่ารังเกียจ ดุจหนอนในของเน่าหรือในน้าคร่า ข. คัพภปริหรณมูลกทุกข์ ทุกข์เกิดจากการบริหารครรภ์ มารดาจะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว ลุกนั่งเดินวิ่งแรงหรือเบา กินดื่มของร้อนเย็นเปรี้ยวเผ็ด เป็นต้น มีผลกระทบต่อเด็กในครรภ์ทั้งสิ้น ค. คัพภวิปัตติมูลกทุกข์ ทุกข์เกิดจากการวิบัติของครรภ์ เช่น ท้องนอกมดลูก เด็ กตายใน ครรภ์ต้องผ่าตัดออก เป็นต้น ง. วิชายนมูลกทุกข์ ทุกข์เกิดจากการคลอด ทั้งถูกกระทุ้งกระแทกพลิกหัน ทั้งถูกกดถูก บีบถูกอัดกว่าจะผ่านช่องอันแสนแคบออกมาได้ เจ็บปวดแสนสาหัส จ. พหินิกขมนมูลกทุกข์ ทุกข์เกิดจากการออกมาภายนอก เด็กแรกคลอดมีร่างกายและ ผิวละเอียดอ่อนดังแผลใหม่ ถูกสัมผัสจับต้องเช็ดล้างแสนเจ็บแสบ ฉ. อัต ตุ ปั ก กมู ล กทุ กข์ ทุ กข์ เกิ ด จากการท าตั ว เอง เช่ น ฆ่ าตัว ตายบ้ าง ประพฤติ วัต ร บาเพ็ญตบะทรมานตนบ้าง โกรธเคืองเขาแล้วไม่กินข้าว หรือทาร้ายตัวเองบ้าง เป็นต้น ช. ปรุ ปั ก กมู ล กทุ ก ข์ ทุ ก ข์ เกิ ด จากคนอื่ น ท าให้ เช่ น ถู ก ฆ่ า ถู ก จองจ า ถู ก ท าร้ า ย ๑๙๒ เป็นต้น ๑) ชรา ความแก่ ทาให้อวัยวะทั้งหลายย่อหย่อนอ่อนแอ อินทรีย์ คือ ตาหูจมูกลิ้น เป็นต้น ทาหน้าที่บกพร่องผิดเพี้ยน กาลังวังชาเสื่อมถอย หมดความแคล่วงคล่องว่องไว ผิวพรรณไม่ ๑๙๑ ๑๙๒

วิสุทธิ. (ไทย) ๓/๘๑/๑๑๒. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ, หน้า ๙๐๕.

๙๗ งดงามผ่องใส หนังเหี่ยวย่น ความจาเลอะเลือนเผลอไผล เสื่ อมอานาจและความเป็นเสรีทั้งภายนอก และภายในเกิดทุกข์กายและทุกข์ใจมาก ๒) มรณะ ความตาย ยามสิ้นชีพ เคยทาชั่วไว้ ก็เห็นนิมิตของบาปกรรม มีคนหรือของ รักก็ต้องพลัดพรากจากกันไป ส่วนประกอบในร่างกายก็พากันหยุดทาหน้าที่ ทุกข์ทางกายก็อาจจะมี มาก จะทาอะไรจะแก้ไขอะไรก็ทาไม่ได้แก้ไขไม่ได้ ๓) โสกะ ความโศกเศร้า ได้แก่ ความแห้งใจ เช่น เมื่อสูญเสียญาติ เป็นต้น ๔) ปริเทวะ ความคร่าครวญหรือร่าไร ได้แก่บ่นเพ้อไปต่าง ๆ เช่น เมื่อสูญเสียญาติ เป็นต้น ๕) ทุ ก ข์ ความทุ ก ข์ ก าย ได้ แ ก่ เจ็ บ ปวด เช่ น กายบาดเจ็ บ ถู ก บี บ คั้ น เป็ น โรค ๑๙๓ เป็นต้น ๖) โทมนัส ความทุกข์ใจ ได้แก่ เจ็บปวดรวดร้าวใจ ที่ทาให้ร้องไห้ ตีอกชกหัว ลงดิ้น เชือดตัวเอง กินยาพิษ ผูกคอตาย เป็นต้น ๗) อุ ป ายาส ความคั บ แค้ น หรื อ สิ้ น หวั ง ได้ แ ก่ เร่ าร้อ นทดทอนใจ ในเมื่ อ ความ โศกเศร้าเพิ่มทวี เป็นต้น ๘) อัปปิยสัมปโยค การประสบคนหรือสิ่งซึ่งไม่เป็นที่รัก เช่น ต้องพบต้องเกี่ยวข้องกับ คนที่ไม่ชอบหรือชิงชัง เป็นต้น ๙) ปิยวิปโยค การพลัดพรากจากคนหรือสิ่งอันเป็นที่รัก เช่น จากญาติ จากคนรัก สูญเสียทรัพย์สิน เป็นต้น ๑๐) อิจฉิตาลาภ การไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา คือปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สมหวัง ๑๑) อุป าทานขัน ธ์ ขันธ์ทั้งห้ าซึ่งเป็ นที่ตั้งแห่ งอุปาทาน กล่ าวคือ ทุกข์ที่กล่ าวมา ทั้งหมดนั้นเป็นทุกข์ของอุปาทานขันธ์ทั้งห้า เมื่อว่าโดยสรุปหรือโดยรวบยอดก็คือ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ทุกข์ ๒ เป็นเพียงการสรุปทุกข์ชนิดต่าง ๆ ในแนวหนึ่ง ได้แก่ ๑. ปฏิ จ ฉั น นทุ ก ข์ ทุ ก ข์ ปิ ด บั ง หรือ ทุ ก ข์ ซ่ อ นเร้น ไม่ ป รากฏออกมาให้ เห็ น ชั ด ๆ เช่น ปวดหู ปวดฟัน ใจเร่าร้อน เพราะไฟราคะและไฟโทสะ เป็นต้น ๒. อัป ปฏิจ ฉัน นทุ กข์ ทุ กข์ไม่ปิ ดบั งหรือทุ กข์เปิ ดเผย เช่ น ถูกหนามตา ถูกเฆี่ย น ถูกมีดฟัน เป็นต้น ทุกข์ ๒ เป็นเพียงการสรุปทุกข์ชนิดต่าง ๆ ในแนวหนึ่ง ได้แก่ ก. ปริยายทุกข์ ทุกข์โดยปริยาย หรือทุกข์โดยอ้อม ได้แก่ ทุกข์ทุกอย่างที่กล่าวถึง ข้างต้น นอกจากทุกขเวทนา ข. นิ ป ปริ ย ายทุ ก ข์ ทุ ก ข์ โ ดยนิ ป ริ ย าย หรื อ ทุ ก ข์ โ ดยตรง ได้ แ ก่ ความรู้ สึ ก ทุ ก ข์ ที่เรียกว่าทุกขทุกข์หรือทุกขเวทนา นั่นเอง

๑๙๓

๑๕.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ, หน้า ๗๐/๑๔-

๙๘ พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องทุกข์ มิใช่เพื่อให้เป็นทุกข์ แต่เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่จะดับทุกข์ เพราะทรงรู้ว่าทุกข์หรือปัญหานั้นเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ดับได้ มิใช่เป็นของเที่ยงแท้แน่นอนจะต้องคงอยู่ ตลอดไปชีวิตนี้ที่ยังคับข้อง ก็เพราะมีทุกข์มีปัญหาคอยรบกวนอยู่ ถ้าดับทุกข์ แก้ปัญหาแล้ว หรือได้ สร้างความสามารถในการดับทุกข์แก้ปัญหาไว้พร้อมแล้ว ชีวิตก็จะปลอดโป่งโล่งเบา พบสุขแท้จริง แต่การดับทุกข์หรือแก้ปัญหานั้น มิใช่ทาได้ด้วยการหลบเลี่ยงปัญหาหรือปิดตาไม่มองทุกข์ ต้องข้าม ต้องใช้วิธีรับรู้สู้หน้าเข้าเผชิญดูมัน การรับรู้สู้หน้า มิใช่หมายความว่าจะเข้าไปแบกทุกข์ไว้หรือจะให้ตน เป็น ทุกข์ แต่เพื่อรู้เท่าทัน จะได้แก้ไขกาจัดมันได้ การรู้เท่าทันนี้คือการทาหน้าที่ต่อทุกข์ให้ ถูกต้อง ได้แก่ทาปริญญา คือกาหนดรู้ ทาความเข้าใจสภาวะของทุกข์หรือปัญหานั้น ให้รู้ว่าทุกข์หรือปัญหา ของเรานั้ น คืออะไรกัน แน่ อยู่ที่ไหน (บางทีคนชอบหลบเลี่ยงทุกข์ห นีปัญ หา และทั้งที่รู้ว่ามีปัญ หา แต่จะจับให้ชัดก็ไม่รู้ว่าปัญหาของตนนั้นคืออะไร ได้แต่เห็นคลุม ๆ เครือ ๆ หรือพล่าสับสน) มีขอบเขต แค่ใด เมื่อกาหนดจับทุกข์ได้อย่างนี้ เหมือนแพทย์ตรวจอาการจนรู้โรครู้จุดที่เป็นโรคแล้ว ก็ เป็นอัน เสร็จหน้าที่ต่อทุกข์ เราไม่มีหน้าที่กาจัดทุกข์หรือละเว้น เพราะทุกข์จะละที่ตัวมันเองไม่ได้ ต้องละที่ เหตุของมัน ถ้าจะละทุกข์ที่ตัวทุกข์ก็เหมือนรักษาโรคที่อาการเช่นให้ยาระงับอาการไว้ แก้ไขโรคไม่ได้ จริง พึงดาเนินการค้นหาสาเหตุต่อไป แพทย์เรียนรู้เกี่ยวกับโรค และต้องเรียนรู้เรื่องร่างกายอันเป็นที่ตั้งแห่งโรคด้วย ฉันใด ผู้จะ ดับทุกข์เมื่อเรียนรู้ทุกข์ ก็ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ รวมถึงสภาวะแห่งสังขารโลกที่ เกี่ยวข้องด้วย ฉัน นั้ น สาระสาคัญ ของอริยสั จข้อที่ ๑ คือ ยอมรับความจริงเกี่ยวกับ ทุกข์ตามที่มัน เป็นอยู่ แล้วมองดูรู้จักชีวิตและโลกตามที่มันเป็นจริง๑๙๔ ๒) สมุ ทั ย แยกศั พ ท์ เป็ น ส + อุ ท ย ส แปลว่ า พร้อ ม อุ ท ย แยกเป็ น อุ แปลว่ าขึ้ น , อิ แปลว่า ไป รวมกันเป็นสมุทัย แปลว่า ขึ้นไปพร้อม ถือเอาความหมายว่า เหตุที่ให้เกิด ศัพท์เดิมเป็น ทุกขสมุทยั แปลว่า เหตุให้เกิดทุกข์ สาเหตุที่ทาให้เกิดทุกข์ เกิดมาจากความต้องการภายในตัวของมนุษย์ ซึ่งได้แก่ ตัณหา คือความทะเยอทะยานอยาก ที่ทาให้วางใจ ปฏิบัติตน แสดงออก สัมพันธ์ และกระทาต่อชีวิต โลก อย่างไม่ถูกต้อง อย่างเป็นไปด้วยความรู้อย่างเป็นจริง แต่เป็นไปด้วยความยินดียินร้ายชอบชังเป็นต้น ตลอดจนกิเลสปกป้ อ งตั ว ตนทั้ งหลาย เช่ น ความกลั ว ความริษ ยา ความหวาดระวง ฯลฯ ที่ สื บ เนื่องมาจากตัณหาคือที่มาแห่งความทุกข์ของมนุษย์ กามตัณหา อยากกาม ได้แก่ อยากได้อยากเอา อยากเสพ อย่างเสวยอย่างหนึ่ง ภวตัณหา อยากภพ ได้แก่ อยากเป็นอยากคงอยู่ตลอดไป อยากมี ชีวิตนิรันดร์อย่างหนึ่ง วิภวตัณหา อยากสิ้นภพได้แก่ ปรารถนาภาวะสิ้นสูญอย่างหนึ่ง และลึกไปกว่า นั้น ท่านแสดงกระบวนการแห่งปฏิจจสมุปบาท อันมีอวิชชา เป็นมูลตัณหา ว่าเป็นที่ไหลเนื่องมาแห่ง ปัญหาความทุกข์นั้น๑๙๕ ตัณหา หมายถึง ความทะยานอยาก ความดิ้ นรน ความปรารถนา ความกระหาย ตัณหา เป็นภาวะที่ทาให้จิตต้องเสียความสมดุล ไม่ตั้งตรงอยู่กับที่ที่หรือทาให้จิตส่ายอยู่ตลอด ไม่รู้จักเต็มต้อง ๑๙๔

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ, หน้า ๙๐๖. พระธรรมปิ ฎ ก (ป.อ. ปยุ ตฺ โ ต), พุ ท ธธรรม, พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ ๗, (กรุ ง เทพมหานคร: โรงพิ ม พ์ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑), หน้า ๙๐๗. ๑๙๕

๙๙ หาสิ่งที่ตนเองอยากมาเติมอยู่เรื่อย ๆ เพราะตัณหานั้นเหมือนกับเชื้อเพลิงที่ต้องเติมต้องเพิ่มไม่ให้ขาด ถ้าขาดเมื่อไหร่แล้วจะทาให้จิตใจดิ้นรน เร่าร้อนจึงทาให้เกิดทุกข์ร่าไป๑๙๖ ตัณหาโดยสรุป ๓ ประเภท ได้แก่ ๑. กามตัณ หา (ความทะเยอทะยานอยากในกาม, ความอยากได้กามคุณ คือสิ่งที่ สนองความต้องการทางประสาททั้ง ๕ – Kama-tanha: craving for sensual pleasures; sensual craving) ๒. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ, ความอยากในภาวะของตัวตนที่จะได้ จะ เป็ นอย่างใดอย่ างหนึ่ ง อยากเป็ นอย่างคงอยู่ตลอดไป, ความใคร่อยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิห รือ สัสสดทิฏฐิ – Bhava-tanha: craving for existence) ๓) วิภวตัณหา (ความทะเยอะทะยานในวิภพ, ความอยากในความพรากพ้นไปแห่ง ตัวตนจากความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอันไม่ปรารถนา อยากทาลาย อยากดับสูญ , ความใคราอยากที่ ประกอบด้วยวิภรทิฏฐิหรืออุจจเฉจทิฏฐิ – Vibhava-tanha: craving for non-existence; craving for self-annjhjlation)๑๙๗ ๑. กามตัณหา (sensual craving) คือความทะเยอทะยานอยากในกาม ในพุทธปรัชญา แบ่งกามเป็น ๒ ประเภท คือ ๑.๑ วัตถุกาม คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ เครื่องปูลาดเครื่องนุ่งห่ม ทาสหญิงชาย แพะ แกะ สุกร ไก่ ช้าง โค ม้า ลา ที่นา ที่สวน เงิน ทอง หมู่บ้าน นิคม ราชธานี แคว้น ชนบท กองพลรบ คลังหลวง และวัตถุที่น่ายินดีอย่างใด อย่างหนึ่ง (เหล่านี้) ชื่อกามวัตถุ ซึ่งเป็นความ เพลิดเพลินยินดีลุ่มหลงในกามคุณ ๕ ที่ตัวเองน่าใคร่น่าพอใจน่าปรารถนา ที่ตนเองชอบในรูปที่สวย เสียงที่ไพเราะเสนาะหู กลิ่นที่หอม รสที่ถูกปากของตัวเอง โผฏฐัพพะที่อ่อนนุ่ม ถือว่าเป็นสิ่งบารุงหรือ ยั่วยุภายนอกคือกายให้อ้วนแล้วส่งเข้าภายในคือใจ ๑.๒ กิเลสกามคือ คือความพอใจ ความกาหนัด ความกาหนัดด้วยอานาจความพอใจ ความดาริ ความกาหนัด ความกาหนัดด้วยอานาจความดาริชื่อว่ากาม ได้แก่ ความพอใจด้วย อานาจ ความใคร่ ความกาหนัดด้วยอานาจความใคร่ ความเพลิดเพลินด้วยอานาจความใคร่ ความทะยาน อยากด้วยอารมณ์ความใคร่ ความเยื่อใยด้วยอานาจความใคร่ ความสยบด้วยอานาจความใคร่ความติด ใจด้วยอานาจความใคร่ ห้วงน้าคือความใคร่ กิเลส เครื่องประกอบคือความใคร่ กิเลสเครื่องยึดมั่นคือ ความใคร่ กิเลสเครื่องกั้นจิตคือความพอใจด้วยอานาจความใคร่ในกามทั้งหลาย ๒. ภวตัณหา (craving for existence) คือ ความดิ้นรนในทะยานอยากในความเป็น ความอยากเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นความอยากที่นอกเหนือจากามคุณ ๕ ไม่รู้จักพอในสิ่งที่ตัวเองเป็นแล้ว ทะยานหรือว่ากระโจนเข้าหาเหมือนเสือกระโจนเข้าหาเหยื่ออย่างหิวกระหาย แต่ถ้ามองอย่างธรรมดา ความอยากชนิดนี้ ทาให้คนทะเยอทะยานอาจทาให้ก้าวหน้าในการงานอาชีพได้มาก แต่ต้องยอมรับ ๑๙๖

พระสุพรชัย นรคพันธ์ (อานนฺโท), ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องทุกข์ในพุทธปรัชญาเถรวาทกับ แนวคิ ด ทุ กขนิ ย มของโชเป็ น เฮาเออร์ , วิท ยานิ พนธ์พุ ท ธศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต , (บั ณ ฑิ ต วิท ยาลั ย : มหาวิท ยาลั ย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๕๓), หน้า ๒๔๒๕. ๑๙๗ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, หน้า ๘๖.

๑๐๐ ความจริงด้วยเหมือนกันว่า ในความทะเยอทะยานนั้นมีความทุกข์ ความร้อนใจแฝงเร้นอยู่ด้วย ถ้าต้อง ยื้อแย่งกับ ผู้อื่น ก็เป็น การสร้างศัตรู ต้องใช้เล่ห์กลอุบายในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ บางครั้ง ถึงกับต้องใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่นก่อเวรกรรมกันต่อไปไม่สิ้นสุด เนื่องมาจากความเชื่อว่ามีตัวตนซึ่งทาให้เกิด ทั ศ นะที่ ผิ ด ท าให้ เกิ ด การเห็ น แก่ ตั ว ยึ ด มั่ น ถื อ มั่ น เกิ ด การกระท าที่ ไม่ ดี แนวคิ ด นี้ นั ก ปราชญ์ ท าง ตะวันตกส่วนมากเป็นสัญชาติญาณของชีวิต (Life Instinct)๑๙๘ ๓. วิภวตัณ หา (Craving non-existence) คือ ความทะเยอทะยานอยากในวิภพคือ ความอยากไม่เป็ นนั่ น ไม่เป็ นนี่ เป็ นความอยากในทางผลักดันไปในทางลบเพื่อจะพ้นตัวเนื่องจาก ตัวเองรู้สึกอึดอัด เบื่อ ระอิดระอา คนเราถ้าไม่สามารถหลบหลีกจากสภาพที่ตนไม่ต้องการ ต้องทนอยู่ ในสภาพที่ตนเองไม่ชอบก็จะก่อให้เกิดความทุกข์ เช่น ชายหญิงรักกันเพราะกามตัณหา พออยู่ด้วยกัน ก็อยากเป็ นพ่อแม่คนเรียกว่า ภวตัณหา เมื่อมีลูกแล้วเกิดการทะเลาะ มีปัญหาก็อยากแยกทางกัน เรียกว่า วิภวตัณหา ตัณหานี้เป็นเหตุแห่งทุกข์เพราะทาให้คนเราวนเวียน มัวเมาดังที่พระพุทธเจ้ากล่าวไว้ใน พระสุตตันปิฎก ขุททนิกายว่า “ตัณหาย่อมเจริญแก่มนุษย์ผู้ประพฤติประมาท เหมือนเถาย่านทราย เจริญอยู่ในป่า เข้าย่อมเร่ร่อนไปมา เหมือนวานรที่ต้องการผลไม้ เที่ยวเร่ร่อนไปมาในป่าฉะนั้น”๑๙๙ ตามคาสั่ งสอนในอริย สั จ ๔ พระพุ ทธเจ้าตรัส ว่า สาเหตุของความทุ กข์คือ ตัณ หา ซึ่ ง หมายถึงความทะยานอยาก ตัณหาแบ่งออกเป็น ๓ อย่างได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา อย่างไรก็ตาม ตัณหาก็คือ ลักษณะอย่างหนึ่งกิเลส ซึ่งอยู่ภายในจิตใจของมนุษย์ ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า กิเลส คือ สาเหตุของความทุกข์ทั้งปวง กิเลส (Defilements) หมายถึง สิ่งที่ทาให้ จิตใจเศร้าหมอง กิเลสที่ครอบงาจิตของสัตว์ โลกนั้น แบ่งออกได้เป็นสามประเภท ดังนี้ ๑..อนุสัยกิเลส (Letent defilements) คือกิเลสอย่างละเอียดที่สะสมอยูในภวังค์จิต หรือจิตไร้สานึกของคนเรา ถ้ายังไม่มีอารมณ์ภายนอกมากระทบแล้ว กิเลสชนิดนี้จะยังนอนสงบอยู่ ไม่แสดงอาการปรากฏออกมาให้เห็น เป็นกิเลสที่ละเอียดอย่างยิ่งและนอนเนื่องอยู่ในคันธสันดารของ ทุกคน จะแสดงตัวก็ต่อเมื่อมีเหตุปัจจัยมากระตุ้นเหมือนอุปมาเหมือนงูที่นอนหลับอยู่ ขณะที่ยังไม่มีสิ่ง ใดมากระทบ งูนั้นก็หลับเรื่อยไปโดยไม่ปรากฏอาการใด ๆ เลย ต่อมาเมื่อมีสิ่งใดมากระทบงูนั้นก็จะยก หัวขึ้นตวัดฉกทันที๒๐๐ อนุสั ย เป็น กิเลสอย่างละเอียด ซ่อนเร้นนอนเนื่องอยู่ในขันธสั นดานของสัตว์ทั้งหลาย เมื่อได้เหตุอันสมควรแล้ว ก็ปรากฏขึ้นเมื่อนั้น อุปมาเหมือนตะกอนที่นอนก้นภาชนะ เมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่ง ใดมากระทบกับภาชนะตะกอนหรือกิเลสก็จะฟุ้งขึ้นมาทันที ทาให้จิตใจเร่าร้อนเศร้าหมอง

๑๙๘

พระสุพรชัย นรคพันธ์ (อานนฺโท), “ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องทุกข์ในพุทธปรัชญาเถรวาท กับแนวคิดทุกขนิยมของโชเป็นเฮาเออร์”, หน้า ๒๖. ๑๙๙ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๗. ๒๐๐ จ าลอง ดิ ษ ยวณิ ช , จิ ตวิท ยาของความดั บ ทุ ก ข์ , พิ ม พ์ ค รั้ งที่ ๒, (กรุ งเทพมหานคร: ต้ น บุ ญ , ๒๕๕๔), หน้า ๗๖.

๑๐๑ อนุสัยกิเลส มี ๗ ประการ คือ ๑) กามราคานุสั ย คือความยินดีในกามคุณ อารมณ์ กามราคุณ นุสัยนี้จะนอน เนื่องอยู่ในชันธสันดาน เมื่อมีอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสเรื่องราวต่าง ๆ มากระทบกับ ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ ซึ่งเป็นกามคุณอารมณ์แล้ว กามราคานุสัยนี้ก็จะแปลสภาพเป็น ปริยุฏฐานกิเลส คือ กิเลสอย่างกลางคอยกลุ่มลุ่มจิตใจ ได้แก่ โลภเจตสิกที่ในโลภมูลจิต ๘ ๒) ภวราคานุสัย ความยินดีติดใจใน รูปภพ หรือรูปฌาน อรูปฌาน อันนอนเนื่อง อยู่ในขันธสันดานเมื่อมีอ ารมณืมากระทบก็จะแปลสภาพเป็นปริยุฏฐานกิเลส ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔ ๓) ปฏิฆานุสัย ความไม่ยินดี ไม่พอใจในอารมณ์ อันนอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน เมื่อมีอารมณ์มากระทบก็จะแปลสภาพเป็นปริยุฏฐานกิเลส ได้แก่ โทสเจตสิก ที่ในโทสะมูลจิต ๒ ๔) มานานุสัย คือความทะนงตน โอ้อวด ถือตัว ไม่ยอมลงให้กับใคร ที่นอนเนื่อง อยู่ในขันธสันดาน เมื่อมีอารมณ์มากระทบก็จะแปลสภาพเป็นปริยุฏฐานกิเลส ได้แก่ มานานุเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔ ๕) ทิฏฐานุสัย คือความเห็นผิดที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน เมื่อมีอารมณ์ มา กระทบก็จะแปลสภาพเป็นปริยุฏฐานกิเลส ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิกที่ประกอบในทิฏคตสัมปยุตตจิต ๔ ๖) วิจิกิจฉานุสัย คือ ความลังเลสงสัยในสิ่งที่ควรเชื่อที่ยังไม่ปลงใจเชื่อ ที่นอน เนื่องอยู่ในชันธสันดาน เมื่อมีอารมณ์มากระทบก็จะแปลสภาพเป็นปริยุฏฐานกิเลส ได้แก่ วิจิกิจฉา เจตสิกที่ประกอบในวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑ ๗) อวิชชานุสัย คือความลุ่มหลงมัวเมา ที่นอนเนื่องอยูในขันธสันดาน เป็นความ โง่เขลาเบาปัญญาที่ไม่รู้สภาพธรรมดาตามความเป็นจริง เมื่อมีอารมณ์มากระทบก็จะแปลสภาพเป็น ปริยุฏฐานกิเลส ได้แก่ โมหเจตสิก ที่อกุศลจิตที่ ๑๒๒๐๑ ๒. ปริยุ ฏ ฐานกิเลส (Internally active defilements) คือกิเลสอย่างกลาง เมื่ อมี อารมณ์ มากระทบ อนุ สั ย กิ เลสที่ น อนอยู่ในภวังคจิตจะฟุ้ งกระจาย ท าให้ จิตใจขุ่น มัว และฟุ้ งซ่าน ในสภาวะเช่นนี้อนุสัยกิเลสจะเปลี่ยนฐานะกลายเป็นปริยุฏฐานกิเลสในวิถีจิตทันที เช่นเดียวกันกั บเมื่อ มีสิ่งใดมากระทบกับงูงูตัวนั้นจะตัวนั้นจะยกหัวขึ้นตวัดฉกหรือส่ายไปมา ในจิตวิเคราะห์ ปริยุฏฐาน กิเลสหรือกิเลสอย่ างกลางจะปรากฏขึ้นในระดับจิตสานึก (The Conscious) หรือกิเลสก่อนสานึก (The Preconscious) กิเลสอย่างกลางนี้ คือ กิเลสประเภทนิวรณ์ (Hindrances) ซึ่งหมายถึงสิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ ก้าวหน้าในคุณธรรม หรือสิ่งที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี ได้แก่ ๑) กามฉันทะ คือความพอใจในกามคุณ (sensual desire) ๒) พยาบาท คือความคิดร้าย (Ill-will) ๓) ถีนมิทธะ คือความหกหู่ และเชื่องซึม (Sloth and yorpor) ๔) อุทธัจจกุกกุจจะ คือความฟุ้งซ่านและความกังวล (Restlessness, anxiety or worry) และ ๕) วิจิกิจฉา คือความลังเลสงสัย (Doubt) กิเลสอย่างกลางหรือนิวรณ์ ๕ นี้ สามารถ ทาลายได้ด้วยอานาจของสมาธิ (concentration) แต่สมาธิเป็นเพียงแต่ข่มกิเลสไว้เท่านั้น ไม่สามารถ ทาลายกิเลสได้ด้วยสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม การที่กิเลสสงบลงได้ด้วยอานาจของสมาธิ ย่อมทาให้เรา ๒๐๑

ทวี สุขสมโภชน์, เอกสารประกอบการศึกษาพระอภิธรรมทางไปรษณีย์, หน้า ๙-๑๐.

๑๐๒ ประสบความสงบสุขได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนั้น กิเลสอย่างกลางนี้ สามารถขจัดได้ด้วยการกาหนด ในวิปัสสนากรรมฐาน ๓. วีติกกมกิเลส (Externally active defilements) คือ กิเลสอย่างหยาบ เป็นกิเลส ที่ฟุ้งมาก จนปรากฏออกมาทางกาย วาจา ทาให้ตัวเราเองวุ่นวายเดือดร้อน ความจริงแล้วกิเลสอย่าง หยาบก็สืบเนื่องมาจากกิเลสอย่างกลางที่เปลี่ยนสภาพไปนั่นเองทานองเดียวกันกับงูที่ส่ายหัวไปมา พอ ได้โอกาสก็ตวัดฉกกัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ขวางหน้า เป็นกิเลสที่ล่วงอกุศลกรรมบถ คือ ทางแห่ง สัตว์ การ ลักทรัพย์ และการประพฤติผิดในกาม ถ้าฟุ้งออกมาทางวาจาก็เป็นวจีทุจริต ๔ คือ การพูดเท็จ การพูด คาหยาบ การพูดส่อเสียด และการพูดเพ้อเจ้อ กิเลสอย่างหยาบสามารถระงับลงได้ด้วยอานาจของศีล (Morality) เช่น ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ เป็นต้น๒๐๒ ๓) นิโรธ หรือนิโระสัจจะ เป็นชื่อของธรรมที่ดับทุกข์ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าทุกขนิโรธ คาว่า “นิ” หมายถึง “พ้น, ออก” “โรธ” หมายถึง การท่องเที่ยวไป ฉะนั้น นิโรธ หมายถึง การไม่ ท่องเที่ยวไป “ทุกขนิโรธ” จึงหมายความว่า “ไม่มีการท่องเที่ยวไปในที่ทุกข์” หรือการไม่ท่องเที่ยวไป ในสังสารวัฏฏ์ เพราะเป็นสัจจะที่ว่างจากคติ คือการเวียนเกิดเวียนตายในภพภูมิทั้งปวง องค์ธรรมของ ทุกข์นิโรธสัจจะ ได้แก่ พระนิพพาน๒๐๓ อริ ย สั จ ข้ อ ที่ ๓ คื อ ความดั บ ทุ ก ข์ หรื อ นิ โ รธ (The cessation of suffering) นิ โ รธ แปลว่า “ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ซึ่งหมายถึง การดับตัณหาที่เป็นสาเหตุของความทุกข์ได้เด็ดขาด เสมื อ นหนึ่ ง การชั ก เชื้ อ ไฟอั น เป็ น ต้ น เหตุ ใ ห้ เ กิ ด ไฟออกไปเสี ย ได้ ฉะนั้ น จากจุ ด นี้ จ ะเห็ น พระพุทธศาสนามิได้เป็นทุทรรศนนิยม (Pessimism) คือมีทัศนะที่มองชีวิตและมองโลกในแง่ร้ายแต่ อย่างเดียว หรือมองอะไรก็ล้วนแต่เป็นทุกข์โดยทั้ง สิ้น ในทางตรงกันข้ามถ้าพิจารณามองเรื่องอริยสัจ ให้ดีจะเห็นว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงชี้แต่เพียงทุกข์เท่านั้น แต่ยังทรงอธิบายให้รู้ถึงสาเหตุของความ ทุก ข์ ให้ รู้ว่าความดั บ ทุ กข์ มีอยู่ ตลอดจนทรงชี้ ห นทางในการดั บทุ กข์เหล่ านี้ ด้ว ย หลั กคาสอนใน พระพุทธศาสนาจึงเป็นการมองโลกตามความเป็นจริงมากกว่า๒๐๔ เมื่อได้กล่าวถึงทุกข์หรือปัญหาพร้อมสาเหตุ อันเป็นเรื่องร้ายไม่น่าพึงใจแล้ว พระพุทธเจ้า ก็ทรงชโลมดวงใจของเวไนยชนให้เกิดความเบาใจ และให้มีความหวังขึ้น ด้วยการตรัสอริสัจข้อที่ ๓ คือ นิโรธ แสดงให้เห็นว่าทุกข์ที่บีบคั้นนั้นแก้ไขได้และปัญหาที่กดดันนั้นแก้ไขได้ ทางออกที่น่าพึงใจมี อยู่ ทั้งนี้ เพราะสาเหตุแห่ งปัญ ญาหรือความทุกข์เป็นสิ่งที่กาจัดหรือทาให้ห มดสิ้นไปได้ ทุกข์ห รือ ปัญหาตั้งด้วยอาศัยเหตุ เมื่อกาจัดเหตุแล้ว ทุกข์ที่เป็นผลก็พลอยดับสิ้นไปด้วย เมื่อทุกข์ดับไปปัญหา หมดไปก็มีภาวะหมดปัญหา หรือภาวะไร้ทุกข์ปรากฏขึ้นมาอย่างเป็นไปเอง โดยนัยนี้นิโรธอริยสั จ จึงตามเข้ามาเป็ น อัน ดับ ที่ ๓ ทั้งโดยความเป็นไปธรรมดาของกระบวนธรรมเอง และทั้งโดยความ เหมาะสมแห่งกลวิธีการสอนที่ชวนสนใจช่วยให้เข้าใจและได้ผลดี เมื่อกาจัดตัณหา พร้อมทั้งกิเลสว่านเครือที่คอยกดขี่ บีบคั้นครอบงาและหลอนล่อจิตลงได้ จิตก็ไม่ต้องถูกทรมานด้วยความเร่าร้อน ร่านรน กระวนกระวาย ความหวาดหวั่นพรั่นกลั ว ความ ๒๐๒

จาลอง ดิษยวณิช, จิตวิทยาของความดับทุกข์, หน้า ๗๘. ทวี สุขสมโภชน์, เอกสารประกอบการศึกษาพระอภิธรรมทางไปรษณีย์, หน้า ๑๗. ๒๐๔ จาลอง ดิษยวณิช, จิตวิทยาของความดับทุกข์, หน้า ๕๖. ๒๐๓

๑๐๓ กระทบกระทั่ ง ความเหงาหงอย และความเบื่ อ หน่ า ย ไม่ ต้ อ งหวั งความสุ ข เพี ย งด้ ว ยการวิ่ งหนี หลบออกไปจากอาการเหล่านี้บ้าง แก้ไขด้วยหาอะไรมาตบมาเติมมากลบปิดไว้หรือมาทดแทนให้บ้าง หาที่ระบายออกไปภายนอกบ้างพอผ่านไปคราวหนึ่ง ๆ แต่คราวนี้หลุดพ้นเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวมัน เอง ปลอดโปร่งโล่งเบา มีความสุขที่ไร้ไฝฝ้าด้วยไม่ต้องสะดุดพะพานสิ่งกังวลคั่งค้างใจ สงบ สดชื่น เบิกบาน ผ่องใสตลอดได้ทุกเวลาอย่างเป็นปกติของใจ บรรลุภาวะสมบูรณ์ของชีวิต๒๐๕ โดยใจความส าคั ญ นิ โรธ คื อ ความดั บ ทุ ก ข์ เพราะดั บ กิ เลสได้ นั้ น เอง ค าว่านิ โรธก็ ดี วิมุติ ปาหนะ วิเวก วิราคะหรือโวสสัคคะ (ความสละ ความปล่อยวาง) ก็ดี มีความหมายอย่างเดียวกัน ท่านแสดงไว้ ๕ อย่าง คือ ๑. ตทังคนิโรธ ความดับด้วยองค์ นั้น ๆ หรือดับกิเลสด้วยชั่วคราว เช่น เมื่อเมตรา กรุ ณ าเกิดขึ้น ความโกรธและความคิดพยาบาท คือ ความเบียดเบี ยนย่อมดับ ไป เมื่ออสุ ภ สั ญ ญา คือ ความกาหนดว่าไม่งามเกิดขึ้น ราคะ ความกาหนดยินดีในกามคุณ ๕ ย่อมดับไปด้วยความว่าดับ กิเลสด้วยองค์ธรรมที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ๒. วิกขัมภนนิโรธ ดับกิเลส หรือข่มกิเลสไว้ได้ด้วยกังวลฌานเป็นต้นไป ตลอดเวลาที่ ฌานยังไม่เสื่อม บุคคลผู้ใดฌานย่อมมีอาการเสมือนหนึ่งผู้ไม่มีกิเลส ท่านเปรียบเหมือนหญ้าที่ศิลาทับ ไว้ หรือเหมือนโรคบางอย่างที่ถูกคุมไว้ด้วยยา ตลอดเวลาที่ยามีกาลังอยู่ โดยย่อมสงบระงับไป ๓. สมุจเฉทนิโรธ ความดับกิเลสอย่างเด็ดขาด ด้วยกาลังแห่ งอริยมรรค กิเลสใดที่ อริยมรรคตัดแล้ว ย่อมเป็นอันตัดขาดไม่กลับเกิดขึ้นอีก เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ถูกถอนขึ้นทั้งรากและ เผาไฟทิ้งเป็นอันตัดได้สิ้นเสร็จเด็ดขาด ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดขึ้นอีก ตัวอย่างเช่ น การตัดกิเลสของ พระอริยบุคคล ๔ จาพวกมีโสดาบัน เป็นต้น ๔. ปฏิ ปั ส สั ท ธินิ โรธ ความดับ กิ เลสอย่างสงบระงับ ไปในขณะแห่ งอริยผลนั้ น เอง เรียกว่า ปฏิปัสสัทธินิโรธ ไม่ต้องขวนขวายเพื่อการดับอีก เหมือนคนหายโรคแล้วไม่ต้องขวนขวายหา ยาเพื่อดับโรคนั้นอีก ๕. นิสสรณนิโรธ แปลตามตัวว่าดับกิเลสด้วยการสลัดออกไป หมายถึง ภาวะแห่งการ ดับกิเลสนั้นยั่งยืนตลอดไป ได้รับความสุขจากความดับนั้นยั่งยืนต่อไป ได้แก่ นิพพานนั่นเอง เหมือน ความสุขความปลอดโปร่งอันยั่งยืนของผู้ที่หายโรคแล้วอย่างเด็ดขาด โดยใจความสาคัญ นิโรธ ๓ ประการหลังก็คือ มรรค ผล และนิพพานนั่นเอง๒๐๖ ๔) มรรค มรรคมีองค์ ๘ หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า “ทางมีองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐ” – Atthangika-magga; the Noble Eightfold Path); องค์ ๘ ของมรรค (มัคคังคะ – factors or constituenfs of Path) มีดีงนี้ ๑. สัมมาทิฐิ หมายถึง ความเห็นถูกต้องตามทานอกคลองธรรม เช่น เห็นว่าทาดีได้ดี ท าชั่ ว ได้ ชั่ ว บุ ญ มี บาปมี ชาติ ห น้ า มี ชาติ ก่ อ นมี ในความหมายที่ สู ง ขึ้ น ไป คื อ เห็ น อริ ย สั จ ซึ่ ง ประกอบด้วย ญาณ ๓ อาการ ๑๒ ๒๐๕

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ, หน้า ๙๐๙. วศิ น อิน ทสระ, หลั กธรรมอั นเป็ น หัวใจพระพุ ท ธศาสนา, พิ มพ์ ค รั้งที่ ๖, (กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ธรรมดา, ๒๕๕๐), หน้า ๒๔–๒๕. ๒๐๖

๑๐๔ ๒. สัมมาสังกัปปะ หมายถึง ความดาริชอบ อันประกอบด้วยลักษณะ ๓ ประการ คือ ๑) ดาริที่จะปลีกตัวออกจากอารมณ์ยั่วยวนต่าง ๆ (เนกขัมมสังกัปปะ) ๒) ดาริในการไม่พยาบาท (อัพยาปาทสังกัปปะ) ๓) ดาริในความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสาสังกัปปะ) ๓. สัมมาวาจา คือ การพูดที่ประกอบด้วยคุณลักษณะ ดังนี้ ๑) เว้นจากการพูดเท็จ พูดคาจริง ๒) เว้นจากการพูดสอดเสียด พูดคาประสานสามัคคี ๓) เว้นจากการพูดคาหยาบ พูดคาอ่อนหวาน ๔) เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ พูดคามีประโยชน์๒๐๗ ๔. สัมมากัมมันตะ หมายถึง การกระทาชอบ มีองค์ประกอบ ดังนี้ ๑) เว้นจากการบิดเบียนชีวิตผู้อื่น ซึ่งรวมเรียกว่า เว้นปาณาติบาต มีความเมตตา กรุณาต่อสัตว์ทั้งหลาย ๒) เว้นจากการเบียดเบียนทรัพย์สินของผู้อื่น ซึ่งรวมเรียกว่า เว้นอทินนาทาน มีการเสียสละแบ่งปัน เฉลี่ยความสุขของตนเพื่อผู้อื่นตามสมควร ๓) เว้จอพรหมจรรย์ คือ การเสพเมถุน คือ เว้นจากกามารมณ์ (นี่กาหนดอย่าง สูง) พอใจในเนกขัมมะ คือ ปลีกตนจากกาม อย่างต่า หมายถึง เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร พอใจใน คู่ครองของตน ๕. สัมมาอาชีวะ หมายถึง การเว้นมิจฉาชีพทุกรูปแบบ ประกอบตนอยู่ในสัมมาชีพ อะไรคือมิจฉาชีพ ? อะไรคือสัมมาชีพ? เป็นเรื่องยากที่จะวินิจฉัยชี้ขาด เป็นเรื่องที่นักปราชญ์ทั้งทาง โลกและทางธรรมถกเถียงกันมาก แต่ก็ไม่อาจวินิจฉัยเด็ดขากลงได้ พอยกตัวอย่างได้เป็นบางประการ เท่านั้น เช่น การลักขโมย ปล้น ฉ้อโกง ยักยอก ฯลฯ เป็นมิจฉาชีพ ส่วนการประกอบอาชีพโดยสุจริต เป็นสัมมาชีพ แต่แม้ลักษณะของอาชีพเป็นสัมมาชีพแล้ว ถ้าทุจริตในอาชีพนั้นก็จัดเป็นมิจฉาชีพนั้น เรียกว่า ทาสัมมาชีพให้เป็นมิจฉาชีพ หรือทามิจฉาชีพในสัมมาชีพ ๖. สั ม มาวายามะ หมายถึ ง ความเพี ย รชอบทุ ก รู ป แบบ ที่ ก ล่ า วในพระบาลี มัคควิภังคสูตร ตรัสถึงความเพียร ๔ ประการ คือ ๑) สังวรปธาน เพียงระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิด ๒) ปหานปธาน เพียรระบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ๓) ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลที่ยังไม่เกิด ได้เกิดขึ้น ๔) อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้ เสื่อม และทากุศลให้ ๒๐๘ เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป ความเพียร ๔ ประการนี้ ถือเป็นหลักสาคัญมากในการปฏิบัติธรรม เพื่อความก้าวหน้าใน ชีวิตทางธรรม และเป็ น ประโยชน์ เกื้อกูล แก่ชีวิตของชาวโลกอย่างมากด้วย ผู้ห วังความเจริญและ ความสุข ทั้งทางโลกและทางธรรม ควรมีความเพียร ๔ ประการนี้ไว้ในตน ๒๐๗ ๒๐๘

วศิน อินทสระ, หลักธรรมอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา, หน้า ๒๙. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๐.

๑๐๕ ๗. สัมมาสติ หมายถึง สติชอบ หรือความระลึกชอบ ในชั้นธรรมดา ขอให้พิจารณา ว่าระลึกถึงสิ่งใดอยู่ กุศลธรรมเจริญขึ้น อกุศลธรรมเสื่อไป ก็ควรระลึกถึงสิ่งนั้นบ่อย ๆ ในขั้นสูงขึ้นไป ทรงสอนให้ระลึกสติปัฏฐาน ๔ คือ ๑) กายานุปัสสนา พิจารณากาย ๒) เวทนานุปัสสานา พิจารณาเวทนา คือ สุข ทุกข์ และ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ๓) จิตตานุ ปั สสนา พิจารณาจิตว่ามีราคะ โทสะ โมหะหรือไม่มีในจิต จิตเป็ น อย่างไร พิจารณารู้ตาม ๔) ธัมมานุปัสสนา พิจารณาธรรมทั้งที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤตว่ามีในตน หรือไม่ สิ่งนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ควรละอย่างไร ควรอบรมให้เกิดให้มีขึ้นอย่างไร เช่น นิวรณ์ ๕ เป็นสิ่งที่ ควรละ โพชฌงค์ ๗ เป็นสิ่งที่ควรบาเพ็ญ เป็นต้น ความจริงแล้วสติปัฏฐานมี ๑ คือ การตั้งสติ ส่วนกาย เวทนาจิตและธรรมนั้นเป็นอารมณ์ ของสติ คือเป็นสิ่งที่ควรเอาสติเข้าไปพิจารณาหรือเอาสติไปตั้งไว้ เหมือนโต๊ะตัวหนึ่งมี ๔ ขา ฉะนั้น ผู้อบรมสติบ่ อย ๆ ย่อมมีสติสมบูรณ์ขึ้น สามารถสกัดกั้นกระแกกิเลสได้มากขึ้น ทาให้ กิเลสท่วมทับจิตน้อยลง ทาความดีได้มากขึ้น ชีวิตปลอดโปร่งแจ่มใสมากขึ้น มีทุกข์น้อยลง เพราะมี สติปัญญารู้เท่าทันสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตจิตใจตามความเป็นจริง พระอรหันต์ที่ท่านสิ้นกิเลส แล้วนั้น ท่านเป็นผู้มีสติสมบูรณ์ จึงไม่ตกอยู่ภายใต้อานาจของกิเลส มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น ๘. สัมมาสมาธิ คือ การใช้สมาธิในทางที่ถูกต้อง สมาธิ หมายถึง การที่จิตตั้งมั่นในอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ความที่จิตใจมั่นคงไม่ หวั่นไหว ไม่ฟุ้งซ่าน ท่านแสดงสมาธิไว้ ๓ ระดับ คือ ๑) ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ ๒) อุปจารสมาธิ สมาธิเฉียดฌาน หรือ ใกล้ฌาน ๓) อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่ หรือสมาธิในฌาน แต่สมาธิที่หมายถึงในมรรคมีองค์ ๘ นั้น คือ อัปปนาสมาธิ๒๐๙ ทางดับทุกข์ หรือวิธีการปฏิบัติเพื่อกาจัดสาเหตุแห่งปัญหา เมื่อรู้ทั้งปัญหา ทั้งสาเหตุแห่ง ปัญหา ทั้งจุดหมายที่เป็น ภาวะทั้งสิ้นปัญหา รู้ทุกอย่างครบท้วนแล้ว ก็ พร้อมและเป็นอันถึงเวลาที่ จะต้องลงมือปฏิ บั ติ โดยเฉพาะแง่ที่ สั มพั นธ์ใกล้ ชิดโดยตรง ก็ คือ เมื่อรู้จุดหมายที่จะต้องไปให้ ถึง ว่าเป็นไปได้และคืออะไรแล้ว การปฏิบัติเพื่อบรรลุจุดหมายนั้น จึงจะพลอยเป็นไปได้ด้วย ถ้าไม่รู้ว่า จุดหมายคืออะไร จะไปไหน ก็ไม่รู้ว่าจะปฏิ บัติหรือเดินทางได้อย่างไร ดังนั้น ว่าโดยความสัมพันธ์ ระหว่างข้อธรรมด้วยกัน มรรคย่อมสมควรเข้าลาดับเป็นข้อสุดท้าย อีกอย่างหนึ่งว่าโดยวิธรการสอน ตามธรรมดานั้น การปฏิบัติเป็นกิจที่ต้องอาศัยเรี่ยวแรงกาลัง ถาผู้ปฏิบัติไม่เห็นคุณค่าหรือประโยชน์ ของสิ่งที่เป็นจุดหมาย ก็ย่อมไม่มีกาลังใจปฏิบัติ อาจเกิดความระย่อท้อถอย หรือถึงกับไม่ยอมปฏิบัติ แม้อาจปฏิบัติก็อาจทาอย่างถูกบังคับ จาใจ ฝืนใจ สักว่าทา ไม่อาจดาเนินไปด้วยดี ในทางตรงกันข้าม ถ้าเห็นคุณค่าหรือประโยชน์ของสิ่งที่เป็นจุดหมายแล้วแม้ว่าการปฏิบัติจะยากลาบากเท่าใดก็ตาม เขาก็ จะพยายามต่อสู้ทาให้สาเร็จ การที่พระพุทธเจ้าตรัสนิโรธไว้ก่อนหน้ามรรค ก็เพราะเหตุผลข้อนี้ด้วย ๒๐๙

วศิน อินทสระ, หลักธรรมอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา, หน้า ๓๑-๓๒.

๑๐๖ คือ ให้ผู้ฟังมีความหวังและเห็นคุณค่าของนิโรธที่เป็นจุดหมายนั้นก่อน จนเกิดความสนใจกระตือรือร้น ที่จะเรียนรู้วิธีปฏิบัติและพร้อมที่จะลงมือปฏิบัติต่อไป เมื่อพระองค์ตรัสแสดงนิโรธให้เห็นว่าเป็นภาวะ ควรบรรลุถึงอย่างแท้จริงแล้ว ผู้ฟังก็ตั้งใจที่จะรับฟังมรรคด้วยในมุ่งมั่นที่จะเอาไปใช้เป็นข้อปฏิบัติ และทั้งมีกาลังใจเข้มแข็งพร้อมที่จะลงมือปฏิบัติตามมรรค และยินดีที่จะเผชิญกับความยากลาบากใน การปฏิบัติตามมรรคนั้นต่อไป เมื่องมองหาเหตุแห่งทุกข์ มนุษย์ชอบมองออกไปหาที่ซัดทอดภายนอก หรือมองให้ไกล จากความรับผิดชอบของตนเท่าที่จะเป็นไปได้ ฉันใด เมื่อจะแก้ไขทุกข์ มนุษย์ก็ชอบมองออกไปข้าง นอก หาที่ปกป้องคุ้มครองให้ตนพ้นภาระหรือช่วยทาการแก้ไขทุกข์แทนให้ ฉันนั้น ว่าโดยลักษณะ การกระทาทั้งสองนั้นคล้ายคลึงกันคือ เป็นการหลบหน้าความจริง ไม่กล้ามองทุกข์ และเลี่ยงหนีการ เผชิญความรับผิดชอบเหมือนคนหนีภัยด้วยความขลาดกลัว หาที่พอปิดตาซุกหน้าไม่ให้เห็นภัยนั้น นึก เอาเหมือนว่าได้พ้นภัย ทั้งที่ทั้งร่างทั้งตัวถูกปล่อยทิ้งไว้ในอันตราย ท่าทีเช่นนี้ทาให้เกิดนิสัย หวังพึ่ง ปัจจัยภายนอก เช่น การอ้อนวอนต่อสิ่ งศักดิ์สิทธิ์ การบนบานเซ่นสรวงสั งเวย การรอคอยการดล บันดาลของเทพเจ้า หรือนอนคอยโชคชะตา พระพุทธศาสนาสอนว่าสิ่งที่พึ่งเช่นนั้น หรือการปล่อยตัว ตามโชคชะตาเช่นนั้นไม่เป็นทางแห่งความมั่นคงปลอดภัย ไม่นาไปสู่ความพ้นทุกข์แท้จ ริง วิธีแก้ไข ทุกข์ที่ถูกต้อง คือ มีความมั่นใจในพระรัตนตรัย ทาใจให้สงบและเข้มแข็ง แล้วใช้ปัญญา มองดูปัญหา อย่างมีใจเป็นกลาง ให้เห็นตามสภาวะของมัน และพิจารณาแก้ไขปัญหานั้นที่เหตุปัจจัย พูดอีกอย่าง หนึ่งว่า รู้จักดาเนินวิธีแก้ไขปัญหาตามหลักอริยะสัจ ๔ ประการ คือ กาหนดทุกข์ สืบสาวหาสาเหตุ แห่ งทุกข์ เล็ งรู้ภ าวะดับ ทุ กข์ที่จ ะพึงบรรลุ แล้ วปฏิ บัติตามวิธีแก้ไขที่ตรงเหตุซึ่งพอดีที่ จะให้ บรรลุ จุดหมาย เรียกว่ามรรคมีองค์ ๘ การปฏิบัติเช่นนี้จึงเป็นทางพ้นทุกข์ที่แท้จริง๒๑๐ ๒.๓.๔ วิธีแก้ปัญหา (ความทุกข์) แบบพุทธ บางครั้ งมี ผู้ ตั้ ง ข้ อ สั งเกตว่ า พุ ท ธศาสนาสอนให้ แ ก้ ปั ญ หาทุ ก อย่ างแม้ แ ต่ ปั ญ หาทาง เศรษฐกิจและสังคม ที่ภายในจิตใจเท่านั้น ซึ่งน่าจะไม่เป็นวิธีการแก้ปัญหาที่เพียงพอหรือได้ผลแท้จริง สาหรับข้อสังเกตนี้ควรทาความเข้าใจกันแยกเป็น ๒ ส่วนคือ ว่าโดยหลักการอย่างหนึ่ง ว่าโดยแง่เน้น ของคาสอน หรือแง่ที่มีเนื้อหาคาสอนมากกว่า เด่นกว่า อย่างหนึ่ง ว่า โดยหลั ก การ วิ ธี ก ารแก้ ปั ญ หาแบบพุ ท ธ มี ลั ก ษณะส าคั ญ ๒ อย่ า ง คื อ เป็ น การ แก้ ปั ญ หาที่ เหตุ ปั จ จั ย อย่ างหนึ่ ง เป็ น การแก้ ปั ญ หาของมนุ ษ ย์ โดยฝี มื อ ของมนุ ษ ย์ เองอย่ างหนึ่ ง หรืออาจพูดรวมว่าเป็น การแก้ปั ญหาของมนุษย์โ ดยมนุษย์เอง ที่ตรงตัวเหตุปัจจัย ที่ว่าแก้ตรงเหตุ ปัจจัย ก็ว่าเป็นกลาง ๆ ไม่จากัดเฉพาะข้างนอกหรือข้างใน และที่ว่าแก้ปัญหาของมนุษย์โดยมนุษย์เอง ก็จะเห็นได้จากการที่พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้มนุษย์มองปัญหาของตนที่ตัวมนุษย์เอง ไม่ใช่มองหาเหตุ และมองหาทางแก้ไปที่บนฟ้าหรือซัดทอดโชคชะตา และให้แก้ไขโดยการลงมือทาด้วยความเพียร พยายามตามเหตุผล ไม่ใช่หวังพึ่งการอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น ดังได้เคยกล่าวแล้ว ว่าโดยแง่ที่เน้นของคาสอน หรือส่วนที่มีเนื้อหาคาสอนมากกว่าเด่นกว่า ควรจะย้าไว้ก่อน ว่าพระพุทธศาสนาสอนให้แก้ปัญหาทั้งด้านนอกด้านใน ทั้งทางสังคมและทางจิตใจของบุคคล คือมีคา สอนขึ้นศีล เป็ นด้านนอก และขั้นจิตและปัญญาเป็นด้านใน จากนี้จึงมาทาความเข้าใจกันต่อไปว่า ๒๑๐

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ, หน้า ๙๑๐-๙๑๑.

๑๐๗ เมื่อกล่ าวตามแง่เน้ น ของคาสอนเท่าที่ มีอยู่ เนื้อหาคาสอนที่บั นทึกอยู่ในคัมภีร์ ส่ ว นที่ว่าด้ว ยการ แก้ปัญหาด้านในหรือด้านจิตปัญญา มีมากกว่าส่วนที่ว่าด้วยกาแก้ปัญหาด้านนอกหรือปัญหาทางสังคม เป็นต้น พูดอีกอย่างหนึ่งว่า เนื้อหาคาสอนเน้นด้านการแก้ปัญหาทางจิตใจมากกว่าการแก้ปัญหาทาง สังคม หรือด้านภายนอกอย่างอื่น ที่เป็นเช่นนี้เป็นเรื่องธรรมดาโดยเหตุผ ลและควรจะเป็นเช่นนั้น ของแสดงเหตุผลบางอย่าง เช่น - โดยความคงตัวแห่งธรรมชาติของมนุษย์ : ปัญหาเกี่ยวกับชีวิตด้านใน หรือปัญหาทาง จิตใจเป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ล้วน ๆ มากที่สุด คือมนุษย์ทุกถิ่นฐานกาลสมัย มีธรรมชาติ ของปัญหาทางจิตใจเหมือน ๆ กัน ถึงจะต่างสังคมหรือสังคมจะต่างยุคสมัย ธรรมชาติทางจิตปัญญา ของมนุ ษย์ ก็ยั งคงเป็ น อย่ างเดิม คือ มนุษย์ก็ยังเป็ นมนุ ษย์ ที่ มีโลภ โกรธ หลง รักสุ ข เกลี ยดทุ กข์ เป็นต้น อยู่อย่างเดียวกัน ส่วนปัญหาด้านนอกเกี่ยวกับสังคมมีส่วนหนึ่งเกี่ยวด้วยธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อยังเป็นมนุษย์ก็ยังมีลักษณะปัญหาเช่นนั้น แต่ส่วนอื่น ๆ นอกจากนั้นเกี่ยวข้องกับปัจจัยอย่างอื่น ๆ ในสภาพแวดล้อมซึ่งแตกต่างกันไป ในส่วนรายละเอียดได้อย่างมากมายตามกาลเทศะ โดยอาศัยความ เป็นจริงเช่นนี้จึงเป็นธรรมดาอยู่เองและเป็นอย่างที่ควรจะเป็นว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนเกี่ยวกับการ แก้ปัญหาภายในทางจิตใจเป็นหลัก๒๑๑ และมีคาสอนด้านนี้มากมาย ส่วนการแก้ปัญหาภายนอก ด้านคาสอนระดับศีลทรงสอน แต่ห ลักกลาง ๆ ที่เนื่องด้วยธรรมชาติของมนุษย์ เช่น การไม่ควรทาร้านเบียดเบียนกันทั้งทางชีวิต ร่ า งกาย ทรั พ ย์ สิ น สิ่ ง หวงแหน ด้ ว ยกายหรื อ ด้ ว ยวาจา และการช่ ว ยเหลื อ เกื้ อ กู ล กั น เป็ น ต้ น ส่ วนรายละเอีย ดนอกเหนื อจากนั้ น เป็ นเรื่องแตกต่างกั นไปตามปั จจัยอื่น ๆ ในสภาพแวดล้ อมที่ เกี่ยวข้องของต่างถิ่นต่างยุคสมัยไม่มีเหมือนกัน เป็นเรื่องของมนุษย์ที่รู้หลักการทั่วไปของการแก้ปัญหา แล้ ว จึ งพึ งวางลั กเกณฑ์ วิธีก ารจั ดการแก้ไขตามเหตุปั จจัย ที่ เกี่ยวข้อ งนั้ น ๆ ไม่ใช่ เรื่องที่จ ะไปวาง บทบัญญัติไว้ให้มนุษย์เป็นการตายตัว ว่าที่จริงในการปฏิบัติก็มีตัวอย่าง ที่พระพุทธเจ้าทรงว่าระบบ การแก้ไขปัญหาของมนุษย์ในด้านภายนอกคือในทางสังคมไว้ คือ สังคมสงฆ์หรือภิกษุสงฆ์ที่ไดเทรง ตั้งขึ้นเอง พระองค์ได้ทรงบัญญัติวินัยซึ่งเป็นระบบการแก้ไขปัญ หาจากด้านนอก ในแง่สังคมไว้เป็นอัน มาก ให้เหมาะกับความมุ่งหมายจาเพาะของการมีสังคมสงฆ์นั้น และให้เหมาะกับการดารงอยู่ด้วยดี ของสังคมสงฆ์ท่ามกลางสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและยุคสมัยนั้น ผู้ศึกษาพุทธศาสนาในสมัยปัจจุบัน มักมองข้ามวินัยไปถ้าเข้าใจสาระของวินัยแล้วจะมองเห็นแนวความคิดของพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับ การแก้ปัญหาภายนอกในระดับสังคมได้ ขอย้าว่าถ้าไม่ศึกษาพระวินัยปิฎก (เฉพาะอย่างยิ่งส่วนนอก ปาติโมกข์) จะไม่อาจเข้าใจแนวความคิดทางสังคมของพระพุทธศาสนาได้เลย เป็นการไม่สมเหตุผลที่ จะให้พระพุทธเจ้าทรงวางระบบที่มีรายละเอียดไว้พร้ อมแก่ชุมชนอื่น โดยไม่คานึงถึงปัจจัยที่เป็นตัว แปรต่างถิ่นต่างสมัยนั้น ๆ ผู้ที่เข้าใจสาระสาคัญของหลักการนี้แล้ว ย่อมจะจัดวางระบบสาหรับจัดการ กับปัญหาและเรื่องราวในสังคมแห่งยุคสมัยของตนได้เอง ดังเช่น พระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อจะทรง สถาปนาธรรมวิชัยในราชอาณาจักรคาสอนของพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับปัญหาในก้านของจิตปัญญา พระองค์ก็ย่อมไม่ต้องทรงแตะต้องอีก เพียงแต่ส่งเสริมให้เผยแพร่คาสอนที่แท้จริงด้วยวิธีและทานองที่ ๒๑๑

พระพรหมคุ ณ าภรณ์ (ป.อ.ปยุ ตฺ โ ต), พุ ทธรรม ฉบั บ ขยายความ , พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ ๑ ๓ , (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหธรรมิก จากัด, ๒๕๕๑), หน้า ๙๑๗.

๑๐๘ สอดคล้องกับกาลสมัย แต่ส่วนเรื่องภายนอกด้านสังคม พระองค์นาแต่คาสอนที่เป็นกลาง ๆ มาตั้งเป็น หลั ก แล้ ว จั ดวางระบบแบบแผนวิธีป กครองและดาเนิน กิจการต่าง ๆ ขึ้นใหม่ให้ ได้ผ ลส าหรับยุ ค สมั ย นั้ น หรื อ อย่ า งในประเทศไทยตามขั ต ติ ย ะราชประเพณี ในทางการปกครอง น าเอาค าสอน ของพระพุ ท ธศาสนาเกี่ ย วกั บ หน้ า ที่ แ ละคุ ณ ธรรมของพระมหากษั ต ริ ย์ ส่ ว นที่ เป็ น กลาง ๆ คือ ทศพิธราชธรรม (๑๐) จักรวรรคิวัตร ๑๒ สังคหะวัตถุ ๔ และพลังของพระมาหากษัตริย์ ๕ มาวาง เป็ น หลักและแปลความหมายให้ เข้ากับยุคสมัย ส่วนระบบบริห ารราชการ เป็นต้น ก็จัดวางขึ้นให้ เหมาะสมกับถิ่นและยุคสมัยนั้น ดังนี้เป็นต้น - โดยความเป็นเอกหรือความชานาญพิเศษ : การแก้ปัญหาจากภายนอกหรือทางด้าน สังคมนั้นนอกจากขึ้นต่อปัจจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่ต่างกันของถิ่นและยุคสมัยแล้ว ยังมีศิลปะ วิทยาการและระบบการอื่น ๆ เอาใจใส่เป็นเจ้าของเรื่องกันอยู่อีกมากมาย แต่ในทางตรงข้าม ปัญหา เกี่ยวกับชีวิตด้านในทางจิตปัญญาของมนุษย์กลับได้รับความเอาใจใส่จากศิลปะวิทยาการทั้งหลายน้อย กว่า และเป็นแดนที่ศิลปะวิทยาการทั้งหลายเข้าไม่ค่อยถึงพระพุทธศาสนาถือปัญหาระดับนี้เป็นเรื่อง สาคัญที่ควรเอาใจใส่มากด้วย ยิ่งถูกวงการอื่นทอดทิ้งก็ยิ่งควรเอาใจใส่มาก และเป็นแดนที่พุทธศาสนา เข้าถึงเป็นพิเศษด้วย๒๑๒ - โดยความลึกซึ้ง ยาก และเป็ นแก่นแท้ของชีวิต : ปัญหาทางจิตปัญญา เป็นเรื่องลึกซึ้ง ละเอียดอ่อน เข้าใจยากกว่าปัญหาภายนอกทั้งหลายเป็นอันมาก ถ้าเรื่องราวภายนอกใช้เวลาอธิบาย หรือชี้แจกสัก ๑ ชั่วโมง เรื่องทางจิตปัญญาบางทีอาจต้องใช้เวลาอธิบายสัก ๑๐ ชั่วโมง และต้องเน้น ต้องย้ากันอยู่เรื่อย ๆ การมีคาสอนด้านนี้ในอัตราที่สูงกว่าคาสอนเกี่ยวกับปัญหาภายนอกจึงเป็นเรื่อง ธรรมดา อีกประการหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงถือว่าประโยชน์ทางจิตปัญญานี้เป็นแก่นสารเน้อหาของชีวิต มนุษย์ เมื่อเกิดมามีชีวิตแล้วก็ควรพยายามให้ได้ให้ถึงไม่ให้สูญสิ้นชีวิตเปล่า และคนก็ไม่ใคร่มองเห็น จึงเป็นธรรมดาที่จะต้องทรงเน้นย้ามาก ส่วนประโยชน์ด้านภายนอก คนทั้งหลายเขาใฝ่ปรารถนากัน อยู่แล้ว ถ้าไม่ไปย้าอีกก็พอแก่การอยู่แล้ว - โดยความเนื่องถึงกันแก่ทุกด้านของชีวิต : ความจริงปัญหาของมนุษย์ไม่ว่าด้านนอกหรือ ด้านในก็กระเทือนถึงกันทั้งหมด และในการแก้ปัญ หาแต่ละอย่างไม่ว่านอกว่าใน ชีวิตทุกด้านของ มนุษย์ก็ต้องเข้าเกี่ยวข้องด้วนทั้งนั้น ยิ่งมาคานึงว่าชีวิตด้านในของมนุษย์เป็นหลั กยืนอยู่ และเป็น พื้นฐานสาคัญอยู่ในส่วนลึก มีอิทธิพลต่อการแก้ปัญหาภายนอกอย่างมาก เช่น เมื่อจิตใจลุ่มหลงมัวเมา ก็มองปั ญ หาไม่ตรงตามความเป็น จริง เมื่อกระแสความคิดและปัญ ญาถูกอิทธิพลของอวิช าตัณ หา ครอบงา หรือถูกตัณ หามานะทิฏ ฐิบิดเบือน ชักให้ เอนเอียง ก็ไม่อาจพิ จารณาปั ญ หาอย่างถูกต้อง นอกจากแก้ผิดพลาด บางทีอาจขยายปัญหาหรือเพิ่มปัญหาใหม่ขึ้นอีกก็ได้ ดังนั้น การชาระจิตและ การทาปัญญาให้บริสุทธิ์ ไม่บิดเบือ น ไม่เอนเอียง จึงเป็นสิ่งจาเป็นสาหรับการแก้ปัญหาทุกอย่างทั้ง ภายนอกและภายในทุกถิ่นทุกสมัย ถ้ามนุษย์แก้ปัญหาไม่ถึงระดับนี้ ก็ไม่มีทางจะแก้ปัญหาแม้แต่ระดับ สังคมหรือภายนอกให้ได้ผลแท้จริงได้ ถ้าแก้ปัญหาพื้นฐานระดับจิตปัญญานี้ได้ การแก้ปัญหาภายนอก ก็จ ะง่า ยขึ้ น อย่ างมากมาย มนุ ษ ย์ จ ะมี ค วามพร้อ มในการแก้ ปั ญ หาขึ้ น มาก พุ ท ธศาสนาเน้ น การ แก้ปัญหาถึงขึ้นพื้นฐาน คือ ถึงระดับแห่งจิตปัญญา ดังที่กล่าวมาแล้ว ๒๑๒

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธธรรมฉบับขยายความ, หน้า ๙๑๘.

๑๐๙ - โดยความต่างแห่งระดับการดาเนินชีวิต : พุทธศาสนาถือว่า สังคมประกอบด้วยมนุษย์ที่ มีพัฒนาการทางจิตปัญญาในระดับต่าง ๆ กัน นอกจากนั้นยังมีสังคมย่อยหรือชุมชนต่าง ๆ ซ้อนอยู่ ภายในซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้สมัครใจเข้าไปดารงชีวิตในระดับที่แตกต่างกัน เช่น มีสังคมคฤหัสถ์กับสังคม สงฆ์ เป็นต้น ชีวิตในสังคมคฤหัสถ์เน้นด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และการงานหาเลี้ยงชีพ ส่วนชีวิต ในสังคมสงฆ์เน้นด้านจิตปัญญา เมื่องมองสังคมสงฆ์แม้ว่าจะมีวินัยที่ใช้วิธีแก้ปัญหาจากแง่ของสังคม แต่ว่าโดยการเปรียบเทียบก็ยังเน้นด้านจิตปัญญาข้างในมากกว่า และเน้นด้านนอกน้อยกว่าสังคม คฤหัสถ์ โดยนัยนี้ ถ้าใครจะดูคาสอนสาหรับภิกษุแล้ว เอามาเป็นมาตรฐานวัดว่าพุทธศาสนาสอนให้ คนทั่วไปใช้วิธีแก้ปัญหาอย่างนั้น ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง๒๑๓ พระพุทธศาสนาสอนให้แก้ปัญหาของมนุษย์โดยมนุษย์เอง ที่ตรงตัวเหตุปัจจัย และพูด เช่นนี้อย่างเป็นกลาง ๆ ไม่ได้จากัดจาเพาะว่าจะแก้แต่ข้างในหรือแก้แต่ข้างนอก คือแล้วแต่เหตุปัจจัย คสรจะย้อนกลับออกไปด้วยซ้าว่าศิลปวิทยาและระบบการทั้ งหลายเท่าที่มีอยู่นี้ต่างหากที่มักมุ่งแต่จะ แก้ปั ญหาที่ข้างนอกอย่างเดียวด้านเดียว มองข้ามการแก้ปัญหาด้านภายในไปอย่างแทบจะสิ้นเชิง อั น นั บ ว่ า เป็ น การแก้ ปั ญ หาที่ ไ มม่ ส มบู ร ณ์ อาจพู ด อี ก อย่ า งหนึ่ ง ว่ า การแก้ ปั ญ หาตามหลั ก พระพุทธศาสนานั้นไม่ใช่แก้ที่ข้างนอกหรือแก้ที่ ข้างในอย่างเดียว แต่ให้แก้ตั้งแต่ข้างในออกมาทีเดียว หมายความว่า มิใช่จะแก้แต่ข้างนอกอย่างเดียว ต้องแก้ข้างในด้วย คือ แก้หมด แก้ที่เหตุปัจจัย ไม่ว่า ข้างนอกหรือข้างใน

๒.๔ แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับโหราศาสตร์ ๒.๔.๑ ความหมายของโหราศาสตร์ มี ผู้ รู้ แ ละแหล่ ง ข้ อ มู ล ต่ า ง ๆ ได้ ให้ ค วามหมายที่ ก ว้ า ง และครอบคลุ ม โดยสรุป แล้ ว ความหมายของโหราศาสตร์ มักถูกกล่าวถึงการพยากรณ์โดยอาศัยดวงดาว โหราศาสตร์มีความหมาย หลายลักษณะขึ้นอยู่กับผู้รู้ และแหล่งข้อมูลดังนี้คือ๒๑๔ คาว่า “โหรา” แปรมาจาก อโหราตร์ สันสกฤต และ อโหรตต มคธ ตรงกับคาหมายที่ ว่า “วันและคืน” ตามปทานานุกรมฉบับหนึ่งว่า โหร คือ อุทัยแห่งราศี ชั่วโมง ลักษณะหรือเครื่องหมาย เรขาหรือเลขา ศาสตร์อันว่าด้วย นักษัตรวิทยา อีกฉบับหนึ่งให้ความหมายศัพท์นี้ว่า อโหรา คือ ชั่วโมง ชาตะโหราศาสตร์ คือตาราดูฤกษ์ดาราศาสตร์ คาว่า “โหร” ไทยอ่านว่า โหร สันสกฤตอ่านว่า โหรา แปลว่า หมอดูฤกษ์, ผู้ชานาญทางดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ เป็นวิชาที่ใช้สาหรับพยากรณ์ผลกรรมของ มนุษย์ โดยอาศัยดวงดาวเป็นเครื่องพยากรณ์๒๑๕

๒๑๓

พระพรหมคุ ณ าภรณ์ (ป .อ.ปยุ ตฺ โ ต), พุ ทธธรรมฉบั บ ขยายความ , พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ ๑ ๓ (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหธรรมิก จากัด, ๒๕๕๑) หน้า ๙๑๙. ๒๑๔ ณัฐ ธรรมชาติ, “อิทธิพลของโหราศาสตร์ที่มีต่อการตัดสินใจในเรื่องที่สาคัญของนักศึกษามหาวิทยาลัย: กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา”, วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย), ๒๕๔๘, หน้า ๕. ๒๑๕ เทพ สาริกบุตร, โหราศาสตร์ปริทรรศน์, (กรุงเทพมหานคร: โอเดียนการพิมพ์, ๒๕๑๑), หน้า ๓.

๑๑๐ โหราศาสตร์ (astrology) ภาษาอั ง กฤษมาจากลาติ น และกรี ก astron (ดวงดาว) กับ logia (ความรู้)๒๑๖ โหราศาสตร์ หมายถึง วิชาว่าด้วยการพยากรณ์โดยอาศัยดาราศาสตร์๒๑๗ โหราศาสตร์ หมายถึง วิช าพยากรณ์ ที่เนื่องมาจากอานาจของดวงดาวที่มีต่อสรรพสิ่ ง ทั้งหลายในโลก๒๑๘ โหราศาสตร์ หมายถึง วิช าว่าด้ว ย การพยากรณ์ โดยอาศัยการโคจรของดวงดาวเป็ น ๒๑๙ หลัก โหราศาสตร์ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับศาสตร์อันลึกซึ้งเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งและอาจนับเนื่องอยู่ ในไสยศาสตร์ เป็น วิชาที่ลึกลับอยู่คู่กับดาราศาสตร์ซึ่งเป็นวิชาคานวณ วิถีโคจรและขนาดน้าหนัก ระยะ ฯลฯ ของดวงดาวในอากาศ วิชานี้มีมาแต่โบราณสมัย เนื่องจากมนุษย์สมัยดึกดาบรรพ์ ก่อนมี พงศาวดารและก่อนพุ ท ธกาล มนุ ษ ย์เพิ่ ง รู้จั กสร้างบ้ านเรือนอาศัย รวบรวมขึ้น เป็ น หมวดหมู่เป็ น ประเทศชาติโดยลาดับ เกิดการชื่อถือเกี่ยวกับพวกเทวดาต่าง ๆ โดยไร้เหตุผล และมนุษย์สมัยนั้นคงมี เวลาว่างมากเกิดการซอกแซกซุกซน จึงเกิดการพิ จารณาท้องฟ้าขึ้น อย่างละเอียดและเฝ้ าดูอย่าง เพลิดเพลินก็เห็นเป็นรูปดาวต่าง ๆ ที่มองเห็นเช่น ดาวไถ ดาวจระเข้ ดาวลูกไก่ ฯลฯ ยิ่งดูนานวันเช้า ดาวรูปต่าง ๆ เหล่านี้ก็เคลื่อนที่ไป บางที่มองไม่เห็นบนท้องฟ้าหลาย ๆ เดือน การสังเกตการณ์ทาให้ เกิดผลเป็น ๒ ประการ คือ (๑) ทาให้มนุษย์รู้จักกับดาวเป็น ๒ ประเภท คือรู้จักดาวอยู่กับที่และรู้จัก ดาวเคลื่อนที่ (๒) ทาให้มนุษย์รู้จักดาวต่าง ๆ รวมทั้งอาทิตย์และจันทร์หมุนรอบโลก โดยอาศัยความสังเกต จากดวงดาวรู้วิถีของดวงดาวต่าง ๆ ก็รู้จักกับดาวเคลื่อนที่และดาวอยู่กับที่ดีขึ้นมาก แล้วเทียบให้เป็น นิยายโบราณคดีเกี่ยวกับกาเนิดดาวบ้าง นิยายสมมุติให้เป็นสัตว์ต่าง ๆ บ้าง เป็นยักษ์บ้าง เป็นเทวดา บ้าง ครั้นแล้วจึงแบ่งแผนผังดาวอยู่กับที่และดาวเคลื่อนที่รอบโลกออกเป็น ๑๒ ส่วน มีชื่อเรียกแผนผัง ไว้ทุกราศีเพื่อกันลืม เมื่ออาทิตย์เดิมมาถึงที่เดิมก็นับเป็นหนึ่งปี การนับ วัน เดือน ปี และการแบ่ง ฤดูกาลคงเกิดขึ้นตอนนี้เอง๒๒๐ สรุปได้ว่าโหราศาสตร์เป็นวิชาพยากรณ์ ที่เนื่องมาจากอานาจของดวงดาวต่าง ๆ ที่มีต่อ สรรพสิ่งทั้งหลายในโลก เป็ นวิชาการทางนามและรูปแสดงกาลเวลาความส่องสว่าง ความรุ่งโรจน์ ความร้อน ความดึงดูด และพลังงานที่มีต่อพฤติกรรมของคนเราด้วย ๒.๔.๒ ความเป็นมาของโหราศาสตร์ โหราศาสตร์ในที่นี้ ผู้วิจัยหมายถึงศาสตร์ที่ใช้ในการทานาย (divination) ซึ่งรวมวิชาที่ ศึก ษาความสั ม พั น ธ์ร ะหว่างดวงดาวบนท้ อ งฟ้ ากั บ ชี วิต มนุ ษ ย์ (astrology) การท านายจากนิ มิ ต ๒๑๖

Webster’s New World Dictionary, (New York : Prentice Hall, 1994 ). p.84. สานักนายกรัฐมนตรี, พจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. ๒๕๓๐, พิมพ์ครั้งที่ ๑๑, (กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช, ๒๕๓๔), หน้า ๕๘๓. ๒๑๘ สิงห์โต สุริยาอารักษ์ , โหราศาสตร์ไทย เรียนด้วยตัวเองเล่มเดียวจบ, พิมพ์ครั้งที่ ๔, (กรุงเทพมหานคร: ดวงดีการพิมพ์, ๒๕๒๖), หน้า ๑. ๒๑๙ ราชบัณ ฑิ ตยสถาน, พจนานุ ก รม ฉบั บราชบั ณ ฑิ ตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, (กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่น, ๒๕๔๖), หน้า ๑๓๗๓. ๒๒๐ สิงห์โต สุริยาอารักษ์, โหราศาสตร์ไทย เรียนด้วยตัวเองเล่มเดียวจบ, หน้า ๒. ๒๑๗

๑๑๑ สัญ ลั กษณ์ เช่น ดูลั กษณะลายมือ หน้าตา การทานายฝั น การทานายด้ว ยวิธีเสี่ ยงทาย เช่น อี้จิง (i ching) ไพ่ยิปซี (tarot) แต่ไม่รวมถึงการทานายโดยใช้อานาจจิต อานาจเทพ หรือวิชาไสยศาสตร์ ประวั ติ ค วามเป็ น มาของการท านายทายทั ก มี ม าช้ านาน และมี เกื อ บทุ ก อารยธรรม ในอิน เดีย โบราณมีมาตั้งแต่ยุ คพระเวท มีป รากฏในไตตฺติรียะสั ม หิ ตา (taittiriya samhita) ว่าฤษี สมัยก่อนทานายว่าพิธีบูชายัญจะเป็นไปด้วยดีหรือไม่ โดยจุดพุ่มไม้ให้ติดไฟด้วยก้อนขนมเผา ถ้าพุ่มไม้ ไฟลุกดีเป็นสัญญาณว่าพิธีกรรมจะดาเนินไปได้ด้วยดี ๒๒๑ ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ของอินเดียก็มี ปรากฏในคัมภีร์พระเวท ในการแบ่งเนื้อหาของพระเวทเป็น ๖ เรื่องที่เรียกว่า เวทางค์ ๒๒๒ มีเรื่องหนึ่ง เรี ย กว่า โชฺ ย ติ ษ (jyotish) เป็ น ร้ อ ยกรองมี ป ระมาณ ๔๐ โศลก กล่ าวถึ งพระอาทิ ต ย์ พระจั น ทร์ และนักษัตร (กลุ่มดาวฤกษ์) ทั้ง ๒๗ กลุ่ม๒๒๓ การศึกษาดาราศาสตร์สมัยแรก ๆ เกิดจากมนุษย์ได้พบเห็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น บนท้ อ งฟ้ า จนเชื่ อ ว่ า เหตุ ก ารณ์ เหล่ า นั้ น เป็ น สิ่ ง ก าหนดวิ ถี ท างชี วิ ต ของมนุ ษ ย์ จึ ง เริ่ ม ก าหนด ความหมายของวัตถุบนท้องฟ้าเป็นเสมือนเทพเจ้า และมีนิยายเล่าสืบกันมา๒๒๔ การทานายที่มีการใช้มากที่สุดและมีห ลั กวิชาที่เป็นระบบมากที่สุดคือการใช้ตาแหน่ง ดวงดาวในการทานาย ซึ่งเป็นความหมายเฉพาะของคาว่าโหราศาสตร์ (astrology) ภาษาอังกฤษมา จากภาษาลาตินและกรีก astron (ดวงดาว) กับ logia (ความรู้)๒๒๕ รวมกันคือความรู้เกี่ยวกับดวงดาว ส่วนภาษาไทยคาว่าโหราศาสตร์รับมาจากอินเดีย เกิดจาก โหรา ที่มาจาก อโหราตร์ หรือ อโหรตฺต แปลว่าวันและคืน ๒๒๖ กับศาสตร์คือความรู้ รวมกันคือความรู้เกี่ย วกับวันและคืนหรือความรู้เกี่ยวกับ เวลา ดวงดาวกับเวลามีความเกี่ยวเนื่องกันเพราะเรากาหนดเป็นเวลาต่าง ๆ ได้ด้วยอาศัยการเคลื่อนที่ ของโลก ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ แหล่ ง อารยธรรมเก่ าแก่ ข องโลกล้ ว นแต่ มี ร่ อ งรอยของความรู้ ท างดาราศาสตร์ ห รื อ โหราศาสตร์อยู่ ดังเช่น ชาวจีนสามารถหาได้ว่า ๑ ปี มีความ ๓๖๕ วัน เมื่อ ๒,๕๐๐ ปีก่อนคริสตกาล มีการสร้ างปฏิ ทิน ช่ว ยในการท านายการเกิ ดอุป ราคา ซึ่งชาวจีน โบราณถือว่าการเกิดสุ ริยุปราคา จะต้องมีการเซ่นไหว้เพื่อเอาอกเอาใจพระผู้เป็นเจ้า และชาวจีนเป็นชนชาติแรกที่ทราบว่าดวงจันทร์ เคลื่อนที่จากทิศตะวันตกผ่านกลุ่มดาวต่าง ๆ บนท้องฟ้าไปยังทิศตะวันออก ใช้เวลาครบรอบประมาณ ๒๘ วัน๒๒๗

๒๒๑

Anthony Philip Stone, Hindu Astrology : Myths, Symbols and Realities, (India : Select Books, 1981), p. 174. ๒๒๒ R.C. Majumdar, Ancient India, (India : Motilal Banarsidass, 1977), p. 35. ๒๒๓ Ibid. p. 191. ๒๒๔ ประพั น ธ์ เตละกุล , ดาราศาสตร์แ ละอวกาศ, (กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒ นาพานิช , ๒๕๔๓), หน้า ๑. ๒๒๕ Webster’s New World Dictionary, (New York : Prentice Hall, 1994), p. 84. ๒๒๖ เทพย์ สาริกบุตร, โหราศาสตร์ปริทรรศน์ ภาค ๑, (กรุงเทพมหานคร: เกษมบรรณกิจ, ๒๕๑๑), หน้า ๓. ๒๒๗ ประพันธ์ เตละกุล, ดาราศาสตร์และอวกาศ, หน้า ๘.

๑๑๒ ในอารยธรรมชาวเมโสโปเตเมีย ได้แก่ ชาวอินเดีย ชาวบาบิโลเนีย ชาวคาลเดีย และชาว อียิ ป ต์ ก็มีความเจริ ญ ทางวิช าดาราศาสตร์ มีนักบวชชาวบาบิโลเนียคอยสั งเกตปรากฏการณ์ บ น ท้องฟ้าอย่างจริงจัง จนสามารถสร้างปฏิทินกาหนดเวลาสาหรับทาพิธีทางศาสนา รัฐพิธี ตลอดจน กาหนดฤดูเก็บเกี่ยวได้อย่างแน่นอน ทั้งยังได้แบ่งดาวเป็นกลุ่มต่าง ๆ โดยกาหนดเป็นรูปสัตว์ รูปคน หรือรูปเทพเจ้า ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์ ความรู้ทางด้านโหราศาสตร์จึงได้กาเนิดขึ้นและแพร่หลายไป ทั่ว ชาวอียิ ป ต์ โบราณมี ความช านาญในการวัดต าแหน่ งของดวงดาวและบั นทึ ก เหตุ การณ์ ต่าง ๆ ที่ น่ าสนใจบนท้ องฟ้ าไว้ป ระมาณ ๒,๕๐๐ ปี ก่อ นคริส ตกาล ชาวอียิ ป ต์ห าได้ ว่า ๑ ปี มี ๓๖๕ วัน แบ่งออกเป็น ๑๒ เดือน เดือนหนึ่งมี ๓๐ วัน ยกเว้นเดือนสุดท้ายมี ๓๕ วัน และยังพบว่าทุก ๆ ๔ ปี จะมีวันขาดหายไป ๑ วัน ความรู้ทางดาราศาสตร์ของอียิปต์ถูกนาไปเกี่ยวข้องกับศาสนาเป็นส่วนใหญ่ มีความเชื่อว่า ท้องฟ้า โลกและอากาศ เป็นสิ่งที่ถูกกาหนดขึ้น๒๒๘ จนมาถึงยุคของกรีกโบราณที่ได้รับยกย่องว่าเป็นนักดาราศาสตร์ที่แท้จริง มีนักปรัชญา เมธีที่ใฝ่หาความรู้ความเข้าใจจากกฎธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัว เป็นการวางรากฐานให้วิชาดาราศาสตร์ เจริญขึ้นมาอย่างมีกฎเกณฑ์ นักปรัชญาเมธีที่มีผลงานด้านดาราศาสตร์ ยกตัวอย่างเช่น ทาเลสแห่ง ไมเลตุส คานวณได้ว่า ๑ ปีมี ๓๖๕ วัน สามารถทานายสุริยุปราคาได้ถูกต้อง แต่เชื่อว่าโลกมีสัณฐาน แบน อริสโตเติล มีข้อพิสูจน์ที่ทาให้เชื่อว่าโลกมีรูปร่างเป็นทรงกลม และเชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของ เอกภพ นอกจากนี้ยังมี ไพธากอรัส อาริสตาร์คัส ฮิปปาคัส และปโตเลมี ที่ได้พัฒนาความรู้ด้านดารา ศาสตร์ให้ก้าวหน้าขึ้น ซึ่งดาราศาสตร์ในที่นี้คือรวมโหราศาสตร์เข้าไว้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปโตเลมี (Ptolemy) ได้เขียนตาราโหราศาสตร์ที่ถือว่าเป็นรากฐานของโหราศาสตร์ดวงดาวในปัจจุบัน ชื่อว่า เตตราบิ โ บลส (Tetrabiblos) ส่ ว นต าราทางดาราศาสตร์ ที่ ส าคั ญ ของปโตเลมี คื อ อั ล มาเกสต์ (Almagest) ตัวอย่างตอนหนึ่งในเตตราบิโบลสได้อธิบายเกี่ยวกับดวงดาวที่ เป็นสัญลักษณ์แทนบิดา มารดา ปโตเลมีกล่าวไว้ว่า “ในความสอดคล้องกับธรรมชาติ ดวงอาทิตย์กับดาวเสาร์ได้รับการจัดให้เป็นบุคคลคือ บิ ด า และดวงจั น ทร์ กั บ ดาวศุ ก ร์ เป็ น มารดา รู ป แบบที่ ด าวเหล่ า นี้ ป รากฏสั ม พั น ธ์ ซึ่ ง กั น และกั น หรือสัมพันธ์กับดาวเคราะห์อื่น ๆ จะบอกถึงสถานภาพของความเป็นบิดามารดา”๒๒๙ ในสมัยยุคกลางความก้าวหน้าทางดาราศาสตร์มีมากขึ้น เมื่อโคเปอร์นิคัสเสนอทฤษฎีที่ว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของเอกภพ ผู้สนับสนุนต่อมาคือไทโค บราเฮ กาลิเลโอ กาลิเลอี แต่ในยุค กลางอิทธิพลของคริสตจักรมีมาก ความก้าวหน้าทางวิชาการด้านนี้จึ งถูกจากัด นักดาราศาสตร์ที่ สาคัญในสมัยต่อมาคือ โจฮันส์ เคปเลอร์ และเซอร์ไอแซค นิวตัน นักดาราศาสตร์เหล่านี้บางคนมี ความรู้ทางโหราศาสตร์ด้วย เคปเลอร์เขียนไว้ในหนังสือของเขาเกี่ยวกับการทานายว่า “ธรรมชาติของ มนุษย์ ในขณะที่ชีวิตเริ่มต้น ไม่ได้รับภาพจากท้องฟ้าในขณะนั้นเท่านั้น แต่รวมทั้งการเคลื่อนที่ต่อไป ของดาวเคราะห์ต่าง ๆ ที่ส่งภาพมายังโลก ในวันต่อ ๆ ไปอีกด้วย”๒๓๐ ๒๒๘

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒. Benson Bobrick, The Fated Sky : Astrology in History, (USA : Simon & Schuster Paperbacks, 2005), pp. 51-52. ๒๓๐ Benson Bobrick, The Fated Sky : Astrology in History, Ibid., p. 167. ๒๒๙

๑๑๓ ๒.๔.๒.๑ โหราศาสตร์ในประเทศไทย โหราศาสตร์ ไทยเป็ นวิท ยาการที่ ว่าด้วย จักรวาลวิท ยา ที่ เรียนรู้เรื่องของท้อ งฟ้ า และดวงดาว จักรวาลที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล และธรรมชาติอันมีผลกระทบต่อความ เป็นอยู่ของมนุษย์ ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาจากการจดบันทึก จากการสังเกตของบรรพบุรุษที่ศึกษา ท้อ งฟ้ า จั กรวาลและดวงดาวอัน มีผ ลต่อ ชีวิต ธรรมชาติ และโลกอย่ างใกล้ ชิดต่ อเนื่ องด้ ว ยความ ละเอียดแล้วนามาวางเป็นหลักในการประมวลผล ที่จะเกิดกับชีวิตธรรมชาติและพื้นโลก๒๓๑ เมื่อพระเจ้ าอโศกราชมีแสนยานุ ภ าพปราบปรามอินเดียภาคใต้ พ.ศ.๒๐๐ ปีเศษนั้ น กระทาให้ชาวอินเดียภาคใต้และพราหมณ์พาพระเวทย์หนีมาพึ่งอาณาจักรเขมรแล้ว และต่อมาไทยได้ อพยพมาจากประเทศจีนมาตั้งภูมิลาเนาอยู่ในประเทศสยาม ก็ได้รับการศึก ษาวิชาโหรพร้อมกับลัทธิ ทางศาสนาและพิธีพราหมณ์ด้วย อันมีพระโสณะเถระและพระอุตระเถระมาเผยแผ่พระพุทธศาสนา นั้นเอง ครั้งสมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา ก็ยกย่องพราหมณาจารย์ขึ้นเป็นมหาราชครู ฉะนั้น จึงมีพราหมณ์ข้าราชการครูกระทาพิธีการมงคลต่าง ๆ แต่เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาถูกไฟเผาผลาญจนสิ้น ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พระโหราจารย์ได้รวบรวมกันขึ้นแต่คงจะอยู่ในราชสานักเท่านั้น ประชาชน บุคคลภายนอกคงไม่มีตาราครบบริบูรณ์ นอกจากพวกท่านกรมโหรเท่านั้น หรือพระผู้ใหญ่ในยุคนั้น ๆ และพระผู้ใหญ่ยุคนั้นต้องเป็นผู้มีปรีชาเฉลียวฉลาดจริง ๆ ด้วยและพวกกรมโหรต้องไปมาหาสู่เสมอ การทาพิธีต่าง ๆ ตามลัทธิพราหมณ์ และกรมโหรได้เลิกเสียเมื่อเร็ว ๆ นี้ โหราศาสตร์เป็นวิชาละเอียด สับสน จะต้องใช้การสังเกตพิจารณากันจริง ๆ มิใช่เห็นตาราแล้วก็เข้าใจทันที เพราะภาษาของตารา โหราศาสตร์นั้นยากมาก และกฎเกณฑ์ก็มีมากสั บสนไม่มีโรงเรียนเรียนกัน คาสอนก็เป็นคาเฉพาะบ้าง คาอรรถบ้าง คาโคลงบ้างฯ ซึ่งหาข้อความอ่านง่าย ๆ อ่านแล้วเข้าใจเลยทีเดียวไม่มี วิช าโหราศาสตร์ นี้ เดิ ม มี อ ยู่ แ ต่ เฉพาะพราหมณ์ ซึ่ งเป็ น โหรประจ าพระองค์ พ ระเจ้ า แผ่นดิน หรือผู้ครองนครเท่านั้น หาใช่มีอยู่สาหรับบุคคลทั่ วไปดังปรากฏอยู่ ณ บัดนี้ไม่ และพยากรณ์ ของโหรสมัยโบราณก็พยากรณ์แก่ผู้ที่ทราบเวลาเกิดแน่นอนเท่านั้น วิชาโหราศาสตร์พึ่งตกมาถึงมือ ประชาชนทั่ว ๆ ไป เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรด เกล้า ฯ ให้เปิดหอพระสมุดแห่งชาติขึ้น และผู้ที่มีคัมภีร์หรือตาราต่าง ๆ ก็นามามอบให้แก่หอพระสมุด หอพระสมุดก็เปิ ดโอกาสให้ แก่ป ระชาชนเข้ายืมอ่าน และคัดลอกตารับตาราต่าง ๆ ได้ ด้วยเหตุนี้ วิชาโหราศาสตร์จึงออกไปสู่ประชาชนทั่ว ๆ ไป แต่ก็ลุ่ม ๆ ดอน ๆ เนื่องจากวิชาโหราศาสตร์เป็นวิชา ละเอียดอ่อน สับสนมีคายากมาก “มีผู้เรียบเรียงรวบรวมตาราขึ้นมาก็มากเล่ม และราคาแพง”๒๓๒ สรุ ป ได้ว่าโหราศาสตร์ยุ คนี้ ได้ รับ การศึก ษาวิช าโหรพร้อ มกับ ลั ท ธิท างศาสนาและพิ ธี พราหมณ์ด้วย อันมีพระโสณะเถระและพระอุตระเถระมาเผยแผ่พระพุทธศาสนา สมัยกรุงสุโขทัยและ กรุ งศรี อ ยุ ธ ยามี พ ราหมณ์ เป็ น โหรประจ าพระองค์ พ ระเจ้ าแผ่ น ดิ น โหราศาสตร์พึ่ งตกมาถึ งมื อ

๒๓๑

นคริ กุ ญ แจทอง (อ.เบิ ร์ ด โหรสิ บ ทิ ศ ), Astrostory: ประวัติโหราศาสตร์ และวิวัฒ นาการ, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: uranian.igetweb.com [๑๖ มีนาคม ๒๕๖๑]. ๒๓๒ สิงห์โต สุริยาอารักษ์, โหราศาสตร์ไทย เรียนด้วยตัวเองเล่มเดียวจบ, หน้า ๗-๑๐.

๑๑๔ ประชาชนทั่ว ๆ ไป เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรด เกล้า ฯ ให้เปิดหอพระสมุดแห่งชาติขึ้น ๒.๔.๒.๒ โหราศาสตร์ในยุคปัจจุบัน ปัจจุบันนี้ โหราศาสตร์ได้เจริญและแพร่หลายอย่างสูงสุดไม่เพี ยงแต่ในประเทศเยอรมันนี สวิซเซอร์แลนด์ ส่วนกลางของทวีปยุโรป ยังแพร่หลายในอเมริกาเหนือด้วย เหตุผลหรือจุดมุ่งหมายใน การศึกษาโหราศาสตร์ไม่ใช่จะมุ่งศึกษาวิชาด้านพยากรณ์ศาสตร์อย่างเดียว แต่ยังพบความหลากหลาย ในเชิงวิชาการที่มีความเกี่ยวโยงกับวิชาปรัชญาศาสนาและจิตวิ ทยาปัจจุบันนี้โหราศาสตร์ได้รับการ ยอมรั บ ว่าเป็ น สาขาวิช าที่ มีป ริ ญ ญาตรี โท เอก หรือ หลั กสู ต รที่ มี ใบประกาศนี ย บั ต รรองรับ จาก สถาบั น การศึ ก ษาที่ น่ า เชื่ อ ถื อ เช่ น คณะโหราศาสตร์ ศึ ก ษาในกรุ ง ลอนดอน (The Faculty of Astrological Studies in London) มหาวิทยาลัยบาร์ทสปา (Baht Spa University) มหาวิทยาลัย แ ห่ ง เ ค น ท์ ( University of kent) แ ล ะ จ า ก เ ว ป ไ ซ ด์ ต่ า ง ๆ ม า ก ม า ย เ ช่ น www.astrology.Org.uk.www.halexandria.org. www.astrologycolledge.com ที่ ค น ทั่ ว ไ ป สามารถเข้าถึงข้อมูลวิชาโหราศาสตร์ ที่มีหลักสูตรหลักเกณฑ์เดียวกันจากทั่วทุกมุมของโลก๒๓๓ ในปั จ จุ บั น โหราศาสตร์ได้รับ การยอมรับ อย่างแพร่ห ลาย เราสามารถหาอ่านคอลั ม น์ โชคชะตาราศีได้จากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ได้เกือบทุกฉบับ โหราศาสตร์ได้เข้าไปเกี่ ยวข้องกับศาสตร์ หลาย ๆ ศาสตร์ทั้งศาสนา จิตวิทยา และปรัชญา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหาของสังคมและ ถ้าโหราศาสตร์ไม่ดีจริง ก็คงไม่สามารถเจริญรุ่งเรือง สืบทอดมาตั้งแต่ในอดีตกาลมาจนถึงรุ่นปัจจุบันนี้ ได้โหราศาสตร์ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางด้านจิตวิทยาเพื่ อให้คาแนะนา เป็นที่ปรึกษาในการตัดสินใจทั้ง ทางด้านธุรกิจ งานอาชีพ ความรัก สุขภาพ การลงทุนเพื่อหาแนวทางและเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้การ ดาเนินของชีวิตมีความราบรื่นมากที่สุด๒๓๔ โห ราศ าส ต ร์ เ ป็ น วิ ช าส ถิ ติ เบื้ อ งต้ น ใน แ ง่ ที่ ว่ า ได้ มี ก ารเก็ บ รว บ รวม ข้ อ มู ล (Data Collection) ที่เป็นตัวเลขซึ่งแสดงข้อเท็จจริงต่าง ๆ มีการตีความหมาย (Interpretation) วิ ช าโหราศาสตร์ มิ ไ ด้ ใ ช้ วิ ธี ก ารศึ ก ษาด้ ว ยการคาดคะเน (Estimation) แต่ ไ ด้ ใ ช้ วิ ธี การศึกษาด้วยการพินิจพิเคราะห์ (Analysis) ทั้งสามกาล คือ อดีตกาล ปัจจุบันกาล และอนาคตกาล การเก็บสถิติดวงชะตาต่าง ๆ ก็ต้องเก็บอย่างไม่มีอคติ (Unbiase) มิฉะนั้นข้อมูลที่ได้หรือปรากฏการณ์ (Events) จากการทานายก็จะได้ไม่ตรงกับความเป็นจริง หลักของการทานายดวงชะตานั้นมีอยู่จริง แต่ความแม่นยานั้นขึ้นอยู่กับโหรหรือนักโหราศาสตร์หรือนักพยากรณ์แล้วแต่จะเรียก ว่ าเข้าใจวิธีการ อ่านดวงชะตาได้มากน้อยแค่ไหน อ่านได้ละเอียดลึกซึ้งแค่ไหน ถ้าโหรผู้นั้นเห็นดวงชะตาแล้วทายได้ ไม่กี่คาก็ไม่เรียกว่าเป็นนักโหราศาสตร์ ในกรณีที่เป็นนักโหราศาสตร์จริง ๆ ที่สามารถอ่านดวงชะตาได้ เหมือนกับรู้จักบุคคลผู้นั้นมาแรมปีแล้ว ระดับความเชื่อถือ (Level of cofidence) ในการทานายจะมี ถึง ๙๕ % ซึ่งหมายความว่า ความผิ ดพลาดคลาดเคลื่ อน (Error) ในการท านายนั้ น มีเพี ยง ๕ % หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งตามวิชาสถิติว่า ความน่าจะเป็นไปได้ (Probability) ของคาพยากรณ์นั้นเป็น ๙๕ ในเมื่อความผิดพลาดคลาดเคลื่อนเป็น .๐๕ หรือกล่าวอย่างง่าย ๆ ว่าใน ๑๐๐% นักโหราศาสตร์จะ ๒๓๓ ๒๓๔

กันยาวีร์ สัทธาพงษ์, คิดใหม่โหราศาสตร์หลังนวยุค, หน้า ๕๐. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔๙.

๑๑๕ ทานายผิดเพียง ๕% เท่านั้นเอง ฉะนั้นเราจะพบว่า นักโหราศาสตร์ที่ชานาญจริง ๆ นั้นจะสามารถ กาหนดวันตายของเจ้าของดวงชะตาได้ด้วย ความคลาดเคลื่อนในการทานายอาจเกิดขึ้นด้วยเหตุ ดังต่อไปนี้ ๑) เวลาตกฟากไม่แน่นอน ๒) ผูกดวงผิด ๓) ได้ข้อมูลจากผู้มาให้พยากรณ์ผิด เช่นไม่บอกทุกสิ่งตามความเป็นจริง ๔) กรรมปัจจุบันมาตัดรอน แม้ ว่ า “โหราศาสตร์ ” แขนง “ดวงดาว” มิ อ าจถื อ ว่ าเป็ น “วิ ท ยาศาสตร์ ธ รรมชาติ (Natural Science) เพราะข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับดวงดาว” ตามทฤษฎีโหราศาสตร์นั้น ยังไม่สามารถ พิสูจน์ได้แน่นอนเหมือนวิทยาศาสตร์แขนงอื่น ๆ ในทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ แต่การพยากรณ์ตาม หลักโหราศาสตร์ประเภท “ดวงดาว” นั้น ได้อาศัยหลักวิชาสถิติ และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะได้อธิบาย ดังต่อไปนี้ ๑) การตั้งสมมุติฐาน (State Hypothesis) กล่าวคือ การโคจรของดวงดาวจะส่งผล กระทบต่อมนุษย์โลก และชีวิตมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ในประการใดบ้าง ๒) วางแผนรวบรวมข้อมูล (Plan method of Gatheing data) เช่น มีการศึกษาถึง ประเภทของดวงดาว คุณ ภาพของดวงดาวในจักรวาล ตลอดจนวิถีชีวิตมนุษ ย์ภ ายใต้อิทธิพลของ ดวงดาวเหล่านั้น เป็นอย่างไร ๓) การรวบรวมข้อมูล (Gathering data) เช่น การรวบรวม ข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางของ ดวงดาวต่าง ๆ ในจักรวาล และเอาผลจากข้อมูลที่ได้มานั้นนามารวบรวมไว้ทานายหรือคาดการณ์ ล่วงหน้า ๔) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of data) เช่น มีการสรุปผลการสังเกตพิจารณา (Summarise of observation) และ การตี ความ (Interpretation) ข้ อมู ล เกี่ ยวกั บ ปรากฏการณ์ ท าง ธรรมชาติของดวงดาวในจักรวาลว่า ถูกต้องมากน้อยเพียงไร ๕) การท ารายงาน (Report) มี ก ารท ารายงานหรือ บั น ทึ ก เกี่ ยวกั บ คุ ณ ภาพหรือ อิทธิพลของดวงดาวและลักษณะการโคจรของดวงดาวในจักรวาล ๖) การทวนสอบ (Verification) คื อ การทวนสอบผลของกระบวนการวางแผน รวบรวมข้อมูล การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการทารายงานว่าจะมี “ผล”๒๓๕ สรุ ป ได้ว่าโหราศาสตร์ยุคนี้มีความเจริญ และแพร่ห ลายอย่างสู งสุ ดทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ โหราศาสตร์ ได้ อาศั ย หลั ก วิ ช าสถิ ติ และกระบวนการทางวิท ยาศาสตร์ โดยการตั้ ง สมมุติฐ าน,รวบรวมข้อมู ล ,วิเคราะห์ ข้อมูล ,ทารายงานและการทบทวนวิเคราะห์ ข้อมูล ได้ใช้เป็ น เครื่องมือทางด้านจิตวิทยาเพื่อให้คาแนะนา เป็นที่ปรึกษาในการตัดสินใจทั้งทางด้านธุรกิจ งานอาชีพ

๒๓๕

พิไลรัตน์ รุจิวณิชย์กุล, “การศึกษาปัญหาสุขภาพจิตของผู้มารับบริก ารจากหมอดู: ศึกษาเฉพาะ กรณี ผู้มารับบริการจากหมอดูของสมาคมโหรแห่งประเทศไทย”, รายงานการวิจัย, (คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๓), หน้า ๓๑-๓๕.

๑๑๖ ความรัก สุขภาพ การลงทุนเพื่อหาแนวทางและเวลาที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นแนวทางการดาเนินของ ชีวิต ๒.๔.๓ประเภทของโหราศาสตร์ ๒.๔.๓.๑ แบ่งประเภทตามวิชาทานาย หลวงวิ จิ ต รวาทการ ๒๓๖ ได้ ก ล่ า วถึ ง โหราศาสตร์ อั น หมายถึ ง วิ ช าท านายการณ์ ล่วงหน้า บางอย่างใช้กาลังดวงจิต และบางย่างไม่ต้องใช้ จึงได้แบ่งโหราศาสตร์ออกเป็น ๑๐ ประการ คือ ๑) วิชาทานายโดยถืออานาจดวงดาวเป็นเกณฑ์ (astrology) หมายความว่าการ เอาวัน เดือน ปี และเวลาตกฟากมาคานวณแล้วทานายตามหลักเกณฑ์ของโหราศาสตร์ และหมายเอา ประเภทอื่น ๆ ด้วย เช่น เลข ๗ ตัว เป็นต้น ๒) วิชาทานายด้วยการดูลักษณะคน (Physiognomony) ที่เรียกว่า นรลักษณ์ ๓) วิชาทานายด้วยการดูเส้นลายมือ (Chiromancy) ที่เรียกว่าหัตถศาสตร์ ๔) วิ ช าท านายด้ ว ยลั ก ษณะของคนโดยการดู ล ายมื อ เขี ย นหนั ง สื อ ของเขา (Graphology) ๕) วิชาทานายไพ่ (Cartomancy) ๖) วิชาทานายฝัน (Oniromancy) ๗) วิช าทานายด้วยการจับ ต้องสิ่ ง ใดสิ่ งหนึ่ ง (Psychometry) อย่างที่ ห มอจีน ทานายโดยวิธีจับเส้นตรวจเลือดลม ๘) ทิพจักษุ (Chairvoyance) ๙) ลางต่าง ๆ (Presage) ๑๐) การเสี่ยงทาย (Oracle) ๒.๔.๓.๒ แบ่งประเภทตามตามลักษณะการใช้งาน วิชาโหราศาสตร์ที่ใช้ดวงดาวในการพยากรณ์ มีการแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ ๗ สาขา คือ ๑) การดูดวงชะตาบุคคล (Natal astrology) เป็นการใช้โหราศาสตร์ที่รู้จักกันมาก ที่สุ ด โดยคานวณตาแหน่ งของดวงดาวต่าง ๆ ตามวัน เวลาเกิดของบุ คคลได้เป็นดวงชะตา นามา วิเคราะห์ลักษณะและแนวโน้มชีวิตของบุคคล ๒) การดูดวงชะตาบ้านเมือง (Natal astrology) โดยใช้วันเวลาสาคัญของประเทศแทน วันกาเนิดเช่น วันกาเนิดของเมืองกรุงเทพมหานคร วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๓๒๕ เวลา ๕.๕๘ น. ตรงกับ วัน อาทิตย์ ขึ้น ๑๐ ค่าเดือน ๕ ปี ขาลจากนั้น จึงคานวณดวงชะตาของประเทศแล้วนามาทานาย เหมื อ นดวงบุ ค คลโดยเปลี่ ย นเป็ น บริ บ ทของประเทศ เช่ น การดู แ นวโน้ ม ของสงคราม ความ เจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงที่สาคัญ ๆ

๒๓๖

หลวงวิจิตรวาทการ, กาลังความคิด, (กรุงเทพมหานคร: สร้างสรรค์บุ๊ค, ๒๕๔๑), หน้า ๑–๕.

๑๑๗ ๓) โหราศาสตร์ ธรรมชาติ หรื ออุ ตุ นิ ยมโหราศาสตร์ (Natural or meteorological astrology) เป็นการดูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติด้วยตาแหน่งดวงดาวบนท้องฟ้า เช่น การเกิดภัย ธรรมชาติ แผ่นดินไหว พายุ ๔) โหราศาสตร์การเกษตร (Agricultural astrology) เป็นการใช้ตาแหน่งดวงดาว เพื่อช่วยในการเกษตร เช่น การกาหนดวันเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว ๕) โหราศาสตร์การแพทย์ (Medical astrology) เป็นการเชื่อมโยงดวงดาวและจักรราศี ต่าง ๆ เข้ากับ อวัยวะของร่างกาย แล้วใช้ ความสัมพันธ์ของปัจจัยเหล่านี้วินิจฉัยโรคภัยไข้เจ็บทาง ร่างกาย ตลอดจนนามาช่วยในการทาจิตบาบัด ๖) โหราศาสตร์ ก าลชะตา (Horary astrology) เป็ น การตอบปั ญ หาโดยใช้ ตาแหน่งดวงดาวในขณะที่มีผู้ถามปัญหา ณ เวลานั้น ๆ ที่ไม่ได้กาหนดล่วงหน้าเป็นเวลาปัจจุบันทัน ด่วน เช่น การถามว่า “แหวนเพชรหายจะได้คืนหรือไม่” ๗)การเลื อกวันเวลาที่ เหมาะสมหรื อการหาฤกษ์ (Electional astrology) เป็ นการ กาหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมในการดาเนินกรรมต่าง ๆ โดยใช้ตาแหน่งดวงดาว เช่น การหาวันเวลาที่ เป็นมงคลสาหรับการขึ้นบ้านใหม่ เพื่อการอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุข นอกจากนี้เทพเจ้าเหล่านั้นยังเป็นผู้กาหนดฤดูกาลที่มีผลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ จึงได้ มีการบูชาเทพเจ้าดวงดาวเพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ความสงบสุข หลีกเลี่ยงสงคราม ความเจ็บป่วย ความอดอยาก ความแห้งแล้ง และนักบวชโบราณยังคอยเฝ้าสังเกตตาแหน่ง และคานวณการเคลื่อนที่ ของเทพเจ้าดวงดาว (ดาราศาสตร์) เพื่อกิจกรรม การเมืองและศาสนาโหราศาสตร์จึงถูกนามาใช้ทั้งใน ด้านศาสนาและด้านวิทยาศาสตร์ในเวลาเดียวกัน๒๓๗ สรุปได้ว่าโหราศาสตร์ที่ใช้ดวงดาวในการพยากรณ์ มีการแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ ๗ สาขา คื อ การดู ดวงชะตาบุ คคล,ดู ดวงชะตาบ้ านเมื อง,อุ ตุ นิ ยมโหราศาสตร์ ,โหราศาสตร์ การเกษตร, โหราศาสตร์การแพทย์,โหราศาสตร์กาลชะตาและโหราศาสตร์การหาฤกษ์ ๒.๔.๔ ทฤษฎีโหราศาสตร์โดยทั่วไป ทฤษฎีโหราศาสตร์คือการอธิบายว่า เหตุใดดวงดาวหรือนิมิตสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการเสี่ยงทาย จึงสามารถเชื่อมโยงเข้ากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับชีวิตของมนุษย์ได้ มีนักวิชาการ สาขาต่าง ๆ อธิบายไว้ตามมุ มมองและแนวทางของศาสตร์ที่ตนใช้ เช่น นักฟิ สิ กส์ นักจิตวิทยา เป็นต้ น โดยสรุปได้ 2 ทฤษฎีหลักดังนี้ ๒.๔.๓.๑. ทฤษฎีแรงส่งจากดวงดาว ทฤษฎี นี้ เป็ น แนวการอธิบ ายที่ ใช้ กั น มากที่ สุ ด และใช้ กั น มายาวนาน โดยเชื่ อ ว่ า ดวงดาวมีแรงส่งทาให้มีผลเกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตบนโลก ในทางวิทยาศาสตร์กล่าวว่าดวงดาวทั้งหลายมี คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าส่งออกมาและจะเปลี่ยนแปลงไปตามเคลื่อนที่ของวัตถุบนฟากฟ้า ระบบประสาท ของมนุษย์จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงบนท้องฟ้ านั้น ถึงแม้ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเรื่องนี้กัน

๒๓๗

กันยาวีร์ สัทธาพงษ์, คิดใหม่โหราศาสตร์หลังนวยุค, หน้า ๒๔-๒๕.

๑๑๘ อย่างจริงจังจนมีข้อสรุปที่ชัดเจน แต่ก็มีผลการศึกษาที่น่าสนใจของกลิน (Glynn) ซึ่งเสนอแผนภาพ แสดงผลกระทบของดวงดาวต่อชีวิตมนุษย์๒๓๘ สาหรับการตอบสนองของเด็กแรกเกิดต่อตาแหน่งดวงดาวในแผนภาพ ดร. ยูเกน โจนัส (Dr.Eugen Jonas) จิตแพทย์ชาวสโลวาเกีย ค้นพบว่า ขณะทารกเกิดเป็นช่วงที่วงรอบเมแทบอลิซึม ของเขาถึงจุดสูงสุดและเด็กจะเป็นผู้ที่กาหนดการเกิดของตัวเอง โดยหลั่งฮอร์โมนแอดรินาลีนเข้าสู่ กระแสเลื อ ดของแม่ การทดลองของ ดร.โจนั ส พบว่ าจุ ด สู งสุ ด ของวงรอบนี้ จ ะเกิ ด ขึ้ น สม่ าเสมอ สอดคล้องกับมุมระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ในดวงกาเนิดของแต่ละบุคคล ปรากฏการณ์นี้ทาให้ เชื่อได้ว่าทารกมีบุคลิกภาพที่แฝงเร้นมาตั้งแต่เกิด๒๓๙ ศาสตราจารย์จอร์จส์ ลัคฮอฟสกี (Georges Lakhovsky) นักชีววิทยาและฟิสิกส์ชาวรัสเซียได้ศึกษาเรื่องนี้เช่นกัน ลัคฮอฟสกีได้แสดงไว้ว่ า รังสีที่ แผ่มาจากอวกาศมาสู่โลกเกิดจากดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ต่าง ๆ รังสีนี้มีผลต่อโครโมโซมของเซลล์ซึ่ง เป็ น ตั ว รั บ สั ญ ญาณไฟฟ้ า จั ก รวาล โดยน ามาแปลงเป็ น กระแสไฟฟ้ า อั น เป็ น แรงลึ ก ลั บ เรี ย กว่ า ชีวิต และในลักษณะเดียวกันลั คฮอฟสกีก็คิดว่า เซลล์ สมองทาหน้าที่เหมือนเสาอากาศในการรับ สัญญาณที่แผ่มาจากดวงดาวเหมือนเสาวิทยุ๒๔๐

๒๓๘

จักรเทพ ราพึงกิจ, “การศึกษาเชิงวิเคราะห์ทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีต่อโหราศาสตร์ใน ยุคปัจจุบัน”, วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๕๑), หน้า ๙๔. ๒๓๙ Stephen Arroyo, Astrology, Psychology and the Four Elements, (USA : CRCS Publications, 1975), p. 38. ๒๔๐ B.V. Raman, Planetary Influences on Human Affairs, (Bangalore : IBH Prakashana, 1980), pp. 56-57.

๑๑๙ รูปภาพที่ ๒.๑ แสดงผลกระทบของดวงดาวต่อชีวิตมนุษย์

ตามหลักวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน อธิบายว่าสรรพสิ่งในโลกนี้เป็นเพียงกลุ่มของอนุภาคหรือ คลื่นมากมาย ต่อเชื่อมเรียงกันไป เสมือนเป็นเนื้อเดียวกัน ตลอดทั่วทั้งจักรวาล ในสภาพของสิ่งที่เป็น อนุภาคหรือคลื่นที่เรียกว่าควอนตัมนี้จะมีปฏิสัมพันธ์กันได้เสมอ การเปลี่ยนแปลงสถานะของอนุภาค หนึ่ง จะมีผลกระทบต่อสถานะของอีกอนุภาคหนึ่งได้ ไม่ว่าจะอยู่ห่างไกลกันเพียงใดก็ตาม๒๔๑ สรุปได้ว่า ดวงดาวมีแรงส่งทาให้มีผลเกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตบนโลก ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ส่งออกมาและจะเปลี่ยนแปลงไปตามการเคลื่อนที่ของวัตถุบนฟากฟ้า ระบบประสาทของมนุษย์จะ ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงบนท้องฟ้านั้น และมี รังสีที่แผ่จากอวกาศมาสู่โลก เกิดจากดาวเคราะห์ และดาวฤกษ์ต่าง ๆ มีผลต่อโครโมโซมของเซลล์ซึ่งเป็ นตัวรับสัญญาณไฟฟ้าจักรวาล โดยนามาแปลง เป็นกระแสไฟฟ้าอันเป็นแรงลึกลับเรียกว่า ชีวิต

๒๔๑

โอฬาร เพียรธรรม, ตามหาความจริง วิทยาศาสตร์กับพุทธธรรม ศาสตร์ที่เป็นคนละเรื่องเดียวกัน, (กรุงเทพมหานคร: ธรรมดา, ๒๕๔๙), หน้า ๒๐๕-๒๐๖.

๑๒๐ ๒.๔.๔.๒. ทฤษฎีองค์รวม แนวคิดแบบองค์รวม (holistic) อธิบายว่า ทุกสิ่งในจักรวาลรวมกันเป็นระบบเดียว ภายในระบบใหญ่ มีระบบย่อยที่มีโครงสร้าง รูปแบบ และความเป็นไปสอดคล้องกับระบบใหญ่ ดังจะ เห็นได้จากโครงสร้างของจักรวาลกับโครงสร้างของอะตอมมีลักษณะที่คล้ายกัน อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ ของธรรมชาติแบบเดียวกัน ทุกส่วนของจักรวาลมีความสัมพันธ์สอดคล้องกันหมด นักจิตวิทยาคน สาคัญของโลกคือคาร์ล กุสตาฟ จุง (Carl Gustav Jung) เรียกความสอดคล้องต้องกันนี้ ว่า ซิงโครนิซิ ติ้ (Synchronicity) โดยจุงได้นาอิทธิพลความคิดมาจากคัมภีร์อี้จิงของจีนโบราณ เขาพบว่า เหตุการณ์ บังเอิญหลายครั้งเกิดขึ้นอย่างมีความหมายสอดคล้องกันโดยไม่ได้เป็นเหตุผลของกันและกันบางครั้ง อี้จิงสามารถบอกถึงรูปแบบของความหมายที่เชื่อมโยงเหตุการณ์ปั จจุบันไปสู่เหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น ในอนาคต ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์ไม่ได้เป็นเหตุเป็นผลกัน ปรากฏการณ์ นี้ อ าจจะเรี ย กว่ า การเกิ ด พร้ อ มกั น อย่ า งนี้ ความหมาย (acausal coningful principle) ห รื อ ห ลั ก ก ารเชื่ อ ม โย งที่ ไม่ สั ม พั น ธ์ เ ชิ งเห ตุ (acausal connecting principle)๒๔๒ อย่างเช่นจู่ ๆ คุณก็นึกถึงเพื่อนเก่าแก่ที่ไม่ได้พบกันมาสิบกว่าปี แล้วเพียงไม่กี่วินาที เพื่อนคนนั้นก็โทรศัพท์มาหาคุณ หรือมีอีกตัวอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับจุงเองระหว่างการบาบัด คนไข้ของ เขาได้ฝันถึงเครื่องประดับที่เป็นแมลงปีกแข็งทองคาและกาลังสนทนากับจุงในเรื่อ งนี้ ทันใดนั้นมีเสียง เกิดขึ้นที่กระจกหน้าต่าง ปรากฏเป็นแมลงปีกแข็งตัวหนึ่งกาลังพยายามจะเข้ามาในห้อง จุงอธิบาย เหตุก ารณ์ นี้ ว่าภาพของแม่ แบบ (archetype) ในความฝั น อาจจะเกิด ขึ้น สอดคล้ อ งกั บ เหตุ การณ์ ภายนอกแม่แบบไม่ได้อยู่ในโลกของจิตเท่านั้นแต่อาจรุกล้าข้ามเขตมาปรากฏในโลกภายนอกได้ จึงใช้ คาว่าชิงโครนิซิตี้ เมื่อภาพในจิตกับเหตุการณ์ภายนอกเกิดขึ้นพร้อมกัน และเหตุการณ์นี้จะเกิดบ่อย เมื่อจิตสานึกมีกาลังอ่อน และจิตใต้สานึกมีกาลังกว่า๒๔๓ สรุปได้ว่าทุกสิ่งในจักรวาลรวมกันเป็นระบบเดียว ภายในระบบใหญ่ มีระบบโครงสร้าง ย่ อ ย ๆ รู ป แบบ และความเป็ น ไปสอดคล้ อ งกั บ ระบบใหญ่ โครงสร้ า งจั ก รวาลมี ลั ก ษณะคล้ า ย โครงสร้างอะตอม เรียกความสอดคล้องกันนี้ว่า ซิงโครนิซิตี้ (synchronicity) เหตุการณ์บังเอิญหลาย ครั้งเกิดอย่างมีความหมายสอดคล้องกันโดยไม่ได้เป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน ๒.๔.๕ หลักการพยากรณ์ทางโหราศาสตร์เพื่อการปรึกษาทางโหราศาสตร์ หลักการพยากรณ์ของโหราศาสตร์ เพื่อทาให้เกิดความเข้าใจถึงหลักการและวิธีการการ พยากรณ์ด้วยดวงดาว เนื่องจากหลักวิชาโหราศาสตร์นี้มีรายละเอียดมาก ผู้วิจัยจึงขออธิบายหลักการ พื้นฐานโดยสรุปพอให้เห็นภาพ ความรู้ทางโหราศาสตร์เกิดจากการสั งเกตเทหวัตถุบนท้องฟ้าของคน โบราณและบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลก เก็บสถิติจนเกิดเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ (empirical knowledge) ดาวเคราะห์ (planets) ในโหราศาสตร์ห มายถึง เทหวัตถุที่เคลื่ อนที่ไปบนท้องฟ้าเป็น ประจา โดยมีดาวที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ที่มีการใช้มาตั้งแต่โบราณได้แก่ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัส และดาวเสาร์ เมื่อวิทยาศาสตร์เจริญขึ้นมีการค้นพบดาวเคราะห์อื่น ๒๔๒ ๒๔๓

See Cart Gustav Jung, An Casement, (UK : SAGE Publications, 2001), pp. 149-150. Ibid., p. 150.

๑๒๑ อีก นักพยากรณ์ก็นามาใช้ทานายด้วย ได้แก่ ดาวมฤตยู ดาวเนปจูน และดาวพลูโต (ถึงแม้ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์จะไม่นับว่าเป็นดาวพระเคราะห์ก็ตาม แต่นักพยากรณ์ก็ยังใช้อยู่) ดาวเคราะห์เหล่านี้ เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ แ ทนคุ ณ ลั ก ษณะต่ า ง ๆ ตามความหมายของดาวที่ ม นุ ษ ย์ สั ง เกตและบั น ทึ ก ไว้ ความหมายของบดาวเคราะห์ที่สาคัญมีดังนี้ ดวงอาทิตย์ หมายถึง พลังชีวิต อัตตะลักษณ์ พลังการสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดสิ่งที่มีชีวิต ในระบบสุริยะจักรวาล ดวงจันทร์ หมายถึง อารมณ์ ความรู้สึก จิตใต้สานึก การตอบสนอง ทาให้เกิดการ รังสรรค์และการสืบพันธ์ (reproduction) ดาวพุธ หมายถึง การสื่อสารจิตสานึก การใช้เหตุผล ทาให้เกิดการรู้จักคิด (intelligence) ดาวศุกร์ หมายถึง ความรั ก คุณค่ า ความต้องการทางอารมณ์ ท าให้ เกิดมี ความรู้สึ ก (feelling) ดาวอั งคารหมายถึ ง แรงขั บ ก าลั งกาย ความต้ อ งการ การริ เริ่ ม ท าให้ เกิ ด การ เคลื่อนไหวได้ (movement) ดาวพฤหัส หมายถึง การขยายตัว คุณธรรม ศรัทธา ทาให้เกิดการเติบโต (growth) ดาวเสาร์ หมายถึง การหดตัว ความจากัด ความพยายาม วินัย ทาให้ เกิด รูป ร่าง (form) ดาวมฤตยู หมายถึง ปัจเจกภาพ เสรีภาพ การริเริ่มสร้างสรรค์ ทาให้เกิดโอกาสที่จะ น าญาณปั ญ ญา (wisdom) จากความจั ด เจนเก่ า ๆ มาใช้ ใ ห้ เป็ น ประโยชน์ ไ ด้ (to utilize the wisdom of previous experiences) นอกจากใช้ความหมายของดาวเคราะห์เหล่านี้ในการพยากรณ์แล้ว นักโหราศาสตร์ยังใช้จุดที่เกิดจากการคานวณมาทานายร่วมด้วยจุดที่สาคัญคือ จุดตัดระหว่างวงโคจร ของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ซึ่งมี 2 จุดเรียกว่า ราหูกับเกตุ๒๔๔ ๒.๔.๕.๑.หลักโหราศาสตร์ไทยจักรราศี (Zodiac) มาจากภาษากรี ก ζῳδιακός หมายถึ ง "สั ต ว์" เป็ น แถบสมมติ บ นท้ อ งฟ้ าที่ มี ขอบเขตประมาณ ๘ องศา ค่อนไปทางเหนือและใต้ของแนวเส้นทางที่ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนผ่าน (สุริยะวิถ)ี ซึ่งครอบคลุมแนวเส้นทางปรากฏของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ จักรวาลอีก ๗ ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาว เนปจูน ส่วนดาวพลูโตนั้น ความเอียงของวงโคจรมีค่ามาก ดาวพลูโตจึงมีเส้นทางปรากฏห่างจากสุริยะ วิถ๒๔๕ ี จักรราศีคือ ทางเดินของดาวเคราะห์ทั้งหลาย เนื่องจากโหราศาสตร์ดวงดาวเป็นความรู้ที่ เกิดจากประสบการณ์ที่ใช้โลกทรรศน์แบบโบราณ คือ โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ตาแหน่งดาว เคราะห์ทั้งหลายที่เคลื่ อนที่ไปจึ งเป็นตาแหน่งที่เทียบกั บโลก เส้นทางที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไปบน ท้องฟ้าเรียกว่า สุริยะวิถี หรือวิมรรค (ecliptic) ดาวเคราะห์ ๆ ก็เคลื่อนอยู่ในแถบบริเวณสุริยะวิถีนี้ ๒๔๔

กันยาวีร์ สัทธาพงษ์, คิดใหม่โหราศาสตร์หลังนวยุค, หน้า.๕๙-๖๐. วิ กิ พี เดี ย สารานุ ก รม เส รี , จั ก รราศี , [ออนไล น์ ], แห ล่ งที่ ม า: th.wikipedia.org/wiki [๑๕ มีนาคม ๒๕๖๑]. ๒๔๕

๑๒๒ แถบสุ ริ ย ะวิ ถีมี ฉ ากหลั งเป็ น กลุ่ ม ดาวฤกษ์ โบราณแบ่ งแถบนี้ ออกเป็ น ๑๒ ส่ ว นเรีย กว่าจัก รราศี (zodiac) โดยการอาศัยกลุ่มดาวฤกษ์นี้เป็นเครื่องบอกตาแหน่ง นักโหราศาสตร์จะสามารถกาหนดได้ ว่า ดาวเคราะห์แต่ละดวงโคจรอยู่ที่ตาแหน่งใด หรืออยู่ในราศี (Sign) ใด จากการศึกษาสังเกตและ บันทึกมาแต่โบราณแต่ละราศีจะปรุงแต่งความหมายของดาวเคราะห์ต่าง ๆ ให้เป็นไปตามลักษณะของ ราศีที่ดาวเคราะห์นั้นโคจรอยู่ ๑).ความหมายของราศี สรุปได้ดังนี้๒๔๖ ราศีเมษ หมายถึง กล้า รักการผจญภัย รักการเสี่ยง ราศีพฤษภ หมายถึง ชอบสะสมบริโภค ชอบความมั่นคง ปฏิบัตินิยม ราศีเมษ หมายถึง กล้า รักการผจญภัย รักการเสี่ยง ราศีพฤษภ หมายถึง ชอบสะสมบริโภค ชอบความมั่นคง ปฏิบัตินิยม ราศีมิถุน หมายถึง มีเหตุผล คล่องแคล่วว่องไว ราศีกรกฎ หมายถึง มีความรู้สึกไว้ รักบ้านและครอบครัว ราศีสิงห์ หมายถึง รักการเป็นผู้นา รักอิสระ ราศีกันย์ หมายถึง มีความละเอียดรอบคอบ สนใจรายละเอียด ชอบบริการ ราศีตุลย์ หมายถึง ชอบความงาม ศิลปะ เข้ากับคนได้ง่าย ราศีพิจิก หมายถึง มีอารมณ์สุดโต่ง รักจริงเกลียดแรง ชอบความลึกลับ ราศีธนู หมายถึง ใจดี ใจกว้าง รักการเดินทาง สนใจด้านปรัชญา ราศีมังกร หมายถึง ระมัดระวัง ประหยัด ทะเยอทะยาน ราศีกุมภ์ หมายถึง รักเพื่อนมนุษย์ เป็นตัวของตัวเอง ราศีมีน หมายถึง อารมณ์อ่อนไหว มีจินตนาการ ชอบปลีกตัว๒๔๗ ภาพที่ ๒.๒ แสดงวงโคจรของดวงอาทิตย์บนระนาบเส้นสุริยะวิถี ผ่านกลุ่มดาวจักรราศี

ที่มา www.horasaadrevision.com/images/...3298.gif (๑๕ มกราคม ๒๕๕๓) ๒๔๖ ๒๔๗

กันยาวีร์ สัทธาพงษ์, คิดใหม่โหราศาสตร์หลังนวยุค, หน้า ๖๒. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๖๓.

๑๒๓ นอกจากนี้ยังมีการแบ่งราศีออกเป็นเพศชาย กับเพศหญิง แบ่งตามธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้า ไฟ ลม และแบ่งตามคุณภาพคือ จักรราศี (Cardinal) สถิรราศี (fixed) และทวิภาวะราศีหรืออุภัยราศี (mutable)๒๔๘ ลักษณะหรือกาลังของราศีได้จัดไว้ ๓ หมวด คือ (๑) ราศีที่มีกาลังแรงหรือเคลื่อนไหวเร็ว เรียกว่า จรราศี เป็นราศีที่ให้คุณ ให้โทษได้อย่าง รวดเร็วและหนักหน่วง ได้แก่ราศี เมษ กรกฏ ตุลย์ และมังกร (๒) ราศีที่มีลักษณะและกาลังเชื่องช้าหรือตั้งมั่นอยู่กับที่ เรียกว่า สถิรราศี เป็นราศีที่ให้ผล ค่อนข้างคงที่ ให้คุณให้โทษช้าแต่ยาวนาน สุขนาน ทุกข์นาน ได้แก่ราศี พฤษก สิงห์ พิจิก และกุมภ์ (๓) ราศีที่มีลักษณะและกาลังไม่แน่นอน เร็วก็ได้ ช้าก็ได้ เรียกว่า ทวิภาวะราศีหรืออุภัย ราศี ทวิแปลว่า สองภาวะคือ ความมีความเป็น เท่ากับราศีนี้มีสองภาวะ ให้คุณให้โทษไม่คงที่แน่นอน เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย มีความเปลี่ยนแปลงสูง ได้แก่ราศี เมถุน กันย์ ธนู และมีน๒๔๙ ราศีเพศชาย ได้แก่ ราศีเมษ ราศีมิถุน ราศีสิงห์ ราศีตุล ราศีธนู ราศีกุมภ์ มีลักษณะชอบ แสดงออก (extrovert) ราศีเพศหญิง ได้แก่ ราศีพฤษภ ราศีกรกฎ ราศีกันย์ ราศีพิจิก ราศีมกร ราศี มีน มีลักษณะไม่แสดงออก (introver) ๒) ธาตุประจาราศีและความหมายของธาตุ ซึ่งแบบไทยเราก็มี ๔ ธาตุอย่างที่รู้จักกันอยู่แล้ว คือ ดิน น้า ไฟ ลม (๑) ธาตุไฟ ประจาอยู่ในราศีเมษ – สิงห์ – ธนู ธาตุไฟ หมายถึง ความร้อน นั่นเอง ความร้อนย่อมให้พลัง ความแข็งแกร่ง ความกระตือรือร้น ด้านเสีย คือ ความวู่วาม ความเร่ง รีบ การเผาไหม้ การทาลาย (๒) ธาตุดิน ประจาอยู่ในราศีมังกร – พฤษภ – กันย์ ธาตุดิน หมายถึงความ หนักแน่น ความอดทน ความแน่ นหนา ความเป็นปึกแผ่น ด้านเสี ย ก็คือ ความเชื่องช้า ไม่ทันการ ความเศร้าหมอง (๓) ธาตุลม ประจาอยู่ในราศีตุลย์ – กุมภ์ – มิถุน ธาตุลม หมายถึงความ รวดเร็ว ความคล่องตัว ความอ่อนไหว การไม่อยู่นิ่ง ด้านเสียก็คือ ความไม่แน่นอน ความรุนแรง (พายุ) ความไม่ทน (๔) ธาตุน้า ประจาอยู่ในราศีกรกฎ – พิจิก – มีน ธาตุน้า หมายถึงความ เยือกเย็น ความอ่อนโยน ความรอมชอม การปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ด้วยเสียก็เช่นความ ขลาด ความไม่เด็ดขาด ความปรวนแปรง่าย๒๕๐ ๓) เรือนชะตา (houses) เกิดจากโลกหมุนรอบตัวเอง ทาให้ท้องฟ้าหมุนครบรอบในหนึ่งวัน จุดขอบฟ้าบน จักรราศีทางทิศตั วออกขณะที่บุ คคลเกิด เรียกว่า ลั คนา (ascendant) คาว่า “ลั คนา” นี้ห มายถึง “จุดชีวิต” ที่เจ้าชาตาแต่ละคนนั้นมีขึ้นเพื่อใช้เป็น“สถานีรับ-ส่ง” กระแสกรรมที่ส่งมาจากดวงดาวอีก หนึ่ง ดังนั้นลัคนาจึงเป็นจุดสาคัญมากในดวงชาตาทุกดวง ลัคนาหรือจุดชีวิตนี้มีวิธีหาโดยใช้องศาของ ๒๔๘

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๖๔. สิงห์โต สุริยาอารักษ์, โหราศาสตร์ไทย เรียนด้วยตัวเองเล่มเดียวจบ, หน้า ๒๔. ๒๕๐ กันยาวีร์ สัทธาพงษ์, คิดใหม่โหราศาสตร์หลังนวยุค, หน้า ๖๔-๖๕. ๒๔๙

๑๒๔ ดาวอาทิตย์เป็นเจ้าการและใช้เวลาเกิดของเจ้าชาตา แต่ละคนนั้นเป็นจุดตั้งว่า จะสถิตอยู่ในราศีใด จากจุดลัคนานี้แบ่งท้องฟ้าออกเป็น ๑๒ ส่วนซึ่งมีการคานวณหลายวิธี เรียกว่า ๑๒ เรือนชะตา ลัคนา เป็นจุดเริ่มของเรือนที่ ๑ เมื่อดาวเคราะห์โคจรอยู่ในเรือนชะตาใด ความหมายของดาวจะเกี่ยวข้องกับ เรื่องของเรือนชะตานั้น๒๕๑ ภาพที่ ๒.๓ แสดงลัคนา ดาวเคราะห์ในเรือนชะตา

ที่มา www.sereechai.com ตรีทศเคราะห์เทวา (๒๔ มกราคม ๒๕๕๔) ซึง่ แต่ละเรือนชะตามีความหมายโดยสรุปดังนี้ เรือนชะตาที่ ๑ หมายถึง บุคลิกภาพ ร่างกาย สุขภาพโดยรวม เรือนชะตาที่ ๒ หมายถึง รายได้ ทรัพย์สมบัติ เรือนชะตาที่ ๓ หมายถึง ญาติพี่น้อง ความสัมพันธ์ การติดต่อสื่อสาร เรือนชะตาที่ ๔ หมายถึง บ้าน ครอบครัว ชีวิตส่วนตัว เรือนชะตาที่ ๕ หมายถึง บุตรหลาน ความสนุกสนาน ความรัก เรือนชะตาที่ ๖ หมายถึง การบริการ สุขภาพ หนี้สิน อุปสรรค เรือนชะตาที่ ๗ หมายถึง คู่ครอง คู่สัญญา หุ้นส่วน เรือนชะตาที่ ๘ หมายถึง ความตาย การสูญเสีย เรือนชะตาที่ ๙ หมายถึง การเดินทางไกล การสารวจ ความคิดเชิงปรัชญา เรือนชะตาที่ ๑๐ หมายถึง สถานะทางสังคม อาชีพ เป้าหมายชีวิต เรือนชะตาที่ ๑๑ หมายถึง ความหวัง ลาภผล ผลประโยชน์ เรือนชะตาที่ ๑๒ หมายถึง การจากัดขอบเขต ศัตรูลับ ความเจ็บไข้ได้ป่วย๒๕๒

๒๕๑

กันยาวีร์ สัทธาพงษ์, คิดใหม่โหราศาสตร์หลังนวยุค, หน้า ๗๒. จักรเทพ ราพึงกิจ, “การศึกษาเชิงวิเคราะห์ทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีต่อโหราศาสตร์ใน ยุคปัจจุบัน”, วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๕๑), หน้า ๒๗. ๒๕๒

๑๒๕ ๔) มุมสัมพันธ์ (aspects) ภาพที่ ๒.๔ แสดงกุม – เล็ง – โยค – ตรีโกณ

ที่มา www.horawej.com (๑๖ มีนาคม ๒๕๕๔) มุมสัมพัน ธ์ คือความสัมพันธ์เชิงมุมที่ดาวเคราะห์ กระทาต่อกัน มีมุมสาคัญ ที่ใช้กันมา ตั้งแต่โบราณ คือ ๐ องศา ๕๐ องศา ๙๐ องศา ๑๒๐ องศา ๑๘๐ องศา มีความหมายคือ มุม ๐ องศา (กุม) หมายถึง การรวมพลังของดาวเคราะห์ที่มากุมกัน มุม ๕๐ องศา (โยค) หมายถึง การเปิดโอกาสสู่มุมมองใหม่ มุม ๙๐ องศา (เกณฑ์) หมายถึง ความขัดแย้งท้าทายที่สาคัญ มุม ๑๒๐ องศา (ตรีโกณ) หมายถึง การเสริมพลังซึ่งกันและกัน มุม ๑๘๐ องศา (เล็ง) หมายถึง การเผชิญหน้า ความตึงเครียดที่ต้องปรับสมดุล๒๕๓ โหราศาสตร์ เป็ น วิ ช าแห่ งการตี ค วามสั ญ ลั ก ษณ์ โดยอาศั ย หลั ก การว่า สั ญ ลั ก ษณ์ ที่ เกี่ยวข้องกับสิ่งใดย่อมบอกเรื่องราวบางอย่างเกี่ยวกับสิ่งนั้นดวงดาวขณะบุคคลเกิดก็ถือเป็น สัญลักษณ์ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้นอย่างหนึ่งจากการสังเกตและบันทึกมาตั้งแต่สมัยโบราณ จนเกิดเป็นศาสตร์ขึ้น ดังที่ได้กล่าวถึงองค์ประกอบพื้นฐานของโหราศาสตร์ดวงดาว เรือนชะตา มุมสัมพันธ์มาแล้วข้างต้น ในการตีความสัญลักษณ์เพื่อออกคาทานายมีแนวทางอยู่ ๒ ลักษณะคือ คาทานายที่เน้นเหตุการณ์ (event-oriented) และค าท านายที่ เน้ น บุ ค คลเป็ น ศู น ย์ ก ลาง (person-centered) ค าท านายทั้ ง ๒ แบบมีลักษณะ ดังนี้ (๑) ค าท านายที่ เน้ น เหตุ ก ารณ์ เป็ น แบบการท านายที่ ใช้ม าตั้ งแต่ โบราณบนพื้ น ฐาน ความเชื่อที่ว่ามนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้รับแรงกระทาจากภายนอกดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาว เคราะห์ทั้งหลายส่งแรงมากระทาต่อมนุษย์และทาให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ คาทานายแนวนี้จะแบ่ง คุณภาพของแรงที่ส่งมากระทาเป็น ๒ ขั้ว คือไม่ดีก็เลว มองสถานการณ์อะไรขึ้นมากกว่าจะมองบุคคล แบบ บูรณาการและไม่ทาให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของบุ คคลให้เป็นจริง ตัวอย่างคาทานายแนวนี้ ๒๕๓

กันยาวีร์ สัทธาพงษ์, คิดใหม่โหราศาสตร์หลังนวยุค, หน้า ๗๓.

๑๒๖ คือ เมื่อดาวอังคารเคลื่อนผ่านดาวเสาร์ของเจ้าชะตาหมายถึงอาจจะ เกิดอุบัติเหตุหรือความทุกข์ ยากขึ้น ความสาเร็จของโหรผู้ทานายอยู่ที่การทายเหตุการณ์ได้ถูกต้อง เป็นผู้ที่สามารถบอกอนาคตได้ (๒) คาทานายที่เน้นบุคคลเป็นศูนย์กลาง เป็นแนวการทานายสมัยใหม่ที่ให้ความสาคัญ กับ ปั จ จั ย ทางจิ ต วิท ยา เน้ น ไปที่ บุ ค คลเป็ น ศู น ย์ ก ลางค าท านายไม่ ได้ มี ลั กษณะเป็ น การตัด สิ น ว่ า ดีหรือไม่ดี ดวงชะตาบุคคลเปรียบเหมือนเมล็ดพันธุ์ที่สามารถเจริญเติบโตตามศักยภาพก็ได้ (บุคคลมี เสรีภาพในการเลือกกระทา) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ดวงชะตาบอกถึงสิ่งที่ควรจะเป็นและประสบการณ์ ที่จาเป็นอันจะพัฒนาศักยภาพของบุคคลให้แสดงออกมาเป็นความจริงไม่มีดวงชะตาที่ดีหรือเลวไม่มี ดาวที่ดี ราศีที่เลว ทุกปัจจัยในดวงชะตามีความสัมพันธ์กัน๒๕๔ สรุ ปได้ ว่า ความรู้ ทางโหราศาสตร์เกิดจาก การสั งเกตเทหวัตถุ บนท้ องฟ้ าของคนโบราณ และบั นทึกเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น บนโลก เก็บเป็นสถิติจนเกิดเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ (empirical knowledge) สิ่งที่โหราศาสตร์ศึกษาคือ ดาวเคราะห์ ความหมายของดาว การโคจรของ ดวงดาว จักรราศี ธาตุประจาราศี ความหมายของธาตุ อิทธิพลของสัญลักษณ์และความหมาย เรือน ชะตา มุมสัมพันธ์ การแปลความหมาย มีสองแนวทางคือ เน้นเหตุการณ์ กับเน้นบุคคลเป็นศูนย์กลาง ๒.๔.๕.๒.หลักเลขศาสตร์ วิ ช าโหราศาสตร์ มี ห ลากหลายแขนงมาก อาทิ เช่ น ดู ด วงด้ ว ยวั น เดื อ น ปี เกิ ด ดูลายมือ ดูไพ่ยิปซี เป็นต้น ซึ่งวิชาโหราศาสตร์แต่ละแขนงนี้ล้วนเกี่ยวพันกับตัวเลข ชีวิตของคนเราถูก ครอบงาด้วยอานุภาพของตัวเลขอานุภาพของตัวเลขยิ่งใหญ่มาก อิทธิพลของตัวเลขสามารถครอบงา ทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ อานุภาพของตัวเลขเรียกว่า “พลังจักรวาล” ซึ่งเกิดขึ้นจากกลุ่มดวงดาว ๑๐ ดวง ที่อยู่ในระบบสุ ริยะจักรวาลดึง ดูดสังเคราะห์ ซึ่งกันและกัน อานุภ าพแห่ งการดึงดูดสังเคราะห์แปร สภาพเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่สามประการ คือพลังงานแม่เหล็ก พลังงานไฟฟ้าปละพลังงานวิทยุ เราสังเกต ได้ว่าอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจาวันจะสื่อด้วยอานุภาพของตัวเลขทั้งสิ้น ไม่ว่า จะเป็นการใช้โทรศัพท์ บัตรเครดิตต่าง ๆ เป็นต้น๒๕๕ ๑)ความสัมพันธ์ของตัวเลข เลขทั้งหมดมีอยู่ด้วยกัน ๙ ตัว ถ้าถือปัจจุบันก็มีเลข ๐ อีกเลขหนึ่ง โบราณถือว่า มีดวงดาว ๙ ดวง จึงแทนเลข ๙ ตัวเท่านั้น การลาดับเลขมีดังนี้ เลข ๑ คือ ดาวอาทิตย์ เลข ๒ คือ ดาวจันทร์ เลข ๓ คือ ดาวอังคาร เลข ๔ คือ ดาวพุธ เลข ๕ คือ ดาวพฤหัสบดี เลข ๖ คือ ดาวศุกร์ ๒๕๔

จักรเทพ ราพึงกิจ, “การศึกษาเชิงวิเคราะห์ทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีต่อโหราศาสตร์ใน ยุคปัจจุบัน”, วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย), ๒๕๕๑, หน้า ๒๘. ๒๕๕ ธีวัฒน์ เชาว์ชัยพัฒน์ , ชีวิตกับตัวเลข, (กรุงเทพมหานคร: บริษัทสานักพิมพ์ดวงกมล (๒๕๒๐) จากัด, ๒๕๔๖), หน้า ๑๕.

๑๒๗ เลข ๗ คือ ดาวเสาร์ เลข ๘ คือ ดาวราหู หรือ เนปจูน เลข ๙ คือ ดาวเกตุ หรือ พลูโต เลข ๐ คือ ดาวมฤตยู (ยูเรนัส) ตัวเลขทั้ง ๙ เมื่อเรียงเป็นสองแถวดังรูป บวกกันจะเป็นกาลังดาวบาปเคราะห์๒๕๖ ๒)ความหมายของตัวเลข เลข ๑ เป็นเลขสาคัญมีความหมายแทนดาวอาทิตย์ หมายถึง หัวหน้า ความเป็น ใหญ่การถือตัว ความหยิ่ง การเอาเด่น ไม่ยอมเป็นรองใคร บ่งถึงความใฝ่ฝันทะเยอทะยานที่จะเป็น ใหญ่ การสร้ างสรรค์ เป็ น ผู้ ที่มีความคิดเห็ น เรื่องตัว เองเป็นใหญ่ เหนือสิ่ งอื่น มักมีข้อคิดเฉียบขาด ไม่โลเล ใจคอมั่นคง บุคคลที่อยู่ข่ายอิทธิพลเลข ๑ ด้วยกันคือ เลข ๑๐, ๑๙, ๒๙ ซึ่งผลลัพธ์ของการ บวกเลขสองจานวนได้ผลเป็น ๑ นั่นเอง๒๕๗ เลข ๒ คือดาวจันทร์ ซึ่งเป็นดาวจรัสแสงเด่นบนฟ้าเวลากลางคืน ซึ่งตรงข้ามกับ เลข ๑ เป็ น ดาวเด่ น ฟ้ าเวลากลางวัน ดั งนี้ ส่ ว นบุ ค คลเลข ๒ กลั บ ตรงกั น ข้ าม ควรเจรจาในที่ ร่ ม หลบเข้าไปในอาคาร ยิ่งเป็นเวลามืดค่ายิ่งดีบุคคลเลข ๒ มักอ่อนไหวง่าย มักคิดฝันมีจินตนาการสูง ชอบกวีพ นธ์ ชอบของละเอีย ดอ่อน มีส่ ว นโน้ม เอียงไปทางสตรีเพศ มีค วามยวนใจต่อ อารมณ์ อั น ละเมียดละไม มักตามใจผู้อื่น คล้อยตามเสียงส่วนใหญ่บุคคลเลข ๒ แม้ดูภายนอกจะเป็นคนอ่อนไหว ง่าย แต่เมื่อยามเข้าที่คับ ขันจะควบคุมสติอารมณ์อย่างดีเลิศ จะเป็นนักแสดงนักพูดที่ควบคุมสติดี มาก๒๕๘ เลข ๓ เป็นเลขร้าย ทางโหราศาสตร์ถือว่าเป็นเลขของดาวอังคาร ซึ่งเป็น ตัวฆาตกร อันจู่โจมทะลุทะลวง อังคารเป็นดาวที่สร้างความปั่นป่วน ความวิวาท การสงคราม ทางโหราศาสตร์ ฝ่ ายยุ โรปถือ ว่าเป็ น ดาวสงคราม บ่ งถึ งการขัด แย้ งอย่ างรุนแรง การใช้ กาลั งประหั ต ประหารกั น ดาวอังคารบ่งถึงโทสะจิต ความไหวจัดงอนจัด และการด่าทอ การอุตสาหกรรม เครื่องอาวุธทุกชนิด เลข ๓ จึงเป็นดาวอังคารแท้ ๆ บุคคลเลข ๓ ส่วนใหญ่มักจะกล้าแข็ง มักมีอุปัทวเหตุหรือการผ่าตัด บุคคลเลข ๓ มีความมุทะลุบุ่มบ่าม ทาตามอารมณ์ของตนเอง ในวิชาเลข ๗ ตัว เลข ๓ คือดาวอังคาร ผู้เกิดวันอังคารมักกล้าแข็ง ซึ่งเป็นลักข้อมูลฐาน รู้จักกันดีทั่วไป ซึ่งมีความแม่นยามาก๒๕๙ เลข ๔ เป็นเลขของดาวพุธ ถือกันว่าเป็นตัวแทนแห่งมันสมอง แสดงถึงปฏิภาณความ เฉลียวฉลสด การฉลาดในการเจรจา การติดต่อ การคบหาสมาคม ถือกันว่าเป็นเลขที่เข้าไหนเข้าได้ บุคคลดาวพุธมักจะกลมกลืนกับสิ่งใดได้ง่ายที่สุด เข้าทานองนกแขกเต้าอยู่กับโจรก็เป็นโจร อยู่กับฤษีก็ เป็นนักปราชญ์ เลข ๔ จึงเป็นดาวที่บ่งบอกความไม่แน่นอน จนนักโหราศาสตร์ไทยพูดว่าพุธรวนเร และถือว่าดาวพุธมีสองภาค๒๖๐ ๒๕๖

พลูหลวง, พื้นฐานของโหราศาสตร์ (ความมหัศจรรย์ข องตัวเลข), (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ เฟื่องอักษร, ๒๕๑๖), หน้า ๑. ๒๕๗ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๗. ๒๕๘ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๒-๒๓. ๒๕๙ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๗-๒๘. ๒๖๐ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๔.

๑๒๘ เลข ๕ คือเลขตัวแทนของดาวพฤหัสบดี อันเป็นประธานของดาวศุภเคราะห์ ซึ่งเป็น ดาวอั น อ านวยผลส าเร็จ ให้ แกทุก คนที่ อยู่ภ ายใต้อิท ธิพ ลของดาวพฤหั ส บดี เลข ๕ คือ ความอุด ม สมบู ร ณ์ การศึ ก ษา การใฝ่ ใจในความรู้ สติ ปั ญ ญาอั น แตกฉาน ความยุ ติ ธ รรม หมายถึ งผู้ ใหญ่ ผู้ ป กครอง ครู บ าอาจารย์ ผู้ พิ พ ากษา บิ ด ามารดา ความสุ ขุ ม เยื อ กเย็ น เลข ๕ เป็ น เลขที่ ท าง โหราศาสตร์ไทยถือว่ามีกาลังดาวเป็นเลข ๑๕ คือ ๑ บวก ๙ เป็น ๑๐ ก็คือ ๕ สองเท่า เลขอันตรงกับ เลข ๕ คือเลข ๑๔, ๒๓, ๓๒๒๖๑ เลข ๖ เป็นเลขของดาวศุกร์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปทุกฝ่ายทั้งตะวันออกตะวันตก เลข ๖ เป็ นดาวศิลป์ ดาวแห่ งความรัก ดาวแห่ งชีวิตสมรส ลักษณะเลข ๖ คือ ผิวขาว ร่างสมส่วน เจ้าเนื้อ แต่งตัวดี บางทีก็ร่างท้วม บุคคลเลข ๖ มีเสน่ห์ดึงดูดผู้อื่นอย่างรุนแรง จะเป็นที่รักนับถือของ บุคคลที่ต่ากว่า รักสวยรักงาม มีรสนิยมชอบแต่งตัว ชอบศิลป์ดนตรี ชอบสนุกบันเทิง อารมณ์แจ่มใส มองโลกมนแง่กว้างและแง่ความสุข ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข โดยไม่มีจิตใจอิจฉาริษยาแต่อย่างไรเลข ของดาว ๖ ยังมีเลขคู่อยู่กลุ่มเดียวซึ่งบวกเป็นเลข ๖ คือ ๑๕, ๒๔, ๓๓, ๔๒, ๕๑, และ ๖๐ เป็นต้น๒๖๒ เลข ๗ คื อ สั ญ ลั ก ษณ์ ข องดาวเสาร์ ซึ่ งเป็ น ประธานดาวบาปเคราะห์ เสาร์แสดง อานาจทุกข์โทษ การล่ าช้า การเชือนแช โรคภัยไข้เจ็บ ความวินาศ ความระทมทุกข์ การสู ญ เสี ย คนชั้นต่า สลัม ความยากจน ความหวากระแวง ความอิจฉา ความหึงหวง สภาพทรุดโทรม ความ ล้มละลาย ทุกข์ทรมาน บุคคลเลข ๗ เป็นกาพร้า มักเร่ร่อนจากที่อยู่ มักเดือดร้อนเป็นนิจ โรคภัยไข้ เจ็ บ เบี ย ดเบี ย นเนื อ ง ๆ มี เหตุ ร้ ายเข้า มาไม่ ว ายเว้ น เลข ๗ เป็ น เลขของบุ ค คลผู้ อ ดทน สติ ดี เลิ ศ สามารถอดทนความทุกข์ยากได้ดีกว่าเลขอื่นไม่สารวม มีความเป็นอยู่ง่าย ๆ มักขัดสน๒๖๓ เลข ๘ เป็นเลขสาคัญที่ให้โทษมากกว่าเลข ๑ เช่นเดียวกับเลข ๓ และเลข ๗ เลข ๘ เป็นเลขอาถรรพ์มักเกิดเหตุวิบัติเสมอ เป็นเลขของราหู เมื่อนักดาราศาสตร์ค้นพบดาวพระเคราะห์ใหม่ ถัดจากดาวมฤตยูออกไป ดาวที่เหมาะสมกับเลข ๘ ที่สุดคือ เนปจูน อันเป็นบาปเคราะห์ ฝ่ายจู่โจม สาคัญเช่นเดียวกับดาวเสาร์ราหู แสดงถึงความลุ่มหลง มัวเมา มีโมหะจริตเป็นเจ้าเรือน มักถูกใส่ร้าย ป้ายสีต้องคดีความ มักถูกกลั่นแกล้ง มักถูกเบียดบัง มีคนแอบอ้างทาให้เสียชื่อเสียง ความอับอาย ความล้มละลาย ราหูให้โทษทางมัวหมอง เสียชื่อเสียง ถูกกลั่นแกล้ง ความวิบัติโดยฉับพลัน๒๖๔ เลข ๙ เป็นเลขที่อานวยความสาเร็จเลขหนึ่งในบรรดาเลขทั้งหลาย จัดว่าเป็นเลข ศักดิ์สิทธิ์ บ่งถึงศาสนา และสิ่งลึกซึ้งของศาสนา จึงใช้แทนดาวเกตุและดาวพลูโต ดาวพลูโตเป็นดาว อยู่วงนอกสุดของระบบสุริย ะ จึงเป็นดาวอันเร้นลับ เกี่ยวกับศาสตร์เร้นลับตลอดเวลา บุคคลเลข ๙ ดาวพลูโต มักสนใจของเก่าแก่ ของโบราณ เป็นนักโบราณคดี ชอบเก็บสะสม รวบรวมของเก่าแก่ เลื่อมในทางไสยศาสตร์ มักชอบวิชาการประวัติศาสตร์ หัวโบราณ บุคคลเลข ๙ มักมีลักษณะพิเศษไม่ เหมือนใคร ดาวพลูโตเป็นดาวที่เกี่ยวกับการแพทย์โดยตรง ยังหมายถึงนักเลงสะสม ทาให้มีอารมณ์ อยากได้ ชอบค้นคว้า ขุดค้นจนถึงแก่นภายใน๒๖๕ ๒๖๑

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๙. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔๓. ๒๖๓ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔๗-๔๘. ๒๖๔ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๕๔. ๒๖๕ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๕๗. ๒๖๒

๑๒๙ เลข ๐ เป็นสัญลักษณ์แทนดาวมฤตยู ซึ่งโหรไทยในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้บัญญัติขึ้นใช้ นับว่าตรงกับความหมายอันแท้จริง ด้วยเลข ๐ มฤตยูบ่งถึงการคิดค้น การแสวงหาความรู้แปลก ๆ การเดิ น ทาง การส ารวจ การค้ น คว้ าทางวิท ยาศาสตร์ ความก้ าวหน้ า ทางดาราศาสตร์ ดิ น แดน ต่างประเทศ สิ่ งเร้ น ลั บ จิ ตศาสตร์ อ านาจจิต จิตแพทย์ และศูน ย์ วิจั ยค้น คว้าทุ กแห่ ง การไฟฟ้ า คลื่นวิทยุในอากาศ๒๖๖ ความหมายของตัวเลข ๐ – ๙ นี้ยกตัวอย่างมาพอเป็นสังเขป ตัวเลขเดี่ยวเหล่านี้เมื่อ นามาผสมเป็นเลขสองหลักหรือสามหลัก ความหมายก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เช่น เลข ๑๔ เป็น เลขดี ให้ คุณแก่บุคคลผู้ตกอยู่ภ ายใต้อิทธิพลของเลขนี้ ด้วยเลข ๑๔ ประกอบด้ว ยดาว ๑ คืออาทิต ย์ เป็น พลั งประธานส าคัญ กับ เลข ๔ ดาวพุ ธ ซึ่งหมายถึงสติปัญ ญา และมั น สมอง บุ ค คลเลข ๑๔ จึ งมี ส มองอัน เฉี ยบแหลม ว่องไว มั กขบคิ ด ค้ น และจดจาสิ่ งต่าง ๆ ได้แม่นยามาก เลข ๑๔ บ่งถึงความรุ่งโรจน์และความมั่นคงของชีวิต ในตาราวิชาเลข ๗ ตัวถือว่าเลข ๑๔ เป็นกาลังจักพรรติ ว่าให้คุณเข้มแข็งนัก ถือว่าเลข ๑๔ เป็นจุดเริ่มต้นของพลังต่าง ๆ ๒๖๗ เลข ๑๐๐คือเลข ๑ กับ ๐ สองตัว บ่งถึงความทะเยอทะยานก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ถือว่าเป็นตัวเลขให้คุณอย่างหนึ่ง และดาว ๐ สองตัว บ่งถึงการปล่อยอิสระตามใจ ตนเองมากเกินไป บางครั้งถ้าไม่มีขอบเขตอาจจะเกิดผลเสียหายได้ง่าย เลขนี้เป็นจุดพอดีของรอบศตวรรษ จึงถือว่าเป็น เลขที่อานวยความสาเร็จได้อย่างดี ๒๖๘ พฤติกรรมของบุคคลหมายเลข ๑๐๐ เป็นคนมั่นใจในตัวเองสูง มีความทะเยอทะยานดี ไม่ชอบซ้าแบบใคร เป็นคนถือเกียติถือศักดิ์ศรี ไม่ชอบให้ใครบังคับ ไม่ชอบอยู่ ใต้บังคับบัญชาของใคร ไม่ชอบให้ใครมาคอยสอนคอยบ่น ไม่ชอบให้ใครมาจู้จี้จุกจิก จ้าจี้ จ้าชัย มัก เป็ น คนใจอ่อนขี้ส งสารคน ชอบช่วยเหลื อคนอ่อนแอคนที่ ถูกรังแก ของเอาภาระหรือปัญ หาของ ชาวบ้านมาเป็นภาระของตัวเอง ระวังจะเข้าลักษณะเนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง เอากระดูกมาแขวน คอ เป็นคนมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เห็นอะไรที่ไม่ถูกต้องมักจะคอยสอนคอยบ่นโดยไม่ รู้ตัว เป็นคนถือ ศักดิ์ศรียิ่งสิ่งใด เมื่อไหร่ที่ถูกหมิ่นศักดิ์ศรีก็จะเหมือนเอาน้ามักมาราดบนกองไฟเราดี ๆ นี่เอง และยัง เป็นคนเจ็บแล้วไม่รู้จักจาอีกด้วย๒๖๙ สรุปได้ว่าชีวิตของบุคคลย่อมมีตัวเลขเข้ ามามีบทบาทร่วมด้วยอย่างใกล้ชิด จนบางครั้ง แทบไม่รู้สึกตัว เริ่มจากบ้ านเลขที่ ต่อจากนั้นก็เป็นเลขประจาตัวบัตรประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ เลขทะเบียนรถต่าง ๆ เป็นต้น เลขศาสตร์ ใช้ตัวเลขแทนสัญลักษณ์ของดวงดาว และดวงดาวทุกดวง เต็มไปด้วยพลัง และมีความสัมพันธ์กับชีวิต ซึ่งมนุษย์เชื่อว่าสามารถก่อเกิดความเป็นไปได้ทั้งทางดี และทางไม่ดี การใช้ตัวเลขในการพยากรณ์ สามารถบอกเหตุ ร้ายดีของชีวิตและสามารถวางแผนการ ใช้ชีวิตและเสริมสร้างกาลังใจในการดาเนินชีวิตได้

๒๖๖

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๖๑. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๗๗. ๒๖๘ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๒๓. ๒๖๙ ธีรวัฒ น์ เชาว์ชัยรัตน์ , ชีวิตกับ ตัวเลขฺ , (กรุงเทพมหาคร: บริษั ทสานัก พิมพ์ ดวงกมล (๒๕๒๐) จากัด, ๒๕๔๖, หน้า ๒๑๐. ๒๖๗

๑๓๐ ๒.๔.๕.๓.หลักไพ่ยิปซี TAROT ขุนทอง อสุนี ณ อยุธยา ๒๗๐ กล่าวไว้ว่า การดูดวงตามหลักของไพ่ยิปซี ผลของการ ทานายเป็นเพียงส่วนหนึ่งเพื่อนามาประกอบการตัดสินใจ หาความถูกต้องกับหลักความจริง ข้อมูลจริง ที่ประสพอยู่ เพื่อหลีกเลี่ยงลดความสูญเสียและหาช่องทางที่มีความเป็นไปได้ในการเลือกใช้เพื่อให้เกิด ประโยชน์กับเจ้าของชะตาและสร้างความสบายใจ ความมั่นใจต่อการตัดสินใจก่อนลงมือปฏิบัติ ธนกร สินเกษม๒๗๑ ได้กล่าวไว้ว่า ไพ่ยิปซี TAROT มีอายุกาเนิดมาแล้วประมาณ ๖๐๐ ปี และถูกถ่ายทอดให้สืบสานต่อไปเหมือนมีมนต์วิเศษที่ดึงดูดผู้คนให้พิศวงสงสัยในอานาจลึกลับ ไพ่ยิปซี มีประวัติการริเริ่มในศตวรรษที่ ๑๔ ในราชสานักของประเทศฝั่งเศส (รัชสมัยพระเจ้า Charles ที่ ๖) โดยในปี ค.ศ. ๑๓๙๐ ได้มีหญิงยิปซีคนหนึ่งนาไพ่ยิปซีเข้าไปถวายความสาราญแก่พระเจ้า Charles และพระราชินี Odeth หล่ อนสามารถอธิบายเรื่องราวความลับส่วนตัวของพระเจ้า Charles และ ราชินีได้อย่างชัดเจนทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต กรหริศ บัวสรวง๒๗๒ กล่าวไว้ว่า ศาสตร์ต่าง ๆ ในโลกนี้ย่อมมีที่มา และมีความแตกต่างกัน มี ร ะดั บ ของความยาก ความง่าย ไม่ เหมื อ นกั น แต่ ก ารที่ จ ะได้ รับ การยอมรับ อย่ างกว้ างขวางนั้ น จาเป็นต้องอาศัยการพิสูจน์ การทดสอบว่าจะมีความแม่นยามากน้อยเพียงใด เช่นเดียวกับชีวิตของคน ย่อมมีวิถีทางที่แตกต่างกัน ในทางโหราศาสตร์จึงเชื่อว่าดวงชะตาของคนไม่มีทางที่จะเหมือนกันได้ แม้แต่จะเป็นแฝดก็ตาม ด้วยเหตุนี้ศาสตร์แห่งการพยากรณ์จึงมีมากมายหลายสาขาวิชา ขึ้นอยู่กับ ศรัทธาและความเชื่อที่แตกต่างกัน นั่นเอง ไพ่ยิปซีห รือที่คนรู้จักกันในนาม Tarot card จึงเป็นอีก ศาสตร์หนึ่งที่นิยมแพร่หลายและเชื่อว่ามีความแม่นยาสูง ไม่ว่าจะใช้ทานายเหตุการณ์ในอดีตจนถึง ปัจจุบันและอนาคต หรือแม้แต่จะใช้วิเคราะห์ลักษณะนิสัยความคิด ความรู้สึกก็สามารถรู้ได้อย่างทะลุ ปรุโปร่ง จุฑ ามาศ ณ สงขลา ๒๗๓ กล่ าวไว้ว่า ความลี้ ลั บของไพ่ยิปซี สื บเนื่องมาหลายศตวรรษ มีพลังในการทานายอยู่ในแต่ละภาพ การปรึกษาเปิดโอกาสให้เราได้เห็นลาง ๆ ในสิ่งที่ไม่รู้และเข้าถึง พลังของจิตใต้สานึก อนาคตจะเป็นเช่นไรขึ้นอยู่กับจิตใจและการยอมรับความจริง ไพ่ไม่ได้เปิดเผยถึง เคราะห์กรรมที่เราจะแก้ไขให้บรรเทาเบาบางลงได้ แต่เปิดเผยถึงวิถีทางสาหรับความคิด ความรู้สึก และจิตใจทีจ่ ะไปด้วยกันได้ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น สรุปได้ว่าศาสตร์การดูหมอด้วยไพ่ยิปซี ที่สืบเนื่องมาหลายศตวรรษ มีพลังในการทานาย อยู่ในแต่ละภาพ ในสังคมของคนไทยปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันทุกชนชั้นนั บตั้งแต่วงสังคมไฮโซ, นักบริหาร นักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไปโดยนิยมไปให้ หมอดูทานายด้วยไพ่ยิปซีรวมทั้งมีการศึกษาจากตารา ๒๗๐

๒๕๐.

๒๗๑

ขุนทอง อสุนี ณ อยุธยา, วิธีดูหมอไพ่ยิปซี, (กรุงเทพมหานคร: วิศวนาถการพิมพ์, ๒๕๓๕), หน้า

ธนกร สินเกษม, ไพ่ ยิปซี TAROT, พิ มพ์ ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อินเตอร์พริ้น ท์ คอร์ปอเรชั่น จากัด, ๒๕๓๗), หน้า ๖-๗. ๒๗๒ กรหริศ บัวสรวง, ไพ่ยปิ ซีชั้นสูงระบบการะแสจิต, พิมพ์ครั้งที่ ๑, (กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ ซี.พี บุ๊คสแตนดาร์ด, ๒๕๔๗), หน้า ๗. ๒๗๓ จุฑามาศ ณ สงขลา, ทายใจรักจากไพ่ยิบซี , พิมพ์ครั้งที่ ๑, (กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ฤกษ์ งามยามดี, ๒๕๓๙), หน้า ๒๐.

๑๓๑ อย่างแพร่หลายและมีการนามาใช้ทานายกันอย่างสนุกสนาน ไพ่ยิปซีเป็นภาษาสากลสามารถสื่อไปได้ ในทุกชาติทุกภาษาแม่เป็นเพียงแผ่นไพ่ธรรมดาแต่ก็มีความศักดิ์สิทธิ์ มีความแม่นยาในการทานายไม่ แพ้ศาสตร์การทานายประเภทอื่น ๆ ๑)ความเป็นมาของไพ่ (ไพ่ทาโรต์) นั บ ย้ อ นหลั ง ไปพั น กว่ า ปี พวกยิ ป ซี มี ภ าษาพู ด ที่ มี ร ากมาจาก นี โอ-อารยั น ซึ่งสันนิษฐานว่าพวกเขามาจากลุ่มแม่น้าสินธุ ทางแถบตอนเหนือของประเทศอินเดีย พวกยิปซีได้ละ ทิ้งถิ่นฐานและเดินทางมาทางยุโรปตะวันตก พวกหนึ่งมุ่งหน้าไปทางตอนกลางของทวีปยุโรปอีกพวก หนึ่ งมุ่งไปทางอัฟ ริกาเหนื อ พวกยิ ปซีเร่ร่อนกระจัดกระจายกันไปในดินแดนต่าง ๆ จนกระทั่ งมา รวมตัวกันเป็นชุมชนขึ้นในตอนใต้ของยุโรป ใน ปี.ค.ศ. ๑๔๑๗ หลังจากนั้นก็เดินทางไปถึงเกาะอังกฤษ เสปน เดนมาร์ค ฝรั่งเศส สก็อตแลนด์ โปแลนด์ พวกยิปซีมีพฤติกรรมที่ไม่ค่อยดี เช่น ชอบขโมยของ จึงถูกรังเกียจและต่อต้าน ชีวิตเร่ร่อนของพวกยิปซีแบ่งได้เป็น ๔ กลุ่ม ตามลักษณะของอาชีพ เช่น ซ่อมแซมหม้อ ชาม ไห และเครื่องประดับพวกนี้จะอยู่ทางยุโรปตอนเหนือ ยิปซีนับถือเทพ มีพระเจ้า God มาร Devil ชีวิตของพวกเขาเต็มไปด้วยความเชื่อ ด้านไสยศาสตร์ จิตวิญญาณ มีการสะเดาะ เคราะห์โดยใช้สร้อยเงินลากเส้นบนฝ่ามือ มีเสน่ห์ยาแฝด มีเครื่องรางของขลัง ผู้หญิงยิปซีชานาญใน การทานายโชคชะตาโดยใช้ไพ่ทาโรต์หรือมาร็อต (Tarot) แต่ในปัจจุบันจะใช้ไพ่ป็อกมากกว่า มีการ ทานายโดยใช้ดูจากเส้นของใบชา ใช้เม็ดถั่ว ส่ว นที่ใช้ลูกแก้วเป็นเพียงการโชว์เท่านั้น นอกจากนี้ยัง นิยมการดูลายมือ โดยเฉพาะลักษณะของนิ้ว ลายนิ้วมือ๒๗๔ ช่วงเวลาและสถานที่ที่เป็นต้นกาเนิดของไพ่ทาโรต์ไม่ปรากฏชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด และที่ ไหน บ้างก็ว่ามาจากอียิปต์ บ้างก็ว่ามาจากจีน เปอร์เว๊ย หรือไม่ก็อินเดี ย แต่เป็นที่รู้กันว่ามีการเล่นไพ่ ในประเทศจีนและอินเดียก่อนจะมาเป็นที่แพร่หลายในยุโรป แต่การเล่นแตกต่างไปจากที่เล่นกันใน ยุโรปยุคแรก ๆ มาก อีกทั้งยังไม่ปรากฏหลักฐานของอิทธิพลที่แพร่เข้ามาโดยตรงด้วยมีอยู่ทฤษฎีหนึ่ง กล่าวว่า มันถูกนามาสู่ยุโรปโดยพวกยิปซี และแม้ว่ายิปซีจะใช้ไฟในการทานายโชคชะตา แต่พวกเขาก็ มิใช่ผู้ประดิษฐ์คิดค้นไพ่ขึ้นมา หรือ นาไผ่มาจากประเทศที่คิดค้นเช่นอินเดียแต่อย่างใด (เคยมีความ เชื่อกันว่า มาจากอียิปต์ อันเนื่องมาจากชื่อของมัน)๒๗๕ อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า ไพ่ทาโรต์เป็นชื่อที่ตั้งตามชื่อแม่น้าทาโร ซึ่ งเป็นแควที่แยกจาก แม่น้าโพในประเทศอิตาลี และไพ่ก็ถูกคิดค้นขึ้นมาใกล้กับบริเวณดังกล่าว จากบันทึกที่ปรากฏในสมัย พระเจ้าชาร์ลที่ ๖ แห่งฝรั่งเศส ช่วงปี ๑๓๙๒ พบว่ามีช่างเขียนคนหนึ่งชื่อจ๊าคเภอแม็ง แกร็งกองเนอร์ ได้ทาไพ่ระบายสีปิดทองขึ้นมาสามชุดสาหรับพระราชา บางบันทึกก็กล่าวว่า มีการเล่นไพ่กันตั้งแต่ยุค ต้น ๆ ของศตวรรษที่ ๑๔ และเริ่มแพร่หลายในยุโรป ในช่วงเวลานี้เอง แต่ก็ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดว่า หมายถึงไพ่ทาโรต์ที่เรารู้จักกันในปัจจุบันหรือไม่ ๒๗๖ บางกระแส กล่าวว่า ไพ่ยิปซีที่ถูกพบและรู้จักชุด แรกสุดนั้น ประมาณปี ค.ศ. ๑๓๙๓ มีอยู่เพียง ๑๗ ใบ นั่นแสดงว่าไพ่ยิปซีได้มีขึ้นก่อนหน้านี้แล้วแต่ ๒๗๔

กรหริศ บัวสรวง, ไพ่ยิปซีชั้นสูงระบบการะแสจิต, พิมพ์ครั้งที่ ๑, (กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ ซี.พี บุ๊คสแตนดาร์ด, ๒๕๔๗), หน้า ๑๑-๑๒. ๒๗๕ สมลักษณ์ สว่างโรจน์, วิธีอ่านไพ่ทาโรต์ , พิมพ์ครั้งที่ ๑, (กรุงเทพมหานคร: รุ่งแสดงการพิมพ์, ๒๕๓๘), หน้า ๘. ๒๗๖ สมลักษณ์ สว่างโรจน์, วิธีอ่านไพ่ทาโรต์, หน้า ๘.

๑๓๒ เพิ่งถูกค้นพบ ทั้งนี้คงเนื่องมาจากมันเป็นของต้องห้ามในเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี โดยถูกมองว่า ผิดหลักศาสนา๒๗๗ ไพ่ทาโรต์มีอยู่ด้วยกันหลายแบบในยุคแรก ๆ สารับไพ่ทาโรต์ในปัจจุบันซึ่งมีจานวน ๗๘ ใบ ยึดถือรูปแบบมาจากไพ่ทาโรต์ของชาวเวนิช หรือชาวพีดมอนท์ในอิตาลี ในขณะนี้มีไพ่ทาโรต์ที่ แตกต่างออกไป คือมีอยู่ ๙๗ ใบในหนึ่งสารับ และมีชื่อเรียกว่าฟลอเรนไทน์ ทาโรต์ หรือมินซิเอท โดย จะประกอบด้วยไพ่ที่ใช้แทนจักรราศี ธาตุทั้งสี่ และทูตสวรรค์เพิ่มอีกสี่ใบ ซึ่งจะไม่ มีไพ่เหล่านี้อยู่ใน สารับมาตรฐานในปัจจุบัน นอกจากนี้ก็มีโบลองนิส ทาโรต์ ที่เรียกันว่า ทาโรซิโน (แปลว่า “ทาโรต์ สารับเล็ก” เพราะมีเพียง ๖๒ ใบเท่านั้น) ยิ่งไปกว่านั้น ก็ยังมีความแตกต่างอีกมากมาย โดยเฉพาะใน ด้านจานวนของไพ่เมเจอร์ อาร์คานา หรือทรัมพ์๒๗๘ ในศตวรรษที่ ๑๕ ยุคแห่งมิลานเป็นผู้สั่งให้จัดทาไพ่ยิปซีขึ้น ๑ ชุด โดยให้ตั้งชื่อไพ่ตาม สกุ ล ของพระองค์ เช่ น ภาพพระสั ง ฆราช (Hi-erophant or pope) ผู้ ค นสมั ย ต่ อ มาเชื่ อ ว่ า คงได้ ความคิดมาจากภาพนักแสดงในงานเฉลิมพระชนม์พรรษาของพระราชาแห่งประเทศอิตาลี เรียกไพ่ชุด นี้ ว่า ชุด วิส คอนตี้ (Visconti Deck) ซึ่งยังคงมีเหลื ออยู่ครบชุด ไพ่ ชุดนี้ ผู้ วาดและแต่งแต้มสี สั น ให้ สอดคล้องกับยุคสมัยในสมัยกลางนั้นคือศิลปินชาวอตาลี ชื่อ Bonifiio Bembo๒๗๙ ใน ศ ต ว ร ร ษ ที่ ๑๕ นี้ ไพ่ทาโรต์หลายสารับ ที่ถูกเขียนมาเพื่อตระกูลวิส คอนตี้ มีจานวนมาตรฐาน คือ ๗๘ ใบ แต่ ปัจจุบันยังคงเหลืออยู่เพียง ๗๔ ใบอยู่ในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ และนักสะสมเอกชน จากหลักฐานที่ปรากฏ พบว่าภาพในไพ่ทาโรต์ที่นิยมใช้กัน เปลี่ยนแปลงไปเพียงน้อยนิดเท่านั้นนับแต่นั้นมาจนปัจจุบัน แต่เดิมไพ่ทาโรต์อามีไว้สาหรับเล่นเกม แต่จากบันทึกยุคต้น ๆ เป็นจานวนมากบอกให้รู้ว่า โบสถ์ไม่ค่อยจะพอใจกับไพ่ทาโรต์นัก อีกทั้งยังแคลงใจว่ามันมีอะไรบางอย่างที่ขัดต่อหลักศาสนา หรือ อาจถึงขั้นล้มล้างศาสนาเลยทีเดียว จึงอาจเป็นได้ว่ามีการใช้พ่ทาโรต์เพื่อการทานายอนาคตมาแต่ต้น และอาจคิดค้นขึ้นมาโดยพวกนอกรีต ในศตวรรษที่ ๑๘ ได้มีความพยายามย่างจริงจังที่จะเชื่อมโยงไพ่ทาโรต์กับความเชื่อลึกลับ ของพวกนอกรีตในสมัยโบราณ ในปี ๑๗๙๑ อังตวน กูร์ เดอ เยเบอร์แล็ง นักโบราณคดีและนักค้นคว้า สมัครเล่นเรื่องลี้ลับ จัดพิมพ์งานของเขาเล่มที่ ๘ ชื่อเลอ มองเดอ ปรีมิติ๊ฟ โดยกว่าวถึงไพ่ทาโรต์ไว้ ด้วยบทหนึ่งอันเป็ นแนวความคิ ดของเขาเองว่า ไพ่ทาโรต์คือชึ้นส่วนของหนังสือศักดิ์สิทธิ์ของชาว อียิปต์โบราณ ที่มีชื่อว่า บุ๊ค ออฟ ธอธ และถูกนาออกจากอียิปต์โดยพวกยิปซี และเขายังเป็นคนแรกที่ กล่าวว่ ไพ่เมเจอร์ อาร์คานาของไพ่ทาโรต์ และตัวอักษรภาษาฮิบรูมีความเชื่อมโยงกัน ความคิดนี้ ได้รับการสนับสนุนจากนักวิจารณ์เกี่ยวกับไพ่ทาโรต์เป็นจานวนมาก ทฤษฎีของกูร์ เดอ เยเบอแล็งได้รับการปรับปรุงโดยอัคลเลียด ช่างทาผมและหมอดูมือ อาชีพ โดยเชื่อมโยงไพ่ทาโรต์กับเรื่องราวลึกลับของคาคาลาของชาวฮิบรู และยังได้คิดค้นรูปแบบของ ทาโรต์ “ถู ก ต้ อ ง” ของเขาขึ้ น มาเอง โดยมี ค วามเชื่ อ ว่ า ตรงกั บ ของเดิ ม ในสมั ย โบราณมากกว่ า ๒๗๗

จุฑามาศ ณ สงขลา, ทายใจรักจากไพ่ยิบซี , พิมพ์ครั้งที่ ๑, (กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ฤกษ์ งามยามดี, ๒๕๓๙), หน้า ๙. ๒๗๘ จุฑามาศ ณ สงขลา, ทายใจรักจากไพ่ยิบซี, หน้า ๙. ๒๗๙ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๐.

๑๓๓ ในศตวรรษที่ ๑๗ เอลิฟาส เลอรี ได้พัฒนาแนวความคิดนี้ต่อไปอีกในเรื่องการเชื่อมโยงระหว่างคาบา ลากับทาโรต์ และความคิดของเขาก็มีอิทธิพลต่อความเข้าใจเกี่ยวกับไพ่ทาโรต์ นับแต่นั้นมา ทฤษฎีที่ กล่าวถึงหนังสือ บุ๊ คออฟ ธอธ และความสอดคล้องกับคาบาลาได้รับการยอมรับจากนักวิจารณ์ ใน ศตวรรษที่ ๑๙ อีกทั้งยังรวมกันกับทาโรต์ที่นิยมกันอยู่ได้อย่างแนบแน่นด้วย ประการสุดท้าย อิทธิพลสาคัญที่มีต่อวิธีการใช้ไพ่ และความหมายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นั้น มาจากเฮอร์เมติค ออร์เดอร์ ออฟ เดอะ โกลเดน ดอน ซึ่งเป็นสมาคมลึกลับ ก่อตั้งในปี ๑๘๘๘ สมาคมนี้มีผู้มีชื่อเสียงเข้าร่วมเป็นสมาชิกมากมาย เป็นต้นว่า ดับเบิ้ลยู. บี ยีตส์ และบราม สโตเกอร์ โกลเดน ดอน ถื อ ว่า ดาราศาสตร์ การเล่ น แร่ แปรธาตุ การพยากรณ์ การศึ กษาเกี่ ย วกั บ ตั ว เลข คาบาลา และพิ ธี ก รรมทางไสยศาสตร์ ต่ า งก็ เป็ น เรื่ อ งลึ ก ลั บ ในระบบเดี ย วกั น โดยมี ท าโรต์ เป็ น แกนกลาง สมาคมนี้ได้ปฏิบัติตามคาสอนของเลอวี ที่เกี่ยวกับทาโรต์ แต่ลาดับของความสอดคล้อง ระหว่างตัว อักษรของชาวฮิบ รู และไพ่แห่ งเมเจอร์ อาร์คานา ได้ถูกเปลี่ ยนแปลงไป ไพ่ แห่ งความ ยุติธรรมและพลังถูกเปลี่ยนตาแหน่ง ด้วยเหตุผลที่จะอธิบายต่อไปในภายหลัง ๒๘๐ เอ. อี. เวท และพา เมลา คอลแมน สมิธ สมาชิกแห่งโกลเดน ดอน ได้คิดค้นไพ่ทาโรต์ที่มีชื่อเสียงขึ้นมาโดยใช้ชื่อสารับ ไรเดอร์-เวท ไพ่สารับนี้ร่วมทั้งหนังสือชื่อเดอะ พิคทอเรียล ดีย์ ทู เดอะ ทาโรต์ ได้รับการจัดพิมพ์ในปี ๑๙๑๐ ซึ่งนับเป็นสารับไพ่ที่มีอิทธิพลสูงมากสารับหนึ่ง และไพ่สมัยใหม่เป็นจานวนมากมีกาเนิดมา จากสารับไพเดอร์ - เวทนี้ด้วย อีกทั้งหนังสือในปัจจุบันที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องราวของไพ่ทาโรต์ (รวมทั้ง เล่มนี้ด้วย) ได้ให้ความหมายของไพ่ตามความหมายที่เวทได้ให้ไว้ไม่มากก็น้อ ย (ซึ่งเท่ากับว่าได้ยึดถือ เอาวิธีใช้ของโกลเดน ดอนนั่นเอง) อลิสเตอร์ ครอว์ลีย์ เป็นสมาชิกอีกคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงในเวลาต่อมา จากเรื่องนี้เช่นกัน หนังสือที่เกี่ยวกับไพ่ทาโรต์ของเขาที่ชื่อ เดอะ บุ๊ค ออฟ ธอธ (พิมพ์ในปี ๑๙๔๔) และไพ่สารับนี้เขาออกแบบขึ้นมากเอง และวาดโดยเลดิ๊ฟรีดา แฮริส ทาให้ทั้งคู่กลายเป็นนักเขียนและ ศิลปินที่มีอิทธิพลมาก รวมทั้งทาให้ไพ่ทาโรต์แพร่หลายอย่างกว้างขวางอีกด้วย นับตั้งแต่ช่วงปี ๑๙๗๐ ความสนใจเกี่ยวกับไพ่ทาโรต์ได้เพิ่มขยายมากขึ้น แบบไพ่สารับใหม่ ๆ ออกมามากมาย โดยบางสารับ ได้มีการแปลความหมายขึ้นมาใหม่ บางสารับก็ดัดแปลงให้เข้ากับวัฒ นธรรมของแต่ละท้องถิ่นตาม ความเชื่อและเรื่องราวที่เล่าสืบทอดกันมา ๒๘๑ ไพ่ยิปซีชุดที่เป็นที่นิยามในประเทศไทยคือ ชุดไรเดอร์ เวท ซึ่งเขียนขึ้นโดย พาเมลลา คอลแมน สมิธ Pamela Colman Smith เกิดวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๘๗๘ ที่ Middlesese, England บิดา มารดาเป็นชาวอเมริกัน ตอนเล็ก ๆ เธอต้องติดตามบิดามารดาไปใช้ชีวิตที่ London, New Tork และ Kingston, Jamaica เมื่ออายุ ๑๕ ปี เธอได้ศึกษาวิชาศิลปะที่ Pratt Institute of Brooklyn New York ส าเร็จการศึกษาเมื่ออายุ ๑๙ ปี ในปี ๑๘๙๙ เธอกลับมาใช้ชีวิตที่ประเทศอังกฤษเป็น Designer ของโรงละคร เป็นผู้เขียนรูปภาพประกอบหนังสือ และโปสเตอร์ให้สานักพิมพ์ต่าง ๆ แต่ที่ เป็นความสาเร็จของเธอมากคือ การเขียนเรื่อง และรูปนิทานต่าง ๆ โดยอาศัยประสบการณ์ของเธอ สมั ย ที่ อ ยู่ Kingstion, Jamaica ในปี ๑๙๐๙ Pamela Colman Smith ได้ เขี ย นรูป ไพ่ ยิ ป ซี ) ๗๘ ๒๘๐ ๒๘๑

สมลักษณ์ สว่างโรจน์, วิธีอ่านไพ่ทาโรต์, หน้า ๑๐-๑๑. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๒.

๑๓๔ ใบ ให้ The Ride Waite Tarot เธอเขียนได้สวยงามด้วยจินตนาการของเธอเองประกอบกับตัวเธอเอง ก็ได้ มีป ระวัติว่าได้ส นใจโหราศาสตร์ม าแล้ วตั้ งแต่ปี ๑๙๐๔ เธอไม่ได้แต่งงาน และเสี ยชี วิต อย่าง เดียวดายในปี ๑๙๕๑ ที่ Bude Comall โดยไม่มีทรัพย์สมบัติใด ๆ เหลือแต่ผลงานที่คนยอมรับทั่ว โลก๒๘๒ ๒)การแบ่งชุดของไพ่ทาโรต์ โดยทั่วไปมีทั้งหมด ๗๘ ใบ แบ่งกันเป็นชุดใหญ่ ๒๒ ใบ และชุดเล็ก ๕๖ ใบ ไพ่แต่ละใบสามารถบอกความหมาย ทานายชะตาชีวิต และให้รายละเอียด ในการแก้ไขปัญหาชีวิตได้เป็นอย่างดี ไพ่ชุดใหญ่ แต่ละใบทานายลักษณะนิสัย บุคลิก ความเป็นมา เป็นไปของฐานแห่งชีวิต ที่อยู่อาศัย สถานภาพในอนาคต รวมไปถึงความมั่นคงและบทสรุปสุดท้าย อิทธิพลของไพ่ชุดใหญ่นั้นมี มากเมื่อปรากฏอยู่ในการทานายพื้นดวงชะตาย่อมแสดงถึงรากฐานแห่งชีวิตที่จะเป็นไป เรื่องราวที่ เกิดขึ้นจะบ่งชัดเจนไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากจะมีไพ่ชุดเล็กที่เสริมแทรกจุดประกายไว้ให้ ไพ่ชุดเล็ก ในไพ่ชุดเล็กซึ่งมี 56 ใบ ได้แบ่งการทานายรายละเอียดเรื่องต่าง ๆ ไว้ดังนี้ Wands หมายถึงการศึกษา การงาน และรากฐานที่มั่นคง บ่งบอกถึงสภาพจิตใจทางด้าน การงาน Cups หมายถึงความรักใคร่ผูกพัน สถานภาพทางด้านจิตใจ นิสัย และความสุขสมบูรณ์ Swords หมายถึงปัญหา อุปสรรค การต่อสู้ แก้ไข การเจ็บป่วย รวมไปถึงเรื่องอุบัติเหตุ ต่าง ๆ Pentacles หมายถึงการเงิน ความร่ารวยยากจน ธุรกิจที่จะส่งผลดีในด้านการเงินต่าง ๆ และยังรวมไปถึงเรื่องโชคลาภอีกด้วย และในไพ่ชุดเล็กก็ยังมีไพ่ที่บ่งบอกสถานะของตัวบุคคล อายุ เพศ ลักษณะสูงต่าดาขาวได้ อีกด้วย ซึ่งเป็น การบอกรายละเอียดที่จะช่วยให้ การทานายแม่นยาขึ้น แต่จะแม่นยาแค่ไหนก็ต้อง ขึ้นอยู่กับว่าผู้พยากรณ์สามารถอ่านไพ่ได้แตกฉานและมีพลังมากพอไหม๒๘๓

๒๘๒ ๒๘๓

ธนกร สินเกษม, ไพ่ยิปซี TAROT, หน้า ๙-๑๐. จุฑามาศ ณ สงขลา, ทายใจรักจากไพ่ยิปซี, หน้า ๑๑-๑๒.

๑๓๕ ๓)ไพ่ทาโรต์กับโหราศาสตร์ เพื่อเป็นการทาความเข้าใจไพ่ทาโรต์หรือไพ่ยิปซีให้ลึกซึ้งขึ้น ผู้เขียนจึงได้จัดทา แผนภู มิ โหราศาสตร์ เพื่ อ ช่ ว ยในการอ่ านไพ่ เพื่ อ ค าท านายจะได้ แ ม่ น ย า ไพ่ แ ต่ ล ะใบเชื่ อ มโยงกั บ สัญลักษณ์หรือดวงดาว และธาตุ อันมีความหมายสาคัญในการตีความโดยเฉพาะ ซึ่งทาให้ ผู้อ่านที่เคย คุ้นกับโหราศาสตร์ไทยมาก่อนเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น และสาหรับผู้ที่ไม่เคยคุ้ยกับจักรราศีมาก่อนก็ไม่ใช่ เรื่ อ งยากที่ จ ะท าความเข้ า ใจ ตรงข้ า มจะได้ เ ห็ น ถึ ง ความสั ม พั น ธ์ กั น ของโหราศาสตร์ ไ ทย และโหราศาสตร์สากล ดังตัวอย่างหนึ่งคือการทานายด้วยไพ่ยิปซี ธาตุ ไ ฟ : ธาตุ ดิ น : ธาตุ ล ม : ธาตุ น้ า :

ญาณสังหรณ์, ทรรศนะ, แรงดลใจ การปฏิบัติอย่างเหมาะสม, ความรู้สึกทางกามารมณ์, โลกแห่งวัตถุ จิตวิญญาณ, ความฉลาดปราดเปรื่อง, จิตใจที่อยู่ภายใต้อานาจความนึกคิดหรือสติ อารมณ์ความรู้สึก, ความคิดสร้างสรรค์, จิตใต้สานึก ตารางที่ ๒.๒ แสดงขอบเขตอิทธิพลของธาตุแต่ละธาตุ๒๘๔

๒๘๔

จุฑามาศ ณ สงขลา, ทายใจรักจากไพ่ยิปซี, หน้า ๑๓.

๑๓๖ ตารางที่ ๒.๓ แสดงหน้าไพ่กับการทาบุญ หมายเลข ๐ THE FOOL หมายเลข ๑ THE XXX หมายเลข ๒ THE HIGH PRIESTESS หมายเลข ๓ THE EMPRESS หมายเลข ๔ THE EMPEROR หมายเลข ๕ THE HIEROPHANT หมายเลข ๖ THE LOVER หมายเลข ๗ THE CHARIOT หมายเลข ๘ THESTRENGTH หมายเลข ๙ THE HERMIT หมายเลข ๑๐THE WHEEL OF FORTUNE หมายเลข ๑๑ JUSTICE หมายเลข ๑๒ THE HANGED MAN หมายเลข ๑๓ DEATH หมายเลข ๑๔ THE TEMPERANCE หมายเลข ๑๕ THE DEVIL หมายเลข ๑๖ THE TOWER หมายเลข ๑๗ THE STAR หมายเลข ๑๘ THE MOON หมายเลข ๑๙ THE SUN หมายเลข ๒๐ JUDGEMENT หมายเลข ๒๑ THE WORLD

๒๘๕

ท า บุ ญ เกี่ ย ว ข้ อ งกั บ เด็ ก เช่ น เสื้ อ ผ้ า ต า ร า ทุนการศึกษา อุปกรณ์ยารักษาโรค บริจาคอวัยวะ ซื้อตู้ยาถวายพระ ช่วยสงเคราะห์หางานให้คนทา สร้างงาน ฝากงาน ทาบุญกับคุณแม่ ญาติผู้ใหญ่เพศหญิงที่ตนนับถือ ทาบุญกับคุณพ่อ ญาติผู้ใหญ่เพศชายที่ตนนับถือ ทาบุญกับพระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ที่ตนนับถือ ดูแลคนในครอบครัวให้มีความสุข ชักจูงคนให้ทาบุญ ทาบุญทางไกล ต้องเดินทางไปจึงจะได้กุศลดีนัก ใช้แรงกายแรงใจให้เกิดประโยชน์กับส่วนรวม นั่งสมาธิ วิปัสสนากรรมฐาน อยู่สงบนิ่ง ร่วมสร้างทรัพย์สินใหญ่ เช่น วิหาร กุฏิ ฯลฯ บริจาคทาน สิ่งของแก่ผู้ยากไร้ ทาบุญกับคนพิการ คนป่วยอนาถา คนด้อยโอกาส บริจาคโลงศพ ศพไม่มีญาติ มูลนิธิต่าง ๆ สร้างถนน สะพาน ค้าต้นไม้ เติมสิ่งที่ขาด ใครขออะไรในช่วงนี้ ถ้าช่วยได้ก็ช่วยไปจะดีมาก ช่วยเหลือผู้ประสบภัย บริจาคเงินให้กับโรงพยาบาล คิดโครงการอะไรก็ได้ที่สร้างสรรค์ ช่วยเหลือคน ช่วยเหลือผู้ติดโรคร้ายแรง เช่น เอดส์ มะเร็ง ฯลฯ ร่วมสมทบทุนกับโครงการต่าง ๆ ที่เราศรัทธา ให้รีบแก้บนที่เราเคยบอกกล่าวไว้แต่ลืมเลือน แก้ไขตนเองให้เป็นคนใหม่ที่ดี เคยสัญญาจะเลิกบุหรี่ ก็จงเลิกสูบ ไม่ต้องผัดวันประกันพรุ่งอีกต่อไปเป็น ต้น๒๘๕

นรวิชญ์ ลัคนานนท์, ไพ่ยิปซีวาไรตี้, พิมพ์ครั้งที่ ๑, (กรุงเทพมหานคร: บริษัทอัมรินพริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จากัด(มหาชน) ๒๕๔๘), หน้า ๔๘-๔๙.

๑๓๗ นอกจากนี้ แ ล้ ว มี ก ารผนวกการดู ไพ่ ยิ ป ซี กั บ การท าบุ ญ เพื่ อ ท าให้ รู้ สึ ก สบายใจขึ้ น เมื่อประสบปัญหาหรือทุกข์ใจ โดยมีวิธีการ คือ อยากจะทราบว่าจะทาบุญด้วยอะไร ให้ดูด้วยไพ่ยิปซี เฉพาะชุดเมเจอร์ฯ จานวน ๒๒ ใบ มาตั้งจิตอธิษฐาน สับไพ่ ๓ ครั้ง นึกถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ สับไพ่เสร็จแล้ว ให้นาไพ่ ๒๒ ใบ วางเรียงตรงหน้า ตัดสินใจหยิบไพ่เพียงใบ เดียว ได้หน้าไพ่แล้วดูว่าควรทาบุญอย่างไรดี๒๘๖ สรุปได้ว่าการใช้ไพ่ยิปซีที่ผู้คนคุ้นเคยกันมากที่สุดในเรื่องการพยากรณ์ สาหรับคนที่เชื่อใน การทานาย จะประสบความสาเร็จมากที่สุดในเรื่องของการทาสมาธิ เพื่อหยิบไพ่ยิปซี เป็นแนวทางใน การแก้ปัญหา ยามเผชิญความทุกข์ใจและช่วยในการตัดสินใจในสิ่งที่กาลังเผชิญอยู่ ๒.๓.๕.๔.หลักหัตถศาสตร์ (ลายมือ) แนวคิดเกี่ยวกับหัตถศาสตร์พบว่า มนุษย์เกิดมาจะมีแผนที่ชีวิตบนฝ่ามือติดตัวมา ทั้งซ้ายขวา แผนที่ดังกล่าวสามารถจะบอกถึงการดารงชีวิต อดีต ปัจจุบันและอนาคต วัยเด็กแผนที่บน ฝ่ามือยังน้อยแต่จะค่อย ๆ เพิ่มตามวัย ในช่วงอายุ ๑๐-๑๑ ปี จะไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง มีแต่จะ เพิ่มขึ้นบ้างไม่เกิน ๕ เปอร์เซ็นต์ แต่แผนที่จะไม่หายไป เช่น นักกอล์ฟ นักเทนนิส นักแบดมินตัน ที่มี การฝึกฝนหนักจนผิวหนังด้าน เส้นจะเลือนหายไปซึ่งก็ไม่แตกต่างจากฝ่ามือของชาวสวน ชาวไร่ ที่จับ จอบเสียมนาน ๆ เส้นจะหายไปหากหยุดหรือเลิกกิจกรรมเหล่านั้น เส้นจะกลับมาแต่ต้องใช้เวลานาน นั บ เป็ น ปี ส าหรั บ การเพิ่ ม ขึ้ น ของเส้ น ลายมื อ อั น เป็ น แผนที่ ชี วิ ต จะน้ อ ยมาก ในทางทฤษฎี ข อง หัตถศาสตร์ ลายมือที่ไม่เหมือนกันทาให้การดารงชีวิตและความประพฤติแตกต่างกัน ๒๘๗ดังจะเห็น แนวคิดของ นักวิจัย นักค้นคว้าตารา ได้กล่าวไว้ดังนี้ รัศมี สร้อยวัฒนา๒๘๘ กล่าวไว้ว่า ลายมือหรือลิขิตบนฝ่ามือเป็นศาสตร์และเป็นศิลป์อย่าง หนึ่งที่น่าสนใจ จากหลักฐานที่มีการจดบันทึกไว้ในประเทศอินเดียพบว่า ศาสตร์นี้มีกาเนิดมา ๓,๐๐๐ ปี เป็นศาสตร์ดึกดาบรรพ์ จากนั้นได้แพร่ขยายไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลก อีกทางหนึ่งมีตานานกล่าวไว้ ในกรีกสมัยโบราณ รวมทั้งบันทึ กที่พบในประเทศจีน กล่าวว่าวิชาลายมือมีกาเนิดมาก่อนสมัยของ ป รมาจารย์ Cheriroซึ่ ง เป็ น บิ ดาของวิ ช าหั ตถศาสตร์ (Palmistry of Predicting Science) เป็นลักษณะของแนวประยุกต์ โดยศึกษาสีสัน รูปทรงเนินต่าง ๆ ของฝ่ามือ นิ้วมือและเล็บมือรมทั้ง ลายเส้นบนฝ่ามือตลอดจนเครื่องหมายที่พบนั้น เพื่อรวบรวมเป็นสถิติและข้อสรุปในการวิเคราะห์ ลายมื อ หรื อ การท านายเหตุ ก ารณ์ ที่ เกิ ด ขึ้ น กั บ บุ ค ลนั้ น ๆ โดยอิ งการค านวณเพื่ อ ทราบก าหนด เหตุ การณ์ ที่ เกิด ขึ้น ได้แน่ น อน เด่ นชัด มาตั้งแต่ เกิดถึ งอนาคต สามารถบอกเล่ าถึงเรื่องราวต่าง ๆ ของพฤติก รรม สุ ขภาพของร่างกาย โรคภั ยไข้เจ็บ ความรุ่งโรจน์ ความสมหวัง ในธุรกิ จการงาน ความผิดหวังในชีวิต ความรักและศัตรู การเงินเครดิต อานาจบารมี สามารถบอกถึงอดีต ปัจจุบันและ อนาคตได้

๒๘๖

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔๗. สมบั ติ รู ป ประดิ ษ ฐ์ , แนะน าปั ญ หาบนฝ่ า มื อ , พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ ๒, (สมุ ท รสาคร: โรงพิ ม พ์ ยูไนเต็ทโปรดักชั่น, ๒๕๔๙), หน้า ๖-๗. ๒๘๘ รัศมี สร้อยวัฒนา, ศิลปะการศึกษาลิขิตบนฝ่ ามือ, (เอกสารประกอบการบรรยาย คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๓๔), หน้า ๑. ๒๘๗

๑๓๘ จรัญ พิกุล๒๘๙ กล่าวว่า หัตถศาสตร์บอกถึงอุปนิสัย ความสามรถโชคชะตาในทางอาชีพ ความรัก เคราะห์ต่าง ๆ รวมเรียกกว่า บอกเหตุการณ์ในชีวิตของเจ้าของมือ โดยอ่านจากส่วนต่าง ๆ ของมือและเส้นบนฝ่ามือ ประจวบ แก่นจันทร์ ๒๙๐ ให้ความเห็นว่า “ลายมือคือสัญญาและกติกาของชีวิต ” มนุษย์ เกิดมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ต้องมีครบ ๓๒ อย่าง และลายมือก็เกิดมาพร้อมกันตั้งแต่อยู่ในครรภ์ มารดาแล้ว ร่างกายของมนุษย์นั้นประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ คือ ๑) ธาตุดิน คือเนื้อ ๒) ธาตุน้า คือน้า หรือของเหลว เลือดและปัสสาวะ ๓) ธาตุลม คืออากาศหายใจ ส่วนธาตุที่ ๔) คือธาตุไฟ คือความร้อน การเผาผลาญพลั งงานของร่ างกาย เมื่อ ๔ ธาตุ ม ารวมกั น ก่อ ให้ เกิด รูป ร่างหน้ าตา นิ สั ยใจคอที่ แตกต่างกันไป มนุษย์ถูกกระทาจากการเกิด การเจริญวัย การเลี้ยงดู การศึกษาเล่าเรียน สิ่งแวดล้อม เหล่านี้จะเป็นปัจจัยก่อให้เกิดลายมือที่บ่งบอกความลับต่าง ๆ ที่ซ้อนเร้นความรู้สึกภายในจิตใจความ เป็นอยู่ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้อย่างแม่นยา เกสรีกาญจน์๒๙๑ กล่าวว่า อันมนุษย์เหล่านั้น เมื่อเกิดมาลืมตาดูโลกอาจจะมีอวัยวะหลาย สิ่ ง ที่ ค ล้ า ยคลึ ง กั น หรื อ อาจจะเหมื อ นกั น ได้ เป็ น ต้ น ว่ า รู ป ร่ า งหน้ า ตา ผิ ว พรรณ กรุ๊ ป เลื อ ด หรือแม้กระทั่ง DNA แต่ไม่มีสิ่งที่เหมือนกันเลย นั่นก็คือ ลายมือ ในทางวิทยาศาสตร์จึงเอาลายมือเป็น สัญลักษณ์กากับตัวบุคคลนั้น ๆ ที่ไม่มีใครสามารถลอกเลียนแบบได้ ส่วนในทางโหราศาสตร์อีกแขนงหนึ่งได้ยึดเอา ลายมือ มาเป็นเครื่องพยากรณ์ชีวิตว่า บุ ค คลนั้ น ๆ จะมี นิ สั ย ใจคอเป็ น อย่า งไร หรือ จะประกอบหน้ าที่ ก ารงานอย่ างไรจึ งจะเหมาะสม หรือแม้กระทั่งพยากรณ์ได้กล่าวว่าบุคคลจะมีคู่ครองเป็นอย่างไร ตลอดจนใช้ลายมือพยากรณ์ได้ว่า อนาคตของบุคลนั้น ๆ จะมีชะตาชีวิตเป็นเช่นไรได้อีกด้วย ศาสตร์ดังกล่าวนี้มิได้มีในเฉพาะประเทศ ไทยเท่ านั้ น แต่ ห ากยั งมี เกื อบทั่ ว โลกเกื อบทุ ก เผ่ าพั น ธุ์ ม นุ ษ ย์ ก็ ได้ ยึ ด ถือ เอาลายมื อ มาเป็ น เครื่อ ง พยากรณ์ชีวิตเช่นเดียวกัน Fred Gettings๒๙๒ กล่ าวว่า วิช าลายมื อ เป็ น ทฤษฎี ก ารอ่ านลายมื อ เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ที่ แตกต่างของแต่ละบุคคล รูปแบบมือและลายเส้นต่าง ๆ จะสามารถบ่งบอกถึงอุปนิสัยใจคอ และวิถี ชีวิตได้ การดาเนินชีวิตของเจ้าของชะตา ถึงแม้นเจ้าชะตาจะยิ้มแย้มแจ่มใส แต่ในจิตใจอาจหมกมุ่น กับ สิ่ งต่ าง ๆ ได้ การเรี ย นรู้ และรู้ ถึงเหตุการณ์ ที่จะเกิดขึ้น เป็ นความฉลาดที่ ควรเรียนรู้และน ามา ปรับแก้และรับสถานการณ์ให้เกิดประโยชน์กับตัวเองไม่ใช่เชื่อแบบงมงาย แต่ก็เป็นการยากที่จะทาให้ คนส่วนใหญ่หรือหลาย ๆ คนเชื่อในคาทานายได้แต่อย่างไรก็ตามวิชาลายมือก็ยังถือได้ว่าเป็นวิชาที่มี การยอมรับและเชื่อถือกันจนถึงปัจจุบันในศตวรรษที่ ๑๖ วิชานี้มีความโด่งดัง มีการตั้งทฤษฎีการอ่าน ลายมื อ และการอ่ า นสั ญ ลั ก ษณ์ ที่ แ ตกต่ า งกั น บนฝ่ า มื อ ซึ่ ง ทฤษฎี นี้ ไ ม่ เ กี่ ย วกั บ เวทย์ ม นต์ หรือคาถาอาคมแต่อย่างไร หากแต่เป็นเรื่ องของวิธีทางวิชาการและมีการจดบันทึกหาความถูกต้อง และมีการทดสอบถึงทฤษฎีว่าด้วยลายมือว่ามีความสัมพันธ์ทางหลักวิทยาศาสตร์อย่างไร เมื่อเข้าใจ ๒๘๙

จรัญ พิกุล, โหรา-หัตถศาสตร์, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เฟื่องอักษร, ๒๕๐๙), หน้า ๒๒. ประจวบ แก่นจันทร์, ลายมือและกติกาของชีวิต, ม.ป.ป., ๒๕๔๓, หน้า ๑-๖. ๒๙๑ เกสรีกาญจน์ จิตรโสภี, ศาสตร์แห่งลายมือ, (กรุงเทพมหาคร: ปัญญาชน. ๒๕๕๗), หน้า ๕-๖ ๒๙๒ Fred Gettings, The Book of Palrniistry.London : The Hamlyn Publishing Group Limited. 1974 หน้า 139-140. ๒๙๐

๑๓๙ หลักวิทยาศาสตร์แล้ว ย่อมเข้าใจลายมือ เป็นเรื่องไม่ยุ่งยากอะไรในการเรียนรู้ เมื่อรู้และเข้าใจย่อม นามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการมีความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ชินแส ไป่หยุน ชานเหยิน๒๙๓ กล่าวว่า หัตถลักษณ์เป็นเข็มทิศของชีวิตด้วย มันช่วยให้เรา ไม่ถึงกับล้ มลง แม้หั ตถลักษณ์ จะแสดงถึงชีวิต ที่น่าเศร้าเพียงใด ก็ไม่จาเป็นต้องมองโลกในแง่ร้าย ขอเพียงมีจิตใจกล้าต่อสู้ กล้าเอาชนะชะตากรรม เชื่อว่าหัตถลักษณ์จะปรากฏ “หนทางแห่งชีวิต” ที่มี ความสุขให้เห็นแน่นอน หัตถลักษณ์ไม่ได้สะท้อนพรหมลิขิตที่เปลี่ยนแปลงได้ มันคือบันทึกพฤติกรรมสะสมตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบันของคนผู้หนึ่ง ดังเช่น รถไฟที่ออกจากโตกียวสู่โอซาก้า แล่นอยู่บนเส้นทางริมชายฝั่ง ทะเลตะวันออกต้องพึ่งเจ้าหน้าที่รถไฟช่วยสับรางอย่างถูกต้องตามจุดที่กาหนด รถไปขบวนนี้จึงจะ สามารถแล่นได้บนเส้นทางสายคันไซ แต่ทั้งหมดนี้จะต้องดาเนินการบนจุดที่กาหนดแน่นอน และต้องการหมายกาหนดการที่ ปลอดภัยร้อยเปอร์เซนต์ ชะตาชีวิตของทุกคนก็เช่นกัน โอกาส แผนการ และความพยายาม ทาให้ ชะตาชีวิตสามารถสับรางก้าวสู่ความสาเร็จ นักหัตถศาสตร์ที่ดีเด่น มักให้คาแนะนาช่วยเหลือผู้อื่น สร้างสรรค์ชีวิตที่มีความสุข โดยคานึงถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ด้านกาลเทศะขณะที่ดูหัตถลักษณ์ให้ผู้อื่น ศ. ดุ สิ ต ๒๙๔ กล่ าวว่า “ลายเส้ น บนฝ่ ามื อ ” ยังสามารถบอกได้ ถึ งการด าเนิ น ชี วิต ของ เจ้าของมือนั้น ไว้เว้นแม้แต่มือของคุณเอง เพียงแต่คุณอ่านมันเป็น คุณก็จะรู้ว่าเส้นทางชีวิตของคุณจะ ดาเนินไปอย่างไร จะขึ้นเขาลงห้วยแบบไหน ช่วงไหนจะดีช่วงไหนจะเสื่อม ช่วงไหนจะมีลาภ ช่วงไหน จะเสียเงิน จะจีบสาวที่เราหมายตาไว้ตอนไหนสาวเจ้าจึงจะเออออห่อหมกกับเราได้ หรือหมายตาสาว ที่ต้องใจเอาไว้อยู่แล้ว แต่พอเห็นมือหรือลายมือของเธอเข้า เราก็รู้ทันทีว่า ขืนได้เธอคนนี้มาอยู่ด้วยละ ก็ ความสุขจะต้องบิ น หนี ออกหน้ าต่างไปแน่ รู้อย่างงี้แล้วคุณ ก็จะมีเวลาที่จะฉากหลบออกมาเสี ย ก่อนที่จะหลวมตัวจีบเอาเธอเข้ามาอยู่ร่วมบ้านได้ อาการบ้านแตกก็จะไม่เกิดขึ้นกับคุณ โดยสรุป ลายมือ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยหลักของเส้นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนฝ่ามือของทุก ๆ คน ไม่ว่าจะเป็นเส้นชีวิต เส้นสมอง เส้นจิตใจ เส้นวาสนา เส้นสมรส เส้นฐานะ เส้นลางสังหรณ์ เส้นเนิน อาทิ ต ย์ แ ละเส้ น อื่ น ๆ เข้ า มาเกี่ ย วพั น กั น เป็ น เรื่ อ งราว มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั น เชิ ง บวกและเชิ ง ลบ เป็นนกติกา เป็นโค๊ด เป็นรหัสการบอกเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับวิถีชีวิตของบุคคลนั้น ๆ ได้บ่งบอกถึง พฤติกรรมสุขภาพร่างกาย จิตใจ โรคภัยไข้เจ็บ ความรุ่งโรจน์ ความหวังในชีวิต ความรัก ศัตรู ฐานะ และเครดิต อานาจและบารมี เมื่อทราบเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับเจ้าของชะตาย่อมต้องมีการป้องกัน ภัยลดการสูญเสียและให้มีความระมัดระวังเป็นพิเศษในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่จะเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ที่ดี มีการสนับสนุนและมีผลบ่งบอกถึงข้อดีต่าง ๆ ความโดดเด่นของช่วงชะตา อายุ ในทางที่เป็นมงคล ย่อมตีความหมายเป็นวงที่แคบเข้าเพื่อหาวิธีดักต้อนหรือสร้าง แนวทางให้เป็นจริงและให้เกิดขึ้นอย่าง มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

๒๙๓

ชิ น แส ไป่ ห ยุ น ชานเหยิ น , หั ต ถลั ก ษณ์ ศ าสตร์ ฉ บั บ วิ ธี ดู ล ายมื อ แบบกู รู , พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ ๒. (กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์เต๋าประยุกต์, ๒๕๕๐). หน้า ๒๓๑. ๒๙๔ ศ. ดุสิต, มือบอกชีวิต, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, (กรุงเทพมหานคร: มติชน ๒๕๔๙), หน้า ๒.

๑๔๐ ๑)ประวัติความเป็นมา (Palmistry) วิชาการอ่านแผนที่ลายมือ Palm Reading๒๙๕ เพื่อการทานายทายทัก เป็นที่ แพร่ ห ลายมาตั้ ง แต่ ดึ ก ด าบรรพ์ โดยเฉพาะชาวกรี ก โบราณ ถึ ง กั บ สลั ก ศิ ล าจารึ ก รู ป ฝ่ า มื อ เป็ น ประติมากรรม ถูกค้นคว้าออกมา ว่าวิชาการอ่านเส้นลายมือนั้นแพร่หลายมาก่อน จนมาถึงปัจจุบันมี คนนิยมชมชอบ จึงนับว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่จะศึกษาและเรียนรู้กันจริง ๆ ไม่ว่าประเทศไหนก็ตาม แม้แต่ประเทศที่เจริญ เช่น อั งกฤษ สหรัฐอเมริกา และหลาย ๆ ประเทศในยุโรป ปัจจุบันนี้ทางการ ของสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้จดทะเบียนหมอดูให้ออกไปประกอบอาชีพได้ ประเทศที่ เป็ น ต้ น ก าเนิ ด ในการอ่ านลายมื อ เพื่ อการท านายทายทั ก คื อ ประเทศกรี ก โบราณ ส่วนใหญ่ชาวยิปซีเป็นผู้เชี่ยวชาญในการทานายทายทักและแพร่ไปอิ นเดียสมัยก่อนคนเข้าใย ว่าวิชาเหล่านี้เป็นวิชาที่งมงาย แต่ถ้าเรียนรู้จริง ๆ แล้วไม่ว่าวิชาแขนงใดเมื่อคนเข้าใจและสนใจมีความ พยายามศึกษา ค้นคว้า ก็สามารถนามาเป็นอาชีพได้ ผู้ มี ชื่อ เสี ย งโด่ งดังมีค นรู้จัก ทั่ ว โลก มี น ามว่า ท่ านคานท์ ห ลุ ย แฮมอน (Count Louis Hamon) แต่ท่านเรียกตัวเองว่า ไคโร ( Cheiro) เป็นภาษากรีกโบราณ แปลว่านักวิเคราะห์ลายมือ ท่านเป็นผู้แนะนาปัญหาชีวิตบนฝ่ามือที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นปรมาจารย์ที่ได้รับการยกย่องไปทั่วโลก เป็นนักอ่านลายมือ และสามารถทานายชะตาชีวิตของผู้คนผ่านทางลูกแก้ว มีตาทิพย์ หูทิพย์ ท่านไคโร ได้บัญญัติลายมือไว้ 7 แบบ นักเขียนเรื่องแนะนาปัญหาบนฝ่ามือจากต้องใช้ ตาราของไคโรมาอ้างอิง ถือว่าเป็นผู้ที่มีศิลปะรวบรวมความคิดไว้ได้สมเหตุสมผล ท่านไคโรมีบิดามาดา เป็นชาวไอริช มารดาเป็นยิปซี เป็นปราชญ์แห่งศิลปะการอ่านแผนที่บนฝ่ามือ เพื่อการทานายทายทัก และการทานายทางลูกแก้ว ชาวยิปซีจะเลือกหัวหน้าเผ่าเป็นผู้นาของพวกเขา จะต้องมีเชื้อสายเป็นชาวยิปซีโดยแท้ แต่พวกเขายอมรับไคโรเป็นประมุข แม้จะไม่มีเชื้อสายชาวยิปซีโดยกาเนิดก็ตามแต่ไคโรปฏิเสธ ชอบที่ จะแสวงหาความอิสระในการดารงชีวิต ยึดถือวิชาชีพของตนเองตามมารดาโดยสายเลือด แต่ทว่าไคโร มีญาณวิเศษเหนือกว่ามารดา มีลางสังหรณ์ Sixthsenseหรือสัมผัสที่ ๖ และดูลุกแก้ว นอกจากนั้นยัง มีตาทิพย์ หูทิพย์Clairvoyant ท่านมีชีวิตอยู่ระหว่างต้นศตวรรษที่ ๒๐ แต่ปัจจุบันยังมีคนเอาตารา ของท่านมาเป็นต้นแบบในการทานายทายทัก และแปลออกมาเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกทั้งแต่งเติมตาม อัธยาศัย ตาราบางส่วนของท่านไคโรอาจจะเข้าใจยากสักหน่อยเพราะท่านรู้ และอ่านลายมือผสม ญาณทิพย์ ตาทิพย์ ผู้ที่เรียนการอ่านแผนที่บนฝ่ามืออย่างเดียว จึงจาเป็นต้องค้นคว้าตาราอื่น นอกจากตาราของไคโร ยังมีตาราอีกเล่มหนึ่งเป็นตาราที่มีเนื้อหาและสาระละเอียดมาก คือ William G. Benhamวิลเลี ยม จี เบลแฮม เป็นจิตแพทย์ได้รับการยกย่องจากไคโรว่าเบนแฮม เขียนตาราได้ใกล้เคียงที่สุด กล่าวคือ Benham ได้พยายามเก็บข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นการสัมผัสฝ่ามือ และสืบหาข้อเท็จจริงจากชีวิตจริงของผู้ป่วย ทั้งได้มีโอกาสอ่านลายมือบุคคลสาคัญชั้นสูงของประเทศ

๒๙๕

สมบัติ รูปประดิษฐ์, แนะนาปัญหาฝ่ามือ, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (สมุทรสาคร: โรงพิมพ์ยูไนเต็ดโปรดักชั่น ๒๕๔๙), หน้า ๑๒-๑๓.

๑๔๑ อีกท่านหนึ่ ง คือ กงต์ เซ เดอแซงต์ – แชร์แมง Comte C. de Saint-Germain. A.B., LLM ท่านผู้นี้เป็นผู้วางมาตรฐานการอ่านลายมือในยุคต่อมา ประชาชนให้การยกย่องนับถือ ถือกาเนิด ในประเทศฝรั่งเศส แต่มาเติบโตในยุคต้น ๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา ๒)ความสัมพันธ์ระหว่างหัตถะศาสตร์กับโหราศาสตร์ วิชาโหราศาสตร์บอกได้ถึงอุปนิสัยทั่ว ๆ ไป บอกถึงความโน้มเอียงในทางต่าง ๆ ตามตาดาวเคราะห์ ในจักรราศี หั ตถศาสตร์จะกาหนดให้ แคบเข้าถึงสภาพที่ถูกต้องอันมีเฉพาะตัว ดังนั้น คนที่เกิดในราศีเดียวกัน มีดาวเคราะห์ ตัวเดียวในราศีเดียวกัน ในภพหรือเรือนเดียวกัน ก็ไม่ จาเป็นจะต้องอ่านชะตาต่าง ๆ อย่างเดียวกัน ความแตกต่างที่แยกออกไปนี้จะดูได้ที่มือและลายมือ รวมทั้งหน้าตาท่าทางอีกด้วย การดูมือของคนต่าง ๆ ที่เกิดในราศีเดียวกัน นักศึกษาวิชาโหรา-หัตถศาสตร์ ต้องหมั่ น สังเกตความแตกต่างของปริมาณและคุณภาพของอุปนิสัย อารมณ์ ความสามารถ เพราะลักษณะของ มือ เส้ น หลั ก ขนาดรู ป ร่ างของเนิ น ที่ มี อิท ธิพ ล รวมทั้งส่ ว นอื่น ๆ ด้ว ย จะบอกความแตกต่ างที่ ไม่ เหมือนกันของคนที่มีราศีอันเดียวกัน๒๙๖ หั ตถะศาสตร์อาจจะบอกบางสิ่ งบางอย่างไม่เหมือนกับ ดวงชะตา เช่น ชาตาชีวิตและ อาชีพของคนทั้งหลายที่เกิดจากอิทธิพลของคนต่างชาติ เช่นต่างเมือง ต่างถิ่น การแต่งงานกับคน ต่างชาติ คบเพื่อนต่างชาติ เกิดในประเทศหนึ่งแต่ไปมีชีวิตอีกประเทศหนึ่ง สิ่งที่เกี่ยวกับต่างชาติ ต่างประเทศนี้บางกรณีก็ดูด้วยวิชาหัตถศาสตร์ได้ยากมาก เส้ นชีวิตที่มีแขนงเส้นแยกออกไปจนถึงเนิน จั น ทร์ อาจจะพบได้ ในมื อ ของคนต่ างชาติ ซึ่ งมาถื อ กาเนิ ด ในเมื อ งไทย แล้ ว กลั บ ออกไปหากิน ใน บ้านเมืองของตัวในภายหลังแต่ก็ไม่แน่เสมอไป เพราะมีลุกจีนบางคนที่เกิดในเมืองไทยและกลับไปหา กินในเมืองจีน ก็ไม่จาเป็นต้องมีเส้นชีวิตทานองนี้ ในทางโหราศาสตร์จะช่วยได้มากในการอ่านชีวิต เกี่ยวกับต่างชาติต่างประเทศ เช่น ราศีธนู เป็นราศีที่บอกเรื่องราวเกี่ยวกับภาษา ต่างชาติ ต่างประเทศ การเดิน ทางไกลหรือส่ ว นที่ ๙ เรีย กว่าภพที่ ๙ ของดวงชาตาก็บอกถึงเรื่องเหล่ านี้ ดังนั้น หากได้ แนวทางในเรื่องของโหราศาสตร์ม าประกอบดูกับลายมือแล้ว ก็จะมีประโยชน์อีกมาก ดีกว่าที่จะดูแต่ มือหรือดูแต่ดวงชาตาอย่างเดียว เรื่องสาคัญอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งหัตถะศาสตร์บอกได้ยาก คือชาตาชีวิตของคนที่มีวิถีชีวิตไม่อยู่ นิ่ ง เปลี่ ย นแปลงขึ้ น ๆ ลง ๆ ไม่ ช อบท างานจ าเจ อยู่ ไม่ เป็ น ที่ มี สิ่ ง กระตุ้ น อยู่ ภ ายในใจเสมอ โหราศาสตร์บอกแบบคนทานองนี้ได้ดี แต่หัตถะศาสตร์บอกยากหรือไม่ได้เลย เพราะลายมือของคน ดังกล่าวนี้ จะเห็น การเปลี่ยนแปลงของเส้นเสมอ มีการเปลี่ยนแปลงมากมายในวันเสาร์ (เส้นโชควาสนา) และเส้นอื่น ๆ ดูคราวหนึ่งอาจจะทายไปอย่างหนึ่ง พอมาดูอีกคราวหนึ่งก็เปลี่ยนไปอีกแล้ว ไม่ ค งที่ ในทางโหรา ๒๙๗ศาสตร์ บ อกได้ ง่า ยจากดาวเคราะห์ ม าก ๆ หรื อ ดาวส าคั ญ ที่ อ ยู่ ใ นราศี เปลี่ยนแปลง(ราศีเมถุน-กันย์-ธนู-มีน) และในภพที่ ๓-๒-๙-๑๒ หรือที่เรียกว่า ภพชั้นสาม ธรรมชาติของคนเรามักจะทะนงตน หลอกลวงตนเอง กลั ว ความวิกฤติต่าง ๆ ดังนั้ น แต่ละคนจึงไม่ยอมรับจุดอ่อนหรือความผิดของตน คนที่มีใจเข้ากับหัตถศาสตร์ ก็ว่าลายมือเป็นของแน่ ๒๙๖ ๒๙๗

จรัญ พิกุล, โหรา-หัตถศาสตร์, (กรุงเทพมหาคร: โรงพิมพ์เฟื่องอักษร ๒๕๐๙), หน้า ๒๘-๒๙. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๙-๓๐.

๑๔๒ กว่าดวงชาตา คนที่มีหัวใจในทางโหราศาสตร์ ก็มักจะว่าดูดวงชะตาดีกว่าลายมือ แต่ถ้ามีหัวทั้งในทาง ดูลายมือและทางดวงดาวก็จะอยู่ในฐานะที่ดีกว่า ในบทนี้จึงขอสนับสนุนให้ท่านศึกษาทั้ งสองทางและ นาประกอบร่วมกัน โดยคิดเสียว่าวิถีชีวิตของคนเราอ่านได้สองทางเหมือนหลักบวกและหลักลบของ ขั้วโลกเหนือกับขั้วโลกใต้ หลักของชีวิตก็ทานองเดียวกัน๒๙๘ ๓)การอ่านลายมือ การอ่านแผนที่ชีวิตบนฝ่ามือ จาเป็นต้องรู้จักเส้นหลัก ๔ เส้นหลัก คือ เส้นชีวิตที่ เรียกว่า เส้นการดารงชีวิต เส้นสมอง เส้นใจ และเส้นวาสนา ทั้ง ๔ เส้นนี้จะบ่งบอกให้ทราบถึงการ ดารงชีวิต อีกทั้งเป็ น ฐานของการเคลื่ อนไหวของนิ้ว หั วแม่มือ นิ้ว ชี้ นิ้วนาง นิ้วกลาง และนิ้ว ก้อย ให้เกิดความคล่องตัวและสัมผัส อาการของการเคลื่อนไหวเหล่านี้เกิดขึ้นตั้งแต่ เริ่มจุติเป็นทารกอยู่ใน ครรภ์มารดา ซึ่งเป็นแผนที่กาหนดประจาชีวิตของแต่ละคน จนถึงวันแรกเกิดจากท้องมารดา แผนที่ บนฝ่ามือนี้มีควบคู่กับการดารงชีวิตบนผืนโลกจนถึงวาระสุดท้ายที่ต้องจากโลกไป เป็นการสิ้นสุดใน การดารงชีวิตของแต่ละคน แผนที่หรือเส้นปรากฏเป็นฐานรองรับเพื่อการเคลื่อนไหว จะมีลักษณะเล็ก ใหญ่ สั้น ยาว จะไม่ เหมื อ นกั น ในแต่ ล ะคน แม้ แ ต่ แ ฝดจากพั น ธุ ก รรมเดี ย วกั น ยั งมี แ ผนที่ บ นฝ่ า มื อ ไม่ ใคร่ จ ะ เหมือนกัน ร่องผิวหนังบริเวณปลายนิ้วทุกนิ้วของแฝดที่มีลักษณะเป็นก้นหอยหรือมัดหวาย แม้แต่ ลายเส้น ของแผนที่ชีวิตบนฝ่ามือเพียงคล้ ายคลึงใกล้ เคียงกันเท่านั้น พี่น้องของครอบครัวที่พ่อแม่ เดียวกัน จากพันธุกรรมเดียวกัน ก็จะมีแผนที่บนฝ่ามือไม่เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้ นักพยากรณ์จึงยึดการ ทานายชะตาชีวิตว่าเป็นศาสตร์ที่เรียนรู้เกี่ยวกับแผนที่บนฝ่ามือที่เรียกว่า Palmistry และได้สร้างเป็น ทฤษฎีเพื่อความเหมาะสมและการพยากรณ์ให้เข้ากับสถานการณ์แต่ละยุคสมัย วิธีการทานายโดยพิ จ ารณาหรือตรวจสอบชะตาจากแผนที่ชี วิตบนฝ่ ามือของผู้ รู้ส มั ย โบราณ จึงไม่ใช่เป็นของแปลก หากแต่ได้ถูกทอดทิ้งเป็นเวลายาวนาน และวิชานี้ก็ ๆ ไม่ใช่วิชาหลักที่ จะนามาเปรียบเทียบ แข่งขันกับศิลปกรรมยิ่ งใหญ่มหัศจรรย์ หรือปราสาทราชมณเฑียร หรือป้อม ปราการตามสถานที่ต่าง ๆ การอ่านแผนที่เพื่อทานายชีวิตบนฝ่ามือ คือแนวทางชี้แนะเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ที่ พยายามจะฝ่ าฟัน และเอาชนะสิ่งแวดล้อมจากธรรมชาติ และผลักดันสังคมให้ มีโอกาสขยายกว้าง ออกไปเช่น จากสังคมเล็กของครอบครัวไปเป็นชุมชน โดยมีเผ่าพันธุ์ค่อย ๆ ทวีจานวนประชากรมาก ยิ่งขึ้น ทั้งนี้มนุษย์ได้พยายามแสวงหาลู่ทางในการดารงชีวิตเพื่อเอาชนะสิ่งที่ตนได้กระทา ให้ได้มาซึ่ง สิ่งที่เหนือกว่าผู้อื่นและเพื่อแสวงหาจุดยืนให้ถูกทาง นอกจากเพื่อสร้างความเกรงขามให้ปรากฏบน ความมหัศจรรย์๒๙๙

๒๙๘

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๑. สมบั ติ รู ป ประดิ ษ ฐ์ , แนะน าปั ญ หาฝ่ า มื อ , พิ ม พ์ ค รั้ งที่ ๒, (สมุ ท รสาคร: โรงพิ ม พ์ ยู ไนเต็ ด โปรดักชั่น, ๒๕๔๙), หน้า ๑๘-๑๙. ๒๙๙

๑๔๓ ๔)พื้นฐานในการดูหัตถะลักษณ์๓๐๐ (๑)ลักษณะลายมือ การแบ่งมือเป็น ๗ ลักษณะ ในคัมภีร์นรลักษณ์ศาสตร์ จานวนมากของจีนโบราณเอง มีบั นทึกเกี่ยวกับลักษณะมือไม่น้อย ซึ่งส่วนใหญ่แบ่งมือออกเป็น ๕ ลักษณะ ได้แก่ มือธาตุทอง มือธาตุไฟ มือธาตุดิน มือธาตุน้า และมือธาตุไม้ วิธีแบ่งลักษณะมือนี้ ได้รับ อิทธิพลจากทฤษฎีเบญจธาตุ รากฐานของปรัชญาจีนอย่างลึกซึ้งภูมิหลังการก่อเกิดวิชาหัตถลักษณ์ แบบญี่ ปุ่ น คื อ ทฤษฎี เบญจธาตุ เช่น กั น แล้ ว ภู มิ ห ลั งการก่ อ นเกิ ด วิช าหั ต ถลั ก ษณ์ แบบตะวัน ตก คืออะไร? เราพอจะอนุ มานได้ว่า คือ วิช าดูโชคชะตาจากดวงดาว หมายความว่า ถือดาว ๗ ดวง ที่มองเห็ น ด้ว ยตาเปล่ า ซึ่งได้แก่ พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวอังคาร ดาวพุธ ดาวพฤหั ส ดาวศุกร์ และดาวเสาร์ เป็ น รากฐาน บวกกั บ เทพนิ ย ายจานวนหนึ่ งที่ ฟั งดู ลี้ ลั บ ก่ อตั ว ขึ้น เป็ น หนึ่ งในระบบ โหราศาสตร์ ทัศนคติของชาวยุ โรปอเมริกาที่ มีต่อเลข “๗” คล้ายคลึ งกับทัศนคติของญี่ ปุ่นที่มีต่อ เบญจธาตุ คือ เห็นว่าเกี่ยวพันกับทุกปัญหา กิโร (Giro) นักหัตถลักษณ์ศาสตร์ทางอังกฤษ เคยแสดงความเห็นไว้ดังนี้ ปรากฏการณ์ ทางฟิสิกส์ และการเคลื่อนไหวทางจิต ล้วนมีองค์ประกอบ ๗ ประเภท นี่เป็นเรื่องเหลือเชื่อโดยแท้ ดังเช่ น ร่ างกายของคนเราเปลี่ ย นแปลงอย่ างขั ดเจนทุ ก ๗ ปี ต่อ ครั้ง ทารกในครรภ์ ถึ งเดือ นที่ ๗ จึงแสดงเพศชัดเจน๓๐๑ นอกจากนี้มนุษย์ว่าจะได้ความรู้เช่นทุกวันนี้ ผ่านมา ๗ ยุคสมัย มนุษย์ใน โลกนี้ก็แบ่งเป็น ๗ เผ่าพันธุ์ใหญ่ อื่น ๆ ได้แก่ สิ่งมหัศจรรย์ที่ยิ่งใหญ่ ๗ แห่งของโลก ดาว ๗ ดวง และ หอบวงสรวง ๗ แห่ง หนึ่งสัปดาห์มี ๗ วัน แม่สี ๗ สี หินโลหะ ๗ ชนิด คนมี ๗ อารมณ์ ใบหน้ามี ๗ ทวาร ชีวิตพื้นฐานมีของ ๗ อย่าง ตลอดจนโลกมีทวีปใหญ่ ๗ แห่ง ฯลฯ ในเมื่อดาร์บั น ตินี่ เป็ น ชาวฝรั่งเศส จึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่เขาแบ่งมือเป็น ๗ ลั กษณะ ก่อนเมื่อแบ่งมือเป็น ๗ ลักษณะ เขาอาจคานึงถึงปัญหาบางประการดังต่อไปนี้ ตัวอย่างเช่น มือเกิดขึ้น ได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น มือเกิดขึ้นได้อย่างไร ฝ่ามือกับนิ้วมือเกี่ยวพันกันอย่างไร ฯลฯ ผมขอแนะนาวิธี วินิจฉัยตามขั้นตอนดังนี้ สิ่งที่ต้องดูอันดับแรกคือ เมื่ อเทียบมือกับรูปร่างแล้ว จัดเป็นสัดส่วนที่สมดุล หรือไม่ อันดับต่อมาคือ ลักษณะมือและความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ามือกับนิ้วมือ มีอยู่ข้อหนึ่งไม่ควรลืม คือ ปั ญ หาข้างต้น ล้ วนเกี่ย วพัน กัน ควรวินิ จฉัยโดยไม่ พิจารณาลั กษณะหนึ่ งใดโดด ๆ แต่ควรมอง ลักษณะโดยรวม จึงจะสอดคล้องกับความจริง๓๐๒ บัญญัติไคโร ๗ แบบ๓๐๓

๓๐๐

ชินแส ไป่หยุน ชานเหยิน, หัตถลักษณ์ศาสตร์ฉบับวิธีดูลายมือแบบกูรู, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์เต๋าประยุกต์, ๒๕๕๐), หน้า ๑๒. ๓๐๑ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๐. ๓๐๒ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๑. ๓๐๓ สมบัติ รูปประดิษฐ์, แนะนาปัญหาฝ่ามือ, หน้า ๒๑.

๑๔๔ ภาพที่ ๒.๕ แสดงการแบ่งมือออกเป็น ๗ ลักษณะ

แบบที่ ๑ มือพื้นฐาน Elementary Hand แบบที่ ๒ มือทาประโยชน์ Useful Hand แบบที่ ๓ มือใบพาย Spaturate Hand แบบที่ ๔ มือศิลป์ Artistic Hand แบบที่ ๕ มือนักปราชญ์ Philosophic Hand แบบที่ ๖ มือนักวางแผน Idialistic Hand แบบที่ ๗ มือผสม Mixup Hand แบบที่ ๑ มือพื้นฐาน (Elementary Hand) เป็ น ลั กษณะมือเล็ กบอบบาง นิ้วเล็ ก เล็ บยาว แสดงถึงทาอาชีพใด ๆ ไม่ค่อยต่อเนื่อง มักจะมองหาความสุข ความสบาย ใช้ชีวิตง่าย ๆ มากกว่าที่จะแสวงหาอาชีพให้เป็นหลักแหล่งเกทอบ จะไม่ มี ข้ อ นิ้ ว ที่ โคนนิ้ ว ทุ ก นิ้ ว จะยาว แต่ ที่ ป ลายนิ้ ว กลั บ จะสั้ น แสดงถึงการประกอบอาชี พ ใด ๆ ไม่ถาวร ความกระตือรือร้นต่อการงานและอาชีพเกือบไม่มี แบบที่ ๒ มือทาประโยชน์ (Useful Hand) มือทาประโยชน์ เป็นฝ่ามือที่ค่อนข้างใหญ่ โคนนิ้วใหญ่ ปลายนิ้วจะเรียวเล็กน้อยหรือ เท่ากัน หรือพบว่ามีเส้นอยู่ ๔ เส้น คือเส้นการดารงชีวิต เส้นสมอง เส้นใจ และเส้นวาสนา เส้นอื่น ๆ จะขึ้นเรียงรายสม่าเสมอและเป็นระเบียบไม่หนาทึบ อุปนิสัยของคนพวกนี้มีความเคร่งครัดต่อระเบียบแบบแผน ยึดมั่นต่อสถาบันและผู้นาเป็น ผู้รักงานรักเกียรติรักษาคามั่นสัญญา ไม่ทอดทิ้งการงาน เขาจะมุมานะปฏิบัติจนประสบความสาเร็จไม่ ว่างานนั้นจะยากง่ายแค่ไหน จึงเป็นแบบอย่างของมือคนทาประโยชน์ แบบที่ ๓ มือใบพาย (Spaturate Hand) ลักษณะปลายนิ้วเหมือนพายขนมเปียกปูน หรือไม้พายเรือ คือ นิ้วทุกนิ้วจะบานออก โดย นิสัยมักมีความเด็ดเดี่ยว ไม่ยอมใครง่าย ๆ ถือว่าตนเองทามาได้ดีตลอดและไม่เคยผิดพลาด ถ้าถูก ตาหนิมักจะตัดสินอย่างรวดเร็ว นั่นคือลาออกทันที ทั้งนี้ไม่หมายความว่าใจน้อย แต่เป็นความเด็ด เดี่ยวและมั่นใจของเขา และก็ไม่ได้มองผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับงานที่เขากาลังทายังไม่แล้วเสร็จ เขาผละ ไปทันที๓๐๔

๓๐๔

สมบัติ รูปประดิษฐ์, แนะนาปัญหาฝ่ามือ, หน้า ๒๔-๒๕.

๑๔๕ แบบที่ ๔ มือศิลป์ (Artistic Hand) มือศิลป์เป็นมือที่ชอบการเริ่มต้น แต่ไม่ชอบให้เสร็จ เบื่อง่าย ใจเร็ว ชอบทดลอง มือศิลป์ ไม่ใช่เป็นนักศิลปิน นักดนตรี หรือแม้แต่ช่างวาดเขียน แต่แท้จริงเข้าใจผิด เป็นเพียงมีความคิ ดและ อารมณ์ความรู้สึกเท่านั้น ชอบความสนุกสนานและใช้เงินเปลือง หรือเปลืองตัว มีศิลปะการพูดที่ดี หัวสมองไวแต่ทาไปชั่วขณะก็เกิดความเบื่อ ชอบปรับตัวเองเข้ากับสังคม แต่อย่าหวังอะไรแน่นอนจาก ตัวเขา แบบที่ ๕ มือนักปราชญ์ (Philosophic Hand) เป็ น มือที่นิ้ วมือยาว ข้อนิ้วโต และลานิ้วคอด คล้ายมือผสม นักปราชญ์ มีลั กษณะเป็น นักบุญ เขามีความเสียสละต่อส่วนรวม เช่น การสร้างสถานที่ศึกษาให้คนยากคนจนตามแนวความคิด ของเขา เขาจะเป็ น นั ก การสอนศาสนาได้ ดี เป็ น นั ก เทศน์ ที่ มี ค นเลื่ อมใส นั ก ประพั น ธ์และนั ก กวี มองโลกในแง่ของการสร้างสรรค์ ชอบอ่านหนังสือ ชอบความเป็นระเบียบเรียบร้อย การแต่งตัวภูมิ ฐาน ทั้งชอบคนมีระเบียบและรักษาความเที่ยงตรง แบบที่ ๖ มือนักวางแผน (Idialistic Hand) เป็นลักษณะมือคิดฝัน ฝ่ามือบาง นิ้วยาวโปร่งหนังจะติดข้อ มองดูข้อนิ้วจะใหญ่เล็กน้อย มีทั้งเล็บกว้าง เล็บกลม เล็บยาวไม่ค่อยได้ทามาก เล็บกลมมักจะจะอับโชคหน่อย ได้แต่คิดแต่ทาไม่ได้ เหมื อนคนอื่น มั กจะมองตนเองเหมือนคนโชคร้าย แต่ ต้องทะนงตัวเองไว้ก่ อน เพื่ อรัก ษาดุล ของ สัญชาตญาณไว้เพื่อไม่ให้ใครเห็นความบกพร่องของตนเอง๓๐๕ แบบที่ ๗ มือผสม (Mixup Hand) ฝ่ามือผสมมักจะมีความรอบรู้หลายอย่าง เพื่อสร้างบรรยากาศให้เข้ากับสังคมได้หลาย รูปแบบฝ่ามือผสมเขาจะดัดแปลงธรรมชาติภายในตัวของเขาให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี เช่น การช่าง การเงิน การบริหาร การออกแบบ การแสดง การตลาด การท่องเที่ยว เขาจะพูดจะทาเหมือน รอบรู้ ในอาชีพการทางานนั้น ๆ ได้อย่างดี ทั้งยังสามารถวางตัวเข้ากับคนชนบทได้ ในขณะเดียวกันเขาก็ กลับตัวเข้ากับเมืองหลวงได้ดี อีกด้วย โดยทิ้งร่องรอยของคนชนบทได้หมดสิ้น เขาจึงเป็นนักแสดง นักร้อง นักการเมือง ผู้ผลิตสินค้า ผู้แทนการจาหน่าย ด้วยการเอาจริงเอาจัง มองดูว่ากิจการงานเขา มหาศาล แต่นั่นก็เพียงชั่วระยะหนึ่ง เท่ากับลูกโป่งลอยอยู่บนอากาศเมื่อแก๊สบรรจุหมดแล้วมีอยู่ทาง เดียวคือตกลงมา นิ้วมือผสมเขาจะรวมไว้ทุกแบบ ตามลักษณะ ๗ แบบ ดังที่ได้กล่าวไว้ตั้งแต่ต้นจะสังเกต ได้จากรูปนิ้วทุกนิ้ว นิ้วชี้จะใหญ่นิ้วกลางจะเป็นรูปพาย นิ้วนางจะยาว คดงอในขณะเดียวกันนิ้วก้อยจะ สั้นมาก หรือจะสลับอย่างอื่นก็ได้ เล็บ ทุกเล็บจะไม่เหมือนกันตามรูปของนิ้ว เช่น เล็บสั้นยาว สามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยมเป็น ต้น การทาความเข้าใจกับเล็บ มีส่วนที่บอกถึงลักษณะอุปนิสัยได้หลายอย่าง เช่น อารมณ์ โรคร้าย การงาน ความใจร้อน ความใจเย็น ความสุขและความทุ กข์ ฉะนั้น เล็บทุกแบบจะปรากฏบนฝ่ามือ ผสมได้

๓๐๕

สมบัติ รูปประดิษฐ์, แนะนาปัญหาฝ่ามือ, หน้า ๒๖-๒๘.

๑๔๖ ฝ่ามือผสม มักจะไม่มีสิ่งใดชี้ชวนให้เกิดความสนใจได้นาน แม้จะทากิจการงานชนิดใดก็ ตาม มือมองดูผิวเผินเหมือนเขามีความจริงจัง แต่แล้วเขาก็ทาไปไม่ตลอด เพราะขาดคุณภาพและฝีมือ นั่นเอง๓๐๖ ความแตกต่างระหว่างมือขวาและมือซ้าย หลักใหญ่ซึ่งใช้ในการดูลายมือมีว่า “ซ้าย” เป็นมือกาเนิดมา และ “ขวา” เป็นมือที่ทา หรือมือที่มีชีวิตต่อไปข้างหน้าที่จะผจญโชค ผู้ปฏิบัติส่วนมาก หรือว่านักพยากรณ์ส่วนมากควรจะ พยายามอ่านทั้งซ้ายและขวาให้มีความสัมพันธ์กันแล้วค่อย ๆ ทานายออกไป ถ้าหากว่าทั้งสองมือต่างกันบ้างเล็กน้อย ข้อสาคัญที่สุดก็ควรสังเกต ดูเส้นสมองเป็นหลัก ใหญ่ เช่ น “บนมื อ ซ้ ายเส้ น สมองปลายโค้ ง ลงไปฐานจั น ทร์ แสดงว่ า ใฝ่ ฝั น สร้ างวิ ม านในอากาศ สติปัญญาเลื่อนลอย” แต่มือขวาเส้นสมองตรงอย่างสมบูรณ์ไม่โค้งลงหาฐานจันทร์แล้วไซร้ แสดงว่าสติปัญญา ทางช่างหรือตามหลักวิชาทางศิลปอันมีประโยชน์และนาวิชาหรือศิลปนั้นให้เป็นเงินทอง มือขวา เป็นมือแน่นอนเจริญวิวัฒนาการในสิ่งที่ตนกรทาขึ้น มือซ้าย เป็นมือส่วนประกอบ และเป็นสิ่งแวดล้อมที่จะเป็นไปนั้นที่ทางมือขวากระทาอยู่ ในเรื่องทางสุขภาพเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นการเปรียบเทียบทั้งสองมือก็สาคัญอย่างมากมาย เช่น ตัวอย่างว่าเส้นชีวิตเป็นเส้นที่ไม่ดี, ขาด, พร่าทางมือซ้ายแต่ทางมือขวาชัดหนักเป็นเส้นกระจ่างดียาวก็ แสดงว่า เมื่อเยาว์วัยนั้นสุขภาพไม่ค่อยสู้ดีนักมักขี้โรค มักเจ็บไข้ได้ป่วยเสมอมา ตอนอายุมากก็หาย และมีร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัยมาเบียดเบียนอีก ดังนี้เป็นต้น๓๐๗ (๒)เส้นลายมือ เส้นลายมือซึ่งประกอบด้วยเส้นหลัก ๔ เส้น ได้แก่ เส้นชีวิต เส้นสมอง เส้นหัวใจ และเส้น วาสนา เส้นนอกเหนือจากนี้ถือเป็นเส้นรอง เส้น ชีวิตเป็ น เส้ น สาคัญ ที่สุดในแง่ชีวิตมนุษย์ตาแหน่งของเส้นชีวิตเริ่มจากใต้เนินดาว พฤหัส โค้งลงล้อมเนินทั้งหมดใต้โคนนิ้วโป้งไว้ เส้นชีวิตสะท้อนพลังชีวิตและสุขภาพเป็นหลัก แต่ก็เกี่ยวพันถึงความยืนยาวของชีวิตด้วย ชะตากรรมและการเปลี่ยนแปลงทั้งปวงที่เกี่ยวพันถึงสุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ ความโชคร้านและชีวิต ล้ ว นสะท้ อ นออกบนเส้ น ชี วิ ต และรอบบริ เวณเส้ น เพราะฉะนั้ น ชี วิ ต ทางวั ต ถุ ส มบู ร ณ์ ห รื อ ไม่ ล้วนขึ้นกับเส้นชีวิต๓๐๘ เส้นชีวิตที่ดี คือ เส้นที่ลึกและเรียบ ไม่ใช่เส้นที่กว้างใหญ่แต่ตื้นเขิน และที่ตัวเส้นนั้นจะมีสี ที่ดีด้วย “สี” ที่ว่านี้ก็คือ ในความลึกของเส้นนั้นจะมีสีเลือดที่เติมอาบอยู่ข้างใน มองเห็นเป็นสีชมพู ทีเดียว เส้นที่มองดูเห็นซีดขาวนั้นแสดงถึงชีวิตที่มีปัญหา อาจจะด้วยเรื่องป่วยไข้ หรือปัญหาเรื่องอื่นก็ ได้๓๐๙ ๓๐๖

สมบัติ รูปประดิษฐ์, แนะนาปัญหาฝ่ามือ, หน้า ๒๙. จ.บุนนาค, ตาราดูลายมือของไคโร, (กรุงเทพมหานคร: นวชาตการพิมพ์ ๒๕๑๑), หน้า ๒-๓. ๓๐๘ ชินแส ไป่หยุน ชานเหยิน, หัตถลักษณ์ศาสตร์ฉบับวิธีดูลายมือแบบกู, หน้า ๑๐๑. ๓๐๙ ศ. ดุสิต, มือบอกชีวิต, พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, (กรุงเทพมหานคร: มติชน, ๒๕๔๙), หน้า ๓๑. ๓๐๗

๑๔๗ เส้น สมอง แสดงถึงความคิดของเจ้าของมือว่ามีคุณภาพอย่างไร เส้นสมองจะแสดงถึง สติปัญญาของเจ้าของมือด้วย และเส้นสมองจะเป็นที่รองรับสิ่งต่าง ๆ ที่จะแล่นเข้าสู่ด้วย เช่นมีเส้นที่ แสดงถึงความทุกข์พุ่ งเข้ามาชนหรือตัดผ่ าน ก็แปลว่าขณะนั้น สมองได้รับ ความกระทบกระเทื อน คุณกาลังคิดหนัก หรือมีความกังวลสูง อะไรอย่างนั้น๓๑๐ เส้นสมองมีจุดเริ่มอยู่ที่ระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ ซึ่งก็คือระหว่างเนินดาวพฤหัสกับเนินดาว ศุกร์ ขวางผ่านหว่างกลางฝ่ามือ สิ้นสุดที่ใกล้เนินดาวอังคารกับเนินจันทร์ เส้นสมองมีจุดเริ่มอยู่ที่เนิน ใต้ดาวพฤหัส นักหัตถะลักษณ์ศาสตร์บางคน จึงเรียกเส้นสมองว่าเส้นดาวพฤหัส เส้นสมองคือการ ประสานระหว่าง “จิตใจบงการ” ของดาวพฤหัสกับ “จิตใจแห่งความรัก” ของดาวศุกร์ พูดในแง่หนึ่ง ผลึกแห่งดาวพฤหัสกับดาวศุกร์คือเส้นสมอง ถ้าใช้เส้นสมองแทนประสาทส่วนกลาง หัวเส้นสมองก็คือส่วนศีรษะ และส่วนอื่น ๆ ก็คือ ปลายประสาทที่ ก ระจายออกไปยั งส่ ว นต่ า ง ๆ ของร่ า งกาย ส่ ว นปลายของเส้ น สมองแสดงถึ ง ความสัมพันธ์กับพลังงานแห่งจักรวาล ซึ่งบางครั้งได้พลังงานจากดาวอังคารมากกว่า บางครั้งได้รับ พลังงานจากดวงจันทร์มากกว่า ส่ว นใหญ่ ที่ สุ ดของเส้ น สมองจะอยู่บนที่ ราบดาวอังคาร สะท้ องความสั มพั นธ์ระหว่าง ความคิดกับชีวิตประจาวัน คนที่มีเส้นสมองตรง จะมีความสามรถพิเศษด้านคณิตศาสตร์หรือฟิสิกส์ ส่วนคนทีมีเส้นสมองโค้งจะมีความสามารถดีเด่นด้านวรรณกรรม ภาษา ศิลปะ๓๑๑ เส้นหัวใจ เส้นหัวใจคือเส้นที่ขึ้นขวางฝ่ามือเส้นบน และมีต้นเส้นขึ้นริมฝ่ามือด้านนิ้วก้อย ทอดขวางไปหานิ้ วชี้ห รือเนิ น พฤหัส ฯ ปลายเส้ นจะสั้ นหรือยาว หรือจะชี้ไปที่ตรงไหนก็ได้ไม่จากัด แต่ความหมายจะไม่เหมือนกัน บางคนเส้นหัวใจจะยาวถึงโคนนิ้วชี้ บางคนก็ยาวไปถึงริมนนิ้วชี้เท่านั้น และบางคนสั้นแค่ใต้เนินเสาร์ (นิ้วกลาง) แค่นั้นก็มี ไอ้ที่น่าแปลกกว่าเพื่อนก็คือ บางคนไม่มีเส้นหัวใจ อยู่ในมือก็มีด้วยเหมือนกัน เส้นหัวใจนี้มีความหมายที่ลึกซึ้งมาก เพราะชื่อมันก็บอกแล้วว่าหัวใจก็ทั้งร่างมนุษย์ เรา นี่น่ะ อะไรมันจะสาคัญเท่ากับหัวใจล่ะจริงไหมล่ะครับ ขาดหัวใจหรือหัวใจล้มเหลวเสียหน่อยเราก็ หม่องเท่งกันแล้ว เพราะเหตุนี้แหละเส้นหัวใจจึงมีความหมายถึงชีวิต หมายถึงจิตใจของเจ้าตัว หมายถึง ความรัก หมายถึงสิ่งที่ปรารถนา หมายถึงความหวัง หมายถึง โอ๊ยจิปาถะครับ แต่ตอนนี้เรารู้ไว้แค่นี้ ก่อนก็พอแล้ว เดี๋ยวจะสับสนกับซะเปล่า ๆ ๓๑๒ เส้นวาสนา๓๑๓ เป็นเส้นสาคัญที่สุดรองจากสามเส้นหลัก โดยมากเริ่มที่โคนฝ่ามือตรงขึ้น ไปที่เนินดาวเสาร์ แต่อันที่จริงนั้นจุดเริ่มไม่ค่อยแน่นอน บ้างเริ่มที่ข้อมือ บ้างเริ่มที่ราบเนินดาวเสาร์ บ้างเริ่มที่เนินจันทร์ บ้างเริ่มที่เนินดาวศุกร์ นอกจากนี้ เริ่มที่เส้นสมอง เส้นอารมณ์ หรือเส้นชีวิตก็มี

๓๑๐

ศ. ดุสิต, มือบอกชีวิต, หน้า ๓๕. ชินแส ไป่หยุน ชานเหยิน, หัตถลักษณ์ศาสตร์ฉบับวิธีดูลายมือแบบกูรู, หน้า ๑๕๐-๑๕๑. ๓๑๒ ศ. ดุสิต, มือบอกชีวิต, หน้า ๓๙. ๓๑๓ ชินแส ไป่หยุน ชานเหยิน, หัตถลักษณ์ศาสตร์ฉบับวิธีดูลายมือแบบกูรู, หน้า ๑๗๘. ๓๑๑

๑๔๘ เหล่านี้ล้วนสะท้อนชะตาชีวิตของคนเรา อย่างไรก็ตาม นักหัตถลักษณ์ในอดีตส่วนใหญ่ เห็นว่า เส้นวาสนาสมบูรณ์สวยงามเท่าใดจะมีชะตาชีวิตดีเท่านั้น แต่ผมไม่ค่อยเห็นด้วย ความหมายของเส้นต่าง ๆ โดยสังเขป หมายเลข ๑ เส้น ชีวิ ต แสดงให้ รู้ถึงการด ารงชีวิต ของเจ้าของมื อว่าจะสุ ขสบายหรือ ลาบาก มีโรคภัยหรือต้องโยกย้าย เป็นชีวิตที่ดีในระดับใด หมายเลข ๒ เส้นสมอง แสดงถึงความคิดและสติปัญญา คิดสั้นหรือคิดยาว รอบคอบ หรือวู่วาม มีจินตนาการที่ดีหรือไม่ หมายเลข ๓ เส้นหัวใจ มีความหมายถึงสภาพจิตใจและความรัก พื้นฐานของอารมณ์ หมายเลข ๔ เส้นวาสนา แสดงแนวทางการดาเนินชีวิตว่าจะราบรื่นหรือประสบอุปสรรค อย่างใด เมื่อใด มีความหมายถึงการดาเนินชีวิตทั้งหมด หมายเลข ๕ เส้นอาทิตย์ หมายถึงเกียรติยศชื่อเสียงและการเงิน หมายเลข ๖ เส้นเรื่องคู่ แสดงภาวะในชีวิตคู่ครองของเจ้าของมือ๓๑๔ หมายเลข ๗ เส้นเกียรติยศ หมายถึงความผูกพันในเกียรติ สิ่งที่มีเกียรติ หมายเลข ๘ เส้นอารมณ์ เส้นพฤหัสฯ ก็เรียก หมายถึง อารมณ์และความทะเยอทะยาน อานาจ การปกครอง หมายเลข ๙ เส้ น กามารมณ์ แสดงความอยากมีอยากเป็ น (ตัณ หา) ของเจ้าของมื อ และพื้นฐานกามารมณ์ หมายเลข ๑๐,๑๑ เส้นผู้ใหญ่, เส้นผู้น้อย หมายถึง ผู้ใหญ่หรือผู้ด้อยกว่าเจ้าของมือ เช่น ญาติผู้ใหญ่หรือผู้บังคับบัญชา หมายเลข ๑๒ เส้นโรค แสดงโรคภัยไข้เจ็บหรือสภาวะเศรษฐกิจของเจ้ามือ หมายเลข ๑๓ เส้นศัตรู แสดงถึงการกีดกั้นขัดขวางต่าง ๆ หมายเลข ๑๔ เส้นอุปถัมภ์หมายถึงผู้ช่วยเหลืออุปถัมภ์ค้าจุน การได้รับความช่วยเหลือ ด้านต่าง ๆ หมายเลข ๑๕ เส้น วิ่งเต้ น แสดงถึ งการวิ่งเต้น ติด ต่อ ในกิจ ต่าง ๆ ถ้ าอยู่ ใต้ เส้ น หั ว ใจ หมายถึง มรดก หมายเลข ๑๖ เส้นเดินทาง การเดินทางเคหสถานชนิดต้องแรมคืน หมายเลข ๑๗ เส้นรุ่งเรือง แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของเจ้าของมือ หมายเลข ๑๘ เส้ น เครีย ด แสดงภาวะเครีย ดของเจ้ าของมื อที่ ได้รับ จากเรื่องต่าง ๆ (แล้วแต่เส้นสัมพันธ์) หมายเลข ๑๙ เส้นคู่ หมายถึง เพศตรงข้าม ช่วงเวลาที่จะได้พบ ผลของความลัพธ์ หมายเลข ๒๐ เส้นคุ้มกัน หมายถึง ผู้ให้ความปกป้องคุ้มครอง ความคุ้มครองต่าง ๆ๓๑๕ หมายเลข ๒๑ เส้นหนี้สิน แสดงหนี้สินของเจ้าของมือ การตกเป็นหนี้ทางบุญคุณ

๓๑๔ ๓๑๕

ศ. ดุสิต, มือบอกชีวิต, หน้า ๓๑๓. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๑๔.

๑๔๙ หมายเลข ๒๒เส้นลาภ แสดงความมีโชค มีลาภ การได้มาโดยลงทุนน้อยหรือไม่ต้อง ลงทุนเลย หมายเลข ๒๓ เส้นจาก แสดงการพลัดพราก การจากครอบครัว (ถ้าปรากฏอยู่ด้านนอก เส้นชีวิต หมายถึงการลงทุนที่ไมได้คืน) ความหมายทั้งหมดนี้เป็นความหมายเฉพาะตัวของเส้นนั้น ๆ ถ้ามีเส้นอื่นเข้ามาสัมพันธ์ถึง ด้วย ก็บวกความหมายของเส้น เข้าด้วยกัน รวมทั้งความหมายของเนินที่เส้นนั้นสถิตอยู่ด้ว ย จะได้ ความหมายแท้จริงที่จะพยากรณ์ออกไป๓๑๖ ภาพที่ ๒.๖ แสดงเส้นบนฝ่ามือ

๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘.

ชื่อเส้นบนฝ่ามือ๓๑๗ เส้นชีวิต เส้นสมอง เส้นหัวใจ เส้นสาสนา เส้นอาทิตย์ เส้นเรื่องคู่ เส้นเกียรติยศ เส้นอารมณ์

๓๑๖ ๓๑๗

๙. ๑๐. ๑๑. ๑๒. ๑๓. ๑๔. ๑๕. ๑๖.

ศ. ดุสิต, มือบอกชีวิต, หน้า ๓๑๕. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๑๖.

เส้นกามารมณ์ เส้นผู้ใหญ่ เส้นผู้น้อย เส้นโรค เส้นศัตรู เส้นอุปถัมภ์ เส้นวิ่งเต้น เส้นเดินทาง

๑๗. ๑๘. ๑๙. ๒๐. ๒๑. ๒๒. ๒๓.

เส้นรุ่งเรือง เส้นเครียด เส้นคู่ เส้นคุ้มกัน เส้นหนี้สิน เส้นลาภ เส้นจาก

๑๕๐ (๓) ลักษณะนิ้วมือ นิ้วมือเป็นส่วนประกอบของฝ่ามือที่มีความสาคัญ เปรียบเสมือนบ้านเอนที่ต้องมีเสาบ้าน ที่เข้มแข็งและสวยงาม ฝ่ามือเปรียบเสมือนบ้าน นิ้วมือก็คือเสาบ้ าน ถ้านิ้วมือสวยงามได้สัดส่วน ก็จะ พาให้ บ้านคือฝ่ามือรูปทรงที่ดีมีคุณ ภาพไปด้วย ถ้าฝ่ามือใหญ่นิ้วมือใหญ่ได้สัดส่วน จะทาการใด ๆ ก็ราบรื่น ประสบความสาเร็จด้วยดี นิ้วทั้งหมดจะมีความสาคัญทุกนิ้ว ตามความหมายดังนี้ ๑.นิ้วหัวแม่มือ หรือ นิ้วโป้ง (The Trumb) ทางการพยากรณ์จะใช้เรียกนิ้วนี้ว่า “นิ้ วพลั งจิต ” เป็ น นิ้ ว ที่ควบคุมกลไกของนิ้วต่าง ๆ โดยอัตโนมัติ เมื่อตั้งมือขึ้นนิ้วหั ว แม่มือตั้งแข็ง แสดงว่าจิตตานุ ภ าพกระแสจิตเข้มแข็งมาก ไม่ยอมถอย ดื้อรั้น ไม่ร้องไห้ ง่าย ๆ ยกเว้นแต่มีจุดดา ร้องไห้คนเดียวได้ ถ้ายาวจะเป็นคนใจบุญ ถ้าปลายนิ้วปุ้มจะเป็นคนใจแข็ง ค่อนไปทางใจดาและดื้อรั้น แต่ก็ยังมีเหตุผล บุคคลใดถ้าจะดูนิสัยของบุคคลให้ตั้งมือขึ้น ถ้าหัวแม่มือกางออก ๔๕ องศา แสดงว่า บุคคลนั้นมีความเป็นตัวของตัวเองมาก มักเป็นคนมีความคิดเห็นเป็นอิสระ ถ้าเป็นลูกจ้างจะยอมเป็น เพื่อผลประโยชน์ ของตัวเอง เด็กที่ปัญญาอ่อนนิ้วนี้ปลายจะแหลมเล็กและสั้น ซึ่งหมายถึงขาดการ ควบคุม ๒.นิ้ ว ชี้ ห รื อ นิ้ ว พฤหั ส บดี (Index Finger หรื อ First Finger)เรี ย กว่ า “นิ้ ว นักปราชญ์” ถ้ายาวได้สัดส่วนจะดีทางด้านการปกครอง ศาสนา ปรัชญา ถ้านิ้วนี้ตรงได้สัดส่วน การ ปกครองดี ถ้านิ้วนี้คดนิด ๆ เอียงหน่อย ๆ จะแหลมหรือไม่แหลมก็แล้วแต่ พวกนี้เรียนวิทยาศาสตร์ดี เรียนคานวณดี จะเป็นนักวิเคราะห์วิจัยดี ถ้าตั้งมือแล้วนิ้วชี้กางออกจะเป็นคนชอบอิสระ ไม่ชอบเป็น ลูกน้องใคร มักจะเป็นนายเขาอยู่เสมอ ๓.นิ้ ว กลางหรื อ นิ้ ว เสาร์ (Middel Finger หรื อ Second Finger) เรี ย กว่ า “นิ้ ว สันโดษ” เป็นลักษณะที่ดีจะมีความมั่นคงทางหลักฐาน การงาน ชอบความสงบ สันโดษ ถ้าเราตั้งมือ แล้วถ้านิ้วกลางตั้งตรงก็ธรรมดา แต่ถ้าบังเอิญนิ้วกลางเอียงมาทางนิ้วชี้ ก็แสดงว่าเป็นคนชอบสะสม ที่ดิน เช่น ไปอยู่ต่างจังหวัดก็ซื้อที่ต่างจังหวัด ไปอยู่ต่างประเทศก็ซื้อที่ดินต่างประเทศ ๔.นิ้วนาง หรือ นิ้วอาทิตย์ (Ring Finger หรือ Third Finger) เรียกว่า “นิ้วศิลปิน ” ถ้ายาวได้สั ดส่ ว น ให้ คุ ณ ค่ าทางด้ านศิล ปะ การออกแบบ เครดิ ตดี มี ชื่อ เสี ย ง ความเจริญ รุ่งเรือ ง มีความรักที่มั่นคง ถ้านิ้วนางเอนออกมาทางนิ้วก้อย บุคคลนี้หาเงินเก่ง จะมีเงินเข้ามือตลอด แต่ใช้เงิน ไม่ค่อยวางแผน ๕.นิ้วก้อยหรือ นิ้วพุธ (Little Finger หรือ Fourth Finger)เรียกว่า “นิ้วปฏิภ าณ” ลักษณะนิ้วก้อยดียาวเกินข้อที่ 1 ของนิ้วนางเป็นคนที่มีไหวพริบ ปฏิภาณดี ทันโลก ทันเหตุการณ์ ฉลาดในการพูด รอบรู้ทันคน ไม่อาภัพในอาชีพการงาน นิ้วก้อยกางออกในกรณีที่ทานิ้วชิดกันทุกนิ้ว นิ้วก้อยกางออกมากเห็นชัดแสดงว่าคนนั้นไม่ค่อยจะเลี้ยงดูบุตรของตนเอง บุตรมักจะอยู่ไกล ๆ ถ้าลูก อยู่ด้วยก็จะไม่ค่อยมีความสุขเท่าไร แม่พูดลูกจะไม่ทาไม่ฟังแม่ ถ้าอยู่กับพ่อแม่ก็เปรียบเสมือนกับเกาะ พ่อแม่กินโดยไม่ยอมจ่าย เรียกว่า เลี้ยงไม่โต นิ้วก้อยคดหรืองอ เป็นคนฉลาดพลิกแพลงเก่ง ถ้านิ้วก้อย งอแต่กาเนิดจะเรียกว่า “มือหนีภาษี” ก็ไม่ผิดนัก คือทางานหลบภาษีเก่งจะเป็นคนฉลาดมาก ถ้าเรียน

๑๕๑ ได้ ๒-๓ ปริญญา กรณีถ้าไม่งอแต่คด เรียกว่า มีลูกเล่นดี มีมุขเป็นตลกได้ มีชื่อเสียง ถ้ามีบุตรจะฉลาด แต่ถ้ามีคนรับใช้มักไม่ซื่อสัตย์๓๑๘ นิ้วและการแสดงออกทางอุปนิสัย นิ้ว เป็ น อวัย วะส่ วนหนึ่ งของร่างกายที่รับหน้าที่ของโสดประสาทสั่ งการออกมาให้ เป็ น รูป ธรรมหรือเป็น ตัวแปรของอารมณ์ ความคิด ที่แสดงออกมาให้ เกิดการสัมผัส และจับต้อง ในทาง ทฤษฎี ของ Palmaitryการอ่ านแผนที่ บ นฝ่ ามื อ และอาการเคลื่ อ นไหวของนิ้ ว ไว้ดังนี้ . เวลากางมื อ ออกไป ถ้าช่วงนิ้วทั้ง 4 คือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง ห่างเท่า ๆ กันแสดงว่ามีอารมณ์ความคิดเห็นเป็นของตัวเอง จะมีทรรศนะไม่ตรงกันกับคู่ครอง ความห่างช่องนิ้วเท่ากัน มีมากถึง ๘๐% ฉะนั้นท่านเลือกเอาตามที่ กล่าวอ้างอิงนี้ ท่านก็จะหาคู่สมรสแต่งงานไม่ได้เลย แต่ความดีทั้งหลายไม่เกิดขึ้นกับอารมณ์อย่างเดียว อุปนิสัยความสามารถอย่างอื่นมีส่วนช่วยให้ชีวิตสมประสงค์ นอกจากนี้ขึ้นอยู่กับการวางตัวและการให้ เกียรติซึ้งกันและกันด้วย ถ้ากางมือออกแล้วนิ้ว ชี้แยกโดดเดี่ยว นิ้วนาง นิ้วกลาง และนิ้วก้อยอยู่ชิดกัน แสดงว่า ชอบอิสระ เชื่อมั่นในตนเอง คนจาพวกนี้มีความดื้ออยู่ในกลมสันดาน แต่ถ้าเขาจะยอมใคร เขาก็ยังมี ข้อแม้ไว้อย่างหนึ่งจนได้ เช่น หุ้นส่วนทาการค้า ถ้าเขายอมให้หุ้นส่วนดาเนินการบริหารจัดการ แต่เขา ก็จะมีสิ่งผูกมัด หรือข้อบังคับตามแนวความคิดของเขาหมายความเช่นนี้ไม่ได้เกี่ยวกับความไม่วางใจ หรือไม่ไว้วางใจ แต่เกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นของตนเอง เพื่อให้ตนเองสบอารมณ์เท่านั้น เมื่ อ กางมื อ ออกมาแล้ ว นิ้ ว ชี้ กั บ นิ้ ว ก้ อ ยแยกออก แต่ นิ้ ว กลางกั บ นิ้ ว นางชิ ด ติ ด กั น หมายความว่า มีความห่วงใยในญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ถ้านิ้วทุกนิ้วกางออกแล้วยังชิดติดกันอยู่แสดงถึงว่าเป็นคนที่ไม่กล้าตัดสินใจ ไม่มีความ เด็ดขาดมักจะลังเล บุ คคลประเภทนี้เหมาะที่จะทางานทางด้านวิชาการหรือทางานตามคาสั่งหรือ แม้แต่เป็นผู้มีความรับผิดชอบ ก็จะมีความซื้อสัตย์อย่างแท้จริง ถ้านิ้วชี้ นิ้วนาง นิ้วกลางติดกัน แต่นิ้วก้อยห่างออกมา มักจะเปลี่ยนอาชีพบ่อย ๆ เมื่อถึง ขั้นปลายชีวิตก็จะมองเบื่องหลังของตนเองว่าผ่านงานการมาหลายชนิดอย่างโชกโชนคนพวกนี้เป็นคน เจ้าอารมณ์ ทางานตามใจชอบ บางครั้งไม่มีจุดยืนของตนเอง นึกอยากจะทาก็ทา นึ กอยากจะเลิกก็ เลิก เขาจะตั้งรากฐานฐานะได้ เมื่ออายุขึ้นเลข ๔ ไปแล้ว ถ้าแบมือออกไปแต่นิ้ วก้อยกับโค้งเข้าหานิ้วนาง แสดงถึงการพึ่งพาอาศัยญาติพี่น้องมี ความห่ ว งใยทรั พ ย์ สิ น ห่ ว งในลู กและบริ ว าร ห่ ว งใยผลงานที่ ท าไว้จ ะเกิด ความเสี ยหาย มั ก จะมี ความคิดวางแผนชีวิตไว้ล่วงหน้า ส่วนสาเร็จหรือไม่นั้นอีกเรื่องหนึ่ง๓๑๙ (๔) เนินมือ ศ. ดุสิต กล่าวว่า “เนิน” หมายถึง ส่วนที่สูงขึ้นมา เนินบนฝ่ามาก็คือส่วนที่นูนสูงขึ้นมา บนฝ่ามือนั่นเอง ชื่อของเนินก็คือชื่อของวันนั่นเอง แต่เนื่องจกเนินบนฝ่ามือมีถึง ๙ เนิน มากกว่าชื่อ

๓๑๘ ๓๒๒

พรสุข เพ็งมณี, ลายมือพื้นฐาน, เอกสารประกอบการสอนสมาคมโหรนานาชาติ, ๒๕๔๗, หน้า ๗. สมบัติ รูปประดิษฐ์, แนะนาปัญหาบนฝ่ามือ, หน้า ๔๑.

๑๕๒ ของวัน ดังนั้น เนินจึงมีชื่อซ้ากันบ้างในการใช้พยากรณ์ บ่งบอกเรื่องราว เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น จะดีหรือร้ายขึ้นอยู่กับเส้น และเครื่องหมายที่จะปรากฏบนเนิน ดังต่อไปนี้๓๒๐ ๑. เนินพฤหัสบดี Mount of Jupiter บ่งบอกถึงความมีน้าใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เมตตา ยึดถือความถูกต้องและยึดถือความบุ ติธรรม เสี ยสละ ชอบทาบุ ญ ชอบการกุศล มองโลกในแง่ดี อารมณ์ เปลี่ ยนแปลงชั่วขณะ เป็นนัก ปกครองที่ เสี ย สละ เป็ น คนตรง หากมี เส้ น ก าดารงชีวิต พุ่ งขึ้ น ไปบนเนิ น นี้ แสดงถึงว่าเป็ น คนที่ มี ความสามารถ เก่งและรอบรู้ในวิชาการจนได้รับการยกย่องนับถือ เนินจะต้องกว้าง ๒๐ มม. วัดที่ริม ฝ่ามือ เนิ นหนาแสดงถึงความมั่นคงในเรื่องของปัญญา ความคิด จะพบในบุคคลที่เป็นผู้นาท้องถิ่น มักจะให้ความเสมอภาคกับบุคคลทั่วไป ๒. เนินเสาร์ Mount of Saturn บ่งบอกถึง สติปั ญ ญา ความรู้ คุฯธรรม การศึกษา อาชี การงาน การดารงชีวิต ธุรกิจ ความสุขุมรอบคอบ มุ่งมั่น มุมานะ มีความอุตสาหะ อัจฉริยะ ชอบศึกษาเรียนรู้ มีความเป็นผู้นาหาก เนิ น กว้างต่ากว่า ๒๕ มม. ความพยายามและอดทนจะมีน้อยแม้จะเก่งแต่เรียนไม่จบ ชอบฝึกงาน หางานของตนเอง เนินเสาร์กว้าง ๒๕ มม. เป็นต้นไป ความสาเร็จ เป็นผู้บริหาร มีอานาจ มีลูกน้องบริ วาร นับร้อยพัน มักจะมองผลประโยชน์รายได้ควบคู่กันไปด้วย การงานอาชีพจะก้าวหน้ายิ่งขึ้น ใจกล้า พยายามจดจา และกตัญญู๓๒๑ ๓. เนินอาทิตย์ Mount of Sun (Apollo) เป็นเนินที่บ่งบอกความรัก ความร้อนแรง มีเกียรติ มีอานาจ มีชื่อเสียง เจ้ายศเจ้าอย่าง ความมักใหญ่ใฝ่สูง ความเป็นผู้นา การดิ้นรนขวนขวายเพื่อจะให้ได้มาซึ่งเกียรติและอานาจ ทรัพย์สิน เงินทอง หากเนินนี้ วัดได้มาตรฐาน ๓๐ มม. จะถือว่าประสบความสาเร็จ ในด้านความเป็นผู้นา ทั้งการทางานและอาชีพ ประกอบด้วยเนินนี้จะต้องมีเส้นพุ่งขึ้น แตกเป็นแฉก เหมือนต้นไม้ยืนต้น เรียงรายกัน ชีวิตจึงจะก้าวหน้าและรุ่งเรือง ตรงกันข้าม หากมีเนินได้มาตรฐาน แต่ไม่มีเส้นพุ่งขึ้น ดังกล่าว จะขวนขวายเป็นผู้นาหรือผู้บริหารได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น ในที่สุดก็เกิดปัญหาล้มเหลว ๔. เนินพุธ Month of Mercury บ่ ง บอกถึ ง วาจาสุ ภ าพ อ่ อ นหวาน คารมคมคาย สามารถปรั บ ตั ว เข้ า กั บ สั ง คมได้ ดี เปลี่ ย นแปลง เปลี่ ย นอารมณ์ ได้ ง่ าย ไม่ ช อบความรุ น แรง แต่ ช อบเอาชนะ แต่ งตั ว เด่ น สวยงาม ชอบสังคมและเฉิดฉาย มีมนุษยสัมพันธ์ ชองแสวงหาชื่อเสียง และหาจุดเด่นในทางสังคม และสร้าง จุดยืนของตนเอง และสร้างฐานะการงานเพื่อหวังจุดเด่นและโด่งดังในสังคม เนิ น นี้ วัน ริ มฝี มือ จากเส้ น ใจไปถึงโคนนิ้ ว ชี้ จะมี ความกว้าง ๒๐ มม. แสดงถึงประสบ ความสาเร็จในธุรกิจการค้า หากมีเส้นพุ่งตรงขึ้นไปบนเนินนี้ แสดงถึงผลประโยชน์รายได้จะมีต่อเนื่อง

124 125

ศ. ดุสิต, มือบอกชีวิต, หน้า ๑๔. สมบัติ รูปประดิษฐ์, แนะนาปัญหาบนฝ่ามือ, หน้า ๔๓.

๑๕๓ ตรงข้ามหากเนินแคบถือว่าไม่ได้มาตรฐานธุรกิจการงานและประสบความสาเร็จเป็นพัก ๆ การเงิน รายได้จะไม่ต่อเนื่อง๓๒๒ เนินอังคาร Month of Mars เนินนี้แบ่งออกเป็น ๓ เนิน เนินอังคารต่า Lower Mars, ที่ราบอังคาร Plain of Mars, เนินอังคารสูง Upper Mars ๕. อังคารต่า เป็นเนินแห่งความรัก อารมณ์ทางเพศ ถ้าเส้นจากเนินเสาร์ หรือแยกจากเส้นใจโค้งมาที่ เนินอังคารต่านี้ จะหมกมุ่นกับความรัก ความหลงใหลในรูป รส กลิ่น เสียง หรือได้คู่ไม่โสด หากเนิน กว้างและนูน ความรักจะสร้างความพึงพอใจกับเพศตรงข้าม บดบังความเสื่อม จรรยา และศีลธรรม หรือความยับยั้ง สร้างมนต์ขลัง เนินอังคารต่าจึงบ่งบอกถึงชีวิตรักและอารมณ์ ๖. ที่ราบอังคาร บ่งบอกถึงความสุขุมรอบคอบ เนินอังคารกลาง ตั้งอยู่ใจกลางมือมีหน้าที่ควบคุมให้กับ เนิ น ต่ าง ๆ เปรี ย บเสมื อ นตั ว จั ก รเครื่อ งยนต์ ที่ ท าหน้ าที่ ห มุ น ให้ ตั ว จั ก รเล็ ก ๆ ท างานได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ เนินนี้เป็นพื้นที่ของเส้นวาสนา เส้นอาทิตย์ และเส้นพุธ ที่จะต้องผ่านเนินนี้ หากนเนิน สมบูรณ์ไม่แตกขาด ไม่ถูกตัดขวาง ชีวิตก็ประสบความสาเร็จรุ่งโรจน์ ๗. เนินอังคารสูง บ่งบอกถึงความกล้าหาญ ใจกล้า เด็ดเดี่ยว มุทะลุ หุนหันพลันแล่น และรวดเร็ว ถ้าเนิน นูนหนาแต่แคบ จะใจร้อนโทโส สามารถชักปืนยิงได้ทันที แม้จะกลับมาขอโทษแต่ก็สายไปแล้ว ตนเอง ก็หมดอนาคต คนพวกนี้ขาดความยั้งคิด และอาจฆ่าตัวตายได้ง่ายเมื่อไม่สามารถแก้ไขปัญหา จะกลับ กลายเป็นคนขี้ขลาดตาขาว ไม่กล้าเสี่ยง ไม่กล้าตัดสินใจ๓๒๓ ๘. เนินศุกร์ Month of Venus บ่งบอกถึงความรัก ชอบศิลปะ การบันเทิง มองโลกในแง่สีสัน เฉิดฉาย สมาคมและสังคม มีเสน่ห์ เป็นนักรัก มีกฎเกณฑ์ทางประเพณีนิยม ถ้าเนินนูนมาก อารมณ์รัก อารมณ์สุนทรี จะบังเกิด ขึ้น อารมณ์แจ่มใส เจ้าชู้ มองโลกในแง่ดี มีความกระตือรือร้น เป็นที่ต้องตาต้องใจของเพศตรงข้าม ตรงข้ามหากเป็นเนินแคบ ความพยายาม ความกระตือรือร้นจะลดลง แม้แต่การพูด การแสดงออก ทางสังคมและทางเพศจะลดน้อยลงตามลาดับจนหาคู่สมรสที่อยู่ร่วมกันค่อนข้างยาก เนินศุกร์นอกจากจะเป็นเนินแห่งความรัก ยังสามารถดูแลทรัพย์สินและปกครองทรัพย์ได้ ดี ทั้ งมีคารมคมคายในด้านคาพูดวาจา สรรหาคาพูดหว่านล้ อมเพื่อให้ คนเชื่อถือแต่จะเป็ นจริงใจ หรือไม่ขึ้นอยู่กับปลายเส้นสมองย้อนขึ้น แสดงถึงการเอาเปรียบหรือคดโกง ๙. เนินจันทร์ Month of Moon (Luna) เป็นเนินที่บ่งบอกถึง ความสวยงาม ความรัก จินตนาการ การวางแผนชีวิต มักจะมีลีลา สรรหาในเรื่องของความสุข ความปรารถนา การจินตนาการสิ่งที่ยังไม่มาถึง พึงหวังให้ได้มา หากเนินนี้ นูนและกว้าง อารมณ์ ความปรารถนา ก็จะเกิดความรุนแรงขึ้นหากเนินต่าง ๆ ได้มาตรฐาน 126 127

สมบัติ รูปประดิษฐ์, แนะนาปัญหาบนฝ่ามือ, หน้า ๔๕. เรื่องเดียวกัน หน้า ๔๖

๑๕๔ ๑๐. สามเหลี่ยมเนปจูน อยู่ใต้ข้อมือ เป็นสัญญาของการได้นับทรัพย์สินมรดก หรือหาทรัพย์ที่ดินจากความมุมานะ อุตสาหะ ดังตัวอย่าง รูปที่ ๓๔ หน้า ๔๔ หากได้มาโดยไม่เป็นธรรม มักจะมีเส้นตัดขวางหรือเส้นทึบ กั้น คนที่ไม่มีทรัพย์สินมรดก ที่ราบเนปจูนจะแคบ แบน ไม่มีเส้น ประกอบด้วยเนินทุกเนินใต้นิ้วก็จะ แคบกว่ามาตรฐาน๓๒๔ ๕) เล็บมือ เล็บมือ เล็บมือเป็นสิ่งที่หน้าสนใจยิ่ง เพียงแต่เฉพาะเรื่องเล็บอย่างเดียว ยังสามารถเรียน เป็นตาราเล่มใหญ่ได้ ทั้งนี้เพราะ เล็บมือมีความสาคัญมาก สามารถบอกข้อมูลที่เป็นความหมายขิง พฤติกรรม หรือบุคลิกของเจ้าของมือได้ เช่น อารมณ์ ทัศนคติ ความสุภาพเรียบร้อย ความละเอียด ประณีต ความมีระเบียบรอบคอบ ความเรียบง่ายไม่พิถีพิถัน ความจริงใจ ความซื่อตรง ความต่อสู้ มานะ อดทนดิ้นรน ความสุขสบาย รวมทั้งสุขภาพโรคภัยไข้เจ็บ จึงใช้ประกอบในการวิเคราะห์ลายมือ ได้ดียิ่ง วงพระจันทร์ที่ฐานเล็บทุกเล็บ บอกถึงความมีสุขภาพดี เกิดขึ้นกับบุคคลนั้น หากฐานเล็บ ปราศจากวงจั น ทร์ ย่ อ มเป็ น สิ่ งแสดงให้ ท ราบว่ า ร่า งกายของผู้ นั้ น จะมี ปั ญ หาทางด้ านสุ ข ภาพ ไม่แข็งแรง ในต่างประเทศทั้งสหรัฐอเมริกา และยุโรป มีความสนใจตื่นตัวศึกษาเรื่องเล็บที่ส่วนสัมพันธ์ กับโรคภัยไข้เจ็บ ที่เกิดขึ้น เช่น โรคคอ ทรวงอก โรคปอด โรคหัวใจ อัมพาต โรคประสาท อารมณ์ เครียด เล็บที่มีดอกเล็บหรือจุดขาวเต็มไปด้วยจุดเหล่านี้ บ่งบอกถึงสุขภาพที่มีปัญหาทางด้าน ประสาท แสดงความวิตกกังวล กระวนกระวาย มีความทุกข์ร้อนไม่สงบในทางจิตใจ อารมณ์เป็นการ เสื่อมลง ทางด้านระบบประสาท ทาให้การพักผ่อนหลับนอนไม่ปกติ อารมณ์เครียดเกิดขึ้นตามมาเล็บ มือแบ่งออกได้หลายชนิด ลักษณะและความหมายของเล็บ เล็บสั้น คือ เล็บที่วัดได้มาเกิน ๑๐ ม.ม. หากสั้นมากถึง ๕ ม.ม. มักเป็นคนดื้อรั้น ชอบ เอาชนะ อารมณ์เครียด ขาดความอดทน และถือทิฐิเป็นนิสัย๓๒๕ เล็บสั่นรูปสี่เหลี่ยม ปกติจะโกรธยาก หากมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงย่อมรุนแรงเมื่อยามโกรธ และไม่อภัยให้ใครโดยง่าย (หากเล็ บ ยิ่งสั้ น มาก ยิ่ งทวีความคับแค้น มากยามโกรธต้องพยายามหาทางแก้แคนใน ภายหลัง ชอบยึดมั่นดื้อดึงในความคิดเห็น และเหตุผลของตนว่าถูกต้องเสมอ) เล็บกลม พบไม่บ่อยนักในลักษณะของความบ้าบิ่น มีการแสดงออกถึงความคิดเห็นและ เหตุผลส่วนตัวในหลาย ๆ เรื่อง ในสิ่งที่คนทั่วไปไม่ยอมรับ เล็ บ เว้าเข้า เป็ น ลั ก ษณะของเล็ บ ที่ พ บในบุ คคลที่ ปั ญ หาด้านสุ ขภาพที่ เกี่ยวกับ ระบบ หมุนเวียนโลหิต เช่น โลหิตจาง โลหิตเป็นพิษ

128 129

สมบัติ รูปประดิษฐ์, แนะนาปัญหาบนฝ่ามือ, หน้า ๔๗. รัศมี สร้อยวัฒนา, ศิลปะการศึกษาลิขิตบนฝ่ามือ, หน้า ๑๘.

๑๕๕ เล็ บ โค้ งนู น เป็ น ลั ก ษณะของเล็ บ ที่ พ บในบุ ค คลที่ มี ปั ญ หาเกี่ ย วกั บ ระบบการหายใจ โรคปอด หรือทรวงอก โปรดสังเกตผู้ที่มีเล็บสั้น เล็บกว้าง และหนา เป็นลักษณะของบุคคลที่กระทาการใดจะ เป็นไปด้วยความคล่องแคล่วว่องไว รวดเร็ว เป็นคนใจร้อนมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย เป็นผู้ที่ชอบ ความสะดวกสบายมีชีวิตเรียบง่าย ไม่พิถีพิถันขาดความรอบคอบ ไม่เจ้าระเบียบ สาหรับผู้ที่มีเล็บต่างกันทั้งสี่นิ้ว ( สังเกตเล็บนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย ) แสดงถึง - อารมณ์ของการเปลี่ยนแปลงง่าย ใจร้อน - เปลี่ยนคู่ครอง และมิตรสหายบ่อย - ชอบเปลี่ยนอาชีพ หน้าที่ธุรกิจการงาน๓๒๖ วงพระจันทร์ใหญ่ ผู้ที่มีลักษณะเล็บยาวเรียว จะมีวงพระจันทร์ที่ฐานเล็บใหญ่ บอกถึง สุขภาพที่ดี มีพลังชีวิตที่กระฉับกระเฉง ในธุรกิจหน้าที่การงาน อารมณ์แจ่มใสรื่นเริง เล็บยาว ความยาวของเล็บไม่ต่ากว่า ๑๐ ม.ม. มักพบความยามของเล็บอยู่ระหว่าง ๑๐๑๔ ม.ม. ผู้มีเล็บยาวมีนิสัยชอบใช้ชีวิตสบาย มีระเบียบวินัย วินัยรักความสงบ หรือตั้งมั่นอยู่ในความ สงบมี ส มาธิ มี ค วามมานะ อบทนเป็ น นิ สั ย มั ก พบในหมู่ นั ก พาต นั ก บวช ในจ านวน ๙ ใน ๑๐ ของบุคคลเหล่านี้ที่มีเล็บยาวเกิน ๑๒ ม.ม. เล็บยาวรูปสี่เหลี่ยม มักไม่ชอบรับผิดชอบงานหนัก ชอบใช้ชีวิตสบาย ไม่ชอบความเหน็ด เหนื่อย อารมณ์ราบเรียบ ไม่ชอบสิ่งรบกวน เข้าใจค่อนข้างยาก เล็บยาวมนและกว้าง มักพบบุคคลประเภทดังกล่าวในสังกัดคนสวยเหล่านักร้อง รีเซฟชั่น นิสต์ รวมทั้งบุคคลที่ต้องออกสังคมเป็นอาชีพ ซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกับเล็บสี่เหลี่ยมกว้าง เล็บสี่เหลี่ยมกว้าง พบในบุคคลที่มีความรับผิดชอบในธุรกิจการงาน มีความจาเจคลุกคลี กับ งาน ส่ ว นใหญ่ มักใช้พ ลั งหรือแรงงานแทนความฉลาด หรือความคิด พบในบุ คคลที่ใช้แรงงาน เกษตรกร กรรมกร หัวหน้างาน สาหรับผู้ที่ใช้ความคิด ความฉลาดจะพบในบุคคลที่เป็นผู้นา มีลูกน้อง และบริวาร เล็บรูปสามเหลี่ยมคล้ายเปลือกหอย เป็นลักษณะของบุคคลที่มีชีวิตเหน็ดเหนื่อย มีความ กดดันเป็นนิสัย มีความรู้สึกอิดโรย ไม่กระฉับกระเฉง หรือกระปี้กระเป่า แสดงถึงสุ ขภาพที่ไม่ดี มีการ เจ็บป่วยจากโรคภัยเกี่ยวกับไต๓๒๗ เล็บไม่สั้นไม่ยาวลักษณะรูปไข่ เป็นลักษณะเล็บของคนฉลาด มีความคิดและใช้สมองใน การดาเนินงาน สามารถบริหารธุรกิจการงานในระดับต่าง ๆ ในสังคม ทั้งสร้างค่านิยมให้กับสังคมทุก ระดับ มีผู้ยกย่อง สรรเสริญ พบในบุคคลที่เป็นหัวหน้าหรือผู้นา มีลูกน้องและบริวารจานวนมาก ปลายเล็บที่โค้งหรืองุ้มเข้า บอกถึง แนวโน้มของปัญหาการเกิดโรคภูมิแพ้ที่เกี่ยวกับอาการ เป็นหวัด เจ็บคอ หรือเจ็บบริเวณหน้าอก อาการไปเรื้อรัง

130 131

สมบัติ รูปประดิษฐ์, แนะนาปัญหาบนฝ่ามือ, หน้า ๑๙-๒๐. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๐-๒๑.

๑๕๖ ลักษณะเล็บเป็ นคลื่น ย่อมเหมือนกับจุดขาวหรือดอกเล็บทีปรากฏกับผู้ที่มีอาการทาง ประสาท อารมณ์อ่อนไหวง่าย มีความเครียดเกิดขึ้น เมื่ออาการทางประสาทผ่านพ้นไป จุดขาวเหล่านี้ จะหายไปเอง หมายเหตุ รูปทรงของเล็บมือควรสอดคล้องกับลักษณะรูปทรงของฝ่ามือ เล็บที่ยาวเรียว มักพบบนนิ้วมือที่เรียวยาวของฝ่ามือศิลป์ เช่นเดียวกับเล็บสี่เหลี่ยมกว้าง พบได้ บนนิ้วมือที่มีขนาด เท่ากันตั้งแต่ปลายนิ้วถึงโคนนิ้วบนฝ่ามือทาประโยชน์ เป็นต้น๓๒๘ สรุป การสังเกตเล็บมือของผู้มีปัญหาทางสุขภาพ ดังนี้ ผู้มีโรคประสาท อารมณ์เครียด หงุดหงิด เล็บสั้น ชอบกัดเล็บเป็นนิสัน รวมทั้งเล็บมือที่มี ดอกเล็บที่เป็นจุดขาว แสดงถึงร่ายงายที่กาลังเครียดเกิดความวิตกกังวล ทุกข์ร้อน กระวนกระวาย ปัญ หาทางสุขภาพจะปรากฏแน่ ชัดถ้าเล็บมือมีลักษณะ งุ้มลง หรือโค้งขึ้น จะมีอาการของอวัยวะ เกี่ ย วกั บ ระบบหายใจในทรวงอก เช่ น ปอด และหลอดลม รวมทั้ งระบบหมุ น เวีย น ซึ่ งมี ผ ลจาก โรคหัวใจ ลิ้นหัวใจ โลหิตจาง หรือโลหิตเป็นพิ ษ หัวใจอ่อนกาลัง การสูบฉีดโลหิตไม่ปกติ สังเกตจาก ฐานเล็บหรือส่วนโคนของเล็บมีสีเขียว ไม่เป็นสีชมพู แลดูเล็บมือไม่สดใส ผู้ที่มีเล็บไม่เรียบมีลักษณะย่อ หรือเป็นคลื่น จะปรากฏอาการเช่นเดียวกับผู้ที่มีจุดขาวหรือดอกเล็บ ทาให้ทราบอาการทางประสาทที่ มีอารมณ์เครียดเกิดขึน้ กับบุคคลเหล่านั้น ภาพที่ ๒.๗ แสดงรูปแบบต่าง ๆ ของเล็บมือ

๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖.

เล็บสั้นรูปสี่เหลี่ยม เล็บกลม เล็บเว้า เล็บโค้งนูน เล็บยาวรูปสี่เหลี่ยม เล็บยาวมนและกว้าง

132 133

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๒-๒๓. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๒.

๗. เล็บรูปสี่เหลี่ยมกว้าง ๘. เล็บรูปสามเหลี่ยม (เปลือกหอม) ๙. เล็บรูปไข่ ๑๐. เล็บแคบยาวรี ๑๑. ก. เล็บมีรอยย่นตามแนวตั้ง ข. เล็บมีรอยย่นตามขวาง๓๒๙

๑๕๗ (๖) ลายนิ้วมือ ใต้ฟ้าไม่มีหัตถลักษณ์เหมือนกันฉันใด ก็ไม่มีลายนิ้วมือที่เหมือนกันฉันนั้น แต่หัตถลักษณ์ เปลี่ยนแปลงได้ ขณะที่ลายมือไม่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่เกิดจนตาย เพราะฉะนั้น นักหัตถลักษณ์ศาสตร์ทั้งหลาย จึงเชื่อว่า ลายนิ้วมืออาจเป็นข้อมูลประกอบ ที่ดีมากสาหรับศึกษาแนวโน้มโดยกาเนิดของคนเรา ถ้าสังเกตลายนิ้วมืออย่างละเอียด จะพบว่ามีลายหลัก ๆ อยู่ ๓ ลักษณะ คือ ลายก้นหอย ลายโค้ง และลายมัดหวายแต่ลายเหล่านี้เรียงอยู่บนนิ้วทั้งห้าอย่างไร

ภาพที่ ๒.๘ แสดง ลายก้นหอย (ซ้าย) ลายโค้ง (กลาง) และลายมัดหวาย (ขวา) (๑)ทั้งห้านิ้วเป็นลายก้นหอย (พวกถือตนเป็นใหญ่) เป็นคนมั่นใจตนเอง มานะอดทน นิสัย ก้ า วร้ า ว ชอบใช้ เสี ย งข่ ม ไม่ ย อมค้ อ มหั ว ยอมแพ้ ห รื อ ยอมรั บ ผิ ด ไม่ ว่ า ในกาลเทศะใด ถึ ง จะ เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว แตะมักล้มเหลวหรือเคราะห์ร้าย เพราะนิสัยส่วนตัว นี่คือชีวิตที่ขึ้นลง สาเร็จล้มเหลวแบบสุดขั้ว เนื่องจากเป็นคนแข็งกร้าวดื้อรั้นมากไป คนรอบข้างไม่เข้าอกเข้าใจ (๒) ทั้งห้านิ้วเป็นลายอื่น (พวกซื่อสัตย์เถรตรง) เป็นพวกอยู่ในกรอบ ไม่ยอมยืดหยุ่นผ่อน ปรน เรียกกันว่า พวกซื่อสัตย์เถรตรง ยากที่จะประสบความสาเร็จยิ่งใหญ่ พออายุมากขึ้น วิธีคิดจะ เปลี่ ย นไปในทางยื ดหยุ่ น มากขึ้น ถ้ามุมานะอย่างเสมอต่อเสมอปลาย อยู่กับความจริง จะประสบ ความสาเร็จในบั้นปลาย ข้อควรสอนใจ คือ ตอนร่วมมือบุกเบิกสร้างกิจการกับคนอื่น มักประสบความ เสียหายอย่างหนัก เพราะถูกอีกฝ่ายหนึ่งหลอกลวง ทางที่ดีควรสร้างกิจการด้วยตนเอง หรือทางาน บริษัทที่เชื่อถือได้๓๓๐ (๓) นิ้วโป้งเป็นลายก้นหอย นิ้วที่เหลือเป็นลายอื่น (พวกประสบความสาเร็จในบั้นปลาย ชีวิต) เป็นคนมุมานะ พยายามมาก แต่ต้องเหน็ดเหนื่อยลาบากมากกว่าคนอื่น บางครั้งถึงเคราะห์ร้าย ก็ไม่ท้อแท้ ถอดอาลัย วัย หนุ่ ม อาจต้องเผชิญกับความทุกข์ยากสาหั ส แต่จะประสบความสาเร็จมี ชื่อเสียงในบั้นปลาย มีชีวิตที่มั่นคั่งสงบสุข (๔) นิ้วชี้เป็นลายก้นหอย นิ้วที่เหลือเป็นลายอื่น (พวกมนุษยสัมพันธ์) คนพวกนี้ไม่ชอบ ขลุกตัวอยู่ในบ้าน ไม่ชอบทางานที่ลาบากและต้องขยัน เป็นคนร่าเริงไม่นิ่ง ถึงยินดีด้วยเต้นรอบทิศ

๑๓๔

ชินแส ไป่หยุน เชนเหยิน, หัตถลักษณ์ศาสตร์ฉบับวิธีดูลายมือแบบกูรู, หน้า ๒๓๕-๒๓๖.

๑๕๘ เพื่อคนอื่น แต่ท้ายที่สุดก็จะคุยโวโอ้อวด จึงอาจตกเป็นเป้าเกลียดชัง เป็นคนทางานหยาบสะเพร่า ไม่ สามารถทางานที่ละเอียดอ่อน นอกจากนี้ ยังสนใจงานที่มีลักษณะเสี่ยงภัยและฉวยโอกาสเป็นพิเศษ (๕) นิ้วกลางเป็นลายก้นหอย นิ้วที่เหลื อเป็นลายอื่น (พวกคุยโวโอ้อวด) ไม่ว่าพูดจาหรือ วางแผนทาอะไร คนประเภทนี้จะชอบคุยเขื่อง ดูคล้ายแบกรับภารกิจที่ยิ่งใหญ่ แต่มักทาได้ไม่ถึงหนึ่ง ส่วนสิบ มีปณิธานยิ่งใหญ่ แต่ถ้าไม่ดาเนินการตามแผนโดยอยู่กับความเป็นจริง ก็ไม่มีทางสาเร็จการ ใหญ่ ในแง่โชคภาวาสนา ต้องสร้างตัวลาแข้งของตนเอง อย่าหวังมรดกเด็ดขาด ทางที่ดีคืออย่า แต่เพ้อฝัน ต้องมุมานะดาเนินการโดยอยู่กับความเป็นจริง (๖) นิ้ ว นางเป็ น ลายก้ น หอย นิ้ ว ที่ เหลื อ เป็ น ลายอื่ น (พวกมี อ นาคต) ไม่ ว่ างานอะไร พวกเขาจะไม่เกียจคร้านละเลยรู้จักแก้ปัญหาแบบแยบยล ได้รับการสนับสนุน จากผู้บังคับบัญชา พวก เขามัก เป็ น ที่ อิจ ฉาริ ษ ยาของเพื่ อ นร่ว มงาน เนื่อ งจากได้ เลื่ อนต าแหน่งอย่ างรวดเร็ว ตั้งแต่ อายุยั ง น้อย๓๓๑ (๗) นิ้ ว ก้อนเป็ น ลายก้นหอย นิ้ว ที่เหลื อเป็นลายอื่น (พวกมีความสามารถ) พวกเขามี ความสามารถเป็นพิเศษ ไม่จาเป็นต้องรับช่วงกิจการของพ่อแม่ ชอบสร้ างกิจการด้วยสติปัญญาของ ตนเอง กระทั่งประสบความสาเร็จในท้ายที่สุด แม้มีจุดอ่อนสาคัญ คือ ไม่มีความอดทน เมื่อตกอยู่ใน สภาพแวดล้อมอันยากลาบากหรือประสบความล้มเหลว มักจะทนไม่ได้ หรือทาเรื่องโง่ ๆ อย่างหน้า เสียดาย ทางที่ดีคือต้องพยายามขัดเกลาจิตใจ บ่มเพาะความทรหดอดทนที่เข้มแข็ง (๘) นิ้วโป้งและนิ้วชี้เป็นลายก้นหอย นิ้วที่เหลือเป็นลายอื่น (พวกผู้ดีสูงศักดิ์) เป็นคนใจ กว้าง จิตใจเปิดเผย มีกลิ่นอายผู้ดี ค่อนข้างเป็นที่ยกย่องนับถือ รอบตัวมีคนคอยประจบสอพลอ ระวัง จะตกเป็นเครื่องมือของคนอื่น (๙) นิ้วโป้งและนิ้วกลางเป็นลายก้นหอย นิ้วที่เหลือเป็นลายอื่น (พวกจับจรด) พวกเขามัก จากบ้านเกิดไปใช้ชีวิตในต่างแดน เพราะฉะนั้น ถึงพยายามมากกว่าคนอื่นเป็นเท่าตัว แต่เนื่องจากเป็น คนจับจรด ไม่หนักแน่นมั่นคง ชีวิตจึงค่อนข้างลาบาก (๑๐) นิ้วโป้งและนิ้วนางเป็นลายก้นหอย นิ้วที่เหลือเป็นลายอื่น (พวกโชคดีในบั้นปลาย) พวกเขาจะประสบความทุ ก ข์ ย ากสาหั ส ในวั ย หนุ่ ม สาว ค่ อ ย ๆ มี ชื่ อ เสี ย งเมื่ อ ถึ ง วั ย กลางคน ความสามารถเป็นที่ยอมรับ ความเชื่อถือก็เพิ่มขึ้นไม่น้อย ทาให้งานการดาเนินไปอย่างราบรื่น พอถึง บั้นปลายชีวิตจะประสบความสาเร็จอย่างราบรื่น บนพื้นฐานที่สร้างขึ้นอย่างดีในวัยกลางคน (๑๑) นิ้วโป้งและนิ้วก้อยเป็นลายก้นหอย นิ้วที่เหลือเป็นลายอื่น (พวกนักโต้แย้งอภิปราย) เวลาฟั งคนพวกนี้ พู ดอะไร จะรู้สึ กว่าพวกเขาคิ ดอะไรเป็ น ระบบ มี เหตุผ ล เหมาะที่ จะเป็ น ทนาย ผู้พิพากษา หรือนักการเมือง มีโอกาสเจริญก้าวหน้าในอาชีพเหล่านี้๓๓๒ (๑๒) นิ้วโป้ง นิ้วชี้และนิ้วกลางเป็นลายก้นหอย นิ้วที่เหลือเป็นลายอื่น (พวกจิตใจอ่อนแอ) เป็นพวกไม่มั่นใจในตนเอง ขี้ลังเล ไม่สามารถทางายสาคัญให้สาเร็จ มักปล่อยชีวิตให้ผ่านไปโดยไม่เกิด

135 ๑๓๖

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๓๗. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๓๘-๒๓๙.

๑๕๙ ประโยชน์ นอกจากนี้ ยังมีนิสัยใจร้อน ขี้หงุดหงิด ขี้โกรธ บางครั้งก็ล่วงเกิ นผู้อาวุโสในเรื่องเล็กน้อย จึงมักเสียโอกาสที่ดี (๑๓) นิ้วก้อยเป็นลายอื่น นิ้วที่เหลือเป็นลายก้นหอย (พวกประนีประนอม) นิสัยอ่อนโยน คล้อยตาม ไม่ชอบขัดแย้งวิวาทกับคนอื่น ชอบประนีประนอมด้วยวิธีที่เหมือสม เป็นที่ตอนรับของ สมัครพรรคพวก มีโอกาสประสบความสาเร็จเหนือความสามารถค่อนข้างมาก (๑๔) นิ้วโป้งเป็นลายอื่น นิ้วที่เหลือเป็นลายก้นหอย (พวกใจร้อนขี้หงุดหงิด) นิสัยใจร้อน ขี้หงุดหงิด ออกประสาทนิด ๆ ไม่หนักแน่นสุขุม แต่ส่วนใหญ่แล้วหัวสมองค่อนข้างดีมีความสามารถ ถ้าแก้ไขจุดอ่อนข้างต้นได้ ก็จะประสบความสาเร็จ ควรสนใจขัดเกลาจิตใจ เปิดใจให้กว้าง รักษาท่าที หนักแน่นสุขุมเยือกเย็นไว้ให้ได้ตลอดเวลา (๑๕) นิ้วชี้เป็นลายอื่น นิ้วที่เหลือเป็นลายก้นหอย (พวกยึดมั่นในคุณธรรม) มีอุดมคติสูงส่ง ไม่เหมาะที่จะทาการค้า เหมาะที่จะเป็นนักวิชาการ นักการศึกษา นักการศาสนา ฯลฯ ถ้าประกอบ อาชีพเหล่านี้ จะมีโอกาสประสบความสาเร็จมากกว่าอาชีพอื่นแต่อาจประสบความยุ่งยากอย่างมากใน เรื่องเซ็กส์ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ (๑๖) นิ้ วกลางเป็ น ลายอื่น นิ้วที่เหลื อเป็นลายก้นหอย (พวกมีคุณ ธรรมของจอมยุทธ์) พวกเขาจะไม่บ อกปัดเมื่อได้รับ การไหว้วาน ชอบช่วยเหลือคนอ่อนแอและไม่ได้รับความเป็นธรรม มีคุณ ธรรมของจอมยุ ทธ์ งานขยั นขันแข็ง ไม่ยอมสิ้ นเปลืองเวลา เป็นที่เชื่อถือของสังคม มีโอกาส เจริญก้าวหน้าสูง แต่ต้องระวังตกเป็นเครื่องมือของคนอื่น๓๓๓ (๑๗) นิ้วนางเป็นลายอื่น นิ้วที่เหลือเป็นลายก้นหอย (พวกอบอุ่นจริงใจ) เป็นคนอบอุ่น จริงใจ มีมนุ ษ ยสั มพัน ธ์ เป็ น ที่ ชื่น ชอบของผู้ อาวุโสและลู กน้ อง มีโอกาสประสบความส าเร็จอย่าง ราบรื่น ของเพียงรักษาแบะพัฒนาสิ่งที่สร้างขึ้นแล้วให้ดี จะมีความสุขทั้งชีวิตครอบครัวและชีวิตสังคม (๑๘) นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนางเป็นลายก้นหอย นิ้วที่เหลือเป็นลายอื่น (พวกดื้อ รั้น) ข้อดี คือ เป็นคนซื่อตรง ข้อพกพร่องคือดื้อรั้นมาก มักขัดแย้งวิวาทกับคนอื่น เพราะดึงดันในความคิดเห็น ของตน เมื่อประสบภัยน้อยคนจะยินดรยื่นมือเข้ามาช่วยแต่เมื่ออายุมากขึ้น อารมณ์จะค่อย ๆ เย็นลง มีโอกาสประสบความสาเร็จค่อนข้างมาก (๑๙) นิ้ ว โป้ งและนิ้ ว นางเป็ น ลายอื่ น นิ้ ว ที่ เหลื อ เป็ น ลายก้ น หอย (พวกทึ่ ม ทื่ อ ) นิ สั ย ค่อนข้างทึ่มทื่อ พูดจาและทางานไม่คล่องแคล่ว แต่อยู่กับความจริง กาหนดแผนการแล้วจะเดินหน้า ทาทีละขั้น แม้จะค่อนข้างเชื่องช้า มนุษยสัมพันธ์ก็ไม่ดี แต่มีโอกาสร่ารวยและมีชื่อเสียง (๒๐) นิ้วชี้และนิ้วกลางเป็นลายก้นหอย นิ้วที่เหลือเป็นลายอื่น (พวกวิญญูชน) มีคุณธรรม ในหัวใจ เคารพเบื้องบน เมตตาเบื้องล่าง มีบุคลิกภาพของวิญญูชน ปรับตัวเข้ากับทุกคนได้ มักได้เป็น ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ผู้อานวยการธนาคาร หรือผู้จัดการบริษัทขนาดใหญ่ แต่กลับไม่สันทัดใน การจัดการและรับมือเพศตรงข้าม (๒๑) นิ้วชี้และนิ้วนางเป็นลายก้นหอย นิ้วที่เหลือเป็นลายอื่น (พวกใจร้อน) นิสัยใจร้อน ถ้าเป็นสิ่งที่ต้องการต้องทาให้ได้ทันที ถ้าไม่แก้ไขนิสัยเช่นนี้ ชีวิตจะล้มเหลว ความพยายามขัดเกลา นิสัยใจคอให้ดี 137

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๔๐.

๑๖๐ (๒๒) นิ้วชี้และนิ้วกลางเป็นลายอื่น นิ้วที่เหลือ เป็นลายก้นหอย (พวกผู้นา) คนประเภทนี้ ใจคอกว้างขาวง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักเห็นใจคนอื่น สันทัดในการใช้บุคลากร ชอบช่วยเหลือคนอื่น มัก ได้ รั บ การอุ้ ม ชู ให้ เป็ น ผู้ น า นอกจากนี้ พวกเขายั ง เป็ น คนละเอี ย ดรอบคอบ สมองปราดเปรี ย ว มีคุณสมบัติของผู้ประสบความสาเร็จ๓๓๔ (๒๓) นิ้วกลางและนิ้วก้อยเป็นลายก้นหอย นิ้วที่เหลือเป็นลายอื่น (พวกบ้าบิ่น) พวกเขา มักคิดเอาเองว่าสิ่งที่ตนคิดและทาเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ไม่ว่าอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคนอย่างไร พวกเขาจะต่อสู้ โต้แย้งด้วยจนถึงที่สุด แต่พวกเขามีสันดานที่ไม่เลว เป็นผู้ช่วยที่ดี ถ้ารู้จักดัดนิสัยตนเองอย่างเหมาะสม งานการจะเดินหน้าไปอย่างราบรื่น (๒๔) นิ้วกลางและนิ้วนางเป็นลายก้นหอย นิ้วที่เหลือเป็นลายอื่น (พวกหัวมังกุท้ายมังกร) นิสัยจับจรดเอาแน่ไม่ได้ อยากลองทุกอย่าง แต่ไม่ยืนหยัดอย่างเสมอต้นเสมอปลาย เป็นคนประเภท ฉลาดน้อย ไม่ประสบความสาเร็จยิ่งใหญ่ ถ้ามีจิตใจยืนหยัดจะประสบความสาเร็จ (๒๕) นิ้วกลางและนิ้วนางเป็นลายอื่น นิ้วที่เหลือเป็นลายก้นหอย (พวกวีรบุรุษ) ไม่คลั่ง ไคล้เงินทอง ไม่ชอบเล่นเล่ห์เหลี่ยม ไม่คิดตั้งหลักแหล่ง ไม่คิดสร้างครอบครัวที่มั่นคงมีความสุข นิสัย โอ่อ่าผ่าเผย เป็นพวกวีรบุรุษเหมาะที่จะเป็นนักการเมืองหรือทนายความ (๒๖) นิ้ ว กลางและนิ้ ว ก้ อยเป็ น ลายอื่น นิ้ ว ที่ เหลื อเป็น ลายก้น หอย (พวกฉวยโอกาส) พวกเขาชอบตั้งความหวังที่ยิ่งใหญ่ รู้จักฉวยโอกาส เหมาะกับงานที่มีลักษณะฉวยโอกาส เช่น พ่อค้าวา นิช วิศวกรเหมือง แต่ดวงจะลาบากตอนหนุ่ม มั่นคั่งตอนแก่น (๒๗) นิ้วชี้และนิ้วนางเป็นลายก้นหอย นิ้วที่เหลือเป็นลายอื่น (พวกก้าวร้าว) นิสัยดื้อรั้น ก้าวร้าว ชอบโต้แย้งวิวาทกับคนอื่น ไม่ควรหวังพึ่งพ่อแม่ ต้องพยายามเรียนรู้วิธีใช้ชีวิตอย่างอิสระแต่ เนิน ๆ มีเช่นเนิ่น มิเช่นนั้น ชีวิตหลังวัยกลางคนจะลาบากมาก (๒๘) นิ้วโป้งและนิ้วกลางเป็นลายอื่น นิ้วที่เหลือเป็นลายก้นหอย (พวกบริหารทรัพย์สินไม่ เป็น) ขาดจินตภาพคณิตศาสตร์ บริหารทรัพย์สินไม่เป็น ถึงหาเงินได้มากแต่ก็คล้ายกับใช้ชะลอมตักน้า เงินทองรั่วไหลไม่หยุด ถ้าได้ผู้ช่วยที่ดี ช่วยจัดการทรัพย์สินให้ดีจะประสบความสาเร็จ อย่างคราดไม่ ถึง๓๓๕ ๗) เครื่องหมาย Mark and Sign เครื่ องหมายจะเกิดขึ้ น จากเส้ น อิท ธิห รือเส้ นจร หรือเกิด ขึ้นเองลอย ๆ เช่น มี จุดแดง น้ าตาล ขึ้ น มาเป็ น เครื่ อ งหมาย อยู่ ๆ อั งคารหมองขึ้น มา เป็ น เครื่องหมายพวกนี้ เปลี่ ยนหายไป เครื่องหมายที่ดี ถ้าอยู่ในเนินที่ดี ไปลอยตั วอยู่ในที่ดี จะให้อิทธิพลมาก ถ้าเครื่องหมายเบียดชิดเส้น ไม่ดี เพราะไม่ได้ลอยตัวทาให้หมดพลังไปตัวเส้นที่มีลักษณะเป็นเครื่องหมายจะให้อิทธิพลเมื่อ เส้น เสาร์ อาทิ ต ย์ พุ ธ พฤหั ส ดี ในช่ ว งระยะอายุ จะเห็ น ว่ า บางคนมี จุ ด แดงมา 5 ปี ไม่ ได้ อ ะไรเลย เครื่องหมายเป็นแต่เพียงลางบอกเหตุให้รู้ว่า เมื่อถึงชีวิตช่วงที่ดีจึงจะให้พลังมีอิทธิพลขึ้นมา ถ้าเป็นเครื่องหมายที่ดี ไปลอยตัว ยังไม่ได้อิทธิพลอะไร แต่มันต้องมีประโยชน์แน่ แต่จะ รวดเร็วหรือไม่? ถ้าทาท่าจะล้มเหลวเสียหายทั้ง ๆ ที่ ยังไม่ถึงกาหนดระยะเวลา แต่ก็ช่วยประคับ 138 139

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๔๑-๒๔๒. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๔๓ .

๑๖๑ ประครองไว้ ไม่เสียหายมาก ลักษณะของเครื่องหมาย ต้องเป็นเส้นจรหรืออิทธิพลขึ้นมาจึงจะเป็น เครื่องหมาย๓๓๖ ขั้นตอนการดูหัตถลักษณ์ ถ้าจะดูหัตถลักษณ์ให้ตัวเอง จะต้องดูลักษณะหลังมือก่อน เพื่อจาแนกว่าเป็นมือลักษณะ ใดจากทั้งหมด ๗ ลักษณะ เรื่องนี้ดูคล้ายง่าย ในทางเป็นจริงยุ่งยากเอาการ ถ้าลักษณะมือค่อนข้างชัดก็วินิจฉันง่าย ถ้าพบมือก้ากึ่งระหว่างสองลักษณะ แม้นักหัตถลักษณ์ศาสตร์ผู้ชานาญก็อาจสับสนงุนงง ปัญหาการวินิจฉัยลักษณะมือที่ว่านี้ จะขอกล่าวถึงอย่างระเอียดในบทต่อไป ถัด มาค่ อ ยดู นิ้ ว มื อ ขณะที่ ดู ว่านิ้ ว สั้ น หรือ ยาวต้ องดู ว่านิ้ ว ตรงหรือ คดด้ ว ย เพื่ อ นอ่ าน ความสามารถและแนวโน้มลักษณะนิสัยเจ้าของมือ จากนั้ น ให้ ดู ว่ารู ป เล็ บ สั้ น หรือยาว ลั ก ษณะเล็ บ เป็ น อย่างไร ซึ่ งไม่เพี ยงช่ว ยให้ เข้าใจ ลักษณะนิสัยมากขึ้น ยังช่วยให้วินิจฉัยปัญหาสุขภาพได้แม่นยาขึ้น เมื่อดูส่วนต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว ค่อยดูเนินและลายบนฝ่ามือ เนิน คือ ส่วนที่นูนขึ้นมาบนฝ่า มือ แบ่ งเป็ น ๘ เนิ น ๑ ที่ ราบ ช่วยให้ เข้าใจลั กษณ์ โดยรวมของฝ่ ามือง่ายขึ้น เนิน แต่ล ะเนิน แทน ความหมายบางอย่าง โดยต้องวินิจฉัยจากระดับความนูน ซึ่งพูดว่ามีความหมายค่อนข้างสาคัญในทาง หัตถลักษณ์ศาสตร์ การดูเนินต่าง ๆ จะช่วยให้เข้าใจเหตุการณ์ในอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม เพิ่มความหวังบน เส้นทางแห่งชีวิต ไม่ว่าปัญหาฐานะการงาน การศึกษาเล่าเรียน ทรัพย์สินเงินทอง หรือความรัก นอกจากนี้ การดูลักษณะลายมือ ก็ช่วยให้เข้าใจปัญหาอาชีพ ความรัก การแต่งงาน ชะตา ชีวิต ฯลฯ ในวันข้างหน้าได้แม่นยายิ่งขึ้น๓๓๗ หลักทั่วไปในการวินิจฉัย - มือค่อนข้างใหญ่ เหมาะที่จะทางานละเอียดปลีกย่อย เป็นคนไม่ค่อยร่าเริง มักแสดง ท่าทางเคอะเขินและไม่ค่อยมีความสุขในที่ธารกานัล - มือใหญ่มาก มีนิสัยแบบ “ทรราช” มาสนใจระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคม ชอบทาตาม ความพอใจส่วนตัว - มือค่อนข้างเล็ก นิสันร่าเริงเบิกบาน ชอบวิพากษ์วิจารณ์เรื่องต่าง ๆ ชอบคุยโวโอ้อวด และสุรุ่นสุร่ายกับอาหารการกิน - นิ้วเรียวยาวและสวย ชอบยืนยันข้อเสนอของตนเองอย่างดื้อรั้น ขี้หงุดหงิด มุทะลุ ไม่น่า สนิทสนม - ผู้หญิงที่ฝ่ามือใหญ่ ส่วนใหญ่คลอดบุตรง่าย - ผู้หญิงที่ฝ่ามือเล็ก ส่วนใหญ่คลอดบุตรยาก - ฝ่ามือสั้นและอ้วน ไม่ว่าชายหรือหญิง ล้วนเป็นคนเย็นชาไร้น้าใจ - ฝ่ามือยาวแต่นิ้วอวบสั้น โกหกเก่ง เชื่อถือไม่ค่อยได้ 140

เกสรีกาญจน์ จิตรโสภี, ศาสตร์แห่งลายมือ, หน้า ๓๖๒.

๓๓๗ ชินแสไป่หยุน เชนเหยิน, หัตถลักษณ์ศาสตร์ฉบับวิธีดูลายมือแบบกูรู, หน้า ๑๑-๑๒.

๑๖๒ - ฝ่ามือสั้นหรือยาว แต่นิ้วอวบสั้น จะมีนิสัยชอบติดยึดกับสูตรสาเร็จ ทาตามกฎระเบียบ ตายตัว ให้ความรู้สึกไร้น้าใจ - นิ้วเล็กมากเท่าใด จะมีนิสัยเลอะเทอะมากเท่านั้น ชอบแสดงความกล้าหาญกับเรื่องไร้ สาระ ไม่รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น - มื อ ออกสี แ ดง เป็ น คนกล้ า หาญ ซาบซึ้ ง ตื้ น ตั น ใจง่ า ย มั ก ถู ก มองว่ า เป็ น คนมุ ท ะลุ ไม่มรวานตาเล็งการณ์ไกล แต่ค่อนข้างโชคดี - มือออกสีเขียวขาว ถึ งเป็นผู้ชาย จะมีนิสันคล้ายผู้หญิง ค่อนข้างอ่อนแอ อาจเป็นโรค โลหิตจาง - มือออกสีเขียว เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เจ็บป่วยบ่อย - มือขาวมาก ขี้หงุดหงิด ชอบแก้แค้น - มือออกสีเหลือง อาจเป็นโรคตับ๓๓๘ โดยสรุป หัตถลักษณ์เป็นเข็มทิศชีวิตของเราได้ มันช่วยให้ชีวิตที่กาลั งจะเจอกับปัญหา ได้มีวิธีที่จะรับมือกับปัญหาหรือความทุกข์ที่กาลังจะเกิด การใช้หัตถลักษณ์มาคาดคะเนเหตุการณ์ใน อนาคต เพียงบอกแนวโน้มหลัก ๆ ได้เท่านั้น เช่น ลั กษณะมือใช้บอกอุปนิสัยและอาชีพ เส้นลายมือ ใช้ดูชะตาชีวิตอย่างละเอียด ลักษณะนิ้วมือ ช่วยให้เข้าใจอุปนิ สัยและอาชีพโดยรวม เนินมือช่วยให้ เข้ า ใจเป้ า หมายชี วิ ต เล็ บ มื อ ใช้ ดู สุ ข ภาพ และลายนิ้ ว มื อ ใช้ ดู แ นวโน้ ม ชะตาชี วิ ต โดยก าเนิ ด เป็นหลักการวินิจฉัยเหตุการณ์ในอนาคต ที่ค่อนข้างไกล มีระดับความแม่นยาประมาณ ๖๕% ไม่สูง กว่านี้ นอกจากนั้ น หั ตถลั กษณ์ ยั งเป็นศาสตร์ที่ ใช้ทาความเข้าใจ อุป นิสั ยใจคอของคนเราได้ด้ว ย เพราะฉะนั้ น ถ้ า ในทางหั ต ถลั ก ษณ์ ป รากฏสั ญ ญาณบางอย่ า งที่ เลวร้ า ย ก็ ไม่ จ าเป็ น ต้ อ งท้ อ แท้ ทอดอาลัย มองโลกในแง่ร้าย เพียงเราใช้ความพยายาม อดทน ก็สามารถผ่านอุปสรรคทุกปัญหาได้ ๒.๔.๖ โหราศาสตร์กับสังคมและวัฒนธรรมไทย มนุ ษ ย์ เป็ น สั ต ว์สั งคมที่ มี ค วามคิ ด รู้จั ก ใช้ เหตุ ผ ล สามารถเรีย นรู้ส ร้างสรรค์ สิ่ งต่ าง ๆ ขึ้นมาแล้วดาเนินอยู่ภายใต้ระเบียบกฎเกณฑ์ที่เรียกว่า วัฒนธรรม เพื่อความสงบเรียบร้อยของคนใน สังคม เพราะฉะนั้นสังคมและวัฒนธรรมจึงเปรียบเสมือนเหรียญซึ่งมีสองด้านที่ไม่สามารถแยกออก จากกันได้๓๓๙ โหราศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทต่อการดาเนินชีวิตของคนไทยมาก เรามักได้ยินและได้ฟัง คาพูดว่า “ดวงดี และดวงไม่ดี หรือแล้วแต่ดวง” อยู่เสมอในวงสนทนาทั่วไป ๓๔๐ นักโหราศาสตร์ได้ ศึก ษาถึงอิ ท ธิพ ลของดวงดาวที่ มี ผ ลต่อ พฤติก รรม บุ ค ลิ ก ภาพ สุ ข ภาพ และกิ จ กรรมอัน เกิ ด จาก การกระทาของมนุษย์และมากยิ่งกว่านั้นโหราศาสตร์ช่วยให้เข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อมนุษย์ใน แต่ล ะวัน จากตาแหน่ งของดวงดาวที่โคจรเคลื่อนที่ บนท้องฟ้ากระทบกับดวงดวงประจาชีวิตแบบ

14๒

ชินแสไป่หยุน เชนเหยิน, หัตถลักษณ์ศาสตร์ฉบับวิธีดูลายมือแบบกูรู, หน้า ๒๑. ดนัย ไชยโยธา, สังคมวัฒนธรรม และประเพณีไทย, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๖), หน้า ๑๐๐. ๓๔๐ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๕๙. ๓๓๙

๑๖๓ แผนภูมิชีวิตของมนุษย์ผู้นั้น ๓๔๑ โหราศาสตร์จึงเปรียบเสมือนกับการเดินเรือที่ใช้เข็มทิ ศกับแผนที่ใน การกาหนดเส้นทางเดินเรือตาแหน่งดาวสามารถใช้ในการกาหนดแผนการใช้ชีวิตได้๓๔๒ คนไทยในปั จ จุบั น จานวนมากมีความเชื่อในเรื่องโหราศาสตร์ เนื่องจากโหราศาสตร์มี บทบาทต่อวิถีชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่โบราณ ปัจจุบันการเชื่อถือนี้ยังคงอยู่และดูจะมีมากขึ้นด้วย การอ่านดวงชะตาออกก็เท่ากับทราบสถิติของดวงชะตาตนเองในรูปของผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วที่เรา ได้ทามาซึ่งจะตามสนอง โดยเรามีโอกาสที่จะปรับปรุงตัวเพื่อเผชิญกับเหตุการณ์ได้ล่วงหน้า สิ่งใดที่เรา ไม่ต้องการได้รับเราก็หาทางแก้ด้วยสติปัญญาที่จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ บทบาทในปัจ จุบันของ โหราศาสตร์ที่มีต่อวิถีชีวิตของคนไทย สรุปได้ดังนี้ ๑. ทาให้ทราบถึงประวัติของเจ้าชะตา คือทราบถึงพื้นความสามารถ นิสัย สติปัญญา ชาติตระกูล ฐานะความเป็นอยู่ ทั้งคราวดีและคราวร้ายในชีวิต โหราศาสตร์เป็นทางเดียวที่จะหยั่ง ทราบความชอบหรือความถนัดของเด็กที่จ ะเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยได้ว่าเขาถูกกับอาชีพชนิดใด ควรจะมุ่งเรียนทางไหนเพื่อให้สอดคล้องกับดวงชะตา และเพื่อความก้าวหน้าในอนาคต ดีกว่าปล่อย ให้ศึกษาไปเองเรื่อย ๆ โดยความอย่างเพื่อนฝูงหรือบ้าง มารดาบังคับให้เรียนในทางที่เด็กไม่มีอุปนิสัย กว่าจะรู้ตัวว่าไม่ถูกกับตนเองก็เสียเวลาไปมาก สิ่งสาคัญยิ่งที่มามารดาพึงควรทราบล่วงหน้าถึงความ ถนัดของตนเอง๓๔๓ ๒. การดูแนวโน้มชีวิตในอนาคต เมื่อบุคคลประสบปัญหาในชีวิต มีข้อคับข้องใจ หาทาง ออกไม่ได้ มักจะไปหาหมอดู เพื่อให้ตรวจดูดวงชะตาตนว่าดีร้ายอย่างไร โชคดีจะเข้ามาเมื่อใด และ เคราะห์ร้ายที่กาลังเผชิญจะสิ้นสุดลงเมื่อใด นี่ดูจะเป็นกิจกรรมหลักในการใช้โหราศาสตร์ ของคนไทย เรื่องที่คนส่วนใหญ่สนใจก็คือเรื่องการเงิน การงานและความรัก ดูได้จากสถิติที่ยกมาข้างต้น ถึงแม้คน จะไม่มีความเชื่ออย่าง มั่นคงนักต่อโหราศาสตร์ แต่คาทานายของหมอดูก็ทาให้คล้ อยตาม สบายใจ มี กาลังใจ หรืออาจจะมีความกังวลใจมากขึ้น ความที่บุคคลไม่มีความเข้าใจในโหราศาสตร์เพียงพอ ผนวกกับคาที่มักกล่าวกันว่า “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” ทาให้หมอดูเป็นผู้ที่มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมไทย แม้จะมีคนที่ไม่เชื่อถือเป็นจานวนมาก แต่ก็มักจะ “ฟังหูไว้หู” คืออย่างน้อยก็ฟังไว้ก่อน นอกจากดวง ชะตาบุคคลแล้ว การดูดวงชะตาประเทศหรือบุคคลสาคัญก็มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมไทย ๓. การตั้งชื่อและเปลี่ยนชื่อ ในปัจจุบันเมื่อความรู้ทางโหราศาสตร์เริ่มแพร่หลาย คนมี ความเชื่อเรื่องนี้มากขึ้น การตั้งชื่อตามหลักโหราศาสตร์ก็มีความสาคัญขึ้นมา แม้คนที่มีชื่อเดิมอันไม่ เป็นมงคลต่อตัวเองตามคติความเชื่อก็มักจะเปลี่ยนชื่อให้ถูกต้องตามตาราโหราศาสตร์ ทาให้คนบางคน ในสมัยปัจจุบันมีชื่อที่ยาว อ่านยากและฟังดูแปลกหู ถึงแม้จะไม่ได้มีข้อพิสูจน์อย่างชัดเจนว่าการเปลี่ยน

๓๔๑

จักรเทพ ราพึงกิจ, “การศึกษาเชิงวิเคราะห์ทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีต่อโหราศาสตร์ใน ยุคปัจจุบัน”, วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย), ๒๕๕๑, หน้า ๙๔. ๓๔๒ ศิ ริ น ญ า นภาศั พ ท์ , “พุ ท ธศาสนากั บ โหราศาสตร์ ”, สารนิ พ นธ์ ศิ ล ปศาสตรบั ณ ฑิ ต , (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามหิดล), ๒๕๕๑, หน้า ๒๒. ๓๔๓ วาสนา จันทภาษา, ความรู้เบือ้ งต้นเกี่ยวกับโหราศาสตร์ไทย, หน้า ๑๒.

๑๖๔ ชื่อสามารถเปลี่ยนชีวิตของตนได้ หรือไม่ แต่คนจานวนไม่น้อยก็นิยมเปลี่ยนชื่อ เพราะเชื่อว่าชื่อเป็น สัญลักษณ์แทนตัวอย่างหนึ่ง อย่างน้อยก็มีผลทางด้านจิตวิทยา๓๔๔ ๔. ใช้ประกอบวินิจฉัยโรคและสุขภาพ การอ่านดวงชะตาจะทาให้ทราบถึงโรคที่เจ้า ชะตาจะเป็นโรคประจาตัวหรือโรคปัจจุบัน วงการแพทย์ในอเมริกาปัจจุบั นนี้เมื่อจะมีการผ่าตัดครั้ง ใหญ่ ๆ ที่สาคัญ ซึ่งจะต้องเสี่ย งต่อการตายของคนไข้ สถาบันการแพทย์จะสอบถามกับสถานบั น โหราศาสตร์เสียก่อน เพื่อตรวจสอบดวงชะตาของคนไข้ว่า สมควรผ่าตัดหรือไม่ ถ้าหากไม่มีอันตราย ใด ๆ แพทย์จะลงมือผ่านตัดทันที ถ้าสถาบันโหรเห็นว่า การผ่าตัดจะทาให้คนไข้ถึงตายเขาก็จะไม่ยอม ผ่าตัดให้เสียเวลา ๕. ใช้ประกอบในการสอบสวนคดีต่าง ๆ เช่น บุคคลที่มีอาชีพเป็นโจร ในดวงชะตาจะ บอกไว้อย่างละเอียดถึงพื้นดวงเกี่ยวกับการหาทรัพย์มาจะต้องได้แบบยื้อแย่งเขามา นิสัยใจคอดุร้าย สามารถฆ่าคนได้อย่างเลือดเย็น ตลอดจนการทาสิ่ งที่ไม่ดีต่าง ๆ ได้ และทราบแม้กระทั่งดวงชะตานี้ จะต้องถูกติดคุกหรือไม่ ถ้าหากได้มีการตรวจดวงชะตาของผู้ร้ายทุกคนก็จะช่วยในการสอบสวนคดีว่า จับ คนร้ายมาถูกต้อง และไม่เสียเวลามากแม้กระทั่งในการปล่อยหรืออภัยโทษให้นักโทษ หากดวง ชะตาบ่งว่า ไม่มีวันกลับตัวได้เลยแล้ว ทางการก็ไม่น่าจะปล่อยตัวนักโทษผู้นั้นเลย เพราะเท่ากับว่า ปล่อยออกมาสร้างความเดือดร้อน ให้กับประชาชนอีก ควรจะปล่อยนักโทษที่เห็นว่าเป็นคนพอจะ กลับตัวได้ และที่ได้กระทาผิดลงไปนั้นเป็นเพราะมิได้มีเจตนาโดยสันดารเดิม แต่ทาไปเพราะชดใช้ กรรมเก่าที่ได้ทาไว้แต่ปางก่อนนั่นเอง ๖. ใช้ในการพยากรณ์ดินฟ้าอากาศ เพราะในวิชาโหราศาสตร์แสดงการสัมพันธ์ระหว่าง โลกกับดาวเคราะห์ เช่น ดวงจันทร์มีอานาจดึงดูดน้าทะเลให้เกิดน้าขึ้นน้าลง ไม่เฉพาะแต่น้าส่วนใหญ่ ในพื้นโลกเท่านั้น แม้กระทั่งน้าส่วนน้อยคือ โลหิตในร่างกายสตรีก็ถูกอานาจดึงดูดจากดวงจันทร์ด้วย ที่ให้มีประจาเดือนตามกาหนดทางจันทรคติคือ 28 วันต่อครั้งโดยถัวเฉลี่ย แต่ที่มีไม่พร้อมกันทุกคนก็ เพราะเกิดไม่พร้อมกันนั่นเอง และจากอานาจดึงดูดของดาวเคราะห์ต่าง ๆ กับการคานวณรอบของ การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์กับจันทร์ในทางปีจันทรคติกับสุริยคตินั้น ก็ จะเกิดกาลตามเดือนที่ ปรากฏในปฏิทิน ฤดูสามฤดูจึงปรากฏเป็นสถิติให้ทราบได้ว่า เมื่อไรร้อน เมื่อไรหนาว และเมื่อไรจะมี ฝนตก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร พ่อค้า และนักปกครอง เป็นต้น นอกจากนี้การวิปริตที่ทาให้ เกิดภัยธรรมชาติ เช่น น้าท่วม ก็เกิดจากการโคจรของดวงดาว ๗. ใช้พยากรณ์ในเรื่องเบ็ดเตล็ดทั่วไป เช่น พยากรณ์การเดินทาง การสอบไล่ การดูว่า พระสงฆ์ จ ะสึ กหรื อไม่ การย้ ายงาน และเกี่ ยวกับ การหาฤกษ์ ย ามต่าง ๆ เช่ น ฤกษ์ ป ลู กบ้ านใหม่ ฤกษ์แต่งงาน และฤกษ์อื่น ๆ ตลอดจนการตั้งชื่อเด็กเกิดใหม่เป็นต้น ในสมัยโบราณประเทศเราเมื่อจะ มีการยกทัพไปรบยังต้องมีการหาฤกษ์ยามกันและส่วนมากจะใช้ “มหาฤกษ์” เป็นฤกษ์ยกทัพจับศึก เพื่อให้ประสบชัยชนะได้ ในต่างประเทศเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่สองนั้น ฮิตเล่อร์ผู้เผด็จการแห่ง เยอรมันได้ให้โหรหาฤกษ์เมื่อเวลาเคลื่อนกองทัพเข้าโจมตีข้าศึก คืออังกฤษ เพื่อหวังชัยชนะ ซึ่งปรากฏ ๓๔๔

จักรเทพ ราพึงกิจ, “การศึกษาเชิงวิเคราะห์ทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีต่อโหราศาสตร์ใน ยุคปัจจุบัน”, วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย), ๒๕๕๑, หน้า ๖๑.

๑๖๕ ว่า ได้ผลดีแทบทุกครั้ง ต่อมาภายหลังอังกฤษทราบเรื่องนี้เข้า อังกฤษให้โหรหาฤกษ์ยามบ้างและคอย ดักไว้ก่อนว่า ฮิตเลอร์จะใช้ฤกษ์อะไร อังกฤษจะได้หาทางแก้เผ็ดกันทางกลเม็ดของวิชาโหราศาสตร์ ซึ่งปรากฏว่า อังกฤษประสบความสาเร็จย่อมงดงาม จนทาให้กองทัพเยอรมั นต้องปราชัยในตอนหลัง ดังนี้เป็นต้น ถึงแม้ว่า ทั้งเยอรมันและอังกฤษจะใช้โหราศาสตร์สากลเข้าช่วย และของประเทศไทยใช้ โหราศาสตร์ไทยก็ปรากฏผลดีกันทั้งนั้น๓๔๕ นอกจากนี้เทพเจ้าแห่งดวงดาวเหล่านั้น ยังเป็นผู้กาหนดฤดูกาลที่มีผลต่อความเป็นอยู่ ของมนุ ษ ย์ จึ งได้มีการบู ช าเทพเจ้ าดวงดาวเพื่ อให้ เกิดความอุดมสมบู รณ์ ความสงบสุ ข หลี กเลี่ ยง สงคราม ความเจ็บป่วย ความอดอยาก ความแห้งแล้ง และนักบวชโบราณยังคอยเฝ้าสังเกตตาแหน่ง และคานวณการเคลื่ อนที่ ของเทพเจ้าดวงดาว (ดาราศาสตร์) เพื่ อกิ จกรรม การเมือ งและศาสนา โหราศาสตร์จึงถูกนามาใช้ทั้งในด้านศาสนาและด้านวิทยาศาสตร์ในเวลาเดียวกัน ๓๔๖โหราศาสตร์เป็น ศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมายาวนาน กิจกรรมในชีวิตของคนไทยล้วนเกี่ยวข้องกับโหราศาสตร์ เช่น การหาฤกษ์ต่าง ๆ เป็ นที่ปรึกษาในการตัดสินใจ เป็นต้น ๓๔๗ แต่อย่างไรก็ตามโหราศาสตร์ก็ไม่ สามารถบอกความจริงได้ทั้งหมด ชีวิ ตเรามีเสรีภ าพไม่ได้ถูกกาหนดมาแล้ ว ความเพียรของบุคคล ความมีสติสามารถเอาชนะโชคชะตาได้เสมอ๓๔๘ สรุปได้ว่าบทบาทในปัจจุบันของโหราศาสตร์ที่มีต่อวิถีชีวิตของคนไทย มีดังนี้ ทาให้ทราบ ถึงประวัติของเจ้าชะตา,ดูแนวโน้มชีวิตในอนาคต,ตั้งชื่อและเปลี่ยนชื่อ,ใช้ประกอบวินิจฉัย โรคและ สุขภาพ, ใช้ประกอบในการสอบสวนคดีต่าง ๆ ใช้ในการพยากรณ์ดินฟ้าอากาศและใช้พยากรณ์ในเรื่อง เบ็ดเตล็ดทั่วไป เช่น พยากรณ์การเดินทาง ๒.๔.๗ ความสัมพันธ์ของโหราศาสตร์กับปรัชญาและจิตวิทยา นักโหราศาสตร์ต้องอาศัยปรัชญาเมธีเป็นหลักในการอุปมา หรือหลักการเปรียบเทีย บ ทางด้านปรัชญา ตลอดจนการศึกษาโครงสร้างด้านจิตวิทยาของผู้มารับการพยากรณ์มาประมวลกับ ความรู้ทางโหราศาสตร์ แล้วจึงสามารถทานายหรือพยากรณ์ เมื่อกล่าวเป็นคาพยากรณ์ออกเมาก็ยัง ต้องอาศัยหลักจิตวิทยาและหลักปรัชญา เพื่อให้เกิดความศรัทธาเชื่อถือแก่ผู้มาขอรับการพยากรณ์อี ก ด้วย โหราศาสตร์จึงถือเป็ นศาสตร์ทางปัญ ญาที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาอันสูงยิ่ง เครื่องมือสาคัญของ วิชาการโหราศาสตร์ คือวิชาตรรกศาสตร์ โดยเฉพาะคือการอุปมาหรือการอุปมัย เมื่อศึกษาสูงขึ้น ๆ จะพบว่า มีธรรมชาติคล้ายเป็นศาสนา และที่น่าสนใจคือเข้ากันกับพุทธศาสนาได้เป็น อย่างดี กล่าวคือ โหราศาสตร์เป็นเรื่องของ “ศาสตร์แห่งกาลเวลา” ซึ่งกินความหมายกว้างไปถึงอดีตกาลปัจจุบันกาล และอนาคตกาล วิธีการรู้ จ ะไม่ แตกต่างกัน ระหว่างการกระท ากับ กาลเวลา สิ่ งที่ ได้รับในปั จจุบั น เนื่องจากการกระทาในอดีต ถือเอาวันเวลาที่กระทาอันเป็นผลติดตามมาให้เ กิดได้รับผลในปัจจุบัน ๓๔๕

วาสนา จันทภาษา, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโหราศาสตร์ไทย, หน้า ๑๓-๑๔. กันยาวีร์ สัทธาพงษ์, คิดใหม่โหราศาสตร์หลังนวยุค, หน้า ๒๔-๒๖. ๓๔๗ ศิ ริ น ญ า นภาศั พ ท์ , “พุ ท ธศาสนากั บ โหราศาสตร์ ”, สารนิ พ นธ์ ศิ ล ปศาสตรบั ณ ฑิ ต , (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามหิดล), ๒๕๕๑, หน้า ๖. ๓๔๘ จักรเทพ ราพึงกิจ, “การศึกษาเชิงวิเคราะห์ทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีต่อโหราศาสตร์ในยุค ปัจจุบัน”, วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต , (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย), ๒๕๕๑, หน้า ๑๓๐. ๓๔๖

๑๖๖ เหล่านี้ไม่พ้นกาลเวลาและกรรม ตามหลักคาสอนของศาสนาพุทธที่กล่าวว่า ผลทั้งหลายที่เราได้รับ ถ้าสอนสวนย้อนกลังผ่านมาก็จะทราบว่า เนื่องแต่เหตุเป็นปัจจัย ดังนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่า โหราศาสตร์ เข้ากันกับพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี๓๔๙ ในแง่ข องปรั ช ญาที่ น ามาใช้ ในโหราศาสตร์ จากตั ว อย่ า งของกริย าและปฏิ กิ ริ ย านั้ น ความจริงแล้วเป็นหลักความจริงในทุกกรณี ทั้งในทางโลกและทางธรรม เช่น หากเราขับรถผ่านตาบล ใดไป ตาบลนั้น ๆ ก็ผ่านเราไปเช่นเดียวกัน หรือในการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์ก็โคจร รอบโลกด้ ว ย แม้ ก ฎแห่ งกรรมก็ ม าจากหลั ก ความจริง Action-Reaction นี้ ดั งนี้ เป็ น ต้ น ในการ พยากรณ์โดยวิธีการทางโหราศาสตร์หรือวิธีการใด ๆ ก็ตาม นักพยากรณ์จะต้องทราบปรัชญาของเรื่อง นั้น ๆ การพยากรณ์เรื่องการเมืองผู้พยากรณ์ควรมีความรู้ทางด้านการเมืองการพยากรณ์เรื่องทหาร ผู้พ ยากรณ์ ก็ควรจะต้องมีความรู้ทางด้านการทหาร การพยากรณ์ โรคภัยไข้เจ็บ ผู้ พยากรณ์ ควรมี ความรู้ทางการแพทย์บ้าง การพยากรณ์ลม ฟ้า อากาศ ผู้พยากรณ์ควรต้องมีความรู้เรื่องอุตุนิยมวิทยา ฯลฯ การพยากรณ์จึงจะมีประสิทธิภาพ๓๕๐ นอกจากความรู้ดังกล่าวแล้ว นักพยากรณ์หรือผู้เป็นโหรจะต้อ งมีห ลักปรัชญาเบื้องต้น เป็นพื้นฐานเสียก่อน และยังถือเป็นแบบอย่างที่ยึดถือปฏิบัติกันสืบ ๆ มา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หรือจะเรียกว่าเป็น พุทธปรัชญา ก็ไม่ผิด คือ ผู้ที่บาเพ็ญตนเป็นโหรฯ มีหลักการปฏิบัติ ดังนี้ ๑) ปีหนึ่งต้องไหว้ครูครั้งหนึ่ง ๒) ต้องมีคุณธรรมของโหร คือ ถือศีลธรรมพราหมณ์ ทาใจของตนให้บริสุทธิ์ ๓) สมาทานศีล ๕ เป็นปกติ ๔) ฆ่านางทั้ง ๔ ให้ตาย (คือ ต้องไม่มีอคติ ๔ อย่าง) ๕) ต้องไม่สร้างกรรมชั่ว ถ้าสร้างกรรมชั่วติดตัวไปจนตายตกนรก ๘ ขุม๓๕๑ ส่วนในแง่ของจิตวิทยานั้นโหรเปรียบเสมือนจิตแพทย์ช่วยให้ คนในสังคมมีกาลังใจที่จะ ดาเนิ น ชีวิต ต่ อ ไปอย่ างมี ค วามสุ ข ๓๕๒ สิ่ งที่ นั ก โหราศาสตร์จะหลี ก เลี่ ย งไม่ ได้ ก็ คื อ จะต้อ งทราบ โครงสร้างทางจิตวิทยาของบุคคลในการพยากรณ์ดวงชะตา เพราะคาพยากรณ์เป็นจานวนไม่น้อยที่ แจกรู ป ออกไปโดย อาศั ย ความรู้ ท างจิ ต วิท ยา ในขณะเดี ย วกั น ก็ มี นั ก พยากรณ์ จ านวนไม่ น้ อ ยที่ พยากรณ์ผิดพลาดเพราะขาดความรอบรู้ในวิชานี้ ตัวอย่างเช่น ในกรณีของความเป็นผู้มีวิตกกังวลเป็น ต้น หากในดวงชะตาของผู้ ใดก็ตามบอกว่า เจ้าชะตาผู้ นั้นเป็นผู้มีวิตกกังวล ผู้ ที่ไม่มีความรู้ในวิช า จิตวิทยาจะมองไปทางด้านร้ายเสมอไป แต่ผู้มีความรู้เขาจะพิจารณาออกเป็น 2 แง่ ซึ่งมีทั้งแง่ดีและแง่ ร้าย ซึ่งในแง่ร้ายก็คือ ทาให้เจ้าชะตาเป็นผู้มองโลกในด้านร้าย ไม่มีความสุขในชีวิตหรือหาความสุขใน ๓๔๙

พระมหาประศักดิ์ อคฺ คปญฺ โ (ชั่ งแสง), “ความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์กับกฎแห่ งกรรมของชาวพุ ทธไทย”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย), ๒๕๔๑, หน้า ๔๓. ๓๕๐ พิไลรัตน์ รุจิวณิชย์กุล, “การศึกษาปัญหาสุขภาพจิตของผู้มารับบริการจากหมอดู:ศึกษาเฉพาะ กรณีผู้มารับบริการจากหมอดูของสมาคมโหรแห่งประเทศไทย”, รายงานการวิจัย, หน้า ๓๕-๓๖. ๓๕๑ สิงห์โต สุรยิ าอารักษ์, โหราศาสตร์ไทยเดิม, (กรุงเทพมหานคร: เจริญวิทย์การพิพม์, ๒๕๒๒), หน้า ๖. ๓๕๒ ภิญโญ พงศ์เจริญ, “ บทบาทของโหรในสังคมไทย ”, ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, (คณะพัฒนาสังคม: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ๒๕๔๓), หน้า ๑๔๓.

๑๖๗ ชีวิตยาก ก่อให้เกิดผลเสียในทางสังคม คือ มักหลีกเลี่ยงสังคม อย่างไรก็ดีนักพยากรณ์ผู้มีความรู้ใน โครงสร้างทางจิ ตวิทยาของบุ ค คลย่อมทราบดีว่า ผู้ มีวิตกกังวลทุกคนย่อมมีคุณ สมบัติดีที่ดีเลิศอยู่ ประการหนึ่งคือ เป็ น คนรอบคอบสุ ขุม ซึ่งคุณสมบัติอันนี้ก่อให้ เกิดวิจารณญาณ ไม่ผ ลีผลาม ฯลฯ และอาจสรุปได้ว่า เจ้าชะตาผู้นี้น่าจะสบายเมื่อแก่ ดังนี้ เป็นต้น ซึ่งแน่ละในการพยากรณ์เรื่องราวใด ๆ ก็ตาม ผู้พยากรณ์จะไม่พิจารณาแต่เพียงจุดเดียว หรือในด้านเดียวเท่านั้น แต่เขาจะพิจารณาหลาย ๆ ด้านประกอบกันแล้ววินิจฉัยหาข้อสรุป ๓๕๓หมอดู จึงทาหน้าที่คล้ายจิตแพทย์ช่วยแนะนาผู้ที่เดินทางมาปรึกษาด้วยสีหน้าเศร้าหมองให้กลับไปพร้อม รอยยิ้มและสีหน้าสดใส๓๕๔ หลักจิตวิทยาที่โหรทุกท่านต้องถือเป็นข้อปฏิบัติ คือ จรรยาบรรณโหร ๓ อย่าง ๑) เมื่อเขาหมั้นกันแล้วหรือแต่งงานแล้ว ขอให้ทายเป็นคู่ครองทีเดียว อย่าทายอย่างอื่น มันจะทาให้ผัวเมียทิ้งกัน ถ้าเราทายไม่ใช่คู่ บาปจะหนักกรรมจะสนองถึงหัวแตก ๒) เขาถามถึงการตาย ให้ทายหายเลย เป็นไม่พบวันตาย ถ้าขืนทายตาย คนกาลังเจ็บเสีย ขวัญ บาปกรรมอยู่แก่เรา โกหกไปเถอะ ไม่บาปอีกเหมือนกัน ๓) เรื่องการเมือง อย่าทายร้ายให้ทายดี เพราะมันเป็นเรื่องผิดกฎหมาย๓๕๕ สรุปได้ว่าความสัมพันธ์ของโหราศาสตร์กับปรัชญาและจิตวิทยาคือนักโหราศาสตร์ต้อง อาศัยปรัชญาเป็นหลักในการอุ ปมา หรือหลักการเปรียบเทียบทางด้านปรัชญา ตลอดจนการศึกษา โครงสร้ างด้านจิ ต วิท ยาของผู้ ม ารั บ การพยากรณ์ ม าประมวลกั บ ความรู้ท างโหราศาสตร์ แล้ ว จึ ง สามารถทานายหรือพยากรณ์ เมื่อกล่าวเป็นคาพยากรณ์ออกเมาก็ยังต้องอาศัยหลักจิตวิทยาและหลัก ปรัชญา เพื่อให้เกิดความศรัทธาเชื่อถือแก่ผู้มาขอรับการพยากรณ์

๒.๕ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

จักรเทพ ราพึงกิจ๓๕๖ ได้ทาวิจัยเรื่อง “การศึกษาเชิงวิเคราะห์ทรรศนะของพุทธปรัชญา เถรวาทที่ มี ต่ อโหราศาสตร์ ในยุ ค ปั จจุ บั น ” ผลการวิจั ยพบว่า โหราศาสตร์ มี ป ระวัติ ค วามเป็ น มา ยาวนาน เป็นความรู้ที่เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติแล้วบันทึกเก็บสถิติไว้ จนมีทฤษฎี และหลักการเป็นของตนเอง ข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์มีทั้งสนับสนุนและขัดแย้งกับความเชื่อของ โหราศาสตร์ ประเด็นปัญหาทางอภิปรัชญาที่เกี่ยวข้องสาคัญคือเรื่องจักรวาลวิทยา เรื่องการทานาย อนาคต และเรื่องเจตจานงเสรีกับนิยัติ นิยม ปัจจุบันอิทธิพลของโหราศาสตร์มีมากขึ้น ได้รับความ ๓๕๓

พิไลรัตน์ รุจิวณิชย์กุล, “การศึกษาปัญหาสุขภาพจิตของผู้มารับบริการจากหมอดู:ศึกษาเฉพาะ กรณีผู้มารับบริการจากหมอดูของสมาคมโหรแห่งประเทศไทย, หน้า ๓๗. ๓๕๔ ทานิต โชคธนะศิริ,รัศมน กัลป์ยาศิริ, ภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยงข้องของผู้เข้ารับบริการทาง โหราศาสตร์ , วารสารสมาคมจิ ต แพทย์ แ ห่ งประเทศไทย, ปี ที่ ๕๔ ฉบั บ ที่ ๒, (เมษายน-มิ ถุ น ายน ๒๕๕๒), หน้า ๑๖๙-๑๘๔. ๓๕๕ สิงห์โต สุริยาอารักษ์, โหราศาสตร์ไทยเดิม, หน้า ๗. ๓๕๖ จักรเทพ ราพึงกิจ, “การศึกษาเชิงวิเคราะห์ทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีต่อโหราศาสตร์ใน ยุค ปั จ จุ บั น ”, วิท ยานิ พ นธ์ ศ าสนศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต , (บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลัย : มหาวิท ยาลั ยมหามกุฏ ราชวิท ยาลั ย , ๒๕๕๑), หน้า บทคัดย่อ.

๑๖๘ สนใจมากขึ้นในวงการจิตวิทยา และกระแสนิวเอจในคัมภีร์ทางพุทธศาสนานิกายเถรวาทปรากฏเรื่อง เกี่ย วกับ โหราศาสตร์ ห ลายแห่ ง ในสมัยพุ ท ธกาลมีก ารศึกษาเรื่อ งดาราศาสตร์ ท านายมหาปุ ริส ลักษณะ และทานายฝัน แสดงว่าพระพุทธศาสนายอมรับความมีอยู่ของศาสตร์นี้ แต่ก็ไม่ได้นามาเป็น แนวทางในการประพฤติปฏิบัติ มีพุทธบัญญัติชัดเจนมิให้ภิกษุเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ มีหลักพุทธศาสนา หลายข้อที่สามารถอธิบายโหราศาสตร์ได้ คือ เรื่องนิยาม ๕ เรื่องกรรมและวัฏฏะ เรื่องธาตุ ๔ เรื่อง จริต เรื่องเสรีภาพ ความเพียรและการพึ่งตนเอง จากการวิเคราะห์หลักธรรมเหล่านี้ผนวกกับการใช้ หลักความเชื่อในพุทธศาสนา สรุปได้ว่า โหราศาสตร์ไม่สามารถบอกความจริงได้ทั้งหมด เนื่องจาก มนุษย์มีเสรีภาพหรือเจตนาที่จะเลือกกระทาได้โดยเสรี ภายในสิ่งแวดล้อมที่จากัดด้วยผลของกรรม สรุปได้ว่า ประโยชน์ที่เด่นชัดของโหราศาสตร์คือ ช่วยในการทาความเข้าใจอุปนิสัยและ ศักยภาพของตนเอง รู้จุดอ่อนจุดแข็งของตนเพื่อการพัฒนาให้ดีขึ้นและถูกทิศทาง ช่วยให้เข้าใจผู้อื่น เพื่ อ การอยู่ ร่ ว มกัน อย่ างมี ความสุ ข เป็ น อุ ป กรณ์ ช่ ว ยในการให้ ก ารปรึกษา และ ช่ว ยท าให้ เข้ าใจ ธรรมชาติมากขึน้ โดยเฉพาะเรื่องกรรม ณัชชา ชินธิป ๓๕๗ได้ทาวิจัยเรื่อง “โหราศาสตร์กับการตัดสินใจทางธุรกิจ”งานวิจัยนี้สรุป ได้ว่านักธุรกิจมีการใช้โหราศาสตร์ในการตัดสินใจในหลายเรื่อง เช่น การขึ้นบ้านใหม่ เปิดร้านใหม่ เลือกทาเลที่ตั้ง หาฤกษ์ตั้งเสาเอกเสาโท จัดบ้านจัดห้องตามหลักฮวงจุ้ย ดูโหงวเฮ้งคัดเลือกพนักงาน เลือกหุ้นส่วนลูกค้า เลือกคู่ครอง ประกอบพิธีมงคลสมรส ตรวจดวงชะตาประจาปี เป็นต้น นักธุรกิจ เห็นว่าโหราศาสตร์มีจริง เชื่อถือกันมานานและปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน กลายเป็นประเพณีที่สืบ ทอดมา ท าให้ โหราศาสตร์ เป็ น ส่ ว นหนึ่ งของวิถี ชี วิต เมื่ อไม่ ได้ ป ฏิ บั ติต ามก็ จะไม่ส บายใจ การใช้ โหราศาสตร์ในการตัดสินใจในธุรกิจไม่ใช่เรื่องเสียหาย เนื่องจากสามารถกล่อมเกลาให้คนเชื่อกฎแห่ง กรรม มุ่งทาความดี อยู่ในศีลธรรม มีความสุขุมรอบคอบระมัดระวัง ไม่ประมาท ทาให้ชีวิตมีความหวัง และก าลั งใจ มั่ น ใจในการท าธุร กิ จ และมี ค วามอดทนต่ อ อุ ป สรรค จากงานวิจั ย นี้ ท าให้ ท ราบว่ า โหราศาสตร์มีบทบาทในวงการธุรกิจไม่น้อย และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ควรอย่างยิ่งที่คน ทั่วไปจะมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องโหราศาสตร์นี้อย่างถูกต้อง สรุปได้ว่า นักธุรกิจมีการใช้โหราศาสตร์ในการตัดสินใจในหลายเรื่องทาให้โหราศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต และสามารถกล่อมเกลาให้คนเชื่อกฎแห่งกรรม มุ่งทาความดี มีความสุขุม รอบคอบ ใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาท พระมหาประศักดิ์ อคฺคปญฺโญ (ชั่งแสง) ๓๕๘ได้ทาวิจัยเรื่อง “ความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์ กับกฎแห่งกรรมของชาวพุทธไทย” งานวิจัยนี้ได้ศึกษาเรื่องความเชื่อของชาวไทยในเรื่องโหราศาสตร์ ได้ ศึ ก ษาเรื่ อ งประวั ติ แ ละวิ วั ฒ นาการของโหราศาสตร์ ไ ทย มี ตั ว อย่ า งการท านายทายทั ก ใน พระไตรปิฎก งานวิจัยยังได้ศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างโหราศาสตร์กับดวงดาว ปรัชญา และ จิตวิทยา รวมทั้งประโยชน์ของโหราศาสตร์ นอกจากนั้นมีการศึกษาในเรื่องของกรรมตามหลักพุทธ ๓๕๗

ณัชชา ชินธิป, “โหราศาสตร์กับการตัดสินใจทางธุรกิจ”, วิทยานิพนธ์วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, ๒๕๔๘), หน้า ๒๐๘. ๓๕๘ พระมหาประศักดิ์ อคฺคปญฺโญ (ชั่งแสง), “ความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์กับกฎแห่งกรรมของชาวพุทธ ไทย”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑), หน้า ๑๑๔.

๑๖๙ ศาสนา อ านาจและอิ ท ธิ พ ลของดวงดาวและกรรมในชี วิ ต มนุ ษ ย์ ตลอดจนพิ ธี ก รรมที่ เกี่ ย วกั บ โหราศาสตร์ของชาวพุทธไทยในปัจจุบัน ผลการศึกษาของงานวิจัยนี้พบว่า ชาวพุทธไทยในปัจจุบันเชื่อ โหราศาสตร์ แ ละกฎแห่ งกรรมไปพร้ อ ม ๆ กั น ในขณะที่ ยั ง เชื่ อ ว่ า ท าดี ได้ ดี ท าชั่ ว ได้ ชั่ ว ตามที่ พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนไว้แต่ก็ยังมีความเชื่อในเรื่องโหราศาสตร์โดยใช้ประกอบในการตัดสินใจ ก่อนที่ จะดาเนินกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง สรุปได้ว่า ชาวพุทธไทยในปัจจุบันเชื่อโหราศาสตร์และกฎแห่งกรรมไปพร้อม ๆ กันทา โดยเฉพาะเรื่อง การทาดีได้ดี และทาชั่วได้ชั่ว ภิญโญ พงศ์เจริญ๓๕๙ ได้ทาวิจัยเรื่อง “บทบาทของโหรในสังคมไทย” งานวิจัยนี้ทาโดย โหรที่มีชื่อเสียง เพื่อศึกษาบทบาทของโหรที่มีต่อสังคมไทย เป็นการศึกษาแบบสัมภาษณ์ผู้ที่เป็นโหร และผู้รับบริการ พอสรุปประเด็นสาคัญได้ว่า บทบาทของโหรแบ่งออกได้เป็น ๔ ด้าน คือ บทบาทต่อ ปั จเจกชน บทบาทต่อครอบครัว บทบาทต่อองค์กรหรือหน่ว ยงาน และบทบาทต่อสั งคม ในด้าน ปัจเจกชน โหรมีบทบาทต่อสุขภาพจิตที่ดี (เป็นที่ปรึกษา) สร้างความเชื่อมั่น ช่วยตัดสินใจ ช่วยในการ วางแผนอนาคต สร้างมนุษย์สัมพันธ์ สอดแทรกคติธรรมคาสอน ช่วยด้านพิธีกรรม ตั้งชื่อ การประดับ ตกแต่ ง จนถึ งสื บ ค้ น ของหาย ในด้ า นครอบครัว โหรมี บ ทบาทต่ อ การสร้า งความสั ม พั น ธ์ที่ ดี ใน ครอบครัว แนะแนวการครองเรือน เลือกการศึกษาและประกอบอาชีพ ตั้งชื่อบุตรธิดา วางแผนชีวิตใน อนาคต ด้านพิธีกรรมและฤกษ์ยาม ตลอดจนการจัดบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ในด้านที่เกี่ยวกับองค์กรหรือ หน่วยงาน โหรมีบทบาทต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร การวางแผนและกาหนดนโยบาย ช่วยตัดสินใจ สร้างความเชื่อมั่นในองค์กร ด้านพิธีกรรม การตั้งชื่อและการจัดสถานที่ ในด้านสังคม โหรมีบทบาทต่อเศรษฐกิจ โดยการทานายสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ มีบทบาทด้านสังคม โดยการ พิจารณานิสัยใจคอของผู้คน มีบทบาทด้านการเมือง ด้านจิตใจของคนหมู่มาก พฤติกรรมทางศาสนา วัฒนธรรมและขนมธรรมเนียมประเพณี ใช้ในทางอุตุนิยมวิทยา เตือนภัยต่าง ๆ รวมทั้งด้านการแพทย์ และสังคมสงเคราะห์ ในงานวิจัยเรื่องบทบาทของโหรในสังคมไทยนี้ ทาให้เห็นว่าโหรมีบทบาทหลาย ด้านในสั งคมไทย ทาให้ รู้ว่าคนในปั จจุบั นใช้คาท านายในด้านใดบ้ าง แต่ก็ไม่ได้กล่ าวถึงกลไกการ ทางานและสัมฤทธิผลของการใช้โหราศาสตร์ เป็นการวิจัยของผู้ที่เป็นโหร สัมภาษณ์คนที่เป็นโหร ด้วยกัน และสัมภาษณ์ผู้ใช้บริการที่มีความเชื่อเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว สรุปได้ว่า คนไทยส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าวิถีชีวิตขึ้นอยู่กับอานาจความเพียรพยายาม ตก อยู่ใต้อานาจกรรม และเป็นไปตามกาลเวลา ศิรินญา นภาศัพท์๓๖๐ ได้ทาการวิจัยเรื่อง “พุทธศาสนากับโหราศาสตร์”สารนิพนธ์เล่มนี้ มี จุดประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาโหราศาสตร์ในยุคปัจจุบันให้เกิดความเข้าใจโหราศาสตร์อย่างถูกต้อง ๒) เพื่อศึกษาว่าในทางพุทธศาสนานั้ นได้กล่ าวถึงโหราศาสตร์ไว้อย่างไร มีห ลักธรรมใดบ้างที่สามารถ น ามาเป็ น หลั ก ในการเชื่ อโหราศาสตร์ได้ ๓) เพื่ อ ศึก ษาและน าหลั ก ธรรมในเรื่อ งน าหลั กธรรมใน ๓๕๙

ภิ ญ โญ พงศ์ เจริ ญ , “บทบาทของโหรในสั งคมไทย”, ภาคนิ พ นธ์ ศิ ล ปศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต , (คณะพัฒนาสังคม: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ๒๕๔๓), หน้า ๔๗. ๓๖๐ ศิ ริ น ญ า นภาศั พ ท์ , “พุ ท ธศาสนากั บ โหราศาสตร์ ”, สารนิ พ นธ์ ศิ ล ปศาสตรบั ณ ฑิ ต , (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามหิดล), ๒๕๕๑, หน้า ๓.

๑๗๐ เรื่องกรรม เรื่องนิยาม ๕ เรื่องเสรีภาพ ความเพียรและการพึ่งตนเองที่ได้ศึกษามาประยุกต์ใช้ในการ ดารงชีวิตในปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่าโหราศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มีประวัติมายาวนาน ตั้งแต่มนุษย์เริ่ม สั งเกตปรากฏการณ์ บ นท้ อ งฟ้ า โดยเป็ น ศาสตร์ที่ เติ บ โตผสมผสานมากับ ดาราศาสตร์ เทววิท ยา และศาสนา ตามหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ โหราศาสตร์ถือกาเนิดขึ้น เมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ ปี ก่อน คริ ส ตกาล แถบแม่น้ าไทกรี ส -ยูเฟรตีซ ในดิน แดนเมโสโปเตเมีย และได้รับ การพั ฒ นาต่อ ๆ มาโดยชาวกรีก และชาวอียิป สาหรับโหราศาสตร์ ไทยได้รับอิทธิพลมาจากโหราศาสตร์อินเดีย ซึ่งมี การสืบทอดมาจากพราหมณ์และมีวิวัฒนาการสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน ความเป็นจริงของสังคมไทยนั้น คนมีความเชื่อในเรื่องของโหราศาสตร์ และพระพุทธศาสนาผสมกลมกลืนกันมาช้านาน ท่าทีของ พระพุทธศาสนาต่อโหราศาสตร์ พระพุทธศาสนาสอนหลักแห่งกรรมหรือหลักการพึ่งตน คนเราจะ เจริญหรือเสื่อมอยู่ ที่การกระทาของตนจะบันดาลให้เป็นไป มิใช่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขภายนอกอื่นใดเป็น ส าคั ญ พระพุ ทธศาสนาจึ งเน้ นไปที่ ความพากเพี ยรพยายาม กระท าด้วยตนเอง มีหลั กธรรมทางพุ ท ธ ศาสนาหลายข้อที่สามารถอธิบายในเรื่องโหราศาสตร์ได้ คือเรื่องกรรม เรื่องนิยาม ๕ เรื่องเสรีภาพ ความเพียรและการพึ่งตนเอง จากการวิเคราะห์หลักธรรมเหล่านี้ ผนวกกับหลักความเชื่อทางพุทธ ศาสนาสรุปได้ว่าโหราศาสตร์ไม่สามารถบอกความจริงได้ทั้งหมด เนื่องจากมนุษย์มีเสรีภาพที่จะเลือก กระท าได้ โดยเสรี ภายในสิ่ งแวดล้ อ มที่ จ ากั ด ด้ ว ยผลของกรรม ผลของการวิจั ยภาคสนามพบว่ า ชาวพุทธไทยในปัจจุบันเชื่อโหราศาสตร์และกฏแห่งกรรมไปพร้อม ๆ กัน ในขณะที่ยืนยันว่า "ทาดีได้ดี ทาชั่วได้ชั่ว" ตามที่พระพุทธศาสนาสอนไว้ แต่ก็ยังมีความเชื่อในเรื่องโหราศาสตร์และใช้โหราศาสตร์ เป็นส่วนประกอบ ในการพิจารณาตัดสินใจ ก่อนที่จะดาเนินกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ประโยชน์ที่ เด่นชัดของโหราศาสตร์คือ ช่วยในการทาความเข้าใจอุปนิสัยและศักยภาพของตนเอง รู้จุดอ่อนจุดแข็ง ของตนเพื่อการพัฒนาให้ดีขึ้นและถูกทิศทาง ช่วยให้เข้าใจผู้อื่น เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สรุ ป ได้ ว่ าชาวพุ ท ธไทยในปั จ จุ บั น เชื่ อ โหราศาสตร์ แ ละกฎแห่ งกรรมไปพร้ อ ม ๆ กั น โหราศาสตร์เป็นอุปกรณ์ช่วยในการให้การปรึกษาและช่วยทาให้เข้าใจธรรมชาติมากขึ้นโดยเฉพาะ เรื่องกรรม ศิริชัย ทรวงแสวง๓๖๑ได้ทาการวิจัยเรื่อง“ความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์กับพฤติกรรมการ ดาเนินธุรกิจ กรณีศึกษากลุ่มนักธุรกิจของหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ”ผลการศึกษาพบว่านักธุรกิจ หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ส่วนใหญ่มีความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์และมีพฤติกรรมการใช้โหราศาสตร์ใน การดาเนินธุรกิจในระดับปานกลาง มีการใช้โหราศาสตร์ในการบริหารการตลาด,การบริหารบุคคล, การกาหนดนโยบาย,การจัดหาทรัพยากร, การวางแผนในการดาเนินธุรกิจและการกาหนดนโยบาย เป็ น อัน ดับ รองลงมาโดยล าดับ นั กธุรกิจส่ว นใหญ่ มีลักษณะพฤติกรรมการใช้โหราศาสตร์เพื่อการ ดาเนินธุรกิจโดยมีการผสมผสานระหว่างความเชื่ออานาจภายในตนเองกับอานาจที่นอกเหนือจาก อานาจการควบคุม คือดวงชะตาที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาโอกาส เพื่อสร้างความมั่นใจในการดาเนิน ธุรกิจ และด้วยความต้องการของมนุษย์ในการควบคุมอนาคต หรือความคาดหวังต่อผลประโยชน์ ๓๖๑

ศิริชัย ทรวงแสวง, “ความเชือ่ ในเรื่องโหราศาสตร์กับพฤติกรรมการดาเนินธุรกิจกรณีศกึ ษากลุ่มนัก ธุรกิจของหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่”, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๔๘), หน้าบทคัดย่อ.

๑๗๑ หรือความสาเร็จที่จะเกิดขึ้นจากการดาเนินกิจกรรมใด ๆ จะเป็นแรงผลักดันที่ทาให้บุคคลแสวงหาสิ่ง ต่าง ๆ เพื่อให้ตนเองประสบความสาเร็จ สรุป ได้ว่าความเชื่อเรื่ องโหราศาสตร์เป็ นสิ่ งหนึ่งที่ มีผ ลต่อการแสดงพฤติกรรมในการ ดาเนินธุรกิจ กฤติ ก าวลั ย หิ รั ญ สิ ๓๖๒ ได้ ท าการวิ จั ย เรื่ อ ง “ศึ ก ษาความสอดคล้ อ งของหลั ก การ พยากรณ์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทและวิชาโหราศาสตร์ไทย” การศึกษาพบว่า การพยากรณ์ เป็นศาสตร์ที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานาน ในสมัยก่อนพุทธกาล และในสมัยพุ ทธกาลนั้น อิทธิพลของ ศาสนาฮิ น ดู -พราหมณ์ มี ค่ อ นข้ า งสู ง มากในประเทศอิ น เดี ย อิ น เดี ย เป็ น แหล่ ง ก าเนิ ด ของ พระพุทธศาสนา การพยากรณ์จึงเป็นความรู้ ของพวกพราหมณ์ตามคัมภีร์พระเวท โดยมากพราหมณ์ จะเป็นผู้พยากรณ์ดังปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาทหลายตอน เช่น พราหมณ์ ๘ คนได้ ทานายเจ้าชายสิทธัตถะ ส่วนการพยากรณ์โดยพระพุทธองค์นั้ นเป็นพระญาณบารมีเฉพาะพระองค์ ไม่มีห ลักการ ไม่เกี่ยวข้องกับหลักวิชาโหราศาสตร์แต่อย่างใด วิช าโหราศาสตร์ไทยมีประวัติความ เป็ น มายาวนาน มีห ลั ก การทฤษฎี ข องตนเอง ในเรื่อ งของการพยากรณ์ เหตุการณ์ ในอนาคตและ เจตจ านงของบุ ค คล ในสั ง คมปั จ จุ บั น โหราศาสตร์ มี อิ ท ธิ พ ลค่ อ นข้ า งกว้ า งขวางในทุ ก วงการ ความสอดคล้ อ งหลายประการระหว่ างพระพุ ท ธศาสนาเถรวาทและโหราศาสตร์ไทย คื อ ความ สอดคล้องในด้านความเชื่อ ด้านคุณธรรม ด้านจรรยาบรรณ และด้านการพยากรณ์มีหลักคาสอนใน พุ ท ธศาสนาที่ อ ธิบ ายในทางโหราศาสตร์ ได้ เช่ น ธาตุ ๔ ,กรรมและวั ฏ ฏะของชี วิ ต ผลสรุป ของ การศึ กษา คื อ โหราศาสตร์ ไม่ ส ามารถบอกความเป็ น จริงได้ทั้ งหมดของชี วิต เนื่ อ งจากมนุ ษ ย์ มี เสรีภาพในการเลือกที่จะกระทา สรุปได้ว่า วิชาโหราศาสตร์ที่แท้จริง คือ การทาให้มีความเข้าใจในศักยภาพของตนเอง และผู้อื่น จะทาให้ การอยู่ กับ ผู้อื่น ได้อย่างเหมาะสม เป็นการช่วยให้ คาปรึกษา และช่วยให้ เข้าใจ ธรรมชาติมากขึ้นโดยเฉพาะกฎแห่กรรม สาคร สังฆะณา๓๖๓ ได้ทาการวิจัยเรื่อง “ศึกษาการพยากรณ์กับการให้คาปรึกษาเชิงพุทธ เพื่อบาบัดความเครียดของผู้มารับบริการจากสมาคมโหรภาคเหนือ” จากการวิจัยพบว่า การพยากรณ์ เป็นการนาเอาหลักการและทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการพยากรณ์โดยผู้ที่ทาหน้าที่ในการพยากรณ์นั้น จะเป็นโหราจารย์ หรือบุคคลผู้ที่มีความสนใจในศาสตร์การพยากรณ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการเลี้ยงชีพ โดยมีการนาเอาเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการพยากรณ์กันอย่างแพร่หลาย การพยากรณ์มีความ เป็ น มาก่อนพระพุทธศาสนา ผสมผสานความเชื่อดั้งเดิมกับดาราศาสตร์ เทววิทยา มีอิทธิพลจาก ศาสนาพราหมณ์ -ฮินดู ที่ว่าด้วยการทานาย คาดการณ์ ที่บอกให้รู้ว่าเหตุการณ์ที่กาลังจะเกิดขึ้นทั้ง เรื่องของเหตุการณ์ธรรมชาติ สังคม และวิถีชีวิตของบุคคล การพยากรณ์ในพระพุทธศาสนานั้นไม่ได้ ๓๖๒

กฤติกาวลัย หิรัญสิ, “ศึกษาความสอดคล้องของหลักการพยากรณ์ในคัมภี ร์พระพุทธศาสนาเถร วาทและวิ ช าโหราศาสตร์ ไ ทย ”, วิ ท ยานิ พ นธ์ พุ ท ธศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต , (บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย : มหาวิ ท ยาลั ย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔), หน้าบทคัดย่อ. ๓๖๓ สาคร สังฆะณา, “ศึกษาการพยากรณ์กับการให้คาปรึกษาเชิงพุทธเพื่อบาบัดความเครียดของผู้มา รับ บริการจากสมาคมโหรภาคเหนือ ”, วิทยานิ พนธ์พุทธศาสตรดุ ษฎี บั ณฑิ ต , (บัณ ฑิต วิท ยาลัย : มหาวิท ยาลั ย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๕๗), หน้าบทคัดย่อ.

๑๗๒ ให้ความสาคัญเพียงแต่ให้ศึกษาไว้เพื่อทราบถึงวันข้างขึ้นข้างแรมทางจันทรคติเพื่อประโยชน์ในการ นับวันลงอุโบสถสวดปาติโมกข์ ถึงแม้การพยากรณ์มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาหลายสถานที่ เวลา และบุคคล เช่น การพยากรณ์ลาดับพุทธวงศ์ พระพุท ธเจ้าทรงพยากรณ์พระสุบินของพระองค์ เอง พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์พระสุบินของพระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นต้น ซึ่งจากเหตุการณ์เหล่านี้เป็น เหตุให้การพยากรณ์มีอิทธิพลต่อความเชื่อของพุทธบริษัทในทุกด้านของการดาเนินชีวิตประจาวัน เช่น ด้านสุขภาพ ด้านครอบครัว ด้านการศึกษา ด้านการเงิน และด้านการงานมาจนถึงปัจจุบัน การให้ คาปรึกษาเชิงพุทธเพื่อบ าบั ดความเครียดนั้น เป็นการบูรณาการกันระหว่างการพยากรณ์ การให้ คาปรึกษาและความเครียด โดยนาหลักธรรมทางพุทธศาสนาเข้ามาใช้ในการให้คาปรึกษาเพื่อบาบัด ความเครียดด้วย เช่น ทาน ศีล ภาวนา ไตรลักษณ์ จริต ๖ สังคหวัตถุ ๔ อิทธิบาท ๔ ทิฎฐธัมมิกัตถ ประโยชน์ และมิจฉาวณิชชา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างบุคคลผู้มีปัญหาความเครียดที่ปรากฏใน คัมภีร์พระพุทธศาสนา เช่น พระนางกีสาโคตรมีเถรี พระนางเขามาเถรี พระนางปฏาจาราเขรี และ พระองคุลิมาล เป็ นต้น ซึ่งได้รับคาปรึกษาจากพระพุทธเจ้า และได้บรรลุเป็นอรหันต์ในเวลาต่อมา การพยากรณ์ กั บ การให้ ค าปรึ ก ษาเชิ ง พุ ท ธเพื่ อ บ าบั ด ความเครี ย ดนั้ น เป็ น การบู ร ณการเพื่ อ วัตถุประสงค์อันยิ่งใหญ่และชัดเจนคือต้องการบาบัดทุกข์ บารุงสุข ให้กับผู้ที่ประสบปัญหากับความ ทุกข์ ความเครียด จากการดาเนินชีวิตประจาวันในด้านต่าง ๆ ให้ได้รีบการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและ มีประสิทธิภาพสูงสุด ตามหลักการ กระบวนการ และวิธีการที่ชัดเจนที่สุด เพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ ความเครียดให้ประสบความสาเร็จอย่างยั่งยืนและตลอดไป สรุป ได้ว่า การพยากรณ์ ในการให้ คาปรึกษาเชิงพุ ท ธเพื่ อบ าบั ดความเครี ยด เป็ น การ บู ร ณการเพื่ อการบ าบั ดทุ กข์ ให้ กั บผู้ ที่ ป ระสบปั ญ หากับ ความทุก ข์ ความเครียด จากการดาเนิ น ชีวิตประจาวันในด้านต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ ความเครียดให้ประสบความสาเร็จอย่างยั่งยืน พระวิชัย วิชโย (แสงสว่าง)๓๖๔ ได้ทาการวิจัยเรื่อง “ศึกษาการบูรณาการหลักอริยสัจ ๔ ในการให้คาปรึกษา”พบว่า วิทยานิพนธ์เรื่อง ศึกษาการบูรณาการหลักอริยสัจ ๔ ในการให้คาปรึกษา มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาหลักอริสัจจ์ ๔ ๒) เพื่อศึกษากระบวนการให้การปรึกษาแบบเผชิญความ จริง ๓) เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักอริยสัจจ์ ๔ กับการให้คาปรึกษาแบบเผชิญความจริง ผลการวิจัย พบว่า ทฤษฎีเผชิญความจริงเป็นทฤษฎีที่ช่วยให้คนที่มีปัญหาสามารถอยู่ในสังคมโดยไม่เน้นความรู้สึก มุ่งเปลี่ ย นแปลงพฤติ กรรมที่ ไม่ มีค วามรับ ผิ ด ชอบ และอยู่ ในสั งคมได้ โดยเป็ นส่ ว นหนึ่ งของสั งคม แต่หลักอริยสัจจ์ ๔ ที่นามาประยุกต์ใช้ในการให้คาปรึกษาจะเน้นที่อารมณ์ปัจจุบัน เพื่อให้กายและจิต สัมพันธ์กันในการปฏิบัติหน้าที่เพราะสติสัมปชัญญะเป็นองค์ธรรมรองรับการปฏิบัติธรรม ทั้งสมถะ และวิปัสสนาในหลักอริยสัจจ์ ๔ ข้อสุดท้ายคือมรรค เมื่อศึกษาจนถึงที่สุดจะเห็นได้ชัดเจนว่า ทฤษฎี การเผชิญความจริงแก้ปัญหาอยู่ในระดับจิตใจความเป็นอยู่ขั้นโลกียวิสัย ซึ่งไม่เน้นคุณธรรมที่พิเศษ หรือความหลุ ดพ้น ทางจิ ตวิญ ญาณที่เป็นโลกุตรธรรมเหมือนหลักธรรมในศาสนา โดยเฉพาะพุท ธ ศาสนา การบู รณาการหลักอริย สัจจ์ ๔ ในการให้คาปรึกษาก็คือ การนาเอาหลักไตรสิกขา คือ ศีล ๓๖๔

พระวิ ชั ย วิ ช โย (แสงสว่ า ง), “ศึ ก ษาการบู ร ณาการหลั ก อริ ย สั จ ๔ ในการให้ ค าปรึ ก ษา” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต , (บัณฑิ ตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย , ๒๕๕๓), หน้าบทคัดย่อ.

๑๗๓ สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นแนวทางแห่ง มรรคในพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชาวโลก หรือสรุปอีกอย่างหนึ่งว่า ปฏิจจสมุปบาท ไตรลักษณ์ การปรึกษาแบบเผชิญความจริง และไตรสิกขา สงเคราะห์ลงได้ในหลักอริยสัจจ์ ๔ มีไว้เพื่อ คอยช่วยเหลือผู้มีความสับสนวุ่นวายว้าวุ่น ไม่พร้อมที่จะ คิด พิ จ ารณาในปั ญ หาชี วิต ของตนให้ ก ลั บ มามีส ติ ใช้ปั ญ ญาแก้ปั ญ หาอย่างมีทิ ศ ทาง ทั้ งปั ญ หาที่ เกี่ยวข้องกับบุคลใกล้ชิด สังคม สิ่งแวดล้อมและการศึกษา หรือเกี่ยวกับหน้าที่การงานต่าง ๆ ที่สาคัญ คือ มุ่งให้คนปกติผู้มีสุขภาพจิตดีอยู่แล้ว สามารถที่จะพัฒนาภาวะทางจิตใจจนบรรลุระดับสูงสุดออก จากวัฏสงสารได้ สรุ ป ได้ ว่ า การบู ร ณาการหลั ก อริ ย สั จ จ์ ๔ ในการให้ ค าปรึก ษาก็ คื อ การน าเอาหลั ก ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นแนวทางแห่งมรรคในพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ให้เกิด ประโยชน์แก่ชาวโลก สมใจ ตันติวัฒน์๓๖๕ ได้ทาการวิจัยเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์เทคนิคการให้คาปรึกษาด้วย พุทธวิธีสาหรับนักเรียน พบว่า การวิจัยเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์เทคนิคการให้คาปรึกษาด้วยพุทธวิธี สาหรับ นักเรียนมีวัตถุป ระสงค์เพื่อศึกษา ๓ ประการ คือ ๑) พุทธวิธีการให้คาปรึกษาที่ปรากฏใน คั ม ภี ร์ พ ระพุ ท ธศาสนาเถรวาท ๒) เทคนิ ค การให้ ค าปรึ ก ษาแก่ นั ก เรี ย นในสั ง คมไทยปั จ จุ บั น และ ๓) วิเคราะห์เทคนิคการให้คาปรึกษาด้วยพุทธวิธีมาใช้กับนักเรียน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษา ด้ว ยพุ ท ธวิธีม าใช้ กับ นั ก เรี ย น การศึ กษาครั้งนี้ เป็ น การศึก ษาในเชิงเอกสาร โดยศึก ษาข้อมู ล จาก พระไตรปิฎก อรรกถา ฎีกา หนังสือและผลงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องและนามาวิเคราะห์สรุปข้อมูลเชิง พรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑. พุทธวิธีการให้คาปรึกษาที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท มีวิธีการในการให้ คาปรึกษาที่หลากหลายและที่สาคัญมี ๒ วิธี ได้แก่ ๑) ตามหลักสมถกรรมฐาน คือมุ่งเน้นให้ผู้รับคือ มุ่งเน้นให้ผู้รับคาปรึกษาฝึกจิตให้มีความสงบ มีความเข้มแข็ง มีสมาธิในการเผชิญกับปัญหา ความทุกข์ ที่ ต นได้ป ระสบอยู่ ด้ ว ยปั ญ ญา และ ๒) ตามหลั ก วิปั ส สนากรรมฐาน คื อ มุ่ งให้ ผู้ รับ ค าปรึกษาได้ พิ จ ารณาตามความเป็ น จริ ง ฝึ ก ฝนให้ เกิ ด สติ ปั ญ ญา และรู้ เท่ า ทั น ความคิ ด ของตั ว เองตามหลั ก สั มมาทิ ฏ ฐิ ไม่ถูกครอบงาด้ว ยอานาจกิเลส จะเห็ นได้ว่า การให้ คาปรึกษาทั้ง ๒ วิธี มีจุดมุ่งหมาย เดียวกันของการพัฒนามนุษย์แบบองค์รวม ไม่แยกส่วนประกอบระหว่างกายกับใจ และเป็นไปตาม ลั ก ษณะนิ สั ย ความแตกต่ า งระหว่ า งบุ ค คล โดยพระพุ ท ธองค์ ท รงใช้ ให้ ค าปรึ ก ษาตามจริ ต ๖ เป็นองค์ประกอบสาคัญ ๒. เทคนิคการให้ปรึกษาแก่นักเรียนในสังคมไทยปัจจุบัน พบว่า หลักธรรมสาหรับเพื่อ น ามาใช้ พั ฒ นาปั ญ ญาของนั ก เรี ย นให้ เป็ น ไปในทิ ศ ทางที่ ถู ก ต้ อ งของการด าเนิ น ชี วิ ต ประจ าวั น โดยเฉพาะมีจิตสานึกในหลักศีลธรรม อันเป็นบรรทัดฐานความดีงามของชาวพุทธซึ่งมีคาสอนของ พระพุ ทธศาสนาเป็ น ทิ ศทางส าหรั บควบคุมความประพฤติทางกาย วาจา ใจ โดยมีห ลั กอริยสั จจ์ ซึ่งเป็นทฤษฎีการให้คาปรึกษาที่สาคัญเพื่อนามาประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหาของมวลมนุษย์เกี่ยวข้อง ๓๖๕

สมใจ ตันติวัฒ น์, “การศึกษาวิเคราะห์เทคนิคการให้คาปรึกษาด้วยพุทธวิธีสาหรับนักเรียน”, วิท ยานิ พนธ์พุทธศาสตรมหาบัณ ฑิต , (บัณ ฑิ ตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ ราชวิทยาลัย , ๒๕๕๔), หน้าบทคัดย่อ.

๑๗๔ ด้วยปัจจัย ๔ สาหรับยังอัตภาพร่างกายให้ดารงอยู่ได้ และต้องพัฒนาแบบองค์รวมระหว่างทางกายกับ ทางใจตามหลักภาวนา ๔ เป็นองค์ประกอบสาคัญเพื่อนาไปสู่ผล คือ ความสุขของ มวลมนุษยชาติ ๓. วิเคราะห์เทคนิคการให้คาปรึกษาด้วยพุทธวิธีมาใช้กับนักเรียน พบว่า ผู้ให้คาปรึกษา นั ก เรี ย นประกอบด้ ว ย พระสงฆ์ พ่ อ แม่ ผู้ ป กครอง และครู อ าจารย์ จะต้ อ งปฏิ บั ติ ต นตามหลั ก ปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคม โดยเฉพาะต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นักเรียนตามหลัก ทิศ ๖ เพื่อจะได้น้องไปใช้ในการดาเนินชีวิต ซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษา การประกอบอาชีพ และการคบ หาสมาคมกับเพื่อน ก็ต้องไม่ผิดหลักศีลธรรมอันเป็นจริยธรรมขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ และเป็น ตัวชี้วัดความเจริญงอกงามทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ผ่านการพัฒนาตาม หลักไตรสิกขา เพื่อแก้ไขปัญหาของชีวิต และเพื่อเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ คือ มุ่งหวังประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชนร่วมกัน ทั้งสองฝ่ายก็ช่วยให้ก้าวหน้าไป และบรรลุประโยชน์ทั้งสามในที่สุด สรุปได้ว่า เทคนิคการให้คาปรึกษาด้วยพุทธมีวิธีการในการให้คาปรึกษาที่สาคัญมี ๒ วิธี ได้ แก่ ตามหลั กสมถะกรรมฐานและ ตามหลั กวิปั ส สนากรรมฐานการให้ ค าปรึก ษาทั้ งสองวิธี มี จุดมุ่งหมายเดียวกันของการพัฒนามนุษย์แบบองค์รวม ไม่แยกส่วนประกอบระหว่างกายกับใจเพื่อ แก้ไขปัญหาของชีวิต และเพื่อเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ คือ มุ่งหวังประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประ โยชนร่วมกัน ทั้งสองฝ่ายก็ช่วยให้ก้าวหน้าไป พระสุพรชัย อานนฺโท (นครพันธ์)๓๖๖ ได้ทาการวิจัยเรื่อง “ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด เรื่องทุกข์ในพุทธปรัญาเถรวาท กับแนวคิดทุกขนิยมของโชเป็น เฮาเออร์” พบว่า วิทยาพนธ์นี้เป็น การศึกษาเชิงเอกสาร ซึ่งได้ศึกษาเปรีบเทียบแนวความคิดเรื่อง “ความทุกข์” ในพุทธปรัญาเถรวาท กับแนวคิดทุกขนิยมของโชเป็นเฮาเออร์ โดยมุ่งศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน และแนวคิดที่แตกต่างกัน ผลการวิจัยมีดังนี้ ความทุกข์ตามพุทธปรัชญา หมายถึง ภาวะที่บีบคั้นและ สภาพที่ แ ย้ ง ต่ อ ความสุ ข ที่ เกิ ด ขึ้ น กั บ สรรพสิ่ งด้ ว ยการยึ ด มั่ น ถื อ มั่ น ในขั น ธ์ ห้ า สามารถแบ่ งเป็ น ๒ ประเภท คือ ทุกข์ทางกาย และทุกข์ทางใจ แสดงออกมา ๓ ลักษณะ ได้แก่ลักษณะทนได้ยากมี ลักษณะที่แปรปรวนตลอดเวลาไม่อยู่ในอานาจที่จะควบคุมได้ มีลักษณะเป็นของปรุงแต่งและปรุงแต่ง สิ่งอื่นพร้อมกันไปในตัว ด้วยเหตุนี้พุทธปัญญาจึงมีลักษณะเป็นสัจนิยม ไม่เป็นทุกขนิยม โดยที่มีสาเหตุ คื อ อวิ ช ชา ก่ อ ให้ เกิ ด กามตั ณ หา ภวตั ณ หา วิ ภ วตั ณ หา สั ป ปายะสี่ ด้ ว ยการควบคุ ม ของศี ล ซึ่งเกี่ยวเนื่องเพื่อเข้าถึงโลกุตรสุข ด้วยการปฏิบัติที่จะอยู่บนโลกได้อย่างมีความสุข เหนือทุกข์และสุข เข้าถึงบรมสุข นิรามิสสุข เพื่อตัดวงจรของสังสารวัฏ โชเป็นเฮาเอร์กล่าวว่า ความทุกข์ หมายถึง ชีวิตที่ มีแ ต่ ค วามขาดแคลน หรื อความต้ อ งการที่ ไม่ ได้ รับ การตอบสนอง (Unsatisfied will) และความ ต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วยังมีความอยากตามมาอีก ซึ่งก่อให้เกิดเป็นความทุกข์ ๒ ประเภท ใหญ่ ๆ คือ ความทุกข์ทางกาย และความทุกข์ทางใจ แสดงให้ทุกข์เกิดขึ้น ๓ ลักษณะ คือ ลักษณะที่ ดิ้นรน ลักษณะเป็นความปรารถนาอันยังไม่สมหวัง ลักษณะซึมเศร้าและเบื่อหน่ายวิตกกังวล สิ่งที่เป็น สาเหตุให้เกิดความทุกข์ต่าง ๆ มาจาก เจตจานง ความเห็นแก่ตัว และสมรรถภาพในการคิด เมื่อความ ๓๖๖

พระสุพรชัย อานนฺโท (นครพันธ์), “ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องทุกข์ในพุทธปรัญาเถรวาท กับ แนวคิ ด ทุ ก ขนิ ย มของโชเป็ น เฮาเออร์ ” , วิ ท ยานิ พ นธ์ พุ ทธศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต , (บั ณ ฑิ ตวิ ท ยาลั ย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔), หน้าบทคัดย่อ.

๑๗๕ เกิดขึ้น ย่ อมไม่เป็ น ที่ป รารถนาของบุคคล จึงหาวิธีการปลดปล่ อยเพื่อที่ จะให้ ความสุ ขเข้ามาแทน โชเป็นเฮาเออร์จึงกล่าวว่ามี ๒ วิธี ได้แก่ วิธีการดับทุกข์ทางกาย คือการดื่มด่าหรือการเข้าอยู่ในความ งามของศิลปะ และวิธีการดับทุกข์ทางใจ คือ การสละความต้องการทางโลก เมื่อปฏิบัติตามก็จะเข้าถึง ชีวิตที่เป็นสุข ปราศจากความทุกข์ทางกายและความทุกข์ทางใจ อันเป็นการบรรลุถึงเป้าหมายสูงสุด อย่างแท้จริง จากการเปรียบเทียบทั้งสองทัศนะ ทาให้เห็นความคล้ายคลึงกันว่า ชีวิตตามพุทธปรัชญา และโชเป็น เฮาเออร์ เป็ นแก่นที่ทาให้ เป็นทุกข์ ทั้งทางกายและทางใจ ทุกข์เกิดจากการยึดมั่นหรือ ความอยากโดยเฉพาะอย่างยิ่ ง ความอยากในความมีอยู่ ความดับทุกข์ได้มาจากละทิ้งความอยาก ส่วนพุทธปรัชญาต้องละอวิชชาที่เป็นบ่อเกิดของความอยาก และสิ่งที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดคือวิธีการ ดับทุกข์ เพราะพุทธปรัชญาให้ความสาคัญทั้งด้านโลกียสุขกับโลกุตรสุข สรุปได้ว่า ความทุกข์ตามพุทธปรัชญามีสาเหตุคือ อวิชชา ก่อให้ เกิดกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ส่วนความทุกข์ โชเป็นเฮาเอร์ หมายถึง ชีวิตที่มีแต่ความขาดแคลน หรือความต้องการที่ ไม่ได้รับการตอบสนอง ทั้งสองทัศนะ ให้เห็นความคล้ายคลึงกันว่าแก่นที่ทาให้เป็นทุกข์ ทั้งทางกาย และทางใจทุกข์เกิดจากการยึดมั่นหรือความอยาก ณฤดี วิวัชภูรี๓๖๗ ได้ทาการวิจัยเรื่อง “ศึกษาพฤติกรรมความเชื่อของชาวพุทธที่สนใจ โหราศาสตร์ที่มีต่อหลักโหราศาสตร์และหลักศรัทธา ๔” พบว่า หลักโหราศาสตร์และหลักศรัทธา ๔ มีวัตถุประสงค์ ๔ ข้อ ๑) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของชาวพุทธที่สนใจโหราศาสตร์ที่มีต่อหลักโหราศาสตร์ และพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาพฤติกรรมความเชื่อของชาวพุทธที่สนใจ โหราศาสตร์ที่มี ต่อหลัก ศรัทธา ๔ ในพระพุทธศาสนา ๓) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมความเชื่อของชาวพุทธที่สนใจ โหราศาสตร์ ที่ มี ต่ อ หลั ก ศรั ท ธา ๔ ในพระพุ ท ธศาสนา จ าแนกตามเพศ อายุ ระดั บ การศึ ก ษา สถานภาพสมรสและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ๔) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะทั่วไปเกี่ยวกับการ แก้ไขปัญหาของชาวพุทธที่สนใจโหราศาสตร์การวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ชาวพุทธที่สนใจโหราศาสตร์ จานวน ๔๐๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) สอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านความเชื่อของชาวพุทธต่อหลักโหราศาสตร์วิเคราะห์ข้อมู ลโดย การหา ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่า t (t-test) และค่า f (f-test) ค่าสถิติ ที่ ใช้ในการพิ จ ารณาความแตกต่ างของค่าเฉลี่ ย มากกว่า ๒ ตั ว แปร (F-distribution) ผลการวิจั ย พบว่า จานวน ๔๐๐ คน ส่วนใหญ่เมื่อมีปัญหาชีวิตทั่วไปจะเลือกปฏิบัติ ตามหลักทางพระพุทธศาสนา จ านวน ๓๔๔ คน ที่ ใช้ เพื่ อแก้ ปั ญ หามากที่ สุ ดคื อ การให้ ท านจานวน ๑๔๖ คน เกี่ ย วกับ ปั ญ หา ทางด้านคู่ครอง/ครอบครัว จานวน ๑๑๕ คน หลักโหราศาสตร์ที่เลือกใช้มากที่สุดคือบนบานสิ่งศักดิ์ จานวน ๒๒๑ คน ส่วนใหญ่มักจะปรึกษาโหราจารย์/หมอดู ปัญหาอาชีพ/การงาน จานวน ๑๒๕ คน ชาวพุทธที่สนใจโหราศาสตร์ส่วนใหญ่มักใช้วิธีการแก้ปัญหาตามหลักพระพุทธศาสนา คิดเป็นร้อยละ ๒๘.๗๕

๓๖๗

ณฤดี วิวัชภูรี, “ศึกษาพฤติกรรมความเชื่อของชาวพุทธที่สนใจโหราศาสตร์ที่มีต่อหลักโหราศาสตร์ และหลั กศรัทธา ๔”, วิท ยานิ พนธ์พุ ทธศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต , (บั ณ ฑิ ตวิท ยาลัย : มหาวิท ยาลัย มหาจุฬ าลงกรณ์ ราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔), หน้าบทคัดย่อ.

๑๗๖ สรุปได้ว่า คนส่วนใหญ่เมื่อมีปัญหาชีวิตทั่วไปจะเลือกปฏิบัติตามหลักทางพระพุทธศาสนา และทางโหราศาสตร์เลือกใช้การบนบานสิ่งศักดิ์ ชาวพุทธที่สนใจโหราศาสตร์ส่วนใหญ่มักใช้วิธีการ แก้ปัญหาตามหลักพระพุทธศาสนา ตะวัน วาทะกิจ ๓๖๘ ได้ทาการวิจัยเรื่อง “การพัฒนากรอบมโนทัศน์และมาตรวัดความ ทุกข์ในนิสิตนักศึกษา” พบว่า การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษากรอบมโนทัศน์ของความ ทุกข์และศึกษาประสบการณ์ความทุกข์ใจในบริบ ทพุทธธรรมของนิสิตนักศึกษาไทย ๒) พัฒนาและ ตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของมาตรวัดความทุกข์ ๓) ศึกษาค่าเกณฑ์ปกติในระดับประเทศของ มาตรวัดความทุกข์ในนิสิตนักศึกษา โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสานวิธี โดยมีรูปแบบการวิจัยสารวจ เป็นลาดับขั้นตอน การวิจัยแบ่งออกเป็น ๓ ระยะ คือ ระยะที่ ๑ เป็นการศึกษากรอบมโนทัศน์ของ ความทุกข์ในบริบ ททางพุ ทธธรรมด้ว ยการสังเคราะห์ เอกสารและการตรวจสอบโดยผู้ ทรงคุณ วุฒิ ในระยะนี้ มีการศึกษาประสบการณ์ความทุกข์ในใจนิสิตนักศึกษา ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บ ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์รายบุคคลในนิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาตรี จานวน ๒๑ คน การวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยการจัดกลุ่มข้อมูลด้วยโปรแกรม Atlas.ti ระยะที่ ๒ เป็นการตรวจสอบคุณภาพมาตรวัดที่ พัฒนาขึ้นมาจากนิสิตนักศึกษา จานวน ๑,๐๔๙ คน และระยะที่ ๓ เป็นการศึกษาค่าเกณฑ์ปกติใน นิสิตนักศึกษาปริญญาตรีจากทั่วประเทศ จานวน ๑,๘๑๗ คน ผลจากการศึกษาระยะที่ ๑ พบว่ากิเลส และอกุศลเจตสิกเป็น สาเหตุของความทุกข์ใจ สาหรับผลการศึกษาประสบการณ์ความทุกข์ใจของ นักศึกษา พบ ๔ ประเด็นหลัก ได้แก่ ๑) ความทุกข์ที่นิสิตนักศึกษาประสบ ๒) ภาวะใจเมื่อประสบกับ ความทุกข์ ๓) มูลเหตุแห่งความทุกข์ใจ ๔) สิ่งที่ทาให้ความทุกข์ใจคลี่คลาย ระยะที่ ๒ มาตรวัดความ ทุกข์เริ่มพัฒนาขึ้นจากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาระยะที่ ๑ โดยมาตรวัดนี้ประกอบด้วย ๓ องค์ประกอบ หลัก คือ ๑) ความทุกข์ใจจากความยึดมั่น ๒) ความทุกข์ใจจากความทะยานอยาก และ ๓) ความทุกข์ ใจจากความขัดเคืองและความกังวลใจ ผลของการตรวจสอบและพัฒ นามาตรวัดความทุกข์ในนิสิต นักศึกษาพบว่า มาตรวัดนี้มีความตรงตามเนื้อหาจากการตรวจสอบของผู้ทรงคุณวุฒิ ๙ ท่าน โดยมีค่า ความสอดคล้องตั้งแต่ .๗๐ มีความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์กับความวิตกกังวลต่อสถานการณ์เฉพาะ (r=.๖๒) ความวิตกกังวลของตนเองโดยทั่วไป (r=.๕๗) แบบคัดกรองความซึมเศร้าในวัยรุ่น (r=.๖๐) และแบบวัดภาวะอุเบกขา (r=.-๖๘) มีความตรงภาวะเชิงสันนิษฐานจากกลุ่มรู้ชัด (t=๑๐.๑๖, P<. ๐๐๑) และจากการวิเคราะห์ องค์ป ระกอบเชิงยืน ยัน อันดั บที่ ห นึ่ งโดยพบว่าโมเดลการวัดมีความ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-squar= ๒.๐๗๖ ; p = .๑๕๐ ; CFI = .๙๙๘ ; AGFI ; .๙๙๐ ; RMSEA = .๐๓๖ ; Chi-square/df = ๒.๐๗๖) ละมีค่าความเที่ยงจากสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ของมาตรวัดทั้งฉบับเท่ากับ .๙๒ ระยะที่ ๓ ผลจากการพัฒนาเกณฑ์ปกติ พบว่า คะแนนความทุกข์ใน ภาพรวม ของมาตรวัดความทุกข์ในนิสิตนักศึกษา มีคะแนนปกติอยู่ในช่วง T22 ถึง T82 โดย T50 ตรงคะแนนดิบที่ ๑๖๕ คะแนน ผลสรุปจากการวิจัยครั้งนี้ทาให้ได้เครื่องมือที่สามารถใช้ในการคัด กรองและประเมิน นิสิ ตนักศึกษา และเป็นการพัฒ นาเครื่องมือวัดที่สอดคล้องกับสภาพสั งคมและ ๓๖๘

ตะวั น วาทะกิ จ , “การพั ฒ นากรอบมโนทั ศ น์ แ ละมาตรวั ด ความทุ ก ข์ ใ นนิ สิ ต นั ก ศึ ก ษา”, วิท ยานิ พ นธ์ ศิ ล ปศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาจิ ต วิท ยา, (คณะจิ ต วิ ท ยา: จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย , ๒๕๕๖), หน้าบทคัดย่อ.

๑๗๗ วัฒนธรรมไทยโดยตรง และมีการพัฒนาเกณฑ์ปกติในกลุ่ มตัวอย่างทั่วประเทศทาให้สามารถนาไปใช้ ศึกษาความทุกข์ของนิสิตนักศึกษาในวงกว้างต่อไป สรุปได้ว่า กิเลสและอกุศลเจตสิกเป็นสาเหตุของความทุกข์ใจ เครื่องมือที่สามารถใช้ใน การคัดกรองและประเมินนิสิตนักศึกษา เป็นการพัฒนาเครื่องมือวัดที่สอดคล้องกับสภาพสังคมและ วัฒนธรรมไทยโดยตรง และมีการพัฒนาเกณฑ์ปกติในกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศทาให้สามารถนาไปใช้ ศึกษาความทุกข์ของนิสิตนักศึกษาในวงกว้าง ฌญกร เขียวลงยา ๓๖๙ ได้ทาการวิจัยเรื่อง “แรงจูงใจและความเข้าใจในชีวิตของผู้ขอ คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ในสมาคมโหรแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร” พบว่า การศึกษาเรื่อง “แรงจูงใจและความเข้าใจในชีวิตของผู้ขอคาปรึกษาทางโหราศาสตร์ในสมาคมโหรแห่งประเทศไทย กรุ งเทพมหานคร” มี วัต ถุ ป ระสงค์ เพื่ อ ๑) ศึ ก ษาระดั บ แรงจู งใจและความเข้ าใจชี วิ ต ของผู้ ข อ คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ในกรุงเทพมหานคร ๒) ศึกษาเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจและความเข้าใจ ชีวิตของผู้ขอคาปรึกษาทางโหราศาสตร์ในกรุงเทพมหานคร จาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลประกอบด้วย เพศ อายุ วันเกิด การศึกษา รายได้ต่อเดือน อาชีพ สถานภาพสมรส กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ขอ คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ จากสมาคมโทรแห่งประเทศไทย เขตกรุงเทพมหานคร จานวน ๒๙๖ คน สถิ ติ ที่ ใช้ ป ระกอบด้ ว ย การแจกแจงความถี่ (Frequency Distibution) ค่าร้อ ยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) ผลการศึกษา ๑) ข้อมูลทั่วไป พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ ๖๙.๖ อายุมากกว่า ๒๑-๓๐ ปี ร้อยละ ๓๐.๑ เกิด วันศุกร์ ร้อยละ ๑๖.๖ การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ ๔๙.๗ รายได้ต่อเดือนต่ากว่า ๑๐,๐๐๐ บาท ร้อยละ ๔๐.๕ เป็นโสด ร้อยละ ๕๔.๑ ๒)ความแตกต่างในระดับแรงจูงใจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มี ความแตกต่างในอายุ อาชีพ เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส มีความแตกต่างในระดั บแรงจูงใจ ที่ระดับ .๐๕ ในกลุ่มตัวอย่างแรงจูงใจและความเข้าใจในชีวิตของผู้ขอคาปรึกษาทางโหราศาสตร์ ส่วน กลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน ตามรายได้ต่อเดือน อายุ เพศ และวันเกิด ไม่แตกต่างกัน ส่วนกลุ่มตัวอย่าง ที่มีความแตกต่างในอายุ อาชีพ เพศ ระดับ การศึกษา สถานภาพสมรส มี ความแตกต่างในระดั บ แรงจูงใจ ที่ระดับ .๐๕ ขณะที่ กลุ่มตัวอย่างที่มีความแตกต่างในอายุ เพศ และวันเกิด สรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีความแตกต่างในอายุ อาชีพ เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพ สมรส มีความแตกต่างในระดับแรงจูงใจ ส่วนในกลุ่มตัวอย่างแรงจูงใจและความเข้าใจในชี วิตของผู้ขอ คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน ตามรายได้ต่อเดือน อายุ เพศ และวันเกิด ไม่แตกต่างกัน พรทิ พ ย์ จงเจิ ด ศั ก ดิ์ ได้ ศึ ก ษาเรื่ อ ง “ความเชื่ อ ถื อ ของหมอดู กั บ ความตั้ งใจกระท า พฤติกรรมของผู้ใช้บริการ” ค้นพบว่า ผู้ที่มาใช้บริการส่วนใหญ่นั้น มีอายุอยู่ระหว่าง ๒๖ ถึง ๓๐ ปี และมีสถานภาพเป็นโสด การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า ส่วนผู้รับจ้างหรือพนักงานมี รายได้อยู่ระหว่าง ๑๐,๐๐๐ บาท – ๑๕,๐๐๐ บาท ในการทาตามคาแนะนาของผู้ทานาย ปัญหาและ ๓๖๙

ฌญกร เขียวลงยา, “แรงจูงใจและความเข้าใจในชี วิตของผู้ขอคาปรึกษาทางโหราศาสตร์ใน สมาคมโหรแห่ งประเทศไทย กรุ งเทพมหานคร”, วิ ท ยานิ พ นธ์ พุ ท ธศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต , (บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย , ๒๕๕๕), หน้าบทคัดย่อ.

๑๗๘ คาถามของผู้มาใช้บริการ โดยส่วนใหญ่มาปรึกษาในเรื่องของ การงาน การเงิน ความรัก และเรื่องของ ครอบครัว เรื่องของโรคภัยความปลอดภัย และเรื่องของการศึกษา รวมไปถึงการมาปรึกษาในเรื่องขอ องพิธีกรรมต่าง ๆ การทาบุญการสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การสะเดาะเคราะห์ ซึ่งส่วนใหญ่พบว่า มักจะ ปรึกษากับหมอดูคนเดิม อันนี้คงเป็นเพราะการมีข้อมูลที่เก็บไว้แต่เดิม๓๗๐ สรุปได้ว่า ผู้มาใช้บริการ โดยส่วนใหญ่มาปรึกษาในเรื่องของ การงาน การเงิน ความรัก และเรื่องของครอบครัว เรื่องของโรคภัยความปลอดภัย และเรื่องของการศึกษา สุวิจักขณ์ ภนุสรณ์ฐากูร ได้ทาวิจัยเรื่อง “ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อลักษณะ ของโหร : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนชะอา ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรี ” พบว่า สารนิพนธ์ นี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ๑) เพื่อศึกษาความคาดหวังที่มีต่อคุณลักษณะของโหร ของประชาชน ชุมชนชะอา ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรี ๒) เพื่ อเปรียบเที ยบความคาดหวังที่ มีต่อ คุณลักษณะของโหร ของประชาชนชุมชนชะอา ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรี ที่มีเพศ อายุ ระดับ การศึกษา และอาชีพ ต่างกันและ ๓) เพื่ อศึกษาข้อ เสนอแนะเกี่ยวกับ ปัญ หาและแนว ทางการแก้ไขปัญหาความคาดหวังที่มีต่อคุณลักษณะของโหร ของประชาชนชุมชนชะอา ตาบลชะอา อาเภอชะอา จั งหวัด เพชรบุ รี เครื่องมือที่ ใช้ในการศึ กษาครั้งนี้ คือแบบสอบถาม กลุ่ มตัว อย่างคื อ ประชาชนชุมชนชะอา จานวน ๒๙๑ คน ที่ กาหนดขนาดโดยการเปิ ดตารางส าเร็จรูปของเกร็จซี่ (Krejcie) และมอร์ แกน (Morgan) และใช้วิธีการสุ่ ม อย่างง่าย (Sample Random Sampling) ใน การเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้คือ ใช้สถิติการบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และสถิติอนุมาน คือการทดสอบค่าที (T-Test) การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) หากพบความแตกต่ า งจะทดสอบเป็ น รายคู่ ด้ ว ยวิ ธี ข องเชฟเฟ่ แล้ ว น ามา วิเคราะห์และประมวลผลด้วยคอมพิว เตอร์ ผลการวิจัยพบว่า ๑) ประชาชนชุมชนชะอา ตาบลชะอา อาเภอชะอา จั งหวัด เพชรบุ รี มีค วามคาดหวังต่ อคุ ณ ลั กษณะของโหร โดนรวมอยู่ในระดั บ มาก มีค่าเฉลี่ย ๓.๘๗ เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า มีความคาดหวังอยู่ในระดับมากทุกด้านคือ ด้าน มนุษย์สัมพันธ์มีค่าเฉลี่ย ๓.๙๗ ด้านบุคลิกภาพมีค่าเฉลี่ย ๓.๙๓ ด้านคุณธรรมมีค่าเฉลี่ย ๓.๘๖ และ ด้านการพยากรณ์มีค่าเฉลี่ย ๓.๗๐ ตามลาดับ ๒) ผลการทดลองสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชน ชุมชนชะอา ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรี ที่มีเพศ และอาชีพต่างกัน มีความคาดหวังต่อ คุณลักษณะของโหร โดยรวมทั้ง ๔ ด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนชุมชนชะอา ที่มีอายุและระดับ การศึกษาต่างกัน มีความคาดหวังที่มีต่อคุณลักษณะของโหร โดยรวมทั้ง ๔ ด้าน แตกต่างกัน อย่างมี นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๓) ประชาชนได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไข ปัญหาความคาดหวังที่มีต่อคุณลักษณะของโหร ของประชาชนชุมชนชะอา ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรี ดังนี้ ๑) ด้านการพยากรณ์ ให้เวลาน้อยในการให้คาปรึกษาหรือตอบคาถาม ดังนั้น จึงควรให้ เวลามากกว่านี้ในการให้คาปรึกษา หรือตอบปัญหาต่าง ๆ ที่อยากรู้เพื่อความสบายใจ

๓๗๐

พรทิพย์ จงเจริญศักดิ,์ “ความเชือ่ ถือของหมอดูกับความตั้งใจกระทาพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ”, วิทยานิพนธ์วารสารมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), ๒๕๔๐, หน้า ๑๔๒.

๑๗๙ ๒) ด้านคุณธรรม มีการโฆษณาผ่านสื่อต่าง ๆ ด้วยการอวดอ้างตนเอง ทาให้ ขาดความ น่ าเชื่อถือ ดังนั้ น จึ งควรเชื่อมั่น ในความรู้ความสามารถของตนเองในการทานาย ทาให้ เกิดความ น่าเชื่อถือ โดยไม่จาเป็นต้องอวดอ้างตนเอง ด้วยวิธีการผ่านสื่อต่าง ๆ ๓) ด้านบุคลิกภาพ ไม่ดูแลสุขภาพของตนเองให้ดี (เรื่องกลิ่ นปาก) ทาให้ไม่อยากเข้าใกล้ หรื อพู ดคุย ด้ว ย ดั งนั้ น จึ งควรที่จ ะดูแลสุ ขภาพของตนเองให้ ดี (เรื่องกลิ่ น ปาก และความสะอาด ต่าง ๆ) เพราะเป็นอาชีพที่ต้องพูดคุยกับทุกคนที่เข้ามาให้คาปรึกษาเมื่อไม่สบายใจ และ ๔) ด้านมนุษยสัมพันธ์ มีการตอบปัญหาแบบสองมาตรฐาน เพราะฐานะของบุคคลที่มาให้ คาปรึกษาแตกต่างกัน ดังนั้น จึงควรยึดหลักจรรยาบรรณของการเป็นโหรที่ดี โดยยึดความถูกต้องเป็น เกณฑ์ ให้ความเสมอภาคกับทุกคนที่มาให้คาปรึกษาโดยไม่เป็นแก่เงิน๓๗๑ สรุ ป ได้ ว่ า ความคาดหวั ง ที่ มี ต่ อ คุ ณ ลั ก ษณ ะของโหร ได้ แ ก่ ด้ า นการพยากรณ์ ด้านคุณธรรม ด้านบุคลิกภาพ และด้านมนุษย์สัมพันธ์ ยลดา มณเฑี ย รมณี ได้ ท าการวิ จั ย เรื่ อ ง “หมอดู : ทางเลื อ กความมั่ น คงของจิ ต ” ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุที่ทาให้ผู้มารับการบริการมาหาหมอดูเพราะมีความคาดหวังว่าจะเป็นที่พึ่ง ทางใจเป็นที่ปรึกษาและแนะนาแนวทางเพื่อแกไขปัญหาที่เกิด ขึ้นในชีวิตประจาวัน ได้เป็นการสร้าง ความมั่นใจกาลังใจ ให้กับผู้มารับบริการที่ต้องการผู้ร่วมตัดสินใจในการกระทาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นใน อนาคต และเพื่อความคับข้องใจและทาให้เกิดความสบายใจมากขึ้น สาหรับผู้ที่มารับการบริการส่วน ใหญ่จะอยู่ระหว่างการศึกษา และอยู่ในช่ว งอายุ ๒๐-๓๐ ปี มากที่สุด เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีสภาพเป็นโสดเป็นส่วนมาก ผู้ที่มีช่วงอายุต่ากว่า ๒๐ ปี จะมาหาหมอดูด้วยเรื่องการศึกษา ความรัก และครอบครัว รวมถึงปัญหาทางด้านการงานและอาชีพ ผู้ที่มีอายุ ๓๐-๔๐ ปี จะมาปรึกษาเรื่องของ ครอบครัว รวมถึงปัญหาทางด้ านการงานและสุขภาพ ส่วนผู้ที่มีอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป จะมาปรึกษาขอ คาแนะนาในเรื่องอขงครอบครัว การงาน อาชีพ และสุขภาพความร่ารวย เป็นต้น๓๗๒ สรุปได้ว่า สาเหตุที่ทาให้ผู้มารับการบริการมาหาหมอดูเพราะมีความคาดหวังว่าจะเป็นที่ พึ่งทางใจเป็นที่ปรึกษาและแนะนาแนวทางเพื่อแกไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจาวัน ได้เป็นการสร้าง ความมั่นใจกาลังใจ ให้กับผู้มารับบริการที่ต้องการผู้ร่วมตัดสินใจในการกระทาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นใน อนาคต และเพื่อความคับข้องใจและทาให้เกิดความสบายใจมากขึ้น กัญ ชั ช ศศิ ธ ร ได้ศึ ก ษาเรื่อ ง“บทบาทของหมดดู ในสั งคมไทย:กรณี ศึก ษาเฉพาะเขต กรุงเทพมหานคร” ผลการวิจัยพบว่า นักทานายส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุตั้งแต่ ๔๑ ถึง ๘๐ ปี ระดับ การศึกษาสูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย รายได้นั้นอยู่ระหว่าง ๑๐,๐๐๐ ถึง ๓๐,๐๐๐ บาท และส่วน ใหญ่สมรสแล้วเป็นหัวหน้าครอบครัว ในด้านการทานายนั้นส่วนใหญ่เชื่อในคาทานายของตนเองละมี ความเชื่อในเรื่องของครูบาอาจารย์ อีกทั้งมีความเชื่อเรื่องศาสนา ไสยศาสตร์ และวิญญาณศาสตร์ ปนเปกันไป โดยรวมในด้านของผู้ใช้บริการ พบว่า เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุน้อยและเป็น ๓๗๑

สุวิลักษณ์ ภนุสรณ์ฐากูร, “ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อลักษณะของโหร: ศึกษาเฉพาะกรณี ชุม ชนชะอ า ต าบลชะอา อ าเภอชะอา จั งหวัดเพชรบุ รี ” , วิท ยานิ พ นธ์ศ าสตรมหาบั ณ ฑิ ต , (บั ณ ฑิ ตวิ ท ยาลั ย : มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔), หน้า บทคัดย่อ. ๓๗๒ ยลดา มณเฑียรมณี , “หมอดู: ทางเลือกความมั่นคงของจิต ”, วิทยานิพนธ์สงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๑), หน้า ๗๙.

๑๘๐ โสด การศึกษาค่อนข้างต่า และรายได้ไม่สูงมาก เหตุผลของการมาใช้บริการเนื่ องมาจากความอยากรู้ ในเรื่องของดวงชะตาและอนาคต อีกอย่างเพื่อเป็นกาลังใจและความคาดหวัง ส่วนในเรื่องความถี่การ ใช้บริการปีละ ๑ ครั้ง ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ ๓๕๐ บาทต่อครั้ง ส่วนในเรื่องของการทานาย หากมี การทานายว่า หญิงหรือชายจะมีชู้ (รักซ้อน) นั้นย่อมทาให้เกิดปัญหาภายในครอบครัวทันที ครอบครัว อาจถึงการแตกแยกได้ ซึ่งการมารับการตรวจดวงชะตานั้นมักจะเป็นการบอกกล่าวกันต่อ ๆ กันมา๓๗๓ สรุปได้ว่า ในด้านการทานายนั้นส่วนใหญ่เชื่อในคาทานายของตนเองละมีความเชื่อใน เรื่องของครูบาอาจารย์ อีกทั้งมีความเชื่อเรื่องศาสนา ไสยศาสตร์ และวิญญาณศาสตร์ปนเปกันไป กล่าวโดยสรุ ป งานวิจัย ที่เกี่ยวข้ องกับ การปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุ ท ธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ชาวพุ ท ธไทยในปั จ จุ บั น เชื่ อ โหราศาสตร์ ที่ ว่ า วิ ถี ชี วิ ต ขึ้ น อยู่ กั บ อ านาจของดวงดาว, ความเพีย รพยายาม และเป็ น ไปตามกาลเวลา และกฎแห่ งกรรมไปพร้อ ม ๆ กัน โหราศาสตร์เป็น อุ ป กรณ์ ช่ ว ยในการให้ ก ารปรึ ก ษาและช่ ว ยท าให้ เข้ า ใจธรรมชาติ ม ากขึ้ น โดยเฉพาะเรื่ อ งกรรม โดยเฉพาะเรื่อง การทาดีได้ดี และทาชั่วได้ชั่ว วิชาโหราศาสตร์ที่แท้จริง คือ การทาให้มีความเข้าใจใน ศักยภาพของตนเองและผู้ อื่น จะท าให้ การอยู่กับผู้ อื่นได้อย่างเหมาะสม ประโยชน์ที่เด่นชัดของ โหราศาสตร์คือ ช่วยในการทาความเข้าใจอุปนิสัยและศักยภาพของตนเอง รู้จุดอ่อนจุดแข็งของตน เพื่ อ การพั ฒ นาให้ ดี ขึ้ น และถู ก ทิ ศ ทาง ช่ ว ยให้ เข้ า ใจผู้ อื่ น เพื่ อ การอยู่ ร่ ว มกั น อย่ า งมี ค วามสุ ข เป็นอุปกรณ์ช่วยในการให้การปรึกษา และ ช่วย ทาให้เข้าใจธรรมชาติมากขึ้น แม้ ในทางธุ ร กิ จ การงานความเชื่ อ เรื่ อ งโหราศาสตร์ เป็ น สิ่ ง หนึ่ ง ที่ มี ผ ลต่ อ การแสดง พฤติกรรมในการดาเนินธุรกิจ ใช้โหราศาสตร์ในการตัดสินใจในหลายเรื่องทาให้โหราศาสตร์เป็นส่วน หนึ่งของวิถีชีวิต และสามารถกล่อมเกลาให้คนเชื่อกฎแห่งกรรม มุ่งทาความดี มีความสุขุมรอบคอบ ใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาท ในการให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ผู้มาขอคาปรึกษา มีความคาดหวังที่มีต่อคุณลักษณะ ของโหร ได้แก่ด้านการพยากรณ์ ด้านคุณธรรม ด้านบุคลิกภาพ และด้านมนุษย์สัมพันธ์ และโดยส่วน ใหญ่มาปรึกษาในเรื่องของ การงาน การเงิ น ความรัก และเรื่องของครอบครัว เรื่องของโรคภัยความ ปลอดภัยและเรื่องของการศึกษา เป็นต้น สาเหตุที่ทาให้ผู้มารับการบริการมาหาหมอดู เพราะมีความ คาดหวั ง ว่ า จะเป็ น ที่ พึ่ ง ทางใจเป็ น ที่ ป รึ ก ษาและแนะน าแนวทางเพื่ อ แกไขปั ญ หาที่ เกิ ด ขึ้ น ใน ชีวิต ประจ าวั น ได้ เป็ น การสร้ างความมั่ น ใจก าลั งใจ ให้ กั บ ผู้ ม าขอรับ ค าปรึก ษาที่ ต้ องการผู้ ร่ว ม ตัดสินใจในการกระทาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และเพื่อลดความคับข้องใจและทาให้เกิดความ สบายใจมากขึ้น คนส่ ว นใหญ่ เ มื่ อ มี ปั ญ หาชี วิ ต หรื อ ความทุ ก ข์ มั ก จะเลื อ กปฏิ บั ติ ต ามหลั ก ทาง พระพุทธศาสนาและใช้วิธีการแก้ปัญหาตามหลักพระพุทธศาสนา ความทุกข์ตามพุทธปรัชญามีสาเหตุ คือ อวิชชา ก่อให้เกิดกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นความทุกข์ทั้งทางกายและทางใจ ทุกข์เกิด จากการยึดมั่นหรือความอยาก เทคนิคการให้คาปรึกษาด้วยพุทธมีวิธีการในการให้คาปรึกษาที่สาคัญมี ๓๗๓

หน้า ๗๙.

กัญชัช ศศิธร, “บทบาทของหมดดูในสังคมไทย: กรณี ศึกษาเฉพาะเขต กรุงเทพมหานคร”,

๑๘๑ ๒ วิธี ได้แก่ ตามหลักสมถะกรรมฐานและ ตามหลักวิปัสสนากรรมฐานการให้คาปรึกษาทั้งสองวิธี มีจุดมุ่งหมายเดียวกันของการพัฒนามนุษย์แบบองค์รวม ไม่แยกส่วนประกอบระหว่างกายกับใจเพื่อ แก้ไขปัญหาของชีวิต และเพื่อเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ คือ มุ่งหวังประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประ โยชนร่วมกัน ทั้งสองฝ่ายก็ช่วยให้ก้าวหน้าไป และการบูรณาการหลักอริยสัจจ์ ๔ ในการให้คาปรึกษา ก็คือ การนาเอาหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นแนวทางแห่งมรรคในพระพุทธศาสนามา ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชาวโลก

๒.๕ กรอบแนวคิดในการวิจัย ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักพุทธพยากรณ์ ในพระพุทธศาสนา ทั้งจากพระไตรปิฎก และแนวคิด ของปราชญ์ ท างพุ ท ธศาสนา รวมทั้ งหลั กจิ ตวิท ยา หลั ก โหราศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้ คาปรึกษาทางพุทธจิตวิทยาตามแนวโหราศาสตร์เพื่อการลดทุกข์ สามารถกาหนดกรอบแนวคิดในการ วิจัยดังต่อไปนี้

๑๘๒

หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับ พุทธจิตวิทยา อริยะสัจ๔ , ไตรสิกขา กัลยาณมิตรธรรม๗ สับปุริสธรรม๗ พรหมวิหาร๔ ,จริต๖ สังคหวัตถุ๔,อิทธิบาท๔ หลักการปรึกษา ทั่วไป การให้คาปรึกษา แบบนาทาง การให้คาปรึกษา แบบไม่นาทาง การให้คาปรึกษา โดยยึดผู้รับ คาปรึกษาเป็นจุด ศูนย์กลาง การให้คาปรึกษา เป็นรายบุคคล/ กลุ่ม

หลักจิตวิทยาตะวันตก การให้คาปรึกษาแนวมนุษย์นิยม การให้คาปรึกษาแนวจิตวิทยารู้คิด การให้คาปรึกษาแนวจิตวิเคราะห์ การให้คาปรึกษาแนวพฤติกรรมนิยม การให้คาปรึกษาแนวเกสตัลท์ การให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยา หลักโหราศาสตร์ได้แก่ โหราศาสตร์ ไทยจักรราศี,เลขศาสตร์,ไพ่ยิปซี,หัต ถะศาสตร์(ลายมือ) กระบวนการปรึกษา: อริยะสัจ๔ ขั้นตอนการปรึกษา: ไตรสิกขา คุณสมบัติผู้ให้คาปรึกษา: กัลยาณมิตร คุณสมบัติผู้รับคาปรึกษา:โยนิโสมนสิการ เป้าหมาย: ศรัทธา,ปัญญา ๒.๙ กรอบแนวคิดในการวิจัย

ลดความทุกข์ ในอริยสัจ๔ ความไม่สบาย กาย ไม่สบายใจ คับแค้นใจ ในไตรลักษณ์ ความไม่แน่นอน

การปรึกษา ทาง โหราศาสตร์ ตามแนว พุทธจิตวิทยา เพื่อลดความ ทุกข์

๑๘๓

บทที่ ๓ วิธีดำเนินกำรวิจัย การวิจั ย เรื่ อ งการปรึ ก ษาทางโหราศาสตร์ ต ามแนวพุ ท ธจิ ต วิท ยาเพื่ อ ลดความทุ ก ข์ มีวัตถุป ระสงค์เพื่ อ ๑)ศึกษาหลั กการทางจิตวิทยาและการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุท ธ จิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ๒) เพื่อสังเคราะห์ห ลัก การให้ คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธ จิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ๓) เพื่อนาเสนอ รูปแบบการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยา เพื่อลดความทุกข์ ใช้ ร ะเบี ย บวิ ธี วิ จั ย แบบการวิ จั ย แบบผสม (Mixed- Method Research) ซึ่ งผู้ วิ จั ย ได้ กาหนดแนวทางในการดาเนิน การวิจัย โดยมีรายละเอียดในเรื่องการกาหนดประชากรการสุ่มกลุ่ม ตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูลการจัดทา และการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิจัย ดังนี้ เครื่องมือสาหรับเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ผู้วิจัย นาเสนอ วิธีดาเนินการวิจัยตามลาดับต่อไปนี้ ๓.๑ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ๓.๒ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ๓.๓ การเก็บรวบรวมข้อมูล ๓.๔ การวิเคราะห์ข้อมูล ๓.๕ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย

๓.๑ ประชำกรและกลุ่มตัวอย่ำง ๓.๑.๑ การวิจัยด้านปริมาณ ประชากรที่ ใช้ ในการศึ ก ษาวิ จั ย ครั้ ง นี้ ได้ แ ก่ กลุ่ ม ผู้ รั บ การปรึ ก ษาทางโหราศาสตร์ จากโหราจารย์ที่ให้การปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยา จานวน ๓๕๐ คน กลุ่ มตัว อย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่ มผู้ รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ จากโหราจารย์ที่ให้ การปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยา ซึ่งได้มาโดยใช้สูตรการคานวณกลุ่มตัวอย่าง ของเครซี่ แ ละมอร์ แ กน (Krejcie & Morgan)๑ ที่ ระดั บ ความเชื่ อ มั่ น ๙๕ % ค่ าความคาดเคลื่ อ น ๐.๐๕ สุ่มจานวนตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จากประชากร ตามขนาดของประชากรที่กาหนดไว้จานวน ๙๐๐ คน ได้กลุ่มตัวอย่างจานวน ๒๖๙ คน



พรรณี ลีกิจวัฒ นะ, การวิจัยทางการศึก ษา, พิ มพ์ ครั้งที่ ๘, (กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, ๒๕๕๖), หน้า ๗๓.

๑๘๔ ตารางที่ ๓.๑ ตารางสาเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ๒

๓.๑.๒ การวิจัยด้านคุณภาพ มี วิ ธี ก ารด าเนิ น การสื บ ค้ น ข้ อ มู ล ดั ง ต่ อ ไปนี้ ผู้ ให้ ข้ อ มู ล การสั ม ภาษณ์ แ บบเจาะลึ ก (In-depth Interview) โดยผู้วิจัยได้คัดเลือก ได้แก่ ผู้ให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ โหราจารย์ที่ให้ คาปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยา โหราจารย์ที่เป็นระดับครูอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิระดับดุษฎีบัณฑิต จากสถาบั น ต่ า ง ๆ และนั ก พยากรณ์ อ าชี พ อิ ส ระทั่ ว ไป จ านวน ๑๗ คนใน กรุ ง เทพมหานคร โดยหลักเกณฑ์การเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อเป็นผู้ให้ข้อมูลสาคัญใช้ การเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยพิจารณาถึง การได้ข้อมูลที่ครอบคลุมประเด็นสาคัญเกี่ยวกับรูปแบบการให้คาปรึกษา ทางพุทธจิตวิทยาตามแนวโหราศาสตร์เพื่อการลดทุกข์ โดยผู้วิจัยจะส่งหนังสืออย่างเป็นทางการโดย ค ารั บ รองจากผู้ อ านวยการหลั ก สู ต รฯ เพื่ อ ใช้ ในการสั ม ภาษณ์ ล่ ว งหน้ า และจะก าหนดวั น เวลา ๒

จั ก รกฤษณ์ ส าราญ ใจ, ขนำดของกลุ่ ม ตั ว อย่ ำ งที่ เ หมำะสม , [ออนไลน์ ], แหล่ ง ที่ ม า: https://sites.google.com/site/bb2 4 5 5 9 r/khnad-khxng-klum-tawxyang-thi-hemaa-sm [๑ ๒ ตุ ล า ค ม ๒๕๕๘].

๑๘๕ และสถานที่ ส่วนในขณะการสัมภาษณ์ผู้วิจัยจะขออนุญาตใช้เครื่องบันทึกเสียง และกล้องบันทึกภาพ นิ่ง และเคลื่อนไหว การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ทั้งหมดโดยใช้เทคนิค ๖’C๓ ได้แก่ เริ่ ม ตั้ ง แต่ ข้ อ ๑–๓ วิ เ คราะห์ (Analysis) และ ๓ ข้ อ หลั ง จะเป็ น การสั ง เคราะห์ (Synthesis) โดยศึกษาไปตามลาดับ ดังนี้ ขั้นการวิเคราะห์ ๑. ศึกษาแนวความคิด (Concept) ของผู้ให้ข้อมูลในประเด็นที่เกี่ยวกับ การปรึกษาทาง โหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ๒. ศึ ก ษาเนื้ อ หา (Content) ว่ ามี ป ระเด็ น ใดบ้ า งและทาการจดบั น ทึ ก โดยแยกเป็ น ประเด็ น อย่ า งเด่ น ชั ด โดยมุ่ งเน้ น ความส าคั ญ ที่ เกี่ ย วกั บ การวิ จั ย ครั้ ง นี้ ได้ แ ก่ การปรึ ก ษาทาง โหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ๓. จัดลาดับ (Classification) ความคิดและเนื้อหาของข้อมูล ให้มีการเรียงร้อยตามหลัก เหตุผล ขั้นการสังเคราะห์ ๔. การแบ่งกลุ่ม (Categorizing) ของความคิดและเนื้อหาที่ได้จากการสัมภาษณ์เจาะลึก โดยมุ่งเน้นการหลักการ เป้าหมาย วิธีการ และตัวอย่างหลักธรรมที่โหราจารย์ที่ใช้ในการปรึกษาทาง โหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ๕. การประมวลความรู้ ร วบยอด (Conceptualization) เป็ น การสั ง เคราะห์ ข้ อ มู ล ความคิดและเนื้อหาทั้งหมดรวมเป็นประเด็นหลัก ๖. การสื่อสาร (Communication) เป็นการสื่อความหมาย อภิปรายผลการศึกษาวิจัย ครั้งนี้ออกมาให้เป็นภาษาที่ง่ายสาหรับคนทั่วไปที่จะเข้าใจได้ และทาให้นักวิชาการนาผลที่ได้ไปศึกษา ต่อยอดได้



นภัทร แก้วนาค, เอกสารประกอบการสอนวิชาระเบียบวิธีวิทยาการวิจัย , (กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๕), หน้า ๔๘ (อัดสาเนา).

๑๘๖ แผนภาพที่ ๓.๑ แสดงเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ ๖’C๔

๓.๒ เครื่องมือที่ใช้ในกำรวิจัย ๓.๒.๑ กำรสร้ำงและตรวจสอบเครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยได้ดาเนินการสร้างและตรวจสอบเครื่องมือ ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ ๑) ศึกษาค้นคว้าแนวคิด ทฤษฎี จากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อกาหนด ขอบเขต เนื้อหา โครงสร้างของเครื่องมือ คือแบบสอบถาม (Questionnaire) ๒) ให้ ผู้ เชี่ ย วชาญด้ า นต่ า ง ๆ จ านวนอย่ า งน้ อ ย ๕ ท่ า น เช่ น ด้ า นพุ ท ธศาสตร์ ด้านจิตวิทยา ด้านการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ เป็นต้น ในการตรวจเครื่องมือการวิจัยว่ามีความเที่ยง ตรงและสามารถใช้ในการเก็บข้อมูลได้หรือไม่ ๓) ติ ด ต่ อ ขอหนั งสื อ จาก หลั ก สู ต รพุ ท ธศาสตร์ ดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาพุ ท ธจิ ต วิท ยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ขออนุญาตและขอความร่วมมือถึงผู้บริหาร หรือ หัวหน้า หน่วยงานกลุ่มเป้าหมาย ๔) นาส่งหนังสือขออนุญาต และขอความร่วมมือถึงผู้บ ริหารหรือหน่วยงานเป็นกลุ่ม เป้าหมายโดยกาหนดวันที่จะไปแจกแบบสอบถามด้วยตนเอง ๕) ตรวจสอบความสมบูรณ์ครบถ้วนของแบบสอบถามแล้วนาไปวิเคราะห์ข้อมูล ๔

วาสิตา เกิดผล ประสพศักดิ์, “แบบจาลองการบริหารเชิงพุทธบูรณาการขององค์ กรปกครองส่วน ท้องถิ่น”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย . ๒๕๕๘), หน้า ๑๒๓.

๑๘๗ ๓.๒.๒ เนื้อหำของแบบสอบถำม แบ่งออกเป็น ๔ ตอนดังนี้ ตอนที่ ๑ แบบสอบถามปั จ จั ย ส่ ว นบุ ค คล เกี่ ย วกั บ ข้ อ มู ล ของผู้ ต อบแบบสอบถาม ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ สถานภาพสมรส กิจกรรมทางศาสนาที่ปฏิบัติบ่อย ที่สุด ปัญหาที่มาปรึกษาโหราจารย์มากที่สุด การปรึกษาโหราจารย์ ด้วยศาสตร์ทางโหรฯ แบบการ ปรึกษาโหราจารย์มากน้อยแค่ไหน (ต่อปี ) และการเลือกปรึกษาทางโหราศาสตร์จากโหราจารย์ที่ เป็นแบบสอบถามคาถามปลายปิดที่กาหนดคาตอบไว้ให้ผู้ตอบเลือกตอบ ตอนที่ ๒ แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณสมบัติของโหราจารย์ที่ท่านคาดหวังที่สุด โดยลักษณะ คาถามเป็นแบบมาตรวัดของ ลิเคิร์ ทสเกล (Likert Rating Scale) จานวน ๕ ระดับ ได้แก่ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด โดยคาถามแบ่งออกเป็น ๔ ด้านดังนี้ ๑) ด้านปัญญา ๒) ด้านศีล ๓) ด้านสังคม ๔) ด้านจิตใจ ตอนที่ ๓ แบบสอบถาม เกี่ ย วกั บ การให้ ค าปรึ ก ษาหรื อ การให้ แ นวทางปฏิ บั ติ ข อง โหราจารย์โดยลักษณะคาถามเป็นแบบมาตรวัดของ ลิเคิร์ทสเกล (Likert Rating Scale) จานวน ๕ ระดับ ได้แก่ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด โดยคาถามแบ่งออกเป็น ๔ ด้านดังนี้ ๑) ด้านปัญญา ๒) ด้านศีล ๓) ด้านสังคม ๔) ด้านจิตใจ ตอนที่ ๔ ข้อเสนอแนะทั่วไป เป็นแบบสอบถามปลายเปิด เกี่ยวกับข้อคิดเห็น

๓.๓ กำรเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ดาเนินการตามลาดับขั้นตอน ดังนี้ ๑) นาแบบสอบถามที่ได้รับการตรวจสอบแล้วไปแจกให้ผู้มารับคาปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จานวน ๓๕๐ ชุด ผู้วิจัยจะเป็นผู้แจกและเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยตนเอง ๒) ผู้ วิ จั ย ด าเนิ น การตรวจสอบความถู ก ต้ อ ง และตรวจสอบความสมบู ร ณ์ ข อง แบบสอบถาม ที่ได้รับทั้งหมด ๒๖๙ ชุด ๓) นาผลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลไปวิเคราะห์ข้อมูล

๓.๔ กำรวิเครำะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้นาแบบสอบถามที่เก็บรวบรวมได้จ ากกลุ่มประชากรมาทาการวิเคราะห์ทางสถิติ ประมวลผลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูปตามลาดับ ดังนี้

๑๘๘ ๑) วิ เคราะห์ ข้ อ มู ล ทั่ ว ไปของผู้ ต อบแบบสอบถาม กลุ่ ม ตั ว อย่ า ง การปรึ ก ษาทาง โหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ทาการแจกแจงความถี่ (Frequency) และร้อย ละ (Percentage) ๒) วิเคราะห์ระดับ คุณสมบัติของโหราจารย์ที่ท่านคาดหวังที่สุด คานวณหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และแปลความ โดยใช้เกณฑ์ ดังนี้ ค่าเฉลี่ย ๔.๕๐ – ๕.๐๐ หมายถึง คุณสมบัติของโหราจารย์ที่ท่านคาดหวังที่สุด มากทีส่ ุด ค่าเฉลี่ย ๓.๕๐ – ๔.๔๙ หมายถึง คุณสมบัติของโหราจารย์ที่ท่านคาดหวังที่สุด มาก ค่าเฉลี่ย ๒.๕๐ – ๓.๔๙ หมายถึง คุณสมบัติของโหราจารย์ที่ท่านคาดหวังที่สุด ปานกลาง ค่าเฉลี่ย ๑.๕๐ – ๒.๔๙ หมายถึง คุณสมบัติของโหราจารย์ที่ท่านคาดหวังที่สุด น้อย ค่าเฉลี่ย ๑.๐๐ – ๑.๔๙ หมายถึง คุณสมบัติของโหราจารย์ที่ท่านคาดหวังที่สุด น้อยที่สุด ๓) วิเคราะห์ ค วามแตกต่ างเกี่ ยวกั บ การให้ คาปรึก ษาหรือ การให้ แ นวทางปฏิ บั ติ ข อง โหราจารย์ โดยหาค่า Independent Samples t-test, F-test เพื่อทาการทดสอบสมมติฐาน

๓.๕ สถิติที่ใช้ในงำนวิจัย ๓.๕.๑ เป็นสถิติที่นำมำใช้บรรยำยคุณลักษณะของสิ่งที่ศึกษำ ใช้บรรยายคุณลักษณะของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจากกลุ่มประชากรที่นามาศึกษา ได้แก่ ๑. ค่ำร้อยละ (Percentage) ๑).ใช้วิเคราะห์ ข้อมูล ปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่ มตัวอย่าง เช่น ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ สถานภาพสมรส กิจกรรมทางศาสนาที่ปฏิบัติบ่อยที่สุด ปัญหาที่มาปรึกษา โหราจารย์มากที่สุด ปรึกษาโหราจารย์ด้วยศาสตร์ทางโหรฯตามหลัก ปรึกษาโหราจารย์มากน้อยแค่ ไหน(ต่อปี)และเลือกปรึกษาทางโหราศาสตร์จากโหราจารย์ที่ ค่าจานวนที่คานวณ ค่าร้อยละ = X 100 ค่าจานวนทั้งหมด 2) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) ใช้สาหรับแบบสอบถามวัดระดับ แรงจูงใจในการเปลี่ยนชื่อในตอนที่ 2 ซึ่งคานวณได้จากสูตร๕ X

เมื่อ

X X

Σx N ๕

แทน แทน แทน แทน

X n

คะแนนแต่ละตัวในกลุ่มตัวอย่าง ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง ผลรวมของคะแนนทั้งหมด จานวนคนในกลุ่มตัวอย่าง

พวงรัตน์ ทวีรัตน์, วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์, (กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540), หน้า 137.

๑๘๙ ๒. แบบสอบถำม (Questionaire) เป็ น แบบสอบถามเกี่ ย วกั บ คุ ณ สมบั ติ ข องโหราจารย์ ที่ ส อดคล้ อ งกั บ หลั ก พระพุ ท ธศาสนาและหลั ก จิ ต วิ ท ยาและหลั ก ให้ ค าปรึ ก ษามา Checklist ด้ า นศี ล ด้ า นสั ง คม ด้านอารมณ์ หรือจิตใจ และด้านการรู้คิด หรือปัญญา จานวน ๓๐ ข้อ ให้ผู้ตอบแบบสอบถามเลือก คุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่สุด ไม่เกิน ๕ ข้อ แล้วนามาคิดเป็นความถี่และเปอร์เซ็นต์ ส่ ว นที่ ส อง น าหลั ก ปฏิ บั ติ ข องโหราจารย์ ในการให้ ค าปรึ ก ษาที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การให้ เปอร์เซ็นต์ ให้คาปรึกษาเพื่อสนับสนุน ศีล หรือสังคม จิตวิทยาหรืออารมณ์และการรู้คิดมาจานวน ๓๐ รายการ ให้ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับ การให้คาปรึกษา ทางโทรสารไม่เกิน ๕ รายการ แล้วนามาคิดเปอร์เซ็นต์

๑๙๐

บทที่ ๔ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัย เรื่อง “การปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ” ๑) ศึกษาหลักการทางจิตวิทยา และการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความ ทุกข์ ๒) ศึกษาสังเคราะห์หลักการให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุท ธจิตวิทยาเพื่อลดความ ทุกข์ ๓) ศึกษานาเสนอ รูปแบบการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ผู้วิจัยนาเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ ตามลาดับต่อไปนี้ ๔.๑ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตาม แนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ๔.๒ ผลการวิเคราะห์ ข้ อ มู ล ระดั บ ความคิ ด เห็ น และความพึ งพอใจในคุ ณ สมบั ติ ข อง โหราจารย์ของกลุ่มตัวอย่างผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ๔.๓ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับ ความคิดเห็นในแนวทางการปฏิบัติของโหราจารย์ของ กลุ่มตัวอย่างผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ๔.๔ ผลการวิเคราะห์ ค วามคิ ด เห็ น จากการสั ม ภาษณ์ โหราจารย์ ผู้ ให้ ค าปรึ ก ษาทาง โหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยา ๑๗ ท่าน

๔.๑ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ตารางที่ ๔.๑ แสดงข้ อมู ล ทั่ ว ไปของผู้ รับ การปรึก ษาทางโหราศาสตร์ต ามแนวพุ ท ธ จิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ จาแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ สถานภาพสมรส กิจกรรม ทางศาสนาที่ปฏิบัติบ่อยที่สุด ปัญหาที่มาปรึกษาโหราจารย์มากที่สุด ปรึกษาโหราจารย์ด้วยศาสตร์ ทางโหรฯตามหลัก ปรึกษาโหราจารย์มากน้อยแค่ ไหน(ต่อปี)และเลือกปรึกษาทางโหราศาสตร์จาก โหราจารย์ที เพศ ชาย หญิง รวม อายุ ต่ากว่า ๒๐ ปี ๒๐ – ๓๐ ปี ๓๑ – ๔๐ ปี ๔๑ – ๕๐ ปี มากกว่า ๕๐ ปีขึ้นไป รวม

จานวน (N) ๕๙ ๒๑๐ ๒๖๙ จานวน (N) ๖ ๔๗ ๗๕ ๙๒ ๔๙ ๒๖๙

ร้อยละ (P) ๒๑.๙ ๗๘.๑ ๑๐๐.๐ ร้อยละ (P) ๒.๒ ๑๗.๕ ๒๗.๙ ๓๔.๒ ๑๘.๒ ๑๐๐.๐

๑๙๑ ระดับการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า อนุปริญญา ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก รวม อาชีพ ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ นักธุรกิจ ค้าขาย นักเรียน/นักศึกษา แม่บ้าน/พ่อบ้าน รวม สถานภาพสมรส สมรส โสด หม้าย หย่าร้าง รวม กิจ กรรมทางศาสนาที่ ป ฏิ บั ติ บ่ อ ย ที่สุด ทาบุญให้ทาน ไหว้พระ/สวดมนต์ รักษาศีล ฟังธรรม/อ่านหนังสือธรรมะ นั่งสมาธิ รวม ปัญหาที่มาปรึกษาโหราจารย์มาก ที่สุด ความรัก/ครอบครัว การงาน การเงิน การเรียน/การศึกษา สุขภาพ

จานวน (N) ๒๔ ๑๔ ๑๕๐ ๗๔ ๗ ๒๖๙ จานวน (N) ๗๒ ๗๓ ๗๐ ๒๒ ๓๒ ๒๖๙ จานวน (N) ๘๙ ๑๕๕ ๑๒ ๑๓ ๒๖๙ จานวน (N)

ร้อยละ (P) ๘.๙ ๕.๒ ๕๕.๘ ๒๗.๕ ๒.๖ ๑๐๐.๐ ร้อยละ (P) ๒๖.๘ ๒๗.๑ ๒๖.๐ ๘.๒ ๑๑.๙ ๑๐๐.๐ ร้อยละ (P) ๓๓.๑ ๕๗.๖ ๔.๕ ๔.๘ ๑๐๐.๐ ร้อยละ (P)

๑๑๘ ๙๙ ๑๙ ๑๘ ๑๕ ๒๖๙ จานวน (N)

๔๓.๙ ๓๖.๘ ๗.๑ ๖.๗ ๕.๖ ๑๐๐.๐ ร้อยละ (P)

๗๖ ๑๒๑ ๔๓ ๑๕ ๑๔

๒๘.๓ ๔๕.๐ ๑๖.๐ ๕.๖ ๕.๒

๑๙๒ รวม ท่านปรึกษาโหราจารย์ ด้วยศาสตร์ ทางโหรฯตามหลัก โหราศาสตร์ไทยจักรราศี เลขศาสตร์ ลายมือ ไพ่ยิปซี รวม ท่านปรึกษาโหราจารย์มากน้อยแค่ ไหน (ต่อปี) ๑ - ๒ ครั้ง ๓ - ๕ ครั้ง ๖ - ๑๐ ครั้ง มากกว่า ๑๐ ครั้ง รวม ท่านเลือกปรึกษาทางโหราศาสตร์ จากโหราจารย์ที่ อายุ ความมีชื่อเสียง บุคลิกลักษณะ ความรู้ความสามารถ รวม

๒๖๙ จานวน (N)

๑๐๐.๐ ร้อยละ (P)

๑๐๑ ๔๒ ๓๗ ๘๙ ๒๖๙ จานวน (N)

๓๗.๕ ๑๕.๖ ๑๓.๘ ๓๓.๑ ๑๐๐.๐ ร้อยละ (P)

๑๘๔ ๖๒ ๑๐ ๑๓ ๒๖๙ จานวน (N)

๖๘.๔ ๒๓.๐ ๓.๗ ๔.๘ ๑๐๐.๐ ร้อยละ (P)

๓ ๔๓ ๒๔ ๑๙๙ ๒๖๙

๑.๑ ๑๖.๐ ๘.๙ ๗๔.๐ ๑๐๐.๐

จากตารางที่ ๔.๑ แสดงจานวน(Number) ความถี่(Frequency) ร้อยละ(Percentage) และระดับ (Level) ของกลุ่มตัวอย่างผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลด ความทุกข์ เพศ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลด ความทุกข์ จานวนทั้งสิ้น ๒๖๙ คน มีเพศหญิงจานวน ๒๑๐ คน (๗๘.๑%) เพศชายจานวน ๕๙ คน (๒๑.๒%) ตามลาดับ อายุ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลด ความทุกข์ ที่มีอายุแตกต่างกัน มีความถี่ (Frequency) ร้อยละ(Percentage ) เรียงลาดับจากมากไป หาน้อยดังนี้ อายุ ๔๑–๕๐ ปีจานวน ๙๒ คน (๓๔.๒%) อายุ ๓๑–๔๐ปี จานวน ๗๕ คน (๒๗.๙%) อายุ มากกว่า ๕๐ ปีจานวน ๔๙ คน( ๑๘.๒ %) อายุ ๒๐–๓๐ปีจานวน ๔๗ คนคิดเป็น (๑๗.๕%) ต่ากว่า ๒๐ ปี จานวน ๖ คน (๒.๒%)

๑๙๓ ระดั บการศึกษา พบว่า กลุ่ มตัว อย่ าง ผู้ รับ การปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุ ท ธ จิ ต วิ ท ยาเพื่ อ ลดความทุ ก ข์ ที่ มี ร ะดั บ การศึ ก ษาแตกต่ า งกั น มี ค วามถี่ (Frequency) ร้ อ ยละ (Percentage ) เรียงลาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ปริ ญ ญาตรี จ านวน ๑๕๐ คน (๕๕.๘%) ปริ ญ ญาโท จ านวน ๗๔ คน (๒๗.๕%) มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า จานวน ๒๔ คน (๘.๙%) อนุปริญญา จานวน ๑๔ คน (๕.๒%) ปริญญาเอก จานวน ๗ คน (๒.๖%) อาชีพ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลด ความทุกข์ ที่มีระดับอาชีพแตกต่างกัน มีความถี่ (Frequency) ร้อยละ(Percentage ) เรียงลาดับจาก มากไปหาน้อยดังนี้ นักธุรกิจ จานวน ๗๓ คน(๒๗.๑%) ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ จานวน ๗๒ คน(๒๖.๘%) ค้าขาย จานวน ๗๐ คน (๒๖.๐%) แม่บ้าน/พ่อบ้านจานวน ๓๒ คน(๑๑.๙%) นักเรียน/นักศึกษา จานวน ๒๒ คน(๘.๒%) สถานภาพสมรส พบว่า กลุ่ มตัวอย่าง ผู้ รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุ ทธ จิตวิทยาเพื่ อลดความทุกข์ ที่มีระดับสถานภาพสมรสแตกต่างกัน มีความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage ) เรียงลาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ โสด จ านวน ๑๕๕ คน (๕๗.๖%) สมรส จานวน ๘๙ คน คิ ดเป็ น (๓๓.๑%) อย่าร้าง จานวน ๑๓ คน (๔.๘) หม้าย จานวน ๑๒ คน คิดเป็น (๔.๕%) กิ จ กรรมทางศาสนาที่ ป ฏิ บั ติ บ่ อ ยที่ สุ ด พบว่ า กลุ่ ม ตั ว อย่ า งผู้ รั บ การปรึ ก ษาทาง โหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ที่มีระดับกิจกรรมทางศาสนาที่ปฏิบัติบ่อยที่สุด แตกต่างกัน มีความถี่ (Frequency) ร้อยละ(Percentage ) เรียงลาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ทาบุญให้ทาน จานวน ๑๑๘ คน(๔๓.๙%) ไหว้พระสวดมนต์ จานวน ๙๙ คน (๓๖.๘%) รักษาศีล จานวน ๑๙ คน(๗.๑%) ฟังธรรม จานวน ๑๘ คน(๖.๗%) นั่งสมาธิ จานวน ๑๕ คน (๕.๖%) ปั ญ หาที่ ม าปรึ ก ษาโหราจารย์ ม ากที่ สุ ด พบว่ า กลุ่ ม ตั ว อย่ า งผู้ รั บ การปรึ ก ษาทาง โหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ที่มีระดับปัญหาที่มาปรึกษาโหราจารย์มากที่สุด แตกต่ า งกั น มี ค วามถี่ (Frequency) ร้ อ ยละ(Percentage ) เรี ย งล าดั บ จากมากไปหาน้ อ ยดั ง นี้ การงาน จานวน ๑๒๑ คน(๔๕.๐%) ความรัก/ครอบครัว จานวน ๗๖ คน(๒๘.๓%) การเงิน จานวน ๔๓ คน(๑๖.๐%) การเรียน/การศึกษา จานวน ๑๕ คน (๕.๖) สุขภาพ จานวน ๑๔ คน (๕.๒%) การปรึกษาโหราจารย์ ด้วยศาสตร์ทางโหรฯตามหลัก กลุ่มตัวอย่างผู้รับการปรึกษาทาง โหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ที่มีระดับการปรึกษาโหราจารย์ ด้วยศาสตร์ทาง โหรฯตามหลัก แตกต่างกัน มีความถี่ (Frequency) ร้อยละ(Percentage ) เรียงลาดับจากมากไปหา น้อยดังนี้ โหราศาสตร์ไทยจักรราศี จานวน ๑๐๑คน (๓๗.๕%) ไพ่ยิปซี จานวน ๘๙ คน (๓๓.๑%) เลขศาสตร์ จานวน ๔๒ คน(๑๕.๖%) ลายมือ จานวน ๓๗ คน(๑๓.๘ %) การปรึ ก ษาโหราจารย์ ม ากน้ อ ยแค่ ไ หน (ต่ อ ปี ) กลุ่ ม ตั ว อย่ างผู้ รั บ การปรึ ก ษาทาง โหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ที่มีระดับการปรึกษาโหราจารย์มากน้อยแค่ไหน (ต่อปี) แตกต่างกัน มีความถี่ (Frequency) ร้อยละ(Percentage ) เรียงลาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้

๑๙๔ ๑–๒ ครั้ง จานวน ๑๘๔ คน(๖๘.๔%) ๓–๕ ครั้ง จานวน ๖๒ คน(๒๓.๐%) มากกว่า ๑๐ ครั้ง จานวน ๔๙ คน (๔.๘%) ๖-๑๐ ครั้ง จานวน ๔๗ คนคิดเป็น (๓.๗%) การเลือกปรึกษาทางโหราศาสตร์จากโหราจารย์ที่ กลุ่มตัวอย่างผู้รับการปรึกษาทาง โหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ที่มีระดับการเลือกปรึกษาทางโหราศาสตร์จาก โหราจารย์ที่ แตกต่างกัน มีความถี่ (Frequency) ร้อยละ(Percentage ) เรียงลาดับจากมากไปหา น้อยดังนี้ ความรู้ ค วามสามารถ จ านวน ๑๙๙ คน (๗๔.๐%) วามมี ชื่ อ เสี ย ง จ านวน ๔๓ คน (๑๖.๐%) บุคลิกลักษณะ จานวน ๒๔ คน (๘.๙%) อายุ จานวน ๓ คน (๑.๑%)

๔.๒ ผลการวิ เคราะห์ ข้ อ มู ล ระดั บ ความคิ ด เห็ น และความพึ ง พอใจคุ ณ สมบั ติ ข อง โหราจารย์ของกลุ่มตัวอย่าง ตารางที่ ๔.๒ แสดงระดับ ความคิดเห็ นและความพึ งพอใจในคุณ สมบัติของโหราจารย์ ในการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ข้อที่ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐.

๑๑. ๑๒. ๑๓. ๑๔.

จานวน (N)

ร้อยละ (P)

ลาดับ

๑) ด้านสังคม รักษาความลับของผู้มาขอคาปรึกษา ไม่ดูถูกโหรคนอื่น ไม่เหยียดหยามครูอาจารย์โหรอื่น ยกย่องความดีของโหรอื่น แต่งตัวดีสะอาดเรียบร้อย ไม่สนับสนุนมิจฉาชีพ ทันสมัย มีชื่อเสียง ไม่อคติ ไม่ทานายดวงบ้านเมือง รวม

๑๑๕ ๒๔ ๒๖ ๑ ๑๔ ๑๐ ๖ ๓ ๒๔ ๑ ๒๒๔

๙.๖๖ ๒.๐๒ ๒.๑๘ ๐.๐๘ ๑.๑๘ ๐.๘๔ ๐.๕๐ ๐.๒๕ ๒.๐๒ ๐.๐๘ ๑๘.๓๕

๓ ๑๕ ๑๔ ๒๗ ๑๙ ๒๓ ๒๕ ๒๖ ๑๖ ๒๙

๒) ด้านศีล ไม่ไม่บริภาษ (คากล่าวติเตียน,กล่าวโทษ) ผู้มาขอคาปรึกษา ไม่ใช้คาหยาบ ประพฤติอยู่ในคุณธรรม/จริยธรรม ให้ความสนใจผู้มาขอคาปรึกษา

๒๖ ๓๓ ๑๓๗ ๘๒

๒.๑๘ ๒.๗๗ ๑๑.๕๑ ๖.๘๙

๑๓ ๑๑ ๒ ๕

คุณสมบัติของโหราจารย์

๑๙๕ ๑๕. ๑๖. ๑๗.

๓ ๓๒ ๒๑ ๓๓๔

๐.๒๕ ๒.๖๙ ๑.๗๖ ๒๗.๓๕

๒๘ ๑๐ ๑๗

๑๖ ๐ ๑๕ ๒๐ ๒๐ ๗๑

๐.๕๐ ๐ ๑.๒๖ ๐.๘๔ ๐.๘๔ ๕.๘๑

๒๔ ๓๐ ๑๘ ๒๒ ๒๑

๒๓.

รู้จักถ่อมตน จริงจังน่าเชื่อถือ ไม่เที่ยวหรือติดอบายมุข รวม ๓) ด้านจิตใจ ควรปลอบประโลมผู้มาขอคาปรึกษา สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ใจเย็น อารมณ์ดี ไม่ไม่ทานายร้ายแรง รวม ๔) ด้านปัญญา ชี้ช่องทางแก้ปัญหา

๑๙๖

๑๖.๔๗



๒๔. ๒๕. ๒๖. ๒๗. ๒๘. ๒๙ ๓๐. ๓๑

ใคร่ครวญละเอียดก่อนทานาย ดีก็บอกว่าดี/ร้ายก็บอกว่าร้าย ไม่ทานายส่งเดช ไม่เห็นแก่ลาภสักการะ ไม่ทานายดวงบ้านเมือง ไม่บิดเบือนคาทานาย รู้จริงในเรื่องที่ทานาย ไม่เอาแต่ความเห็นของตน

๔๗ ๗๗ ๖๒ ๒๙ ๑ ๕๕ ๑๑๑ ๑๔ ๕๙๒

๓.๙๕ ๖.๔๗ ๕.๒๑ ๒.๔๔ ๐.๐๘ ๔.๖๒ ๙.๓๓ ๑.๑๘ ๔๘.๔๙

๙ ๖ ๗ ๑๒ ๒๙ ๘ ๔ ๒๐

๑,๒๒๑

๑๐๐

๑๘. ๑๙. ๒๐. ๒๑. ๒๒.

รวมทั้งหมด

จากตารางที่ ๔.๒ พบว่า กลุ่มตัวอย่างการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยา เพื่ อ ลดความทุ ก ข์ มี ร ะดับ ความคิ ด เห็ น และความพึ งพอใจในคุ ณ สมบั ติ ข องโหราจารย์ โดยรวม ด้านปัญญา อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย ๕๙๒ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า กลุ่มตัวอย่าง การปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ เกี่ยวกับคุณสมบัติของโหราจารย์ ในการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ เรียงลาดับจากมากไปหาน้อย ดังต่อไปนี้

๑๙๖ ด้ า นปั ญ ญา ชี้ ช่ อ งทางแก้ ปั ญ หา มี ค่ าเฉลี่ ย เท่ ากั บ ๑๖.๔๗ ด้ า นศี ล ประพฤติ อ ยู่ ใน คุณ ธรรม/จริย ธรรม มี ค่าเฉลี่ ย เท่ ากับ ๑๑.๕๑ ด้า นสังคม รัก ษาความลั บ ของผู้ ม าขอคาปรึก ษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๙.๖๖ ด้านปัญญา รู้จริงในเรื่องที่ทานาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๙.๓๓ ด้านศีล ให้ความ สนใจผู้มาขอคาปรึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๖.๘๙

๔.๓ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับ ความคิดเห็นและความพึงพอใจแนวทางปฏิบัติของ โหราจารย์ ของกลุ่มตัวอย่าง ตารางที่ ๔.๓ แสดงระดั บ ของความคิ ด เห็ น และความพึ ง พอใจแนวทางปฏิ บั ติ ข อง โหราจารย์ในการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ข้อที่

แนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษา

๕. ๖. ๗.

๑) ด้านทาน ให้ทาบุญ/ให้ทาน ให้สร้างพระ/สิ่งบูชา ให้แสวงบุญ รวม ๑) ด้านศีลภาวนา ปลอบใจ/ให้กาลังใจ ให้รักษาศีล ให้บวช ให้เวลาจัดการกับปัญหา

๘. ๙. ๑๐. ๑๑. ๑๒. ๑๓. ๑๔.

รวม ๓) ด้านจิตภาวนา ให้อดทน ให้นั่งสมาธิ ให้มีสติสัมปชัญญะ ให้รู้จักปลง ให้ยอมรับกรรม ให้ยอมรับตนเอง ให้ไปพรมน้ามนต์

๑. ๒. ๓. ๔.

รวม

จานวน ร้อยละ (N) (P)

ลาดับ

๑๓๑ ๙ ๙ ๑๔๙ ๑๐๖

๑๑.๖๙ ๐.๘๐ ๐.๘๐ ๑๓.๔๕ ๙.๔๖

๑ ๒๐ ๒๑

๓๕ ๖ ๓๔

๓.๑๒ ๐.๕๔ ๓.๐๓

๑๑ ๒๓ ๑๓

๑๘๑

๑๖.๓๕

๕๒ ๓๕ ๑๑๙ ๒๑ ๑๕ ๔๓ ๒

๔.๖๔ ๓.๑๒ ๑๐.๖๒ ๑.๘๗ ๑.๓๔ ๓.๘๔ ๐.๑๘

๒๕๒

๒๒.๗๖



๘ ๑๒ ๓ ๑๕ ๑๙ ๑๐ ๒๕

๑๙๗

๑๕. ๑๖. ๑๗. ๑๘. ๑๙. ๒๐. ๒๑. ๒๒. ๒๓. ๒๔. ๒๕.

๒๖. ๒๗. ๒๘. ๒๙. ๓๐.

๔) ด้านปัญญาภาวนา ให้ให้รอบคอบกับปัญหา ให้ปรึกษาพระ ให้พิจารณาไตร่ตรอง ให้ใช้เหตุผล ให้อ่านหนังสือธรรมะ ให้ฟังธรรม ให้กลับไปแก้ที่ตัวปัญหา ให้ปรึกษาผู้อื่น (นักจิตวิทยา,พระ,ตารวจ ฯลฯ) ให้รู้จักปลง ให้ไปหาหมอ/ทานยา ให้กล้าตัดสินใจให้แตกหัก/ชัดเจน รวม ๕) วิธีนอกพุทธศาสนา ให้สะเดาะเคราะห์ ให้แก้ดวง แก้ปัญหาให้ตามหลักโหร ให้ไปหาโหรคนอื่น ให้ฟังเพลง/บันเทิงต่างๆ รวม รวมทั้งหมด

๑๐๑ ๑ ๘๑ ๑๓๐ ๘ ๑๗ ๕๕ ๐ ๒๑ ๐ ๑๖ ๔๓๐

๙.๐๑ ๐.๐๙ ๗.๒๓ ๑๑.๖๐ ๐.๗๒ ๑.๕๓ ๔.๙๑ ๐ ๑.๘๗ ๐ ๑.๔๓ ๓๘.๘๕

๕ ๒๖ ๖ ๒ ๒๔ ๒๒ ๗ ๒๗ ๑๖ ๒๘ ๑๘

๓๔ ๑๙ ๔๒ ๐ ๐ ๙๕ ๑,๑๐๗

๓.๐๓ ๑.๖๙ ๓.๗๕ ๐ ๐ ๘.๕๙ ๑๐๐

๑๔ ๑๗ ๙ ๒๙ ๓๐

จากตารางที่ ๔.๓ พบว่า กลุ่ ม ตั ว อย่ างมี ร ะดั บ ของความคิ ด เห็ น และความพึ ง พอใจ แนวทางปฏิบัติของโหราจารย์ ในการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ โดยรวม ด้านปัญญาภาวนา อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย ๔๓๐ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติของโหราจารย์ ในการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนว พุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ เรียงลาดับจากมากไปหาน้อย ดังต่อไปนี้ ด้านทาน ให้ทาบุญ/ให้ทาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๑๑.๖๙ ด้านปัญญาภาวนา ให้ใช้เหตุผล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๑๑.๖๐ ด้านจิตภาวนา ให้มีสติสัมปชัญญะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๑๐.๖๒ ด้านศีลภาวนา ปลอบใจ/ให้กาลังใจ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๙.๔๖ ด้านปัญญาภาวนา ให้รอบคอบกับปัญหา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๙.๐๑

๑๙๘ ตารางที่ ๔.๔ แสดงจานวน(number)ความถี่(Frequency) ร้อยละ(Percentage)และระดับ (Level) โดยรวมที่มีต่อคุณสมบัติ และ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษาของกลุ่มตัวอย่างผู้รับการปรึกษาทาง โหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ จาแนกตามเพศหญิง และเพศชาย เรียงลาดับ จากมากไปหาน้อยดังนี้ เพศ

ชาย

หญิง

ความคิดเห็น ค่า คุณสมบัติของโหราจารย์ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษา ด้าน ๑ ด้าน ๒ ด้าน ๓ ด้าน ๔ ด้าน ๑ ด้าน ๒ ด้าน ๓ ด้าน ๔ ด้าน ๕ สังคม ศีล จิตใจ ปัญญา ทาน ศีล จิตใจ ปัญญา นอกพุทธ ความถี่ ๓๐ ๙๒ ๒ ๑๓๔ ๓๐ ๓๖ ๕๖ ๘๓ ๒๑ ร้อยละ ๑๑.๖๓ ๓๕.๖๖ ๐.๗๘ ๕๑.๙๓ ๑๓.๒๗ ๑๕.๙๓ ๒๔.๗๘ ๓๖.๗๓ ๙.๒๙ ลาดับ ๓ ๒ ๔ ๑ ๓ ๔ ๒ ๑ ๕ ความถี่ ๗๖ ๓๕๘ ๓๒ ๔๙๗ ๑๑๙ ๑๔๔ ๒๓๓ ๓๑๔ ๗๑ ร้อยละ ๗.๘๙ ๓๗.๑๘ ๓.๓๒ ๕๑.๖๑ ๑๓.๕๑ ๑๖.๓๕ ๒๖.๔๕ ๓๕.๖๔ ๘.๐๗ ลาดับ ๓ ๒ ๔ ๑ ๑ ๔ ๒ ๑ ๕

จากตารางที่ ๔.๔ แสดงจ านวน ร้ อ ยละ และระดั บ โดยรวมที่ มี ต่ อ คุ ณ สมบั ติ และ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษาของกลุ่มตัวอย่างผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธ จิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ จาแนกตามเพศหญิง และเพศชาย เรียงลาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ พบว่า กลุ่ ม ตั ว อย่ างผู้ ม ารับ ค าปรึ ก ษาทางโหราศาสตร์ เพศหญิ ง มี ค วามพึ งพอใจต่ อ คุณสมบัติของผู้ให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ เรียงลาดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านปั ญญา ความถี่ ๔๙๗ (๕๑.๖๑% ) ด้านศีล ความถี่ ๓๕๘ (๓๗.๑๘%) ด้านสังคม ความถี่ ๗๖ (๗.๘๙ %) ด้านจิตใจ ความถี่ ๓๒ (๓.๓๒%) พบว่ ากลุ่ ม ตั ว อย่ า งผู้ ม ารั บ ค าปรึ ก ษาทางโหราศาสตร์ เพศชายมี ค วามพึ งพอใจต่ อ คุณสมบัติของผู้ให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ เรียงลาดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้ านปั ญ ญาความถี่ ๑๓๔ (๕๑.๙๓% ) ด้ า นศี ล ความถี่ ๙๒ (๓๕.๖๖%) ด้ า นสั งคม ความถี่ ๓๐ (๑๑.๖๓ %) ด้านจิตใจ ความถี่ ๒ (๐.๗๘%) พบว่า กลุ่ ม ตั ว อย่ างผู้ ม ารับ ค าปรึ ก ษาทางโหราศาสตร์ เพศหญิ ง มี ค วามพึ งพอใจต่ อ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษา เรียงลาดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านปั ญ ญาความถี่ ๓๑๔ (๓๕.๖๔% ) ด้ านจิตใจ ความถี่ ๒๓๓ (๒๖.๔๕%) ด้ านศี ล ความถี่ ๑ ๔๔(๑๖.๓๕%) ด้ านทาน ความถี่ ๑๑๙(๑๓.๕๑%) ด้ านนอกพุ ท ธศาสนา ความถี่ ๗๑ (๘.๐๗%) พบว่า กลุ่ ม ตั ว อย่ างผู้ ม ารับ ค าปรึ ก ษาทางโหราศาสตร์ เพศหญิ ง มี ค วามพึ งพอใจต่ อ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษา เรียงลาดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านปัญญาความถี่ ๘๓ (๓๖.๗๓% ) ด้านจิตใจ ความถี่ ๕๖ (๒๔.๗๘%) ด้านศีล ความถี่ ๓๖(๑๕.๙๓%) ด้านทาน ความถี๓่ ๐(๑๓.๒๗%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๒๑ (๙.๒๙%)

๑๙๙ ตารางที่ ๔.๕ แสดงจ านวน(Number) ความถี่ (Frequency) ร้ อ ยละ(Percentage)และระดั บ (Level) โดยรวมที่มีต่อคุณ สมบัติของโหราจารย์ และ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้ คาปรึกษา ของกลุ่ม ตัวอย่างผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ จาแนกตามอายุ เรียงลาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้

อายุ

ความคิดเห็น คุณสมบัติของโหราจารย์ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษา ค่า ด้าน ๑ ด้าน ๒ ด้าน ๓ ด้าน ๔ ด้าน ๑ ด้าน ๒ ด้าน ๓ ด้าน ๔ ด้าน ๕ สังคม ศีล จิตใจ ปัญญา ทาน ศีล จิตใจ ปัญญา นอกพุทธ

ความถี่ ร้อยละ ลาดับ ความถี่ ๒๐-๓๐ ปี ร้อยละ ลาดับ ความถี่ ๓๑-๔๐ ปี ร้อยละ ลาดับ ความถี่ ๔๑-๕๐ ปี ร้อยละ ลาดับ ความถี่ มากกว่า ร้อยละ ๕๐ ปี ลาดับ

ต่ากว่า ๒๐ ปี

๒ ๗.๑๔ ๔ ๒๙ ๑๓.๓๐ ๓ ๒๔ ๗.๑๙ ๓ ๓๓ ๗.๘๖ ๓ ๑๘ ๘.๓๗ ๓

๑๐ ๓๕.๗๑ ๒ ๗๕ ๓๔.๔๐ ๒ ๑๒๐ ๓๕.๙๓ ๒ ๑๕๘ ๓๗.๖๒ ๒ ๘๑ ๓๗.๖๗ ๒

๔ ๑๔.๒๙ ๓ ๔ ๑.๘๓ ๔ ๘ ๒.๔๐ ๔ ๑๐ ๒.๓๘ ๔ ๘ ๓.๗๒ ๔

๑๒ ๔๒.๘๖ ๑ ๑๑๐ ๕๐.๔๖ ๑ ๑๘๒ ๕๔.๔๙ ๑ ๒๑๙ ๕๒.๑๔ ๑ ๑๐๘ ๕๐.๒๓ ๑

๑ ๔.๐๐ ๔ ๒๔ ๑๒.๔๔ ๔ ๓๕ ๑๒.๐๗ ๔ ๕๕ ๑๓.๘๙ ๔ ๓๔ ๑๕.๙๖ ๔

๓ ๑๒.๐๐ ๓ ๒๗ ๑๓.๙๙ ๓ ๔๙ ๑๖.๙๐ ๓ ๖๓ ๑๕.๙๑ ๓ ๓๘ ๑๗.๘๔ ๓

๗ ๒๘.๐๐ ๒ ๕๔ ๒๗.๙๘ ๒ ๗๑ ๒๔.๔๘ ๒ ๑๐๐ ๒๕.๒๕ ๒ ๕๗ ๒๖.๗๖ ๒

๑๔ ๕๖.๐๐ ๑ ๗๒ ๓๗.๓๑ ๑ ๑๑๑ ๓๘.๒๘ ๑ ๑๔๒ ๓๕.๘๖ ๑ ๖๘ ๓๑.๙๒ ๑

๐ ๐ ๕ ๑๖ ๘.๒๙ ๕ ๒๔ ๘.๒๘ ๕ ๓๖ ๙.๐๙ ๕ ๑๖ ๗.๕๑ ๕

จากตารางที่ ๔.๕ แสดงจานวน(Number)ความถี่(Frequency)ร้อ ยละ(Percentage) และระดับ(Level) โดยรวมที่มีต่อคุณสมบัติของโหราจารย์ และแนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษาของ กลุ่มตัวอย่างผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ จาแนกตาม อายุ เรียงลาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ อายุ มี ค วามคิ ด เห็ น และความพึ ง พอใจต่ อ คุ ณ สมบั ติ ข องโหราจารย์ ด้ า นต่ า ง ๆ เรียงลาดับจากมากไปน้อยดังนี้ ต่ากว่า ๒๐ ปี ด้านปัญญา ความถี่ ๑๒(๔๒.๘๖%) ด้านศีล ความถี่ ๑๐ (๓๕.๗๑%) ด้านจิ ตใจ ความถี่ ๔ (๑๔.๒๙%) ด้านสั งคม ความถี่ ๒ (๗.๑๔%) อายุระหว่า ง ๒๐–๓๐ปี ด้านปัญญา ความถี่ ๑๑๐ (๕๐.๔๖%) ด้านศีล ความถี่ ๗๕ (๓๔.๔๐%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๒๙ (๑๓.๓๐%) ด้านสังคม ความถี่ ๔ (๑.๘๓%) อายุระหว่าง ๓๑–๔๐ปี ด้านปัญญา ความถี่ ๑๘๒ (๕๔.๔๙%) ด้านศีล ความถี่ ๑๒๐ (๓๕.๙๓%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๒๔ (๗.๑๙%) ด้านสังคม ความถี่ ๘ (๒.๔๐%) อายุร ะหว่าง ๔๑–๕๐ปี ด้านปัญ ญา ความถี่ ๒๑๙ (๕๒.๑๔%) ด้านศีล ความถี่ ๑๕๘ (๓๗.๖๒%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๓๓ (๗.๘๖%) ด้านสังคม ความถี่ ๑๐ (๒.๓๘%) อายุมากกว่า ๕๐ ปี

๒๐๐ ด้านปั ญ ญา ความถี่ ๑๐๘ (๕๐.๒๓%) ด้ านศี ล ความถี่ ๘๑ (๓๗.๖๗%) ด้ านจิต ใจ ความถี่ ๑๘ (๘.๓๗%) ด้านสังคม ความถี่ ๘ (๓.๗๒%) อายุ มีความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อแนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษา ด้านต่าง ๆ เรียงลาดับจากมากไปน้อยดังนี้ ต่ากว่า ๒๐ ปี ด้านปัญญา ความถี่ ๑๔ (๕๖.๐๐%)ด้านจิตใจ ความถี่ ๗ (๒๘.๐๐%)ด้านศีล ความถี่ ๓ (๑๒.๐๐%) ด้านทาน ความถี่ ๑ (๔๐.๐๐%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๐ (๐%) อายุระหว่าง ๒๐–๓๐ปีด้านปัญญา ความถี่ ๗๒ (๒๗.๓๑%)ด้านจิตใจ ความถี่ ๕๔ (๒๗.๙๘%)ด้านศีล ความถี่ ๒๗ (๑๓.๙๙%) ด้านทาน ความถี่ ๒๔ (๑๒.๔๔%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๑๖ (๘.๒๙%) อายุร ะหว่า ง ๓๑–๔๐ปี ด้านปั ญ ญา ความถี่ ๑๑๑ (๓๘.๒๘%)ด้านจิตใจ ความถี่ ๗๑(๒๔.๔๘%)ด้านศีล ความถี่ ๔๙ (๑๖.๙๐%) ด้านทาน ความถี่ ๓๕ (๑๒.๐๗%) ด้านนอก พุทธศาสนา ความถี่ ๒๔ (๘.๒๘%) อายุระหว่าง ๔๑–๕๐ปี ด้านปัญญา ความถี่ ๑๔๒ (๓๕.๘๖%) ด้ า นจิ ต ใจ ความถี่ ๑๐๐ (๒๕.๒๕%) ด้ า นศี ล ความถี่ ๖๓ (๑๕.๙๑%) ด้ า นทาน ความถี่ ๕๕ (๑๓.๘๙%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๓๖ (๙.๐๙%) อายุมากกว่า ๕๐ ปี ด้านปัญญา ความถี่ ๖๘ (๓๑.๙๒%)ด้านจิตใจ ความถี่ ๕๗ (๒๖.๗๖%)ด้านศีล ความถี่ ๓๘ (๑๗.๘๔%) ด้านทาน ความถี่ ๓๔ (๑๕.๙๖%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๑๖ (๗.๕๑%) ตารางที่ ๔.๖ แสดงจ านวน(Number) ความถี่ (Frequency) ร้ อ ยละ(Percentage)และระดั บ (Level) โดยรวมที่มีต่อคุณ สมบั ติของโหราจารย์ และ แนวทางปฏิ บัติที่โหรให้ คาปรึกษาของกลุ่ ม ตั ว อย่ างผู้ รั บ การปรึ ก ษาทางโหราศาสตร์ต ามแนวพุ ท ธจิ ต วิ ท ยาเพื่ อ ลดความทุ ก ข์ จ าแนกตาม การศึกษา เรียงลาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้

๒๐๑

การ ศึกษา

ความคิดเห็น คุณสมบัติของโหราจารย์ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษา ค่า ด้าน ๑ ด้าน ๒ ด้าน ๓ ด้าน ๔ ด้าน ๑ ด้าน ๒ ด้าน ๓ ด้าน ๔ ด้าน ๕ สังคม ศีล จิตใจ ปัญญา ทาน ศีล จิตใจ ปัญญา นอกพุทธ

ความถี่ ๙ ๓๙ มัธยมหรือ ร้อยละ ๘.๑๘ ๓๕.๔๕ เทียบเท่า ลาดับ ๓ ๒ ความถี่ ๗ ๒๕ อนุปริญญา ร้อยละ ๑๐.๙๔ ๓๙.๐๖ ลาดับ ๓ ๒ ความถี่ ๕๖ ๒๕๑ ปริญญาตรี ร้อยละ ๘.๒๗ ๓๗.๐๘ ลาดับ ๓ ๒ ความถี่ ๓๑ ๑๒๔ ปริญญาโท ร้อยละ ๙.๐๖ ๓๖.๒๖ ลาดับ ๓ ๒ ความถี่ ๓ ๑๑ ปริญญา ร้อยละ ๑๐.๗๑ ๓๙.๒๙ เอก ลาดับ ๓ ๒

๙ ๘.๑๘ ๔ ๒ ๓.๑๓ ๔ ๑๕ ๒.๒๒ ๔ ๗ ๒.๐๕ ๔ ๑ ๓.๕๗ ๔

๕๓ ๔๘.๑๘ ๑ ๓๐ ๔๖.๘๘ ๑ ๓๕๕ ๕๒.๔๔ ๑ ๑๘๐ ๕๒.๖๓ ๑ ๑๓ ๔๖.๔๓ ๑

๑๑ ๑๐.๕๘ ๔ ๖ ๑๐.๐๐ ๔ ๘๖ ๑๓.๙๖ ๔ ๔๓ ๑๓.๖๕ ๔ ๓ ๑๓.๖๔ ๔

๑๔ ๑๓.๔๖ ๓ ๗ ๑๑.๖๗ ๓ ๑๐๓ ๑๖.๗๒ ๓ ๕๐ ๑๕.๘๗ ๓ ๖ ๒๗.๒๗ ๓

๒๘ ๒๖.๙๒ ๒ ๒๑ ๓๕.๐๐ ๒ ๑๕๘ ๒๕.๖๕ ๒ ๗๕ ๒๓.๘๑ ๒ ๗ ๓๑.๘๒ ๒

๕๐ ๔๘.๐๘ ๑ ๒๒ ๓๖.๖๗ ๑ ๒๑๖ ๓๕.๐๖ ๑ ๑๑๔ ๓๖.๑๙ ๑ ๕ ๒๒.๗๓ ๑

๑ ๐.๙๖ ๕ ๔ ๖.๖๗ ๕ ๕๓ ๘.๖๐ ๕ ๓๓ ๑๐.๔๘ ๕ ๑ ๔.๕๕ ๕

ตารางที่ ๔.๖ แสดงจานวน(Number) ความถี่(Frequency) ร้อยละ(Percentage)และ ระดั บ (Level) โดยรวมที่ มี ต่อ คุ ณ สมบั ติ ข องโหราจารย์ และ แนวทางปฏิ บั ติ ที่ โหรให้ ค าปรึก ษา ของกลุ่มตัวอย่างผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ จาแนกตาม การศึกษา เรียงลาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ การศึกษา มีความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อ คุณ สมบัติของโหราจารย์ ด้านต่าง ๆ เรียงลาดับจากมากไปน้อยดังนี้ มัธยมหรือเทียบเท่า ด้านปัญญา ความถี่ ๕๓ (๔๘.๑๘%) ด้านศีล ความถี่ ๓๙ (๓๕.๔๕%) ด้ า นสั ง คม ความถี่ ๙ (๘.๑๘%) ด้ า นจิ ต ใจ ความถี่ ๙ (๘.๑๘%) อนุปริญญา ด้านปัญญา ความถี่ ๓๐ (๔๖.๘๘%) ด้านศีล ความถี่ ๒๕ (๓๙.๐๖%) ด้านสังคม ความถี่ ๗ (๑๐.๙๔%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๒ (๓.๑๓%) ปริญญาตรี ด้านปัญญา ความถี่ ๓๕๕ (๕๒.๔๔%) ด้านศีล ความถี่ ๒๕๑ (๓๗.๐๘%) ด้านสังคม ความถี่ ๕๖ (๘.๒๗%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๑๕ (๒.๒๒%) ปริญ ญาโท ด้านปั ญญา ความถี่ ๑๘๐ (๕๒.๖๓%) ด้านศีล ความถี่ ๑๒๔ (๓๖.๒๖%) ด้านสั งคม ความถี่ ๓๑ (๙.๐๖%) ด้ า นจิ ต ใจ ความถี่ ๗ (๒.๐๕%) ปริ ญ ญาเอก ด้ า นปั ญ ญา ความถี่ ๑๓ (๔๖.๔๑%) ด้านศีล ความถี่ ๑๑ (๓๙.๒๙%) ด้านสังคม ความถี่ ๓ (๑๐.๗๑%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๑ (๓.๕๗%) การศึ กษา มี ความคิด เห็ นและความพึงพอใจต่อ แนวทางปฏิ บั ติที่ โหรให้ ค าปรึ กษา ด้านต่าง ๆ เรียงลาดับจากมากไปน้อยดังนี้ มัธยมหรือเทียบเท่า ด้านปัญญา ความถี่ ๕๐ (๔๘.๐๘%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๒๘ (๒๖.๙๒%)ด้านศีล ความถี่ ๑๔ (๑๓.๔๖%) ด้านทาน ความถี่ ๑๑ (๑๐.๕๙%)

๒๐๒ ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๑ (๐.๙๖%)อนุปริญญา ด้านปัญญา ความถี่ ๒๒ (๓๖.๖๗%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๒๑ (๓๕.๐๐%)ด้านศีล ความถี่ ๗ (๑๑.๖๗%) ด้านทาน ความถี่ ๖ (๑๐.๐๐%) ด้านนอก พุท ธศาสนา ความถี่ ๔ (๖.๖๗%) ปริ ญ ญาตรี ด้านปัญ ญา ความถี่ ๒๑๖ (๓๕.๐๖%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๑๕๘ (๒๕.๖๕%)ด้ านศี ล ความถี่ ๑๐๓ (๑๖.๗๒%) ด้ านทาน ความถี่ ๘๖ (๑๓.๙๖%) ด้านนอกพุ ท ธศาสนา ความถี่ ๕๓(๘.๖๐%) ปริ ญ ญาโท ด้ านปั ญ ญา ความถี่ ๑๑๔ (๓๖.๑๙%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๗๕ (๒๓.๘๑%)ด้านศีล ความถี่ ๕๐ (๑๕.๘๗%) ด้านทาน ความถี่ ๔๓ (๑๓.๖๕%) ด้านนอกพุ ท ธศาสนา ความถี่ ๓๓ (๑๐.๔๘%) ปริ ญ ญาเอก ด้านปัญ ญา ความถี่ ๗ (๓๑.๘๒%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๖ (๒๗.๒๗%)ด้านศีล ความถี่ ๕ (๒๒.๗๓%) ด้านทาน ความถี่ ๓ (๑๓.๖๔%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๑ (๔.๕๕%) ตารางที่ ๔.๗ แสดงจ านวน(Number) ความถี่ (Frequency) ร้ อ ยละ(Percentage)และระดั บ (Level) โดยรวมที่มีต่อคุณ สมบัติของโหราจารย์ และ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้ คาปรึกษา ของกลุ่ม ตัวอย่างผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ จาแนกตามอาชีพ เรียงลาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ อาชีพ

ความคิดเห็น คุณสมบัติของโหราจารย์ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษา ค่า ด้าน ๑ ด้าน ๒ ด้าน ๓ ด้าน ๔ ด้าน ๑ ด้าน ๒ ด้าน ๓ ด้าน ๔ ด้าน ๕ สังคม ศีล จิตใจ ปัญญา ทาน ศีล จิตใจ ปัญญา นอกพุทธ

ความถี่ ข้าราชการ ร้อยละ รัฐวิสาหกิจ ลาดับ ความถี่ นักธุรกิจ ร้อยละ ลาดับ ความถี่ ค้าขาย ร้อยละ ลาดับ ความถี่ นักเรียน ร้อยละ นักศึกษา ลาดับ ความถี่ แม่บ้าน ร้อยละ พ่อบ้าน ลาดับ

๓๑ ๙.๕๔ ๓ ๓๑ ๙.๑๒ ๓ ๓๐ ๙.๔๓ ๓ ๗ ๗.๒๒ ๓ ๗ ๔.๙๖ ๓

๑๑๓ ๓๔.๗๗ ๒ ๑๒๗ ๓๗.๓๕ ๒ ๑๑๗ ๓๖.๗๙ ๒ ๓๙ ๔๐.๒๑ ๒ ๕๔ ๓๘.๓๐ ๒

๖ ๑.๘๕ ๔ ๑๑ ๓.๒๔ ๔ ๑๑ ๓.๔๖ ๔ ๔ ๔.๑๒ ๔ ๒ ๑.๔๒ ๔

๑๗๕ ๕๓.๘๕ ๑ ๑๗๑ ๕๐.๒๙ ๑ ๑๖๐ ๕๐.๓๑ ๑ ๔๗ ๔๘.๔๕ ๑ ๗๘ ๕๕.๓๒ ๑

๔๗ ๑๖.๗๙ ๔ ๓๙ ๑๒.๒๓ ๔ ๓๓ ๑๑.๑๑ ๔ ๘ ๙.๐๙ ๔ ๒๒ ๑๖.๔๒ ๓

๕๑ ๑๘.๒๑ ๓ ๕๖ ๑๗.๕๕ ๓ ๔๗ ๑๕.๘๒ ๓ ๑๐ ๑๑.๓๖ ๓ ๑๖ ๑๑.๙๔ ๔

๖๓ ๒๒.๕๐ ๒ ๙๓ ๒๙.๑๕ ๒ ๗๔ ๒๔.๙๒ ๒ ๒๗ ๓๐.๖๘ ๒ ๓๒ ๒๓.๘๘ ๒

๙๕ ๓๓.๙๓ ๑ ๙๘ ๓๐.๗๒ ๑ ๑๒๒ ๔๑.๐๘ ๑ ๓๙ ๔๔.๓๒ ๑ ๕๓ ๓๙.๕๕ ๑

๒๔ ๘.๕๗ ๕ ๓๓ ๑๐.๓๔ ๕ ๒๑ ๗.๐๗ ๕ ๔ ๔.๕๕ ๕ ๑๑ ๘.๒๑ ๕

จากตารางที่ ๔.๗ แสดงจานวน (Number) ความถี่ (Frequency)ร้อยละ (Percentage) และระดับ (Level) โดยรวมที่มีต่อคุณสมบัติของโหราจารย์ และแนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษา

๒๐๓ ของกลุ่มตัวอย่างผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ จาแนกตาม อาชีพ เรียงลาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ อาชี พ มี ค วามคิ ด เห็ น และความพึ ง พอใจต่ อ คุ ณ สมบั ติ ข องโหราจารย์ ด้ า นต่ า ง ๆ เรี ย งล าดั บ จากมากไปน้ อ ยดั งนี้ ข้ า ราชการรั ฐ วิส าหกิ จ ด้ านปั ญ ญา ความถี่ ๑๗๕ (๕๓.๘๕%) ด้านศีล ความถี่ ๑๑๓ (๓๔.๗๗%) ด้านสังคม ความถี่ ๓๑ (๙.๕๔%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๖ (๑.๘๕%) นักธุรกิจ ด้านปัญญา ความถี่ ๑๗๑ (๕๐.๒๙%) ด้านศีล ความถี่ ๑๒๗ (๓๗.๒๕%) ด้านสังคม ความถี่ ๓๑ (๙.๑๒%) ด้ า นจิ ต ใจ ความถี่ ๑๑ (๓.๒๔%) ค้ า ขายนั ก เรี ย น ด้ า นปั ญ ญา ความถี่ ๑๖๐ (๕๐.๓๑%) ด้านศีล ความถี่ ๑๑๗ (๓๖.๗๙%) ด้านสังคม ความถี่ ๓๐ (๙.๔๓%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๑๑ (๓.๔๖%) นั ก ศึ กษา ด้านปั ญ ญา ความถี่ ๔๗ (๔๘.๔๕%) ด้านศีล ความถี่ ๓๙ (๔๐.๒๑%) ด้านสังคม ความถี่ ๗ (๗.๒๒%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๔ (๔.๑๒%) แม่บ้านพ่อบ้าน ด้านปัญญา ความถี่ ๗๘ (๕๕.๓๒%) ด้านศีล ความถี่ ๔๕ (๓๘.๓๐%) ด้านสังคม ความถี่ ๗ (๔.๙๖%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๒ (๑.๕๒%) อาชีพมีความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อแนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษา ด้านต่าง ๆ เรียงลาดับจากมากไปน้อยดังนี้ ข้าราชการรัฐวิสาหกิจ ด้านปัญญา ความถี่ ๙๕ (๓๓.๙๓%)ด้านจิตใจ ความถี่ ๖๓ (๒๒.๕๐%)ด้านศีล ความถี่ ๕๑ (๑๘.๒๑%) ด้านทาน ความถี่ ๔๗ (๑๖.๗๙%) ด้านนอก พุทธศาสนา ความถี่ ๒๔(๘.๕๗%) นักธุรกิจ ด้านปัญญา ความถี่ ๙๘ (๓๐.๗๒%)ด้านจิตใจ ความถี่ ๙๓ (๒๙.๑๕%)ด้านศีล ความถี่ ๕๖ (๑๗.๕๕%) ด้านทาน ความถี่ ๓๙ (๑๒.๒๓%) ด้านนอกพุทธ ศาสนา ความถี่ ๓๓ (๑๐.๓๔%) ค้าขาย ด้านปัญญา ความถี่ ๑๒๒ (๔๑.๐๘%)ด้านจิตใจ ความถี่ ๗๔ (๒๔.๙๒%)ด้านศีล ความถี่ ๔๗ (๑๕.๘๒%) ด้านทาน ความถี่ ๓๓ (๑๑.๑๑%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๒๑ (๗.๐๗%) นักเรียนนักศึกษา ด้านปัญญา ความถี่ ๓๙ (๔๔.๓๒%)ด้านจิตใจ ความถี่ ๒๗ (๓๐.๖๘%)ด้านศีล ความถี่ ๑๐ (๑๑.๓๖%) ด้านทาน ความถี่ ๘ (๙.๐๙%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๔ (๔.๕๕%) แม่บ้านพ่อบ้าน ด้านปัญญา ความถี่ ๕๓ (๓๙.๕๕%)ด้านจิตใจ ความถี่ ๓๒ (๒๓.๘๘%)ด้านทาน ความถี่ ๒๒ (๑๖.๔๒%)ด้านศีล ความถี่ ๑๖ (๑๑.๙๔%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๑๑ (๘.๒๑%)

๒๐๔ ตารางที่ ๔.๘ แสดงจ านวน(Number) ความถี่ (Frequency) ร้ อ ยละ(Percentage)และระดั บ (Level) โดยรวมที่มีต่อคุณ สมบั ติของโหราจารย์ และ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้ คาปรึกษาของกลุ่ ม ตั ว อย่ า งผู้ รั บ การปรึ ก ษาทางโหราศาสตร์ต ามแนวพุ ท ธจิ ต วิ ท ยาเพื่ อ ลดความทุ ก ข์ จ าแนกตาม สถานภาพสมรส เรียงลาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ สถาน ภาพ สมรส สมรส

โสด

หม้าย หย่าร้าง

ความคิดเห็น คุณสมบัติของโหราจารย์ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษา ค่า ด้าน ๑ ด้าน ๒ ด้าน ๓ ด้าน ๔ ด้าน ๑ ด้าน ๒ ด้าน ๓ ด้าน ๔ ด้าน ๕ ความถี่ ร้อยละ ลาดับ ความถี่ ร้อยละ ลาดับ ความถี่ ร้อยละ ลาดับ ความถี่ ร้อยละ ลาดับ

สังคม

ศีล

๓๒ ๗.๙๔ ๓ ๖๙ ๙.๖๖ ๓ ๒ ๓.๕๑ ๓ ๓ ๖.๓๘ ๓

๑๔๘ ๓๖.๗๒ ๒ ๒๖๐ ๓๖.๔๑ ๒ ๒๒ ๓๘.๖๐ ๒ ๒๐ ๔๒.๕๕ ๒

จิตใจ ปัญญา ทาน ๙ ๒.๒๓ ๔ ๒๓ ๓.๒๒ ๔ ๑ ๑.๗๕ ๔ ๑ ๒.๑๓ ๔

๒๑๔ ๕๓.๑๐ ๑ ๓๖๒ ๕๐.๗๐ ๑ ๓๒ ๕๖.๑๔ ๑ ๒๓ ๔๘.๙๔ ๑

๖๓ ๑๖.๒๘ ๓ ๗๑ ๑๑.๒๓ ๓ ๙ ๑๗.๓๑ ๓ ๖ ๑๓.๐๔ ๓

ศีล ๕๘ ๑๔.๙๙ ๔ ๑๐๑ ๑๕.๙๘ ๔ ๑๐ ๑๙.๒๓ ๔ ๑๑ ๒๓.๙๑ ๔

จิตใจ ปัญญา ๙๙ ๒๕.๕๘ ๒ ๑๖๓ ๒๕.๗๙ ๒ ๑๖ ๓๐.๗๗ ๒ ๑๑ ๒๓.๙๑ ๒

๑๒๙ ๓๓.๓๓ ๑ ๒๔๙ ๓๙.๔๐ ๑ ๑๓ ๒๕.๐๐ ๑ ๑๖ ๓๔.๗๘ ๑

นอกพุทธ

๓๘ ๙.๘๒ ๕ ๔๘ ๗.๕๙ ๕ ๔ ๗.๖๙ ๕ ๒ ๔.๓๕ ๕

ตารางที่ ๔.๘ แสดงจ านวน(Number) ความถี่ (Frequency) ร้ อ ยละ(Percentage) และระดับ (Level) โดยรวมที่มีต่อคุณสมบัติของโหราจารย์ และ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึก ษา ของกลุ่มตัวอย่างผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ จาแนกตาม สถานภาพสมรส เรียงลาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ สถานภาพสมรสมี ค วามคิ ด เห็ น และความพึ ง พอใจต่ อ คุ ณ สมบั ติ ข องโหราจารย์ ด้านต่าง ๆ เรียงลาดับ จากมากไปน้อยดังนี้ สมรส ด้านปัญ ญา ความถี่ ๒๑๔ (๕๓.๑๐%) ด้านศีล ความถี่ ๑๔๘ (๓๖.๗๒%) ด้ า นสั ง คม ความถี่ ๓ ๒ (๗.๙๔%) ด้ า นจิ ต ใจ ความถี่ ๙ (๒.๒๓%) โสด ด้านปัญญา ความถี่ ๓๖๒ (๕๐.๗๐%) ด้านศีล ความถี่ ๒๖๐ (๓๖.๔๑%) ด้านสังคม ความถี่๓ ๖๙ (๙.๖๖%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๒๓ (๓.๒๒%) หม้าย ด้านปัญญา ความถี่ ๓๒ (๕๖.๑๔%) ด้านศีล ความถี่ ๒๒ (๓๘.๖๐%) ด้านสังคม ความถี่ ๒(๓.๕๑%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๑ (๑.๗๕%) อย่าร้าง ด้านปัญญา ความถี่ ๒๓ (๔๘.๙๔%) ด้านศีล ความถี่ ๒๐ (๔๒.๕๕%) ด้านสังคม ความถี่ ๓ (๖.๓๘%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๑ (๒.๑๓%) สถานภาพสมรส มีความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อแนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษา ด้านต่าง ๆ เรียงลาดับจากมากไปน้อยดังนี้ สมรส ด้านปัญญา ความถี่ ๑๒๙ (๓๓.๓๓%)ด้านจิตใจ ความถี่ ๙๙ (๒๕.๕๘%)ด้านทาน ความถี่ ๖๓(๑๖.๒๘%)ด้านศีล ความถี่ ๕๘ (๑๔.๙๙%) ด้านนอก

๒๐๕ พุทธศาสนา ความถี่ ๓๘ (๙.๘๒%) โสด ด้านปัญญา ความถี่ ๒๔๙ (๓๙.๔๐%)ด้านจิตใจ ความถี่ ๑๖๓ (๒๕.๗๙%)ด้านศีล ความถี่ ๑๐๑ (๑๕.๙๘%) ด้านทาน ความถี่ ๗๑ (๑๑.๒๓%) ด้านนอกพุทธ ศาสนา ความถี่ ๔๘ (๗.๕๙%) หม้าย ด้านปัญญา ความถี่ ๑๖ (๓๐.๗๗%)ด้านจิตใจ ความถี่ ๑๓ (๒๕.๐๐%)ด้านศีล ความถี่ ๑๐ (๑๙.๒๓%) ด้านทาน ความถี่ ๙ (๑๗.๓๑%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๔ (๗.๖๙%) อย่าร้าง ด้านปัญญา ความถี่ ๑๖ (๓๔.๗๘%)ด้านจิตใจ ความถี่ ๑๑ (๒๓.๙๑%) ด้านศีล ความถี่ ๑๑ (๒๓.๙๑%) ด้านทาน ความถี่ ๖ (๑๓.๐๔%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๒ (๔.๓๕%) ตารางที่ ๔.๙ แสดงจ านวน(Number) ความถี่ (Frequency) ร้ อ ยละ(Percentage)และระดั บ (Level) โดยรวมที่มีต่อคุณ สมบัติของโหราจารย์ และ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้ คาปรึกษา ของกลุ่ม ตั ว อย่ างผู้ รั บ การปรึ ก ษาทางโหราศาสตร์ต ามแนวพุ ท ธจิ ต วิ ท ยาเพื่ อ ลดความทุ ก ข์ จ าแนกตาม กิจกรรมทางศาสนาที่ปฏิบัติบ่อยที่สุด เรียงลาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ กิจกรรม ทาง ศาสนาที่ ปฏิบัติ ทาบุญ ให้ทาน ไหว้พระ สวดมนต์ รักษาศีล ฟังธรรม อ่าน หนังสือ นั่งสมาธิ

ความคิดเห็น คุณสมบัติของโหราจารย์ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษา ค่า ด้าน ๑ ด้าน ๒ ด้าน ๓ ด้าน ๔ ด้าน ๑ ด้าน ๒ ด้าน ๓ ด้าน ๔ ด้าน ๕

ความถี่ ร้อยละ ลาดับ ความถี่ ร้อยละ ลาดับ ความถี่ ร้อยละ ลาดับ ความถี่ ร้อยละ ลาดับ ความถี่ ร้อยละ ลาดับ

สังคม

ศีล

๓๐ ๕.๖๑ ๓ ๔๔ ๙.๖๙ ๓ ๙ ๑๐.๔๗ ๓ ๑๖ ๑๙.๕๑ ๓ ๗ ๑๐.๙๔ ๓

๒๐๖ ๓๘.๕๐ ๒ ๑๖๓ ๓๕.๙๐ ๒ ๒๖ ๓๐.๒๓ ๒ ๒๙ ๓๕.๓๗ ๒ ๒๖ ๔๐.๖๓ ๒

จิตใจ ปัญญา ทาน ๑๕ ๒.๘๐ ๔ ๑๒ ๒.๖๔ ๔ ๖ ๖.๙๘ ๔ ๐ ๐ ๔ ๑ ๑.๕๖ ๔

๒๘๔ ๕๓.๐๘ ๑ ๒๓๕ ๕๑.๗๖ ๑ ๔๕ ๕๒.๓๓ ๑ ๓๗ ๔๕.๑๒ ๑ ๓๐ ๔๖.๘๘ ๑

๗๑ ๑๔.๗๓ ๔ ๕๗ ๑๓.๒๓ ๔ ๗ ๑๐.๔๕ ๔ ๖ ๘.๔๕ ๔ ๘ ๑๒.๑๒ ๔

ศีล ๘๐ ๑๖.๖๐ ๓ ๖๕ ๑๕.๐๘ ๓ ๑๒ ๑๗.๙๑ ๓ ๑๑ ๑๕.๔๙ ๓ ๑๒ ๑๘.๑๘ ๓

จิตใจ ปัญญา ๑๑๔ ๒๓.๖๕ ๒ ๑๑๓ ๒๖.๒๒ ๒ ๑๘ ๒๖.๘๗ ๒ ๒๖ ๓๖.๖๒ ๒ ๑๘ ๒๗.๒๗ ๒

๑๗๘ ๓๖.๙๓ ๑ ๑๕๘ ๓๖.๖๖ ๑ ๒๒ ๓๒.๘๔ ๑ ๒๔ ๓๓.๘๐ ๑ ๒๕ ๓๗.๘๘ ๑

นอกพุทธ

๓๙ ๘.๐๙ ๕ ๓๘ ๘.๘๒ ๕ ๘ ๑๑.๙๔ ๕ ๔ ๕.๖๓ ๕ ๓ ๔.๕๕ ๕

๒๐๖ จากตารางที่ ๔.๙ แสดงจ านวน(Number)ความถี่(Frequency)ร้อ ยละ(Percentage) และระดับ(Level) โดยรวมที่มีต่อคุณสมบัติของโหราจารย์ และ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษา ของกลุ่มตัวอย่างผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ จาแนกตาม กิจกรรมทางศาสนาที่ปฏิบัติบ่อยที่สุด เรียงลาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ กิจกรรมทางศาสนาที่ปฏิบัติบ่อยที่สุด มีความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อ คุณ สมบัติ ของโหราจารย์ ด้านต่าง ๆ เรียงลาดับจากมากไปน้อยดังนี้ ทาบุญให้ทาน ด้านปัญญา ความถี่ ๒๘๔ (๕๓.๐๘%) ด้านศีล ความถี่ ๒๐๖ (๓๘.๕๐%) ด้านสังคม ความถี่ ๓๐ (๕.๖๑%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๑๕ (๒.๘๐%) ไหว้พ ระสวดมนต์ ด้านปั ญ ญา ความถี่ ๒๓๕ (๕๑.๗๖%) ด้ านศีล ความถี่ ๑๖๓ (๓๕.๙๐%) ด้านสังคม ความถี่ ๔๔ (๙.๖๙%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๑๒ (๒.๖๔%) รักษาศีล ด้านปัญญา ความถี่ ๔๕ (๕๒.๓๓%) ด้านศีล ความถี่ ๒๖ (๓๐.๒๓%) ด้านสังคม ความถี่ ๙ (๑๐.๔๗%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๖ (๖.๙๘%) ฟังธรรมอ่านหนังสือ ด้านปัญญา ความถี่ ๓๗ (๔๕.๑๒%) ด้านศีล ความถี่ ๒๙ (๓๕.๓๗%) ด้านสังคม ความถี่ ๑๖ (๑๙.๕๑%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๐ (๐%) นั่งสมาธิ ด้านปัญญา ความถี่ ๓๐ (๔๖.๘๘%) ด้านศีล ความถี่ ๒๖ (๔๐.๖๓%) ด้านสังคม ความถี่ ๗ (๑๐.๙๔%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๑ (๑.๕๖%) กิจกรรมทางศาสนาที่ปฏิบัติบ่อยที่สุด มีความคิดเห็ นและความพึงพอใจต่อ แนวทาง ปฏิบั ติ ที่โหรให้ค าปรึกษา ด้านต่างๆเรียงล าดับ จากมากไปน้อยดังนี้ ทาบุ ญ ให้ท าน ด้านปัญ ญา ความถี่ ๑๗๘ (๓๖.๙๓%)ด้ านจิ ต ใจ ความถี่ ๑๑๔ (๒๓.๖๕%)ด้ านศี ล ความถี่ ๘๐ (๑๖.๖๐%) ด้านทาน ความถี่ ๗๑ (๑๔.๗๓%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๓๙ (๘.๐๙%) ไหว้พระสวดมนต์ ด้านปั ญ ญา ความถี่ ๑๕๘ (๓๖.๖๖%)ด้านจิ ตใจ ความถี่ ๑๑๓ (๒๖.๒๒%)ด้านศี ล ความถี่ ๖๕ (๑๕.๐๘%) ด้านทาน ความถี่ ๕๗ (๑๓.๒๓%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๓๘(๘.๘๒%) รักษาศีล ด้ า นปั ญ ญา ความถี่ ๒๒ (๓๒.๘๔%)ด้ า นจิ ต ใจ ความถี่ ๑๘ (๒๖.๘๗%)ด้ า นศี ล ความถี่ ๑๒ (๑๗.๙๑%) ด้านทาน ความถี่ ๘ (๑๑.๙๔%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๗ (๑๐.๔๕%) ฟังธรรม อ่านหนังสือ ด้านปัญญา ความถี่ ๒๖(๓๖.๖๒%)ด้านจิตใจ ความถี่ ๒๔ (๓๓.๘๐%)ด้านศีล ความถี่ ๑๑ (๑๕.๔๙%) ด้านทาน ความถี่ ๖ (๘.๔๕%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๔ (๕.๖๓%) นั่งสมาธิ ด้ า นปั ญ ญา ความถี่ ๒๕ (๓๗.๘๘%)ด้ า นจิ ต ใจ ความถี่ ๑๘ (๒๗.๒๗%)ด้ า นศี ล ความถี่ ๑๒ (๑๘.๑๘%) ด้านทาน ความถี่ ๘ (๑๒.๑๒%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๓ (๔.๕๕%)

๒๐๗ ตารางที่ ๔.๑๐ แสดงจ านวน(Number) ความถี่ (Frequency) ร้ อ ยละ(Percentage)และระดั บ (Level) โดยรวมที่มีต่อคุณ สมบัติของโหราจารย์ และ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้ คาปรึกษา ของกลุ่ม ตัวอย่างผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ จาแนกตามปัญหา ที่มาปรึกษาโหราจารย์มากที่สุด เรียงลาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ปัญหา ที่มา ปรึกษา ความรัก ครอบครัว การงาน

การเงิน การเรียน การศึกษา สุขภาพ

ความคิดเห็น ค่า คุณสมบัติของโหราจารย์ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษา ด้าน ๑ ด้าน ๒ ด้าน ๓ ด้าน ๔ ด้าน ๑ ด้าน ๒ ด้าน ๓ ด้าน ๔ ด้าน ๕ สังคม ศีล จิตใจ ปัญญา ทาน ศีล จิตใจ ปัญญา นอกพุทธ ความถี่ ร้อยละ ลาดับ ความถี่ ร้อยละ ลาดับ ความถี่ ร้อยละ ลาดับ ความถี่ ร้อยละ ลาดับ ความถี่ ร้อยละ ลาดับ

๒๘ ๘.๓๘ ๓ ๕๒ ๙.๑๗ ๓ ๑๕ ๘.๒๐ ๓ ๖ ๘.๑๑ ๓ ๖ ๙.๓๘ ๓

๑๒๑ ๓๖.๒๓ ๒ ๒๑๑ ๓๗.๒๑ ๒ ๖๓ ๓๔.๔๓ ๒ ๒๙ ๓๙.๑๙ ๒ ๒๖ ๔๐.๖๓ ๒

๕ ๑.๕๐ ๔ ๑๖ ๒.๘๒ ๔ ๘ ๔.๓๗ ๔ ๓ ๔.๐๕ ๔ ๒ ๓.๑๓ ๔

๑๘๐ ๕๓.๘๙ ๑ ๒๘๘ ๕๐.๗๙ ๑ ๙๗ ๕๓.๐๑ ๑ ๓๖ ๔๘.๖๕ ๑ ๓๐ ๔๖.๘๘ ๑

๓๘ ๑๒.๘๔ ๔ ๗๓ ๑๔.๐๗ ๔ ๒๖ ๑๕.๓๘ ๓ ๑ ๑.๔๗ ๔ ๑๑ ๑๖.๙๒ ๓

๕๑ ๑๗.๒๓ ๓ ๘๖ ๑๖.๕๗ ๓ ๒๔ ๑๔.๒๐ ๔ ๑๑ ๑๖.๑๘ ๓ ๘ ๑๒.๓๑ ๔

๗๑ ๒๓.๙๙ ๒ ๑๓๓ ๒๕.๖๓ ๒ ๔๔ ๒๖.๐๔ ๒ ๒๑ ๓๐.๘๘ ๒ ๒๐ ๓๐.๗๗ ๒

๑๐๙ ๓๖.๘๒ ๑ ๑๘๗ ๓๖.๐๓ ๑ ๕๗ ๓๓.๗๓ ๑ ๓๔ ๕๐.๐๐ ๑ ๒๐ ๓๐.๗๗ ๑

๒๗ ๙.๑๒ ๕ ๔๐ ๗.๗๑ ๕ ๑๘ ๑๐.๖๕ ๕ ๑ ๑.๔๗ ๕ ๖ ๙.๒๓ ๕

จ า ก ต า ร า ง ที่ ๔ .๑ ๐ แ ส ด งจ าน ว น (Number)ค ว า ม ถี่ (Frequency) ร้ อ ย ล ะ (Percentage)และระดับ (Level) โดยรวมที่มีต่อคุณสมบัติของโหราจารย์ และแนวทางปฏิบัติที่โหร ให้คาปรึกษา ของกลุ่มตัวอย่างผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความ ทุกข์ จาแนกตามปัญหาที่มาปรึกษาโหราจารย์มากที่สุด เรียงลาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ปัญหาที่มาปรึกษาโหราจารย์มากที่สุด มีความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อ คุณสมบัติ ของโหราจารย์ ด้านต่ าง ๆ เรีย งล าดับ จากมากไปน้ อยดังนี้ ความรั ก ด้านปั ญ ญา ความถี่ ๑๘๐ (๕๓.๘๙%) ด้านศีล ความถี่ ๑๒๑ (๓๖.๒๓%) ด้านสังคม ความถี่ ๒๘ (๘.๓๘%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๕ (๑.๕๐%) การงาน ด้ า นปั ญ ญา ความถี่ ๒๘๘ (๕๐.๗๙%) ด้ านศี ล ความถี่ ๒๑๑ (๓๗.๒๑%) ด้านสังคม ความถี่ ๕๒ (๙.๑๗%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๑๖ (๒.๘๒%) การเงิน ด้านปัญญา ความถี่ ๙๗ (๕๓.๐๑%) ด้านศีล ความถี่ ๖๓ (๓๔.๔๓%) ด้านสังคม ความถี่ ๑๕ (๘.๒๐%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๘ (๔.๓๗%) การเรียนการศึกษา ด้านปัญญา ความถี่ ๓๖ (๔๘.๖๕%) ด้านศีล ความถี่ ๒๙ (๓๙.๑๙%) ด้านสังคม ความถี่ ๖ (๘.๑๑%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๓ (๔.๐๕%) สุขภาพ ด้านปัญญา ความถี่ ๓๐

๒๐๘ (๔๖.๘๘%) ด้านศีล ความถี่ ๒๖ (๔๐.๖๓%) ด้านสังคม ความถี่ ๖(๙.๓๘%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๒ (๓.๑๓%) ปัญหาที่มาปรึกษาโหราจารย์มากที่สุด มีความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อ แนวทาง ปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษา ด้านต่างๆ เรียงลาดับจากมากไปน้อยดังนี้ ความรัก ด้านปัญญา ความถี่ ๑๐๙ (๓๖.๘๒%)ด้ านจิ ต ใจ ความถี่ ๗๑ (๒๓.๙๙%)ด้านศี ล ความถี่ ๕๑ (๑๗.๒๓%) ด้ านทาน ความถี่ ๓๘ (๑๒.๘๔%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๒๗(๙.๑๒%) การงาน ด้านปัญญา ความถี่ ๑๘๗ (๓๖.๐๓%)ด้านจิตใจ ความถี่ ๑๓๓ (๒๕.๖๓%)ด้านศีล ความถี่ ๘๖ (๑๖.๕๗%) ด้านทาน ความถี่ ๗๓ (๑๔.๐๗%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๔๐ (๗.๗๑%) การเงิน ด้านปัญญา ความถี่ ๕๗ (๓๓.๗๓%)ด้านจิตใจ ความถี่ ๔๔ (๒๖.๐๔%)ด้านทาน ความถี่ ๒๖(๑๕.๓๘%)ด้านศีล ความถี่ ๒๔ (๑๔.๒๐%) ด้านนอกพุท ธศาสนา ความถี่ ๑๘ (๑๐.๖๕%) การเรียนการศึกษา ด้านปั ญ ญา ความถี่ ๓๔ (๕๐.๐๐%)ด้านจิตใจ ความถี่ ๒๑ (๓๐.๘๘%)ด้านศีล ความถี่ ๑๑ (๑๖.๑๘%) ด้านทาน ความถี่ ๑ (๑.๔๗%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๑ (๑.๔๗%) สุขภาพ ด้านปัญญา ความถี่ ๒๐ (๓๐.๗๗%)ด้านจิตใจ ความถี่ ๒๐ (๓๐.๗๗%)ด้านทาน ความถี่ ๑ ๑ (๑๖.๙๒%)ด้านศีล ความถี่ ๘ (๑๒.๓๑%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๖ (๙.๒๓%) ตารางที่ ๔.๑๑ แสดงจ านวน(Number) ความถี่ (Frequency) ร้ อ ยละ(Percentage)และระดั บ (Level) โดยรวมที่มีต่อคุณ สมบัติของโหราจารย์ และ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้ คาปรึกษา ของกลุ่ม ตัวอย่างผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิ ตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ จาแนกตามการ ปรึกษาโหราจารย์ ด้วยศาสตร์ทางโหรฯตามหลัก เรียงลาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ศาสตร์ ทางโหรฯ ตามหลัก

ความคิดเห็น ค่า คุณสมบัติของโหราจารย์ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษา ด้าน ๑ ด้าน ๒ ด้าน ๓ ด้าน ๔ ด้าน ๑ ด้าน ๒ ด้าน ๓ ด้าน ๔ ด้าน ๕ สังคม ศีล จิตใจ ปัญญา ทาน ศีล จิตใจ ปัญญา นอกพุทธ

ความถี่ ร้อยละ ลาดับ ความถี่ เลขศาสตร์ ร้อยละ ลาดับ ความถี่ ลายมือ ร้อยละ ลาดับ ความถี่ ไพ่ยปิ ซี ร้อยละ ลาดับ ไทย จักรราศี

๒๔ ๕.๓๕ ๓ ๑๖ ๘.๗๙ ๓ ๑๕ ๘.๘๒ ๓ ๕๑ ๑๒.๑๔ ๓

๑๕๙ ๓๕.๔๑ ๒ ๗๔ ๔๐.๖๖ ๒ ๕๙ ๓๔.๗๑ ๒ ๑๕๘ ๓๗.๖๒ ๒

๑๒ ๒๕๔ ๕๖ ๖๙ ๑๐๘ ๒.๖๗ ๕๖.๕๗ ๑๓.๔๖ ๑๖.๕๙ ๒๕.๙๖ ๔ ๑ ๔ ๓ ๒ ๔ ๘๘ ๒๒ ๒๗ ๔๐ ๒.๒๐ ๔๘.๓๕ ๑๒.๗๒ ๑๕.๖๑ ๒๓.๑๒ ๔ ๑ ๔ ๓ ๒ ๕ ๙๑ ๓๗ ๒๓ ๓๔ ๒.๙๔ ๕๓.๕๓ ๒๒.๐๒ ๑๓.๖๙ ๒๐.๒๔ ๔ ๑ ๒ ๔ ๓ ๑๓ ๑๙๘ ๕๕ ๖๑ ๑๐๗ ๓.๑๐ ๔๗.๑๔ ๑๔.๔๔ ๑๖.๐๑ ๒๘.๐๘ ๔ ๑ ๔ ๓ ๒

๑๕๙ ๓๘.๒๒ ๑ ๗๑ ๔๑.๐๔ ๑ ๕๖ ๓๓.๓๓ ๑ ๑๒๑ ๓๑.๗๖ ๑

๒๔ ๕.๗๗ ๕ ๑๓ ๗.๕๑ ๕ ๑๘ ๑๐.๗๑ ๕ ๓๗ ๙.๗๑ ๕

๒๐๙ จ า ก ต า ร า ง ที่ ๔ .๑ ๑ แ ส ด ง จ า น ว น (Number)ค ว า ม ถี่ (Frequency) ร้ อ ย ล ะ (Percentage)และระดับ (Level) โดยรวมที่มีต่อคุณสมบัติของโหราจารย์ และ แนวทางปฏิบัติที่โหร ให้คาปรึกษา ของกลุ่มตัวอย่างผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความ ทุกข์ จาแนกตามการปรึกษาโหราจารย์ ด้วยศาสตร์ทางโหรฯตามหลัก เรียงลาดับจากมากไปหา น้อยดังนี้ การปรึกษาโหราจารย์ ด้วยศาสตร์ทางโหรฯตามหลัก มีความคิดเห็นและความพึงพอใจ ต่อคุณสมบัติของโหราจารย์ ด้านต่างๆ เรียงลาดับจากมากไปน้อยดังนี้ จักรราศี ด้านปัญญา ความถี่ ๒๕๔ (๕๖.๕๗%) ด้านศีล ความถี่ ๑๕๙ (๓๕.๔๑%) ด้านสังคม ความถี่ ๒๔ (๕.๓๕%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๑๒ (๒.๖๗%) เลขศาสตร์ ด้ า นปั ญ ญา ความถี่ ๘๘ (๔๘.๓๕%) ด้ า นศี ล ความถี่ ๗๔ (๔๐.๖๖%) ด้านสังคม ความถี่๑ ๖ (๘.๗๙%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๔ (๒.๒๐%) ลายมือ ด้านปัญญา ความถี่ ๙๑ (๕๓.๕๓%) ด้านศีล ความถี่ ๕๙ (๓๔.๗๑%) ด้านสังคม ความถี่ ๑๕ (๘.๘๒%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๕ (๒.๙๔%) ไพ่ยิปซีด้านปัญญา ความถี่ ๑๙๘ (๔๗.๑๐%) ด้านศีล ความถี่ ๑๕๘ (๓๗.๖๒%) ด้านสังคม ความถี่๕๑ (๑๒.๑๔%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๑๓ (๓.๑๐%) การปรึกษาโหราจารย์ ด้วยศาสตร์ทางโหรฯตามหลัก มีความคิดเห็นและความพึงพอใจ ต่ อ แนวทางปฏิ บั ติ ที่ โ หรให้ ค าปรึ ก ษา ด้ า นต่ า ง ๆ เรี ย งล าดั บ จากมากไปน้ อ ยดั ง นี้ จั ก รราศี ด้านปั ญ ญา ความถี่ ๑๕๙ (๓๘.๒๒%)ด้านจิ ตใจ ความถี่ ๑๐๘ (๒๕.๙๖%)ด้านศี ล ความถี่ ๖๙ (๑๖.๕๙%) ด้ า นทาน ความถี่ ๕๖ (๑๓.๔๖%) ด้ า นนอกพุ ท ธศาสนา ความถี่ ๒๔ (๕.๗๗%) เลขศาสตร์ ด้านปัญญา ความถี่ ๗๑ (๔๑.๐๔%)ด้านจิตใจ ความถี่ ๔๐ (๒๓.๑๒%)ด้านศีล ความถี่ ๓๗ (๑๕.๖๑%) ด้านทาน ความถี่ ๒๒ (๑๒.๗๒%) ด้านนอกพุ ทธศาสนา ความถี่ ๑๓ (๗.๕๑%) ลายมือ ด้านปัญญา ความถี่ ๕๖ (๓๓.๓๓%) ด้านทาน ความถี่ ๓๗ (๒๒.๐๒%)ด้านจิตใจ ความถี่ ๓๔ (๒๐.๒๔%)ด้านศีล ความถี่ ๒๓ (๑๓.๖๙%)ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๑๘ (๑๐.๗๑%) ไพ่ยิปซี ด้านปั ญ ญา ความถี่ ๑๒๑ (๓๑.๗๖%)ด้านจิ ตใจ ความถี่ ๑๐๗ (๒๘.๐๘%)ด้านศี ล ความถี่ ๖๑ (๑๖.๐๑%) ด้านทาน ความถี่ ๕๕ (๑๔.๔๔%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๓๗ (๙.๗๑%)

๒๑๐ ตารางที่ ๔.๑๒ แสดงจ านวน(Number) ความถี่ (Frequency) ร้ อ ยละ(Percentage)และระดั บ (Level) โดยรวมที่มีต่อคุณ สมบั ติของโหราจารย์ และแนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษา ของกลุ่ ม ตัวอย่างผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ จาแนกตามการ ปรึกษาโหราจารย์มากน้อยแค่ไหน (ต่อปี) เรียงลาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ปรึกษา โหราจาร ย์มาก น้อยแค่ ไหน

ความคิดเห็น คุณสมบัติของโหราจารย์ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษา ค่า ด้าน ๑ ด้าน ๒ ด้าน ๓ ด้าน ๔ ด้าน ๑ ด้าน ๒ ด้าน ๓ ด้าน ๔ ด้าน ๕

ความถี่ ๑ - ๒ ครั้ง ร้อยละ ลาดับ ความถี่ ๓ - ๕ ครั้ง ร้อยละ ลาดับ ความถี่ ๖ - ๑๐ ร้อยละ ครั้ง ลาดับ ความถี่ มากกว่า ร้อยละ ๑๐ ครั้ง ลาดับ

สังคม

ศีล

จิตใจ ปัญญา ทาน

ศีล

๗๒ ๘.๘๒ ๓ ๒๘ ๙.๔๙ ๓ ๓ ๖.๖๗ ๓ ๓ ๔.๙๒ ๓

๒๙๔ ๒๒ ๔๒๘ ๑๐๖ ๑๑๕ ๓๖.๐๓ ๒.๗๐ ๕๒.๔๕ ๑๔.๑๑ ๑๕.๓๑ ๒ ๔ ๑ ๔ ๓ ๑๑๕ ๙ ๑๔๓ ๓๐ ๔๗ ๓๘.๙๘ ๓.๐๕ ๔๘.๔๗ ๑๑.๓๖ ๑๗.๘๐ ๒ ๔ ๑ ๔ ๓ ๑๗ ๐ ๒๕ ๕ ๙ ๓๗.๗๘ ๕๕.๕๖ ๑๑.๙๐ ๒๑.๔๓ ๒ ๔ ๑ ๔ ๒ ๒๐ ๓ ๓๕ ๘ ๙ ๓๒.๗๙ ๔.๙๒ ๕๗.๓๘ ๑๓.๓๓ ๑๕.๐๐ ๒ ๔ ๑ ๔ ๓

จิตใจ ปัญญา ๑๙๐ ๒๕.๓๐ ๒ ๖๒ ๒๓.๔๘ ๒ ๑๖ ๓๘.๑๐ ๑ ๒๑ ๓๕.๐๐ ๑

๒๘๓ ๓๗.๖๘ ๑ ๙๙ ๓๗.๕๐ ๑ ๗ ๑๖.๖๗ ๓ ๑๘ ๓๐.๐๐ ๒

นอกพุทธ

๕๗ ๗.๕๙ ๕ ๒๖ ๙.๘๕ ๕ ๕ ๑๑.๙๐ ๕ ๔ ๖.๖๗ ๕

จ าก ต าร างที่ ๔ .๑ ๒ แ ส ด งจ าน ว น (Number) ค ว าม ถี่ (Frequency) ร้ อ ย ล ะ (Percentage)และระดับ (Level) โดยรวมที่มีต่อคุณสมบัติของโหราจารย์ และแนวทางปฏิบัติที่โหร ให้คาปรึกษา ของกลุ่มตัวอย่างผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความ ทุกข์ จาแนกตามการปรึกษาโหราจารย์มากน้อยแค่ไหน (ต่อปี) เรียงลาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ การปรึกษาโหราจารย์มากน้อยแค่ไหน (ต่อปี) มีความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อ คุณสมบัติของโหราจารย์ ด้านต่าง ๆ เรียงลาดับจากมากไปน้อยดังนี้ ๑-๒ ครั้ง ด้านปัญญา ความถี่ ๔๒๘ (๕๒.๔๕%) ด้านศีล ความถี่ ๒๙๔ (๓๖.๐๓%) ด้านสังคม ความถี่ ๗๒ (๘.๘๒%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๒๒ (๒.๗๐%) ๓-๕ครั้ ง ด้ านปั ญ ญา ความถี่ ๑๔๓ (๔๘.๔๗%) ด้ านศี ล ความถี่ ๑๑๕ (๓๘.๙๘%) ด้านสังคม ความถี่ ๒๘ (๙.๔๙%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๙ (๓.๐๕%) ๖-๑๐ ครั้ง ด้านปัญญา ความถี่ ๒๕ (๕๕.๕๖%) ด้านศีล ความถี่ ๑๗ (๓๗.๗๘%) ด้านสังคม ความถี่๓ (๖.๖๗%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๐ (๐%) มากกว่ า ๑๐ ครั้ งด้ า นปั ญ ญา ความถี่ ๓๕ (๕๗.๓๘%) ด้ า นศี ล ความถี่ ๒๐ (๓๒.๗๙%) ด้านสังคม ความถี่ ๓ (๔.๙๒%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๓ (๔.๙๒%)

๒๑๑ การปรึกษาโหราจารย์มากน้อยแค่ไหน (ต่อปี) มีความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษา ด้านต่าง ๆ เรียงลาดับจากมากไปน้อยดังนี้ ๑-๒ ครั้ง ด้านปัญญา ความถี่ ๒๘๓ (๓๗.๖๘%)ด้านจิตใจ ความถี่ ๑๙๐ (๒๕.๓๐%)ด้านศีล ความถี่ ๑๑๕ (๑๕.๓๑%) ด้ า นทาน ความถี่ ๑๐๖ (๑๔.๑๑%) ด้ า นนอกพุ ท ธศาสนา ความถี่ ๕๗ (๗.๕๙%) ๓-๕ครั้ ง ด้ า นปั ญ ญา ความถี่ ๙๙ (๓๗.๕๐%)ด้ า นจิ ต ใจ ความถี่ ๖๒ (๓๓.๔๘%)ด้ า นศี ล ความถี่ ๔๗ (๑๗.๘๐%) ด้านทาน ความถี่ ๓๐ (๑๑.๓๖%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๒๖ (๙.๘๕%) ๖-๑๐ ครั้ง ด้านจิตใจ ความถี่ ๑๖ (๓๘.๑๐%)ด้านศีล ความถี่ ๙ (๑๒.๔๓%) ด้านศีล ความถี่ ๗ (๑๖.๖๗%) ด้านทาน ความถี่ ๕ (๑๑.๐๙%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๕ (๑๑.๐๙%) มากกว่า ๑๐ ครั้ง ด้านจิตใจ ความถี่ ๒๑ (๓๕.๐๐%)ด้านปัญญา ความถี่ ๑๘ (๓๐.๐๐%) ด้านศีล ความถี่ ๙ (๑๕.๐๐%) ด้านทาน ความถี่ ๘ (๑๓.๓๓%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๔ (๖.๖๗%) ตารางที่ ๔.๑๓ แสดงจ านวน(Number) ความถี่ (Frequency) ร้ อ ยละ(Percentage)และระดั บ (Level) โดยรวมที่มีต่อ คุณ สมบัติของโหราจารย์ และ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้ คาปรึกษา ของกลุ่ม ตัวอย่างผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ จาแนกตามการ เลือกปรึกษาทางโหราศาสตร์จากโหราจารย์ที่ เรียงลาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ เลือก ปรึกษาที่

อายุ ความมี ชื่อเสียง บุคลิก ลักษณะ ความรู้ ความ สามารถ

ความคิดเห็น ค่า คุณสมบัติของโหราจารย์ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษา ด้าน ๑ ด้าน ๒ ด้าน ๓ ด้าน ๔ ด้าน ๑ ด้าน ๒ ด้าน ๓ ด้าน ๔ ด้าน ๕ สังคม ศีล จิตใจ ปัญญา ทาน ศีล จิตใจ ปัญญา นอกพุทธ ความถี่ ๐ ๓ ๒ ร้อยละ ๐ ๒๕.๐๐ ๑๖.๖๗ ลาดับ ๔ ๒ ๓ ความถี่ ๒๕ ๖๕ ๖ ร้อยละ ๑๒.๘๙ ๓๓.๕๑ ๓.๐๙ ลาดับ ๔ ๒ ๓ ความถี่ ๗ ๓๗ ๒๖ ร้อยละ ๕.๓๐ ๒๘.๐๓ ๑๙.๗๐ ลาดับ ๔ ๒ ๓ ความถี่ ๗๔ ๓๔๐ ๓๔ ร้อยละ ๘.๑๑ ๓๗.๒๘ ๓.๗๓ ลาดับ ๔ ๒ ๓

๗ ๕๘.๓๓ ๑ ๙๘ ๕๐.๕๒ ๑ ๖๒ ๔๖.๙๗ ๑ ๔๖๔ ๕๐.๘๘ ๑

๒ ๑๘.๑๘ ๓ ๓๒ ๑๘.๘๒ ๓ ๑๔ ๑๕.๕๖ ๔ ๑๐๑ ๑๑.๙๔ ๔

๒ ๑๘.๑๘ ๒ ๒๘ ๑๖.๔๗ ๔ ๑๗ ๑๘.๘๙ ๓ ๑๓๓ ๑๕.๗๒ ๓

๕ ๔๕.๔๕ ๑ ๔๓ ๒๕.๒๙ ๒ ๒๒ ๒๔.๔๔ ๒ ๒๑๙ ๒๕.๘๙ ๒

๑ ๙.๐๙ ๔ ๕๖ ๓๒.๙๔ ๑ ๒๔ ๒๖.๖๗ ๑ ๓๒๖ ๓๘.๕๓ ๑

๑ ๙.๐๙ ๕ ๑๑ ๖.๔๗ ๕ ๑๓ ๑๔.๔๔ ๕ ๖๗ ๗.๙๒ ๕

จากตารางที่ ๔.๑๓ แสดงจานวน(number) ความถี่(frequency) เกี่ยวกับความคิดเห็น และความพึงพอใจโดยรวม ที่มีต่อคุณสมบัติ และ แนวทางปฏิบัติที่โหรให้คาปรึกษาแนวทางปฏิบัติ ในการให้คาปรึกษาของโหราจารย์ ของกลุ่มตัวอย่างผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธ จิ ต วิ ท ยาเพื่ อ ลดความทุ ก ข์ จ าแนกตามการเลื อ กปรึ ก ษาทางโหราศาสตร์ จ ากโหราจารย์ ที่ เรียงลาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้

๒๑๒ การเลือกปรึกษาทางโหราศาสตร์จากโหราจารย์ที่ มีความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อ คุณ สมบัติของโหราจารย์ ด้านต่าง ๆ เรียงลาดับจากมากไปน้อยดังนี้ อายุ ด้านปัญญา ความถี่ ๗ (๕๘.๓๓%) ด้านศีล ความถี่ ๓ (๒๕.๐๐%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๒ (๑๖.๖๗%)ด้านสังคม ความถี่ ๐ (๐%) ความมี ชื่ อ เสี ย ง ด้ า นปั ญ ญา ความถี่ ๙๘ (๕๐.๕๒%) ด้ า นศี ล ความถี่ ๖๕ (๓๓.๕๑%) ด้านสั งคม ความถี่ ๒๕ (๑๒.๘๙%) ด้านจิต ใจ ความถี่ ๖ (๓.๐๙%) บุ ค ลิ ก ลักษณะ ด้านปัญ ญา ความถี่ ๖๒ (๔๖.๙๗%) ด้ านศี ล ความถี่ ๓๗ (๒๘.๐๓%) ด้ านสั งคม ความถี่ ๒๖ (๑๙.๗๐%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๗ (๕.๗๐%) ความรู้ความสามารถด้านปัญญา ความถี่ ๔๖๔ (๕๐.๘๘%) ด้านศีล ความถี่ ๓๔๐ (๓๗.๒๘%) ด้านสังคม ความถี่ ๗๔ (๘.๑๑%) ด้านจิตใจ ความถี่ ๓๔ (๓.๗๓%) การเลือกปรึกษาทางโหราศาสตร์จากโหราจารย์ที่ มีความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อ แนวทางปฏิบั ติ ที่โหรให้ ค าปรึกษา ด้านต่าง ๆ เรียงลาดับจากมากไปน้อยดังนี้ อายุ ด้านจิตใจ ความถี่ ๕ (๔๕.๔๕%)ด้านศีล ความถี่ ๒ (๑๘.๑๘%) ด้านทาน ความถี่ ๒(๑๘.๑๘%)ด้านปัญญา ความถี่ ๑ (๙.๐๙%)ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๙ (๙.๐๙%) ความมีชื่อเสียง ด้านปัญญา ความถี่ ๕๖ (๓๒.๙๔%)ด้านจิตใจ ความถี่ ๔๓ (๒๕.๒๙%)ด้านทาน ความถี่ ๓๒ (๑๘.๘๒%)ด้านศีล ความถี่ ๒๘ (๑๖.๔๗%) ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๑๑ (๖.๔๗%) บุคลิกลักษณะ ด้านปัญญา ความถี่ ๒๔ (๒๖.๖๗%)ด้านจิตใจ ความถี่ ๒๒ (๒๔.๔๔%)ด้านศีล ความถี่ ๑๗ (๑๘.๘๙%) ด้านทาน ความถี่ ๑๔ (๑๕.๕๖%)ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๑๓ (๑๔.๔๔%) ความรู้ความสามารถ ด้านปัญญา ความถี่ ๓๒๖ (๓๘.๕๓%)ด้านจิตใจ ความถี่ ๒๑๙ (๒๕.๘๙%)ด้านศีล ความถี่ ๑๓๓ (๑๕.๗๒%) ด้านทาน ความถี่ ๑๐๑ (๑๑.๙๔%)ด้านนอกพุทธศาสนา ความถี่ ๖๗ (๗.๙๒%) ตารางที่ ๔.๑๔ แสดงหลักการ เป้าหมาย วิธีการ และตัวอย่างหลักธรรมที่โหราจารย์ที่ใช้ในการ ปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ผู้ให้ สัมภาษณ์ คนที่ ๑

หลักการ

เป้าหมาย

วิธีการ

หลักธรรม

ให้คำปรึกษำเรื่อง ควำมรัก กำรงำน โดยใช้วิธีกำรทำง โหรำศำสตร์เพื่อจูง ใจให้ปรับเปลี่ยน พฤติกรรมและ พัฒนำตนเอง

จูงใจให้ผู้รับ คำปรึกษำ ปรับเปลี่ยน พฤติกรรมที่ เหมำะสมและ แก้ปัญหำนั้นได้ เช่น กรณีทะเลำะ

ไพ่ยิบซี กำรดู ลำยมือ เลข ๗ ตัว ใช้ควำมเป็น กัลยำณมิตรจูงใจ และร่วมกันคิด แก้ปัญหำให้ผู้ร่วม กำรปรึกษำ

หลักพรหมวิหำร ๔ กัลยำณมิตร ๗ หลัก สัจจะ อคติ ๔ หลักธรรมสัทธำ สติ สัมปชัญญะ ให้ทำนรักษำศีล1

1 สัมภำษณ์

๒๗ สิงหำคม ๒๕๕๙.

อำจำรย์เจนจิรำ วงศ์สำโรจน์, หลักกำร วิธีกำร เป้ำหมำย ในกำรปรึกษำทำงโหรำศำสตร์,

๒๑๓ ผู้ให้ สัมภาษณ์ คนที่





หลักการ

เป้าหมาย

กับพ่อแม่ก็ให้แก้ โดยกำรกล่ำวขอ ขมำพ่อแม่ เปิดกว้ำงแนวทำง สร้ำงสัมพันธภำพ โหรำศำสตร์หลำย ในฐำนะเป็นกัลยำ ๆ สำขำรวมทั้งเรื่อง มิตรเป็นพื้นฐำน ผลของกำรกระทำ เพื่อคอยชี้แนะเรื่อง ตำมหลักพุทธ กำรเงิน กำรงำน ศำสนำที่เป็น ควำมรัก ครอบครัว เสมือนแผนที่ให้ อ่ำนควำมเป็นไป ของบุคคลที่เข้ำมำ ปรึกษำ ขึ้นอยู่กับระยะเวลำ ส่งเสริมให้คิด แล้วแต่ปัญหำและ แก้ปัญหำอย่ำงมี เจตนำของผู้รับกำร สติสัมปชัญญะด้วย ปรึกษำ ค้นหำสำเหตุปัจจัย -ปัญหำทุกเรื่อง : แห่งควำมสำเร็จ กำรงำน ควำมรัก และล้มเหลว สุขภำพ

2 สั ม ภำษณ์

วิธีการ

หลักธรรม

ใช้หลักโหรำศำสตร์ ไทยจักรรำศี พร้อม กับกำรพูดคุยให้ ผู้รับคำปรึกษำคิด ไตร่ตรองเพื่อที่จะ ยอมรับตัวเอง ยอมรับปัญหำและ มีแรงจูงใจในกำร แก้ปัญหำ

หลักสัจจะ สัมปชัญญะ ขันติ โสรัจจะ หลักอัปปมำทะ ให้ ท ำนรั ก ษำศี ล กำร รู้จักกำละเทศะ กำรสวดมนต์ รักษำศีล ๕2

โหรศำสตร์ไทย จักรรำศีและ เลข ๗ ตัว-เป็น กัลยำณมิตร ให้ ผู้รับคำปรึกษำไม่ ประมำท ปรับเปลี่ยน พฤติกรรมและมี โยนิโสมนสิกำร ใน กำรแก้ปัญหำและ กำรพัฒนำตน

กำรปล่อยวำงปัญหำ3 และผลกรรม กฎแห่งกรรม วิริยะควำมสันโดษ ควำมไม่ประมำท สวดมนต์ไหว้พระ ปฏิบัติวิปัสสนำ กรรมฐำน มีสติ สัมปชัญญะ : ในชีวิต ประจำ

กฤติ ก ำวลั ย หิ รั ญ สิ , หลั ก กำร วิ ธี ก ำร เป้ ำ หมำย ในกำรปรึ ก ษำทำงโหรำศำสตร์ ,

๑๐ พฤศจิกำยน ๒๕๕๙. 3 สัมภำษณ์ อำจำรย์ นริศรำ เลิศเมือง, หลักกำร วิธีกำร เป้ำหมำย ในกำรปรึกษำทำงโหรำศำสตร์, ๒๙ พฤศจิกำยน ๒๕๕๙.

๒๑๔ ผู้ให้ สัมภาษณ์ คนที่

หลักการ

เป้าหมาย



บูรณำกำรโหร ศำสตร์เพื่อให้เห็น กำรเกิดขึ้นมำ เหตุกำรณ์ต่ำงๆใน ชีวิตคน โดยเฉพำะ ส่วนที่เป็นปัญหำ ชะตำชีวิตบุคคล แต่ชี้ให้เห็นว่ำกำร กระทำเป็นปัจจัย สำคัญที่สุด

เพื่อเป็นกำรปรึกษำ ทำงใจพร้อมกับ ชี้ให้เห็นถึงสำเหตุ ของปัญหำใน ปัจจุบันหรืออนำคต เพือ่ ให้ผู้รับ คำปรึกษำยอมรับ และแก้ไขด้วย ตัวเอง



ใช้เวลำพูดคุยใน ฐำนะเป็น

ส่งเสริมให้มีควำม สงบเพื่อที่จะใช้

4

วิธีการ

หลักธรรม วันฆรำวำสธรรม (ควำมรัก)ควำมไม่ ประมำท พรหมวิหำร ๔ หลักกัลยำณมิตร สติสัมปชัญญะ4

โหรศำสตร์ไทย จักรรำศีและ เลข ๗ ตัว วำงตัวเป็น กัลยำณมิตร ให้ ผู้รับคำปรึกษำ วำงใจที่จะเล่ำ ปัญหำให้กำลังใจ ร่วมกันค้นหำ สำเหตุของปัญหำ โดยเฉพำะปัญหำ จำกกำรกระทำของ ผู้รับคำปรึกษำ โดย เริ่มกำรทำให้ ยอมรับปัญหำ และ ใช้สติพิจำรณำ หำทำงออก และ เพียรพยำยำมแก้ไข แล้วรอผลด้วย ควำมอดทน ใช้โหรศำสตร์ ศีล ๕5 สวดมนต์ นัง่ สมำธิ หลำยๆสำขำ ให้มีจิตอำสำ

สัม ภำษณ์ อำจำรย์ ณั ฐ กำญจน์ เลำหภำนุ พ งษ์ , หลั ก กำร วิธีก ำร เป้ ำหมำย ในกำรปรึก ษำทำง โหรำศำสตร์, ๒๘ สิงหำคม ๒๕๕๙. 5 สัมภำษณ์ กัลญ์ปภัส รัตนนนุกุลสีห์ , หลักกำร วิธีกำร เป้ำหมำย ในกำรปรึกษำทำงโหรำศำสตร์, ๙ ธันวำคม ๒๕๕๙.

๒๑๕ ผู้ให้ สัมภาษณ์ คนที่

หลักการ

เป้าหมาย

กัลยำณมิตร แล้ว ค่อยให้ผู้รับ คำปรึกษำคิด พิจำรณำแก้ปัญหำ ด้วยตนเอง

ศักยภำพในกำร แก้ปัญหำ ดำรงค์ ชีวิต อยู่ด้วยควำม ไม่ประมำท ให้ ทบทวนกำร ตัดสินใจใหม่ให้ สอดคล้องกับสภำพ เป็นจริง พัฒนำ สติสัมปชัญญะ เพื่อ หำทำงออกให้แก่ ควำมทุกข์ ขณะเดียวกันไม่ ประมำทขณะมี ควำมสุข ใช้ สติสัมปชัญญะเพื่อ พิจำรณำใคร่ครวญ ปัญหำและหำทำง แก้ปัญหำ ใช้หลักโหรศำสตร์ บอกให้ผู้รับ คำปรึกษำว่ำชีวิตจะ เป็นอย่ำงไร ขณะนี้ อยู่จุดไหนแล้ว ต่อไปจะเป็น อย่ำงไร แล้วทำให้มี



เรื่องสุข ทุกข์ โชค หรือเครำะห์เป็น ธรรมดำของมนุษย์ หมุนไปตำมรำศี กุศล และอกุศล ล้วนหมุน เปลี่ยนแปลงไปเป็น ธรรมดำ ไม่มีอะไร ถำวร



โดยมีควำมเชื่อ พื้นฐำนว่ำ พฤติกรรมไม่ เหมำะสมเกิดจำก พฤติกรรม ทัศนคติ ที่ผิดพลำด เช่นกำร คิดว่ำตนเองควรได้ 6

วิธีการ

หลักธรรม

โดยเฉพำะเลข ๗ กำรกระทำคำพูด ตัวเพื่อตรวจสอบ กำรแสดงออกอย่ำง ข้อมูลที่ตรงกันใน มีติสัมปชัญญะ แต่ละสำขำ โดย เน้นทำงด้ำน ควำม รัก กำรงำน สุขภำพ อุบัติเหตุ ใช้หลักเลข๗ ตัว,ไพ่ ยิปซีกับหลักวิชำ โหรำศำสตร์หลัก สถิติ แล้วชี้ทำงออก ที่เหมำะสม

ใช้โหรศำสตร์ไพ่ ยิปซี หลักจิตวิทยำ ให้บุคคลยอมรับ และกัลยำณมิตรมี สติเพื่อแก้ปัญหำ โดยเฉพำะอย่ำงยิ่ง ช่วยเหลือไม่ให้ทุกข์

ศีล ๕ โยนิโสมนสิกำร สติสัมปชัญญะ สังคหะวัตถุ ๔ กัลยำณมิตรธรรม ๗6

ฝึกสติ ปฏิบัติกรรมฐำน ศีล ๕ สวดมนต์ ไหว้พระ หลักจริต ๖7

สัมภำษณ์ จำรย์จำรุภำ สุรบูรณ์กุล , หลักกำร วิธีกำร เป้ำหมำย ในกำรปรึกษำทำงโหรำศำสตร์, ๑๙ ตุลำคม ๒๕๕๙. 7 สัม ภำษณ์ อำจำรย์ก ำมล แสงวงศ์, หลักกำร วิธีกำร เป้ ำหมำย ในกำรปรึก ษำทำงโหรำศำสตร์, ๑๖ พฤศจิกำยน ๒๕๕๙.

๒๑๖ ผู้ให้ สัมภาษณ์ คนที่





8

หลักการ

เป้าหมาย

วิธีการ

โน้น หรือควรเจอ ไม่ควรเจอนี่ พอ ไม่ได้ตำมคิดก็จะ สรุป จึงวิเครำะห์สิ่ง ที่ทำ ควรเจอ ควร ได้ตำมหลักโหร ศำสตร์ เพื่อให้ ปรับเปลี่ยน พฤติกรรม ให้คำปรึกษำปัญหำ ที่มีสำเหตุ ทั้งทำง กำยและจิตใจ โดย ใช้เวลำแตกต่ำง ออกไปแล้วแต่กรณี

สติ เพื่อกลับมำสู่ และเครียดกับ กำรแก้ไขพฤติกรรม ปัญหำเป็นกำร ซ้ำเติมตนเอง แล้ว ร่วมสนทนำพูดคุย เพื่อแก้ปัญหำ

กำรดูลำยมือเป็น หลัก ถ้ำภำพรวมก็

เพื่อสร้ำงแรงจูงใจ ให้ผู้รับปรึกษำเชื่อ

กระตุ้นให้ผู้รับ คำปรึกษำสมำรถมี กำลังใจ กำลัง ควำมคิดที่จะ แก้ปัญหำด้วย ตนเอง โดยเฉพำะ อย่ำงยิ่งให้มองถึง เหตุ-ปัจจัยแห่ง ควำมเจริญ หรือ ควำมเสื่อมอย่ำง รอบด้ำน

ใช้โหรำศำสตร์ไทย จักรรำศี และเลข๗ ตัว รับฟัง จูงใจ และกระตุ้น ด้วย เหตุผล และ เครื่องมือทำงโหร ศำสตร์ ให้ผู้รับ คำปรึกษำมี แรงจูงใจ และเลือก วิธีแก้ปัญหำที่ เหมำะสมสิ่งที่ไม่ ควรทำเลย คือกำร ตำหนิ หรือไม่เข้ำใจ ใช้ดูลำยมือทำ หน้ำที่แปลสิ่งที่

หลักธรรม

กฎแห่งกรรม ขันติ โสรัจจะ อภัยทำน กำรปฏิบัตสิ มำธิ วิปัสสนำกรรมฐำน กัลยำณมิตร ๗ กฎไตรลักษณ์ พรหมวิหำร ๔8

สัจจวำที9 สติสัมปชัญญะ

สัมภำษณ์ อำจำรย์ฌญกร เขียวลงยำ, หลักกำร วิธีกำร เป้ำหมำย ในกำรปรึกษำทำงโหรำศำสตร์, ๑๗ ตุลำคม ๒๕๕๙. 9 สัมภำษณ์ อำจำรย์อภิชำติ ศรีสำวนันท์, หลักกำร วิธีกำร เป้ำหมำย ในกำรปรึกษำทำงโหรำศำสตร์, ๑๑ กันยำยน ๒๕๕๙.

๒๑๗ ผู้ให้ สัมภาษณ์ คนที่

หลักการ

เป้าหมาย

วิธีการ

จะดูจำกสัญลักษณ์ ที่เป็นสถิติที่ รวบรวมไว้ใน ศำสตร์กำรดูลำยมือ รวมปัญหำเฉพำะ อย่ำง ก็จะดูจำก ตำแหน่งเฉพำะตำม ระยะเวลำ อำยุ

ละยอมปฏิบัติตำม คำแนะนำ ที่เป็นทั้ง กำรพัฒนำชีวิตใน แง่มีโชคและส่วนที่ มีเครำะห์ก็ให้ กำลังใจ

๑๐

อริยสัจจ์ ๔คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เพื่อกำรแก้ปัญหำ หำสำเหตุ และ แนวทำงแก้ปัญหำ ตำมควำมเป็นจริง

กำรดำเนิน กระบวนกำร แก้ปัญหำตำม ขั้นตอนแห่ง อริยสัจจ์ ๔

๑๑

เน้นกำรใช้ศำสตร์

ให้เห็นถึงสำเหตุ

ปรำกฏบนลำยมือ สัญลักษณ์ของโชค และควำมอับโชค ให้วำงใจไม่ยึดทั้ง โชคและควำมอับ โชค เอที่จะได้มี กำลังใจ ไม่ ประมำทในกำร ดำเนินชีวิต โดย เน้นกำรให้ ควำมสำคัญต่อกำร ใช้สติสัมปชัญญะ เป็นหลัก ตั้งสมมุตฐำนในกำร เข้ำสู่กระบวนกำร ปรึกษำบนพื้นฐำน ควำมแตกต่ำง ระหว่ำงบุคคล ไม่ ว่ำจะเป็นตำมจริต อุปนิสัย ควำมเชื่อ ค่ำนิยม เพื่อสร้ำง แรงจูงใจในกำร แก้ปัญหำและ พัฒนำตนเองของ ผู้รับคำปรึกษำ ใช้ไพ่ยิปซี ชี้แนะให้

10

หลักธรรม พรหมวิหำรธรรม

อริยสัจจ์ ๔ กระบวนกำร โยนิโสมนสิกำร10

สติสัมปชัญญะ

สัมภำษณ์ พระมหำเผื่อน กิตฺติโสภโณ, ผศ. ดร., หลักกำร วิธีกำร เป้ำหมำย ในกำรปรึกษำทำง โหรำศำสตร์, ๒๘ พฤศจิกำยน ๒๕๖๐.

๒๑๘ ผู้ให้ สัมภาษณ์ คนที่

๑๒

๑๓

11

หลักการ

เป้าหมาย

วิธีการ

หลักธรรม

ทำโรต์ประสำนกับ โหรศำสตร์สำขำ อื่นๆ โดยชี้ให้ ยอมรับว่ำปัญหำ เกิดจำกเหตุปัจจัย อะไร แล้วจูงใจให้ สร้ำงเหตุดี และ ขจัดเหตุไม่ดีออกไป ปัญหำครอบครัว เป็นเรื่องหลัก ให้คัมภีร์มหำสัตตะ เลข ๗ ตัวเป็นหลัก โดยโหรศำสตร์ไทย โดยให้คนปรึกษำ ทำงกำรงำน กำรเงิน ควำมรัก เป็นหลัก

ของปัญหำ เพื่อให้ บุคคลเกิดกำลังใจ มีควำมสงบไม่ ฟุ้งซ่ำน แล้วค่อยชี้ ช่องทำงให้ แก้ปัญหำไปตำม สำเหตุ

เห็นปัญหำ สำเหตุ โยนิโสมนสิกำร ของปัญหำ กระตุ้น หลักกำรกัลยำณมิตร11 ให้มีกำลังใจมี ควำมหวัง ขจัด ควำมหลัง ควำม วุ่นวำยใจ บรรเทำ ควำมเครียด

กำรชี้ให้เห็นถึง ปัญหำที่มำจำกดวง ชะตำ เพื่อจูงใจให้ ผู้รับคำปรึกษำ ศรัทธำที่จะ แก้ปัญหำตำม คำแนะนำของโหร ศำสตร์และจำกที่ได้ พูดคุยและวิเครำะห์ ด้วยกัน

ใช้หลักกำรดู ลำยมือเพื่อกำร

เพื่อให้ผู้รับ คำปรึกษำเกิด

ใช้กระบวนกำรทำง โหรำศำสตร์ ที่ ผสมผสำนเพื่อ ชี้ให้เห็นถึงสภำพ ปัญหำ ว่ำมีสำเหตุ ที่เกิดจำกอะไร จำกนั้นก็จูงใจให้ แก้ไข ด้วยวิธีกำร ต่ำงๆ ไม่ว่ำจะเป็น กำรปฏิบัติทำง ศำสนำทำงสังคม และจิตวิทยำ ใช้หลักกำรดู ลำยมือกำรพูดคุย

ทำบุญ ให้ทำน รักษำศีล กำรลดอัตตำ เพื่อกำร เป็นผู้ริเริ่มในปัญหำ ระหว่ำงบุคคล กำรทำสมำธิ12

ควำมอดทน ควำมไม่ประมำท

สัมภำษณ์ อำจำรย์ กันต์ฤทัย ดำวันนำ, หลักกำร วิธีกำร เป้ำหมำย ในกำรปรึกษำทำงโหรำศำสตร์, ๑๖ ตุลำคม ๒๕๕๙. 12 สัมภำษณ์ อำจำรย์ ธนกร สินเกษม, หลักกำร วิธีกำร เป้ำหมำย ในกำรปรึกษำทำงโหรำศำสตร์, ๑๗ ตุลำคม ๒๕๕๙.

๒๑๙ ผู้ให้ สัมภาษณ์ คนที่

๑๔

13

หลักการ

เป้าหมาย

วิธีการ

หลักธรรม

ทำนำยตำมช่วงอำยุ ทั้งเรื่อง เครำะห์ และโชคดี เพื่อให้ เขำใช้ชีวิตอย่ำงมี สติสัมปชัญญะ ในช่วงปีหนึ่งเป็น อย่ำงน้อย หำกเลย ช่วงปีต่อไป อำจมำ ปรึกษำใหม่

กำลังใจในช่วงชีวิต ที่รุ่งโรจน์ และ ในช่วงที่ตกต่ำก็ให้ อดทน มีกำลังใจ เพื่อที่จะได้ แก้ปัญหำไปตำม ควำมเป็นจริงตำม สภำพปัญหำ

หลักศรัทธำ และเห็น คุณค่ำชีวิตควำมเพียร ในกำรเข้ำใจตนเอง ผู้อื่น และเข้ำใจ ปัญหำ วิธีแก้ไข13

สนใจกำรพยำกรณ์ โหรำศำสตร์ไทย จักรรำศี เรื่องกำร สร้ำงสรรค์ ในด้ำน ธุรกิจกำรงำน กำร ดำรงชีพ เพรำะจะ ได้แนะนำปรึกษำ ในแง่ประสบกำรณ์ เชิงบวก เป็น ประสบกำรณ์ชีวิต ชั้นสูง ไม่สนใจกำร ปรึกษำเรื่องควำม

ส่วนใหญ่จะปรึกษำ เพื่อให้ ผู้ปรึกษำได้ คิดวิเครำะห์ และ เลือกวิธีแก้ปัญหำ เรื่องธุรกิจ ในแง่ ประสบกำรณ์ และ วิธีกำรพัฒนำธุรกิจ เชิงบวก เพรำะผู้ ปรึกษำมักจะเป็น เจ้ำของธุรกิจ

วิเครำะห์โชคชะตำ ตำมที่อ่ำนได้บน ลำยมือ โดยกำรให้ ควำมสนใจอัตตำ เลือกวิธีกำรที่ เหมำะสมให้แก้ไข โดยผู้รับคำปรึกษำ ต้องมี สติสัมปชัญญะ และวิเครำะห์ รำยละเอียดปัญหำ ด้วยตัวเอง หำกเป็นกำรพัฒนำ ธุรกิจเชิงบวก กำร ปรึกษำก็จะเน้น ข้อมูลทำงบวกตำม หลักโหรศำสตร์ไทย แต่ถ้ำผู้ปรึกษำมี ปัญหำทำงอำรมณ์ ด้วย ก็จำเป็นต้อง พูดคุยใช้เวลำ ทั้งให้ กำลังใจ ให้มีควำม อดทน

หลักวิมังสำ ควำมอดทน เรื่องกรรม หลักอิทธิบำท ๔ ในกำรทำธุรกิจ14

สัมภำษณ์ ภำนุมำส คำดกำรณ์ไกล, หลักกำร วิธีกำร เป้ำหมำย ในกำรปรึกษำทำงโหรำศำสตร์, ๑๑ กันยำยน ๒๕๕๙. 14 สัมภำษณ์ อำจำรย์วุฒิ ชัย แซ่โง้ว (พำยัพ วชิโร), หลักกำร วิธีกำร เป้ำหมำย ในกำรปรึกษำทำง โหรำศำสตร์, ๑๗ ตุลำคม ๒๕๕๙.

๒๒๐ ผู้ให้ สัมภาษณ์ คนที่

หลักการ รัก เน้นโหรศำสตร์ ไทย ใช้โหรำศำสตร์ไทย จักรรำศี ในกำรให้ คำปรึกษำเป็น ศูนย์กลำง จำกกำร พูดคุยกับผู้มำ ปรึกษำ ทำให้ทรำบ ถึงกระบวนกำร แก้ปัญหำในวิถีชีวิต ของบุคคล จำกนั้น ผู้ให้คำปรึกษำจะให้ ระบำยเฉพำะเรื่อง เฉพำะจุด แล้ว ผูกดวงเพื่อ เชื่อมโยงปัญหำให้ เกิดขึ้นตำมดวง ชะตำ ใช้โหรสำสตร์หลำย สำขำเพื่อบูรณำกำร ทำควำมเข้ำใจ เรื่องโชคและ เครำะห์แล้วอธิบำย ให้เข้ำใจสภำพ

๑๕

๑๖

15

เป้าหมาย

วิธีการ

หลักธรรม

ให้กำรปรึกษำ ปัญหำของช่วงวัย ในเบื้องต้น มี เป้ำหมำยเพื่อให้ ผู้รับคำปรึกษำ ยอมรับทำใจให้ได้

ใช้ทั้งหลักกำร ปรึกษำเชิงจิตวิทยำ และหลักโหร ศำสตร์ด้ำนต่ำง ๆ โดยเฉพำะกำร สัมภำษณ์ที่ต้องใช้ เวลำนำน ก็จะทำ ให้เห็นสภำพปัญหำ และแนวทำงแก้ไข ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

กำรสวดมนต์ ไหว้พระ ทำบุญ ให้ทำน ควำมอดทน กัลยำณมิตรธรรม15

ส่งเสริมกำลังใจ ด้วยกำรชี้แจงให้ เห็นสภำพควำม เป็นจริงของปัญหำ ด้วยกำรให้เวลำ ปรึกษำอย่ำง

กำรสร้ำงสัม สัมพันธ์ภำพอันดี ระหว่ำงผู้ให้ คำปรึกษำและผู้ขอ คำปรึกษำให้ กำลังใจช่วยคิด

กำรทำสมำธิ16 อับปมำทธรรม โยนิโสมนสิกำร ควำมเป็น กัลยำณมิตร โลกธรรม ๘

สัมภำษณ์ อำจำรย์พรชนัน อุกฤษโชค, หลักกำร วิธีกำร เป้ำหมำย ในกำรปรึกษำทำงโหรำศำสตร์, ๒๘ พฤศจิกำยน ๒๕๕๙. 16 สั ม ภำษณ์ ภิ ญ โญ พงษ์ เจริ ญ , หลั ก กำร วิ ธี ก ำร เป้ ำ หมำย ในกำรปรึ ก ษำทำงโหรำศำสตร์ , ๒๑ พฤศจิกำยน ๒๕๕๙.

๒๒๑ ผู้ให้ สัมภาษณ์ คนที่

๑๗

หลักการ

เป้าหมาย

ปัญหำ ควำมจริง เหมำะสม ตำมข้อมูล หลำย โดยเฉพำะอย่ำงยิ่ง ๆ ทำง กำรสืบสำวให้ถงึ สำเหตุสำคัญของ ปัญหำ เพื่อให้ ดำเนินชีวิตด้วย ควำมไม่ประมำท ใช้หลักกำรคำนวณ ให้ผู้ขอคำปรึกษำ ดวงชะตำแบบ เข้ำใจอัตตะลักษณ์ สำกล เมื่อพบช่วงที่ ของตนเองที่อำจ ดีหรือร้ำย ตำม สร้ำงปัญหำ ใน ระยะเวลำ จำกนั้น ประเด็นต่ำง ๆใน ก็คำนวณเรื่องที่ผู้ ชีวิต หรืออัตตะ ขอคำปรึกษำถำม ลักษณ์ ที่เอื้อต่อ จำเพำะเจำะจง ควำมสำเร็จในชีวิต เพื่อที่จะให้ผู้ขอ กำรงำน คำปรึกษำได้ ไตร่ตรองเฉพำะ เรื่อง ๆ ไป

วิธีการ

หลักธรรม

และส่งเสริมให้คิด ด้วยตนเอง

ควำมไม่ประมำท

เป็นกัลยำณมิตรให้ รู้จักโยนิโสมนสิกำร จำกอัตตะลักษณ์ ตน จำกสภำพ ปัญหำเพื่อให้ผู้รับ คำปรึกษำ คิดถูก ทำงตำมแนวสัป ปุริสธรรม ๗ เป็น ต้น เพื่อที่จะได้มี ศักยภำพในกำร แก้ปัญหำและ พัฒนำตน

เรื่องกรรม สติสัมปชัญญะ เรื่องกำรยอมรับ ควำมจริง ทั้งสภำพ ปัญหำตนและหลักกำร แก้ไข สัปปุริสธรรม ๗17

จากตารางที่ ๔.๑๔ แสดงหลั ก การ เป้ า หมาย วิ ธี ก าร และตั ว อย่ า งหลั ก ธรรมที่ โหราจารย์ที่ใช้ในการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ผู้ ให้ ค าปรึ ก ษาท่ า นที่ ๑ ได้ แ สดงหลั ก การเรื่อ งความรัก การงาน โดยใช้ วิ ธีก ารทาง โหราศาสตร์ เพื่ อ จู งใจให้ ป รั บ เปลี่ ย นพฤติ ก รรมและพั ฒ นาตนเอง โดยมี เป้ า หมายจู งใจให้ ผู้ รั บ คาปรึกษาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมและแก้ปัญหานั้นได้เช่น กรณีทะเลาะกับพ่อแม่ก็ให้แก้โดย การกล่าวขอขมาพ่อแม่ ได้เสนอวิธีการที่ใช้เป็นประจาคือจับไพ่ยิบซี การดูลายมือ เลข ๗ ตัว ใช้ความ เป็ น กั ล ยาณมิ ต รจู ง ใจและร่ ว มกั น คิ ด แก้ ปั ญ หาให้ ผู้ ร่ ว มการปรึ ก ษา และได้ ย กหลั ก ธรรมได้ แ ก่ 17 สั ม ภำษณ์ :วรพล

๖ พฤศจิกำยน ๒๕๕๙.

ไม้สน(พลังวัชร), หลักกำร วิธีกำร เป้ ำหมำย ในกำรปรึกษำทำงโหรำศำสตร์,

๒๒๒ หลักพรหมวิหาร ๔, กัลยาณมิตรธรรม ๗ หลักสัจจะ, อคติ ๔ ,หลักธรรมสัทธา,สติสัมปชัญญะและให้ ทานรักษาศีล ในการให้คาปรึกษาเพื่อลดความทุกข์ ผู้ให้ค าปรึกษาท่านที่ ๒ ได้แสดงหลั กการโดยเปิดกว้างแนวทางโหราศาสตร์ห ลาย ๆ สาขารวมทั้งเรื่องผลของการกระทาตามหลักพุทธศาสนาที่เป็นเสมือนแผนที่ใ ห้อ่านความเป็นไปของ บุคคลที่เข้ามาปรึกษา โดยมีเป้าหมายจูงใจให้ผู้รับคาปรึกษา สร้างสัมพันธภาพในฐานะเป็นกัลยามิตร เป็นพื้นฐานเพื่อคอยชี้แนะเรื่องการเงิน การงาน ความรัก ครอบครัว ได้เสนอวิธีการที่ใช้เป็นประจาคือ ใช้หลักโหราศาสตร์ไทยจักรราศี พร้อมกับการพูดคุยให้ผู้ รับคาปรึกษาคิดไตร่ตรองเพื่อที่จะยอมรับ ตั ว เองยอมรั บ ปั ญ หาและมี แ รงจู ง ใจในการแก้ ปั ญ หา และได้ ย กหลั ก ธรรมได้ แ ก่ หลั ก สั จ จะ ,สัมปชัญญะ, ขันติ, โสรัจจะ ,หลักอัปปมาทะ ให้ทานรักษาศีล การรู้จักกาลเทศะ การสวดมนต์ รักษา ศีล ในการให้คาปรึกษาเพื่อลดความทุกข์ ผู้ให้คาปรึกษาท่านที่ ๓ ได้แสดงหลักการว่าขึ้นอยู่กับระยะเวลาแล้วแต่ปัญหาและเจตนา ของผู้รับการปรึกษา-ปัญหาทุกเรื่อง: การงาน ความรัก สุขภาพ โดยมีเป้าหมายจูงใจให้ผู้รับคาปรึกษา ส่งเสริมให้คิดแก้ปัญหาอย่างมีสติสัมปชัญญะด้วยค้นหาสาเหตุปัจจัยแห่งความสาเร็จและล้มเหลว ได้ เสนอวิ ธี ก ารที่ ใช้ เป็ น ประจ าคื อ ใช้ ห ลั ก โหราศาสตร์ โหรศาสตร์ ไทยจั ก รราศี แ ละ เลข ๗ ตั ว เป็นกัลยาณมิตร ให้ผู้รับคาปรึกษาไม่ประมาท ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีโยนิโสมนสิการ ในการ แก้ปัญหาและการพัฒ นาตน และได้ยกหลักธรรมได้แก่ การปล่อยวางปัญหา และผลกรรมกฎแห่ ง กรรม,วิ ริ ย ะ,ความสั น โดษ,ความไม่ ป ระมาท,สวดมนต์ ไ หว้ พ ระ,ปฏิ บั ติ วิ ปั ส สนากรรมฐาน, มีสติสัมปชัญญะ: ในชีวิตประจาวัน,ฆราวาสธรรม (ความรัก),ความไม่ประมาท ในการให้คาปรึกษาเพื่อ ลดความทุกข์ ผู้ให้คาปรึกษาท่านที่ ๔ ได้แสดงหลักการบูรนาการโหรศาสตร์เพื่อให้เห็นการเกิด ขึ้นมา เหตุการณ์ต่างๆในชีวิตคน โดยเฉพาะส่วนที่เป็นปัญหา ชะตาชีวิตบุคคล แต่ชี้ให้เห็นว่าการกระทาเป็น ปัจจัยสาคัญที่สุด โดยมีเป้าหมายจูงใจให้ผู้รับคาปรึกษาเพื่อเป็นการปรึกษาทางใจพร้อมกับชี้ให้เห็นถึง สาเหตุของปัญหาในปัจจุบันหรืออนาคต เพื่อให้ผู้รับคาปรึกษายอมรั บ และแก้ไขด้วยตัวเอง ได้เสนอ วิธีการที่ใช้เป็น ประจาคือ โหรศาสตร์ไทยจักรราศีและ เลข ๗ ตัว วางตัวเป็นกัลยาณมิตร ให้ ผู้รับ คาปรึกษา วางใจที่จะเล่าปัญหาให้กาลังใจ ร่วมกันค้นหาสาเหตุของปัญหา โดยเฉพาะปัญหาจากการ กระทาของผู้รับคาปรึกษา โดยเริ่มการทาให้ยอมรับปัญหา และใช้สติพิจารณาหาทางออก และเพียร พยายามแก้ไข แล้วรอผลด้วยความอดทน และได้ยกหลักธรรมได้แก่พรหมวิหาร ๔,หลักกัลยาณมิตร ,สติสัมปชัญญะ ผู้ให้คาปรึกษาท่านที่ ๕ ได้แสดงหลักการใช้เวลาพูดคุยในฐานะเป็นกัลยาณมิตร แล้วค่อย ให้ผู้รับคาปรึกษาคิดพิจารณาแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยมีเป้าหมายจูงใจให้ผู้รับคาปรึกษาส่งเสริมให้มี ความสงบเพื่อที่จะใช้ศักยภาพในการแก้ปัญหา ดารงค์ชีวิต อยู่ด้วยความไม่ประมาท ให้ทบทวนการ ตัดสินใจใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพเป็นจริง ได้เสนอวิธีการที่ใช้เป็นประจาคือใช้โหรศาสตร์หลาย ๆ สาขา โดยเฉพาะเลข 7 ตัวเพื่อตรวจสอบข้ อมูลที่ตรงกันในแต่ละสาขา โดยเน้นทางด้าน ความรัก การงาน สุ ข ภาพ อุ บั ติ เหตุ และได้ ย กหลั ก ธรรมได้ แ ก่ . ศี ล ๕, สวดมนต์ นั่ งสมาธิ ,ให้ มี จิ ต อาสา, การกระทาคาพูดและการแสดงออกอย่างมีสติสัมปชัญญะ

๒๒๓ ผู้ให้คาปรึกษาท่านที่ ๖ ได้แสดงหลักการเรื่องสุข ทุกข์ โชค หรือเคราะห์เป็นธรรมดาของ มนุษย์หมุนไปตามราศี กุศล และอกุศล ล้วนหมุนเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา ไม่มีอะไรถาวร โดยมี เป้าหมายจูงใจให้ผู้รับคาปรึกษา พัฒนาสติสัมปชัญญะ เพื่อหาทางออกให้แก่ความทุกข์ ขณะเดียวกัน ไม่ป ระมาทขณะมีความสุ ข ใช้ส ติสั มปชัญ ญะเพื่ อพิจารณาใคร่ครวญปัญ หาและหาทางแก้ปัญ หา ได้เสนอวิธีการที่ใช้เป็นประจาคือใช้หลักเลข๗ ตัว,ไพ่ยิปซีกับหลักวิชาโหราศาสตร์หลักสถิติ แล้วชี้ ทางออกที่เหมาะสม และได้ยกหลักธรรมได้แก่ ศีล ๕,โยนิโสมนสิการ,สติสัมปชัญญะ,สังคหะวัตถุ ๔ และกัลยาณมิตรธรรม ผู้ ใ ห้ ค าปรึ ก ษาท่ า นที่ ๗ ได้ แ สดงหลั ก การโดยมี ค วามเชื่ อ พื้ น ฐานว่ า พฤติ ก รรมไม่ เหมาะสมเกิดจากพฤติกรรม ทัศนคติที่ผิดพลาด เช่นการคิดว่าตนเองควรได้โน้น หรือควรเจอ ไม่ควร เจอนี่ พอไม่ ได้ ตามคิด ก็จ ะสรุ ป จึ งวิเคราะห์ สิ่ งที่ ท า ควรเจอ ควรได้ต ามหลั กโหรศาสตร์ เพื่ อให้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยมีเป้าหมายจูงใจให้ผู้รับคาปรึกษาใช้หลักโหรศาสตร์บอกให้ผู้รับคาปรึกษา ว่าชีวิตจะเป็นอย่างไร ขณะนี้อยู่จุดไหนแล้ว ต่อไปจะเป็นอย่างไร แล้วทาให้มีสติ เพื่อกลับมาสู่การ แก้ไขพฤติกรรม ได้เสนอวิธีการที่ใช้เป็นประจาคือใช้โหรศาสตร์ไพ่ยิปซี หลักจิตวิทยาให้บุคคลยอมรับ และกัลยาณมิตรมีสติเพื่อแก้ปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วยเหลือไม่ให้ทุกข์และเครียดกับปัญหาเป็น การซ้าเติมตนเอง แล้ วร่วมสนทนาพูดคุยเพื่อแก้ปัญหา และได้ยกหลักธรรมได้แก่ ฝึกสติ, ปฏิบัติ กรรมฐาน, ศีล ๕, สวดมนต์ ไหว้พระ, หลักจริต ๖ ผู้ให้คาปรึกษาท่านที่ ๘ ได้แสดงหลักการให้คาปรึกษาปัญหาที่มี สาเหตุ ทั้งทางกายและ จิตใจ โดยใช้เวลาแตกต่างออกไปแล้วแต่กรณี โดยมีเป้าหมายจูงใจให้ผู้รับคาปรึกษากระตุ้นให้ผู้รับ คาปรึกษาสมารถมีกาลังใจ กาลังความคิดที่จะแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มองถึงเหตุ ปัจจัยแห่งความเจริญ หรือความเสื่อมอย่างรอบด้าน ได้เสนอวิธีการที่ใช้เป็นประจาคือใช้โหราศาสตร์ ไทยจักรราศี และเลข๗ตัว รับฟัง จูงใจ และกระตุ้น ด้วยเหตุผล และเครื่องมือทางโหรศาสตร์ ให้ผู้รับ คาปรึกษามีแรงจูงใจ และเลือกวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมสิ่งที่ไม่ควรทาเลย คือการตาหนิ หรือไม่เข้าใจ และได้ ย กหลั กธรรมได้ แก่ กฎแห่ งกรรม, ขั น ติ โสรัจจะ, อภั ยทาน, การปฏิ บั ติ ส มาธิ, วิปั ส สนา กรรมฐาน, กัลยาณมิตรธรรม ๗, กฎไตรลักษณ์, พรหมวิหาร ผู้ให้คาปรึกษาท่านที่ ๙ ได้แสดงหลักการการดูลายมือเป็นหลัก ถ้าภาพรวมก็จะดูจาก สัญลักษณ์ ที่เป็นสถิติที่รวบรวมไว้ในศาสตร์การดูลายมือ รวมปัญหาเฉพาะอย่าง ก็จะดูจากตาแหน่ง เฉพาะตามระยะเวลา อายุ โดยมีเป้าหมายจูงใจให้ผู้รับคาปรึกษาเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้รับปรึกษาเชื่อ ละยอมปฏิบั ติตามคาแนะน า ที่เป็ นทั้งการพัฒ นาชีวิตในแง่มีโชคและส่วนที่มีเคราะห์ ก็ให้ กาลั งใจ ได้เสนอวิธีการที่ใช้เป็นประจาคือใช้ดูลายมือทาหน้าที่แปลสิ่ งที่ปรากฏบนลายมือ สัญลักษณ์ของโชค และความอับโชค ให้วางใจไม่ยึดทั้งโชคและความอับโชค เอที่จะได้มีกาลังใจ ไม่ประมาทในการดาเนิน ชีวิต โดยเน้นการให้ความสาคัญต่อการใช้สติสัมปชัญญะเป็นหลัก และได้ยกหลักธรรมได้แก่สัจจะวาที, สติสัมปชัญญะ, พรหมวิหารธรรม ผู้ให้คาปรึกษาท่านที่ ๑๐ ได้แสดงหลักการอริยะสัจจ์ ๔ คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคเพื่อ การแก้ปั ญ หา หาสาเหตุ และแนวทางแก้ ปั ญ หาตามความเป็ น จริง โดยมี เป้ าหมายจู งใจให้ ผู้ รับ คาปรึกษาการดาเนินกระบวนการแก้ปัญหาตามขั้นตอนแห่ง อริยะสัจจ์ ๔ ได้เสนอวิธีการที่ใช้เป็น ประจาคือ ตั้งสมมุตฐานในการเข้าสู่กระบวนการปรึกษาบนพื้นฐานความแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่ว่า

๒๒๔ จะเป็นตามจริต อุปนิสัย ความเชื่อ ค่านิยม เพื่อสร้างแรงจูงใจในการแก้ปัญหาและพัฒนาตนเองของ ผู้รับคาปรึกษาและได้ยกหลักธรรมได้แก่อริยะสัจจ์ ๔, กระบวนการ, โยนิโสมนสิการ ผู้ให้คาปรึกษาท่านที่ ๑๑ ได้แสดงหลักการเน้นการใช้ศาสตร์ ทาโรต์ประสานกับโหร ศาสตร์สาขาอื่นๆ โดยชี้ให้ยอมรับว่าปัญหาเกิดจากเหตุปัจจัยอะไร แล้วจูงใจให้สร้างเหตุดี และขจัด เหตุไม่ดีออกไป ปัญหาครอบครัวเป็นเรื่องหลัก โดยมีเป้าหมายจูงใจให้ผู้รับคาปรึกษาให้เห็นถึงสาเหตุ ของปัญหา เพื่อให้บุ คคลเกิดกาลังใจ มีความสงบไม่ฟุ้งซ่าน แล้วค่อยชี้ช่องทางให้แก้ปัญหาไปตาม สาเหตุ ได้เสนอวิธีการที่ใช้เป็นประจาคือใช้ไพ่ยิปซี ชี้แนะให้เห็นปัญหา สาเหตุของปัญหา กระตุ้นให้มี กาลังใจมีความหวัง ขจัดความหลัง ความวุ่นวายใจ บรรเทาความเครียด และได้ยกหลักธรรมได้แก่ สติสัมปชัญญะ, โยนิโสมนสิการ, หลักการกัลยาณมิตร ผู้ ใ ห้ ค าปรึ ก ษาท่ า นที่ ๑๒ ได้ แ สดงหลั ก การให้ คั ม ภี ร์ม หาสั ต ตะเลข ๗ ตั ว เป็ น หลั ก โดยโหรศาสตร์ไทย โดยให้คนปรึกษาทางการงาน การเงิน ความรัก เป็นหลัก โดยมีเป้าหมายจูงใจให้ ผู้ รั บ คาปรึก ษา การชี้ให้ เห็ น ถึงปั ญ หาที่ ม าจากดวงชะตา เพื่ อจู งใจให้ ผู้ รับ คาปรึกษาศรัท ธาที่ จ ะ แก้ปัญหาตามคาแนะนาของโหรศาสตร์และจากที่ได้พูดคุยและวิเคราะห์ด้วยกันได้เสนอวิธีการที่ใช้ เป็นประจาคือใช้กระบวนการทางโหราศาสตร์ ที่ผสมผสานเพื่อชี้ให้เห็นถึงสภาพปัญหา ว่ามีสาเหตุที่ เกิดจากอะไร จากนั้นก็จูงใจให้แก้ไข ด้ วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติทางศาสนาทางสังคม และจิตวิทยา และได้ยกหลักธรรมได้แก่ทาบุญ ให้ทาน, รักษาศีล, การลดอัตตา เพื่อการเป็นผู้ริเริ่มใน ปัญหาระหว่างบุคคล, การทาสมาธิ ผู้ให้คาปรึกษาท่านที่ ๑๓ ได้แสดงหลักการ ใช้หลักการดูลายมือเพื่อการทานายตามช่วง อายุ ทั้งเรื่อง เคราะห์ และโชคดี เพื่อให้เขาใช้ชีวิตอย่างมีสติสัมปชัญญะ ในช่วงปีหนึ่งเป็นอย่างน้อย หากเลยช่วงปีต่อไป อาจมาปรึกษาใหม่โดยมีเป้าหมายจูงใจให้ผู้รับคาปรึกษาเพื่อให้ผู้รับคาปรึกษาเกิด กาลังใจในช่วงชีวิตที่รุ่งโรจน์ และในช่วงที่ตกต่าก็ให้อดทน มีกาลังใจเพื่อที่จะได้แก้ปัญหาไปตามความ เป็นจริงตามสภาพปัญหา ได้เสนอวิธีการที่ใช้เป็นประจาคือใช้หลักการดูลายมือการพูดคุยวิเคราะห์ โชคชะตาตามที่ อ่านได้บ นลายมื อ โดยการให้ ความสนใจอั ต ตา เลื อ กวิธีก ารที่ เหมาะสมให้ แก้ ไข โดยผู้ รั บ ค าปรึ ก ษาต้ องมี ส ติ สั ม ปชัญ ญะ และวิ เคราะห์ รายละเอีย ดปั ญ หาด้ ว ยตัว เอง และได้ ย ก หลักธรรมได้แก่ความอดทน,ความไม่ประมาท, หลักศรัทธา และเห็นคุณค่าชีวิต , ความเพียรในการ เข้าใจตนเอง ผู้อื่นและเข้าใจปัญหา วิธีแก้ไข ผู้ให้คาปรึกษาท่านที่ ๑๔ ได้แสดงหลักการสนใจการพยากรณ์โหราศาสตร์ไทยจักรราศี เรื่องการสร้างสรรค์ ในด้านธุรกิจการงาน การดารงชีพ เพราะจะได้แนะนาปรึกษา ในแง่ประสบการณ์ เชิงบวก เป็น ประสบการณ์ชีวิตชั้น สูง ไม่สนใจการปรึกษาเรื่องความรัก เน้นโหรศาสตร์ไทย โดยมี เป้ าหมายจูงใจให้ ผู้ รับคาปรึกษาส่วนใหญ่ จะปรึกษาเพื่อให้ ผู้ปรึกษาได้คิดวิเคราะห์ และเลื อกวิธี แก้ปัญหาเรื่องธุรกิจ ในแง่ประสบการณ์ และวิธีการพัฒนาธุรกิจเชิงบวก เพราะผู้ปรึกษามักจะเป็น เจ้าของธุรกิจ ได้เสนอวิธีการที่ใช้เป็นประจาคือหากเป็นการพัฒนาธุรกิจเชิงบวก การปรึกษาก็จะเน้น ข้อมูลทางบวกตามหลักโหรศาสตร์ไทย แต่ถ้าผู้ปรึกษามีปัญหาทางอารมณ์ด้วย ก็จาเป็นต้องพู ดคุยใช้ เวลา ทั้งให้กาลังใจ ให้มีความอดทน และได้ยกหลักธรรมได้แก่หลักวิมังสา,ความอดทน,เรื่องกรรม ,หลักอิทธิบาท ๔ ในการทาธุรกิจ

๒๒๕ ผู้ ใ ห้ ค าปรึ ก ษาท่ า นที่ ๑๕ ได้ แ สดงหลั ก การใช้ โหราศาสตร์ ไทยจั ก รราศี ในการให้ คาปรึกษาเป็นศูนย์กลาง จากการพูดคุยกับผู้มาปรึกษา ทาให้ทราบถึงกระบวนการแก้ปัญหาในวิถีชีวิต ของบุคคล จากนั้นผู้ให้คาปรึกษาจะให้ระบายเฉพาะเรื่องเฉพาะจุด แล้วผูกดวงเพื่อเชื่อมโยงปัญหาให้ เกิดขึ้นตามดวงชะตา โดยมีเป้าหมายจูงใจให้ผู้รับคาปรึกษาให้การปรึกษาปัญหาของช่วงวัยในเบื้องต้น มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้รับคาปรึกษา ยอมรับทาใจให้ได้ ได้เสนอวิธีการที่ใช้เป็นประจาคือใช้ทั้งหลักการ ปรึกษาเชิงจิตวิทยา และหลักโหรศาสตร์ด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการสัมภาษณ์ที่ต้องใช้เวลานาน ก็จะ ทาให้ เห็ น สภาพปั ญ หาและแนวทางแก้ไขได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และได้ยกหลั กธรรมได้แก่การสวดมนต์ ไหว้พระ, ทาบุญให้ทาน,ความอดทน,กัลยาณมิตรธรรม ผู้ให้คาปรึกษาท่านที่ ๑๖ ได้แสดงหลักการ ใช้โหรสาสตร์หลายสาขาเพื่อบูรณาการทา ความเข้าใจ เรื่องโชคและเคราะห์แล้วอธิบายให้ เข้าใจสภาพปัญหา ความจริง ตามข้อมูลหลาย ๆ ทางโดยมีเป้าหมายจูงใจให้ผู้รับคาปรึกษาส่งเสริมกาลังใจ ด้วยการชี้แจงให้เห็นสภาพความเป็นจริง ของปัญหาด้วยการให้เวลาปรึกษาอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสืบสาวให้ถึงสาเหตุสาคัญ ของปัญหา เพื่อให้ดาเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท ได้เสนอวิธีการที่ใช้เป็นประจาคือการสร้างสัมพันธ์ ภาพอันดีระหว่างผู้ให้คาปรึกษาและผู้ขอคาปรึกษาให้กาลังใจช่วยคิด และส่งเสริมให้คิดด้วยตนเอง และได้ยกหลักธรรมได้แก่การทาสมาธิ, อับปะมาทธรรม, โยนิโสมนสิการ,ความเป็น กัลยาณมิตร, โลกธรรม และความไม่ประมาท ผู้ให้ ค าปรึก ษาท่ า นที่ ๑๗ ได้แสดงหลั กการใช้ ห ลั กการคานวณดวงชะตาแบบสากล เมื่อพบช่วงที่ดีหรือร้าย ตามระยะเวลา จากนั้นก็คานวณเรื่องที่ผู้ขอคาปรึกษาถามจาเพาะเจาะจง เพื่อที่จะให้ผู้ขอคาปรึกษาได้ไตร่ตรองเฉพาะเรื่อง ๆ ไป โดยมีเป้าหมายจูงใจให้ผู้รับคาปรึกษา ให้ผู้ขอ คาปรึกษาเข้าใจอัตตะลักษณ์ของตนเองที่อาจสร้างปัญหา ในประเด็นต่างๆในชีวิต หรืออัตตะลักษณ์ ที่ เอื้ อ ต่ อ ความส าเร็ จ ในชี วิ ต การงานได้ เสนอวิ ธี ก ารที่ ใช้ เป็ น ประจ าคื อ เป็ น กั ล ยาณมิ ต รให้ รู้ จั ก โยนิ โสมนสิ การ จากอัตตะลั กษณ์ ตน จากสภาพปัญ หาเพื่ อให้ ผู้ รับคาปรึกษา คิดถูกทางตามแนว สัปปุริสธรรม ๗ เป็นต้น เพื่อที่จะได้มีศักยภาพในการแก้ปัญหาและพัฒนาตน และได้ยกหลักธรรม ได้แก่เรื่องกรรม, สติสัมปชัญญะเรื่องการยอมรับความจริง ทั้งสภาพปัญหาตน และหลักการแก้ไข, สับปุริสะธรรม จากตารางที่ ๔-๑๔ พบว่าโหราจารย์ผู้ให้คาปรึกษาทั้ง ๑๗ ท่านมีหลักการ เป้าหมาย วิธีการ และตัวอย่างหลักธรรมที่โหราจารย์ที่ใช้ในการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยา เพื่อลดความทุกข์ โดยสรุปดังนี้คือ ๑.หลักการและเหตุผลในการให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ พบว่าโหราจารย์เกือบทุกท่านมักจะใช้หลักโหราศาสตร์หลาย ๆ สาขา และยังใช้หลักพุทธ ศาสนา หลักจิตวิทยาที่เหมาะสม และทุกท่านก็จะใช้หลักสถิติ ทั้งจากการรวบรวมประสบการณ์การ ให้คาปรึกษาที่กระทามายาวนาน และการใช้หลักสถิติที่แต่งเป็นตาราทางโหราศาสตร์ รวมทั้งสถิติที่ รวบรวมไว้โดยสื่อออนไลน์ ปัญหาที่โหราจารย์ให้ความสนใจจะมีหลากหลายครอบคลุมปัญหาทุก ๆ อย่างของผู้ขอรับคาปรึกษา ตั้งแต่ปัญหาเล็ก ๆ น้อย จนปัญหาขนาดใหญ่ กล่าวคือ อาจเป็นปัญหา ความขัดแย้ง แง่งอน ไม่เข้าใจของหนุ่มสาว ความขัดแย้งกันระหว่างพ่อ -แม่ลูก จนถึงปัญหาที่เป็น ความอยู่รอดหรือดาเนินต่อไปได้ทางธุรกิจที่ผู้รับผิดชอบต้องคานึงถึงผู้ให้บังคับบัญชาเป็นพันเป็นหมื่น

๒๒๖ ภาพ ปั ญ หาที่ผู้ ให้ การปรึกษาทางโหราศาสตร์จึงครอบคลุมทั้งปัญ หาความรัก การงาน การเรียน การเงิน การบริห ารจัดการธุรกิจ เรื่องครอบครัว เรื่องหนี้สิ น เรื่องสุขภาพ การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ หรือแม้แต่เรื่องความเครียดอันเกิดจากสภาพปัญหา หรือความเครียดความทุกอันเกิดจาก การวิตกกังวล และคิดมากไปเอง หลั ก การทางโหราศาสตร์ จึ งมี ลั ก ษณะเชิ งบู รณาการเรื่อ งพื้ น ฐานความเข้ าใจมนุ ษ ย์ เรื่ อ งกระบวนการให้ ก ารให้ ค าปรึ ก ษาที่ ส อดคล้ อ งกับ หลั ก การเหตุ ผ ลทางจิ ต วิท ยา พุ ท ธศาสนา และหลักปรัชญาต่าง ๆ หลักการเกตุผลโดยรวมของการให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ในปัจจุบันมี แนวโน้มที่จะเป็นแบบผู้ขอคาปรึกษาเป็นศูนย์กลางทั้งความเข้าใจต่อปัญหา วิธีแก้ปัญหา ทางออกของ ปัญหา เกิดจากปฏิสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ให้คาปรึกษา และผู้รับคาปรึกษาในลักษณ์ของความเป็น กัลยาณมิตรต่อกัน ๒. วิธีการของการให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ พบว่าการให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ มีลักษณะสอดคล้องกับหลักพระพุทธศาสนาที่ เน้ น ความเป็ น กัล ยาณมิตรธรรม๗ โดยผู้ให้ การปรึกษามีทักษะของความเป็นกัล ยาณมิตรธรรม ๗ ใช้ความรัก (ปีโป) ความน่าเคารพ (ครุ) ความน่าเจริญใจ (ภาวนีโย) เป็นเสมือนใบเบิกทางหรือกุญแจ ไปสู่สัมพันธภาพอันดี ผู้ให้การปรึกษาได้รับความไว้วางใจ เป็นแรงบัลดาลใจ และจูงใจ เป็นแบบอย่าง แก่ผู้ รับ คาปรึ กษาได้ ส่ ว นขั้น ตอนเข้าสู่ ก ารวิเคราะห์ และแก้ปัญ หาต้องอาศัยหลั กสั บ ปุ ริส ะธรรม การรู้จักพูดได้ผล (วัตตา) ความพร้อมที่จะให้ซักถามด้วยความอดทน (วจนักขโม) ความสามารถใน การอธิบายเรื่องซับซ้อน ยุ่งยากให้เข้าใจได้ (คัมภีรธัญจ กดับ อตา) และโนจัฎฐาน นิ โอชย การไม่ชัก จูงไปในทางเสีย ๓. เป้าหมายของการให้การปรึกษาทางโหราศาสตร์ พบว่าการให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ มีขั้นตอนเดียวกับกระบวนการให้การปรึกษาทาง พระพุ ทธศาสนาและกระบวนบวนทางจิตวิทยา กล่าวคือ ในแง่พุ ทธจิตวิทยามีเป้าหมายเพื่อการ พัฒ นาศักยภาพคุณ ธรรมที่ส่งเสริมการพึงตนเองในที่สุดของผู้ให้ คาปรึกษา การให้การปรึกษาที่มี ประสิ ทธิภ าพจึงสามารถพัฒ นาพลหรืออินทรีย์ของผู้ รับการปรึกษามีพัฒ นาการยิ่ง ๆ ขึ้น ทั้งด้าน ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา กล่าวคือ ในกระบวนการปรึกษาผู้ให้การปรึกษาต้องช่วยเหลือให้ ผู้รับคาปรึกษามีศรัทธาในตัวเองในการแก้ปัญหา มีความหวังไม่ท้อแท้ สิ้นหวังต่อตัวเอง ผู้ให้คาปรึกษาต้องสามารถเรียกศรัทธาให้เกิดกับตนเอง เพื่อผู้รับคาปรึกษาจะได้เชื่อและ ปฏิ บั ติ ตามค าแนะน า จากนั้ น ต้องให้ ผู้ มีปั ญ หาเกิ ดความเพี ยร (วิริย ะ) ไม่ ท้ อถอย มี ใจสู่ มุม านะ เพื่อที่จะปฏิบัติไปตามคาแนะนา ปฏิบัติในทางที่ตนเลือก มุ่งมั่นไปตามพันธะกิจ ไม่ย่อท้อต่อปัญหา และอุปสรรคจนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย สติ ความระลึกได้ต่อปัญหา เข้าใจต่อสาเหตุของปัญหา จดจ่อ ต่อวิธีการและพฤติกรรมที่เหมาะสมซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สาคัญต่อการมุ่งต่อปัญหาร่วมกัน ศักยภาพ ของสมาธิ ความตั้งใจแน่วแน่ จิตใจมั่นคง ไม่หวั่นไหว ฟุ้งซ่าน หรือเลิกล้มกลางคัน และที่สาคัญที่สุด ผู้ให้การปรึกษาต้องสามารถเป็นแรงจูงใจ เป็นแบบอย่าง และเสนอแนะฝึกฝนให้ผู้รับการปรึกษารู้จัก คิดให้ชัดเจน ทั่วถึง ทั้งเข้าใจทั่วถึงต่อสภาพปัญหา (ทุกข์) เห็นชัดเจนถึงสาเหตุ ของปัญหา (สมุทัย) รู้วิธีที่จะพบปัญหาและทางสู่เป้าหมาย (มรรค) และรับรู้รสชาติของการปลอดจากปัญหาใดปัญหาหนึ่ง

๒๒๗ จนเกิดแรงจูงใจที่จะพัฒนาและขจัดปัญหาให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมวิธีชีวิตยิ่ง ๆ ขึ้น ทั้งปัญหา ส่วนตัว ครอบครัว หรือสังคมในวงกว้างยิ่ง ๆ ขึ้น ๔. หลักธรรมที่โหราจารย์ประยุกต์ใช้ พบว่าหลักธรรมที่โหราจารย์ประยุกต์ใช้ก็มีหลากหลาย ครอบคลุมตามหลักการ วิธีการ และเป้ า หมายของการให้ ก ารปรึ ก ษาไม่ ว่ า จะเป็ น คุ ณ สมบั ติ ที่ พึ ง ประสงค์ ข องผู้ ให้ ก ารปรึ ก ษา ประกอบด้วยหลักกัลยาณมิตร ๗ ,พรหมวิหาร ๔, สัจจะของคติ ๔ ,คุณสมบัติข องผู้ให้การปรึกษา ประกอบด้วย หลักศรัทธา ,สติสัมปชัญญะ, ศีล ๕ ,การสวดมนต์รักษาศีล, จิตอาสา, อิทธิบาท ๔, การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน, โยนิโสมนสิการ, ฆราวาสธรรม ๔ ,ความสันโดษ ,การปล่อยวาง ขันติ โสรัจจะทาน-ศีล -ภาวนา หลักอนัตตา สัปปุริสธรรม ๗ ส่วนหลั กธรรมที่เป็น พื้นฐานก็มีหลั กธรรม ไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาท เรื่องกรรม โลกธรรม ๘ อริยะสัจจ์ ๔ และจริต ๖

๒๒๘ ภาพที่ ๔.๑ แสดงรูปแบบการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ Buddhist Psychological Counseling for Suffering Reduction in Astrology การปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความ ทุกข์

พุทธจิตวิทยา 1. กระบวนกำรในกำรปรึกษำ - อริยสัจ 4 - ไตรสิกขำ 2. เป้ำหมำยในกำรปรึกษำ - สติสัมปชัญญะ - ศรัทธำ - ปัญญำ 3. วิธีกำรในกำรปรึกษำ  ผู้ให้คำปรึกษำ - กัลยำณมิตร - พรหมวิหำร 4 - สัตบุรุษ 7  ผู้รับกำรปรึกษำ -โยนิโสมนสิกำร - อิทธิบำท 4 - สัปปุริสธรรม 7 - อัปปมำทธรรม



จิตวิทยาตะวันตก กำรปรึกษำแบบนำทำง (Directive Counseling Approach)



กำรปรึกษำแบบไม่นำทำง (Nondirective Counseling Approach)



กำรปรึกษำแบบยึดผู้รับคำปรึกษำ เป็นจุดศูนย์กลำง (The Client-Centered Counseling)

 กำรปรึกษำแบบรำยบุคคล (Individual Counseling) 

กำรปรึกษำแบบผสมผสำน (Mixed Counseling)

รูปแบบการปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์

๒๒๙

จากรูปที่ ๔.๑ แสดงรูปแบบการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ โดยจาแนกตามข้อมูลเอกสารและขั้นตอนการให้คาปรึกษาเริ่มจากรูปแบบปรึกษาทาง โหราศาสตร์ตามแนวพุทธะจิตวิ ทยาเพื่อลดความทุกข์ โดยผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑.ศึกษาหลักการ ทางจิตวิทยาและการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ๒.สังเคราะห์ หลักการให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ๓.นาเสนอรูปแบบการ ปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักจิตวิทยาทั้งในแง่ ของหลักการทั่วไป ซึ่งเป็นกระบวนการในการพัฒนาจิตพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อลดความทุกข์ตามหลัก พระพุทธศาสนา ตามด้วยกระบวนการในทางพุทธพระธรรมคือ กระบวนการในอริยสัจสี่เริ่มตั้งแต่การ กาหนดทุกข์ ค้นหาสาเหตุของความทุกข์ การเห็นถึงโอกาสและเชื่อมั่นว่าสามารถที่กาจัดทุกข์ได้และ กระบวนการการปฏิบัติ มรรคผลมีองค์๘ เริ่มตั้งแต่ หมวดปัญญา:สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ หมวดศีล : สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ หมวดสมาธิ : สัมมาสติ สัมมาสมาธิ หรือใน การปฏิบัติ แห่งกระบวนการให้คาปรึกษาที่แสดงในรูปแบบของไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ และปัญญา หรือทาน ศีล ภาวนา ส่วนที่สองคือเป้าหมายของกระบวนการให้คาปรึกษาตามหลักพระพุทธศาสนา โดยย่อสรุปคือเป้าหมายเพื่อสร้างศรัทธา ความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของความเป็นมนุษย์และพัฒ นา ปัญญาเพื่อการแก้ปัญหาและลดความทุกข์ตามหลักเหตุผล ส่วนวิธีการคือหลักธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับ ผู้ ให้ ค าปรึ ก ษาคื อ หลั ก กั ล ยาณมิ ต ร พรหมวิ ห าร๔ สั ต ตปุ รุ ษ และในส่ ว นของผู้ รั บ ค าปรึ ก ษา

๒๓๐ ประกอบด้ วยหลั กโยนิ โสมนสิ การ อิทธิบ าท ๔ สั ป ปุ ริส ธรรม ๗ และอัป ปมาทธรรม ในส่ ว นของ จิตวิทยาตะวันตก ผู้วิจัยมุ่ งที่จะศึกษารูปแบบการปรึกษาแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นผลของวิวัฒนาการ ของกระบวนการให้คาปรึกษา เริ่มตั้งแต่การทาให้ผู้รับบริการยอมรับความจริง เพื่อให้ผู้รับบริการ เปิดรับประสบการณ์โดยพิจารณาสิ่งต่าง ๆ อย่างกว้างขวางในหลายแง่มุม เพื่อให้ผู้รับบริการ มีความ เชื่อมั่น ในตนเองเพิ่ มขึ้น เพื่ อให้ ผู้ รับบริการรู้สึ กว่าตนเองมีคุณ ค่าเพิ่ มขึ้น และเพื่ อให้ ผู้ รับ บริการ สามารถปฏิบัติภารกิจในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งด้านส่วนตัว การเรียน และการทางาน จากนั้นผู้วิจัยได้สรุปโมเดลในการให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวจิตวิทยาเพื่อความ ทุกข์ จากโมเดล ผู้ให้คาปรึกษาใช้ศาสตร์ในทางโหรด้านต่างๆอย่างผสมผสานตามความเชี่ยวชาญของ ผู้ ให้ ค าปรึ ก ษาและสอดคล้ อ งกั บ ลั ก ษณะของผู้ รั บ ค าปรึก ษากล่ า วคื อ โหราศาสตร์ ไทยจั ก ราศี เลขศาสตร์ ไพ่ยิปซี และหัตถะศาสตร์ลายมือ ปัญหาและประเด็นที่ผู้รับคาปรึกษามาขอคาปรึกษาโดย ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเรื่องของการงานความรัก ครอบครัว และเรื่องของตนเอง กระบวนการในการให้ ค าปรึกษาทางโหราศาสตร์ ผู้ ให้ คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ก็ มี พัฒนาการเช่นเดียวกับการให้คาปรึกษาตามจิตวิทยาสมัยใหม่ ซึ่งการให้คาปรึกษาที่ยึดผู้รับคาปรึกษา เป็ น จุ ด ศูน ย์ ก ลาง และส่ ว นขั้ น ตอนในการค าปรึกษาก็ ส อดคล้ อ งกั บกระบวนการและขั้น ตอนใน จิตวิทยาตะวันตก เริ่มตั้งแต่ผู้วิจัยเน้นออกแบบกาหนดรูปแบบการให้คาปรึกษาตามกระบวนการใน อริยสัจ๔ คือขั้นตอนแรกกาหนดรู้ปัญหา ขั้นตอนที่สองก็จะสาเหตุของปัญหา ขั้นตอนที่สามทาให้ เข้าถึงสภาวะที่ปลอดปัญหา และเน้นลงมือปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ส่วนเทคนิคหรือทักษะเชิง ปฏิบัติการซึ่งเป็นรายละเอียดสอดคล้องกับสภาพและลักษณะ ปัญหาของแต่ละบุคคลกล่าวคือ ในแง่ การให้คาปรึกษาตะวัน ตก ผู้ให้คาปรึกษาอาจเลือกใช้การให้คาปรึกษาแบบนาทาง หรือไม่นาทาง วัตถุประสงค์หรือองค์ประกอบที่ จะทาให้ลดความทุกข์ ตามหลักเหตุผลทางพุทธศาสนา อาจเกิดจาก ผู้รับคาปรึกษามีผู้ให้คาปรึกษาเป็นที่พึ่งได้ และสามารถพัฒนาผู้รับคาปรึกษาให้พึ่งตนเองได้ เพื่อลด ความทุกข์และแก้ปัญหาตนเองได้แล้ว จนผู้รับคาปรึกษามีพัฒนาการจนอาจกลายเป็นที่พึ่งของผู้อื่น ช่วยเหลือสังคมได้ ในระดับของการให้คาปรึกษานอกจากแก้ทุกข์ของตนเองได้แล้วอาจมีชีวิต ที่เป็น ปกติแล้วเป้าหมายเชิงบวก คือมีความเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นเป็นเป้าหมายต่อไป ส่วนวิธีการทั่ว ๆ ไปทั้งตามหลักจิตวิทยา ตามพุทธศาสนาโหราศาสตร์อาจมีเป้าหมายของ การให้คาปรึกษาเพื่อปลุกปลอบใจในเบื้องต้น จากนั้นก็พัฒนาไปสู่การสร้างแรงจูงใจให้ผู้รับคาปรึกษา พึ่งตนเองได้ตามความเป็นจริง กระบวนการให้คาปรึกษาตามสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันโหราจารย์ เกือบทุกท่านมีแนวโน้มที่จะบูรณาการ หลักการให้คาปรึกษาที่หลากหลายอยู่แล้ว ไม่ว่าจะบูรณาการ หลักพุทธธรรม หลักจิตวิทยาตะวันตก และการใช้หลักโหราศาสตร์หลายหลายสาขา เพื่อประกอบการ ทาความเข้าใจแก้ปัญหาให้ผู้รับคาปรึกษา ส่วนพัฒนาการผู้รับคาปรึกษาก็มีความสอดคล้องกับหลักให้ คาปรึกษาทั่วไปที่เริ่มจากการให้ยอมรับปัญ หา เข้าใจในปัญหาจนสามารถแก้ปัญหาได้ จนกระทั่ง พัฒนาไปสู่การสร้างความพัฒนาชีวิตสังคมได้ยิ่งขึ้น โดยวิธีการสรุปได้สองประการคือขั้นวินิจฉัยปัญหา (ทุกข์-สมุทัย) และขั้นแก้ปัญหา (นิโรธ-มรรค) จากตารางจากตารางที่ ๔.๑๔ แสดงหลักการ เป้าหมาย วิธีการ และตัวอย่างหลักธรรมที่ โหราจารย์ที่ใช้ในการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์

๒๓๑ โดยภาพรวมจาแนกตามคาถามเชิงโครงสร้างพบว่า ข้อคาถามที่ ๑ ท่านใช้หลักทางโหราศาสตร์ในการให้การปรึกษาด้านใด พบว่ า โหราจารย์ เ ลื อ กใช้ วิ ธี ก ารการให้ ค าปรึ ก ษาทางโหราศาสตร์ ที่ ห ลากหลาย คือโหราศาสตร์ไทยจักราศี เลขศาสตร์ ไพ่ยิปซี หัตถศาสตร์ และด้านอื่นๆ ที่เหมาะสมกับปัญหา ของ ผู้มารับคาปรึกษาและความชานาญของผู้ให้การปรึกษา โดยผู้ให้คาปรึกษาแต่ละท่าน จะเลือกวิธีการ ทางโหราศาสตร์ที่เหมาะสมกับปัญหาของผู้มารับคาปรึกษา อาจใช้เพียงศาสตร์ทางโหรฯเพียงอย่างใด อย่างหนึ่งหากองค์ความรู้ในด้านนั้นสามารถวิเคราะห์ และทาความเข้าใจปัญหาของผู้มารับคาปรึกษา ได้เพียงพอ แต่หากปัญหาเฉพาะบางอย่างที่จาเป็นต้องใช้หลักทางโหรหลายๆสาขา ผู้ให้คาปรึกษาก็ จะเลื อกใช้ที่ เหมาะสม เพื่อให้ ส อดคล้ องกับ การให้ คาปรึกษาที่ มีผู้ รับคาปรึกษาเป็ นจุดศูนย์กลาง อีกอย่างหนึ่งหากผู้ให้คาปรึ กษาไม่เชี่ยวชาญในโหราศาสตร์ด้านนั้น ผู้ให้คาปรึกษาอาจแนะนาให้ผู้ ขอรับคาปรึกษาไปปรึกษาผู้ให้คาปรึกษาท่านอื่น ข้อคาถามที่ ๒ หลักการเหตุผลในการให้การปรึกษาของท่านคืออะไร พบว่าผู้ให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์มีหลักการให้คาปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และพัฒนาตนเองของผู้รับคาปรึกษา โดยเน้นการให้คาปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือการให้คาปรึกษาที่มี ผู้รับคาปรึกษาเป็นจุดศูนย์กลาง โหราจารย์วางตัวในฐานะผู้ให้คาปรึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้รับ คาปรึกษาให้สามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้นตามลาดับ กล่าวคือผู้ให้คาปรึกษาและผู้รับคาปรึกษาดารง ต าแหน่ งเดี ย วกั น ในฐานะเป็ น กั ล ยาณมิ ต ร ในกระบวนการวิ เคราะห์ ปั ญ หาผู้ ให้ ค าปรึ ก ษาทาง โหราศาสตร์จะพิจารณาถึงสาเหตุของปัญหาอย่างเป็นองค์รวมคือ พิจารณาทั้งด้านศีล สังคม อารมณ์ และการรู้ คิ ด หรื อ ปั ญ ญา และในส่ ว นรูป แบบและวิ ธี ก ารให้ ค าปรึก ษาก็ ม องคุ ณ สมบั ติ ข องผู้ ให้ คาปรึกษาแบบองค์รวมทั้งทางด้านทาน ศีล จิตใจ ปัญญา และวิธีการนอกพุทธะศาสนา อนึ่งผู้ ให้ คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ทุกท่านมีแนวโน้มใช้ห ลักการเหตุผลที่ห ลากหลายยืดหยุ่น และปรับให้ เหมาะสมกับสภาพปัญหาสภาพแวดล้อม ทัศนคติ ระดับอารมณ์ความรู้สึกและระดับการรู้คิดของผู้รับ คาปรึกษา ข้อคาถามที่ ๓ เป้าหมายในการให้การปรึกษาในเบื้องต้นของท่านคืออะไร พบว่าผู้ให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์มีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับความต้องการและสภาพ ความทุกข์ของผู้รับคาปรึกษา โดยมีเป้าหมายพื้นฐานคือการพัฒนาศักยภาพ ความสามารถให้ผู้รับการ ปรึกษา ได้ตระหนักถึงปัญหารับ รู้ปัญหาเข้าใจสภาพปัญหาเข้าใจสาเหตุของปัญหา มีแรงจูงใจที่จะ ปรับเปลี่ยนแก้ไขและพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง โดยในเบื้องต้นผู้ให้การปรึกษาต้องกระตุ้นให้ผู้รับ คาปรึกษาเกิดความศรัทธา เกิดความเชื่อมั่นในตัวผู้ให้คาปรึกษาจากนั้นก็มี เป้าหมายที่จะส่งเสริมให้ ผู้ รั บ ค าปรึ ก ษามี พั ฒ นาการทางด้ า นอารมณ์ ด้ า นจิ ต ใจ และการรู้ คิ ด ในการด ารงชี วิ ต อย่ า งมี สติสัมปชัญญะ เป้าหมายพื้นฐานสูงสุด โดยรวมคือการให้คาปรึกษาเพื่อให้ผู้รับคาปรึกษาดารงชีวิต อย่างมีสติสัมปชัญญะ เพื่อการเข้าใจปัญหา เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหา เพื่อมีแรงจูงใจที่จะดาเนิน ชีวิตและลงมือปฏิบัติเหตุปัจจัยที่จะนาไปสู่ความสาเร็จ และความสุขรวมทั้งละเว้นเหตุปัจจัยและ สาเหตุแห่งความล้มเหลวและความทุกข์

๒๓๒ ข้อคาถามที่ ๔ วิธีการในการให้การปรึกษาของท่านคือ พบว่าผู้ ให้ ค าปรึ ก ษาทางโหราศาสตร์ใช้ ห ลั กโหราศาสตร์ที่ ห ลากหลาย โดยผู้ ให้ ก าร ปรึกษาทุกท่านได้ประยุกต์หลักในการให้คาปรึกษา ไม่ว่าหลักในด้านจิตวิทยาสมัยใหม่ หลักทางพุทธ ศาสนาความเชื่อวัฒนธรรมประเพณีที่มีคุณค่าต่าง ๆ อย่างไม่บิดเบือน ไม่ปิดกั้นโดยในส่วนรวมของ แนวทางที่สอดคล้องกับจิตวิทยาตะวันตกก็เป็นไปในแนวทางสอดคล้องกับ หลักในการให้การปรึกษา แบบสากล คือเน้นการให้คาปรึกษาที่ยึดตามสภาพปัญหา ของผู้มารับคาปรึกษาซึ่งสอดคล้องกับหลัก ในพุทธะศาสนาที่พระพุทธองค์แสดงปฐมเทศนา ให้ ส อดคล้ องกับลักษณะและลาดับอุปนิสั ยของ บุคคล อนึ่งพบว่าผู้ให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ ดาเนินการในกระบวนการให้คาปรึกษาสอดคล้องกับ หลักการให้คาปรึกษาทางจิตวิทยาและหลักทางพุทธศาสนา กล่าวคือส่งเสริมให้ผู้รับบริการยอมรับ ความจริงด้วยวิธีการต่าง ๆ กระตุ้นให้ผู้รับคาปรึกษาเปิดรับประสบการณ์อย่างกว้างขวาง สร้างความ เชื่อมั่นให้เกิดขึ้นแก่ผู้รับคาปรึกษา จากนั้นส่งเสริมให้ผู้รับคาปรึกษาเห็นคุณค่าในตนเอง เกิดแรงจูงใจ ในการพัฒ นาตนเองมีความเพียร เชื่อมั่นที่จะปฏิบัติกิจวัตรประจาวันอย่างมีประสิทธิภาพ จนผู้รับ คาปรึกษารู้จักตนเองดารงชีวิตอย่างมีความสุข มีสุขภาพจิตดีและใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ โดยในระยะยาวการให้ ค าปรึ ก ษาทางโหราศาสตร์ โ ดยมุ ม ให้ ผู้ รั บ ค าปรึ ก ษาตระหนั ก รู้ต นเองมี พฤติกรรมมั่นคงสม่าเสมอ ควบคุมตนเองได้ และดารงชีวิตตามสภาพตามอย่างมีเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ และไม่มีปัญหา เพื่อมีความมุ่งมั่นในการกระทามีความเพียรให้สามารถลุล่วงปัญหา ข้อคาถามที่ ๕ หลักธรรมที่ผู้ให้การปรึกษาประยุกต์ใช้ พบว่ า กระบวนการให้ ก ารปรึก ษา ผู้ ให้ ค าปรึ ก ษาทางโหราศาสตร์ ป ระยุ ก ต์ ใช้ ห ลั ก อริยสัจ ๔ หลักไตรสิกขา และไตรลักษณ์ หลักการเหตุผล ผู้ให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ยกตัวอย่าง หลักกฎแห่งกรรม หลักปฏิจสมุปบาท และหลักสัจจะ คุณสมบัติของผู้ให้คาปรึกษาผู้ให้ สัมภาษณ์ ยกตัวอย่างหลักพรหมวิหาร๔ หลักกัลยาณมิต รธรรม๗ และหลักสังคหะวัตถุ ๔ คุณสมบัติของผู้รับ คาปรึก ษาผู้ ให้ สั ม ภาษณ์ ย กตั ว อย่ าง หลั ก โยนิ โสมนสิ การ หลั ก บุ ญ กริยาวัตถุ (ทาน ศี ล ภาวนา) หลักปฏิบั ติวิปั สสนากรรมฐาน หลักอิทธิบาท ศีล ๕ จริต ๖ อัปปมาทธรรม (ทาความไม่ประมาท) และกิจกรรมทางพุทธศาสนาต่างๆเช่น การไหว้พ ระสวดมนต์ ให้ทานรักษาศีล จิตอาสา การสะเดาะ เคราะห์ การยอมรับในโลกธรรม๘ และขันติโสรัจจะ เป็นต้น

๒๓๓

บทที่ ๕ สรุป อภิปรายผล และเสนอแนะ การวิจัยนี้เป็ นการวิจัย เรื่องการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลด ความทุกข์ ๑) ศึกษาหลักการทางจิตวิทยาและการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อ ลดความทุกข์ ๒) เพื่อสังเคราะห์หลักการให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลด ความทุกข์ ๓) ศึกษานาเสนอ รูปแบบการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความ ทุกข์ทุกข์ ดุษฎีนิ พนธ์นี้ เป็ น การวิจั ย แบบผสม (Mixed- Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิง ปริมาณ สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละจากผู้รับคาปรึกษาทางโหราศาสตร์ ในมูลนิธิสมาคม โหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัม ภ์, สมาคมโหราศาสตร์นานาชาติ, สถาบันโหราศาสตร์ไทย สากล, สถาบั น โหราศาสตร์ วิทยา และสมาคมลิ ขิตบนฝ่ ามื อ จานวน ๒๖๙ คน และการวิจัยเชิ ง คุณภาพการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งทางศาสนาและทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้ว ย โหราจารย์ จ ากมู ล นิ ธิส มาคมโหรแห่ งประเทศไทยในพระสั งฆราชู ป ถัม ภ์ , สมาคม โหราศาสตร์นานาชาติ, สถาบันโหราศาสตร์ไทย-สากล, สถาบันโหราศาสตร์วิทยา และสมาคมลิขิตบน ฝ่ามือ จานวน ๑๗ รูป/คน ผู้วิจัยจะได้นาเสนอ สรุปผล อภิปรายผล ข้อเสนอแนะ ตามลาดับ ดังนี้

๕.๑ สรุปผลการวิจัย ๕.๑.๑ ข้อมูลทั่วไป พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้รั บการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความ ทุ ก ข์ จ านวนทั้ งสิ้ น ๒๖๙ คน มี เพศหญิ งจานวน ๒๑๐ คน (๗๘.๑%) เพศชายจ านวน ๕๙ คน (๒๑ .๒ %) ส่วนใหญ่มีอายุตามลาดับ อายุ ๔๑–๕๐ ปีจานวน ๙๒ คน (๓๔.๒%) มีระดับการศึกษา ปริญญาตรี จานวน ๑๕๐ คน ( ๕๕.๘%) มีอาชีพ นักธุรกิจ จานวน ๗๓ คน( ๒๗.๑%) มีสถานภาพ สมรส โสด จานวน ๑๕๕ คน (๕๗.๖%) กิจกรรมทางศาสนาที่ปฏิบัติบ่อยที่สุด ทาบุญให้ทาน จานวน ๑๑๘ คน( ๔๓.๙%) ปัญหาที่มาปรึกษาโหราจารย์มากที่สุด การงาน จานวน ๑๒๑ คน ( ๔๕.๐%) การปรึกษาโหราจารย์ ด้วยศาสตร์ทางโหรฯตามหลัก โหราศาสตร์ไทยจักรราศี จานวน ๑๐๑ คน (๓๗.๕%) การปรึ กษาโหราจารย์ ม ากน้ อยแค่ไหน (ต่ อปี ) ๑–๒ ครั้ง จานวน ๑๘๔ คน(๖๘.๔%) การเลือกปรึกษาทางโหราศาสตร์จากโหราจารย์ที่ ความรู้ความสามารถ จานวน ๑๙๙ คน (๗๔.๐%) ๕.๑.๒ ข้อมูลระดับความคิดเห็นและความพึงพอใจในคุณสมบัติของโหราจารย์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ มีระดับความคิดเห็นและความพึงพอใจในคุณสมบัติของโหราจารย์ โดยรวม ด้านปัญญา อยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย ๕๙๒ (๔๘.๔๙%) ๕.๑.๓ ข้อมูลระดับ ความคิดเห็นในแนวทางการปฏิบัติของโหราจารย์ พบว่ า กลุ่ ม ตั ว อย่ างมี ร ะดั บ ของความคิ ด เห็ น และความพึ งพอใจแนวทางปฏิ บั ติ ข อง โหราจารย์ ในการปรึ ก ษาทางโหราศาสตร์ ต ามแนวพุ ท ธจิ ต วิ ท ยาเพื่ อ ลดความทุ ก ข์ โดยรวม ด้านปัญญาภาวนา อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย ๔๓๐ (๓๘.๘๕%)

๒๓๔ ๕.๑.๔ ข้อมูลความคิดเห็นจากการสัมภาษณ์โหราจารย์ ๕.๑.๔.๑ พุทธจิตวิทยา มีหลักการสาคัญ คือหลักการเหตุผลในพุทธจิตวิทยา อยู่บนพื้นฐานของหลักกรรม คือการแก้ทุกข์ด้วยการกระทา ตามความเป็นจริง ตามเหตุ ตามปัจจัย ด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยความ ไม่ประมาท ที่เรียกว่า สัจจะวาที กรรมวิธีและกิริยาวาที มีเป้าหมาย เพื่อกาจัดความทุกข์ในรูปแบบ ต่างๆ คือทุกข์ทางกายทุกข์ทางใจ ความคับแค้นใจ ความไม่สบายใจความเครียด ความวิตกกังวล ความอาลัยอาวรณ์ เป็นต้น ซึ่งเรียกโดยรวมว่า ความทุกข์ มีวิธีการในการแก้ทุกข์หรือดับทุกข์ อยู่บน พื้น ฐานของหลั กอริย สั จ ๔ คือหน้ าที่ ต่อทุกข์ ได้แก่ทาความเข้าใจทุ กข์ การวินิจฉัยเหตุแห่ งทุ กข์ การตั้งเป้าหมาย การมีความหวังว่า ทุกข์สามารถแก้ไขได้ การดาเนินปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ และพัฒนา ชีวิตตามขั้ น ตอน ในรูป แบบต่าง ๆ เช่ น ตามหลั กไตรสิ กขา ตามหลั กอิ ท ธิบ าท ๔ โดยเครื่องมื อ ประกอบด้วย สมถะวิปัสสนาหรือสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น ๕.๑.๔.๒ การปรึกษาทางโหราศาสตร์ มีห ลั ก การส าคัญ คือ โหราจารย์เกื อบทุ กท่านมั กจะใช้ห ลั กโหราศาสตร์ห ลาย ๆ สาขาอาทิ โหราศาสตร์ไทยจั กราศี เลขศาสตร์ ยิปซี และลายมือ รวมทั้งใช้ห ลั กสถิติ ทั้งจากการ รวบรวมประสบการณ์การให้คาปรึกษาที่กระทามายาวนาน และการใช้หลักสถิติที่ แต่งเป็นตาราทาง โหราศาสตร์ รวมทั้ ง สถิ ติ ที่ ร วบรวมไว้ โ ดยสื่ อ ออนไลน์ ปั ญ หาที่ โ หราจารย์ ให้ ค วามสนใจจะมี หลากหลายครอบคลุมปัญหาทุก ๆ อย่างของผู้ขอรับคาปรึกษา ตั้งแต่ปัญหาเล็ก ๆ น้อย จนปัญหา ขนาดใหญ่ กล่ าวคือ อาจเป็ น ปั ญหาความขัดแย้ง แง่งอน ไม่เข้าใจของหนุ่มสาว ความขัดแย้งกัน ระหว่างพ่อ-แม่ลูก จนถึงปัญหาที่เป็นความอยู่รอดหรือดาเนินต่อไปได้ทางธุรกิจที่ผู้รับผิดชอบต้อง คานึงถึงผู้ให้บังคับบัญชาเป็นพันเป็นหมื่นภาพ ปัญหาที่ผู้ให้การปรึกษาทางโหราศาสตร์จึงครอบคลุม ทั้งปัญหาความรัก การงาน การเรียน การเงิน การบริหารจัดการธุรกิจ เรื่องครอบครัว เรื่องหนี้สิน เรื่องสุขภาพ การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ หรือแม้แต่เรื่องความเครียดอันเกิดจากสภาพปัญหา หรื อ ความเครี ย ดความทุ ก อั น เกิ ด จากการวิ ต กกั งวล และคิ ด มากไปเอง เน้ น การใช้ โหรศาสตร์ ผสมผสานหลายสาขา โดยชี้ ให้ ย อมรับ ว่าปัญ หาเกิ ดจากเหตุปั จจัย อะไร แล้ ว จูงใจให้ ส ร้างเหตุ ดี และขจัดเหตุไม่ดีออกไป ชี้ให้เห็นถึงสภาพปัญหา ยอมรับและแก้ปัญหาด้วยตัวเอง มีเป้าหมาย เพื่อให้ผู้รับคาปรึกษายอมรับ จูงใจให้ผู้รับคาปรึกษาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ เหมาะสมและแก้ปัญหานั้นได้ ด้วยตัวเอง เป็นการปรึกษาทางใจพร้อมกับชี้ให้เห็นถึงสาเหตุของปัญหา ในปัจจุบันหรืออนาคต ส่งเสริมให้มีความสงบเพื่อที่จะใช้ศักยภาพในการแก้ปัญหา ดารงชีวิต อยู่ด้วย ความไม่ประมาท ให้ทบทวนการตัดสินใจใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพเป็นจริง กระตุ้นให้ผู้รับคาปรึกษา สมารถมีกาลังใจ กาลังความคิดที่จะแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มองถึงเหตุปัจจัยแห่ง ความเจริ ญ หรื อ ความเสื่ อ มอย่ างรอบด้ าน สร้ างแรงจู งใจให้ ผู้ รับ ปรึก ษาเชื่ อ ละยอมปฏิ บั ติ ตาม คาแนะนา ที่เป็นทั้งการพัฒนาชีวิตในแง่มีโชคและส่วนที่มีเคราะห์ก็ให้กาลังใจ ชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่มา จากดวงชะตา เพื่อจูงใจให้ผู้รับคาปรึกษาศรั ทธาที่จะแก้ปัญหาตามคาแนะนาของโหรศาสตร์และจาก ที่ได้พูดคุยและวิเคราะห์ด้วยกันส่งเสริมกาลังใจ ด้วยการชี้แจงให้เห็นสภาพความเป็นจริงของปัญหา ด้วยการ ให้ผู้ขอคาปรึกษาเข้าใจอัตตะลักษณ์ของตนเองที่อาจสร้างปัญหา ในประเด็นต่าง ๆ ในชีวิต หรืออัตตะลักษณ์ ที่เอื้อต่อความสาเร็จในชีวิต

๒๓๕ ใช้วิธีการ คือ กระบวนการทางโหราศาสตร์ ที่ผสมผสานเพื่อชี้ให้เห็นถึงสภาพปัญหา ว่ามี สาเหตุที่เกิดจากอะไร จากนั้ น ก็จูงใจให้ แก้ไข ด้ว ยวิธีการต่าง ๆ เช่น ใช้โหราศาสตร์ไทยจักรราศี รั บ ฟั ง จู งใจและกระตุ้ น ด้ ว ยเหตุ ผ ล และเครื่อ งมื อ ทางโหรศาสตร์ ให้ ผู้ รับ ค าปรึ ก ษามี แ รงจู งใจ และเลือกวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมสิ่งที่ไม่ควรทาเลย คือการตาหนิหรือไม่เข้าใจ ใช้หลักเลขศาสตร์เพื่อ ตรวจสอบข้ อ มู ล ที่ ต รงกั น ในแต่ ล ะสาขา โดยเน้ น ทางด้ าน ความรั ก การงาน สุ ข ภาพ อุ บั ติ เหตุ ใช้หลักการดูลายมือการพูดคุยวิเคราะห์โชคชะตาตามที่อ่านได้บนลายมือ โดยการให้ความสนใจอัตตา เลือกวิธีการที่เหมาะสมให้แก้ไข โดยผู้รับคาปรึกษาต้องมีสติสัมปชัญญะ และวิเคราะห์รายละเอียด ปัญหาด้วยตัวเอง ใช้ไพ่ยิปซี ชี้แนะให้เห็นปัญหา สาเหตุของปัญหา กระตุ้นให้มีกาลังใจมีความหวัง ขจัดความหลัง ความวุ่นวายใจ บรรเทาความเครียด ในการให้การปรึกษาโดยวางตัวเป็นกัลยาณมิตร ให้ผู้รับคาปรึกษา วางใจที่จะเล่าปัญหา ให้ กาลั งใจ ร่ ว มกัน ค้น หาสาเหตุข องปั ญ หา โดยเฉพาะปั ญ หาจากการกระท าของผู้ รับค าปรึก ษา โดยเริ่มการทาให้ ยอมรับปัญหา และใช้สติพิจารณาหาทางออก และเพียรพยายามแก้ไข แล้ว รอผล ด้วยความอดทน การสร้างสัมพันธ์ภาพอันดีระหว่างผู้ให้คาปรึกษาและผู้ขอคาปรึกษาให้กาลังใจช่วย คิ ด และส่ งเสริ ม ให้ คิ ด ด้ ว ยตนเอง เป็ น กั ล ยาณมิ ต รให้ รู้ จั ก โยนิ โสมนสิ ก าร จากอั ต ตะลั ก ษณ์ ต น จากสภาพปั ญหาเพื่อให้ผู้รับ คาปรึกษา คิดถูกทางตามแนว สั ปปุริสธรรม ๗ เป็นต้น เพื่อที่จะได้มี ศักยภาพในการแก้ปัญหาและพัฒนาตน ๕.๑.๔.๓ รูปแบบการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยา เป็นแบบเน้นที่ ตัวบุคคล ตามกระบวนการอริยะสัจ ๔ แบบมีผู้รับคาปรึกษาเป็นจุดศูนย์กลาง ที่เน้นเริ่มจากตัวทุกข์ เฉพาะของบุคคล เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลให้มีความสามารถ พึ่งตนได้ ยอมรับ ตรวจสอบวินิจฉัย ปัญหาตนเองได้ ยอมรับความเปลี่ยนแปลงของตนเอง ผู้อื่น และสภาพแวดล้อมตามความเป็นจริงใน รูปของไตรลักษณ์ โดยอยู่บนพื้นฐานของความเป็นกัลยาณมิตรของโหราจารย์ และผู้รับคาปรึกษา ด้วยคุณสมบัติด้านปัญญา ศีล สังคม และด้านจิตใจที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาที่ปรึกษา

๕.๒ อภิปรายผลการวิจัย ๕.๒.๑ ข้อมูลทั่วไป พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้รับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความ ทุ ก ข์ จ านวนทั้ งสิ้ น ๒๖๙ คน มี เพศหญิ งจานวน ๒๑๐ คน (๗๘.๑%) เพศชายจ านวน ๕๙ คน (๒๑ .๒ %) สอดคล้องกับพิไลรัตน์ รุจิวณิชย์กุล๑ในงานวิจัยพบว่า ผู้มารับบริการจากหมอดูส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่มีอายุตามลาดับ อายุ ๔๑ – ๕๐ ปีจานวน ๙๒ คน (๓๔.๒%) สอดคล้องกับณัชชา ชินธิป ๒ในงานวิจัยพบว่าผู้มีประสบการณ์ในการรับบริการจากผู้ให้บริการทาง โหราศาสตร์ ส่ ว นใหญ่ อ ายุ ร ะหว่ าง ๔๓-๕๐ปี มี ร ะดั บ การศึ ก ษา ปริ ญ ญาตรี จ านวน ๑๕๐ คน ๑

พิไลรัตน์ รุจิวณิชย์กุล, “การศึกษาสุขภาพจิตของผู้มารับบริการจากหมอดู:ศึกษาเฉพาะกรณีผู้มารับ บริ ก ารจากหมอดู ข องสมาคมโหรแห่ งประเทศไทย”, วิ ท ยานิ พ นธ์ สั ง คมสงเคราะห์ ศ าสตร์ ม หาบั ณ ฑิ ต , (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๒๔), หน้า ๓๒. ๒ ณั ชชา ชินธิป , “โหราศาสตร์กับ การตัดสินใจทางธุรกิจ ”, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบั ณฑิ ต , (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี), ๒๕๔๘, หน้า ๑๑๐.

๒๓๖ ( ๕๕.๘%) สอดคล้องกับศิรินญา นภาศัพท์๓ในงานวิจัยพบว่าชาวพุทธไทยในปัจจุบันเชื่อโหราศาสตร์ และกฎแห่งกรรมไปพร้อมๆ กันจบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า มีอาชีพ นักธุรกิจ จานวน ๗๓ คน( ๒๗.๑%) สอดคล้ องกับ ทานิต โชคธนะศิริ,รัศมน กัล ป์ยาศิริ ๔ในงานวิจัยพบว่าผู้ เข้ารับ บริการทางโหราศาสตร์ส่วนใหญ่มีรายได้มากกว่า ๒๐,๐๐๐บาท มีอาชีพนักธุรกิจ ร้อยละ๒๘.๔% มี ส ถานภาพสมรส โสด จ านวน ๑๕๕ คน (๕๗.๖%) สอดคล้ อ งกั บ ทานิ ต โชคธนะศิ ริ รั ศ มน กัลป์ยาศิริ๕ ในงานวิจัยพบว่าผู้เข้ารับบริการทางโหราศาสตร์ส่วนใหญ่ เป็นโสด กิจกรรมทางศาสนาที่ ปฏิบัติบ่อยที่สุด ทาบุญให้ทาน จานวน ๑๑๘ คน( ๔๓.๙%) ปัญหาที่มาปรึกษาโหราจารย์มากที่สุด การงาน จ านวน ๑๒๑ คน( ๔๕.๐%) สอดคล้ อ งกั บ พรทิ พ ย์ จงเจิ ด ศั ก ดิ์ ๖ ปั ญ หาหรื อ ค าถามที่ ผู้ ใช้บ ริ การหมอดู ส อบถามหมอดู ในการดูห มอส่ ว นใหญ่ คื อ เรื่อ งการงาน การปรึก ษาโหราจารย์ ด้วยศาสตร์ทางโหรฯตามหลั ก โหราศาสตร์ไทยจักรราศี จานวน ๑๐๑คน (๓๗.๕%) การปรึกษา โหราจารย์ ม ากน้ อ ยแค่ ไ หน (ต่ อ ปี ) ๑–๒ ครั้ ง จ านวน ๑๘๔ คน (๖๘.๔%) สอดคล้ อ งกั บ กัญชัช ศศิธร๗ ความถี่การใช้บริการปีละ ๑ ครั้ง การเลือกปรึ กษาทางโหราศาสตร์จากโหราจารย์ที่ ความรู้ความสามารถ จานวน ๑๙๙ คน (๗๔.๐%) ๕.๒.๒ ข้อมูลระดับความคิดเห็นและความพึงพอใจในคุณสมบัติของโหราจารย์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ มีระดับความคิดเห็นและความพึงพอใจในคุณสมบัติของโหราจารย์ โดยรวม ด้านปัญญา อยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ย ๕๙๒ (๔๘.๔๙%) สอดคล้องกับสุวิจักขณ์ ภนุสรณ์ฐากูร๘ ความคาดหวังที่มีต่อ คุณลักษณะของโหรในการพยากรณ์ ด้านคุณธรรมและปัญญา ๕.๒.๓ ข้อมูลระดับ ความคิดเห็นในแนวทางการปฏิบัติของโหราจารย์ พบว่า กลุ่ ม ตั ว อย่ างมี ร ะดั บ ของความคิ ด เห็ น และความพึ งพอใจแนวทางปฏิ บั ติ ข อง โหราจารย์ ในการปรึ ก ษาทางโหราศาสตร์ ต ามแนวพุ ท ธจิ ต วิ ท ยาเพื่ อ ลดความทุ ก ข์ โดยรวม ด้ า น ปั ญ ญ าภ าวน า อยู่ ใ นระดั บ มาก โดยมี ค่ า เฉลี่ ย ๔ ๓ ๐ (๓ ๘ .๘ ๕ %) สอดคล้ อ งกั บ



ศิรินภาศัพท์, “พุทธศาสนากับโหราศาสตร์ ”, สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต , (บัณ ฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามหิดล), 2551, หน้า 3. ๔ ทานิต โชคธนะศิริ, รัศมน กัลป์ยาศิริ, ภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยงข้องของผู้เข้ารับบริการทาง โหราศาสตร์, วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, ปีที่ 54 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน2552): 173. ๕ เรื่องเดียวกัน, หน้า 173. ๖ พรทิพย์ จงเจิดศักดิ์, “ความน่าเชื่อถือของหมอดูกับความตั้งใจกระทาพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ”, วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๐), หน้า ๒๔๑. ๗ กั ญ ชั ช ศศิ ธ ร, “บทบาทของหมดดู ในสั งคมไทย: กรณี ศึ ก ษาเฉพาะเขต กรุ งเทพมหานคร”, วิท ยานิพนธ์พั ฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิ ต , (บั ณ ฑิตวิท ยาลัย: สถาบันบัณ ฑิ ตพัฒ นบริหารศาสตร์) , ๒๕๔๑, หน้า ๗๙. ๘ สุวิลักษณ์ ภนุสรณ์ฐากูร . “ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อลักษณะของโหร: ศึกษาเฉพาะกรณี ชุมชนชะอา ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรี ”. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔), หน้า บทคัดย่อ.

๒๓๗ แม่ชีพรพิศ ศิริวิสูตร๙ ความสุขสงบและสว่างในการดาเนินชีวิต ที่เรียกได้ว่า เป็นการดาเนินชีวิตอย่าง มีความสุขด้วยการปฏิบัติปัญญาภาวนา ๕.๒.๔ ข้อมูลความคิดเห็นจากการสัมภาษณ์โหราจารย์ ๑. หลักการพื้นฐานตามหลักพุทธจิตวิทยา ใช้หลักอริยสัจ์ ๔๑๐ เป็นหลักความจริงขั้น สุดยอด๑๑ โดยแก้ปัญหา และพัฒนาตามขั้นตอนในกิจในอริยสัจจ์ ๔๑๒ คือ ๑) ปริญญา การกาหนดรู้ เป็นกิจในทุกข์ เพื่อเข้าใจทุกข์ตามสภาพความเป็นจริง เข้าใจขอบเขตของปัญหา ๒) ปหานะ การละ เป็นกิจในสมุทัย คือมีเป้าหมายเพื่อขจัด แก้ไขต้นตอของปัญหา ๓) สัจฉิกิริยา เป็นกิจในนิโรธ คือการ แก้ถึง เพื่อบรรลุสภาพที่ปราศจากปัญหา และ ๔) ภาวนา กิจในมรรค คือการเจริญ ลงมือปฏิบัติ ทาตามวิธีที่จะนาไปสู่จุดมุ่งหมาย หลักพุทธจิตวิทยาก็มีโครงสร้างการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับ หลักอริยสัจจ์ ๔ ที่มีขั้นตอน เป็ น ขั้ น ตอนที่ เริ่ ม จาก ๑๓ การก าหนดวั ต ถุ ป ระสงค์ / เป้ า หมาย (ขั้ น นิ โ รธ) การรวบรวมข้ อ มู ล (ขั้น กาหนดรู้ ปั ญ หา การวิเคราะห์ ปั ญ หา สาเหตุ ปั ญ หา (ขั้ น ปหานะ) การให้ ค าปรึก ษาและการ ประเมินผล (ขั้นสัจฉิกิริยา) หลั กจิตวิทยาก็มีขั้น ตอนพื้ นฐานในการให้ คาปรึกษา เช่นเดียวกับ หลั กพุท ธจิตวิท ยา หลั ก จิ ต วิ ท ยา เพี ย งแต่ ประยุ ก ต์ ห ลั ก จิ ต วิ ท ยาที่ เหมาะสมตามความแตกต่ า งระหว่ า งบุ ค คล ซึ่งโหราจารย์ต้องเลือกให้เหมาะสม เพื่อผสมผสานระหว่างการให้ คาปรึกษาแบบนาทางและ แบบไม่ นาทางเพื่อเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลให้มีความสามารถ ยอมรับ ตรวจสอบวินิจฉัย ปัญหาตนเองได้ ยอมรับความเปลี่ยนแปลงของตนเอง ผู้อื่น และสภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง การกาหนดปัญหา ใช้ข้อมูลโดยอาศัยการโคจรของดวงดาวเป็นหลัก๑๔ ประกอบกับหลักพระพุทธศาสนา๑๕ หลั กโหราศาสตร์ ๑๖ และสถิติจากการมีประสบการณ์ ในการปรึกษามาใช้ประโยชน์ ๑๗ การกาหนดปั ญ หาใช้ข้อมูล โดยอาศัยการโคจรของดวงดาวเป็ นหลั ก ในปัจจุบั นโหราศาสตร์ได้ใช้



พรพิ ศ ศิ ริ วิ สู ต ร, “สติ แ ละวิ ธี ก ารพั ฒ นาเพื่ อ การประยุ ก ต์ ใช้ ในชี วิ ต ประจ าวั น ”, วิ ท ยานิ พ นธ์ ศิลปศาตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๔๕), หน้า ๑๗๘–๑๗๙. ๑๐ ส.ม. (ไทย) ๑๙/๑๖๖๕/๑๕๒๘. ๑๑ พระพรหมคุณ าภรณ์ , พจนานุ กรม ฉบั บประมวลธรรม, (กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๑), หน้า ๒๐๔. ๑๒ ส.ม. (ไทย) ๑๔/๖๖๖/๕๒๙. ๑๓ พงธ์ พั น ธ์ -วิ ไ ลลั ก ษณ์ พงษ์ โ สภา, ทฤฏี แ ละเทคนิ ค การให้ ก ารปรึ ก ษา, พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ ๑, (กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๖), หน้า ๑๔-๑๖. ๑๔ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒, (กรุงเทพมหานคร: นานมีบุคส์, ๒๕๔๖), หน้า ๑๓๗๓. ๑๕ สัมภาษณ์ ภานุมาส คาดการณ์ไกล, หลักการ วิธีการ เป้าหมาย ในการปรึกษาทางโหราศาสตร์, ๑๑ กันยายน ๒๕๕๙. ๑๖ สั ม ภาษณ์ ภิ ญ โญ พงษ์ เจริ ญ , หลั ก การ วิ ธี ก าร เป้ า หมาย ในการปรึ ก ษาทางโหราศาสตร์ , ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๙. ๑๗ อ้างแล้ว.

๒๓๘ ประโยชน์จากวิชาสถิติด้วย ๑๘ โดยประยุกต์ใช้ตามขั้นตอน ตั้งแต่ การตั้งสมมติฐาน วางแผนรวบรวม ข้อมูล การรวบรวมข้อมูล การรายงาน และการทวนสอบ ข้อมูลทางสถิติ ใช้อานาจดวงดาว ดูลักษณะ คน เส้นลายมือ ลายมือเขียน ทานายไพ่ ทานายฝัน การจับสัมผัส ทิพยจักษุ ลางต่าง ๆ และการเสี่ยง ทาย๑๙ ๒.เป้าหมายของการปรึกษาตามหลักพุทธจิตวิทยา มีเป้าหมายให้บุคคลเจริญงอก งาม ในองค์ ป ระกอบ ๔ ประการ ๒๐ ซึ่ งจะน าไปสู่ ก ารพ้ น ทุ ก ข์ ได้ แ ก่ ภาวิ ต กาย การพั ฒ นากาย ภาวิตศีล การพัฒนาพฤติกรรม ภาวิตจิต การฝึกอบรมศักยภาพและคุณภาพจิ ต และภาวิตปัญญา การฝึกอบรมเพื่อให้เข้าใจสิ่งทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ในทางจิตวิทยา มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้รับบริการเป็นบุคคลที่มีประสิทธิภาพ มีศักยภาพ ในการรั บ รู้ คิด แก้ปั ญ หา มี แรงจู งใจซึ่ งจะท าให้ ส ามารถ ยอมรับ ความจริง เปิ ดรับ ประสบการณ์ เชื่อมั่น ในตนเอง ดาเนินชีวิตด้านต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เห็นคุณค่าของตนเอง ใคร่ครวญและ เลือกการดาเนินชีวิตที่เหมาะสม๒๑ ส าหรั บ เป้ า หมายทางโหราศาสตร์ ในปั จ จุ บั น เชื่ อ มโยงระหว่ า งปรั ช ญา ศาสนา และจิตวิทยา และใช้เครื่องมือทางสถิติ ๒๒ เพื่อทาความเข้าใจอุปนิสั ย ศักยภาพ จุดอ่อ นจุดแข็ง๒๓ เพื่อจะพัฒนาศักยภาพและดาเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท ๒๔ และการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ๒๕ ด้านธุรกิจ งานอาชีพ ความรัก สุขภาพ การตัดสินใจ และวิถีชีวิตอื่ นๆทั้งในระดับบุคคลและระดับ สังคม

๑๘

พิไลรัตน์รุจิวณิชย์กุล, “การศึกษาปัญหาสุขภาพจิตของผู้มารับบริการจากหมอดู : ศึกษาเฉพาะกรณี ผู้ ม ารั บ บริ ก ารจากหมอดู ข องสมาคมโหรแห่ งประเทศไทย”, รายงานการวิ จั ย, (คณะสั งคมสงเคราะห์ ศ าสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๒๓), หน้า ๓๑-๓๕. ๑๙ หลวงวิจิตรวาทการ, กาลังความคิด, (กรุงเทพมหานคร: สร้างสรรค์บุ๊ค, ๒๕๔๑), หน้า ๑–๕. ๒๐ คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พุทธวิธีในการสอน Buddha’s Teaching Methods, หน้า ๖๓. ๒๑ วัชรี ทรัพ ย์ มี, ทฤษฎี บ ริก ารปรึก ษา, พิ ม พ์ ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิ ม พ์ จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๗), หน้า ๗๕. ๒๒ กั นยาวี ร์ สั ทธาพงษ์ , คิ ดใหม่ โหราศาสตร์ หลั งนวยุ ค, (กรุ งเทพมหานคร: โรงพิ ม พ์ จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๑), หน้า ๕๐. ๒๓ จักรเทพ ราพึงกิจ, “การศึกษาเชิงวิเคราะห์ทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีต่อโหราศาสตร์ใน ยุค ปั จ จุบั น ”, วิท ยานิ พ นธ์ศ าสนศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต , (บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย : มหาวิท ยาลั ย มหามกุ ฏ ราชวิท ยาลั ย , ๒๕๕๑), หน้า บทคัดย่อ. ๒๔ สั ม ภาษณ์ ภิ ญ โญ พงษ์ เจริ ญ , หลั ก การ วิ ธี ก าร เป้ า หมาย ในการปรึ ก ษาทางโหราศาสตร์ , ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๙. ๒๕ กันยาวีร์ สัทธาพงษ์, คิดใหม่โหราศาสตร์หลังนวยุค, หน้า ๕๐.

๒๓๙ ๓.วิธีแก้ปัญหาและพัฒนา กระบวนการให้คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธ จิตวิทยา มุ่งเน้นให้บุคคลพึ่งตนเองได้ โดยการมีทัศนคติที่ถูกต้อง โดยการอาศัยปัญญา ซึ่งปัญญาจะ เกิ ด ขึ้ น ได้ ๒๖ ก็ ขึ้ น อยู่ กั บ ๒ ตั ว แปรคื อ ปรโตโฆสะ และโยนิ โสมนสิ ก าร กล่ า วคื อ การที่ บุ ค คลมี กัลยาณมิตรที่ดี ผู้รับคาปรึกษาให้ การปรึกษาที่ดี และผู้รับคาปรึกษาทางโหราศาสตร์มีสัมมาทิฏ ฐิ คุณสมบัติทั้งทางจิตวิทยา และโหราจารย์ มีครอบคลุมปรากฏในหลักกัลยาณมิตรธรรม๗๒๗ ได้แก่เป็น ที่สบายใจ (ปิโย) น่าเคารพ (ครุ) น่าเจริญใจ (ภาวนีโย) รู้จักชี้แจงเหตุผล (วตฺตา จ) อดทนต่อถ้อยคา ในกระบวนการปรึกษา (วจนกฺขโม) อธิบายชี้แจงเรื่องยุ่งยากได้ (คมฺภีรญฺจ กถ กตฺตา) และไม่แนะนา ไปในทางเสื่อม (โน จฏฐาเน นิโยชเย) ส่วนคุณสมบัติของผู้รับคาปรึกษาคือการทาในใจให้ละเอียดถี่ ถ้วน คิดพิจารณาอย่างรอบคอบ ซึ่งพัฒนาตามลาดับจากผู้ให้คาปรึกษาประมวลได้คือ โยนิโสมนสิการ ๑๐ แบบ๒๘ ๑) วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย ๒) วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ ๓) วิธีคิดแบบสามัญ ลักษณ์ ๔) วิธีคิดแบบอริยสัจ/คิดแบบแก้ปัญหา ๕) วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ ๖) วิธีคิดแบบเห็น คุณโทษและทางออก ๗) วิธีคิดแบบรู้คุณค่าแท้-คุณค่าเทียม ๘) วิธีคิดแบบเร้ากุศล ๙) วิธีคิดแบบอยู่ กับปัจจุบัน ๑๐) วิธีคิดแบบวิภัชชวาท การใช้ความคิดถูกวิธีนี้ จะช่วยให้มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิด พิจารณาสืบค้นถึงต้นของความทุกข์ สาวหาเหตุผลจนตลอดสายแยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่ คิดเป็นระเบียบและโดย อุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์ แห่งเหตุปัจจัย

๕.๓ ข้อเสนอแนะ ๕.๓.๑ ข้อเสนอแนะ จากการวิจัยเพื่อนาไปใช้ประโยชน์ ๑) การปรึ ก ษาทางโหราศาสตร์ ต ามแนวพุ ท ธจิ ต วิ ท ยาเพื่ อ ลดความทุ ก ข์ ให้ความสาคัญที่ตัวบุคคล โดยสนับสนุนให้ผู้รับบริการ เปิดรับประสบการณ์(ทุกข์) ประเมินตนเองอย่า ถ่องแท้ ค้ น หาสาเหตุทุ ก ข์ตามความเป็ น จริง(สมุทั ย) เชื่ อมั่ นและเต็ มใจที่ จะพั ฒ นาตัว เอง(นิ โรธ) เพื่อที่จะสามารถเผชิญปัญหาปัจจุบันและอนาคต(มรรค) โดยผู้ให้บริการปรึกษาจะต้องเป็นบุคคลที่มี กัลยาณมิตร ใส่ใจ เข้าใจเรื่องราวและความรู้สึกนึกคิดของผู้รับบริการและยอมรับความแตกต่างของ ผู้รับคาปรึกษา สั มพันธภาพระหว่างผู้ให้บริการกับ ผู้รับบริการโดยสัมมาทิฐิของผู้ให้บริการปรึกษา มีความสาคัญมากกว่าเทคนิคใดๆ ผู้มาขอรับคาปรึกษามีความทุกข์อันเนื่องมาจากการดาเนินชีวิตไม่ ราบรื่น มีอุปสรรคในด้านต่างๆ ส่วนมากมักเป็นผู้ที่อยู่ในวัยทางานที่ประสบปัญหา ได้ไปขอคาปรึกษา ชี้แนะจากผู้ที่มีความรู้ด้านโหราศาสตร์เพื่อให้ชีวิตดีขึ้นผ่านพ้นปัญหาอุปสรรคนาๆประการได้ นั่นเป็น การช่ ว ยเหลื อ ด้ า นก าลั ง ใจ แต่ อี ก ส่ ว นหนึ่ ง นั้ น คื อ การเปลี่ ย นแปลงพฤติ ก รรมของตนเอง คือหลักการพึ่งตนเองจึงเน้นไปที่ความพากเพียรพยายามกระทาด้วยตนเอง

๒๖

พระธรรมปิ ฎ ก (ป.อ. ปยุ ตฺ โต), พระพุ ท ธศาสนาพั ฒ นาคนและสั ง คม, (กรุ งเทพมหานคร: โรงพิมพ์ท้องถิ่น, ๒๕๔๐), หน้า ๙-๑๙. ๒๗ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโฺ ต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, หน้า ๕๗. ๒๘ พระพรหมคุ ณ าภรณ์ (ป.อ. ปยุ ตฺ โ ต), พุ ทธธรรม ฉบั บ ปรั บ ขยาย , พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ ๓๒ , (กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ผลิธัมม์ , ๒๕๕๕), หน้า ๖๒๗.

๒๔๐ ๒) แม้ว่าสังคมไทยให้ความสนใจในทางโหราศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตามชาวพุทธก็ยังมี พื้ น ฐานจิ ต ใจที่ เชื่ อ ในหลั ก ธรรมในพระพุ ท ธศาสนา เพราะฉะนั้ น ผู้ ที่ มี ค วามเกี่ ย วข้ อ งกั บ การให้ คาปรึกษาทางโหราศาสตร์ ควรจะบูรณาการหลักพุทธธรรมและหลักจิตวิทยาเข้ากับการให้คาปรึกษา ทางโหราศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ ของการให้การปรึกษาที่มีผลทางจิตวิทยา เป็นลักษณะ พิเศษในสังคมไทย ๓) โหราจารย์รุ่นใหม่ และพระภิกษุในพุทธศาสนา ควรใช้กุศโลบายทางโหราศาสตร์ ที่สังคมไทยมีความสนใจมาเป็นประโยชน์ ในการเผยแพร่หลักพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ ผู้ที่มีอุปนิสัยโน้มเอียงไปในทางศรัทธาจริต เพื่อที่จะจูงใจให้เข้าสู่ความเข้าใจหลักคาสอนพุทธศาสนา ที่เป็นแก่นสาระอย่างแท้จริงตามลาดับ ๕.๓.๒ ข้อเสนอแนะ สาหรับการวิจัยครั้งต่อไป จากการศึกษาวิจั ยครั้งนี้ ทาให้ เกิดประเด็นที่น่าสนใจขึ้นมากมาย มีอีกหลายประเด็น ปัญหา ที่น่าสนใจศึกษาเชิงลึกต่อไป ประเด็นที่น่าสนใจเหล่านี้ได้แก่ ๑) การปรึกษาทางโหราศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อของชาวพุทธไทย กรณีศึกษาผู้ ขอคาปรึกษาทางโหราศาสตร์ในทุกภาคของประเทศ ตลอดจนวิเคราะห์ความแตกต่างของแรงจูงใจใน การเปลี่ยนชื่อของชาวพุทธไทยทุกภาคของประเทศไทย ๒) การศึกษาเรื่องบุคลิกภาพตามวันเกิดทางโหราศาสตร์กับบุคลิกภาพทางในพุทธ ศาสนาของชาวพุทธไทย ๓) การศึกษาความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์ไทยที่มีผลต่อการตัดสินใจเรื่องสาคัญในชีวิต ของชาวพุทธไทย ในกรุงเทพมหานคร ๔) การศึกษาเรื่อง การทานายความฝันทางโหราศาสตร์กับความฝันทางพุทธศาสนา

๒๔๑

บรรณานุกรม ๑. ภาษาไทย ก. เอกสารชั้นปฐมภูมิ (Primary Sources) มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙. ข. เอกสารชั้นทุติยภูมิ (Secondary Sources) (๑) หนังสือ : กรหริศ บัวสรวง. ไพ่ยิปซีชั้นสูงระบบการะแสจิต. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ ซี.พี บุ๊สแตนดาร์ด, ๒๕๔๗. เกสรีกาญจน์ จิตรโสภี. ศาสตร์แห่งลายมือ. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน, ๒๕๕๗. ขุนทอง อสุนี ณ อยุธยา. วิธีดูหมอไพ่ยิปซี. กรุงเทพมหานคร: วิศวนาถการพิมพ์, ๒๕๓๕. คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พุทธวิธีในการสอน Buddha’s Teaching Methods. พิมพ์ครั้งที่ ๒. พระนครศรีอยุธยา: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๙. จ.บุนนาค. ตาราดูลายมือของไคโร. กรุงเทพมหานคร. นวชาตการพิมพ์, ๒๕๑๑. จุฑามาศ ณ สงขลา. ทายใจรักจากไพ่ยิบซี. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ฤกษ์งามยามดี, ๒๕๓๙. จาเนียร ช่วงโชติ. การบริการปรึกษาและแนะแนวเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง, ๒๕๓๔. จรัญ พิกุล. โหรา-หัตถศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เฟื่องอักษร, ๒๕๐๙. ชินแส ไป่หยุน ชานเหยิน. หัตถลักษณ์ศาสตร์ฉบับวิธีดูลายมือแบบกูรู. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์เต๋าประยุกต์, ๒๕๕๐. เทพย์ สาริกบุตร. โหราศาสตร์ปริทรรศน์ ภาค ๑. กรุงเทพมหานคร: เกษมบรรณกิจ, ๒๕๑๑. ธนกร สินเกษม. ไพ่ยิปซี TAROT. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อินเตอร์พริ้นท์คอร์ปอเรชั่น จากัด, ๒๕๓๗. นภัทร์ แก้วนาค. เอกสารประกอบการสอน. เรื่องเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์อักษรวัฒนา, ๒๕๔๘. นรวิชญ์ ลัคนานนท์. ไพ่ยิปซีวาไรตี้. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอัมรินพริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จากัด. มหาชน, ๒๕๔๘. บุณย์ นิลเกษ. เรียบเรียง. คัมภีร์มิลินทปัญหาสาหรับประชาชน. เชียงใหม่: สานักพิมพ์บุณยนิธี. เล่มที่ ๕, ๒๕๔๐. ประภาพร เลาหรัตนเวทย์. โหร.โหราฯ เบื้องต้นเล่ม๑. ลาปาง: จิตวัฒนาการพิมพ์, ๒๕๔๐. ประจวบ แก่นจันทร์. ลายมือและกติกาของชีวิต. ม.ป.ป., ๒๕๔๓. ประพันธ์ เตละกุล. ดาราศาสตร์และอวกาศ. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๔๓.

๒๔๒ ดวงเดือน จันทร์เจริญ. ศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง, ๒๕๔๑. พ.รัตนลักข์. ปรียญ ๙. มหาศาสดาชี้มหันตภัยล้างโลก. พิมพ์ครั้งที่ ๒. นนทบุรี: ซีแอนด์เอ็น, ๒๕๕๕. พงษ์พันธ์–วิไลลักษณ์ พงษ์โสภา. ทฤษฎีและเทคนิคการให้บริการปรึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๖. พรสุข เพ็งมณี. ลายมือพื้นฐาน. เอกสารประกอบการสอนสมาคมโหรนานาชาติ, ๒๕๔๗. พลูหลวง. พื้นฐานของโหราศาสตร์ (ความมหัศจรรย์ของตัวเลข). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ เฟื่องอักษร, ๒๕๑๖. พระเทพวิสุทธิกวี. จิตวิทยาในพระอภิธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓. พุทธทาสภิกขุ. พุทธศาสตร์กับไสยศาสตร์ โหราศาสตร์กับพุทธศาสนา ปาฐกถาธรรมของ ท่านพุทธทาสภิกขุ. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ, ๒๕๒๙. พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยฺตโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๑๒. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖. . พุทธวิธีในการสอน. พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม , ๒๕๔๗. . พุทธวิธีในการสอน. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม, ๒๕๔๑. . พุทธวิธีในการสอน. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม, ๒๕๔๖. . พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ส่วน ท้องถิ่น กรมการปกครอง, ๒๕๔๐. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยฺตโต). จากจิตวิทยาสู่จิตภาวนา. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัทสหธรรมิก จากัด, ๒๕๕๓. . พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๔. กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์, ๒๕๕๓. . พุทธธรรมฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ ๓๒. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ผลิธัมม์, ๒๕๕๕. พระเทพเวที (ป.อ. ปยุตฺโต). ชวนคิด พินิจธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๔. พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์ (สมาน กลฺยาณธมฺโม/พรหมอยู่). พระพุทธประวัติตามแนวปฐมสมโพธิ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จากัด, ๒๕๔๔. เทพ สาริกบุตร. โหราศาสตร์ปริทรรศน์. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนการพิมพ์, ๒๕๑๑. ธีวัฒน์ เชาว์ชัยพัฒน์. ชีวิตกับตัวเลข. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสานักพิมพ์ดวงกมล ๒๕๒๐ จากัด, ๒๕๔๖. ภาณุวังโส. เกินกว่าฟรอยด์จะจิตนาการ. กรุงเทพมหานคร: มายแบ็งค็อก, ๒๕๔๙. ม.ร.ว.สมพร สุทัศนีย์. การทดสอบทางจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๔.

๒๔๓ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่น, ๒๕๔๖. รัศมี สร้อยวัฒนา. ศิลปะการศึกษาลิขิตบนฝ่ามือ. เอกสารประกอบการบรรยาย คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๓๔. วศิน อินทสระ. พุทธวิธีในการสอน. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เม็ดทราย, ๒๕๔๕. วัชรี ทรัพย์มี. ทฤษฎีให้บริการปรึกษา. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๔. วิไลลักษณ์ พงษ์โสภา และพงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. ทฤษฎีและเทคนิคการให้บริการปรึกษา. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๕๖. ศ. ดุสิต. มือบอกชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. กรุงเทพมหานคร: มติชน, ๒๕๔๙. โสรีช์ โพธิแก้ว. การประยุกต์อริยสัจ ๔ ของพระพุทธศาสนากับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตรักษา. รายงานวิจัยเอกสาร. สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๓. สานักนายกรัฐมนตรี. พจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. ๒๕๓๐. พิมพ์ครั้งที่ ๑๑. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช, ๒๕๓๔. สิงห์โต สุริยาอารักษ์. โหราศาสตร์ไทย เรียนด้วยตัวเองเล่มเดียวจบ. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร: ดวงดี การพิมพ์, ๒๕๒๖. สมลักษณ์ สว่างโรจน์. วิธีอ่านไพ่ทาโรต์. กรุงเทพมหานคร: รุ่งแสดงการพิมพ์, ๒๕๓๘. สมบัติ รูปประดิษฐ์. แนะนาปัญหาบนฝ่ามือ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. สมุทรสาคร: โรงพิมพ์ยูไนเต็ทโปรดักชั่น, ๒๕๔๙. สุชีพ บุญญานุภาพ. คุณลักษณะพิเศษแห่งพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๓๓. สมบัติ รูปประดิษฐ์. แนะนาปัญหาฝ่ามือ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. สมุทรสาคร: โรงพิมพ์ยูไนเต็ดโปรดักชั่น, ๒๕๔๙. หลวงวิจิตรวาทการ. กาลังความคิด. กรุงเทพมหานคร: สร้างสรรค์บุ๊ค, ๒๕๔๑. โอฬาร เพียรธรรม. ตามหาความจริง วิทยาศาสตร์กับพุทธธรรม ศาสตร์ที่เป็นคนละเรื่องเดียวกัน. กรุงเทพมหานคร: ธรรมดา, ๒๕๔๙. (๒)บทความ : ชมพูนุช ศรีจันทร์นิล. จิตวิทยาแนวพุทธ: แนวทางเพื่อการเยียวยาและพัฒนาจิตใจมนุษย์. วารสารวิชาการ. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. ปีที่ ๒๙ ฉบับที่ ๔ เดือนตุลาคม – ธันวาคม, ๒๕๕๒. พิไลรัตน์ รุจิวณิชย์กุล. “การศึกษาปัญหาสุขภาพจิตของผู้มารับบริการจากหมอดู: ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ มารับบริการจากหมอดูของสมาคมโหรแห่งประเทศไทย”. รายงานการวิจัย. คณะสังคม สงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๒๓.

๒๔๔ รัศมี สร้อยวัฒนา. ศิลปะการศึกษาลิขิตบนฝ่ามือ. เอกสารประกอบการบรรยาย คณะประมง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๔๓. (๓) วิทยานิพนธ์ : กฤติกาวลัย หิรัญสิ. “ศึกษาความสอดคล้องของหลักการพยากรณ์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาและ วิชาโหราศาสตร์ไทย”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔. จักรเทพ ราพึงกิจ. “การศึกษาเชิงวิเคราะห์ทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีต่อโหราศาสตร์ในยุค ปัจจุบัน”. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๕๑. ฌญกร เขียวลงยา. “แรงจูงใจและความเข้าใจในชีวิตของผู้ขอคาปรึกษาทางโหราศาสตร์ในสมาคม โหรแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๕๕. ณฤดี วิวัชภูรี. “ศึกษาพฤติกรรมความเชื่อของชาวพุทธที่สนใจโหราศาสตร์ที่มีต่อหลักโหราศาสตร์ และหลักศรัทธา ๔”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔. ณัชชา ชินธิป. “โหราศาสตร์กับการตัดสินใจทางธุรกิจ”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, ๒๕๔๘. ณัฐ ธรรมชาติ. “อิทธิพลของโหราศาสตร์ที่มีต่อการตัดสินใจในเรื่องที่สาคัญของนักศึกษามหาวิทยาลัย: กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา”. วิทยานิพนธ์ ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๘. ตะวัน วาทะกิจ. “การพัฒนากรอบมโนทัศน์และมาตรวัดความทุกข์ในนิสิตนักศึกษา”. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาจิตวิทยา. คณะจิตวิทยา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๖. พระมหาประศักดิ์ อคฺคปญฺโญ (ชั่งแสง). “ความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์กับกฎแห่งกรรมของชาวพุทธไทย”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑. พระมหาธานินทร์ ฐิติวีโร (อินทวี). “การศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน ปลาย ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนสามัญศึกษา: ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนในจังหวัด ศรีสะเกษ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕. พระจะจู ญาณวิชโย(รักษาป่า). การศึกษาวิเคราะห์ความเป็นกัลยาณมิตรของพระสารีบุตรเถระ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔.

๒๔๕ พระวิชัย วิชโย (แสงสว่าง). “ศึกษาการบูรณาการหลักอริยสัจ ๔ ในการให้คาปรึกษา”. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๕๓. พระสุพรชัย อานนฺโท (นครพันธ์). “ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องทุกข์ในพุทธปรัญาเถรวาทกับ แนวคิดทุกขนิยมของโชเป็นเฮาเออร์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔. พรทิพย์ จงเจริญศักดิ์. “ความเชื่อถือของหมอดูกับความตั้งใจกระทาพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ”. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๐. ภิญโญ พงศ์เจริญ. “บทบาทของโหรในสังคมไทย”. สารนิพนธ์ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. คณะพัฒนาสังคม: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ๒๕๔๓. ยลดา มณเฑียรมณี. “หมอดู: ทางเลือกความมั่นคงของจิต”. วิทยานิพนธ์สงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๑. ศิริชัย ทรวงแสวง. “ความเชื่อในเรื่องโหราศาสตร์กับพฤติกรรมการดาเนินธุรกิจกรณีศึกษากลุ่มนัก ธุรกิจของหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่”.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : หาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๔๘. ศิรินญา นภาศัพท์. “พุทธศาสนากับโหราศาสตร์”. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามหิดล, ๒๕๕๑. สาคร สังฆะณา. ศึกษาการพยากรณ์กับการให้คาปรึกษาเชิงพุทธเพื่อบาบัดความเครียดของผู้มารับ บริการจากสมาคมโหรภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๕๗. สมใจ ตันติวัฒน์. การศึกษาวิเคราะห์เทคนิคการให้คาปรึกษาด้วยพุทธวิธีสาหรับนักเรียน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ ราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔. สุวิลักษณ์ ภนุสรณ์ฐากูร. “ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อลักษณะของโหร: ศึกษาเฉพาะกรณี ชุมชนชะอา ตาบลชะอา อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรี”. วิทยานิพนธ์ศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔. (๔) สื่ออิเลคทรอนิคน์ : นคร กุญแจทอง (อ.เบิร์ด โหรสิบทิศ). Astrostory: ประวัติโหราศาสตร์ และวิวัฒนาการ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: uranian.igetweb.com [๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๐]. บรรจบ บรรณรุจิ. พุทธศาสตร์สมัยใหม่: พระพุทธศาสนากับโหราศาสตร์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: kengkkoo.blogspot.com/2013/03/blog-post_709.html. [๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๙]. ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศาสนติ์. จิตวิทยาแนวพุทธ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : www.dmh.go.th/news/view.asp? [๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๙].

๒๔๖ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. กรุงเทพมหานคร.[ออนไลน์]. แหล่งที่มา: th.wikipedia.org/wiki [๑๕ มีนาคม ๒๕๖๐]. วิกพิ ีเดีย สารานุกรมเสรี. จักรราศี. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: th.wikipedia.org/wiki [๑๙ มีนาคม ๒๕๕๙]. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ทุกข์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: th.wikipedia.org/wiki [๑๕ มีนาคม ๒๕๕๙]. ศรีสารภี. วิชาการคอม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: vcharkarn.com [๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๐].

๒. ภาษาอังกฤษ Anthony Philip Stone. Hindu Astrology : Myths. Symbols and Realities. India : Select Books. 1981. Burke.H. M.Jr.. & Steffre.Theories of Counseling. 3rded. Chicago: Kand Mcnally College publishing Coun.1975. Burks. H.M.. & Stefflre B. Theories of counseling (3rd ed.). New York: Mc Graw-Hill. 1979. Benson Bobrick. The Fated Sky : Astrology in History. USA : Simon & Schuster Paperbacks. 2005. B.V. Raman. Planetary Influences on Human Affairs. Bangalore : IBH Prakashana. 1980. English H.B. & English A.C . A comprehensive dictionary of psychological and psychiatric terms. New York: John Wiley & Sons. inc. 1963. Fred Gettings. The Book of Palrniistry.London : The Hamlyn Publishing Group Limited. 1974. Good. C.V. Dictionary of Education. 3th ed. New York: McGraw-Hill. 1945. George. R.L. & Cristiani. T.S. Counseling : theory. and practice (3 rd. ed.). New Jersey: Prentice-Hall Inc. . 1990. Ivey. A. E.. D’ Andrea. M.. Ivey. M.B. & Simik-Morgan. L. Theories of counseling and psychotherapy. A multicultural perspective (6 th. ed.). Boston: Prarson Education. Inc.. 2007. Krumboltz. J.D. & Thoresen. C.E. Behavioral counseling; Case and techniques. New York: Holt. Ninehart & Winston. Inc. 1969. Morgan. C.T.. Introduction to Psychology. New York : McGraw-Hill Book. 1901. Matlin. M.W.. Psychology. (.S.A: Halt. Rinchart and Winston.Inc. 1992. Patterson. C.H. Theories of counseling and psychotherapy. 2nd ed. New York: Harper & Row. Publisher. .1973. Pietrofesa. J.L. Counseling: theory. research and practice. Chicago: Rand McNally College. Publishing Co. .1978.

๒๔๗ Pepinsky. H.B. & Pepinsky. P. Counseling theory and practice. New York: Ronald Press. 1954. Rogers. Carl R.. On becoming a person. Boston: Houghton Mifflin Company.1961. R.C. Majumdar. Ancient India. India : Motilal Banarsidass. 1977. Sherman and Bohlander. Managing Human Resource. 1996. PP. 561 -563. Stephen Arroyo. Astrology. Psychology and the Four Elements. USA : CRCS Publications. 1975. See Cart Gustav Jung. An Casement. UK : SAGE Publications. 2001. Truax. c.b. & Carkhuff. R.R. Toward effective counseling and psychotherapy. Chicago: Aldine. 1967. Tyler. L.E. The work of the counselor. 3rd ed. New York: Appleton Century Crofts. 1969. Webster’s New World Dictionary. New York : Prentice Hall. 1994. Williamson. E.G. Counseling and adolescents. New York: McGraw-Hill. 1950. Wolberg. L.R. The technique of psychotherapy. 2thed. New York: Grune & Stratton. 1967. Webster’s New World Dictionary. New York : Prentice Hall. 1994.

๒๔๘

ภาคผนวก ก รายนามผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือทีใ่ ช้ในงานวิจัย

๒๔๙

รายนามผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือทีใ่ ช้ในงานวิจัย ผศ. ดร.อำนำจ ตั้งเจริญชัย รศ.ประสิทธิศักดิ์ ศิริจำรุภัทร ผศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง รศ. ดร.เมธำวี อุดมธรรมำนุภำพ ดร.กฤติกำวัย หิรัญสิ

อำจำรย์ประจำคณะครุศำสตร์อุตสำหกรรมสถำบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้ำเจ้ำคุณทหำรลำดกระบัง รักษำกำรคณะบดีวิทยำลัย กำรบริหำรและกำรจัดกำร สถำบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้ำเจ้ำคุณทหำรลำดกระบัง อำจำรย์ประจำภำควิชำจิตวิทยำ คณะมนุษยศำสตร์ มหำวิทยำลัยมหำจุฬำลงกรณรำชวิทยำลัย อำจำรย์ประจำภำควิชำจิตวิทยำ คณะมนุษยศำสตร์ มหำวิทยำลัยมหำจุฬำลงกรณรำชวิทยำลัย ผู้อำนวยกำร สถำบันโหรำศำสตร์ไทย –สำกล พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

๒๕๐

ภาคผนวก ข แบบสอบถามการวิจัย

๒๕๑

แบบสอบถาม แบบสอบถามนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทาวิทยานิพนธ์ ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิช าพุ ท ธจิ ต วิท ยา บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย มหาจุ ฬ าลงกรณราชวิท ยาลั ย เรื่ อง “การปรึก ษาทาง โหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์” แบบสอบถามชุดนี้มีทั้งหมด ๔ ตอน คือ ๑. แบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไป ๒. แบบสอบถาม เกี่ยวกับคุณสมบัติของโหราจารย์ที่ท่านคาดหวังที่สุด ๓. แบบสอบถาม เกี่ยวกับการให้คาปรึกษาหรือการให้แนวทางปฏิบัติของโหราจารย์ ๔. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ตอนที่ ๑ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล เกี่ยวข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม คาชี้แจง กรุณากาเครื่องหมาย  ลงในช่อง ( ) ที่เป็นจริง ข้อคาถาม

สาหรับผู้วิจัย

๑. เพศ ๑ ( ) ชาย ๓ ( ) เพศที่ ๓

๒ ( ) หญิง

๒. อายุ ๑ ( ) ต่ากว่า ๒๐ ปี ๒ ( ) อายุระหว่าง ๒๐ – ๓๐ ปี ๓ ( ) อายุระหว่าง ๓๑ – ๔๐ ปี ๔ ( ) อายุระหว่าง ๔๑ – ๕๐ ปี ๔ ( ) อายุมากกว่า ๕๐ ปีขึ้นไป ๔. ระดับการศึกษา ๑ ( ) ต่ากว่าชั้นมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ๒ ( ) อนุปริญญา ๓ ( ) ปริญญาตรี ๔ ( ) ปริญญาโท ๕ ( ) ปริญญาอก ๔. อาชีพ ๑ ( ) ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ๒ ( ) นักธุรกิจ ๓ ( ) ค้าขาย ๔ ( ) นักเรียน/ นักศึกษา ๕ ( ) แม่บ้าน/ พ่อบ้าน

๒๕๒ ข้อคาถาม ๕. สถานภาพสมรส ๑ ( ) สมรส ๓ ( ) หม้าย ๖. กิจกรรมทางศาสนาที่ปฏิบัติบ่อยที่สุด ๑ ( ) ทาบุญให้ทาน ๓ ( ) รักษาศีล ๕ ( ) นั่งสมาธิ

สาหรับผู้วิจัย ๒ ( ) โสด ๔ ( ) หย่าร้าง ๒ ( ) ไหว้พระ/สวดมนต์ ๔ ( ) ฟังธรรม/อ่านหนังสือธรรมะ

๗. ปัญหาที่มาปรึกษาโหราจารย์มากที่สุด (เลือก๑ข้อ) ๑ ( ) ความรัก/ครอบครัว ๒ ( ) การงาน ๓ ( ) การเงิน ๔ ( ) การเรียน/การศึกษา ๕ ( ) สุขภาพ ๘. ท่านปรึกษาโหราจารย์ ด้วยศาสตร์ทางโหรฯแบบ ๑ ( ) โหราศาสตร์ไทยจักรราศี ๒ ( ) เลขศาสตร์ ๓ ( ) ลายมือ ๔ ( ) ไพ่ยิปซี ๕ ( ) อื่นๆ โปรดระบุ............................................................... ๙. ท่านปรึกษาโหราจารย์มากน้อยแค่ไหน (ต่อปี ) ๑ ( ) ๑ – ๒ ครั้ง ๒ ( ) ๓ – ๕ ครั้ง ๓.( ) ๖ – ๑๐ ครั้ง ๔ ( ) มากกว่า ๑๐ ครั้ง ๑๐. ท่านเลือกปรึกษาทางโหราศาสตร์จากโหราจารย์ที่ ๑ ( ) อายุ ๒ ( ) ความมีชื่อเสียง ๓.( ) บุคลิกลักษณะ ๔ ( ) ความรู้ความสามารถ

๒๕๓

ตอนที่ ๒. แบบสอบถาม เกี่ยวกับคุณสมบัติของโหราจารย์ที่ท่านคาดหวังทีส่ ุด ท่านกรุณาแสดงความคิดตามความเป็นจริง ด้วยการทาเครื่องหมาย หน้าหมายเลข ข้อความ กรุณาตอบให้ครบทุกตอนและ ในแต่ละตอน เลือกคาตอบได้ไม่เกิน ๕ คาตอบ ๑

รักษาความลับของผู้มาขอ คาปรึกษา ไม่ทานายร้ายแรง

๑๖ ไม่ทานายส่งเดช

๑๘ ไม่ทานายดวงบ้านเมือง



ไม่บริภาษ (คากล่าวติเตียน, กล่าวโทษ)ผู้มาขอคาปรึกษา ไม่ใช้คาหยาบ



ชี้ช่องทางแก้ปัญหา



ไม่ดูถูกโหรคนอื่น

๒๐ ควรปลอบประโลมผู้มาขอ คาปรึกษา ๒๑ ไม่บิดเบือนคาทานาย



ไม่เหยียดหยามครูอาจารย์โหรอื่น

๒๒ รู้จักถ่อมตน



ยกย่องความดีของโหรอื่น

๒๓ รู้จริงในเรื่องที่ทานาย



ประพฤติอยู่ในคุณธรรม/จริยธรรม

๒๔ ไม่เอาแต่ความเห็นของตน

๒ ๓

๑๗ ไม่เห็นแก่ลาภสักการะ

๑๙ ไม่สนับสนุนมิจฉาชีพ

๑๐ ให้ความสนใจผู้มาขอคาปรึกษา

๒๕ สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

๑๑ แต่งตัวดีสะอาดเรียบร้อย

๒๖ ใจเย็น

๑๒ ไม่เที่ยวอบายมุข

๒๗ อารมณ์ดี

๑๓ ไม่อคติกับผู้มาขอคาปรึกษา

๒๘ จริงจังน่าเชื่อถือ

๑๔ ใคร่ครวญละเอียดก่อนทานาย

๒๙ ทันสมัย

๑๕ ดีก็บอกว่าดี/ร้ายก็บอกว่าร้าย

๓๐ มีชื่อเสียง

๒๕๔ ตอนที่ ๓. แบบสอบถาม เกี่ยวกับการให้คาปรึกษาหรือการให้แนวทางปฏิบัติของโหราจารย์ ท่านกรุณาแสดงความคิดตามความเป็นจริง ด้วยการทาเครื่องหมาย  หน้าหมายเลข ข้อความ เลือกคาตอบได้ไม่เกิน ๕ คาตอบ ๑

ปลอบใจ/ให้กาลังใจ

๑๖ ให้ไปหาโหรคนอื่น



ให้อดทน

๑๗ ให้รักษาศีล



ให้รอบคอบในปัญหา

๑๘ ให้บวช



ให้ปรึกษาพระ



ให้นั่งสมาธิ

๑๙ ให้ปรึกษาผู้อื่น (นักจิตวิทยา ,พระ,ตารวจ ฯลฯ) ๒๐ ให้เวลาจัดการกับปัญหา



ให้ทาบุญ/ให้ทาน

๒๑ ให้สร้างพระ/สิ่งบูชา



ให้สะเดาะเคราะห์

๒๒ ชี้ให้เห็นว่าไม่เป็นปัญหา



ให้พิจารณาไตร่ตรอง

๒๓ ให้รู้จักปลง



ให้ใช้เหตุผล

๒๔ ให้ยอมรับกรรม

๑๐ ให้แก้ดวง ตามวันเกิด

๒๕ ให้ฟังเพลง/บันเทิงต่างๆ

๑๑ ให้อ่านหนังสือธรรมะ

๒๖ ให้ไปหาหมอ/ทานยา

๑๒ ให้ฟังธรรมะ

๒๗ ให้ยอมรับตนเอง

๑๓ แก้ปัญหาให้ตามโหร

๒๘ ให้ไปพรมน้ามนต์

๑๔ ให้มีสติสัมปชัญญะ

๒๙ ให้แสวงบุญ

๑๕ ให้กลับไปแก้ที่ตัวปัญหา

๓๐ ให้ตัดสินใจให้แตกหัก/ชัดเจน

๒๕๕

ตอนที่ ๔ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม โปรดแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ๑. ท่านต้องการให้โหรมีคุณลักษณะสาคัญใดเป็นพิเศษ ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ๒. ท่านคิดว่าโหรควรประยุกต์หลักธรรมใดประกอบการทานาย ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ๓. ความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์ ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................  ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม ณฐณัช แก้วผลึก : ผู้วิจัย

๒๕๖

เครื่องมือทีใ่ ช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วยการวิจัย ตามหลักสูตรพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตรวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

เรื่อง : การปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์.....................................................................ตาแหน่ง................................................. ผู้ สั ม ภาษณ์ : ผู้ วิ จั ย ..................................................................บั น ทึ ก ข้ อ มู ล : ผู้ วิ จั ย (จดบั น ทึ ก ,บันทึกเสียง) สถานที่สัมภาษณ์.....................................................วันที่/เดือน/ปี.............................เวลา.................น.

แบบสัมภาษณ์ ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนว พุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการสร้างรูปแบบการปรึกษาทางหรา ศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ แนวคาถามในการสัมภาษณ์มีประเด็นหลักคือ ๑..หลักการ การปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ด้านหลักวิชาการทางโหราศาสตร์ที่ใช้ในการให้การปรึกษา เช่น เลขศาสตร์ โหราศาสตร์ ไทยจักรราศี ไพ่ยิปซีและหัตถ์ศาสตร์ลายมือ ๒. พัฒนาการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ด้านประยุกต์หลักวิชาการทางโหราศาสตร์ที่ใช้ในการให้ การปรึกษากับหลักธรรมทาง พุทธศาสนาเพื่อการแก้ปัญหาให้กับผู้มีความทุกข์ ๓. รูปแบบการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ ด้านวิธีการ ขั้ นตอนในการปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความ ทุกข์ให้แก่ผู้มารับคาปรึกษา ๔. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

ประเด็นคาถามในการสัมภาษณ์โหราจารย์ ๑. ท่านใช้หลักทางโหราศาสตร์ในการให้คาปรึกษาด้านใด ๒. หลักการเหตุผลในการให้คาปรึกษาของท่านคืออะไร ๓. เป้าหมายในการให้คาปรึกษาในเบื้องต้นของท่านคืออะไร ๔. วิธีการในการให้คาปรึกษาของท่านคืออะไร ๕. หลักธรรมที่ผู้ให้คาปรึกษาประยุกต์ใช้คืออะไร

๒๕๗

ภาคผนวก ค หนังสือออกถึงบุคคล/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 79 หมู่ 1 ตาบลลาไทร อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ 035-248000-5 โทรสาร 035-248034

ที่ ศธ ๖๑๐๔.๔/๖

www.mcu.ac.th

16 สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง เจริญพร

ขอเรียนเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือวิจัย รศ.ประสิทธิศักดิ์ สิริจารุพัฒน์

ด้ ว ย นางณฐณั ช แก้ ว ผลึ ก นิ สิ ต หลั ก สู ต รพุ ท ธศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าพุ ท ธจิ ต วิ ท ยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับอนุมัติให้ทาดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ : BUDDHIST PSYCHOLOGICAL COUNSELLING FOR SUFFERING REDUCTION IN ASTROLOGY. การจัดทาดุษฎีนิพนธ์ดังกล่าว นิสิตได้จัดทาเครื่องมือที่จะเก็บรวบรวมข้อมูล และได้รับความเห็นชอบ เบื้องต้นจากกรรมการที่ปรึกษา ไว้ชั้นหนึ่งแล้ว แต่เพื่อให้เครื่องมือที่จัดทานั้นมีความครอบคลุมเนื้อหาวิชา แนวปฏิบัติและสอดคล้ องกับหลักและกระบวนการวิจัย สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา จึงขอความอนุเคราะห์จาก ท่านในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ได้โปรดพิจารณาตรวจสอบและให้ความคิดเห็น เพื่อการปรับปรุงเครื่องมือการวิจัย ของนิสิตผู้นี้ด้วย สาหรับรายละเอียดอื่น ๆ นิสิตจะนาเรียนด้วยตนเอง จึงเจริญพรมาเพื่อพิจารณาตรวจเครื่องมือวิจัยดังกล่าว ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาส นี้ ขอแสดงความนับถือ

(พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ,ดร.) ผู้อานวยการหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 79 หมู่ 1 ตาบลลาไทร อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ 035-248000-5 โทรสาร 035-248034

ที่ ศธ ๖๑๐๔.๔/๖

www.mcu.ac.th

16 สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง เจริญพร

ขอเรียนเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือวิจัย ผศ.ดร.อานาจ ตั้งเจริญชัย

ด้ ว ย นางณฐณั ช แก้ ว ผลึ ก นิ สิ ต หลั ก สู ต รพุ ท ธศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าพุ ท ธจิ ต วิ ท ยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับอนุมัติให้ทาดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ : BUDDHIST PSYCHOLOGICAL COUNSELLING FOR SUFFERING REDUCTION IN ASTROLOGY. การจัดทาดุษฎีนิพนธ์ดังกล่าว นิสิตได้จัดทาเครื่องมือที่จะเก็บรวบรวมข้อมูล และได้รับความเห็นชอบ เบื้องต้นจากกรรมการที่ปรึกษา ไว้ชั้นหนึ่งแล้ว แต่เพื่อให้เครื่องมือที่จัดทานั้นมีความครอบคลุมเนื้อหาวิชา แนวปฏิบัติและสอดคล้องกับหลักและกระบวนการวิจัย สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา จึงขอความอนุเคราะห์จาก ท่านในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ได้โปรดพิจารณาตรวจสอบและให้ความคิดเห็น เพื่อการปรับปรุงเครื่องมือการวิจัย ของนิสิตผู้นี้ด้วย สาหรับรายละเอียดอื่น ๆ นิสิตจะนาเรียนด้วยตนเอง จึงเจริญพรมาเพื่อพิจารณาตรวจเครื่องมือวิจัยดังกล่าว ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาส นี้ ขอแสดงความนับถือ

(พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ,ดร.) ผู้อานวยการหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 79 หมู่ 1 ตาบลลาไทร อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ 035-248000-5 โทรสาร 035-248034

ที่ ศธ ๖๑๐๔.๔/๖

www.mcu.ac.th

16 สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง เจริญพร

ขอเรียนเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือวิจัย ผศ.ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง

ด้ ว ย นางณฐณั ช แก้ ว ผลึ ก นิ สิ ต หลั ก สู ต รพุ ท ธศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าพุ ท ธจิ ต วิ ท ยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิท ยาลัย ได้รับอนุมัติให้ทาดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ : BUDDHIST PSYCHOLOGICAL COUNSELLING FOR SUFFERING REDUCTION IN ASTROLOGY. การจัดทาดุษฎีนิพนธ์ดังกล่าว นิสิตได้จัดทาเครื่องมือที่จะเก็บรวบรวมข้อมูล และได้รับความเห็นชอบ เบื้องต้นจากกรรมการที่ปรึกษา ไว้ชั้นหนึ่งแล้ว แต่เพื่อให้เครื่องมือที่จัดทานั้นมีความครอบคลุมเนื้อหาวิชา แนวปฏิบัติและสอดคล้องกับหลักและกระบวนการวิจัย สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา จึงขอความอนุเคราะห์จาก ท่านในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ได้โปรดพิจารณาตรวจสอบและให้ความคิดเห็น เพื่อการปรับปรุงเครื่องมือการวิจัย ของนิสิตผู้นี้ด้วย สาหรับรายละเอียดอื่น ๆ นิสิตจะนาเรียนด้วยตนเอง จึงเจริญพรมาเพื่อพิจารณาตรวจเครื่องมือวิจัยดังกล่าว ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาส นี้ ขอแสดงความนับถือ

(พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ,ดร.) ผู้อานวยการหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 79 หมู่ 1 ตาบลลาไทร อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ 035-248000-5 โทรสาร 035-248034

ที่ ศธ ๖๑๐๔.๔/๖

www.mcu.ac.th

16 สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง เจริญพร

ขอเรียนเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือวิจัย รศ.ดร.เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ

ด้ ว ย นางณฐณั ช แก้ ว ผลึ ก นิ สิ ต หลั ก สู ต รพุ ท ธศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าพุ ท ธจิ ต วิ ท ยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับอนุมัติให้ทาดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ : BUDDHIST PSYCHOLOGICAL COUNSELLING FOR SUFFERING REDUCTION IN ASTROLOGY. การจัดทาดุษฎีนิพนธ์ดังกล่าว นิสิตได้จัดทาเครื่องมือที่จะเก็บรวบรวมข้อมูล และได้รับความเห็นชอบ เบื้องต้นจากกรรมการที่ปรึกษา ไว้ชั้ นหนึ่งแล้ว แต่เพื่อให้เครื่องมือที่จัดทานั้นมีความครอบคลุมเนื้อหาวิชา แนวปฏิบัติและสอดคล้องกับหลักและกระบวนการวิจัย สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา จึงขอความอนุเคราะห์จาก ท่านในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ได้โปรดพิจารณาตรวจสอบและให้ความคิดเห็น เพื่อการปรับปรุงเครื่องมือการวิ จัย ของนิสิตผู้นี้ด้วย สาหรับรายละเอียดอื่น ๆ นิสิตจะนาเรียนด้วยตนเอง จึงเจริญพรมาเพื่อพิจารณาตรวจเครื่องมือวิจัยดังกล่าว ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาส นี้ ขอแสดงความนับถือ

(พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ,ดร.) ผู้อานวยการหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 79 หมู่ 1 ตาบลลาไทร อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ 035-248000-5 โทรสาร 035-248034

ที่ ศธ ๖๑๐๔.๔/๖

www.mcu.ac.th

16 สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง เจริญพร

ขอเรียนเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือวิจัย ดร.กฤติกาวลัย หิรัญสิ

ด้ ว ย นางณฐณั ช แก้ ว ผลึ ก นิ สิ ต หลั ก สู ต รพุ ท ธศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าพุ ท ธจิ ต วิ ท ยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับอนุมัติให้ทาดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ : BUDDHIST PSYCHOLOGICAL COUNSELLING FOR SUFFERING REDUCTION IN ASTROLOGY. การจัดทาดุษฎีนิพนธ์ดังกล่าว นิสิตได้จัดทาเครื่องมือที่จะเก็บรวบรวมข้อมูล และได้รับความเห็นชอบ เบื้องต้นจากกรรมการที่ปรึกษา ไว้ชั้นหนึ่งแล้ว แต่เพื่อให้เครื่องมือที่จัดทานั้นมีความครอบคลุ มเนื้อหาวิชา แนวปฏิบัติและสอดคล้องกับหลักและกระบวนการวิจัย สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา จึงขอความอนุเคราะห์จาก ท่านในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ได้โปรดพิจารณาตรวจสอบและให้ความคิดเห็น เพื่อการปรับปรุงเครื่องมือการวิจัย ของนิสิตผู้นี้ด้วย สาหรับรายละเอียดอื่น ๆ นิสิตจะนาเรียนด้วยตนเอง จึงเจริญพรมาเพื่อพิจารณาตรวจเครื่องมือวิจัยดังกล่าว ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาส นี้ ขอแสดงความนับถือ

(พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ,ดร.) ผู้อานวยการหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 79 หมู่ 1 ตาบลลาไทร อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ 035-248000-5 โทรสาร 035-248034

ที่ ศธ ๖๑๐๔.๔/๖

www.mcu.ac.th

๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย เจริญพร ดร.ภิญโญ พงศ์เจริญ สิ่งที่ส่งมาด้วย แบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการวิจัย จานวน 1 ชุด ด้ ว ย นางณฐณั ช แก้ ว ผลึ ก นิ สิ ต หลั ก สู ต รพุ ท ธศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าพุ ท ธจิ ต วิ ท ยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับอนุมัติให้ทาดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ : BUDDHIST PSYCHOLOGICAL COUNSELLING FOR SUFFERING REDUCTION IN ASTROLOGY. ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยาพิจารณา เห็นแล้วว่า ท่านเป็นบุคคลต้นแบบผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ พร้อมทั้งมีผลงานอันเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยในเรื่อง ดังกล่าวได้อย่างยิ่ง จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่านพิจารณาอนุญาตให้นิสิตดาเนินการสัมภาษณ์ เพื่อ นามาใช้ในการทาวิจัยอันจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่อไป พร้อมทั้งเก็บข้อมูลในการวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ ในการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ วัน เวลา และสถานที่ในการดาเนินการสัมภาษณ์ตามแต่ท่านจะ พิจารณาให้ความอนุเคราะห์ จึงเจริญพรมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถือ

(พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ,ดร.) ผู้อานวยการหลักสูตร พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 79 หมู่ 1 ตาบลลาไทร อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ 035-248000-5 โทรสาร 035-248034

ที่ ศธ ๖๑๐๔.๔/๖

www.mcu.ac.th

๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย เจริญพร คุณธนกร สินเกษม สิ่งที่ส่งมาด้วย แบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการวิจัย จานวน 1 ชุด ด้ ว ย นางณฐณั ช แก้ ว ผลึ ก นิ สิ ต หลั ก สู ต รพุ ท ธศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าพุ ท ธจิ ต วิ ท ยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับอนุมัติให้ทาดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ : BUDDHIST PSYCHOLOGICAL COUNSELLING FOR SUFFERING REDUCTION IN ASTROLOGY. ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยาพิจารณา เห็นแล้วว่า ท่านเป็นบุคคลต้นแบบผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ พร้อมทั้งมีผลงานอันเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยในเรื่อง ดังกล่าวได้อย่างยิ่ง จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่านพิจารณาอนุญาตให้นิสิตดาเนินการสัมภาษณ์ เพื่อ นามาใช้ในการทาวิจัยอันจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่อไป พร้อมทั้งเก็บข้อมูลในการวิ จัยเพื่อเป็นประโยชน์ ในการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ วัน เวลา และสถานที่ในการดาเนินการสัมภาษณ์ตามแต่ท่านจะ พิจารณาให้ความอนุเคราะห์ จึงเจริญพรมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถือ

(พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ,ดร.) ผู้อานวยการหลักสูตร พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 79 หมู่ 1 ตาบลลาไทร อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ 035-248000-5 โทรสาร 035-248034

ที่ ศธ ๖๑๐๔.๔/๖

www.mcu.ac.th

๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย เจริญพร ดร.กฤติกาวลัย หิรัญสิ สิ่งที่ส่งมาด้วย แบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการวิจัย จานวน 1 ชุด ด้ ว ย นางณฐณั ช แก้ ว ผลึ ก นิ สิ ต หลั ก สู ต รพุ ท ธศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าพุ ท ธจิ ต วิ ท ยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับอนุมัติให้ทาดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ : BUDDHIST PSYCHOLOGICAL COUNSELLING FOR SUFFERING REDUCTION IN ASTROLOGY. ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยาพิจารณา เห็นแล้วว่า ท่านเป็นบุคคลต้นแบบผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ พร้อมทั้งมีผลงานอันเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยในเรื่อง ดังกล่าวได้อย่างยิ่ง จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่านพิจารณาอนุญาตให้นิสิตดาเนินการสัมภาษณ์ เพื่อ นามาใช้ในการทาวิจัยอันจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่อไป พร้อมทั้งเก็บข้อมูลในการวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ ในการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ วัน เวลา และสถานที่ในการดาเนินการสัมภาษณ์ตามแต่ท่านจะ พิจารณาให้ความอนุเคราะห์ จึงเจริญพรมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถือ

(พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ,ดร.) ผู้อานวยการหลักสูตร พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 79 หมู่ 1 ตาบลลาไทร อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ 035-248000-5 โทรสาร 035-248034

ที่ ศธ ๖๑๐๔.๔/๖

www.mcu.ac.th

๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย เจริญพร คุณพรชนัน อุกฤษโชค สิ่งที่ส่งมาด้วย แบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการวิจัย จานวน 1 ชุด ด้ ว ย นางณฐณั ช แก้ ว ผลึ ก นิ สิ ต หลั ก สู ต รพุ ท ธศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าพุ ท ธจิ ต วิ ท ยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ รับอนุมัติให้ทาดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ : BUDDHIST PSYCHOLOGICAL COUNSELLING FOR SUFFERING REDUCTION IN ASTROLOGY. ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยาพิจารณา เห็นแล้วว่า ท่านเป็นบุคคลต้นแบบผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ พร้อมทั้งมีผลงานอันเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยในเรื่อง ดังกล่าวได้อย่างยิ่ง จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่านพิจ ารณาอนุญาตให้นิสิตดาเนินการสัมภาษณ์ เพื่อ นามาใช้ในการทาวิจัยอันจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่อไป พร้อมทั้งเก็บข้อมูลในการวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ ในการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ วัน เวลา และสถานที่ในการดาเนินการสัมภาษณ์ตามแต่ท่านจะ พิจารณาให้ความอนุเคราะห์ จึงเจริญพรมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถือ

(พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ,ดร.) ผู้อานวยการหลักสูตร พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 79 หมู่ 1 ตาบลลาไทร อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ 035-248000-5 โทรสาร 035-248034

ที่ ศธ ๖๑๐๔.๔/๖

www.mcu.ac.th

๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย เจริญพร คุณจุฑามาศ มณีฤทธิ์ สิ่งที่ส่งมาด้วย แบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการวิจัย จานวน 1 ชุด ด้ ว ย นางณฐณั ช แก้ ว ผลึ ก นิ สิ ต หลั ก สู ต รพุ ท ธศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าพุ ท ธจิ ต วิ ท ยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับอนุมัติให้ทาดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ : BUDDHIST PSYCHOLOGICAL COUNSELLING FOR SUFFERING REDUCTION IN ASTROLOGY. ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยาพิจารณา เห็นแล้วว่า ท่านเป็นบุคคลต้นแบบผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ พร้อมทั้งมีผลงานอันเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยในเรื่อง ดังกล่าวได้อย่างยิ่ง จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่านพิจารณาอนุญาตให้นิสิตดาเนินการสัมภาษณ์ เพื่อ นามาใช้ในการทาวิจัยอันจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่อไป พร้อมทั้งเก็บข้อมูลในการวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ ในการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ วัน เวลา และสถานที่ในการดาเนินการสัมภาษณ์ตามแต่ท่านจะ พิจารณาให้ความอนุเคราะห์ จึงเจริญพรมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถือ

(พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ,ดร.) ผู้อานวยการหลักสูตร พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 79 หมู่ 1 ตาบลลาไทร อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ 035-248000-5 โทรสาร 035-248034

ที่ ศธ ๖๑๐๔.๔/๖

www.mcu.ac.th

๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย เจริญพร คุณพายัพ วชิโร สิ่งที่ส่งมาด้วย แบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการวิจัย จานวน 1 ชุด ด้ ว ย นางณฐณั ช แก้ ว ผลึ ก นิ สิ ต หลั ก สู ต รพุ ท ธศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าพุ ท ธจิ ต วิ ท ยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับอนุมัติให้ทาดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ : BUDDHIST PSYCHOLOGICAL COUNSELLING FOR SUFFERING REDUCTION IN ASTROLOGY. ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยาพิจารณา เห็นแล้วว่า ท่านเป็นบุคคลต้นแบบผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ พร้อมทั้งมีผลงานอันเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยในเรื่อง ดังกล่าวได้อย่างยิ่ง จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่านพิจารณาอนุญาตให้นิสิตดาเนินการสัมภาษณ์ เพื่อ นามาใช้ในการทาวิจัยอันจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่อไป พร้อมทั้งเก็บข้อมูลในการวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ ในการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ วัน เวลา และสถานที่ในการดาเนินการสัมภาษณ์ตามแต่ท่านจะ พิจารณาให้ความอนุเคราะห์ จึงเจริญพรมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถือ

(พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ,ดร.) ผู้อานวยการหลักสูตร พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 79 หมู่ 1 ตาบลลาไทร อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ 035-248000-5 โทรสาร 035-248034

ที่ ศธ ๖๑๐๔.๔/๖

www.mcu.ac.th

๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย เจริญพร คุณกามล แสงวงศ์ สิ่งที่ส่งมาด้วย แบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการวิจัย จานวน 1 ชุด ด้ ว ย นางณฐณั ช แก้ ว ผลึ ก นิ สิ ต หลั ก สู ต รพุ ท ธศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าพุ ท ธจิ ต วิ ท ยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับอนุมัติให้ทาดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ : BUDDHIST PSYCHOLOGICAL COUNSELLING FOR SUFFERING REDUCTION IN ASTROLOGY. ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยาพิจารณา เห็นแล้วว่า ท่านเป็นบุคคลต้นแบบผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ พร้อมทั้งมีผลงานอันเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยในเรื่อง ดังกล่าวได้อย่างยิ่ง จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่านพิจารณาอนุญาตให้นิสิตดาเนินการสัมภาษณ์ เพื่อ นามาใช้ในการทาวิจัยอันจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่ อไป พร้อมทั้งเก็บข้อมูลในการวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ ในการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ วัน เวลา และสถานที่ในการดาเนินการสัมภาษณ์ตามแต่ท่านจะ พิจารณาให้ความอนุเคราะห์ จึงเจริญพรมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถือ

(พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ,ดร.) ผู้อานวยการหลักสูตร พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 79 หมู่ 1 ตาบลลาไทร อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ 035-248000-5 โทรสาร 035-248034

ที่ ศธ ๖๑๐๔.๔/๖

www.mcu.ac.th

๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย เจริญพร คุณวรพล ไม้สน สิ่งที่ส่งมาด้วย แบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการวิจัย จานวน 1 ชุด ด้ ว ย นางณฐณั ช แก้ ว ผลึ ก นิ สิ ต หลั ก สู ต รพุ ท ธศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าพุ ท ธจิ ต วิ ท ยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับอนุมัติให้ทาดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ : BUDDHIST PSYCHOLOGICAL COUNSELLING FOR SUFFERING REDUCTION IN ASTROLOGY. ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยาพิจารณา เห็นแล้วว่า ท่านเป็นบุคคลต้น แบบผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ พร้อมทั้งมีผลงานอันเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยในเรื่อง ดังกล่าวได้อย่างยิ่ง จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่านพิจารณาอนุญาตให้นิสิต ดาเนินการสัมภาษณ์ เพื่อ นามาใช้ในการทาวิจัยอันจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่อไป พร้อมทั้งเก็บข้อมูลในการวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ ในการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ วัน เวลา และสถานที่ในการดาเนินการสัมภาษณ์ตามแต่ท่านจะ พิจารณาให้ความอนุเคราะห์ จึงเจริญพรมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถือ

(พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ,ดร.) ผู้อานวยการหลักสูตร พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 79 หมู่ 1 ตาบลลาไทร อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ 035-248000-5 โทรสาร 035-248034

ที่ ศธ ๖๑๐๔.๔/๖

www.mcu.ac.th

๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย เจริญพร คุณพรสุข มณีเพ็ง สิ่งที่ส่งมาด้วย แบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการวิจัย จานวน 1 ชุด ด้ ว ย นางณฐณั ช แก้ ว ผลึ ก นิ สิ ต หลั ก สู ต รพุ ท ธศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าพุ ท ธจิ ต วิ ท ยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับอนุมัติให้ทาดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ : BUDDHIST PSYCHOLOGICAL COUNSELLING FOR SUFFERING REDUCTION IN ASTROLOGY. ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยาพิจารณา เห็นแล้วว่า ท่านเป็นบุคคลต้นแบบผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ พร้อมทั้งมีผลงานอันเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยในเรื่อง ดังกล่าวได้อย่างยิ่ง จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่านพิจารณาอนุญาตให้นิสิตดาเนินการสัมภาษณ์ เพื่อ นามาใช้ในการทาวิจัยอันจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่อไป พร้อมทั้งเก็บข้อมูลในการวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ ในการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ วัน เวลา และสถานที่ในการดาเนินการสัมภาษณ์ตามแต่ท่านจะ พิจารณาให้ความอนุเคราะห์ จึงเจริญพรมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถือ

(พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ,ดร.) ผู้อานวยการหลักสูตร พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 79 หมู่ 1 ตาบลลาไทร อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ 035-248000-5 โทรสาร 035-248034

ที่ ศธ ๖๑๐๔.๔/๖

www.mcu.ac.th

๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย เจริญพร คุณอภิชาต ศรีเสาวนันท์ สิ่งที่ส่งมาด้วย แบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการวิจัย จานวน 1 ชุด ด้ ว ย นางณฐณั ช แก้ ว ผลึ ก นิ สิ ต หลั ก สู ต รพุ ท ธศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าพุ ท ธจิ ต วิ ท ยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับอนุมัติให้ทาดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ : BUDDHIST PSYCHOLOGICAL COUNSELLING FOR SUFFERING REDUCTION IN ASTROLOGY. ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยาพิจารณา เห็นแล้วว่า ท่านเป็นบุคคลต้นแบบผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ พร้อมทั้งมีผลงานอันเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ สามารถให้ ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยในเรื่อง ดังกล่าวได้อย่างยิ่ง จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่านพิจารณาอนุญาตให้นิสิตดาเนินการสัมภาษณ์ เพื่อ นามาใช้ในการทาวิจัยอันจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่อไป พร้อมทั้งเก็บข้อมูลในการวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ ในการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ วัน เวลา และสถานที่ในการดาเนินการสัมภาษณ์ตามแต่ท่านจะ พิจารณาให้ความอนุเคราะห์ จึงเจริญพรมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถือ

(พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ,ดร.) ผู้อานวยการหลักสูตร พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 79 หมู่ 1 ตาบลลาไทร อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ 035-248000-5 โทรสาร 035-248034

ที่ ศธ ๖๑๐๔.๔/๖

www.mcu.ac.th

๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย เจริญพร คุณภานุมาส คาดการณ์ไกล สิ่งที่ส่งมาด้วย แบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการวิจัย จานวน 1 ชุด ด้ ว ย นางณฐณั ช แก้ ว ผลึ ก นิ สิ ต หลั ก สู ต รพุ ท ธศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าพุ ท ธจิ ต วิ ท ยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับอนุมัติให้ทาดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ : BUDDHIST PSYCHOLOGICAL COUNSELLING FOR SUFFERING REDUCTION IN ASTROLOGY. ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยาพิจารณา เห็นแล้วว่า ท่านเป็นบุคคลต้นแบบผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ พร้อมทั้งมีผลงานอันเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยในเรื่อง ดังกล่าวได้อย่างยิ่ง จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่านพิจารณาอนุญาตให้นิสิตดาเนินการสัมภาษณ์ เพื่อ นามาใช้ในการทาวิจัยอันจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่อไป พร้อมทั้งเก็บข้อมูลในการวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ ในการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ วัน เวลา และสถานที่ในการดาเนินการสัมภาษณ์ตามแต่ท่านจะ พิจารณาให้ความอนุเคราะห์ จึงเจริญพรมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถือ

(พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ,ดร.) ผู้อานวยการหลักสูตร พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 79 หมู่ 1 ตาบลลาไทร อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ 035-248000-5 โทรสาร 035-248034

ที่ ศธ ๖๑๐๔.๔/๖

www.mcu.ac.th

๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย เจริญพร คุณกัลญ์ปภัส รัตนานุกุลสีห์ สิ่งที่ส่งมาด้วย แบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการวิจัย จานวน 1 ชุด ด้ ว ย นางณฐณั ช แก้ ว ผลึ ก นิ สิ ต หลั ก สู ต รพุ ท ธศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าพุ ท ธจิ ต วิ ท ยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับอนุมัติให้ทาดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ : BUDDHIST PSYCHOLOGICAL COUNSELLING FOR SUFFERING REDUCTION IN ASTROLOGY. ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยาพิจารณา เห็นแล้วว่า ท่านเป็นบุคคลต้นแบบผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ พร้อมทั้งมีผลงานอันเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยในเรื่อง ดังกล่าวได้อย่างยิ่ง จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่านพิจารณาอนุญาตให้นิสิตดาเนินการสัมภาษณ์ เพื่อ นามาใช้ในการทาวิจัยอันจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่อไป พร้อมทั้งเก็บข้อมูลในการวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ ในการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ วัน เวลา และสถานที่ในการดาเนินการสัมภาษณ์ตามแต่ท่านจะ พิจารณาให้ความอนุเคราะห์ จึงเจริญพรมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถือ

(พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ,ดร.) ผู้อานวยการหลักสูตร พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 79 หมู่ 1 ตาบลลาไทร อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ 035-248000-5 โทรสาร 035-248034

ที่ ศธ ๖๑๐๔.๔/๖

www.mcu.ac.th

๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย เจริญพร คุณณกัณ L.S.tarot สิ่งที่ส่งมาด้วย แบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการวิจัย จานวน 1 ชุด ด้ ว ย นางณฐณั ช แก้ ว ผลึ ก นิ สิ ต หลั ก สู ต รพุ ท ธศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าพุ ท ธจิ ต วิ ท ยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับอนุมัติให้ทาดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ : BUDDHIST PSYCHOLOGICAL COUNSELLING FOR SUFFERING REDUCTION IN ASTROLOGY. ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยาพิจารณา เห็นแล้วว่า ท่านเป็นบุคคลต้นแบบผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ พร้อมทั้งมีผลงานอันเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยในเรื่อง ดังกล่าวได้อย่างยิ่ง จึ งใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่านพิจารณาอนุญาตให้นิสิตดาเนินการสัมภาษณ์ เพื่อ นามาใช้ในการทาวิจัยอันจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่อไป พร้อมทั้งเก็บข้อมูลในการวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ ในการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ วัน เวลา และสถานที่ในการดาเนินการสัมภาษณ์ ตามแต่ท่านจะ พิจารณาให้ความอนุเคราะห์ จึงเจริญพรมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถือ

(พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ,ดร.) ผู้อานวยการหลักสูตร พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 79 หมู่ 1 ตาบลลาไทร อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ 035-248000-5 โทรสาร 035-248034

ที่ ศธ ๖๑๐๔.๔/๖

www.mcu.ac.th

๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย เจริญพร คุณณญกร เขียวลงยา สิ่งที่ส่งมาด้วย แบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการวิจัย จานวน 1 ชุด ด้ ว ย นางณฐณั ช แก้ ว ผลึ ก นิ สิ ต หลั ก สู ต รพุ ท ธศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าพุ ท ธจิ ต วิ ท ยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับอนุมัติให้ทาดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ : BUDDHIST PSYCHOLOGICAL COUNSELLING FOR SUFFERING REDUCTION IN ASTROLOGY. ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยาพิจารณา เห็นแล้วว่า ท่านเป็นบุคคลต้นแบบผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ พร้อมทั้งมีผลงานอันเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ สามารถให้ข้อมูลอันเป็ นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยในเรื่อง ดังกล่าวได้อย่างยิ่ง จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่านพิจารณาอนุญาตให้นิสิตดาเนินการสัมภาษณ์ เพื่อ นามาใช้ในการทาวิจัยอันจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่อไป พร้อมทั้งเก็บข้อมูลในการวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ ในการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่ าวต่อไป ทั้งนี้ วัน เวลา และสถานที่ในการดาเนินการสัมภาษณ์ตามแต่ท่านจะ พิจารณาให้ความอนุเคราะห์ จึงเจริญพรมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถือ

(พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ,ดร.) ผู้อานวยการหลักสูตร พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 79 หมู่ 1 ตาบลลาไทร อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ 035-248000-5 โทรสาร 035-248034

ที่ ศธ ๖๑๐๔.๔/๖

www.mcu.ac.th

๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย เจริญพร คุณณัฐกาญจน์ เลาหภานุพงศ์ สิ่งที่ส่งมาด้วย แบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการวิจัย จานวน 1 ชุด ด้ ว ย นางณฐณั ช แก้ ว ผลึ ก นิ สิ ต หลั ก สู ต รพุ ท ธศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าพุ ท ธจิ ต วิ ท ยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับอนุมัติให้ทาดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ : BUDDHIST PSYCHOLOGICAL COUNSELLING FOR SUFFERING REDUCTION IN ASTROLOGY. ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยาพิจารณา เห็นแล้วว่า ท่านเป็นบุคคลต้นแบบผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ พร้อมทั้งมีผลงานอันเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยในเรื่อง ดังกล่าวได้อย่างยิ่ง จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่านพิจารณาอนุญาตให้นิสิตดาเนินการสัมภาษณ์ เพื่อ นามาใช้ในการทาวิจัยอันจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่อไป พร้อมทั้งเก็บข้อมูลในการวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ ในการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ วัน เวลา และสถานที่ในการดาเนินการสัมภาษณ์ตามแต่ท่านจะ พิจารณาให้ความอนุเคราะห์ จึงเจริญพรมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถือ

(พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ,ดร.) ผู้อานวยการหลักสูตร พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 79 หมู่ 1 ตาบลลาไทร อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ 035-248000-5 โทรสาร 035-248034

ที่ ศธ ๖๑๐๔.๔/๖

www.mcu.ac.th

๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย เจริญพร คุณเจนจิรา วงศ์ธาโรจน์ สิ่งที่ส่งมาด้วย แบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการวิจัย จานวน 1 ชุด ด้ ว ย นางณฐณั ช แก้ ว ผลึ ก นิ สิ ต หลั ก สู ต รพุ ท ธศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าพุ ท ธจิ ต วิ ท ยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับอนุมัติให้ทาดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ : BUDDHIST PSYCHOLOGICAL COUNSELLING FOR SUFFERING REDUCTION IN ASTROLOGY. ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยาพิจารณา เห็นแล้วว่า ท่านเป็นบุคคลต้นแบบผู้ ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ พร้อมทั้งมีผลงานอันเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยในเรื่อง ดังกล่าวได้อย่างยิ่ง จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่านพิจารณาอนุญาตให้นิสิตดาเนินการสัมภาษณ์ เพื่อ นามาใช้ในการทาวิจัยอันจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่อไป พร้อมทั้งเก็บข้อมูลในการวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ ในการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ วัน เวลา และสถานที่ในการดาเนินการสัมภาษณ์ตามแต่ท่านจะ พิจารณาให้ความอนุเคราะห์ จึงเจริญพรมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถือ

(พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ,ดร.) ผู้อานวยการหลักสูตร พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 79 หมู่ 1 ตาบลลาไทร อาเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 โทรศัพท์ 035-248000-5 โทรสาร 035-248034

ที่ ศธ ๖๑๐๔.๔/๖

www.mcu.ac.th

๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย เจริญพร คุณนริศรา เลิศเมือง สิ่งที่ส่งมาด้วย แบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการวิจัย จานวน 1 ชุด ด้ ว ย นางณฐณั ช แก้ ว ผลึ ก นิ สิ ต หลั ก สู ต รพุ ท ธศาสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าพุ ท ธจิ ต วิ ท ยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับอนุมัติให้ทาดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง การปรึกษาทางโหราศาสตร์ ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ : BUDDHIST PSYCHOLOGICAL COUNSELLING FOR SUFFERING REDUCTION IN ASTROLOGY. ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยาพิจารณา เห็นแล้วว่า ท่านเป็นบุคคลต้นแบบผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ พร้อมทั้งมีผลงานอันเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยในเรื่อง ดังกล่าวได้อย่างยิ่ง จึงใคร่ขอความอนุ เคราะห์จากท่านพิจารณาอนุญาตให้นิสิตดาเนินการสัมภาษณ์ เพื่อ นามาใช้ในการทาวิจัยอันจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่อไป พร้อมทั้งเก็บข้อมูลในการวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ ในการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ วัน เวลา และสถานที่ในการดาเนินการสัมภาษณ์ตามแต่ท่านจะ พิจารณาให้ความอนุเคราะห์ จึงเจริญพรมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถือ

(พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ,ดร.) ผู้อานวยการหลักสูตร พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา

๒๘๐

ประวัติผู้วิจัย ชื่อ วัน เดือน ปีเกิด สถานที่เกิด การศึกษา

ณฐณัช แก้วผลึก วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ๑๕ หมู่ ๙ ต. บางน้าจืด อ.หลังสวน จ. ชุมพร พ.ศ. ๒๕๒๔ ประถมศึกษา โรงเรียนวัดขันเงิน อ.หลังสวน จ. ชุมพร พ.ศ. ๒๕๒๗ มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสวนศรีวิทยา อ.หลังสวน จ. ชุมพร พ.ศ. ๒๕๓o มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๕ ปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอก วัฒนธรรมศึกษา (เกียรตินิยม อันดับ ๒) มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี พ.ศ. ๒๕๓๖ Certificate of Achievement (Dusit Inturnship Program) พ.ศ. ๒๕๔๗ ส้าเร็จการอบรมวิชาโหราศาสตร์ สาขาไพ่ยิปซี จากสมาคมโหร แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ พ.ศ. ๒๕๔๘ ส้าเร็จการอบรมวิชาโหราศาสตร์ สาขาเลข ๗ ตัว ๙ ฐาน, ไพ่ ยิปซีเบืองต้นและพยากรณ์ จากสมาคมโหราศาสตร์นานาชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. ๒๕๔๙ ส้าเร็จการอบรมวิชาโหราศาสตร์ สาขาโหราศาสตร์ไทย เบืองต้นหัตถหศาสตร์ (ลายมือ), หัตถศาสตร์ภาคพยากรณ์, หัตถศาสตร์ ประยุกต์ชันสูง, เลข ๗ ตัวทักษามหาภูติ,ไพ่โหราศาสตร์ จากสมาคม โหราศาสตร์นานาชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. ๒๕๕o ส้าเร็จการอบรมวิชาโหราศาสตร์ สาขาโหราศาสตร์ภาค พยากรณ์, พิธีกรรม, เลข ๗ ตัว ๔ ฐาน , เลข ๗ ตัว ภาคพยากรณ์ จาก สมาคมโหราศาสตร์นานาชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. ๒๕๕๑ ส้าเร็จการอบรมวิชาโหราศาสตร์ สาขาทักษา และ ยาม จาก สมาคมโหราศาสตร์นานาชาติ (ประเทศไทย) ส้าเร็จการอบรมวิชา โหราศาสตร์สาขาดวงพิชัยสงคราม (สุริยยาตร์), โหราศาสตร์ไทยพยากรณ์ , โหราศาสตร์การให้ฤกษ์, อินทภาส-บาทจันทร์, ลายเซ็นจากชมรม โหราศาสตร์ไทยสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส

๒๘๑ ประสบการณ์การทางาน พ.ศ.๒๕๓๖- ๒๕๔๓ ผู้จัดการ (คลินิค ดร. สมชาย ) สาขาเดอะมอลล์ ท่าพระ, บริษัท เอส เอส แมนูแฟคเจอริ่ง จ้ากัด พ.ศ. ๒๕๔๔ - ปัจจุบัน เจ้าของธุรกิจ สถานที่ท้างาน แก้วผลึกพานิช จ. สมุทรปราการ ที่อยู่ปัจจุบัน ๓๒๒ หมู่ ๑๐ หมู่บ้านสยามนิเวศน์ ซอย ๑ ถ. ประชาอุทิศ–คู่สร้าง ต. ในคลองบางปลากด อ. พระสมุทรเจดีย์ จ. สมุทรปราการ ๑๐๒๙๐

Similar documents

Mcu 62012007

Sitchakorn - 5 MB

Price MCU

Rumah Sakit Khusus Paru Karawang - 8.9 MB

© 2025 VDOCS.RO. Our members: VDOCS.TIPS [GLOBAL] | VDOCS.CZ [CZ] | VDOCS.MX [ES] | VDOCS.PL [PL] | VDOCS.RO [RO]